สารบญั หน้า 1 เร่อื ง 7 8 ประวัตคิ วามเป็นมา ชมุ ชนเก่าแหลมสัก 10 การอนรุ ักษ์ธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ มชุมชนแหลมสกั การอนรุ กั ษ์ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ มสามารถกระทาไดห้ ลายวิธี ท้ังทางตรงและทางอ้อม ล่องเรอื ชมภาพเขยี นสแี ละประมงพนื้ บา้ น
สารบญั ภาพ หนา้ ภาพ 2 1 แผนที่ แหลมสกั 3 2 ชดุ บ๋าบาย่าหยา 4 3 วัดมหาธาตุแหลมสัก 5 4 ศาลเจ้าซกโป้ซเ่ี อีย๋ 5 5 ชมุ ชนมุสลมิ 6 6 ววิ ทะเล 6 7 แผนที่ชมุ ชนบา้ นแหลมสกั 7 8 ส่งิ ปลูกสรา้ งมากกวา่ 60 ปี ชุมชนแหลมสัก 8 9 ลอ่ งเรือ 11 10 ภาพเขยี นสี 11 11 ภาพเขยี นสี 12 12 กระชังปลาและสาหรา่ ย 12 13 อาหารพนื้ บา้ นแหลมสัก 13 14 อาคารบลเู ฮ้าส์ 14
1 ประวัตคิ วามเป็นมา ซอื่ ตาํ บล \"แหลมสัก\" มีที่มาจากช่ือของหมู่ที่ 3 ซ่ึงเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรอาศัยมากที่สุด และถอื ไดว้ า่ มกี ารพฒั นามากทีส่ ุด ท้ังนี้หมู่ที่ 3 ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมและในอดีตมีต้นสักขึ้นอยู่ มากมาย จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า \"บ้านแหลมสัก\" และได้ใช้เป็นช่ือตําบลไปด้วยในคราวเดียวกัน ประชากรส่วนใหญ่ของหมู่ท่ี 1, 4, ๕ และ ๖ นับถือศาสนาพุทธ ส่วนหมู่ที่ ๒ และ 3 ส่วนใหญ่ เป็นคนมสุ ลมิ นับถือศาสนาอิสลาม ในขณะทค่ี นไทยเชอ้ื สายจีนท่ียังมีความเช่ือในลัทธิเต๋า อาศัยอยู่ ในหมู่ที่ ๓ และ ๔ ทําให้ ตําบลแหลมสัก เป็นแหล่งรวมของผู้คนท่ีมีวัฒนธรรมแตกต่างกันถึง สามสาย ผู้คนท้ังสามสายวัฒนธรรมเข้ามาอาศัยที่แหลมสักยาวนานกว่า 1๐๐ ปี โดยชาวพุทธ ส่วนใหญ่ ขยายถิ่นฐานมาจากเมืองนครศรีธรรมราช (เติมกระบ่ีเป็นเมืองแขวงของ นครศรธี รรมราช) ส่วนชาวมุสลิมมีต้นสายมาจากชาวปะลิส ประเทศมาเลเซีย (เดิมปะลิสเป็นหัวเมืองหน่ึง ของประเทศไทย) ในขณะที่ชาวจีนกลุ่มหนึ่งได้อพยพย้ายถ่ินฐานมาจากมณฑลฮกเกี้ยน ประเทศ จีน การแต่งงานระหว่างคนจีนและคนพื้นเมืองคาบสมุทรมลายูทําให้เกิดเช้ือสายผสมท่ีเรียกว่า \"บาบ๋า ย่าหยา\" (Baba Nyonya) ซึ่งมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวท้ังทางด้านวิถีชีวิต การแต่งกาย อาหาร ภาษา และสถาปตั ยกรรม การย้ายถ่ินฐานมาอยู่แหลมสักของกลุ่มชนทั้งสามวัฒนธรรมประกอบด้วยไทยพุทธ ไทยมสุ ลิม และไทยเช้อื สายจนี นัน้ เกิดขนึ้ ในชว่ งเวลาท่ใี กลเ้ คียงกัน คือช่วงต้นรัตนโกสินทร์ รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในยุคน้ันเมืองกระบี่ (บันไทยสมอ) เป็นชุมชนเล็กๆ ข้ึนกับเมอื งนครศรีธรรมราช (อาณาจักรตามพรลิงค์) พระยานคร (น้อย) ได้มอบหมายให้ปลัดเมือง ไปตงั้ เพนยี ดจับชา้ งทก่ี ระบ่ี จงึ เรมิ่ มชี มุ ชนที่หนาแน่นขึน้ ยกฐานะขึ้นเป็นแขวงเมืองกาไสหรือปกาไส การขยายตวั ของชมุ ชนกว้างขวางข้ึนจนกลายเป็นเมืองกระบ่ีขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช และเป็น จังหวัดกระบ่ีในท่ีสุด การขยายตัวของชุมชนปกาไสในช่วงต้นน้ัน เป็นการย้ายถ่ินฐานทางบก เดินเท้าลากเกวียน กลุ่มคนด้ังเดิมมาจากเมืองนครศรีธรรมราชอันเป็นหัวเมืองใหญ่ กลุ่มคน เดนิ ทางมาถงึ แหลมสกั นัน้ จะอาศัยบนพืน้ ทท่ี เี่ ปน็ แผน่ ดินใหญม่ ากกวา่ ทจี่ ะอยู่ทางแถบชายทะเล เนือ่ งจากหมู่ท่ี 1, ๔, ๕ และ6 ของตาํ บลแหลมสกั เปน็ พ้นื ท่ีท่มี ีแผ่นดินกว้างขวาง กลุ่มไทย พุทธ จึงกระจายต้ังถ่ินฐานบริเวณนี้จนถึงปัจจุบัน ตามตํานานท่ีเล่าขานกันมาบอกว่าคนไทยพุทธ กลุ่มแรกท่ีเข้ามาช่ือ \"ตา หีด นุ้ย\" และ\"ตา หีด ใหญ่\"เป็นพี่น้องกัน มาอยู่ที่บ้านสมิหลัง (หมู่ที่ 4) ซ่งึ เป็นต้นตระกูลสมหิ ลัง อนั เป็นหนงึ่ ในตระกลู ไทยพุทธของตําบลแหลมสัก ในยุคเดียวกันน้ัน รัฐปัตตานีประกอบด้วยเมืองใหญ่ มีเมืองไทรบุรี (รัฐอลอร์สตาร์ มาเลเซีย) เมอื ง กลันตนั (รัฐกลันตนั มาเลเซีย) เมืองปะหงั (รฐั ปาหัง มาเลเชยี ) เมืองปัตตานี
2 เมืองปะลิส (รัฐเปอร์ลิส มาเลเซีย) ยังขึ้นกับสยามประเทศ ปะลิสเป็นเมืองชายฝ่ังอันดามันอยู่ ตรงข้ามเกาะลังกาวี การไปมาหาสู่กันระหว่างเมืองชายฝั่งอันดามันเกิดขึ้นโดยท่ัวไป มีกลุ่มมุสลิม กลุ่มหน่ึง เดินทางทางเรือจากเมืองปะลิส แวะที่สตูล บางคนก็ต้ังถิ่นฐานที่น่ัน แต่มีบางคน ทอ่ งทะเลเรื่อยมา จนถึงอ่าวพังงาในทะเลอันดามัน ลงหลักปักฐานท่ีนี่ ประกอบด้วยบ้านแหลมสัก บ้านเกาะยาวน้อย และบ้านเกาะหมากน้อย โดยเฉพาะที่บ้านแหลมสักนั้น มุสลิมกลุ่มนี้จะสร้าง ที่พักบริเวณ ชายฝ่ังทะเลด้านตะวันตกของแหลมสัก ได้แก่ บ้านอ่าวนํ้า (หมู่ท่ี ๒) และ บ้านแหลมสัก (หมู่ที่ ๓ ) บางคนเดินทางต่อไปถึงระนองและพม่า การไปมาหาสู่ระหว่างต่างพ้ืนท่ี อาศัยเหล่านี้ยังติดต่อกัน เพื่อลูกหลานรุ่นหลัง ๆ ได้รู้ถึงความเป็นเครือญาติ เพื่อเตือนใจ ให้รําลึก ถึงรากเหง้าของตน การเดินอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวจีนจากมณฑลฮกเกี้ยนตอนล่างมายังคาบสมุทรมลายู โดย เฉพาะมะละกา สิงค์โปร์และปีนังในศตวรรษท่ี 14 ก่อให้เกิดชาติพันธุ์ใหม่ขึ้นเรียกว่า “บาบ๋า ย่าหยา” คือลูกครึ่งมลายูจีนที่มีวัฒนธรรมผสมผสานและสร้างวัฒนธรรมใหม่ข้ึนมา โดยเป็นการ นําเอาข้อเด่นระหว่างจีนและมลายูมารวมกัน ซ่ึงภาษาท้องถ่ินมลายูเรียกว่า เปอรานากัน (peranakan) แปลวา่ เกิดท่นี ี่ ภาพ 1 แผนท่ี แหลมสกั ท่มี า: แผนท่แี หลมสัก (2563) ออนไลน์ สําหรับสายเลือดใหม่ของชาวจีนมลายู หากเป็นชายจะได้รับการเรียกขานว่า บาบ๋า (Baba) ส่วนผู้หญิงจะเรียกว่าย่าหยา (Nyonya) และเมื่อคนกลุ่มน้ีมีจํานวนมากขึ้น ก็ได้สร้าง วัฒนธรรมรูปแบบใหม่ท่ีแตกต่างไปจากเดิม โดยมาผสมผสานกันเป็นวัฒนธรรมใหม่ เม่ือพวกเขา อพยพไปตง้ั ถนิ่ ฐานในบรเิ วณใดก็ไดน้ าํ วัฒนธรรมของตนกระจายไปด้วย
3 ภาพ 2 ชุดบ๋าบาย่าหยา ที่มา: (จัดทําเมื่อ 9 กรกฎาคม 2563) วัฒนธรรมใหม่น้ีจึงถูก เรียกรวม ๆว่า \"จีนช่องแคบ\" (อังกฤษ: Staits Chinese : จีน: 中国海峡 ) ต่อมาช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ได้มชี าวจนี อพยพเข้ามามากขนึ้ จนทําให้เลือดมลายู ของชาวเปอรานากันจางลง จนรุ่นหลังแทบจะเป็นจีนเต็มตัวไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้ทําให้วัฒนธรรม ผสมผสานของชาวเปอรานากันจืดจางลงเลย การผสานนี้ยังคงอัตลัษณ์ไว้ การกระจายตัวของกลุ่ม ชนบาบ๋าในช่วงท่ี ๒ ของการอพยพย้ายถ่ินฐานช่วงศตวรรษที่ 18 น้ี จากมะละกา สิงคโปร์ ปีนัง สู่จังหวัดภูเก็ตและบริเวณแถบชายฝั่งอันดามัน จีนกลุ่มหน่ึงจากฮกเก้ียนบ้างจากปีนังบ้างเดินทาง ทางเรือมาขึ้นฝั่งที่ชายฝั่งทะเลแหลมสัก ด้านทิศตะวันออก แล้วลงหลักปักฐานอาศัยอยู่บริเวณ หมู่ที่ 3 (บา้ นแหลมสัก) จากนั้นมีบางส่วนโยกย้ายข้ึนไปยังหมู่ ๔ (บ้านลมิหลัง) ซ่ึงมีแผ่นดินเหมาะแก่การทําไร่ ทํานาได้มากกว่า เกิดการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมระหว่าง ไทยพุทธแต่งกับจีน ไทยพุทธแต่งกัน มสุ ลมิ มสุ ลมิ แต่งกับจีน ความเป็นเครือญาติทางสายเลือดจึงเกิดขึ้นในสามสายวัฒนธรรมในชุมชน แหลมสกั บางนามสกุลจึงมีทั้งที่เป็นพุทธและเป็นมุสลิมและเป็นจีนบาบ๋า ปะปนกัน กลุ่มชนบาบ๋า ท่ีแหลมสักยังคงยึดในแบบอย่างประเพณีที่บรรพชนยึดถือ อัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเองก็มี โครงสร้างลักษณะซิโนโปรตุกิส (SinoProtugese) เพียงแต่รายละเอียดวัสดุท่ีใช้ไม่ประณีตเท่าที่ ปีนงั หรอื ภเู กต็
4 ท้ังสามสายวัฒนธรรมยังคงอัตลักษณ์ของตัวเองไว้อย่างสํานึกในคุณค่า ความศรัทธาใน ศาสนาอันมีเอกลักษณ์ท่ีโดดเด่นก็ไม่สั่นคลอน โดยเฉพาะหมู่ที่ ๓ บ้านแหลมสัก มี ๓ มัสยิด มี ๑ วัด และมี 1 ศาลเจ้าเก่าแก่กว่า 100 ปี การอยู่รวมกันของสามสายวัฒนธรรมบนผืนแผ่นดิน เดียวกนั นน้ั รม่ เย็นอบอนุ่ เปน็ มติ ร เปน็ มาแตค่ รั้งบรรพชน และลกู หลานแหลมสกั ภาพ 3 วัดมหาธาตแุ หลมสกั ทม่ี า: (จดั ทาํ เมอ่ื 9 กรกฎาคม 2563) “วัดมหาธาตุแหลมสัก” ศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ และเป็นสถานท่ีเคารพบูชาของ ชาวบ้านชุมชนแหลมสัก หากใครเดินขึ้นไปยังด้านบนของเจดีย์จะมีจุดชมวิวท่ีสวยแห่งหนึ่งของ แหลมสัก โดยเฉพาะในช่วงยามเย็น สามารถชมบรรยากาศท้องทะเลรอบด้าน ชมวิวไปพร้อมกับมี ลมพดั เยน็ กระทบกายมนั ช่างเพลนิ ใจเหลอื เกิน
5 ภาพ 4 ศาลเจ้าซกโปซ้ เ่ี อี๋ย ทมี่ า: (จดั ทาํ เม่ือ 9 กรกฎาคม 2563) “ศาลเจ้าแหลมสัก” หรือ “ศาลเจ้าซกโป้ซ่ีเอี๋ย” เป็นศาลเจ้าเก่าแก่คู่ชุมชนแห่งนี้มา มากกว่า 100 ปีแล้ว โดยศาลเจ้าจะหันหน้าออกสู่ทะเล มีพระโพธิสัตว์ซกโป้ซ่ีเอี๋ย รูปเคารพไม้ แกะสลกั ท่เี ชอ่ื กันว่า มีความศักด์ิสิทธ์ิในด้านคุ้มครองผู้ที่นับถือให้มีความสุข ความเจริญ เป็นหนึ่ง ในหลักฐานที่ยืนยันในการตั้งถ่ินฐานของชาวจีนท่ีอพยพมาในอดีต และมี “มัสยิดสอลาฮุดดีน” สถานทป่ี ฏบิ ตั พิ ิธกี รรมทางศาสนาของชาวไทยมุสลิมท่ชี ุมชนแหลมสักด้วย จากการอยู่ร่วมกันของ 3 เช้ือชาติ ท้ังไทยพุทธ ไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน ทําให้ ชุมชนแหลมสักมีเอกลักษณท์ างวฒั นธรรมท่ีนา่ สนใจ มีแหลง่ ทอ่ งเทยี่ วหลากหลาย จึงอยากชักชวน ให้ทุกคนได้ลองไปสมั ผัสกันสกั ครง้ั รบั รองวา่ จะไดร้ ับการต้อนรบั และประทับใจอยา่ งมิลมื เลือน ภาพ 5 ชุมชนมสุ ลมิ ทม่ี า: (จดั ทําเมื่อ 9 กรกฎาคม 2563)
6 ก่อให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงาม มีเสน่ห์ไม่เหมือนใคร ทะเลท่ีโอบล้อมแหลมสักเรียกกันว่า เน่ืองจากมีภูเขา กลางทะเล โอบล้อมเป็นแนวยาวอีกชั้นหนึ่ง สภาพทะเลในของแหลมสักจึงสามารถเที่ยวชมได้ ทัง้ ปี เนอื่ งจากมภี เู ขาคอยปอ้ งกันมรสมุ และคลื่นลมทุกดา้ น ภาพ 6 วิวทะเล ทม่ี า: (จดั ทาํ เมือ่ 9 กรกฎาคม 2563) ภาพ 7 แผนท่ีชุมชนบา้ นแหลมสัก ทม่ี า: แผนท่ีชมุ ชนบ้านแหลมสกั (2563) ออนไลน์
7 ชมุ ชนเกา่ แหลมสัก ชุมชนเก่าบ้านแหลมสัก เดิมเป็นห้องแถวไม้ ท้ัง 2 ฝ่ัง มีถนนผ่านกลาง ต้ังอยู่ชายฝ่ังทะเล ซ่ึงอุดมไปด้วยป่าไม้โกงกาง ไม้ตะบูน ไม้แสม เป็นอีกชุมชนหนึ่งท่ีชาวจีนจากโพ้นทะเล อพยพเข้า มาต้ังถ่ินฐานทํามาหากินในจังหวัดกระบ่ี เมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นแหล่งที่อุดม สมบูรณ์ นอกจากอาชพี ประมง ทาํ ปลาเคม็ ปลาแห้ง แล้วยังมีอาชีพตัดไม้โกงกางไปขายเพ่ือทําฟืน ในยุคนั้นรถยนต์เข้าไปไม่ถึง การเดินทางต้องใช้เส้นทางเรือ แม้ในช่วงที่มีการตัดถนนแล้วการ เดินทางไปติดต่อซื้อขายทําธุระที่ตัวจังหวัดกระบ่ียังคงต้องน่ังเรือข้ามฝั่งไปขึ้นท่ีอ่าวลึกก่อน จึงนั่ง รถยนต์ไปกระบกี่ ารเดนิ ทางต้องใช้เวลานานไม่สะดวกชาวแหลมสกั จงึ นิยม เดินทางไปจังหวัดภูเก็ต เพ่ือติดต่อค้าขาย ทําธุรกิจ และซื้อข้าวของเครื่องใช้มากกว่าตัวเมืองกระบ่ี โดยเฉพาะ ในช่วงที่ มีเรือยนต์ หากเจ็บไข้ไม่สบายก็จะน่ังเรือไปหาหมอท่ีจังหวัดภูเก็ต ภาษาพูดของชาวแหลมสักจึงมี สําเนียงคล้ายชาวภูเก็ตมากกว่ากระบ่ี ช่วงแรกๆ ยังไม่มีเรือยนต์จะใช้เรือแจวบรรทุกไม้โกงกางไป ขายทพ่ี ังงา ภูเกต็ ซึง่ ตอ้ งแวะพกั ตามเกาะต่างๆ ใชเ้ วลาหลายวนั กวา่ จะถึง ตอ่ มาใชเ้ รือยนต์บรรทุก ขา้ วสาร กงุ้ แห้ง กะปิ ปลาเค็ม ไปขายท่ีปีนัง และภูเก็ตด้วย จนกระท้ังช่วงท่ีมีการทําอุตสาหกรรม ถ่านไม้โกงกาง จะใช้เรือสําเภาหรือเรือใบสามหลัก ส่งออกไปขายที่ปีนัง สิงคโปร์ ชุมชนแหลมสัก จึงเป็นทาํ เรอื สาํ หรับจอดเรือและขนถ่ายสินค้าไปขายยังที่ต่างๆ ปัจจุบันมีการทําสะพานข้ามคลอง รถยนต์เข้าถึงการติดต่อกับภายนอกสะดวกและรวดเร็วกว่าทางเรือ การสัญจรทางนํ้าโดยทางเรือ จึงหมดความจําเป็น ประกอบกับในช่วงหลังชาวแหลมสักนิยมส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือในตัว จังหวดั กระบี่ บางคนสามารถไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด เมื่อจบ การศึกษาแล้วนิยมไปทํางานต่างถิ่น ไม่กลับมาอยู่บ้าน ชุมชนเก่าแหลมสักจึงซบเซาลง มีแต่ ผสู้ ูงอายแุ ละผู้คนอาศัยอยไู่ ม่มากนกั บางคนตอ้ งปิดบา้ นไปอาศัยอยกู่ ับลูกๆ ปัจจุบันชุมชนเก่าแหลมสักค่อนข้างเงียบเหงา มีร้านขายของชําท่ีซ้ือขายกันเองในชุมชน แตม่ ีรา้ นอาหารซีฟู้ดท่เี ปน็ ที่รจู้ ักของคนในชมุ ชนและต่างอาํ เภอ และเหนอื ข้ึนไปจากชุมชนริมทะเล มีวดั ทีม่ เี กจิอาจารยท์ เ่ี ปน็ ท่ีเล่อื มใสศรัทธาของชาวพุทธ และเงนิ บรจิ าคของพุทธศาสนิกชนดังกล่าว ทางวัดซึ่งตั้งอยู่บนเนินสูงริมทะเล สามารถสร้างสถานท่ีสําหรับเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ทางทะเล ท่ีสวยงามของบ้านแหลมสัก ซึ่งใหญ่โต กว้างขวาง มีศาลาที่พัก และบันไดข้ึนลงหลายทิศทาง นอกจากนน้ั ไมไ่ กลจากวัดมากนกั ยังมีรีสอรท์ แห่งหน่ึง ซง่ึ สรา้ งลอ็ บบแ้ี บบเกง๋ จีนอาคารเก่าย้อนยุค ของชาวจีนฮกเก้ียน ในอนาคตอันใกลห้ าก บ้านแหลมสักเป็นแหล่งท่องเที่ยวท่ีเป็นที่รู้จักมากข้ึนและไ ด้รับการส่งเสริมและความ รว่ มมอื จากถกู ทาง ชมุ ชน เกา่ แหลมสักอาจจะสามารถฟืน้ ฟใู ห้มีชีวติ ชวี าขนึ้ มาอีกคร้ังเหมือนชุมชน เมอื งเกาะลันตา
8 ปญั หาทพี่ บในพ้นื ท่ี คนรุ่นใหม่ที่เป็นลูกหลานชาวแหลมสักและชุมชนเก่าแหลมสัก ซ่ึงมีการศึกษาสูง ๆ มี วิสัยทัศน์และมปี ระสบการณ์ทดี่ จี ากภายนอกไมไ่ ดก้ ลบั มาอยูใ่ นพนื้ ท่ี บ้านเกา่ ในชุมชนบ้านแหลมสักส่วนใหญ่จะรื้อสร้างใหม่แล้ว เจ้าของบ้านเก่าที่ยังหลงเหลือ อยู่บางหลังต้องการอนุรักษ์แต่ขาดงบประมาณและคําแนะนําจากผู้ท่ีมีความรู้ด้านการอนุรักษ์ โดยตรง ภาพ 8 ส่ิงปลกู สร้างมากกวา่ 60 ปี ชุมชนแหลมสกั ท่มี า: (จดั ทาํ เมอื่ 9 กรกฎาคม 2563) การอนุรกั ษส์ งิ่ แวดล้อมธรรมชาตแิ ละศิลปกรรมแหลมสัก การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคํานึงถึงระยะเวลาในการใช้ ให้ยาวนาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อส่ิงแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งต้องมีการกระจายการใช้ ทรพั ยากรธรรมชาตอิ ยา่ งทว่ั ถึง อย่างไรกต็ าม ในสภาพปจั จบุ นั ทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความเส่อื มโทรมมากขึ้น ดงั น้นั การอนรุ ักษ์ธรรมชาติสง่ิ แวดลอ้ มและศลิ ปกรรม ประกอบดว้ ยดงั นี้ 1. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางตรง ซ่ึงปฏิบัติได้ใน ระดบั บุคคล องคก์ ร และระดับประเทศ ท่ีสาํ คัญ คือ 1.1 การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าท่ีมีความจําเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ ได้นานและเกดิ ประโยชนอ์ ยา่ งคุ้มคา่ มากทส่ี ุด 1.2 การนํากลับมาใช้ซ้ําอีก ส่ิงของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหน่ึงสามารถที่จะ นํามาใช้ซ้ําได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนํามาใช้ได้ใหม่
9 โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนํากระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทําเป็น กระดาษแข็ง เปน็ ต้น ซึง่ เปน็ การลดปรมิ าณการใชท้ รพั ยากรและการทาํ ลายสิง่ แวดล้อมได้ 1.3 การบูรณซ่อมแซม ส่ิงของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชํารุดได้ เพราะฉะน้นั ถา้ มกี ารบรู ณะซอ่ มแซม ทาํ ให้สามารถยืดอายุการใชง้ านต่อไปได้อีก 1.4 การบําบัดและการฟ้ืนฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ด้วยการบาํ บดั ก่อน เช่น การบําบดั นํ้าเสียจากบา้ นเรือนหรอื โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะ ปล่อยลงสู่แหล่งนํ้าสาธารณะ ส่วนการฟ้ืนฟูเป็นการรื้อฟ้ืนธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกปา่ ชายเลน เพ่อื ฟื้นฟูความสมดุลของปา่ ชายเลนใหก้ ลบั มาอุดมสมบรู ณ์ เปน็ ตน้ 1.5 การใช้สง่ิ อน่ื ทดแทน เปน็ วิธีการทจี่ ะชว่ ยให้มกี ารใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลง และไมท่ าํ ลายส่ิงแวดลอ้ ม เชน่ การใชถ้ งุ ผ้าแทนถงุ พลาสตกิ การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงาน แสงแดดแทนแรเ่ ชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชวี ภาพแทนปยุ๋ เคมี เปน็ ต้น 1.6 การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมถูกทําลาย เช่น การเฝ้าระวังการทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลงแม่น้ํา คูคลอง การจัดทํา แนวปอ้ งกันไฟป่า เปน็ ต้น 2. การอนรุ ักษ์ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดลอ้ มโดยทางออ้ ม สามารถทําได้ หลายวธิ ี ดังนี้ 2.1 การพัฒนาคุณภาพประชาชน โดยสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง ตามหลักวิชา ซึ่งสามารถทําได้ทุกระดับอายุ ทั้งใน ระบบโรงเรียนและสถาบนั การศกึ ษาต่างๆ และนอกระบบโรงเรียนผ่านส่ือสารมวลชนต่างๆ เพ่ือให้ ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสําคัญและความจําเป็นในการอนุรักษ์ เกิดความรัก ความหวงแหน และให้ความรว่ มมืออยา่ งจริงจัง 2.2 การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน ชมรม สมาคม เพ่อื การอนรุ กั ษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนการให้ความร่วมมือท้ังทางด้าน พลังกาย พลังใจ พลังความคิด ด้วยจิตสํานึกในความมีคุณค่าของส่ิงแวดล้อมและทรัพยากรที่มีต่อ ตัวเรา เช่น กลุ่มชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมของนักเรียน นักศึกษา ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย มลู นิธิ สบื นาคะเสถยี ร มูลนิธโิ ลกสีเขยี ว เปน็ ตน้
10 2.3 สง่ เสรมิ ให้ประชาชนในท้องถ่ินได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ช่วยกันดูแลรักษาให้ คงสภาพเดิม ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม เพื่อประโยชน์ในการดํารงชีวิตในท้องถิ่นของตน การ ประสานงานเพ่ือสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ให้มีบทบาทหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ฟ้ืนฟูการใช้ ทรัพยากรอย่างคมุ้ คา่ และเกดิ ประโยชนส์ งู สุด 2.4 ส่งเสรมิ การศกึ ษาวิจัย ค้นหาวิธกี ารและพฒั นาเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการกับ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การใช้ความรู้ทางเทคโนโลยี สารสนเทศมาจัดการวางแผนพัฒนา การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้มีการประหยัด พลังงานมากขึ้น การค้นคว้าวิจัยวิธีการจัดการ การปรับปรุง พัฒนาส่ิงแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ และยัง่ ยนื เปน็ ต้น 2.5การกําหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาล ในการอนุรักษ์และพัฒนา ส่ิงแวดล้อมทั้งในระยะส้ันและระยะยาว เพื่อเป็นหลักการให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ เกี่ยวข้องยึดถือและนําไปปฏิบัติ รวมท้ังการเผยแพร่ข่าวสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสงิ่ แวดลอ้ ม ท้ังทางตรงและทางออ้ ม ลอ่ งเรือศึกษาภาพเขยี นสีและประมงพ้นื บ้าน ก่อนที่จะลงเรือไปชมความงดงามของวิวทะเล หากใครที่มาเยือนชุมชนแห่งนี้แล้วจะต้อง ไม่พลาดปลูกกล้วยไม้ ณ อุทยานแห่งชาติโบกขรณี ซ่ึงถือเป็นการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าให้ยังคง อยู่ในพื้นที่ โดยทางชุมชนได้จัดกิจกรรมเพ่ือให้นักท่องเท่ียวได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ พันธ์ุไม้ โดยกล้วยไม้ท่ีทางชุมชนเตรียมไว้ก็คือสายพันธ์ุรองเท้านารีเหลืองกระบี่ ซ่ึงถือเป็นดอกไม้ท่ีมี ชื่อเสียงและเป็นดอกไม้ประจําจังหวัดกระบ่ีอีกด้วย ใครท่ีมาถึงท่ีน่ีก็อย่าลืมแวะไปปลูกกล้วยไม้ คืนสู่ป่ากัน หรือถ้าต้องการซ้ือพันธ์ุกล้วยไม้กลับไปปลูกท่ีบ้าน ทางชุมชนก็มีจําหน่ายให้เลือกสรร เมื่อร่วมปลูกกล้วยไม้คืนสู่ป่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากน้ันมุ่งหน้าสู่ท่าเรือแหลมสัก ซึ่งเป็นท่าเรือที่ ชาวบ้านใช้ในการขึ้นเรือ และใช้ในเร่ืองของการประมง ท่ีสําคัญยังเป็นจุดท่ีนักท่องเท่ียวมาขึ้นเรือ เพือ่ ทีจ่ ะไปทอ่ งเท่ยี วทํา กจิ กรรมตา่ งๆ ในชมุ ชน
11 ภาพ 9 ลอ่ งเรอื ทมี่ า: (จดั ทาํ เมือ่ 10 กรกฎาคม 2563) ล่องเรือ ท่องเท่ียวของชุมชนจะเป็นเรือหัวโทงมีหลังคา รองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 6-8 คนตอ่ ลํา มเี ส้อื ชูชีพไว้บรกิ ารเพ่อื ความปลอดภัยทางทะเล จุดหมายแรกท่ีจะนั่งเรือไปชมกันก็ คือ \"ถํ้าชาวเล\" ใช้เวลาเดินทางจากท่าเรือแหลมสักราว 5 -10 นาที ก็มาถึง ถํ้าแห่งนี้มีลักษณะ เป็นเพิงหิน เปน็ จดุ พักเรอื และหลบลมทะเลของชาวเลในอดีต ภาพ 10 ภาพเขียนสี ทมี่ า (จดั ทําเมอ่ื 10 กรกฎาคม 2563) บริเวณถํ้าชาวเลมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์อยู่ให้เห็น อย่างเช่น ภาพเขียนสีท่ีอยู่บน ผนังถํ้า ซึ่งคาดว่าเป็นฝีมือการเขียนของมนุษย์ถํ้า มีอายุเก่าแก่ประมาณ 3,000 ปี ให้ได้ชมและ ศึกษาเรียนรู้
12 ภาพ 11 ภาพเขยี นสี ท่ีมา: (จดั ทาํ เมอ่ื 10 กรกฎาคม 2563) บริเวณถํ้าชาวเลมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์อยู่ให้เห็น อย่างเช่น ภาพเขียนอ่าวเหนา เปน็ อ่าวทเ่ี งยี บสงบและเต็มไปด้วยกระชังของชาวบ้าน ซ่ึงส่วนใหญ่จะเป็นกระชังสาหร่ายพวงองุ่น เป็นอีกหนึ่งแหล่งปลูกขนาดใหญ่ที่ส่งขายไปยังจังหวัดต่างๆ ให้ได้ล้ิมรสกัน เราสามารถแวะขึ้นไป เย่ียมชม และสอบถามการเพาะเลี้ยงกับชาวบ้านได้อย่างใกล้ชิด จะเห็นกรรมวิธีการเลี้ยงสาหร่าย แถมยังได้ชิมสาหร่ายพวงองุ่นท่ีถือเป็นเมนูเด็ดของแหลมสักด้วย หากใครสนใจเรื่องการเพาะเลี้ยง สาหร่ายสามารถมาศึกษาวิธีการเล้ียงได้ที่ กระชังสาหร่ายของชุมชน หรือจะเลือกซื้อกลับไปชิม กันต่อทบ่ี า้ นไดด้ ้วย ถา้ ใครซือ้ กลบั ก็สามารถเกบ็ ไว้ได้ 3-5 วนั ภาพ 12 กระชังปลาและสาหร่าย ทม่ี า: (จดั ทาํ เมื่อ 10 กรกฎาคม 2563)
13 อกี หนึง่ จดุ ไฮไลตก์ ็คอื \"เขาผาค้อม\" เป็นเขาหินท่อี ย่กู ลางทะเล เหนือระดบั นาํ้ ทะเลสูงสุดไม่ มากนัก มีลักษณะเป็นเพิงผาสามารถเดินติดต่อถึงกันได้ จึงเป็นอีกหนึ่งจุดแวะให้นักท่องเท่ียว เย่ียมชม เมื่อเรือเทียบกับบันไดก็สามารถปีนขึ้นไปชมด้านบน เป็นโพรงถํ้า ในภูเขา ริมทะเล เน่ืองจากเพดานท่ีค่อนข้างต่ํา เวลาเดินต้องค้อมตัวต่ําลง หรือก้มตัวเดิน จึงเป็นท่ีมาของช่ือ \"ผาคอ้ ม\" น่นั เอง ภาพ 13 อาหารพนื้ บ้านแหลมสัก ท่มี า: (จดั ทําเม่อื 10 กรกฎาคม 2563) อาหารพ้นื บ้านของชุมชนแหลมสกั รสชาติแกงเผด็ ผสมหวาน เช่น แกงส้มปลา ปลาเคม็ ทอด ปลาทอดซีอิ้ว กุง้ ชุบแป้งทอด เปน็ ต้น
14 ภาพ 14 อาคารบลเู ฮ้าส์ ทมี่ า: (จดั ทาํ เมื่อ 9 กรกฎาคม 2563) อาคารบลูเฮ้าส์ภายในรีสอร์ทชุมชน แสดงถึงสถาปัตยกรรม จนี -โปรตุเกส หรอื ชโิ นโปรตุกีส บง่ บอกถึงกลนิ่ ไอของวัฒนธรรมบาบ๋าย่าหยา อันเป็นรากเหง้าหน่ึง ของผู้คนในชุมชนแหลมสักซึ่งทางรีสอร์ทได้นําเสนอเรื่องราวเชื่อมโยงกับวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม ของชุมชน และได้บริหารจัดการด้วยรูปแบบ โดย ให้ชุมชนมีสว่ นรว่ มและจัดสรรรายไดบ้ างส่วนให้แก่ชุมชน หน่วยอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรมท้องถ่ินจังหวัดกระบ่ี อนุรักษ์ ส่งเสริม ทะนุบํารุง ให้เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เพื่อสืบสาน ย่านเมืองเก่า ชุมชนแหลมสักตอ่ ไป
บรรณานุกรม ชาญฤทธ์ิ เพ่มิ ทรพั ย์ บา้ นเลขท่ี 208 หมู่ 3 ต.แหลมสัก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ (สัมภาษณ)์ ชุมชนแหลมสกั (2563) สืบค้นเมือ่ 10 กรกฎาคม 2563 จาก https Drew. Com\\ แผนทชี่ ุมชนบ้านแหลมสัก (2563) สืบค้นเมอ่ื 10 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.lamsak.go.th/page.php?id=2733 แผนท่แี หลมสัก (2563) (2563) สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.lamsak.go.th/page.php?id=2733 อาภรณ์ อกุ กฤษณ์ (2563) เอกสารเผยแพรศ่ ลิ ปกรรมบา้ นเมอื งเก่า จ. กระบ่ี. กระบ่ี : มหาวิทยาลัยการกฬี าแห่งชาติ.
Search
Read the Text Version
- 1 - 19
Pages: