Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทความ E-Book ชนาภา

บทความ E-Book ชนาภา

Published by chanapa.6355, 2020-11-20 00:57:11

Description: บทความ E-Book ชนาภา

Search

Read the Text Version

1 กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงรายThe Process of Building Peaceful Relations by the Principles of Peaceful Means in the Integrated Perspective of Doi Chang Community, Chiengrai Province 1ชนาภา ศรีวิสรณ์ และ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส21Chanapa Srivisorn and Phramaha Hunsa Dhammahaso 21,2สาขาวิชาสันติศึกษา คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย1,2Branch of Peace Studies, Graduate School, Mahachulalongkornrajavidyalaya University 1Corresponding Author. Email: [email protected] บทคัดย่อบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทสภาพปัญหาและแนวคิดการสร้างความสัมพนธ์ของชมชนดอยชาง จังหวัดเชยงราย 2) ศึกษากระบวนการสร้างสันติสุขสมพนธ์ตามัุ้ีััหลักสันติวิธี และ 3) เสนอกระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนาม ประชากรผู้ให้ข้อมูลนักวิชการ นักการศาสนา ผู้นำชุมชน ชาวบ้านชุมชนดอยช้าง จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) บริบทสภาพปัญหาความสัมพันธ์ของชุมชนแบ่งเป็น ประเด็น คือ . มีอคติต่อกัน 4 12. ยึดติดอุดมการณ์ . ไม่ยอมรับความจริง และ . ชอบมีความเห็นขัดแย้ง สำหรับการสร้าง 34ความสัมพันธ์ของชุมชนดอยช้าง คือ อยู่ร่วมกัน แบ่งปัน ยืนหยัดอยู่ด้วยตน มีจิตคิดช่วยเหลือภายใต้ความแตกต่างและเคารพวัฒนธรรมของกันและกันอย่างสันติ กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์(2)ตามหลักสันติวิธี ด้วยหลักสาราณียธรรม และพทธสานเสวนา กล่าวคือ 1) การทำความดีต่อกันุรู้จักสัมมาคารวะ 2 การพูดกันด้วยความรัก ปรารถนาดี 3 การมองกันในแง่ดี มีเมตตาต่อกัน ) ) 4 การรู้จักแบ่งปัน ไม่เอารัดเอาเปรียบ เสมอภาคต่อกัน 5 การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ) ) เคารพในสิทธิเสรีภาพของบุคคล 6 การมีความคิดเห็นเสมอกัน และ พุทธสานเสวนา คือ ) กระบวนการมีส่วนร่วมที่เน้นการฟงอย่างผู้รู้ คือ รู้ทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ รู้ความดับทุกข์ และรู้ทางัพนทุกข์้ (3) กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพนธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการอยู่ภายใต้หลักการัอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขด้วยความสัมพันธ์ที่ดีที่เรียกว่า DOI CHANG MODELได้แก่ รับฟัง เปิดใจ ร่วมรับผลประโยชน์ ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรม เคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์ ดำเนินชีวิตอย่างมีสติ รักษาสิ่งแวดล้อม และ กตัญญูต่อดอยช้าง ภายใต้กรอบของการ คิดดี ทำดี พูดดีคำสำคัญ กระบวนการสร้าง สันติสุขสัมพันธ์ สันติวิธีเชิงบูรณาการ: ;;

2 AbstractThis research article aims to 1) study the context of problems, and the concept of relationship building of Doi Chang Community in Chiengrai Province; 2) study the process of building peaceful relations according to the principles of peaceful means; 3) present the process of building peaceful relations by the principles of peaceful means in the integrated perspective of Doi Chang Community, Chiengrai Province. It is a field-work qualitative research with the key informants of academic scholars, religious experts, community leaders, and folks of Doi Chang Community totaling 30 persons. From the research, it is found: (1) The context of problems related to relationship of the community is divided into 4 issues: 1) Having bias against one another, 2) Adhering to beliefs, 3) Not accepting the actuality, and 4) Liking to have conflict opinions. For relationship building of Doi Chang Community, it is living together, sharing, self-standing, having heart of helping under differences, and paying respect to one another’s cultures, peacefully. (2) The process of building peaceful relations according to the principles of peaceful means with S ra iyadhamma and āṇBuddhist Dialogue: 1) Doing good and paying respect toward one another, 2) Speaking to one another with love and good wish, 3) Having kindness toward one another, 4) Sharing without taking advantages, 5) Following rules and regulations, respecting personal’s liberty and rights, 6) Having thoughts in the same level; and Buddhist Dialogue is the process of having participation emphasizing listening like the knower of suffering, cause of suffering, cessation of suffering, and the path leading to cessation of suffering, and (3) The process of building peaceful relations by the principles of peaceful means in the integrated perspective is under the principle of peaceful coexistence with good relations called DOI CHANG MODEL: Listening, open mindedness, receiving mutual interest, restoring traditional cultures respecting human value, ,leading life with mindfulness, conserving environment, and gratitude toward Doi Chang under the framework of Thinking good, doing good and speaking good.Keywords: Building process; Peaceful relations; Peaceful means in the integrated perspective

3 บทนำในอดีตบนดอยช้าง มีการทำการเกษตรที่เป็นลักษณะการทำไร่เลื่อนลอย เป็นการทำลายความสมบูรณ์ของผืนป่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จึงได้พระราชทานกาแฟพันธุ์อาราบิก้า เพื่อให้ชาวบ้านชุมชนดอยช้างได้มีอาชีพทำกินแทนการปลูกพชเสพืติด โครงการในพระราชดำริที่ส่งเสริมให้ชาวเขาทำไร่กาแฟทดแทนไร่ฝิ่นเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2516 ซึ่งได้รับความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศไทย–เยอรมัน และกรมวิชาการเกษตร ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่พัฒนาสายพันธุ์กาแฟ โดยมิได้เป็นประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมของประเทศใด (The Legend of Doi Chang Coffee, 2017) เป็นโครงการนำร่อง แต่ขายไม่ได้เพราะยังไม่ได้รับการพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับในตลาด การจำหน่ายต้องผ่านพ่อค้าคนกลางเป็นส่วนใหญ่ทำให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ จนปี 2544 เมื่อราคากาแฟถูกกดลงมาเหลือเพยงกิโลกรัมละ 10–12 บาท ปณชัย พสัยเลิศ ีิผู้ใหญ่บ้านดอยช้างในขณะนั้น และวิชา พรหมยงค์ ผู้มีประสบการณ์ในเรื่องการค้าขาย ได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาการกดราคาเมล็ดกาแฟ ต่อมาชุมชนดอยช้างจึงรวมตัวกันสร้างบริษัทดอยช้างคอฟฟ่ ีจนประสบความสำเร็จ ส่งผลให้กาแฟดอยช้างเป็นที่ยอมรับและเป็นกาแฟอันดับ 1 ของโลก ทำให้ชุมชนฯ มีการพัฒนาในทุกด้าน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (Nannapas, 2014) ต่อมาผู้ประกอบธุรกิจกาแฟจากที่อื่นเห็นประโยชน์จากชื่อเสียงของกาแฟดอยช้างทำให้ชุมชนฯ ขัดแย้งกัน (Panachai, 2019) จนเกิดวิกฤติกาแฟสวมสิทธิ์ขึ้นโดยทุนต่างชาติ ทำให้บริษัทกาแฟดอยช้างต้องเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น ดอยช้างคอฟฟี่ออริจินอล วิถีชุมชนฯ มีวัฒนธรรมความผูกพันลดน้อยลง (Akdech, 2020)ขณะเดียวกันชุมชนดอยช้างเองก็มีอัตลักษณ์ที่มีความแตกต่างหลากหลายเนื่องจากมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันถึง กลุ่ม คือ ลีซู อาข่า และจีนยูนาน ซึ่งมีโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมร่วมกัน3อย่างหลากหลาย (Amal, 2016) มีค่านิยมและความเชื่อบางอย่างที่ต่างกัน อย่างไรก็ตามชุมชนดอยช้างต่างตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงไปของชุมชน พยายามหาแนวทางรักษาเอกลักษณ์และความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชนไว้ให้ยั่งยืนต่อไป การสร้างสันติภาพ นักสันติภาพต้องเน้นความจริง ความยุติธรรม อภัยทาน สมานฉันท์ ความรู้สึก เป้าหมาย วิธีการ ความสัมพันธ์ ความมุ่งมั่น เป้าหมายแต่ใส่ใจวิธีการและความสัมพันธ์ (Phramaha Hunsa, 2015) หลักการในการจะสร้างชุมชนให้เกิดสันติสุขได้ต้องอยู่ใน มิติ คือ 5 มิติทาง กาย สังคม จิตใจ ปัญญา และผู้นำ ปัจจัยที่สำคัญคือการพัฒนาคุณธรรมของการอยู่ร่วมกันในสังคม อาทิ การเคารพให้เกียรติกัน อยู่ในกฎระเบียบข้อตกลงของชุมชนทั้งด้านทรัพย์สิน ร่างกาย วาจา ชุมชนมีความรักความสามัคคี ยึดประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ของชุมชนดอยช้างตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการ เพื่อให้เกิดสันติสุขในชุมชน ลดข้อขัดแย้งไม่ให้เกิดความรุนแรง ทางความคิด อารมณ์ โดยใช้ความรัก ความเมตตา เจรจาด้วยความเข้าอกเข้าใจกัน สร้างประสานสามัคคีให้เกิดกับชุมชน หลักสันติวิธีเชิงบูรณาการนั้นหมายถึง “พุทธสานเสวนา” ซึ่งเป็นชุดกระบวนการของที่พระพุทธเจ้า หรือเหล่าสาวกของพระองค์ได้ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้งอย่างสันติ (Phramaha Hunsa, 2011)

4 การใช้พุทธบูรณาการสานเสวนา เป็นการยกระดับจิตใจของผู้เข้าร่วมกระบวนการในการสร้างความสันติสุขมุ่งสู่ความสามัคคี ลดการสูญเสียอย่างเป็นธรรม พระพุทธองค์ทรงเข้าใจถึงกฎธรรมชาติเบื้องลึกของจิตใจมนุษย์ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ผิดกับการใช้ความรุนแรง ซึ่งทุกฝ่ายอ้างว่าเป็นวิธีการสุดท้าย ผู้วิจัยเชื่อว่า “สันติวิธีเชิงบูรณาการ” สามารถนำมาสร้างความสัมพันธ์ โดยการนำหลักธรรม“สาราณียธรรม ได้แก่ เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม สาธารณโภคิตา สีล6สามัญญตา และทิฏฐิสามัญญตา เป็นธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง” (Thai Tripitaka, 8/271/361)มาใช้เป็นพลังในการสร้างความสามัคคี โดยบูรณาการร่วมกับหลักของสันติภาวนาผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดเพื่อให้เข้าถึงกระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย โดยผสานเข้ากับแนวคิดทฤษฎีของทั้งตะวันออกและตะวันตก เพื่อให้ชุมชนมีความช่วยเหลือเกื้อกูลและร่วมแรงร่วมใจในการทำอาชีพชาวไร่กาแฟ จนเป็นที่รู้จักกว้างขวางทั้งในด้านผลิตภัณฑ์กาแฟและเป็นแหล่งท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี และเป็นแบบแนวทางปฏิบัติต่อสังคมในชุมชนอื่น ๆ สืบไปวัตถุประสงค์ของการวิจัย1.เพื่อศึกษาบริบทสภาพปัญหาและแนวคิดการสร้างความสัมพันธ์ของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย 2.เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธี3.เพื่อเสนอกระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงรายวิธีดำเนินการวิจัยการศึกษาวิจัยเรื่อง กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม การเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมการสังเกตการณ์ในกิจกรรมไตรภาค ครั้ง ของชุมชนดอยช้างภายใต้การนำของผู้นำชุมชน 3เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการอภิปรายกลุ่ม พร้อมทั้งวิเคราะห์และนำสรุปการบูรณาการใช้หลักสันติบูรณาการในกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ของชุมชนดอยช้าง ซึ่งมี ขั้นตอน ดังนี้6 ขั้นตอนที่ การศึกษาในเชิงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาบริบทวิถีชีวิต 1วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมความเชื่อ และการประกอบอาชีพชาวไร่กาแฟของคนในชุมชนดอยช้างขั้นตอนที่ การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีหรือแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน2เพอให้เกิดสันติสุขตามหลักวิชาการตะวันออกและตะวันตก พร้อมทั้งหลักสันติวิธี ได้แก่ หลักสาราณียธรรม 6 ื่และหลักสันติบูรณาการ พุทธสานเสวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทขั้นตอนที่ การรวบรวมข้อมูล จัดหมวดหมู่ แบ่งประเภทไม่ว่าจะเป็นทั้งหลักการ วิธีการ3หรือแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้เกิดสันติสุขพร้อมทั้งหลักสาราณียธรรม 6 และสันติบูรณาการ พุทธสานเสวนา ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีความสัมพันธ์

5 ต่อกระบวนการสร้างความสัมพนธ์ของคนในชุมชนเพื่อให้เกิดความรักและความสามัคคีปรองดอง ัมีความอาทรเกื้อกูลกันเป็นบรรยากาศแห่งสันติสุขขั้นตอนที่ สร้างเครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วยการเข้าร่วมกิจกรรม4พร้อมการสังเกตการณ์ในกิจกรรมไตรภาค จำนวน ครั้ง ของชุมชนดอยช้างภายใต้การนำชอง3ผู้นำชุมชนคือผู้ใหญ่บ้าน และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของชุมชนดอยช้าง การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยคำถามที่ใช้จะผ่านกระบวนการเรียบเรียงให้สอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีสำคัญต่าง ๆ ทั้งของทางตะวันตก ตะวันออกและในพระพทธศาสนา เพอให้สอดคล้องกับเนื้อหาและประเด็นุื่ที่จะศึกษา และการจัดอภิปรายกลุ่ม โดยแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็น กลุ่ม คือ กลุ่มประชากรทั่วไป2จำนวน คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือกลุ่มชาวบ้านในชุมชน ชาวไร่กาแฟดอยช้าง อำเภอแม่สรวย 10 จังหวัดเชียงราย จำนวน คน รวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน คน 20 30ขั้นตอนที่ นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมด มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อให้ได้เป็นแนวทางสู่5ภาคปฏิบัติของกระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ของชุมชนดอยช้างตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการ ให้เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะทางของชุมชนดอยช้าง ขั้นตอนที่ สรุปผลการวิจัยและนำเสนอกระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติ6วิธีเชิงบูรณาการของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย โดยใช้การเรียบเรียงเชิงเนื้อหา ทำเป็นแผนผังเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาและการพัฒนาชุมชนอื่น ๆ ให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกันอภิปรายผลการวิจัยการศึกษาวิจัยเรื่อง กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยได้สรุปผลการศึกษาไว้ ดังนี้ (1) วัตถุประสงค์ที่ บริบทสภาพปัญหาและแนวคิดการสร้างความสัมพันธ์ของชุมชนดอยช้าง 1จังหวัดเชียงราย พบว่า สาเหตุการไม่ฟังกันเกิดจากอัตตายึดมั่นในความคิดตนเอง ถือตัว มีอคติ ไม่กล้ารับความจริง ปิดกั้นความคิดเห็นของผู้อื่น ผู้วิจัยจึงได้จัดให้ชุมชนดอยช้างมาล้อมวงโดยใช้กระบวนการสานเสวนาให้สมาชิกรับฟังซึ่งกันและกัน เกิดความเข้าอกเข้าใจกันมากขึ้น ทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งในชุมชนเริ่มดีขึ้น สอดคล้องแนวคิดที่ว่าชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเข้มแข็งและแบ่งปันได้ ทั้งระหว่างคนกับคน ระหว่างคนกับป่า ระหว่างคนกับธรรมชาติ และการยืนหยัดด้วยตัวเอง มีพื้นที่อยู่อาศัยที่มีจุดแข็งจุดเด่น สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศที่เอื้อต่อการแสดงศักยภาพพื้นฐานของความมีจิตสำนึกที่ต้องการจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Praves, 1996) (2) วัตถุประสงค์ที่ กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธี พบว่า กระบวนการ2สานเสวนา เป็นกระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ที่สามารถถอดองค์ความรู้และหลักคิดตามแนวทางตะวันตกมาบูรณาการกับหลักคิดทางตะวันออก ซึ่งเป็นหลักคิดในการบูรณาการหลักทางพระพุทธศาสนาเข้าไปร่วมในกระบวนการ “พุทธสานเสวนา” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการสนทนาแบบลึกซึ้ง ที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจทั้งมุมมองของตนและผู้อนได้ดียิ่งขึ้น โดยยอมรับความแตกต่างของื่จุดยืน ความคิด และอัตลักษณ์ของผู้สนทนา เพื่อให้การสานเสวนาเป็นการสนทนาที่สานความเข้าใจผู้พูดจะต้องพูดอย่าง มีสติ เปิดใจ ไม่อนุมานความคิดความเชื่อของผู้อื่นมาวิเคราะห์ ตีความ หรือ

6 ตัดสิน สอดคล้องกับผลการศึกษาของ พระเมธาวินัยรส ปสิวิโก) ((Phra Methavinairos, 2017) ที่พบว่า รูปแบบพฤติกรรมที่จะนำมาซึ่งความปรองดองสามัคคีของหมู่คณะ ทำให้เป็นผู้มีความรักความเมตตา มีการช่วยเหลือเกื้อกูล มีความเข้าใจอันดี มีมนุษย์สัมพันธ์ มีความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม มีการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น มีการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน ไม่แบ่งแยกเป็นพรรคหรือเป็นฝ่าย และมีความเคารพในเหตุผลของคนส่วนใหญ่ เหล่านี้จะทำให้เกิดความรัก ความเข้าใจความสมัครสมานสามัคคีกัน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของพระปลัดวิศรุต (Phrapalad Wisarut, 2015) เช่นกัน ทั้งยังประยุกต์หลัก “สาราณียธรรม ” ได้แก่ เมตตากายกรรม การกระทำทางกายที่มีเมตตา 6ต่อกัน เมตตาวจีกรรม พูดจาสุภาพอ่อนหวาน เมตตามโนกรรม ไม่คิดมุ่งร้ายพยาบาท สาธารณโภคี การรู้จักแบ่งปันกัน สีลสามัญญตา สามัคคีกัน ทิฐิ สามัญญตา การเคารพในการตัดสินใจและรับฟงัความคิดเห็นของผู้อน มาเกื้อหนุนให้เกิดความปรองดองที่สมบูรณ์มากขึ้นสอดคล้องกับผลการศึกษาื่ของ วรภาส ประสมสุข (Worapas, 2006) ที่พบว่า สาราณียธรรม 6 เป็นหลักธรรมในการสร้างความรักความมีไมตรีจิตต่อกัน และผลการศึกษาของ สมโภชน์ สุวรรณรัตน์ ที่พบว่า การสร้างความสามัคคีปรองดองของชุมชนหรือหมู่บ้าน ต้องยึดตามแนวทางของเมตตาธรรมตามหลักสาราณียธรรม 6ในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ผ่านกิจกรรมและพิธีกรรมต่าง ๆ เพราะมีความสำคัญกับการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีร่วมกัน (Sompoch, 2017) (3) วัตถุประสงค์ที่ กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการของ3ชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย พบว่า รูปแบบ “ดอยช้างสัมพันธ์” เป็นกระบวนการที่ขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมที่อยู่ภายใต้กรอบ การคิดดี คือ การมีพฤติกรรมทางใจที่ประกอบด้วยเมตตา ทำดี คือ มีพฤติกรรมทางกายที่ประกอบด้วยเมตตา แสดงไมตรีและความหวังดีต่อเพอนร่วมชุมชน ื่มีความประพฤติสุจริต เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม การพดดี คือ การมีพฤติกรรมทางวาจาูที่ประกอบด้วยเมตตา แนะนำสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยวาจาสุภาพองค์ความรู้ใหม่องค์ความรู้ใหม่ที่ได้ คือ การสังเคราะห์ผลลัพธ์จากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ สานเสวนาพาสุข (ศุกร์), การร่างข้อตกลงและการประกาศใช้, การแสวงหาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ, วันคืนดิน ถิ่นกตัญญู, การรักษาอัตลักษณ์, ต้นกล้าของพ่อ ส่งต่องานของแม่ และการจัดอบรมด้านภาษา เพิ่มเติมจากกิจกรรมเดิมคือ การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน เพื่อสานสัมพันธ์ของชาวไร่กาแฟดอยช้างภายใต้หลักการ ได้แก่ การแบ่งปัน การให้กำลังใจ ความหวังดี การให้ความช่วยเหลือ 6 1) 2) 3) 4) 5) การไม่เบียดเบียน และ การยึดมั่นในข้อตกลง การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าว ผู้วิจัยได้ใช้6) กระบวนการสร้างสันติสุขตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย ในรูปแบบ “ดอยช้างสัมพันธ์” (DOI CHANG MODEL) มีรายละเอียด ดังนี้

7 (1) D = Deep Listening: การรับฟังกันอย่างลึกซึ้งด้วยหัวใจ ด้วยพลังงานของความสงบ การรับฟังนี้ส่งผลให้เกิดกิจกรรมโครงการที่สะท้อนถึงการมีส่วนร่วม และความสามัคคีของชุมชน(2) O = Open-mindedness: การเปิดใจรับฟังความเห็นต่างของเพื่อนสมาชิกชาวไร่กาแฟดอยช้าง มีการเปิดใจที่จะปรับตัว ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม นำสู่การเปิดใจแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ มีการเพิ่มการประชุมกันเนืองนิตย์ เกิดการปรับทัศนคติความเข้าใจต่อกันที่ดียิ่ง ๆ ขึ้น(3) I = Interest: การร่วมรับผลประโยชน์จากกระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ กิจกรรมวันคืนดิน ถิ่นกตัญญู ลานแบ่งปัน ลานแสดงนิทรรศการ โดยทุกคนได้มาร่วมคด ิร่วมทำและร่วมรับผลประโยชน์(4) C = Culture: การฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม ชุมชนดอยช้างปัจจุบันเป็นชุมชนหลายชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา ความเชื่อ พิธีกรรมต่าง ๆ เมื่อมีงานก็จะเชิญคนในชุมชนมาร่วมกัน สร้างความเข้าใจกัน อยู่ร่วมกนอย่างสันติสุขั(5) H = Humanity: การเคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์ ให้ความสำคัญต่อเพื่อนมนุษย์โดยการช่วยเหลือเกื้อกูล เมตตาอนุเคราะห์กัน การแบ่งปันของชุมชนชาวไร่กาแฟดอยช้าง ได้สะท้อนความมีมนุษยธรรม สามารถแบ่งปันความรู้ร่วมกันได้(6) A = Awareness: การดำเนินชีวิตอย่างมีสติ ทำให้วิถีชุมชนดอยช้างมีความมั่นใจในระบบความเชื่อใจ ศรัทธาเชื่อมั่น ทำให้ชุมชนมีความสามัคคีในกิจกรรมเพื่อประโยชน์ส่วนรวม(7) N = Nature: การรักษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมอัน ได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ลำธาร พื้นดิน เป็นการเป็นแหล่งที่ตั้งโครงการหลวงทำให้ชุมชนชาวไร่กาแฟดอยช้างมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในทุกด้าน(8) G = Gratitude: การมีความกตัญญูต่อดอยช้าง วิถีการดำรงชีวิตของชาวไร่กาแฟดอยช้างที่มีความกตัญญูต่อธรรมชาติและสภาพสิ่งแวดล้อมบนดอยช้าง ได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ลำธาร พื้นดิน

8 เป็นการบ่มเพาะจิตใจให้คนอยู่ร่วมกันด้วยวิถีการเคารพ ให้เกียรติ กตัญญู ดูแลกัน นำไปสู่การมีส่วนร่วมในการรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนที่ดำรงวิถีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขสรุปจากการศึกษาวิจัย เห็นได้ว่า กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ที่สามารถถอดองค์ความรู้และหลักคิดตามแนวตะวันตกมาบูรณาการกับหลักคิดทางตะวันออกซึ่งเป็นหลักคิดในการบูรณาการหลักทางพระพุทธศาสนาเข้าไปในกระบวนการ “พุทธสานเสวนา” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการสนทนาแบบลึกซึ้งที่มุ่งเปิดใจรับฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจทั้งมุมมองของตนและของผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น ตามหลักพระพุทธศาสนาและตามหลักทฤษฎีตะวันตกต่างก็เน้นมุมมองในเรื่องของการฟังเป็นประเด็นสำคัญ แต่ก็มีประเด็นรายละเอยดของการฟังที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การฟังในหลักพระพทธศาสนา เป็นการฟังีุเพอให้ได้มาซึ่งปัญญาตามหลักสัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) เพอเป็นปัจจัยที่นำไปสู่จุดหมายที่สูงกว่าื่ื่ก็คือความหลุดพ้นจากทุกข์ ซึ่งผู้วิจัยเรียกว่า “พุทธสานเสวนา” ส่วนแนวคิด ทฤษฎีตะวันตก ไม่จำเป็นต้องให้ได้ทางออกเป็นความหลุดพ้นจากทุกข์ เป็นเพียงการฟังเพอยกระดับความสัมพนธ์ที่ดีื่ัต่อกันและมีสมานฉันท์เป็นจุดหมายข้อเสนอแนะ1. ข้อเสนอแนะในการนำไปประยุกต์ใช้ ชุมชน องค์กร หน่วยงานที่ต้องการสร้างชุมชนของตนเองให้เกิดความมั่นคงหรือ1.1สามัคคีร่วมกัน สามารถนำกระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติบูรณาการของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย ไปปรับใช้ได้ 1.2 วิธีการนำไปปรับใช้กับชุมชนอน ๆ คือต้องยอมรับสภาพปัญหาและต้องการื่ที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ต้องกล้าที่จะทิ้งความคิดความเชื่อเก่าๆ สู่การเรียนรู้ปรับเปลี่ยนทัศนคติไปสู่แนวคิด ที่ก้าวหน้ากว่า ไม่นิ่งดูดายต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนและพร้อมที่จะเปิดใจรับฟงักันอย่างลึกซึ้ง 1.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต. วาวี พัฒนาชุมชนอำเภอแม่สรวย ควรนำกระบวนการพุทธสานเสวนา ไปปรับใช้กับพื้นที่ชุมชนอื่น ๆ ในตำบล อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายที่กำลังประสบปัญหาเรื่องความขัดแย้งในชุมชนและยังแก้ปัญหาไม่ได้อยู่ ณ ขณะนี้2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนดอยช้างภายใต้กรอบแนวคิดบ้าน วัด โบสถ์ โรงเรียน2.2 ศึกษาแนวทางการสร้างความสัมพันธ์เพื่อการอยู่ร่วมกันด้านพหุวัฒนธรรมของชุมชนดอยช้าง ตามหลักสันติวิธี2.3 ศึกษาแนวทางการรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนดอยช้างตามหลักสัปปายะ

9 References Collection of Royal Instructions and Speech. (1955-1992). Bestowed upon Kasetsart University. Retrieved January 8, 2020, from http://www.sa.ku.ac.th/king-spku/. Doi Chaang Coffee. (2017). \"Doi Chaang Coffee Legend\" page 1. Retrieved January 7, 2020, from http: //doichaangcoffee.co.th/about-us/ the-legend /. Phisailert, P. (2019). Managing Director of Doi Chaang Coffee Company. Interview. December, 27. Phramaha Dhammahaso, H. (2011). Buddhist Peaceful Means. Bangkok: 21 Century Company Limited. p. 197. ________. (2015). Teaching Document on the Subject of Buddhist Peaceful Means. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Phrapalad Thirasadho, W. (2015). Buddhist Dialogue for Building Unity between the Temple and Ban Nhongphai Community, Kanchanaburi Province. Thesis for Master Degree in Peace Studies Program. Grtaduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Abstract. Phra Pasiwiko, M. (2017). The Model of Enhancing Harmony and Peace by the Five Precepts of the People in Saraburi Province. Research Article. MCU Peace Journal. 5 Yr. Vol. 1 (January-April). P. 9. thPieuseku, A. (2020). Doi Chang coffee farmer. Interview. December, 29. Prasomsuk, W. (2006). The Principle of Educational Management by Way of Buddhadhamma. Doctoral Degree of Educational Philosophy in Educational Management. Faculty of Education. Naresuan University. Abstract. Sapchoketanakul, N. (2014). Doi Chaang Coffee: Quality of Life of Thai Entrepreneurs under Fair Trade Brand. Veridian E-Journal, Year 7 Issue No. 2, (May-August): pp. 1327-1338. Suwanrat, S. (2017). The Building of Unity in the Model Village of Sufficient Economy by the Principle of Buddhadhamma. Dissertation of Doctor of Philosophy in Buddhist Studies. Graduate School. Mahamakut Buddhist University. Abstract. Thai Tripitaka, 8/271/361. Thammachimwilaisap, A. (2016). Sustainable Community Development: A Case Study of Ban Doi Chang Community Tambon Wawee, Mae Suai District, Chiang Rai .

10 Province. Faculty of Architecture Rangsit University, Rangsit University National Academic Conference. pp. 559-560. Vasee, P. et. al. (1996). Buddhism and Thai Social Spirit: Research Issue on Religions and Cultures. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Press. p. 49.

11 “สิงทั้งหลาย สาเร็จแล้วด้วยใจ”่มโนสฏฐา มโนมยาฺ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook