Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หลักการคิดเชิงออกแบบ

หลักการคิดเชิงออกแบบ

Published by นวรัตน์ วงษ์เจริญ, 2022-01-11 04:34:11

Description: หลักการคิดเชิงออกแบบ-นวรัตน์
เป็นชิ้นงานเพื่อการศึกษา

Search

Read the Text Version

บทที่ 1 การคิดเชิง ออกแบบ ( design thinking )



เนื้อหา การคิดเชิงออกแบบ ( อังกฤษ : design thinking ) 1 ขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบ -1.1 การเข้าใจปัญหา -1.2 การสร้างสรรค์ความคิด -1.3 การสร้างแบบจำลองเพื่อการ ทดสอบ พัฒนา 2 การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) มีประโยชน์ มากมาย

การคิดเชิงออกแบบ (อังกฤษ: design thinking) เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาและ พัฒนาแนวคิดใหม่ ๆ โดยมีจุดมุ่ง หมายคือการหาแนวทางการแก้ปัญหา ที่เน้นมุมมองของผู้ใช้ (user-centered) และมีเจตนาใน การสร้างผลลัพธ์ในอนาคตที่เป็นรูป ธรรม เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรม ที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์

กระบวนการคิดเชิงออกแบบมี 3 ขั้นตอน หลัก คือ การเข้าใจปัญหา, การสร้างสรรค์ ความคิด และ การสร้างแบบจำลองเพื่อการ ทดสอบพัฒนา

ขั้นตอนของการคิด เชิงออกแบบ 1.การเข้าใจปัญหา เป็นขั้นตอนการทำความเข้าใจและตีความ ปัญหาอย่างลึกซึ้ง ที่ต้องเน้นการทำความเข้าใจ ต่อผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย (insight) เป็นการ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตั้งคำถามปลายเปิด หรือสมมติฐานที่ผลักดันให้เกิดความคิด สร้างสรรค์ และการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนด แนวทางการแก้ปัญหาให้ชัดเจน โดยการเลือก และสรุปกรอบแนวทางความเป็นไปได้

2.การสร้างสรรค์ความคิด การระดมความคิดใหม่ (ideate) อย่างไม่มีขีดจำกัด ให้มากที่สุด หลากหลายที่สุด ในรูปแบบการระดม สมอง (brainstorm) และนำไปสู่ การประเมิน (idea evaluation) เลือกความคิดที่อยู่ภายใต้กรอบ แนวทางความเป็นไปได้ ซึ่งอาจมีการ ซ้ำหลายรอบ

ความคิดแปลกใหม่ที่อยู่นอก กรอบแนวทางความเป็นไปได้ อาจถูกบันทึกและนำไปใช้ใน การพัฒนาโครงการอื่นๆได้

3.การสร้างแบบจำลองเพื่อการทดสอบ พัฒนา การสร้างแบบจำลอง (prototype) ที่สื่อสารแนวคิดที่ดีที่สุดออกมาเป็นสิ่งที่ จับต้องได้เพื่อใช้ในการพิสูจน์แนวคิด และนำไปทดสอบกับผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย เพื่อสังเกตประสิทธิภาพและความคิดเห็น จากการใช้งาน โดยการรวบรวมผลตอบ รับ ข้อเสนอแนะต่างๆ ตลอดจนคำ แนะนำมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุง ต่อไป ซึ่งอาจผ่านการทดสอบซ้ำหลาย ครั้ง ขึ้นกับความซับซ้อนของโซลูชั่น

แบบจำลองช่วยในการรวบรวม ความคิดเห็นและปรับปรุงแนวคิด ช่วยให้เข้าใจถึงจุดแข็งและจุด อ่อนของโซลูชั่นใหม่

การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) มีประโยชน์มากมาย ทั้งต่อ บุคลากรไปจนถึงองค์กรเลยทีเดียว ซึ่ง ประโยชน์ในด้านต่างๆ นั้นมีดังนี้ 1.ฝึกกระบวนการแก้ไขปัญหาตลอดจนหา ทางออกที่เป็นลำดับขั้นตอน : ปกติเราอาจ จะมีการหาทางแก้ปัญหาแบบสะเปะสะปะ ไม่มีการหาสาเหตุ หรือไม่มีการมองรอบด้าน กระบวนการนี้จะทำให้เรามองอย่างรอบคอบ และละเอียดมากขึ้น ทำให้เราเข้าใจปัญหาได้ อย่างถ่องแท้ และแก้ไขได้ตรงจุด

มีทางเลือกที่หลากหลาย : การคิดบน พื้นฐานข้อมูลที่มีหลากหลาย ตลอด จนพยายามคิดหาวิถีทางหรือแชร์ไอ เดียที่ดีออกมาหลากหลายรูปแบบ ทำให้เรามองเห็นอะไรรอบด้าน และมี ตัวเลือกที่ดีที่สุด ก่อนนำไปใช้แก้ ปัญหาจริง หรือนำไปปฎิบัติจริง

3.มีตัวเลือกที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด : เมื่อเรามีตัวเลือกหลากหลายเราก็จะรู้จัก คิดวิเคราะห์ และการคิดวิเคราะห์นี้เองจะ ทำให้เราสามารถเลือกทางเลือกที่ดีและ เหมาะสมที่สุดได้ มีประสิทธิภาพมากกว่า 4.ฝึกความคิดสร้างสรรค์ : การแชร์ไอ เดีย ตลอดจนระดมความคิดนั้น จะทำให้ สมองเราฝึกคิดหลากหลายรูปแบบ หลาก หลายวิธีการ หลากหลายมุมมอง และ ทำให้เรารู้จักหาวิธีแปลกๆ ใหม่ๆ ซึ่งเป็น พื้นฐานในการฝึกความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ที่เป็นพื้นฐานที่ดีในการแก้ปัญหา ตลอด จนการบริหารจัดการเช่นกัน

5.เกิดกระบวนการใหม่ตลอดจน นวัตกรรมใหม่ : มีการคิดมากมาย หลากหลายรูปแบบ ตลอดจนแชร์ไอ เดียดีๆ มากมาย การที่เราได้ พยายามฝึกคิดจะทำให้เรามักค้นพบ วิธีใหม่ๆ เสมอ หรือเกิดนวัตกรรม ใหม่ๆ ขึ้นมาได้เช่นกัน

6.องค์กรมีการทำงานอย่างเป็น ระบบ : เมื่อบุคลากรถูกฝึกให้คิดอย่างเป็น ระบบแบบแผนแล้วจะปลูกฝังระบบ การทำงานที่ดี นั่นย่อมส่งผลให้ องค์กรมีการทำงานอย่างเป็นระบบ และทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วย เพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากร และองค์กรไปในตัว

THANK YOU