Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รัชกาลที่ 8

รัชกาลที่ 8

Published by wikoy59, 2020-06-21 05:42:23

Description: รัชกาลที่ 8

Search

Read the Text Version

พระราชประวตั ิ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันท มหิดล มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อานันทมหิดล ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ท่ี 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ตรงกับวันขึ้น 3 คํ่า เดือน 11 ปีฉลู ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมันนี ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ท่ี 2 ของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้า มหิดลอดลุ ยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และสมเด็จ พระราชชนนีศรีสังวาลย์ ทรงมีพระพี่นางและพระอนุชา ร่วมสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระราชชนนี เดียวกันคือ 1. สมเดจ็ พระเจา้ พีน่ างเธอ เจ้าฟา้ กัลยาณิวัฒนา 2. สมเด็จพระเจา้ นอ้ งยาเธอ เจ้าฟา้ ภูมิพลอดลุ ยเดช พ.ศ. 2472 สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลย เดชกรมหลวงสงขลานครินทรเ์ สดจ็ ทวิ งคต

พระราชประวตั ิ พ.ศ. 2474 พระองค์ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่ โรงเรียนมาแตร์เดอี ถนนเพลินจติ พ.ศ. 2476 เสด็จพระราชดําเนินไปทวีปยุโรป ประทับ ณ เมืองโลซานน์ประเทศสวสิ เซอร์แลนด์ พ.ศ. 2477 ทรงเสด็จขึน้ ครองราชย์ เมือ่ วันท่ี 2 มีนาคม พ .ศ. 2477 เนื่องจ ากพร ะบาทสมเด็ จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ จะสืบราชสันตติวงศ์ และด้วยความเห็นชอบของผู้สําเร็จ ราชการแผ่นดนิ ทไ่ี ด้ดําเนินการไปตามกฎมณเฑยี รบาล พ.ศ. 2481 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ได้เสด็จพระราชดําเนินกลับเยี่ยมประเทศ ไทยพร้อมด้วยสมเด็จพระชนนี สมเด็จพระพี่นางเธอและ สมเด็จพระเจ้าน้องเธอ ได้ทรงประประทับอยู่ที่พระตําหนัก จิตรลดารโหฐาน

พระราชประวตั ิ ประมาณ 2 เดือน จึงเสด็จไปประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ เพื่อเข้าศึกษาวิชานิติศาสตร์ และการ ปกครองในมหาวิทยาลัยประเทศนนั้ พ.ศ. 2488 วันท่ี 20 กันยายน พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ จึงเสด็จกลับมาถึงประเทศ ไทยอีกครั้งหนึ่ง และในวันท่ี 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ไ ด้ ท ร ง ป ร ะ ทั บ อ ยู่ ณ พ ร ะ ท่ี นั่ ง บ ร ม พิ ม า น ใ น พระบรมมหาราชวังผู้สําเร็จราชการแทนคนล่าสุดคือ นายปรีดี พนมยงค์ ได้ถวายพระราชภารกิจแด่พระองค์ เพื่อได้ทรงบริหารเตม็ ที่ตามพระราชอํานาจ

พระราชกรณียกิจ การปกครอง พระองค์ได้เสด็จพระราชดําเนินไปในพระราชพิธีพระราชทาน รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และ เปิดประชุมสภาผู้แทนในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 นอกจากนี้ ยงั เสดจ็ พระราชดําเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ และทรงเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สําเพ็ง พระ นคร พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลย เดช เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความ ขัดแย้งกันระหว่างชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนจนเกือบเกิด สงครามกลางเมือง เมื่อพระองคท์ รงทราบเรือ่ ง มพี ระราชดําริว่า หากปล่อยความขนุ่ ข้องบาดหมางไว้เช่นนี้ จะเปน็ ผลร้ายตลอดไป จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดําเนินสําเพ็ง ซึ่งใช้ระยะเวลา ประมาณ 4 ชั่วโมง และพระองค์ทรงพระราชดําเนินด้วยพระ บาทเปน็ ระยะประมาณ 3 กิโลเมตร การเสด็จพระราชดําเนินสํา เพง็ ในคร้ังนี้จงึ เปน็ การประสานรอยร้าวที่เกิดข้ึนให้หมดไป

พระราชกรณียกิจ การศาสนา ในการเสด็จนิวัติพระนครคร้ังแรกนั้น พระองค์ได้ประกอบพิธีทรง ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถวัด พระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดําเนินไปทรงนมัสการพระพุทธรูปในพระ อารามที่สําคัญ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และวัด เทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยเฉพาะที่วัดสุทัศนเทพวรารามราช วรมหาวิหารน้ัน พระองค์เคยมีพระราชดํารัสกล่าวว่า \"ที่นี่สงบเงียบน่า อยู่จริง\" ดังนั้น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต จึงได้นําพระบรมราช สรีรางคารของพระองค์มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้ พระองค์ยงั ทรงต้ังพระราชหฤทัยว่าจะผนวชในพระพุทธศาสนา โดยได้ มีพระราชหัตเลขาถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2489 ทรงขอสังฆราชานุเคราะห์ใน การศึกษาตําราทางพระพุทธศาสนาเพื่อใช้ในการเตรียมพระองค์ใน การที่จะอุปสมบท แต่ก็มิได้ผนวชตามที่ตั้งพระราชหฤทัยไว้[15] นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์บํารุงวัดวาอาราม กับ พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอืน่ ตามสมควร

พระราชกรณียกิจ การศึกษา ในการเสด็จนิวัติพระนครในครั้งที่ 2 พระองค์ทรงได้ประกอบพระราช กรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศ โดยเสด็จพระราช ดําเนินทอดพระเนตรกิจการของหอสมุดแห่งชาติ รวมทั้ง เสด็จพระ ราชดําเนินไปทรงเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ทรงศึกษาขณะ ทรงพระเยาว์ นอกจากนี้ พระองค์ยังได้เสด็จพระราชดําเนิน พระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกของพระองค์ ณ หอประชุม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 [23] และอีกครั้งที่ หอประชุมราชแพทยาลัย ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยในการ พระราชทานปริญญาบัตรคร้ังนี้ มีพระราชปรารภให้มีการผลิตแพทย์ เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน โรงเรียนแพทย์ แห่งที่ 2 จึงได้ถือกําเนิดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งในปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากน้ัน ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงหว่านข้าว ณ แปลงสาธิต ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งถือเป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อน เสด็จสวรรคต

พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหาอานนั ทมหดิ ลเมือ่ ยงั ทรงพระเยาว์

สมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั อานันทมหดิ ล สมเดจ็ พระราชชนนี และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั ภมู พิ ลอดลุ ยเดช

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบ ดินทร พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นคร้ังแรก ณ สําเพ็ง พระนคร เมื่อ พ.ศ. 2489


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook