Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ธรรมะครองใจคน

ธรรมะครองใจคน

Description: ธรรมะครองใจคน

Search

Read the Text Version

5 0 ธ ร ร ม เ พื่ อ ค ร อ ง ใ จ ค น อีกอย่างหน่ึงคือ  สุภาสิตสูตร  ขุททกนิกาย  สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ หน้า ๔๑๑ พระพุทธองค์ทรงแสดงวาจา สภุ าษิตว่าประกอบด้วยองค์ ๔ คือ ๑. กลา่ วแต่วาจาทดี่  ี ไมก่ ลา่ ววาจาชว่ั ๒. กลา่ วเป็นธรรม ไมก่ ลา่ วคำ� ทไ่ี ม่เป็นธรรม ๓. กลา่ ววาจาน่ารัก ไมก่ ล่าววาจาอันไมน่ ่ารัก ๔. กลา่ วคำ� จริง ไมก่ ลา่ วค�ำเหลาะแหละ รวมความว่า ปิยวาจาก็คือวาจาสุภาษิต การพูดดี พูดถูก กาลเวลา พูดค�ำจรงิ  พดู มีประโยชน ์ พดู อ่อนหวาน และพูดดว้ ย จติ เมตตา สว่ นคำ� พดู นา่ รกั  พดู เพอ่ื ใหค้ นอน่ื รกั  ใหค้ นอนื่ หลง แต่ ขาดลักษณะแห่งวาจาสุภาษิต โดยเฉพาะอย่างย่ิงค�ำหลอกลวง แม้จะฟังดูน่ารักเพียงไรตามที่ผู้พูดประดิษฐ์คิดค้นข้ึน วาจาเช่น นัน้ ก็ไมเ่ ปน็ ปิยวาจา เพราะคำ� พดู นนั้ ไปท�ำลายประโยชนข์ องผฟู้ ัง

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 51 ผกู้ ลา่ วปยิ วาจาซง่ึ ประกอบดว้ ยคณุ ลกั ษณะดงั กลา่ วมา ยอ่ ม เป็นที่รักท่ีเคารพยกย่องของคนทั้งหลาย  จึงเป็นสังคหวัตถุอย่าง หนง่ึ  เปน็ การสรา้ งเสนห่ ใ์ หแ้ กต่ นอยา่ งถกู ตอ้ งมรี ากฐาน นน่ั คอื การ สร้างเสน่ห์ด้วยคุณธรรม  เป็นการสร้างที่ม่ันคงไม่เล่ือนลอย  มีเหตุ มีผล  อธิบายได้  และใครๆ  ก็ปฏิบัติได้  ถ้ามีความตั้งใจจริงและเห็น ประโยชนข์ องปยิ วาจาด้วยความรสู้ กึ ทแี่ ท้จริง



อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 53 ๓. อตั ถจรยิ า การประพฤติประโยชน์ ที่แปล  อัตถจริยา  ว่า  การประพฤติประโยชน์  นั้น  เป็นการ แปลตามตวั อกั ษร ถอื เอาความหมายวา่  การบ�ำเพญ็ ประโยชน ์ การ ทำ� ตนให้เป็นประโยชนต์ ่อตนเองและต่อคนท้งั หลาย คนเราเกิดมามี อวยั วะแขนขาเหมอื นกนั  ใครจะมคี า่ ตวั มากหรอื นอ้ ยเพยี งไร จะเปน็ คนสูงหรือต่�ำอย่างไร  ก็สุดแล้วแต่เขาท�ำตัวให้มีประโยชน์มากน้อย เพียงใด บคุ คลผบู้ รรลปุ ระโยชนต์ นแลว้  กค็ วรทำ� ประโยชนแ์ กผ่ อู้ น่ื บา้ ง ตามก�ำลังสามารถ  พูดอีกอย่างหน่ึง  เม่ือช่วยตัวเองได้แล้ว  ก็ควร ชว่ ยผอู้ นื่ ดว้ ย ในการดำ� เนนิ ชวี ติ นน้ั  ควรใหป้ ระโยชนต์ นและประโยชน์ ผู้อ่ืนประสานกัน คือให้ได้รับประโยชน์ด้วยกันท้ังสองฝ่าย อันท่ี จรงิ ไมม่ ปี ระโยชนต์ นท่ีประกอบดว้ ยธรรม (คือถูกต้อง) อนั ใดที่ ไม่เป็นประโยชน์ผู้อ่ืน และในท�ำนองเดียวกัน ไม่มีประโยชน์ผู้อื่น อันใดที่ถูกต้องจะไม่เป็นประโยชน์ตนด้วย ประโยชน์ท้ังสองย่อม อาศัยซ่ึงกันและกนั ด�ำเนนิ ไป

5 4 ธ ร ร ม เ พ่ื อ ค ร อ ง ใ จ ค น ทางด�ำเนินของประโยชน์  ท่ีส�ำคัญอย่างหนึ่งก็คือ  หน้าที่ กล่าวคือ  ผู้ต้องการท�ำตนให้เป็นประโยชน์แก่ตนหรือแก่ผู้อ่ืนก็ตาม หนทางที่จะท�ำประโยชน์ให้ได้ดีที่สุดก็คือการท�ำหน้าที่ของตนให้ สมบรู ณ ์ ตนเปน็ อะไร อยใู่ นฐานะอยา่ งใด มหี นา้ ทอ่ี ะไร การท�ำหนา้ ที่ ของตนให้สมบูรณ์นั่นแหละคือการท�ำประโยชน์  ตัวอย่าง  ในฐานะ เป็นลูก  ท�ำหน้าท่ีของลูกอย่างดีท่ีสุดต่อพ่อแม่  ในฐานะเป็นพ่อแม่ ทำ� หนา้ ทขี่ องพอ่ แมอ่ ยา่ งดที สี่ ดุ  ในฐานะเปน็ คร ู อาจารย ์ เปน็ เพอื่ น เป็นศาสนิกของศาสนา  เป็นพลเมืองของชาติ  เป็นสามีหรือภรรยา เปน็ ญาตพิ นี่ อ้ ง เปน็ นายจา้ ง หรอื เปน็ ลกู จา้ ง จะเหน็ ไดว้ า่  คนคนเดยี ว  ซง่ึ มหี นา้ ทเ่ี กย่ี วขอ้ งมากมายนน้ั  การทำ� หนา้ ทข่ี องตนใหส้ มบรู ณจ์ งึ เป็นการท�ำประโยชน์แก่ผู้อ่ืนไปด้วยในตัว  และการท�ำประโยชน์แก่ผู้ อนื่ กเ็ ปน็ การสง่ เสรมิ ตนเองใหม้ ฐี านะสงู ขนึ้  ดงั นน้ั  ประโยชนท์ ง้ั สอง คือประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น  จึงอิงอาศัยกันอยู่อย่างแยกกัน ไมอ่ อก

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 55 คนเราเกิดมาแล้ว  ทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับคนอ่ืนๆ  ในฐานะ ต่างๆ  ซึ่งมีความผูกพันให้เราต้องปฏิบัติหน้าที่ตามท่ีเกี่ยวข้องนั้น การทจ่ี ะปฏบิ ตั หิ นา้ ทท่ี กุ ๆ อยา่ งทตี่ นมอี ยใู่ หบ้ รบิ รู ณน์ นั้  คอ่ นขา้ งจะ ท�ำได้ยาก  เพราะฉะน้ัน  คนที่ท�ำหน้าที่ของตนให้บริบูรณ์ได้  จึงเป็น บคุ คลทห่ี าไดย้ าก และเราอาจสรปุ ลงไดว้ า่  คนทดี่ ที ส่ี ดุ หรอื มปี ระโยชน์ ทส่ี ุดนัน้ ก็คอื  คนทีท่ �ำหนา้ ที่ของตนดีทีส่ ดุ น่ันเอง ดตู วั อยา่ งจากสง่ิ ทไ่ี มม่ ชี วี ติ  เชน่  บา้ นเรอื นหรอื เครอ่ื งจกั รกไ็ ด้ เครื่องเรือนอันใดท�ำหน้าท่ีของมันดีท่ีสุด  เช่น  เสาหรือคานมีหน้าท่ี ในการรบั นำ้� หนกั  ถา้ มนั รบั นำ้� หนกั ไดด้ ที ส่ี ดุ  กถ็ อื วา่ เปน็ เสาหรอื คาน ทดี่ ที ส่ี ดุ  ทำ� ประโยชนต์ ามหนา้ ทขี่ องมนั ดที สี่ ดุ  หลงั คามหี นา้ ทใ่ี นการ บังแดดบังฝน  ถ้ามันบังแดดบังฝนได้ดีที่สุด  ไม่ทะลุ  ไม่รั่ว  ก็ถือว่า มนั เป็นหลงั คาทีด่ ีท่สี ุด มปี ระโยชน ์ ถา้ มนั ไม่ท�ำหนา้ ทข่ี องมัน หรือ ทำ� หนา้ ทไี่ ดไ้ มด่  ี เขากเ็ รยี กวา่  หลงั คาไมด่  ี ตอ้ งซอ่ มแซมหรอื ตอ้ งรอ้ื ทิ้งในฐานะท่ไี ม่มีประโยชน์

5 6 ธ ร ร ม เ พื่ อ ค ร อ ง ใ จ ค น เครอ่ื งจกั รกเ็ หมอื นกนั  สมั ภาระตา่ งๆ คมุ กนั เขา้ เปน็ เครอื่ งจกั ร ตัวใดท�ำหน้าที่ของมันดีที่สุด  เราเรียกว่ามันมีประโยชน์ท่ีสุด  ตัวใด ท�ำหน้าท่ีไม่ดี  เราก็ไม่ชอบใจเคร่ืองตัวนั้น  ตัวใดไม่ท�ำหน้าท่ีเลย  เจ้าของต้องถอดทง้ิ  เอาตวั อืน่ ใสเ่ ข้าแทน อวัยวะในรา่ งกายของเรา ก็เหมือนกัน  ส่วนใดท่ีท�ำงานตามหน้าท่ีของมันดีท่ีสุด  เราก็เรียกว่า อวยั วะนน้ั ดที สี่ ดุ ตามฐานะของมนั  เราไมต่ อ้ งการใหม้ อื ไปหายใจแทน ปอดและจมูก  และท�ำนองเดียวกัน  เราไม่ต้องการให้จมูกและปอด มาเดนิ แทนเทา้  แตเ่ ราตอ้ งการเพยี งวา่  อวยั วะสว่ นใดมหี นา้ ทอ่ี ยา่ งไร ขอให้มันท�ำหน้าท่ีของมันให้ดีที่สุดเท่าน้ัน  ร่างกายของเราก็จะ  แข็งแรงสมบูรณ์ มีสุขภาพอนามยั ที่ดเี ลศิ จะเห็นว่า  การบ�ำเพ็ญประโยชน์ก็คือการท�ำหน้าท่ีของตนให้ สมบูรณ์  พระราชามหากษัตริย์ที่ทรงบ�ำเพ็ญประโยชน์แก่ประเทศ ชาติอย่างไพศาล  ก็โดยวิธีการทรงบ�ำเพ็ญพระราชกรณียกิจหรือ หน้าทีข่ องพระองคต์ ามทศพธิ ราชธรรมนัน่ เอง

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 57 หลกั หรือธรรมเพื่อบรรลปุ ระโยชน์ พระพทุ ธศาสนาแสดงประโยชนท์ จี่ ะพงึ บรรลถุ งึ ไว ้ ๓ ประการคอื ๑. ประโยชนใ์ นปจั จุบัน (ทฏิ ฐธมั มิกตั ถะ) ๒. ประโยชนภ์ ายหนา้ หรอื ในชาติหนา้  (สัมปรายกิ ัตถะ) ๓. ประโยชน์อย่างยง่ิ  หรอื ประโยชน์สูงสดุ  (ปรมัตถะ) เพ่ือบรรลุถึงประโยชน์ในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าทรงแสดง หลักธรรมหรอื หลกั ปฏิบัติไว ้ ๔ ประการ คอื ๑. อฏุ ฐานสมั ปทา ความขยนั หมนั่ เพยี ร ขยนั ลกุ ขนึ้ ประกอบ กรณียกิจตามหน้าท่ีของตน  ไม่เกียจคร้าน  ขยันประกอบคุณงาม ความดี ๒. อารกั ขสมั ปทา ร้จู ักรกั ษาทรัพยท์ ีห่ ามาไดโ้ ดยชอบธรรม ซ่อมแซมเครอื่ งใชท้ ่ีชำ� รุดทรดุ โทรมให้กลบั คืนดเี ทา่ ที่จะท�ำได้ รักษา คณุ งามความดที ี่ท�ำให้เกิดข้ึนไดแ้ ล้ว ไมใ่ หเ้ สือ่ ม ๓. กลั ยาณมติ ตตา ความเปน็ ผมู้ มี ติ รสหายด ี เวน้ การสมาคม คบหาคนพาลสนั ดานหยาบ อันจะชกั นำ� ไปในทางทีช่ ่ัว

5 8 ธ ร ร ม เ พ่ื อ ค ร อ ง ใ จ ค น ๔. สมชวี ติ า ความรจู้ กั เลย้ี งชวี ติ ตามเหมาะสมแกก่ ำ� ลงั ทรพั ย์ ท่หี าได้ ไมฟ่ มุ่ เฟือย และไมฝ่ ืดเคอื ง นอกจากหลกั  ๔ ประการนแี้ ลว้  ควรดำ� เนนิ ชวี ติ ใหส้ อดคลอ้ ง ตามสภาพสังคม  ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม  มี ความตระหนกั รวู้ า่  สงั คมไดเ้ ปลย่ี นแปลงไปแลว้ อยา่ งไร การยดึ หลกั เก่าๆ  อยู่  โดยไม่ค�ำนึงไม่ตระหนักรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคม มีแต่จะท�ำให้เป็นคนล้าหลัง  ไม่ทันการณ์และกาล  ดังที่สมเด็จพระ มหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ตรัสไว้ว่า “การศึกษานั้น  เพ่ิมความรู้แก่ผู้เรียนมากกว่าได้พบเห็นตาม ล�ำพังตน  แต่คนผู้ศึกษาโดยมาก  เรียนรู้อย่างใดแล้ว  เทียมทันหรือ ข้ึนหน้าคนทั้งหลายแล้ว  ย่อมถือว่าความรู้อย่างน้ันเป็นดี  ติดอยู่ใน ความรอู้ ยา่ งนน้ั  ถอื เอาความรอู้ ยา่ งนนั้ เปน็ ทฏิ ฐานคุ ต ิ (คอื สง่ิ ทเ่ี อา เป็นอย่าง)  พอใจอยู่ในความรู้เพียงเท่านั้น  ไม่อาศัยความศึกษาน้ัน ใชค้ วามคดิ ของตนเพอื่ ไดค้ วามรอู้ นั สงู หรอื กวา้ งขวางกวา่ นน้ั อกี  คน

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 59 พวกใดติดแน่นในการศึกษาอย่างนั้น  คนจ�ำพวกนั้นย่อมไม่ทันคน จำ� พวกอนื่ ผอู้ าศยั การศกึ ษานน้ั  ใชค้ วามคดิ ของตนแลว้  ยอ่ มไดค้ วาม รทู้ เี่ ย่ยี มกว่า หรือแปลกกวา่ *........” ควรรจู้ กั ปรบั ตวั ใหเ้ ขา้ กบั สถานการณป์ จั จบุ นั  ยดึ มนั่ อยใู่ น ธรรม แต่ตามโลกทัน เป็นคนทันโลกโดยไม่ต้องทิ้งธรรม ฉลาด รอบรใู้ นเรอื่ งความเสอื่ มความเจรญิ  และเหตแุ หง่ ความเสอื่ มความ เจริญ มีอุบายรู้จักหลบหลีกความเส่ือม ด�ำเนินไปสู่ความเจริญ เช่น เว้นอบายมุขต่างๆ ถอนตนขึ้นจากความเสื่อมโทรม ยืนอยู่ บนฐานอนั มน่ั คงแหง่ ความดี มีความเชอ่ื ม่ันในตนเองว่าจะนำ� ตน ไปสู่ความสุขความเจริญได้ แม้จะเพล่ียงพล�้ำไปบ้างในกาลบาง คราว อนั เปน็ ธรรมดาของชวี ติ  กไ็ มท่ อ้ ถอย มกี ำ� ลงั ใจในการตอ่ สู้ อุปสรรค ฝ่าฟนั ไปจนประสบความส�ำเร็จ *จากหนงั สือ พระมหาสมโณวาท มหามกุฎราชวทิ ยาลัย จัดพมิ พ์ ๒๕๒๑

6 0 ธ ร ร ม เ พื่ อ ค ร อ ง ใ จ ค น เพอื่ บรรลถุ งึ ประโยชนใ์ นภายหนา้ หรอื ชาตหิ นา้  ทรงแสดง หลักธรรมหรอื หลกั ปฏิบตั ิไว้ ๔ ประการ คอื ๑.  สัทธาสัมปทา  มีศรัทธาสมบูรณ์  เชื่อส่ิงท่ีควรเช่ือ  เช่น เช่ือกรรม  เช่ือผลของกรรม  เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ  ตน เชอื่ พระปญั ญาตรสั รขู้ องพระพทุ ธเจา้  เชอื่ อยา่ งมเี หตผุ ล ไมง่ มงาย มศี รทั ธามนั่ คงไมค่ ลอนแคลนในคณุ ความด ี ไมล่ งั เลสงสยั เรอ่ื งทำ� ดีไดด้  ี ทำ� ชวั่ ไดช้ ั่ว ๒.  สีลสัมปทา  มีศีลสมบูรณ์ตามฐานะของตนๆ  เว้นการ เบียดเบียนผู้อ่ืน  ซ่ือสัตย์สุจริต  มีความประพฤติสุภาพเรียบร้อย อ่อนโยน เคารพในสิทธิของผอู้ ืน่ โดยชอบธรรม ๓. จาคสมั ปทา มใี จเสยี สละ ไมเ่ หน็ แกต่ วั  มใี จมงุ่ ประโยชน์ สว่ นรวมยง่ิ กวา่ ประโยชนส์ ว่ นตวั  หรอื อยา่ งนอ้ ย เหน็ ประโยชนข์ อง ผู้อ่ืนเสมอด้วยประโยชน์ของตัว  ไม่หักรานประโยชน์ของเขาเพ่ือ ประโยชนข์ องตวั ๔. ปญั ญาสมั ปทา สมบรู ณด์ ว้ ยปญั ญา รจู้ กั บาป บญุ  คณุ โทษ  ประโยชน์  มิใช่ประโยชน์  มีแสงสว่างในใจ  ใจไม่มืดด้วยโมหะ

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 61 รจู้ กั เวน้ สงิ่ ทคี่ วรเวน้  ทำ� สงิ่ ทค่ี วรทำ�  ฉลาดรอบรวู้ า่ อะไรควรทำ� กอ่ น อะไรควรท�ำทหี ลัง ทำ� ใจได ้ ปลงไดใ้ นเหตกุ ารณท์ ่คี วรปลง ไม่ตีโพย ตพี ายอยา่ งคนไรส้ ตปิ ญั ญา ประคองใจไวไ้ ดเ้ มอ่ื มที กุ ข ์ ไมห่ ลงระเรงิ เม่อื มสี ุข พระพทุ ธศาสนาแสดงวา่  มนษุ ยเ์ รามไิ ดเ้ กดิ มาเพยี งชาตเิ ดยี ว แตม่ สี งั สารวฏั คอื การเวยี นวา่ ยตายเกดิ  จนกวา่ จะสน้ิ กเิ ลสสนิ้ กรรม เมอ่ื จะตอ้ งเกดิ อกี  กค็ วรบำ� เพญ็ กรณยี กจิ อนั จะอำ� นวยผลใหม้ สี ขุ ในชาตหิ นา้  เพอื่ มชี วี ติ ทด่ี ขี นึ้  ไมต่ กตำ�่ ลำ� บาก เรยี กวา่ สอนใหเ้ ปน็ คนมีสายตายาว  มองกาลไกล  ไม่เห็นแต่ความสุขความส�ำเร็จใน ปัจจุบันเท่าน้ัน  แต่ให้ค�ำนึงถึงอนาคตอันยาวนานด้วย  จึงทรงสอน เรอื่ งสัมปรายกิ ัตถะ (ประโยชนใ์ นชาตหิ น้า) ไวด้ ว้ ย เพอ่ื บรรลถุ งึ ประโยชนอ์ ยา่ งยงิ่  หรอื ประโยชนอ์ นั สงู สดุ  คอื นิพพาน  อันได้แก่การดับเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์  ทรงแสดง อริยมรรคประกอบดว้ ยองค์ ๘ คอื

6 2 ธ ร ร ม เ พื่ อ ค ร อ ง ใ จ ค น ๑. สมั มาทฐิ  ิ ความเหน็ ชอบ มคี วามเหน็ อนั ถกู ตอ้ ง อยา่ งตำ�่ เชน่  เหน็ วา่ ทำ� ด ี ยอ่ มไดร้ บั ผลด ี ทำ� ชว่ั  ไดร้ บั ผลชว่ั  อยา่ งสงู คอื  เหน็ อรยิ สจั  ๔ ตามความเปน็ จริง ๒. สัมมาสงั กปั ปะ ความดำ� รชิ อบ ต้ังใจไวใ้ นทางท่ถี ูก ๓.  สัมมาวาจา  พูดชอบ  เว้นวจีทุจริต  ๔  อย่าง  ประพฤติวจี สุจริต  ๔  อย่าง ๔. สมั มากัมมนั ตะ กระทำ� ชอบ เวน้ การกระทำ� ในทางที่ผดิ ๕. สมั มาอาชวี ะ เลย้ี งชพี ชอบ เวน้ มจิ ฉาชพี ทง้ั ปวง ประกอบ แต่สัมมาชีพ ๖.  สัมมาวายามะ  เพียรชอบ  เช่น  เพียรละความชั่ว  เพียร ท�ำความดี เพียรรักษาความดใี ห้คงอย ู่ และให้เจรญิ ย่งิ ๆ ขึ้นไป ๗.  สัมมาสติ  ระลึกชอบ  มีสติระลึกในทางท่ีจะให้จิตเจริญ มั่นคง  สะอาด  ผ่องใส  และว่องไวด้วยสติปัญญา  เช่น  ระลึกอยู่ใน สตปิ ฏั ฐานทง้ั  ๔ คอื  กาย เวทนา จติ  ธรรม อนั พระองคท์ รงยกยอ่ ง วา่  เปน็ ทางสายเอกอนั จะนำ� สตั วผ์ ปู้ ฏบิ ตั ใิ หล้ ว่ งพน้ ทกุ ขโ์ ศก เปน็ ไป เพอื่ ความบริสุทธ์ิของสัตว์ท้งั หลาย

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 63 ๘. สมั มาสมาธ ิ สมาธชิ อบ คอื มใี จตง้ั มนั่  ไมห่ วน่ั ไหวในอารมณ์ อันบริสุทธิ์  ท�ำให้ใจมีก�ำลัง  ต่อต้านกิเลสได้ดี  เป็นบาทฐานให้จิตใช้ ปญั ญาไดโ้ ดยสะดวก ในขน้ั ธรรมดาสามญั  คนทจ่ี ติ สงบ ยอ่ มสะดวก ในการใชป้ ญั ญาประกอบกจิ การตา่ งๆ ในขนั้ สงู ขนึ้ ไป คนทจี่ ติ ตงั้ มน่ั อยใู่ นฌาน ยอ่ มสะดวกในการอาศยั ฌานนนั้ เปน็ บาทฐานใหว้ ปิ สั สนา พลงุ่ โพลง ท�ำลายกิเลสให้สนิ้ ไปหรอื อ่อนก�ำลังลง มรรคมอี งค ์ ๘ น ้ี เปน็ วถิ ชี วี ติ อนั ยอดเยย่ี ม ใครดำ� เนนิ ตามได้ ยอ่ มไดพ้ บกบั ความประเสรฐิ เยยี่ ม ไมว่ า่ จะเปน็ ชวี ติ แบบฆราวาสหรอื ชีวิตแบบสมณะ  จะต่างกันบ้างก็แต่เพียงความเข้มข้นหรือความ  เจือจางขององคม์ รรคเทา่ น้นั พระพทุ ธองคต์ รัสสรรเสรญิ มรรคมีองค์ ๘ ไว้ว่า “บรรดาทางทงั้ หลาย อริยมรรคมีองค ์ ๘ ประเสรฐิ ท่สี ุด บรรดาบทท้งั หลาย บท ๔ คอื อรยิ สัจ ๔ ประเสรฐิ ท่สี ุด บรรดาธรรมทง้ั หลาย วริ าคะ (นพิ พาน) ความปราศจากราคะ ประเสริฐทสี่ ดุ

6 4 ธ ร ร ม เ พ่ื อ ค ร อ ง ใ จ ค น บรรดาสตั วส์ องเทา้ ทง้ั หลาย พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ ผมู้ จี กั ษุ (ทง้ั  ๕*) ประเสริฐท่ีสุด ทางน ้ี (คอื มรรคมอี งค ์ ๘) เทา่ นนั้  หาใชท่ างอนื่ ไม ่ ทเี่ ปน็ ไป เพอ่ื ความบรสิ ทุ ธแ์ิ หง่ ญาณทรรศนะ ทา่ นทง้ั หลายจงตงั้ ใจดำ� เนนิ ตามทางนเ้ี ถดิ  จะทำ� ใหม้ ารและเสนามารหลง (คอื ตามไมพ่ บเพราะ ไม่ใช่ทางเดินของมาร) เม่ือท่านท้ังหลายด�ำเนินตามทางนี้แล้ว จกั ทำ� ทกุ ขใ์ หส้ นิ้ สดุ ได ้ เราไดบ้ อกทางเพอ่ื นพิ พานไวแ้ ลว้  ความเพยี ร สำ� หรบั เผาบาป ทา่ นทง้ั หลายตอ้ งทำ� เอง ตถาคตเปน็ เพยี งผบู้ อก เทา่ นนั้  ผมู้ ฌี าน (เพง่ พนิ จิ ดว้ ยด)ี  ปฏบิ ตั ติ ามทางนแี้ ลว้  ยอ่ มพน้ จากเครื่องผกู ของมาร” *จกั ษุ ๕ คอื ๑. มงั สจักษุ = ตาเน้ือ ตาธรรมดา ๒. ทิพจักษุ = ตาทพิ ย์ ๓. พทุ ธจกั ษุ = ทรงใชใ้ นการตรวจดอู ปุ นสิ ยั ของเวไนยสตั ว์ ๔. ปญั ญาจกั ษุ = ความเขา้ พระทยั อยา่ ง แจม่ แจง้ แตกฉานในธรรม ๕. สมนั ตจกั ษุ = หมายถงึ พระสพั พญั ต ญาณ ท�ำใหท้ รง เปน็ พระสพั พัญ

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 65 รวมความวา่ อตั ถจรยิ านนั้  คอื การประพฤตติ นใหเ้ ปน็ ประโยชน์ หรอื การบ�ำเพญ็ ประโยชนท์ ง้ั แกต่ นและแกผ่ อู้ นื่  ใหไ้ ดร้ บั ประโยชนท์ ง้ั ๓  คือ  ประโยชน์ในโลกน้ี  ประโยชน์ในโลกหน้า  และประโยชน์สูงสุด คือมรรคผลนิพพาน  อันเป็นการพ้นจากทุกข์แห่งการเวียนว่ายตาย เกดิ โดยประการทัง้ ปวง คนท่ีดีที่สุด ท่ีโลกยกย่องมากท่ีสุด ก็คือคนท่ีมีประโยชน์ ที่สดุ นัน่ เอง เพราะฉะนัน้  จงึ ควรท�ำตนให้เปน็ คนมปี ระโยชน์



อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 67 ๔. สมานตั ตตา คำ�  สมานตั ตตา แปลไดห้ ลายนยั  และมคี วามหมายดๆี  ทงั้ นนั้ เช่น ความไม่ถือตัว คือไม่หย่ิงทะนงตน การวางตนเหมาะสมแก่ ฐานะ ความเป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย ความเป็นผู้เสมอกันใน สขุ และทกุ ข์ คอื  รว่ มสขุ รว่ มทกุ ข ์ การประพฤตติ นใหเ้ หมาะสมแก่ ภาวะ บุคคลและเหตุการณ์ การประพฤตไิ ดด้ งั น ี้ เปน็ ขอ้ หนง่ึ ทเ่ี ปน็ เหตยุ ดึ เหนย่ี วนำ้� ใจกนั ต่อไปน้ีจะได้ขยายความพอสมควร ๑. ความไม่ถอื ตัว ไม่หยงิ่ ทะนงตน ไม่กระด้าง อวดเกง่  แต่ เปน็ คนสุภาพ อ่อนโยน ทำ� ใหน้ ่ารัก น่าเคารพนับถอื คนบางคนมีมานะจัด  คือถือตัวจัด  กระด้างขึ้นเพราะปรารภ ชาติสกุลบ้าง  ทรัพย์บ้าง  ยศบ้าง  ความมีชื่อเสียงบ้าง  แล้วดูหมิ่น  ผู้อ่ืน  การดูหมิ่นผู้อื่นด้วยกิริยาหรือวาจาก็ตาม  เป็นการสร้างความ เจ็บใจให้แก่ผู้ได้รับ  ท�ำให้เขาเกลียดชัง  ไม่เป็นไปเพื่อการผูกมิตร 

6 8 ธ ร ร ม เ พื่ อ ค ร อ ง ใ จ ค น ดังเรื่องของชาวศากยะ  มีท้าวมหานาม  เป็นต้น  ที่ดูหมิ่นเจ้าชาย วิฑฑู ภะจนถกู ฆ่าเสียเป็นอนั มาก ความถือตัวทะนงตน  เป็นกิเลสร้ายอย่างหนึ่งท่ีคอยบ่ันทอน ความน่ารักในตัวคน  และเป็นเหตุแห่งทุกข์ในใจของบุคคลผู้น้ันเอง เหมือนแบกเอาของหนักไว้  วางไม่ลง  ปลงไม่ได้  ความทะนงตนยัง เปน็ สาเหตแุ หง่ อาชญากรรมมากมาย เชน่  เพยี งแตร่ สู้ กึ วา่ ฝา่ ยหนง่ึ พดู จาหรือมีกิรยิ าทา่ ทางในเชงิ  “ลบเหลย่ี ม” เท่านน้ั  กอ็ าจยงิ หรอื แทงเขาถึงตาย  หรืออาจผูกใจเจ็บ  โกรธกันไปจนตายก็ได้  ท้ังนี้ก็ เพราะผลู้ บเหลย่ี มนน้ั ไปทำ� ลาย “ปมเขอ่ื ง” ของเขา การพยายามรกั ษา  ปมเขอ่ื งเอาไวน้ ้นั  เปน็ ภาระอนั หนกั ยง่ิ นักอย่างหนึง่  *“การท�ำลาย ปมเขอ่ื ง หรอื อสั มมิ านะ เสยี ได ้ จงึ เปน็ ความสขุ อยา่ งยงิ่ ” เปน็ ความสขุ   ทั้งตนเองท่ีไม่ต้องแบกเอาทฐิ ิมานะไว ้ และเป็นความสขุ แกผ่ ู้อ่ืนทีไ่ ม่ ต้องถูกเขี้ยวงาแห่งอัสมิมานะทิ่มแทงขบกัดเอา  คนที่ทะเลาะวิวาท กันน้ัน  ส่วนหน่ึงเป็นเพราะฝ่ายหนึ่งไปลบเหล่ียมหรือปมเข่ืองของ อกี ฝา่ ยหนง่ึ  ซงึ่ พยายามรกั ษาเหลยี่ มของตนไวใ้ หม้ ากทส่ี ดุ  อกี สว่ น *อสฺมมิ านสสฺ วินโย เอตํ เว ปรมํ สุขํ ขุททกนิกาย อทุ าน ๒๕/๕๑/๘๖

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 69 หนึ่งเป็นเพราะผลประโยชน์ขัดกัน  อันเป็นเรื่องกาม  กล่าวอย่างส้ัน ก็คอื  ทะเลาะกันเพราะเร่ืองทิฐิและเรือ่ งกาม ๒. การวางตนเหมาะสมแกฐ่ านะ คอื เมอื่ สำ� รวจตนเองเรยี บรอ้ ย  แล้ว  ว่าตนอยู่ในฐานะอย่างไร  ก็วางตนไว้ในฐานะอย่างนั้น  เช่น  มารดา บดิ า ครอู าจารย ์ บตุ รธดิ า หรอื ศษิ ย ์ การวางตนผดิ ฐานะมแี ต่  จะก่อความยุ่งเหยิงแตกร้าว  ไม่เป็นไปเพ่ือความสามัคคี  ส่วนคนที่ วางตนเหมาะสมแกฐ่ านะ ทำ� ใหด้ งู าม นา่ กราบไหว ้ นา่ บชู า นา่ เคารพ นบั ถอื  หรอื นา่ รกั ใครต่ ามฐานะของตนๆ พระพทุ ธรปู นนั้  วางอยทู่ ใี่ ด กเ็ ปน็ พระพุทธรปู อยู่นนั่ เอง แต่ถา้ ไดว้ างไวใ้ นทอ่ี นั สมควร ก็ท�ำให้ด ู สงา่ งามและนา่ กราบไหว้ย่งิ ข้นึ ๓. ความเปน็ ผเู้ สมอตน้ เสมอปลาย คณุ ขอ้ นหี้ มายถงึ  ความเปน็   คนสมำ�่ เสมอ ประพฤติตนสมำ�่ เสมอ เคยดีกับเขาอยา่ งไรก็อยา่ งน้ัน เคยเปน็ นกั เรยี นรว่ มรนุ่ กนั มา จบแลว้ แยกยา้ ยกนั ไปทำ� งานตามความ ถนดั  บางคนอาจไปรบั ราชการ มยี ศศกั ด ์ิ ตำ� แหนง่ หนา้ ทสี่ งู  บางคน  อาจไปประกอบการงานสว่ นตวั  ไมม่ ยี ศศกั ด ์ิ ดำ� รงตนเพยี งพอครองชพี  

7 0 ธ ร ร ม เ พื่ อ ค ร อ ง ใ จ ค น อยไู่ ดโ้ ดยไมเ่ ดอื ดรอ้ น บางคนอาจถงึ ลำ� บากยากจน ผมู้ สี มานตั ตตา ย่อมแสดงความสนิทสนมคุ้นเคยอย่างเดิม  แต่ท้ังนี้ต้องเริ่มต้นจาก ผู้มียศศักดิ์ก่อน  มิฉะนั้น  ผู้ไม่มียศศักด์ิย่อมเกรงใจ  ไม่กล้าตีสนิท  ผมู้ ปี ญั ญายอ่ มมองเหน็ วา่  มติ รทด่ี ำ� รงอยใู่ นมติ รธรรมนนั้  ไมต่ ำ่� ตอ้ ย เลย  กล่าวอีกทีหนึ่งว่า  ไม่มีความต�่ำต้อยส�ำหรับมิตรผู้ด�ำรงอยู่ใน มิตรธรรม  นิทานเร่ืองหนูกับราชสีห์  ซ่ึงเป็นมิตรกันและช่วยเหลือ กันได้ทั้งนั้น  น่าจะเป็นคติอันดีส�ำหรับคนใหญ่คนโตที่จะด�ำเนินตาม และไม่รังเกยี จทีจ่ ะเป็นมติ รกบั คนซึง่ มีฐานะตำ�่ กวา่ ตน ๔. ความรว่ มสขุ รว่ มทกุ ข ์ คณุ ขอ้ นห้ี มายถงึ  แสดงความยนิ ดี ปรดี าเมอ่ื เขาไดส้ ขุ  ไมร่ ษิ ยา และมใี จกรณุ าคดิ จะชว่ ยใหพ้ น้ ทกุ ขเ์ มอ่ื เขาได้ทกุ ข์ บันเทงิ ใจร่วมกนั เม่ือประสบความสำ� เรจ็  และไม่ทอดท้งิ ยามวิบัติ  มิตรในยามทุกข์ย่อมเป็นมิตรที่แท้จริง  เคยเห็นนักการ เมืองที่ยามรุ่งเรืองก็มีบริวารบ่าวไพร่นอบน้อมล้อมหน้าล้อมหลัง ออกปากอะไรกไ็ ดด้ งั ประสงค ์ แตพ่ อหมดอำ� นาจลง อยา่ วา่ แตเ่ พยี ง ออกปากเปรยๆ เลย แมไ้ ปขอรอ้ งออ้ นวอนเขาเพอ่ื ใหช้ ว่ ยขจดั ปดั เปา่   ทุกขร์ อ้ น ก็หาคนยินดชี ว่ ยเหลือได้ยาก ยง่ิ ถ้าท�ำผิดไว้อันเป็นเหตุให้

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 71 ถกู เนรเทศไปอยนู่ อกบา้ นนอกเมอื งของตนดว้ ยแลว้  กเ็ หน็ มแี ตภ่ รรยา เทา่ นัน้ ทีต่ ิดสอยหอ้ ยตามไปทุกหนทกุ แหง่  มติ รในยามทุกข์จึงหาได้ ยากจรงิ ๆ ใครประพฤตติ นเปน็ คนรว่ มทกุ ขข์ องผอู้ นื่  ยอ่ มไดร้ บั ความรกั   จากผนู้ ั้นเปน็ อนั มาก เปน็ บ่วงคลอ้ งใจอันสำ� คญั ๕. ประพฤตติ นเหมาะสมแกภ่ าวะ บคุ คล และเหตกุ ารณ ์ ขอ้ วา่   ประพฤติตนเหมาะสมแก่ภาวะ  คือความเป็นอยู่ของตนน้ัน  ได้กล่าว แลว้ ในขอ้ วา่  วางตนเหมาะสมแกฐ่ านะ เพราะมคี วามหมายคลา้ ยคลงึ กัน  คือตนเป็นอย่างไร  อยู่ในฐานะใด  ก็วางตนเหมาะสมอย่างน้ัน สว่ นข้อวา่ เหมาะแกบ่ ุคคลและเหตกุ ารณน์ นั้  จะอธบิ ายต่อไป การวางตนใหเ้ หมาะสมแกบ่ คุ คล จดั เปน็ สงิ่ สำ� คญั อยา่ งหนงึ่ ไมเ่ ปน็ คนบมุ่ บา่ ม ไมเ่ ปน็ คนไมม่ ตี น้ มปี ลาย แตเ่ ปน็ คนรจู้ กั ทตี่ ำ่� ทส่ี งู รู้ว่าคนใดควรประพฤตอิ ่อนน้อม หรือประพฤติใหพ้ อดีอย่างไร ก็ ทำ� อยา่ งนนั้  ไมม่ ากไมน่ อ้ ย ไมข่ าดไมเ่ กนิ  ไมเ่ ปน็ คนลน้  และไมเ่ ปน็ คนขาด

7 2 ธ ร ร ม เ พื่ อ ค ร อ ง ใ จ ค น ท่ีว่า  วางตนให้เหมาะสมแก่เหตุการณ์นั้น  คือมีปัญญารู้ว่า เหตุการณใ์ ดอยู่ในสภาพอย่างไร ไดเ้ ปลย่ี นไปแลว้ อย่างไร ควรปรับ ตนอยา่ งไรจงึ จะสอดคลอ้ งกบั สถานการณน์ นั้ ๆ อยา่ งทส่ี ุภาษติ ท่าน เตือนไว้ว่า  “น�้ำเชี่ยว  อย่าเอาเรือไปขวาง  อย่าหักด้ามพร้าด้วยเข่า อยา่ เอามดี ไปกรดี หนิ  อยา่ เอาไขไ่ ปทบุ กบั หนิ ” เปน็ ตน้  ลว้ นแตส่ อน ใหป้ ระพฤตติ นใหเ้ หมาะแกส่ ถานการณท์ งั้ สนิ้  เมอื่ น�้ำกำ� ลงั เชยี่ ว ใคร เอาเรอื ไปขวาง เรอื กล็ ม่  คนหกั ดา้ มพรา้ ดว้ ยเขา่  ดา้ มพรา้ ไมห่ กั  แต่ เขา่ จะแตกหรอื ถลอก คนเอามดี ไปกรดี หนิ  มดี กเ็ สยี เอง คนเอาไขไ่ ป ทบุ หนิ ด้วยหวังวา่ จะใหห้ นิ แตก แต่ไขต่ อ้ งแตกเสยี เองอยา่ งแน่นอน น่ีเป็นค�ำเปรียบเทียบให้คนใช้ปัญญาพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ  แล้ว ปฏิบัติตนให้เหมาะสมแก่เหตุการณ์  ค�ำท�ำนองสอนให้ท�ำก็มี  เช่น  ให้ตีเหล็กเมื่อร้อน  แปลว่า  ให้รีบท�ำการงานเม่ือถึงกาลอันควร  (เพราะพอเหล็กเย็นเสียแล้ว  ตีไม่ได้)  น�้ำข้ึนให้รีบตัก  (เพราะมันตัก ได้ง่าย)  แปลว่า  เม่ือเห็นโอกาสแล้วรีบท�ำเสีย  ปล่อยให้โอกาสล่วง เลยไปแล้วท�ำล�ำบาก  ดังนี้  เป็นต้น  เป็นการสอนให้ท�ำตนให้เหมาะ สมแก่สถานการณ์หรือเหตกุ ารณ ์ และโอกาสอนั ควรจะทำ� กจิ น้ันๆ

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 73 สรปุ ความ ได้กล่าวรายละเอียดแห่งสังคหวัตถุ  (ธรรมเคร่ืองยึดเหน่ียว นำ้� ใจ เครอื่ งประสานสามคั ค)ี  ๔ ประการ มาพอสมควรแลว้  จงึ ขอ สรปุ ความตามนยั แหง่ สงั คหวตั ถคุ าถา (คาถา = บทรอ้ ยกรอง) วา่ “ธรรม  ๔  ประการ  คือ  ทาน  ปิยวาจา  อัตถจริยา  และสมา  นตั ตตา น ี้ เปน็ ธรรมเครอ่ื งสงเคราะหใ์ นโลก เปรยี บเหมอื นลมิ่ สลกั ของรถทเี่ ชอื่ มโยงสว่ นตา่ งๆ ของรถไวด้ ว้ ยกนั  แลว้ แลน่ ไปได ้ ถา้ ธรรม เครอื่ งสงเคราะหเ์ หลา่ นไี้ มม่ แี ลว้  มารดาบดิ ากย็ อ่ มไมไ่ ดค้ วามนบั ถอื และการบูชาจากบุตร  แต่เพราะเหตุที่สังคหวัตถุเหล่านี้มีอยู่  และ บณั ฑติ ทง้ั หลายได้เพง่ พจิ ารณาประพฤติตามอยู ่ จงึ ได้บรรลุคุณอนั ยงิ่ ใหญ ่ และเป็นผู้ควรไดร้ บั การสรรเสริญ”* *บรรยาย ณ สถานวี ทิ ยศุ กึ ษา ของกระทรวงศึกษาธิการ ระหวา่ งเดือน พ.ค.-ก.ค. พุทธศกั ราช ๒๕๒๒

หลกั ธรรมเพอื่ ความสำ� เรจ็ ในชวี ติ

อทิ ธบิ าท แปลตามตวั อกั ษรวา่  บาทแหง่ ฤทธ ์ิ หรอื  ฐานอนั ก่อให้เกิดความส�ำเร็จ  ให้บรรลุผลตามท่ีมุ่งหมาย  แปลเอาความว่า เหตุแห่งความส�ำเร็จ  บุคคลจะประสบความส�ำเร็จในเร่ืองใด  ไม่ว่า เล็กหรือใหญ่  ต้องประพฤติตนให้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัต ิ ๔  ประการ  คอื ฉนั ทะ ความพอใจในสงิ่ นัน้ วิริยะ ความพากเพยี รในส่ิงน้นั จิตตะ เอาใจใส่อยา่ งจรงิ จงั ต่อสิ่งน้ัน วิมังสา ไตรต่ รองพจิ ารณาด้วยปญั ญาในสิ่งนน้ั

7 6 ห ลั ก ธ ร ร ม เ พื่ อ ค ว า ม ส� ำ เ ร็ จ ใ น ชี วิ ต ฉันทะ  ถ้ายังไม่มีก็ปลูกขึ้นได้โดยการพิจารณาให้เห็นคุณของ สิ่งท่ีเราจะท�ำ  เมื่อเห็นคุณแล้วก็เร่ิมท�ำ  ทีแรกๆ  อาจต้องฝืนใจบ้าง แตพ่ อทำ� ไปๆ เหน็ คณุ เขา้ กช็ อบไปเอง เมอ่ื เกดิ ฉนั ทะแลว้  ความเพยี ร พยายาม การไตรต่ รอง พจิ ารณาดว้ ยปญั ญากเ็ กดิ ตามขนึ้ มา บางที วมิ งั สาคอื ปญั ญาเกดิ ขนึ้ กอ่ น ฉนั ทะ วริ ยิ ะ จติ ตะ จงึ เกดิ ตามขน้ึ มา อย่างไรก็ตาม  หลักทั้ง  ๔  ประการน้ีควรจะต้องใช้ให้ไปด้วยกัน  จึง จะสำ� เร็จประโยชนใ์ นการสรา้ งความส�ำเร็จแกช่ ีวิต อันท่ีจริง  การสร้างความส�ำเร็จแก่ชีวิตนั้นเป็นเรื่องยากมาก แต่เป็นส่ิงที่ท�ำได้  มีตัวอย่างของผู้ประสบความส�ำเร็จในชีวิตในด้าน ตา่ งๆ มากมาย ทง้ั ในประเทศไทยของเราและตา่ งประเทศ แตผ่ ทู้ จี่ ะ ประสบความส�ำเร็จในทางใด  ก็ต้องมีความนิยมชมชอบในทางนั้น คอื ฉนั ทะ มคี วามพากเพยี รพยายามไมห่ ยดุ หยอ่ น ไมท่ อ้ ถอย กา้ วไป  ขา้ งหนา้ อยเู่ สมอ เมอื่ เหน็ สง่ิ ใดด ี ตกลงใจทจี่ ะทำ� แลว้  กม็ คี วามเพยี ร ไม่ย่อหย่อน  พยายามไปจนกว่าจะประสบความส�ำเร็จ  คือวิริยะ นอกจากน้ียังต้องเอาใจใส่ต่อการงานท่ีท�ำน้ันอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ คอื ทำ� อยา่ งเป็นชวี ิตจิตใจ ถือวา่ การงานน้นั เปน็ สว่ นสำ� คัญของชีวิต

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 77 เป็นการงานท่ีคู่กับชีวิตของตน  และตนมีความสุขจากการที่เอาใจ ฝกั ใฝอ่ ยกู่ บั สง่ิ นนั้  คอื จติ ตะ นอกจากนคี้ วรจะตอ้ งใชป้ ญั ญาพจิ ารณา ปรับปรุงแกไ้ ขให้ดีขนึ้ อยู่เสมอ คือวิมังสา เมือ่ บคุ คลใดใช้ฉนั ทะ วิริยะ สรา้ งความสำ� เร็จให้แกต่ นเองได้ แล้ว  ก็ควรมีน้�ำใจเผ่ือแผ่ช่วยเหลือผู้อ่ืนหรือสังคมให้ประสบความ ส�ำเร็จด้วย  โดยการอุดหนุนช่วยเหลือให้ผู้อื่นมีความขยันหมั่นเพียร ถา้ พอชว่ ยทางทนุ ทรพั ยไ์ ดก้ ช็ ว่ ย การชว่ ยใหผ้ อู้ นื่ ตง้ั ตวั ไดน้ น้ั  เปน็ บญุ   กุศลอันยั่งยืนและเขาจะระลึกถึงบุญคุณอยู่เสมอ  นอกจากนี้  ถ้ามี โอกาสท�ำสาธารณประโยชน์ไดก้ ค็ วรทำ� พระยาภกั ดนี รเศรษฐ ์ (เลศิ  เศรษฐบตุ ร) เปน็ คนไทยคนหนง่ึ ทส่ี รา้ งความสำ� เรจ็ ใหแ้ กช่ วี ติ ของทา่ นเอง และไดช้ ว่ ยเหลอื ผอู้ นื่ เปน็ อนั มาก ทา่ นสรา้ งตวั จากไมม่ อี ะไรเลยจนเปน็ เศรษฐคี นหนงึ่ ของไทย ผลงานของทา่ นเปน็ ประโยชนแ์ กค่ รอบครวั  วงศส์ กลุ  และสงั คมไทย มาจนถึงปัจจุบันน้ี  เช่น  โรงพยาบาลเลิศสิน  บริษัทรถเมล์นายเลิศ จำ� กดั  (รถเมลข์ าว) ซง่ึ เพง่ิ รวมเขา้ กบั องคก์ ารขนสง่ มวลชนกรงุ เทพ

7 8 ห ลั ก ธ ร ร ม เ พื่ อ ค ว า ม ส� ำ เ ร็ จ ใ น ชี วิ ต (ขสมก.)  เมื่อเร็วๆ  นี้  โรงแรมใหญ่ทันสมัยแห่งหนึ่งคือ  โรงแรม  ฮิลตัน ณ ปารก์ นายเลศิ  กเ็ ปน็ ของทายาทของพระยาภกั ดนี รเศรษฐ์ เหมอื นกนั พระยาภกั ดนี รเศรษฐไ์ ดก้ ลา่ วคตเิ ตอื นใจไวว้ า่  “ความซอ่ื สตั ย์ สุจริต ความพากเพียรและความอดทน เป็นต้นทุนอันส�ำคัญซ่ึง ทกุ คนมีอย ู่ สว่ นทุนทรัพย์น้นั  มเี ท่าไรก็ลงทุนไปเทา่ น้นั ก่อน คน ท่ีมักพูดว่าไม่มีทุนนั้น เพราะนึกถึงแต่จะท�ำการใหญ่เลยทีเดียว ไม่เรมิ่ จากเลก็ น้อยไปหาใหญ่” เพราะฉะนัน้  ผูม้ ุ่งหมายความส�ำเร็จในทางใด จงึ ตอ้ งปลกู ความพอใจ มคี วามเพยี รพยายาม เอาใจใสแ่ ละใชป้ ญั ญาพจิ ารณา ในทางน้ันอย่างจรงิ จงั  สม�ำ่ เสมอ นกั เรยี นนนั้ มหี นา้ ทโ่ี ดยตรงในการศกึ ษาเลา่ เรยี น จงึ ตอ้ งปลกู ฉนั ทะลงไปในการศกึ ษา พจิ ารณาใหเ้ หน็ คณุ ประโยชนข์ องการศกึ ษา เลา่ เรยี น แมจ้ ะลำ� บากบา้ งในเบอ้ื งตน้  กม็ ผี ลดใี นเบอื้ งปลาย เหมอื น

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 79 รดน้�ำต้นไม้ท่ีโคน  แต่มีผลท่ีปลาย  เม่ือมีผลแล้วก็ให้ผลไปเป็นเวลา ๓๐-๔๐ ปกี ม็  ี เปน็ รอ้ ยปกี ม็  ี เปน็ การลงทนุ ทเี่ กนิ คมุ้  นอกจากน ี้ การ ศึกษาเลา่ เรยี นยงั เปน็ การพัฒนาคณุ ภาพชวี ติ ใหด้ ขี น้ึ เม่ือว่างจากการศึกษาเล่าเรียนก็ควรช่วยพ่อแม่ญาติพ่ีน้อง หรอื ครบู าอาจารยท์ ำ� การอนั เปน็ ประโยชน ์ การทำ� งานเปน็ การเรยี น โดยตรงอยา่ งหนงึ่  เรยี กวา่  เรยี นโดยการกระท�ำใหเ้ รามปี ระสบการณ์ ตรงและฉลาดข้นึ ทกุ วัน เมื่อท�ำงานจริง งานน่ันเองจะสอนเราใหไ้ ด้ บทเรียนอยา่ งดที ส่ี ุด เราจงึ ไม่ควรดูหมิ่นการงานใดๆ



อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 81 ลองอา่ นเรอื่ งตอ่ ไปนแ้ี ลว้ พจิ ารณาวา่  เจา้ ของประวตั ไิ ดส้ รา้ ง ความส�ำเรจ็ ในชีวิตมาอยา่ งไร ทา่ นตอ้ งใช้อทิ ธิบาท ๔ เพยี งใด ผใู้ ห้พลงั งานแกโ่ ลก ชายชราวยั  ๗๐ ปแี ละหญงิ วยั ไลเ่ ลย่ี กนั  นงั่ หนั หนา้ สทู่ ศิ ตะวนั ตก มองดดู วงอาทติ ยส์ แี ดงเขม้ กำ� ลงั จะลบั ขอบฟา้  เขาชอบมองดวง อาทติ ยต์ กดนิ  เพราะใหค้ วามคดิ อนั ลกึ ซงึ้ หลายอยา่ งแกเ่ ขา เขาโอบ ไหล่ภรรรยาเบาๆ  พลางเปรย “ตลอดเวลา ๔๐ ปี เธอใหค้ วามสขุ แก่ฉันเสมอมา” “ฉันเคยคิดว่า  นักวิชาการ  นักปราชญ์จะเป็นสามีท่ีดีได้ยาก แตเ่ ธอเป็นไดด้ ที ้งั สองอยา่ ง ฉนั ภูมใิ จเสมอมา” “เราเกิดห่างจากกาลิเลโอถึง  ๒๒๗  ปี  แต่ท่านก็ครองความ ยิง่ ใหญใ่ นหวั ใจของนักวทิ ยาศาสตร์มาจนถึงปจั จบุ นั น ้ี ฉันบชู าทา่ น จรงิ ๆ” เขาพูด

8 2 ห ลั ก ธ ร ร ม เ พื่ อ ค ว า ม ส� ำ เ ร็ จ ใ น ชี วิ ต “คนจะเปน็ ปราชญใ์ นทางใด จะตอ้ งมหี วั ใจบชู าปราชญใ์ นทาง นั้น  ซึ่งเคยเดินทางมาก่อน”  ฝ่ายภรรยายกย่อง  “คนที่ไม่บูชาใคร เลยนนั้  ยากนกั ท่จี ะประสบผลสำ� เรจ็ ในทางวชิ าการได้” เขายม้ิ ออกมานดิ หนง่ึ  มอื โอบภรรยาของเขากระชบั เขา้  ทอด สายตาไปเบอ้ื งหน้า มองดพู ระอาทติ ย์เหลอื อยู่เพียงนิดเดยี ว กำ� ลัง จะลบั ขอบฟา้ ไป สญั ลกั ษณแ์ หง่ ทวิ ากาลจวนสน้ิ  และแนน่ อนความมดื   ก�ำลังแผ่วงกว้างเตรียมครอบคลุมโลกส่วนน้ี  จินตนาการของชาย ชรากลบั ยอ้ นไปถงึ อดตี  ซงึ่ ชวี ติ ของเขาไดผ้ า่ นมาทงั้ ความสขุ  ความเศรา้   ความขมข่ืนและความชน่ื ชมมาแล้ว เขาเกดิ ทปี่ ระเทศองั กฤษ พ.ศ. ๒๓๓๔ บดิ าเปน็ ชา่ งตเี หลก็ อยู่ บ้านนอก  ฐานะยากจนมาก  จึงเรียนหนังสือได้เพียงเล็กน้อยแล้ว ต้องออก  เพราะบิดาไม่สามารถส่งเสียให้เล่าเรียนได้อีกต่อไป  การ ท�ำงานตีเหล็กของพ่อซึ่งอยู่ห่างไกลชุมชนน้ัน  รายได้ไม่พอเล้ียงชีพ จึงตัดสินใจหอบหิ้วกันไปอยู่ในกรุงลอนดอน  ได้ที่อยู่อาศัยซอมซ่อ 

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 83 มีอาหารเพียงขนมปังแห้ง  เนยไม่ต้องพูดถึง  ไม่มีเงินซื้อ  ขนมปัง แหง้ กอ้ นหนง่ึ ตอ้ งรบั ประทานใหไ้ ดห้ นง่ึ สปั ดาห ์ เพราะไมม่ ที างจะหา ไดอ้ กี แลว้  เมอื่ ไดข้ นมปงั มากอ้ นหนง่ึ ตอ้ งตดั เปน็  ๑๔ ชน้ิ  รบั ประทาน วันละ  ๒  มื้อ  คือ  เช้า  เย็น  มื้อละชิ้น  นี่คือสภาพของครอบครัวท่ี ยากจนในมหานครลอนดอน เขาต้องท�ำงานช่วยเหลือบิดาในเร่ืองการตีเหล็กตั้งแต่อายุ  ยงั นอ้ ย เมอื่ อาย ุ ๑๓ ป ี จงึ ไดท้ ำ� งานเปน็ สว่ นตวั  ในรา้ นขายหนงั สอื แหง่ หนงึ่  เจา้ ของรา้ นชอ่ื  ยอรจ์  รโี บ เปน็ คนใจด ี มเี มตตากรณุ าตอ่ เขา หนา้ ทข่ี องเขาคอื  การนำ� หนงั สอื พมิ พอ์ อกไปใหช้ าวบา้ นเชา่ อา่ น หนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นหายากและแพงมาก  ฉบับหน่ึงม ี แผน่ เดยี ว ชาวบา้ นมไิ ดซ้ อ้ื  ใชว้ ธิ เี ชา่ อา่ นจากรา้ นขายหนงั สอื  เขาเอา หนังสือพิมพ์ดังกล่าวน้ีไปให้ชาวบ้านอ่าน  แล้วต้องรอจนบ้านหน่ึง อ่านจบ  จึงน�ำไปให้บ้านอื่นอ่านต่อไป  บางทีเขาต้องรอนานๆ  ด้วย ความกระวนกระวาย  เพราะคนอ่านซึ่งนั่งกันอยู่หลายคน  เม่ืออ่าน

8 4 ห ลั ก ธ ร ร ม เ พ่ื อ ค ว า ม ส� ำ เ ร็ จ ใ น ชี วิ ต แล้วก็วิพากษ์วิจารณ์เรื่องในหนังสือพิมพ์  และยังไม่ยอมคืนให้เขา เขาตอ้ งรอ รอ บางทตี อ้ งยอมเสยี มารยาท เรง่ ใหผ้ รู้ บั หนงั สอื รบี สง่ คืนเขา เพราะเขาจะนำ� หนังสือพิมพ์ไปยงั บา้ นอน่ื อกี มอี ยคู่ รงั้ หนงึ่  คนรบั หนงั สอื พมิ พโ์ กรธมาก ปดิ ประตกู ระแทก หนา้ เขาจนเลอื ดไหล เขาไมม่ ที างจะฟอ้ งรอ้ งเรยี กคา่ ทำ� ขวญั อะไรเลย เพราะเขาเปน็ เดก็ ยากจน ความยากจนทำ� ให้พูดอะไรไม่ออก เขามีชีวิตอยู่ในมหานครลอนดอนด้วยความล�ำบาก  แต่เขาก็ พยายามทำ� งานในหนา้ ท ี่ คอื สง่ หนงั สอื พมิ พอ์ ยา่ งดที ส่ี ดุ  เทา่ ทก่ี ำ� ลงั ความสามารถจะอ�ำนวยให้ได้  การเอาใจใส่ในการงานของเขาไม่พ้น สายตาของนายจา้ ง ดงั นนั้ เมอ่ื สง่ หนงั สอื พมิ พอ์ ยคู่ รบหนง่ึ ป ี นายจา้ ง คือ  ยอร์จ  รีโบ  ก็ได้เล่ือนต�ำแหน่งให้เขาท�ำหน้าท่ีฝึกหัดการเย็บปก หนงั สอื  เขาภมู ใิ จอยา่ งมากทไี่ ดต้ ำ� แหนง่ ใหม ่ บดิ ามารดากส็ นบั สนนุ เพราะเห็นว่าเป็นอาชีพท่ีจะยึดเป็นอาชีพถาวรได้  หรืออาจแยกตัว ออกมาท�ำของตวั เองในภายหลังเพ่อื ก่อรา่ งสรา้ งตวั ต่อไปก็ได้

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 85 เวลาพกั ผอ่ นจากการเยบ็ ปกหนงั สอื  เขาชอบอา่ นขอ้ ความใน หนังสือน้ัน  ประเภทหนังสือที่ชอบมากคือ  ต�ำราเคมีและไฟฟ้า  เขา มีเงินเหลืออยู่เพียงเล็กน้อยจากการสะสมของเขาเอง  ได้น�ำไปซื้อ เครอ่ื งมอื ทดลองบางอยา่ งและทำ� การทดลองเทา่ ทจี่ ะทำ� ได ้ อยา่ งไร ก็ตามงานในหนา้ ที่ของลูกจา้ งคอื การเย็บปกหนงั สอื นัน้  เขาไมย่ อม ให้เสีย และท�ำอยา่ งประณีตสวยงาม เป็นท่พี อใจของนายจา้ งเสมอ ท�ำให้นายยอร์จ  รีโบ  มีเมตตากรุณาต่อเขามากข้ึน  และเขาก็มี  ความสุขข้ึน ต่อมาวันหนึ่ง  เขาได้อ่านพบประกาศท่ีริมถนนแห่งหนึ่งว่า อาจารย์เตตุม  จะแสดงปาฐกถาเรื่อง  ปรัชญาธรรมชาติ  เขาอยาก ฟังปาฐกถาน้ัน  แต่ขัดข้องด้วยเหตุ  ๒  ประการคือ  ขาดเงิน  ๑  ชิล ลิง  และเวลาในการท่ีจะเข้าฟังปาฐกถา  เพราะเขาไม่ใช่นักเรียนแต่ เปน็ คนทำ� งาน ตอ้ งแลว้ แตน่ ายจา้ ง บงั เอญิ โชคด ี นายจา้ งผมู้ เี มตตา กรณุ าไดอ้ นญุ าตใหเ้ ขาไปฟงั ปาฐกถา สำ� หรบั เงนิ  ๑ ชลิ ลงิ ทจ่ี ะตอ้ ง เสียทุกคร้ังท่ีเข้าฟังปาฐกถาน้ัน  พ่ีชายของเขาคนหน่ึงซ่ึงหาเช้ากิน ค�่ำเหมือนกนั ได้ชว่ ยออกให้

8 6 ห ลั ก ธ ร ร ม เ พื่ อ ค ว า ม ส� ำ เ ร็ จ ใ น ชี วิ ต เขาจงึ มโี อกาสเขา้ ฟงั  ทวี่ า่ ปาฐกถานนั้  ความจรงิ กค็ อื การสอน ตามหลกั สตู รนน่ั เอง เขามโี ชคดที ไี่ ดเ้ รยี นวทิ ยาศาสตรต์ ามหลกั สตู ร ในตอนน้ี เขาพยายามเรยี นจนจบหลกั สตู รของอาจารยเ์ ตตมุ  มคี วามรู้ เบื้องต้นทางวิทยาศาสตร์พอสมควร  แต่จะเทียบกับผู้ซ่ึงเรียน วทิ ยาศาสตร์โดยตรงนน้ั คงไมไ่ ด้ อย่างไรก็ตาม  งานเย็บปกหนังสือเขามิได้ทอดทิ้งเลย  ท�ำจน ชำ� นาญจนกระทง่ั เปน็ ชา่ งทำ� ปกหนงั สอื ทมี่ ฝี มี อื ดคี นหนงึ่  และตอ่ มา ก็มีร้านท�ำปกหนังสือร้านหน่ึงจ้างเขาให้ไปท�ำปกหนังสือ  เห็นว่ามี รายได้สูงกว่า  เขาจึงยอมทิ้งร้านเดิม  คือ  ร้านของนายยอร์จ  รีโบ แตเ่ ขาตอ้ งเสยี ใจในภายหลงั  เพราะเจา้ ของรา้ นใหมม่ ไิ ดม้ เี มตตากรณุ า เหมือนนายยอร์จ  รีโบเลย  เจ้าของร้านใหม่เป็นคนหยาบกระด้าง ชอบดา่ วา่ ไมเ่ หน็ ใจลกู จา้ ง เขาเสยี ใจในเรอ่ื งนม้ี าก ทนไมไ่ หว ในทสี่ ดุ ตอ้ งลาออก จะกลับไปหานายจ้างคนเดมิ กไ็ มไ่ ด้เสยี แล้ว ในท่สี ุดเขา ตกงาน มคี วามล�ำบากอยา่ งมาก

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 87 ประจวบกบั เวลานน้ั  พอ่ ของเขากต็ ายลง เขาวา่ งงานเงนิ กห็ มด  เปน็ เวลาทย่ี ากลำ� บากทส่ี ดุ ในชวี ติ ของเขา เขารสู้ กึ วา่ การเปลยี่ นงาน และเปลย่ี นชวี ติ นน้ั ไมใ่ ชเ่ รอ่ื งงา่ ย ตอ้ งทำ� ดว้ ยความรอบคอบ เกดิ ผดิ พลาดข้ึนแล้ว  แก้ไขได้ยาก  การก้าวไปข้างหน้าน้ันเป็นความดี  แต่ หากก้าวอย่างไม่ระมัดระวัง  ความเสียใจก็ตามมาในภายหลัง  และ แกไ้ ขยาก ความผดิ พลาดทกุ อยา่ งจะตอ้ งทง้ิ รอ่ งรอยแหง่ ความขมขน่ื ไวใ้ หเ้ สมอ อยา่ งทเี่ ขาตอ้ งขมขน่ื อยเู่ วลาน ี้ แตเ่ ขากไ็ มล่ ดละ ไดพ้ ยายาม  หางานทำ� อยเู่ รอ่ื ยๆ ความพยายามเปน็ สงิ่ มผี ลตอบแทนคมุ้ คา่  หาก บคุ คลไมล่ ะทงิ้ ความพยายามเสยี กอ่ น ความพยายามนนั้ จะใหผ้ ลเปน็ ความชนื่ ใจและความสมหวงั เสมอ อยา่ นกึ วา่ จะมชี วี ติ ใดดำ� เนนิ ไปโดย ราบรนื่ ปราศจากความทกุ ขร์ ้อนกังวล แต่ความทุกข์นน่ั เองมิใชห่ รือ เป็นเหตขุ องความสุข ถา้ ไมม่ ีแสงแดดทีร่ อ้ นจา้  ร่มเงาอันเย็นสบาย จะมปี ระโยชน์อะไร แลว้ ความพยายามและความตั้งใจอยา่ งแน่วแน่เดด็ เด่ียวของ เขากม็ ผี ล บคุ คลทตี่ งั้ ใจจรงิ  มคี วามพยายามจรงิ  โชคชะตายอ่ มชกั จงู   ไปสู่ความสำ� เร็จเสมอ

8 8 ห ลั ก ธ ร ร ม เ พ่ื อ ค ว า ม ส� ำ เ ร็ จ ใ น ชี วิ ต ครั้งหนึ่งปาฐกถาพิเศษโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่  เซอร์ ฮมั ฟร ี เดว ี เขาเลด็ ลอดเขา้ ไปฟงั  เมอ่ื ฟงั แลว้ กจ็ ดจำ� ขอ้ ความในปาฐกถา  นั้นได้โดยตลอด  เขาเขียนปาฐกถาของเซอร์  ฮัมฟรี  เดวี  ต้ังแต่ต้น จนจบ เยบ็ ปกอยา่ งสวยงาม เพราะเขามฝี มี อื ทางนอี้ ยแู่ ลว้ สมยั เมอ่ื ท�ำงานเย็บปกหนังสืออยู่กับยอร์จ  รีโบ  เสร็จแล้วก็ส่งไปให้เซอร ์ ฮมั ฟร ี เดว ี อา่ นพรอ้ มดว้ ยใบสมคั รขอเขา้ ทำ� งานกบั นกั วทิ ยาศาสตร์ ผยู้ ่ิงใหญ่คนนัน้ ปกทส่ี วยงามยว่ั ใจใหเ้ ซอร ์ ฮมั ฟร ี อยากเปดิ ดขู า้ งใน เมอ่ื เปดิ ดโู ดยตลอดแลว้  เขาไดเ้ หน็ ความมหศั จรรยท์ เ่ี ดก็ หนมุ่ ผหู้ นง่ึ อายยุ งั นอ้ ย  สามารถเขยี นขอ้ ความจากปาฐกถาของเขาไดถ้ กู ตอ้ งตลอด ไมม่ คี วาม ผดิ พลาดเลย ทงั้ ๆ ทภี่ าษาซง่ึ เขาใชป้ าฐกถานน้ั เปน็ ภาษาทางวชิ าการ ท้ังส้ิน  แสดงว่าเด็กหนุ่มผู้น้ันมีพื้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างดี และมีมันสมองเลิศเหลือเกิน  เซอร์  ฮัมฟรี  เดวี  ได้ค้นพบคนสมอง แกว้ เขา้ แลว้  รสู้ กึ ปลมื้ ใจมากจงึ ตกลงรบั เขาเขา้ ทำ� งานทนั ท ี และให้ เปน็ เดก็ รบั ใชใ้ นหอ้ งวทิ ยาศาสตร ์ ทแี รกๆ กใ็ หล้ า้ งหลอดแกว้  ลา้ งขวด  ปดั กวาด เชด็ ถพู นื้ หอ้ ง เขาทำ� ไดด้ เี ปน็ ทพ่ี อใจของเซอร ์ ฮมั ฟร ี เดวี

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 89 อย่างมาก  เพราะงานน้ันเป็นงานท่ีเขารัก  ท่ีส�ำคัญอีกประการหน่ึง คือ  เขามิได้แสดงตัวว่ามีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เลย  น่ีคือวิสัยของ คนฉลาด ยอ่ มไมแ่ สดงความรขู้ องตนเมอ่ื เวลายงั ไมม่ าถงึ  เขาพยายาม ทำ� งานเทา่ ทไี่ ดร้ บั มอบหมายอยา่ งดที ส่ี ดุ  และนายจา้ งเมอ่ื เหน็ ความ สามารถของเขาแล้วก็ค่อยๆ  เลื่อนงานให้สูงข้ึนไป  โดยใช้ให้หยิบ โน่นหยิบนี่  และในท่ีสุดทดลองให้ผสมเคมีอย่างง่ายๆ  เขาก็ท�ำได ้ ถูกตอ้ ง เขาคอ่ ยๆ เลอื่ นฐานะขน้ึ ทลี ะนอ้ ย จากเดก็ รบั ใชใ้ นหอ้ งทดลอง มาเปน็ ผชู้ ว่ ยของเซอร ์ ฮมั ฟร ี เพราะคณุ ธรรมคอื ความขยนั หมน่ั เพยี ร  ความอดทน ความเสงยี่ มเจยี มตวั  เขาขออา่ นตำ� ราทางวทิ ยาศาสตร์ ของเซอร์  ฮัมฟรี  เดวี  ขอค้นคว้าในห้องสมุด  ในที่สุดเขาก็มีความรู้ ดที างวทิ ยาศาสตรค์ นหนง่ึ  เขากลายเปน็ ผชู้ ว่ ยอยา่ งแทจ้ รงิ ของเซอร์ ฮัมฟรี  เดวี ครงั้ หนงึ่  เซอร ์ ฮมั ฟร ี เดว ี ไดร้ บั เชญิ จากสถาบนั วทิ ยาศาสตร์ หลายแหง่ ในภาคพน้ื ยโุ รป ใหไ้ ปแสดงปาฐกถาในประเทศต่างๆ เช่น

9 0 ห ลั ก ธ ร ร ม เ พื่ อ ค ว า ม ส� ำ เ ร็ จ ใ น ชี วิ ต อติ าล ี เยอรมนั  และฝรง่ั เศส และเขากไ็ ดร้ บั เลอื กใหเ้ ปน็ ผชู้ ว่ ยตดิ ตาม ไปคร้ังน ้ี โชคดอี ะไรเช่นน้นั อปุ สรรคทเ่ี ขาตอ้ งประสบในการเดนิ ทางครง้ั นม้ี เี พยี งเรอื่ งเดยี ว  คอื  การกดี กนั และความรงั เกยี จของเลด ี้ เดว ี ภรรยาของเซอร ์ ฮมั ฟรี  เดวี  เม่ือออกสมาคม  เซอร์  ฮัมฟรี  เดวี  พยายามแนะน�ำทุกแห่งว่า เดก็ หนมุ่ ผนู้ น้ั เปน็ ผชู้ ว่ ยของเขา แตเ่ ลด ้ี เดว ี พยายามอยเู่ สมอเหมอื น กันที่จะแสดงให้ใครๆ  ทราบว่า  เด็กหนุ่มคนนั้นเป็นเพียงเด็กรับใช้ บางคราวเขานง่ั โตะ๊ อาหารแลว้ ในฐานะของผชู้ ว่ ยนกั วทิ ยาศาสตรเ์ รอื ง นาม  แต่เม่ือเลด้ี  เดวี  มาถึง  เธอก็บอกเจ้าของงานว่า  เด็กคนนั้น เปน็ เพยี งเดก็ รบั ใช ้ ไมม่ สี ทิ ธจ์ิ ะนง่ั โตะ๊ กบั นายได ้ เจา้ ภาพจำ� เปน็ ตอ้ ง เชิญเขาออกไปน่ังรับประทานอีกแห่งหนึ่ง  และเซอร์  ฮัมฟรี  เดว ี กพ็ ูดอะไรไมอ่ อก “ทำ� ไมเธอจงึ ตง้ั ใจยกยอ่ งใหเ้ กยี รตเิ ดก็ คนนนั้ นกั ” วนั หนง่ึ เลดี้ เดวี  ถามสามี

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 91 “เขาเป็นคนท่ีควรได้รบั การยกยอ่ งมใิ ชห่ รือ” ฮมั ฟรี พดู “เขาเปน็ เพยี งเดก็ รับใช้ในหอ้ งวทิ ยาศาสตร์” เลด ี้ เดว ี วา่ “แตเ่ ดก็ คนนส้ี มองแกว้ จรงิ ๆ ฉนั ภมู ใิ จเหลอื เกนิ ทไ่ี ดค้ น้ พบเดก็ คนนี้ เขาจะเปน็ นักวทิ ยาศาสตรเ์ อกต่อไปภายหน้า” “ถึงอย่างไร  เธอก็ไม่ควรลดตัวลงมายกย่องเด็กคนนั้นเป็นผู้ ช่วยของเธอ” “ฐานะของคนเราเปลยี่ นแปลงได”้  เซอร ์ ฮมั ฟร ี เดว ี พดู  ยมิ้ นอ้ ยๆ เปน็ เชงิ วา่ ไมเ่ หน็ คำ� พดู ของภรรยาเปน็ สงิ่ สำ� คญั ทคี่ วรสนใจ “เขา เคยเป็นเด็กรับใช้ก็จริง  แต่เวลาน้ีฐานะของเขาเปล่ียนแปลงไปแล้ว เพราะความร้คู วามฉลาด รวมความว่ามนั สมองของเขาเปน็ สิง่ ทเ่ี รา ไม่ควรดูหมน่ิ ” “พระเจ้านโปเลียนน้ัน  เดิมเป็นใคร”  เซอร์  ฮัมฟรี  พูดต่อ  ก็ เปน็ แตเ่ พยี งเดก็ บา้ นนอกคนหนง่ึ ทมี่ คี วามพยายาม มคี วามทะเยอทะยาน เวลานพ้ี ระเจา้ นโปเลยี นเปน็ จกั รพรรดไิ ปแลว้  เธออยา่ วดั คนจากฐานะ เดมิ  ควรจะวดั เขาทมี่ นั สมอง “ยกยอ่ งเขาไปเถอะ อกี หนอ่ ยเธอจะเดอื ดรอ้ นเพราะเดก็ คนน”้ี   เลด ี้ เดว ี พูดเท่านัน้ แล้วไม่พดู อะไรอีก

9 2 ห ลั ก ธ ร ร ม เ พ่ื อ ค ว า ม ส� ำ เ ร็ จ ใ น ชี วิ ต การถูกเหยียดหยามจากสุภาพสตรีผู้สูงศักดิ์คร้ังนี้  ท�ำให้เขา รู้สกึ เกลียดชังฐานันดรศกั ด์ ิ แม้ตอ่ มาภายหลงั  เขาได้ก้าวขึ้นส่ฐู านะ ผยู้ ่งิ ใหญ่แลว้  กไ็ ม่ยอมรับฐานันดรใดๆ เลย คงเป็นคนเดมิ “คนเดิม”  มีน้อยคนนักในโลกน้ีที่จะเป็นคนเดิมอยู่ได้  ในเม่ือ หลายๆ อย่างในชวี ติ ได้เปล่ียนแปลงไปหมดแล้ว เมื่อกลบั จากภาคพ้ืนยุโรปครั้งนั้นแล้ว เขาได้ทำ� งานแหง่ ใหม่ ณ หอ้ งวทิ ยาศาสตร ์ แหง่ ราชบณั ฑติ ยสถานขององั กฤษนนั่ เอง เปน็ ความสขุ อยา่ งแทจ้ รงิ ของเขา เขาไมต่ อ้ งการอะไรอกี แลว้  เขาคน้ ควา้ ศึกษาพยายามให้ก้าวหน้าในด้านวิชาการความรู้แต่เพียงอย่างเดียว ๕ ปลี ว่ งไป ๑๐ ปลี ว่ งไป มนั ลว่ งไปดว้ ยการศกึ ษาคน้ ควา้ และทดลอง ในทส่ี ดุ โชคอนั มหาศาลก็เดนิ เข้าส่วู งจรชวี ิตของเขา เขาได้รบั อนญุ าตใหแ้ สดงปาฐกถา ณ ราชบณั ฑติ ยสถานนั่นเอง

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 93 เปน็ ความภาคภมู ใิ จอยา่ งใหญห่ ลวง เพราะสถานทนี่ น้ั ลว้ นแต่ เปน็ ทชี่ มุ นมุ นกั ปราชญร์ าชบณั ฑติ  การแสดงปาฐกถาทนี่ นั้ เปน็ เกยี รติ ท่นี ้อยคนนักจะไดร้ ับ หลังจากแสดงปาฐกถาครั้งน้ันแล้ว  ราชบัณฑิตยสถานแห่ง องั กฤษก็ไดย้ อมรบั เขาว่าเปน็ ปราชญ์คนหนึง่ ตอนน้ีเองเขานึกถึงการแต่งงาน  เขาได้แต่งงานกับสตรีที่เขา รกั คนหนึ่ง นอกจากเป็นนักปราชญท์ ีค่ ่อยๆ ไตเ่ ตา้ ขึน้ มาจากเดก็ ส่ง หนังสือพิมพ์  เด็กล้างขวด  ล้างหลอดแก้วและท�ำความสะอาดพ้ืน หอ้ งแลว้  เขายงั เปน็ สามที ด่ี ขี องภรรยาอกี ดว้ ย มนี อ้ ยนกั ทน่ี กั ปราชญ์ จะเปน็ สามที ด่ี ขี องภรรยาพรอ้ มๆ กนั ไป แตเ่ ขาทำ� ไดแ้ ละทำ� ไดส้ มำ�่ เสมอ ชอ่ื เสยี งของเขาคอ่ ยๆ โดง่ ดงั ขน้ึ ทลี ะนอ้ ยๆ และตอ่ มาโลกกไ็ ด้ ยอมรับเขาแล้วว่า  เป็นนักวิทยาศาสตร์ท่ีส�ำคัญยิ่งคนหน่ึงซ่ึงโลก  จะลมื มไิ ด ้ ในฐานะเขาเปน็ ผสู้ รา้ งความกา้ วหนา้ ทางวชิ าเคมมี ากมาย

9 4 ห ลั ก ธ ร ร ม เ พื่ อ ค ว า ม ส� ำ เ ร็ จ ใ น ชี วิ ต เปน็ ผสู้ รา้ งแรงไฟฟา้ ใหเ้ ปน็ กำ� ลงั ใชง้ านได ้ นำ� ไฟฟา้ มาเปน็ เครอ่ื งมอื ของมนุษย์  เป็นเหตุให้โลกมีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมอย่าง มโหฬารอยูจ่ นถงึ ทุกวันน้ี “ฉันมีเรื่องเสียใจมากอยู่เร่ืองหนึ่งในชีวิตท่ีผ่านมา”  เขาพูด กบั ภรรยา “เร่ืองอะไรคะ” “เรือ่ งตะเกยี งสำ� หรบั กรรมกรใชใ้ นบ่อถา่ นหิน” “ท่เี ซอร์ ฮัมฟรี เดว ี ประดิษฐข์ ้นึ ใชไ่ หม” ภรรยาถาม “ใช่  และท่านประดิษฐ์ขึ้นเพ่ือความปลอดภัยของกรรมกร ถา่ นหนิ  และตามคำ� สง่ั ของรฐั สภาหรอื รฐั บาล ตะเกยี งทกี่ รรมกรใช้ อยู่ก่อนน้ันไม่สู้ปลอดภัย  เมื่อถูกแก๊สของถ่านหินมันก็ระเบิดเสมอ กรรมกรได้รบั อนั ตรายมาก” “แลว้ ไงคะ” “เม่ือท่านเซอร์  ท�ำเสร็จแล้วก็น�ำเสนอรัฐสภา  รัฐสภาก็ต้ัง คณะกรรมการขนึ้ คณะหนงึ่ เพอื่ พจิ ารณาตรวจสอบคณุ ภาพและความ

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 95 ปลอดภยั อกี ครง้ั หนึง่  ฉนั เป็นกรรมการในคณะน้ันด้วย และฉนั เป็น คนออกความเหน็ วา่  ตะเกยี งนน้ั ยงั ไมป่ ลอดภยั อยา่ งแทจ้ รงิ  ฉนั ตอ้ ง คิดอย่างหนัก  ต้องเผชิญปัญหา  ๒  ด้าน  คือ  อุปการะคุณของท่าน อาจารย์เดวี  กับความปลอดภัยของกรรมกร  ในที่สุดฉันเลือกเอา ความปลอดภยั ของกรรมกร จงึ ไดแ้ สดงความคดิ เหน็ เสนอรฐั สภาวา่ ตะเกยี งนนั้ ยงั ไมป่ ลอดภยั  มบี างสงิ่ บางอยา่ งจะตอ้ งแกไ้ ข กรรมการ คนอน่ื ๆ กเ็ หน็ ดว้ ย ทา่ นอาจารยฮ์ มั ฟร ี เดว ี โกรธฉนั มาก เธอคงจำ� ได้ วา่ เมอ่ื ฉนั ได้รับเลือกเข้าเป็นสมาชิกราชบัณฑิตยสถานนั้น มีท่านอา จารยเ์ ดวี คดั คา้ นอยเู่ สยี งเดยี ว เรอื่ งตะเกยี งเปน็ เรอ่ื งทฉี่ นั ไมส่ บายใจ เสมอมา” “แตฉ่ นั คดิ วา่  เธอไดเ้ ลอื กทางทถ่ี กู ตอ้ งแลว้ นค่ี ะ หากนำ� ตะเกยี ง นนั้ ไปใชจ้ รงิ และไมป่ ลอดภยั  ทา่ นอาจารยเ์ ดวกี เ็ สยี ชอื่ เสยี งยงิ่ กวา่ ที่ ถกู คัดค้านเสียอกี ” เขานงิ่  มองตรงไปเบอื้ งหนา้  บรเิ วณนน้ั สลวั ลงทกุ ท ี เขาระลกึ ยอ้ นหลังต่อไปอกี

9 6 ห ลั ก ธ ร ร ม เ พื่ อ ค ว า ม ส� ำ เ ร็ จ ใ น ชี วิ ต วนั หนง่ึ  มนี กั วทิ ยาศาสตรห์ นมุ่ คนหนง่ึ เขา้ มาในหอ้ งวทิ ยาศาสตร์ ของราชบณั ฑติ ยสถาน พบเขานง่ั อย ู่ เขา้ ใจวา่ เปน็ เดก็ รบั ใช ้ จงึ ถาม อย่างกรุณา “เธออย่ทู ่นี ่นี านแลว้ หรือ” “นานแล้วครบั ” เขาตอบ “เธอเป็นคนรับใชใ้ นหอ้ งน้หี รือ” “ครับ” “ไดเ้ งินพอเล้ียงชีพหรือ” “พอไปได้ครบั ” “เธอชือ่ อะไร” “ไมเคิล ฟาราเดยค์ รับ” เขาตอบหนา้ ตาเฉย “ไมเคลิ  ฟาราเดย!์ ” นกั วทิ ยาศาสตรห์ นมุ่ คนนน้ั อทุ าน ทา่ ทาง เหมอื นจะเปน็ ลม

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 97 ดวงอาทติ ยต์ กดนิ แลว้  ทวั่ บรเิ วณมแี ตค่ วามมดื  แตด่ วงใจของ ฟาราเดยย์ งั สวา่ งไสวดว้ ยแสงแหง่ ปญั ญา ความภมู ใิ จ และความสงบ  เยอื กเย็น  ฟาราเดย์ ผู้ใหพ้ ลังมหาศาลแกโ่ ลก จะเห็นได้ว่าท่านที่ประสบความส�ำเร็จในชีวิตน้ัน  ท่านจะต้อง ใชฉ้ ันทะความพอใจมุ่งลงเป็นหนงึ่  และต้องใช้ความพากเพียรเอาใจ ใสแ่ ละปัญญามากเพียงใด



อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 99 บุคคลผู้มีความเพียรกล้า ย่อมตระหนักว่าความเพียรเป็น หนา้ ทอ่ี นั ตนพงึ ทำ�  เมอ่ื ไดท้ ำ� ความเพยี รเตม็ กำ� ลงั ของตนแลว้  ถงึ จะไม่ส�ำเร็จ ใครเล่าจะต�ำหนิได้ นักปราชญ์ต�ำหนิคนท่ีล้มเหลว เพราะทำ� ความเพียรย่อหย่อนตา่ งหาก ผมู้ คี วามเพยี รยอ่ มไมท่ ำ� เวลาใหส้ ญู เปลา่  เมอ่ื เวลาลว่ งไปโดย ไม่ใช้ประโยชน์ เขาจะเสยี ใจและเสียดายเวลาเปน็ อันมาก เพราะเห็น ว่าไม่ได้ท�ำส่ิงอันเป็นประโยชน์ควบคู่ไปกับเวลาด้วย  เขาจะเห็นเวลา เป็นส่ิงมีค่าซึ่งไม่ควรปล่อยให้ล่วงไปเปล่าๆ  แม้จะมีเวลาเพียงเล็ก น้อย  ถ้าเขามีก�ำลังกายแข็งแรงพอไม่อ่อนเพลีย  ไม่เจ็บป่วย  เขาก็ จะท�ำความเพียรเป็นการเก็บเล็กผสมน้อย  นานวันเข้าก็จะพอกพูน ขน้ึ เอง คนมคี วามเพยี รยอ่ มตระหนกั วา่  เขาจะลว่ งพน้ ความทกุ ขแ์ ละ อปุ สรรคตา่ งๆ ได้ กด็ ้วยความเพยี ร ไม่ใชด่ ว้ ยการอ้อนวอน ถา้ จะมี การอ้อนวอนก็น่าจะเป็นว่า  “ขออย่าให้ข้าพเจ้ารู้สึกย่อท้อ  ขอให้ ข้าพเจ้ามีวิริยะอุตสาหะอย่างเต็มก�ำลัง ขออย่าให้ข้าพเจ้าต้อง ออ้ นวอนส่งิ ใดเลย”


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook