Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ศิลปะลายไทย

ศิลปะลายไทย

Published by babyframe08, 2023-02-21 04:42:39

Description: ศิลปะลายไทย

Search

Read the Text Version

ศิลปะลายไทย

พื้ นฐานศิลปะลายไทย ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายพุ่ม หรือลายหน้าขบ ลายกนก

จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนสามารถระบุที่มาของลายไทย พื้นฐานได้อย่างดี 2. นักเรียนสามารถวาดภาพลายไทย ได้ถูกต้องตามขั้นตอนของลายไทย

ลายกระจัง ลักษณะของลายกระจัง แม่ลายกระจังเป็นแม่ลายที่ได้รับ แรงบันดาลมาจากฟันปลา ตาอ้อย หรือดอกบัว เป็นแม่ลายที่ประดิษฐ์ หรือเขียนขึ้นภายในรูปสามเหลี่ยม ด้านเท่า

ประโยชน์ของกระจัง แม่ลายกระจังเป็นลวดลายที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการเขียน เป็นลวดลาย ประกอบตามขอบลาย เขียนให้ส่วนยอดตั้งขึ้นเรียกว่า “บัวหงาย” เขียนให้ส่วนยอดลงด้านล่าง เรียกว่า “บัวคว่ำ” เขียนให้ยอดเอนเรียกว่า “บัวรวน”

ลายประจำยาม ลักษณะของแม่ลายประจำยาม สันนิษฐานว่ามีที่มาจากดอกจันหรือลูก จัน เป็นแม่ลายที่เขียนอยู่ในรูปร่าง สี่เหลี่ยมจัตุรัส ตะแคง มีลักษณะคล้าย ดอกไม้ มีเกสรเป็น รูปวงกลมอยู่ตรง กลาง มีกลีบมนแหลม คล้ายกลีบบัว ล้อมอยู่โดยรอบ 4 กลีบ ด้วยกัน

ประโยชน์ของประจำยาม ใช้เป็นที่ออกลาย หรือใช้เป็นที่ห้ามลายหรือหยุดลาย ลายนี้มีประดับอยู่ตามเสา ขอบประตู หน้าต่างของโบสถ์ วิหาร ติดประดับอยู่ที่เครื่องสวมหัวประจำอยู่ทั้ง 4 ด้าน ลายประจำยามนี้เมื่อนำไปใช้กับลวดลายอื่น ๆ มีชื่อเรียกต่างกัน เช่น ประจำยามก้ามปู ประจำยามลูกฟักก้ามปู

ลายพุ่ มหรือลายหน้าขบ แม่ลายพุ่ มยังสามารถเขียนเป็นลายได้อีก หลายชนิด ซึ่งเขียนเป็นลายอย่างไรก็เรียก อย่างนั้น เช่น ลายหน้าขบ ซึ่งมีที่มาจาก หน้าศัตรูที่ดุร้าย หรือประดิษฐ์มาจากหน้า สัตว์หิมพานต์ต่าง ๆ ที่ใช้ปาก ฟัน เขี้ยว ขบกัด จึงเรียกว่า “หน้าขบ”

ประโยชน์ของลายพุ่ ม ใช้เป็นที่ออกเถาลาย หรือใช้เป็นภาพขบกัดลาย ในบางตอน เพื่อเพิ่มความรุนแรงเปรียบเทียบ กับความอ่อนหวานของลวดลาย นอกจากนี้ยังใช้เป็นลายกั้นกลางเพื่ อห้าม ลายสองเถาไม่ให้มาชนกัน และใช้เขียนตกแต่ง ตามบานประตู หน้าต่าง เสา ฝาผนัง ฯลฯ

ขั้นตอนการเขียนลายกนกสามตัว

ลายกนก ลายกนก เป็นลายพื้นฐานหนึ่งที่สำคัญ ของ ลายไทยในงานจิตรกรรมไทย มีพื้นฐาน จาก สามเหลี่ยมชายธง (สามเหลี่ยมมุมฉาก) อาจมี ตัวเดียว หรือหลายตัวก็ได้ มักมีฐานมุม แหลม หันไปทางเดียวกัน โดยมีขนาด และสัดส่วนที่ แตกต่างกันไป

ขั้นตอนการเขียนลายกนกสามตัว

จัดทำโดย นางสาว ภาณุมาส แดงน้อย นักศึกษาฝึกประสบการณ์ปีที่5 มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook