Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore นาดสิน (1)

นาดสิน (1)

Published by BL Surattana, 2022-01-12 02:45:19

Description: นาดสิน (1)

Search

Read the Text Version

ฟ้อน สาว ไหม

คำนำ e-book เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชานาฏศิลป์ ศ33102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้ได้ศึกษา หาความรู้ในเรื่องการแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ ซึ่ง e-book เล่มนี้มีเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการแสดงฟ้อนสาวไหม และผู้จัด ทำได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่า e-book เล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำ หรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ผู้จัดทำ นางสาวสุรัตนา ค้าขาย

02 04 06 ก า ร แ ต่ ง ก า ย โ อ ก า ส ที่ ใ ช้ ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ก า ร แสดง แสดง 03 05 06 ขั้ น ต อ น ก า ร แนวทางการ แสดง ด น ต รี ป ร ะ ก อ บ อ นุ รั ก ษ์ การแสดง

01 ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนสาวไหม เป็นศิลปการฟ้อนรำ ประเภทหนึ่งของชาวล้านนา ที่มีพัฒนาการทางรูปแบบมาจากการเลียน แบบอากัปกิริยาอาการของสาวไหม ผู้ฟ้อนส่วนใหญ่มักเป็นหญิงสาว ลีลาใน การฟ้อนดูอ่อนช้อยและงดงามยิ่งฟ้อนสาว ไหมเป็นฟ้อนทางภาคเหนือ ทางวิทยาลัย นาฏศิลป์เชียงใหม่ได้ปรับปรุงสืบทอด มา จากครูพลอยศรี สรรพศรี ทั้งนี้ ครูพลอย ศรี ได้ถ่ายแบบรับท่ามาจากหญิงชาวบ้าน ที่จังหวัดเชียงราย ชื่อ บัวเรียว รัตนมณี กรณ์ซึ่งคุณบัวเรียวก็ได้เรียนการฟ้อนนี้มา จากบิดาของตนอีกทีหนึ่ง

02 ลักษณะ ของการแสดง เป็นฟ้อนพื้นเมืองที่ เลียนแบบมาจากการ ทอผ้าไหมของชาวบ้าน การฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนรำแบบเก่า เป็นท่าหนึ่งของฟ้องเจิง ซึ่งอยู่ในชุดรำเดียวกับ การฟ้อนดาบ ลีลาการ ฟ้อนเป็นจังหวะที่ คล่องแคล่วและรวดเร็ว

03 ขั้น ตอน การ แสดง เริ่มจากการแสดงท่าหักร้างถางพง เพาะปลูกฝ้าย และหม่อน ซึ่งเป็นการแสดงของช่างฟ้อนชาย เพิ่งเพิ่มเข้ามาภายหลัง ต่อจากนั้นก็เป็นท่วงท่า ในการฟ้อนสาวไหมเริ่มจากท่าเลือกไหม ดึงไหม ออกจากรัง ม้วนไหม สาวไหมออกจากตัว ไหล่ ศีรษะ เท้า ม้วนไหมใต้ศอก พุ่งกระสวย กรอ ไหม พาดไหม ป๊อกไหม จนกระทั่งชื่นชมกับผ้าที่ ทอสำเร็จแล้ว

การแต่งกาย 04 แต่งกายแบบพื้นเมือง คือ ๑. ผ้าซิ่นป้าย ๒. เสื้อคอตั้ง หรือเสื้อคอกลม แขนยาว ผ่าอกตลอด ๓. ห่มสไบทับเสื้อ ๔. เกล้าผมเป็นมวยอยู่ด้านหลังประดับดอกไม้

05 ดนตรี ประกอบ การแสดง ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน จะใช้วงดนตรีพื้นเมืองซึ่งมีสะล้อ ซอ ซึง เพลงร้องมักไม่นิยมมี จะมีแต่ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ แต่เดิมที่ บิดาของคุณบัวเรียวใช้นั้นเป็นเพลง ปราสาทไหว ส่วนคุณบัวเรียวจะใช้ เพลงลาวสมเด็จ เมื่อมีการถ่ายทอดมา ครูนาฎศิลป์ได้เลือกสรรใช้เพลง \"ซอ ปั่นฝ้าย\" ซึ่งมีท่วงทำนองเป็นเพลงซอ ทำนองหนึ่งที่นิยมกันในจังหวัดน่าน และมีลีลาที่สอดคล้องกับการฟ้อนสาว ไหมอย่างงดงามยิ่ง

06 โอกาสที่ใช้แสดง แสดงได้ทุกโอกาส และในงานเทศกาลหรืองานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ แนวทาง การอนุรักษ์ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยน ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง โดยให้มีการ เผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

นางสาวสุรัตนา ค้าขาย ม.6/7 เลขที่ 25