เ ดื อ น สิ ง ห า ค ม ปี 2 5 6 1 ฉ บั บ ที่ 3 ครูเอื้อ สุนทรสนาน น.ส.อรกมล ชาวบ้านเกาะ ม.5/1 เลขที่ 21
Est. 2482 ครูเอื้อสุนทรสนาน อัตชีวะประวัติ นายเอื้อ สุนทรสนาน หรือ ครูเอื้อ เป็นทั้งนักร้อง นักประพันธ์เพลง และหัวหน้าวงดนตรีสุนทราภรณ์ (21 ม.ค. 2453 - 1 เม.ย. 2524) หนึ่งในผู้บุกเบิกวงการเพลงไทยสากล จากการก่อตั้ง สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยใน พระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ในปี พ.ศ.2518 ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรม ได้เสนอต่อ องค์การยูเนสโกในวาระครบรอบ 100 ปีชาตกาล เพื่อให้เป็นบุคคลดีเด่นของโลก และได้รับยกย่อง เป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวัฒนธรรม ดนตรีไทยสากล ในปี 2552 มีผลงานมากมาย เช่น รำวงลอยกระทง รำวงเริงสงกรานต์
ทั้งนี้ ครูเอื้อ เกิดเมื่อที่ 21 ม.ค. 2453 ที่ ตำบลโรงหีบ อำเภอ อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยวัยเด็กศึกษาที่โรงเรียนวัดใหม่ ราษฎร์บูรณะ จังหวัดสมุทรสงคราม และในปี 2460 บิดาได้พาเข้า กรุงเทพมหานคร พักอาศัยอยู่กับหมื่นไพเราะพจมาน ผู้เป็นพี่ชาย ซึ่ง รับราชการเป็นคนพากย์โขนในกรมมหรสพ และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียน วัดระฆังโฆสิตารามจนจบชั้นประถมศึกษา ซึ่งเป็นระยะเวลาเดียวกับที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งโรงเรียนพรานหลวง ขึ้นที่สวนมิสกวัน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสอนวิชาสามัญตามปกติ (ภาคเช้า) และวิชาดนตรีทุกประเภท (ภาคบ่าย) ทั้งนี้ ครูเอื้อเลือกเรียนดนตรีฝรั่ง ตามความถนัดกับครูผู้ฝึกสอนคือ ครูโฉลก เนตตะสุต และ อาจารย์ ใหญ่คือ อาจารย์พระเจนดุริยางค์ ต่อมาหลังจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปี 2465 พระเจนดุริยางค์เห็นว่า มีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี จึงให้หัดเล่นไวโอลิน และ แซ็กโซ โฟน โดยเมื่ออายุได้ 12 ขวบ จึงได้ให้เข้ารับราชการประจำ กองเครื่อง สายฝรั่งหลวงในกรมมหรสพ กระทรวงวัง รับพระราชทานยศเป็น “เด็กชา” จนกระทั่งมีความชำนาญมากขึ้นจึงได้เลื่อนขึ้นไปเล่นวงใหญ่ ในปี 2469 และต่อมาก็ได้รับพระราชทานยศ “พันเด็กชาตรี”และ “พัน เด็กชาโท” ในปีถัดไป
ขณะที่ในปี 2475 ได้โอนไปรับราชการสังกัดกรมศิลปากร ใน สังกัดกองมหรสพ นอกจากรับราชการในกรมศิลปากรแล้ว ยังมีโอกาส ได้ร่วมงานกับคณะละครร้องที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น จนกระทั่งอายุ 26 ปี ก็ได้มีโอกาสเล่นดนตรีประกอบภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเรื่อง ถ่านไฟเก่า สร้างโดย บริษัทไทยฟิล์ม และยังได้ร้องเพลง ในฝัน แทนเสียงร้องของ พระเอก ต่อมาได้เป็นหัวหน้าวงดนตรีฟิล์มด้วย
อย่างไรก็ตามจากงานใหญ่ที่สร้างชื่อเสียง ครูเอื้อจึงมีความคิดตั้ง วงดนตรีขึ้นในปีถัดมา เรียกชื่อวงตามจุดกำเนิดคือ ไทยฟิล์ม ตามชื่อ บริษัทหนัง และปีถัดมาทางราชการได้ปรับปรุงสำนักงานโฆษณาการ เชิงสะพานเสี้ยว และยกฐานะขึ้นเป็นกรมโฆษณาการ นายวิลาศ โอ สถานนท์ อธิบดี เห็นว่า เมื่อมีสถานีวิทยุของรัฐบาลแล้ว ก็ควรจะมีวง ดนตรีประจำอยู่ จึงได้ยกวงของครูเอื้อมาอยู่กรมโฆษณาการ และ เปลี่ยนชื่อเป็น วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ เอื้อ สุนทรสนาน เป็น หัวหน้าวง ในปี 2482 (ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอา นันทมหิดล รัชกาลที่8)
ต่อมาในปี 2516 ครูเอื้อ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้เป็นสมาชิกคนหนึ่งในสมัชชาแห่งชาติ และ ในปี 2512 ได้รับพระราชทานเหรียญรูปเสมาทองคำที่มีพระ ปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. จากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสครบรอบ 30 ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์ ถัดมาปี 2523 ได้เดินทางพร้อมกับนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการ สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร และได้ ขับร้องเพลงถวายเป็นครั้งสุดท้าย คือ เพลงพรานทะเล แต่ต่อมา สุขภาพทรุดลงเป็นลำดับ จนเมื่อถึงวันที่ 1 เม.ย. 2524 ได้เสียชีวิตลง รวมอายุได้ 71 ปี
ถัดมาปี 2523 ได้เดินทางพร้อมกับนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการ สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร และได้ขับร้องเพลงถวายเป็นครั้งสุดท้าย คือ เพลงพรานทะเล แต่ต่อมา สุขภาพทรุดลงเป็นลำดับ จนเมื่อถึงวันที่ 1 เม.ย. 2524 ได้เสียชีวิตลง รวมอายุได้ 71 ปี
ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่ครูเอื้อรักและ ผูกพัน ในเพลง ‘พระเจ้าทั้งห้า’ ซึ่งเป็นเพลง สุดท้ายที่ครูเอื้อร้องมีเนื้อเพลงตอนหนึ่งว่า “พระที่ห้ามีค่า ยิ่งกว่าทรัพย์สิน ซอสุดรักไวโอลิน เหนือศิลป์ใดใด”
Search
Read the Text Version
- 1 - 8
Pages: