คํานํา กรมพัฒนาฝีมอื แรงงาน เป็นหน่วยงานท่ีรับผิดชอบด้านการพัฒนา ฝีมือแรงงานให้แก่กลุ่มแรงงานใหม่ก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ให้มีความรู้ ความสามารถตามความต้องการของตลาดแรงงาน และพัฒนากลุ่มแรงงาน ทอ่ี ยูใ่ นตลาดแรงงานให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ได้พฒั นามาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขาอาชีพต่างๆ ให้สอดคล้องกับ ความต้องการตลาดแรงงานและความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เพื่อใช้ ในการทดสอบความรู้ ความสามารถ และทัศนคติของแรงงานก่อนเข้าสู่ สถานประกอบกิจการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้จัดทําคู่มือเตรียมทดสอบมาตรฐาน ฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ให้แก่ผู้สนใจท่ีจะเข้ารับการทดสอบ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติได้ศึกษา ค้นคว้าเนื้อหาท่ีใช้ในการทดสอบ ภาคความรู้ก่อนเข้ารับการทดสอบ ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสในการทํางาน และสามารถนาํ ความรูไ้ ปใชใ้ นการประกอบอาชีพไดอ้ กี ด้วย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หวังเป็นอย่างย่ิงว่าคู่มือเตรียมทดสอบ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเล่มน้ี จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ แรงงาน และผู้ประกอบกิจการ ตลอดจนหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องกับการทดสอบ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การทดสอบ มาตรฐานฝีมือแรงงานแหง่ ชาติมปี ระสทิ ธภิ าพสูงสดุ ต่อไป หมอ่ มหลวงปณุ ฑรกิ สมิติ อธบิ ดีกรมพฒั นาฝีมือแรงงาน กันยายน ๒๕๕๘
สารบัญ หน้า บทท่ี ๑ บทนาํ ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝมี อื แรงงาน ๑.๑ เรอ่ื ง มาตรฐานฝีมือแรงงานแหง่ ชาติ ............................... ๑ สาขาอาชพี ช่างไฟฟา้ ภายในอาคาร ๑.๒ เร่อื ง คุณสมบตั ขิ องผ้เู ขา้ รบั การทดสอบ........................... ๙ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ๑.๓ เรือ่ ง วธิ กี ารทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานและการออก.. ๑๐ หนังสอื รับรองว่าเป็นผูผ้ า่ นการทดสอบมาตรฐานฝีมือ แรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร บทที่ ๒ หัวขอ้ วชิ า ๒.๑ ความร้เู บอ้ื งตน้ เกีย่ วกบั อัคคภี ัย ....................................... ๑๓ ๒.๒ ความปลอดภยั ................................................................ ๑๕ ๒.๓ การปฏิบตั ิงานทางไฟฟ้าดว้ ยความปลอดภัย.................... ๑๙ ๒.๔ ความรู้ทว่ั ไปเกี่ยวกับวงจรไฟฟา้ ...................................... ๒๒ ๒.๕ ความร้ทู ัว่ ไปเกี่ยวกับเคร่ืองวดั ไฟฟ้า ................................ ๓๕ ๒.๖ สายไฟฟ้า ........................................................................ ๔๘ ๒.๗ อุปกรณป์ ้องกนั กระแสเกิน .............................................. ๕๒ ๒.๘ การตอ่ ลงดนิ .................................................................... ๕๗ ๒.๙ เครือ่ งมอื ชา่ งทัว่ ไป .......................................................... ๖๑ ๒.๑๐ อุปกรณแ์ ละวัสดุงานเดินสายไฟฟ้าในท่อรอ้ ยสาย ......... ๖๖ ๒.๑๑ รางเดินสาย................................................................... ๗๐ ๒.๑๒ วงจรยอ่ ย ...................................................................... ๗๓
สารบัญ หน้า ๒.๑๓ การต่อสวิตซ์ และเตา้ รบั ไฟฟา้ ...................................... ๗๙ บทท่ี ๓ บทสรปุ คู่มือเตรียมสอบมาตรฐานฝมี ือแรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๓.๑ สรุปสาระสําคญั ............................................................... ๙๒ ๓.๒ จรรยาบรรณของผปู้ ระกอบอาขีพ ................................... ๙๖ ช่างไฟฟา้ ภายในอาคาร
บทที่ ๑ บทนาํ ประกาศคณะกรรมการส่งเสรมิ การพัฒนาฝีมือแรงงาน ๑.๑ ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมอื แรงงาน เรอ่ื ง มาตรฐานฝมี ือแรงงานแหง่ ชาติ สาขาอาชีพชา่ งไฟฟ้าภายในอาคาร เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๘๔ ง ราชกิจจานเุ บกษา ๒๓ ธนั วาคม ๒๕๕๒ ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพฒั นาฝีมือแรงงาน เรอื่ ง มาตรฐานฝีมือแรงงานแหง่ ชาติ สาขาอาชพี ชา่ งไฟฟา้ ภายในอาคาร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง แห่ง พระราชบัญญตั ิส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะกรรมการ ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงกําหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงานดังตอ่ ไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศน้ี สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร หมายถึง ช่างซึ่งประกอบอาชีพในงานติดตั้งระบบไฟฟ้ากําลัง แรงดันไฟฟ้า กระแสสลับไม่เกิน ๑,๐๐๐ โวลต์ สําหรับระบบไฟฟ้า ๑ เฟส หรือ ๓ เฟส หรือใช้กับไฟฟ้ากระแสตรงไม่เกิน ๑,๕๐๐ โวลต์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน อาคาร การแก้ไขปัญหาข้อขัดข้อง และการตรวจสอบระบบไฟฟ้า โดย สามารถปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานซ่อมบํารุง การใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ ไฟฟ้าภายในอาคารและหลักการใชท้ ั่วไปของเครอื่ งใช้ไฟฟ้าสําหรับใช้ในท่ีอยู่ อาศัยได้ตามความสามารถในระดบั ช้นั ท่กี าํ หนดไว้ ข้อ ๒ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้า ภายในอาคาร แบ่งออกเป็น ๓ ระดบั คมู่ ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๑
๒.๑ ระดับ ๑ หมายถึง ช่างซ่ึงประกอบอาชีพในงานติดต้ัง ระบบไฟฟา้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร ๒.๒ ระดับ ๒ หมายถึง ช่างซึ่งประกอบอาชีพในงานติดตั้ง ระบบไฟฟ้าและอปุ กรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารและการแกไ้ ขปัญหาขอ้ ขดั ข้อง ๒.๓ ระดับ ๓ หมายถึง ช่างซ่ึงประกอบอาชีพในงานติดต้ัง ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารและการตรวจสอบระบบไฟฟา้ ข้อ ๓ ข้อกําหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถและทัศนคติในการทํางานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาอาชีพ ชา่ งไฟฟา้ ภายในอาคาร ให้เป็นดังนี้ มาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ ระดับ ๑ ได้แก่ ๓.๑ ความรู้ ประกอบด้วย ขอบเขตความรู้ ความเข้าใจ ในเร่ืองดงั ตอ่ ไปนี้ ๓.๑.๑ ความปลอดภัยเบอ้ื งต้นในการปฏิบัติงานทาง ไฟฟา้ (๑) การใช้เคร่ืองมือ อุปกรณ์ป้องกันส่วน บคุ คลเบ้ืองตน้ (๒) การป้องกันอนั ตรายจากไฟฟ้า (๓) การปฐมพยาบาลผู้ถูกช็อกไฟฟ้า (ไฟฟ้า ดดู ) และได้รบั อุบตั ิเหตุ (๔) สญั ลักษณ์ความปลอดภยั ๓.๑.๒ คุณสมบัติของสายไฟฟ้า (Cable) ตัวนําแท่ง (Bus Bar) ตวั ต้านทานและตวั เหนย่ี วนํา ๓.๑.๓ การเลือกชนิดและขนาดของสายไฟฟ้า (Cable) ตวั นําแท่ง (Bus Bar) ตวั ตา้ นทาน และตัวเหน่ยี วนํา ๓.๑.๔ อุปกรณ์สําหรับการประกอบ การติดตั้ง การ เดนิ สายไฟฟา้ และระบบไฟฟา้ คู่มอื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๒
๓.๑.๕ วิธีการต่อเต้ารับไฟฟ้า วิธีการต่อสวิตช์ไฟฟ้า และวธิ กี ารต่อตวั นําป้องกัน (PE, Protective conductor) ๓.๑.๖ หลักการใช้ท่ัวไปของเคร่ืองใช้ไฟฟ้าสําหรับ ใชใ้ นทอี่ ยูอ่ าศยั ๓.๑.๗ เครอ่ื งวัดทางไฟฟา้ สําหรบั การวัดแรงดัน ไฟฟา้ กระแสไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟา้ ๓.๑.๘ ความรู้ทวั่ ไปเกีย่ วกบั ไฟฟา้ และมาตรฐานการ ติดตง้ั ๓.๒ ความสามารถ ประกอบดว้ ย ขอบเขตความสามารถ ในการปฏบิ ตั ิงาน ดงั ตอ่ ไปน้ี ๓.๒.๑ การใช้ การบํารุงรักษาเครื่องมือและ อปุ กรณป์ อ้ งกันสว่ นบุคคลเบ้อื งตน้ ๓.๒.๒ การเลอื กใช้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน เช่น อปุ กรณต์ ดั วงจรอัตโนมัติ (circuit breaker) และฟิวส์ เปน็ ตน้ ๓.๒.๓ การตรวจสอบบริภัณฑ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ประกอบกอ่ นการต่อเขา้ กับการติดต้งั ทางไฟฟ้า ๓.๒.๔ การเดินสายไฟฟ้าบนผิวผนังด้วยเข็มขัดรัด สาย ๓.๒.๕ การเดินสายไฟฟ้าด้วยท่อร้อยสายไฟฟ้า ชนิดพวี ซี ี ๓.๒.๖ การตดิ ตงั้ บริภัณฑ์ไฟฟา้ ๓.๒.๗ การตอ่ ตวั นําแบบตา่ งๆ (๑) การตอ่ สายได้ทุกแบบ (๒) การตอ่ ตวั นาํ เขา้ กบั ขั้วตอ่ (๓) การพนั ฉนวนห้มุ บรเิ วณจุดต่อสาย ๓.๒.๘ การต่อเตา้ รบั ไฟฟา้ ๓.๒.๙ การตอ่ วงจรไฟฟา้ ของต้ไู ฟฟา้ คมู่ อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๓
๓.๒.๑๐ การต่อวงจรไฟฟ้าควบคุมการเปิด – ปิด วงจรแสงสวา่ ง ๓.๒.๑๑ การตรวจสอบการทาํ งานของวงจรไฟฟ้า ๓.๓ ทัศนคติ ประกอบด้วย การปฏิบัติงาน การตรงต่อ เวลา การรักษาวินัย มีความซ่ือสัตย์ และความประหยัด ความสะอาด และ การปฏบิ ัติงานโดยคาํ นงึ ถึงความถกู ต้องและความปลอดภยั มาตรฐานฝมี ือแรงงานแหง่ ชาติ ระดับ ๒ ไดแ้ ก่ ๓.๔ ความรู้ ประกอบด้วย ขอบเขตความรู้ ความเข้าใจ ในเรือ่ งดังตอ่ ไปน้ี ๓.๔.๑ ความปลอดภยั ในการปฏบิ ตั งิ านทางไฟฟา้ (๑) การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ป้องกันส่วน บคุ คลเบ้ืองต้น (๒) การปอ้ งกันอันตรายจากไฟฟา้ (๓) การปฐมพยาบาลผู้ถูกช็อกไฟฟ้า (ไฟฟ้าดูด) (๔) สญั ลักษณค์ วามปลอดภยั ๓.๔.๒ ข้อกําหนดสําหรับการติดตั้งทางไฟฟ้าของ การไฟฟ้า ๓.๔.๓ การอ่านสัญลักษณ์ทางไฟฟ้าและแผนภาพ (แบบแปลน) ทางไฟฟา้ ขน้ั พืน้ ฐาน ๓.๔.๔ ระบบไฟฟ้า ๒๒๐ โวลต์ ๑ เฟส ๒ สาย และ ๒๒๐/๓๘๐ โวลต์ ๓ เฟส ๔ สาย ๓.๔.๕ การเลือกชนิดและขนาดของสายไฟฟ้า (Cable) และตัวนําแท่ง (Bus Bar) สัมพันธ์กับวิธีการเดินสายไฟฟ้า เช่น เดินลอยในอากาศ ร้อยท่อร้อยสายไฟฟ้า เดินบนพ้ืนผิว เดินในราง ฝังดิน เป็นต้น คู่มือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๔
๓.๔.๖ หลักการทํางานของอุปกรณ์ป้องกันกระแส เกนิ เช่น อุปกรณต์ ัดวงจรอัตโนมตั ิ และฟวิ ส์ เปน็ ตน้ ๓.๔.๗ การแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องระบบจ่ายไฟฟ้า กาํ ลัง ๓.๔.๘ หลักการบํารุงรักษาทั่วไปขอเคร่ืองใช้ไฟฟ้า สาํ หรับใช้ในท่ีอยอู่ าศัย ๓.๕ ความสามารถ ประกอบด้วย ขอบเขตความสามารถ ในการปฏบิ ัติงาน ดังต่อไปน้ี ๓.๕. ๑ เคร่ืองวัดทางไฟฟ้าสําหรับการวัด แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความถี่ ความต้านทานไฟฟ้า ตัวประกอบกําลัง (Power Factor) และมาตรพลังงานไฟฟ้า (Watt hour meter) ๓.๕.๒ การต่อมาตรพลงั งานไฟฟา้ กระแสลบั ๓.๕.๓ การใช้โอห์มมิเตอร์เพ่ือตรวจหาข้อขัดข้อง ในวงจรไฟฟ้า ๓.๕.๔ การติดต้ังสวิตซ์ประธานและสวิตซ์ควบคุม วงจรยอ่ ย ๓.๕.๖ การเดนิ สายไฟฟา้ ดว้ ยทอ่ รอ้ ยสายไฟฟ้า ๓.๕.๗ การเดนิ ทอ่ รอ้ ยสายไฟฟา้ แบบตา่ งๆ (๑) ท่อโลหะหนา (Rigid Metal Conduit : RMC) (๒) ทอ่ โลหะหนาปานกลาง (Intermediate Metal Conduit : IMC) (๓) ท่อโลหะบาง (Electrical Metallic Tubing : EMT) (๔) ท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit : FMC) ค่มู ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๕
(๕) ท่ออโลหะ เช่น ท่อ PVC และท่อ PE เป็นต้น ๓.๕.๘ การตอ่ วงจรไฟฟา้ ๓.๕.๙ การปฐมพยาบาลผูถ้ กู ชอ็ กไฟฟา้ (ไฟฟา้ ดูด) ๓.๖ ทัศนคติ ประกอบด้วย แนวความคิดในเรื่องการ พัฒนาความรู้ การวิเคราะห์ การตัดสินใจ การแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการ ปฏิบตั ิงานและการให้คําแนะนาํ แกผ่ ูอ้ ยู่ในความรับผดิ ชอบ มาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ ระดับ ๓ ได้แก่ ๓.๗ ความรู้ ประกอบด้วย ขอบเขตความรู้ ความเข้าใจ ในเร่ืองดังตอ่ ไปน้ี ๓.๗.๑ ความปลอดภยั ในการปฏบิ ัตงิ านทางไฟฟา้ ๓.๗.๒ ระบบไฟฟ้าสําหรับประเทศไทย ๓.๗.๓ เครื่องกําเนิดไฟฟ้าฉุกเฉิน และสวิตซ์ถ่าย โอน (Transfer Switch) ๓.๗.๔ มอเตอรไ์ ฟฟา้ และอปุ กรณค์ วบคุม ๓.๗.๕ หม้อแปลงไฟฟ้ากําลัง (๑) หลักการทํางานของหม้อแปลงไฟฟ้า กาํ ลัง (๒) หม้อแปลงไฟฟ้ากําลัง ชนิด ๑ เฟส และ ๓ เฟส (๓) การเลือกขนาดของหม้อแปลงไฟฟ้า กาํ ลัง (๔) การตดิ ตัง้ หมอ้ แปลงไฟฟ้ากําลัง (๕) การตรวจสอบและการบาํ รงุ รกั ษา ๓.๗.๖ อปุ กรณ์ตดั วงจรอัตโนมัติ คูม่ อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๖
๓.๗.๗ การตอ่ ลงดนิ และกับดักเสิรจ์ (Surge Arrester) ๓.๗.๘ การแก้ตัวประกอบกําลัง (Power Factor Correction) ๓.๗.๙ อุปกรณ์ประกอบการใช้เคร่ืองวัดทางไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงกระแส (Current Transformer, CT) หม้อแปลงแรงดัน (VT) เป็นต้น ๓.๗.๑๐ ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm) เบ้อื งต้น ๓.๗.๑๑ ชนิดของหลอดไฟฟ้า ๓.๗.๑๒ การเลือกชนิดและขนาดของท่อร้อย สายไฟฟ้าและรางเดินสาย ๓.๗.๑๓ วิธกี ารเดนิ สายไฟฟา้ แบบต่างๆ ๓.๗.๑๔ การตดิ ต้ังอปุ กรณ์ไฟฟา้ ที่ใช้ภายในอาคาร ๓.๗.๑๕ การอ่านสัญลักษณ์ทางไฟฟ้าและ แผนภาพ (แบบแปลน) ทางไฟฟา้ ข้นั พฒั นา ๓.๗.๑๖ การจัดทํารายการวัสดุพร้อมราคาตาม แบบ (Bill Of Quantity ; BOQ) ๓.๗.๑๗ การตรวจสอบระบบไฟฟ้า เชน่ (๑) การติดตั้งตามแผนภาพ (แบบ แปลน) (๒) ขนาดของสายไฟฟา้ และตัวนาํ ต่าง (๓) ความถูกต้องตามข้อกําหนดของ อปุ กรณ์ (๔) ความมน่ั คงของอปุ กรณ์ (๕) ความตอ่ เนอื่ งของระบบไฟฟา้ (ก) ความตา้ นทานของระบบฉนวน คูม่ ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๗
(ข) ความต่อเน่ืองและความต้านทาน ของระบบสายดิน (๖) การทาํ งานของอปุ กรณ์ (๗) สรปุ รายงาน ๓.๘ ความสามารถ ประกอบด้วย ขอบเขตความสามารถ ในการปฏบิ ตั งิ านดงั ตอ่ ไปนี้ ๓.๘.๑ การต่อวงจรควบคมุ สาํ หรับอาคาร ๓.๘.๒ การเดินสายไฟฟ้าด้วยท่อร้อยสายไฟฟ้า ช่องเดินสาย รางโลหะ รางอโลหะ และการติดตง้ั ตัวนาํ แทง่ (Bus Bar) ๓.๘.๓ การใช้และการบํารุงรักษาเครื่องมือ เคร่ืองใช้ เครื่องวัด ในการปฏิบตั ิงานทางไฟฟ้า ๓.๘.๔ การติดต้ังอุปกรณ์ควบคุมมอเตอร์ใน ตูค้ วบคุมมอเตอร์ (๑) การจัดวางอุปกรณ์ในตู้ควบคุม มอเตอร์ (๒) การปรบั คา่ รีเลย์ปอ้ งกนั (๓) การเดินสายไฟฟ้าในต้คู วบคุมมอเตอร์ (๔) การตรวจสอบและการแก้ไขปัญหา ขอ้ ขดั ขอ้ งในวงจรควบคมุ มอเตอร์ ๓.๘.๕ วงจรควบคมุ มอเตอร์ (๑) วงจรเริ่มเดินเครื่องโดยตรง (๒) วงจรกลับทศิ ทางหมุน (๓) วงจรสตาร์ – เดลตา (๔) วงจรป้องกันมอเตอร์ ๓.๘.๖ การตรวจสอบระบบไฟฟ้า ๓.๘.๗ การจัดทาํ รายการวัสดุพร้อมราคาตามแบบ คมู่ ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๘
๓.๙ ทัศนคติ ประกอบด้วย แนวความคิดในการ วิเคราะห์ การวางแผน และการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานโดย คํานึงถงึ ประสทิ ธิภาพและประสิทธผิ ลในการปฏิบัติงาน ๑.๒ ประกาศคณะกรรมการส่งเสรมิ การพัฒนาฝมี อื แรงงาน เรอ่ื ง คณุ สมบตั ขิ องผเู้ ขา้ รับการทดสอบ สาขาอาชีพชา่ งไฟฟา้ ภายในอาคาร เลม่ ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๘๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๓ ธนั วาคม ๒๕๕๒ ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพฒั นาฝีมือแรงงาน เร่ือง คณุ สมบตั ขิ องผู้เข้ารับการทดสอบ สาขาอาชพี ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร อ า ศั ย อํ า น า จ ต า ม ค ว า ม ใ น ม า ต ร ๒ ๒ ว ร ร ค ส า ม แ ห่ ง พระราชบญั ญตั สิ ่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะกรรมการ สง่ เสรมิ การพัฒนาฝมี อื แรงงาน จงึ กาํ หนดคณุ สมบัติของผู้เข้ารับการทดสอบ สาขาอาชีพชา่ งไฟฟา้ ภายในอาคาร ไว้ดังตอ่ ไปนี้ ข้อ ๑ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้า ภายในอาคาร ระดบั ๑ ๑.๑ ผู้เข้ารับการทดสอบต้องมีอายุไม่ต่ํากว่า ๑๘ ปี บรบิ รู ณน์ บั ถึงวนั สมคั รเขา้ รับการทดสอบ และ ๑.๒ มีประสบการณ์การทํางานหรือประกอบอาชีพ เก่ียวกับสาขาอาชพี ช่างไฟฟ้าภายในอาคารไม่นอ้ ยกวา่ ๑ ปี หรือ ๑.๓ ผา่ นการฝึกฝีมือแรงงานหรือฝึกอาชีพ ในสาขาอาชีพ ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ไม่น้อยกว่า ๕๔๐ ชั่วโมง และมีประสบการณ์จาก การฝึก หรอื ปฏิบัตงิ านในกิจการในสาขาทีเ่ ก่ยี วขอ้ งไมน่ ้อยกว่า ๒๕๐ ช่ัวโมง หรอื คู่มอื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๙
๑.๔ เป็นผู้ที่จบการศึกษาไม่ตํ่ากว่าระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ ในสาขาที่เกีย่ วข้องกบั อาชีพน้ี ข้อ ๒ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้า ภายในอาคาร ระดับ ๒ ๒.๑ มีประสบการณ์การทํางานหรือประกอบอาชีพ เกี่ยวกับสาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ไม่น้อยกว่า ๑ ปี นับต้ังแต่วันที่ ได้รับหนังสอื รับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติระดบั ๑ หรอื ๒.๒ ได้คะแนนรวมในการทดสอบ ระดับ ๑ ไม่ต่ํากว่าร้อย ละแปดสิบ ข้อ ๓ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้า ภายในอาคาร ระดบั ๓ ๓.๑ มีประสบการณ์การทํางานหรือประกอบอาชีพ เกี่ยวกับสาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ไม่น้อยกว่า ๑ ปี นับตั้งแต่วันท่ี ไดร้ บั หนงั สือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแหง่ ชาติระดบั ๒ หรอื ๓.๒ ไดค้ ะแนนรวมในการทดสอบ ระดับ ๒ ไม่ต่ํากว่าร้อย ละแปดสบิ ๑.๓ ประกาศคณะกรรมการสง่ เสรมิ การพัฒนาฝมี อื แรงงาน เรื่อง วิธีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และการออกหนังสือรับรองว่า เป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้า ภายในอาคาร ระดับ ๑ เลม่ ๑๒๖ ตอนพเิ ศษ ๑๘๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ ประกาศคณะกรรมการสง่ เสริมการพฒั นาฝมี อื แรงงาน เรื่อง วิธีการทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงาน และการออกหนังสือรบั รอง ว่าเป็นผผู้ ่านการทดสอบมาตรฐานฝมี ือแรงงานแรงชาติ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ คู่มือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๑๐
อาศัยอํานาจตามคว ามในมาตรา ๒๒ ว รรคสาม แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานจึงกําหนดวิธีการทดสอบ มาตรฐานฝีมือแรงงาน และการออกหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบ มาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาอาชพี ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ ไว้ดังต่อไปนี้ ขอ้ ๑ วธิ กี ารทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพ ช่างไฟฟ้าภายในอาคารระดับ ๑ ๑.๑ การทดสอบความรู้ ความเข้าใจ เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถ ที่จําเป็น จะต้องนําไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ลักษณะ ข้อสอบเป็นข้อสอบแบบปรนัย ๔ ตัวเลือก จํานวน ๖๐ ข้อ เวลา ๑ ช่ัวโมง คะแนนเตม็ ๖๐ คะแนน คดิ เป็นรอ้ ยละสามสิบของคะแนนท้ังหมด ๑.๒ การทดสอบภาคความสามารถ เป็นการทดสอบความสามารถ ซึ่งเกิดจากการสะสม ประสบการณ์จนเกิดความชํานาญเพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ ตามข้อกําหนด ถกู ขัน้ ตอนและเสร็จตามเวลาที่กําหนด ลักษณะแบบทดสอบ เป็นการทดสอบความสามารถโดยให้ผู้เข้ารับการทดสอบปฏิบัติงานตาม รูปแบบ กฎเกณฑ์ ในวิธีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขา อาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ แบ่งเป็น ๒ แบบทดสอบ คือ แบบทดสอบที่ ๑ เวลา ๔ ช่ัวโมง ๓๐ นาที และแบบทดสอบที่ ๒ เวลา ๓๐ นาที คะแนนเต็ม ๔๐๐ คะแนน คดิ เปน็ รอ้ ยละเจ็ดสบิ ของคะแนนทง้ั หมด ๑.๓ รายละเอียดวิธีการทดสอบให้เป็นไปตามท่ี คณะกรรมการประกาศกาํ หนด ขอ้ ๒ การออกหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐาน ฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ จะออก ให้แก่ผู้ผา่ นการทดสอบ โดยมเี กณฑ์ดงั นี้ คูม่ อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๑๑
ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องสอบท้ังการทดสอบความรู้ และ ความสามารถโดยจะต้องสอบได้คะแนนรวมทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ด สิบของคะแนนทั้งหมด จึงถือว่าสอบผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชพี ชา่ งไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ ประกาศ ณ วนั ท่ี ๒ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชมุ่ รตั น์ ปลดั กระทรวงแรงงาน ประธานกรรมการส่งเสริมการพฒั นาฝมี อื แรงงาน คู่มอื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๑๒
บทท่ี ๒ ความรูท้ วั่ ไปเก่ียวกับชา่ งไฟฟ้าภายในอาคาร ๒.๑ ความรเู้ บอ้ื งต้นเกย่ี วกับอัคคภี ัย ไฟหรือการเผาไหม้หรือการสันดาปเป็นปฏิกิริยาเคมีในการเติม ออกซิเจนของสารใดสารหนึ่งซึ่งทําให้เกิดความร้อน มีแสงสว่างและเกิด สภาพการเปล่ยี นแปลงตา่ งๆทางเคมีดว้ ย การเกิดอัคคีภัยน้ันเป็นเพราะขาดการควบคุมหรือไม่สามารถ ควบคุมความร้อนของไฟได้ ซึ่งเม่ือเกิดอัคคีภัยข้ึนมาคร้ังใดจะก่อให้เกิด ความสูญเสียต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสภาพแวดล้อมอย่างมากมาย ฉะน้ัน เราควรที่จะรู้ถึงธรรมชาติของไฟเพื่อที่จะสามารถควบคุมหรือดับไฟได้ อยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ ๒.๑.๑ องคป์ ระกอบของไฟ ไฟทีจ่ ะเกดิ ข้ึนได้น้ัน จะต้องมอี งคป์ ระกอบสําคัญของไฟ ได้แก่ เชื้อเพลิง (FUEL) ความร้อน (HEAT) และอากาศ (OXIDIZING AGENT : AIR) (๑) เชือ้ เพลงิ ไม่วา่ จะเป็นเชอ้ื เพลิงสถานะของแขง็ ของ เหลวและก๊าซ (ภายใต้ความอัดดัน) จะต้องเปลี่ยนจากสถานะเดิมเป็นไอ (กา๊ ซ)ก่อนเสมอ เมอื่ เช้อื เพลิงได้รบั ความรอ้ นจนเปล่ียนสถานะกลายเป็นไอ หรือก๊าซแล้วเข้าผสมกับอากาศอย่างได้สัดส่วนและพร้อมที่จะเกิดการลุก ไหม้ได้เรยี กวา่ ความร้อนถึงจุดวาบไฟ (FLASH POINT) (๒) ความร้อน จะต้องมีอณุ หภมู ิท่สี ูงพอสําหรับทําให้ เกิดการจุดติดของเช้ือเพลิงเรียกว่า ความร้อนถึงจุดติดไฟ หรือจุดชวาล (FIRE POINT) จุดติดไฟของเชื้อเพลิงต่างๆจะต้องสูงกว่าจุดวาบไฟเสมอ แตจ่ ะสงู มากเท่าไรนนั้ ข้นึ อยู่กบั สารสมบตั ิของเชอ้ื เพลิงนน้ั ๆ คมู่ ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๑๓
(๓) อากาศ ได้แก่บรรยากาศท่ีมีออกซเิ จนอยู่ในอตั ราที่ ประมาณร้อยละ ๒๑ แต่ถ้าออกซิเจนมีปริมาณท่ีต่ํากว่าร้อยละ ๑๖ ไฟก็ จะลกุ ไหม้ช้าลงและมอดดับไปในท่ีสุด ถึงแม้ว่าออกซิเจนจะช่วยในการเผา ไหม้ แต่กต็ ้องมีส่วนผสมกับไอหรอื กา๊ ซของเชือ้ เพลิงแต่ละอย่างในปริมาณ ท่ีจํากัดไม่มากหรือน้อยจนเกินไปเรียกว่า ช่วงการจุดติด (EXPLOSIVE RANGE) ๒.๑.๒ ประเภทของไฟ การจําแนกประเภทของไฟก็เพื่อจะได้ทราบถึงชนิดของวัสดุ เชื้อเพลิงที่ไหม้ไฟช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการดับเพลิง ทําให้การ ดับเพลงิ มีประสิทธิภาพและลดความเสยี หาย แบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ (๑) ประเภท A ไดแ้ ก่ ไฟทีเ่ กดิ จากการเผาไหม้วตั ถุอยู่ ในประเภทของแข็ง เช่น ไม้ เส้ือผ้า หญ้า ฟาง กระดาษ ปอ นุ่น ฯลฯ เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสําหรับใช้ในการดับไฟ คือเคร่ืองดับเพลิงชนิดนํ้า สะสมแรงดัน เคร่ืองดับเพลิงชนิดโฟมสะสมแรงดัน เครื่องดับเพลิงชนิดผง เคมีแหง้ ABC เครอ่ื งดับเพลิงชนิดก๊าซเหลวระเหยท่ไี มท่ ําลายมลภาวะ (๒) ประเภท B ได้แก่ ไฟที่เกิดจากการเผาไหม้วัตถุ เช้ือเพลิงประเภทของเหลวรวมถึงก๊าซต่างๆที่ติดไฟ เช่น นํ้ามันเบนซิน นา้ํ มนั พชื จาระบี แอลกอฮอล์ ก๊าซปโิ ตรเลยี มเหลว กา๊ ซมเี ทน ฯลฯ เครื่อง ดับเพลิงท่ีเหมาะสําหรับใช้ในการดับไฟ คือเครื่องดับเพลิงชนิดโฟมสะสม แรงดัน เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ABC เครื่องดับเพลิงชนิด คารบ์ อนไดออกไซด์ หรอื เครอื่ งดับเพลงิ ชนิดก๊าซเหลวระเหยท่ไี ม่ทําลาย มลภาวะ (๓) ประเภท C ไดแ้ ก่ ไฟทเี่ กิดจากการเผาไหมว้ ัตถุเชื้อ เพลงิ อุปกรณ์ไฟฟา้ ที่ยงั มีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ เคร่ืองดับเพลิงท่ีเหมาะ สําหรับใช้ในการดับไฟ คือเคร่ืองดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ABC เคร่ือง ดบั เพลิงชนดิ คาร์บอนไดออกไซด์ เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซเหลวระระเหยที่ ไม่ทาํ ลายมลภาวะ คมู่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๑๔
(๔) ไฟประเภท D ได้แก่ไฟที่เกิดจากการเผาไหม้วัตถุ เช้ือเพลิงที่เป็นโลหะติดไฟ เช่น ไททาเนียม แมกนีเซียม โซเดียม อะลูมิเนียม ฯลฯ เคร่ืองดับเพลงิ ทีเ่ หมาะสาํ หรับใชใ้ นการดับไฟ คอื เครอื่ ง ดับเพลิงชนิดผงเคมโี ซเดียมครอไรด์ ตารางที่ ๒.๑ สัญลกั ษณ์ประเภทของไฟ ประเภทของไฟ สัญลักษณ์ ไฟประเภท A ไฟประเภท B ไฟประเภท C ไฟประเภท D ๒.๒ ความปลอดภยั ความรู้พ้นื ฐานโดยทางทฤษฎีแล้วความปลอดภัยในการทํางานจะ ถูกจัดให้มีขึ้นโดยอาศัยหลักพื้นฐาน 3 ประการ หรือที่เรียกว่า 3 E คือ Engineering หลักการทางด้านวิศวกรรม Education หลักการศึกษา อบรม และ Enforcement หลักการบังคับให้เป็นตามระเบียบ ข้อบังคับ ขององค์กรและบ้านเมือง “ความปลอดภัย” ซ่ึงมักจะกําหนดว่าเป็นภาวะ คมู่ ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๑๕
ปลอดจากอุบัติเหตุหรือจากการเจ็บป่วย การบาดเจ็บหรือความเสียหาย อย่างไรก็ดีความหมายท่ีเป็นรูปธรรมมากกว่าก็คือ “การควบคุมความ เสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุ” คําจํากัดความเช่นนี้เก่ียวข้องกับการ บาดเจ็บ การเจ็บป่วย ทรัพย์สินเสียหาย และความเสียหายที่มีต่อ กระบวนการ ซึง่ รวมไว้ทั้งการป้องกันอุบัติเหตุและการลดความเสียหายให้ น้อยลงเมอ่ื เกิดอุบัติเหตุนอกจากน้ียังเกี่ยวข้องกับงานการควบคุมในระบบ การจดั การอกี ด้วย ๒.๒.๑ อปุ กรณป์ ้องกันอนั ตรายสว่ นบคุ คล สิง่ แวดลอ้ มในการทํางาน คือทกุ สิ่งทุกอยา่ งท่อี ยรู่ อบตัว คนในขณะทํางาน ที่เป็นคน ได้แก่ พนักงาน เพ่ือนร่วมงาน หัวหน้างาน ผู้จัดการ นายจ้าง เป็นต้น ท่ีเป็นวัตถุส่ิงของ ได้แก่ เครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ เป็นต้น ท่ีเป็นสารเคมี ได้แก่ ฝุ่น เส้นใย ไอระเหย ก๊าซ ละออง ควัน ของเหลว เปน็ ต้น ทเี่ ป็นพลังงาน ได้แก่ ความร้อน แสง เสียง รังสี ความส่ันสะเทือน เป็นต้น ท่ีเป็นสัตว์ ได้แก่ วัว ควาย เชื้อจุลินทรีย์ เป็นต้น ที่เป็นปัจจัยทางจิตวิทยาสังคม ได้แก่ ช่ัวโมงการทํางาน ค่าตอบแทน เปน็ ตน้ อุปกรณส์ ําหรับผูป้ ฏิบัติงานสวมใสใ่ นขณะที่ปฏบิ ัติงาน เพอ่ื ปอ้ งกันอันตรายท่ีอาจเกดิ ขึ้นอนั เนอื่ งมาจากสภาพและส่ิงแวดล้อมการ ทํางาน การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเป็นวิธีการหน่ึงในหลาย วิธีการป้องกันอันตรายจากการทํางาน โดยทั่วไปจะยึดหลักการป้องกัน ควบคุมท่ีสิ่งแวดล้อมการทํางานก่อน เช่น การปฏิบัติงานทางไฟฟ้าใน สถานท่ีตํ่ากว่าระดับผิวดิน หรือห้องใต้ดินก็ควรปรับส่ิงแวดล้อมในการ ทํางานที่เป็นพลังงาน คือใช้แบตเตอร่ีและดวงโคมให้แสงสว่าง เป็นต้น ใน กรณีท่ีไม่สามารถดําเนินการได้ จึงนํากลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย ส่วนบุคคลมาแทน เช่นอุปกรณ์ป้องกันศีรษะ อุปกรณ์ป้องกันหู อุปกรณ์ ป้องกันใบหนา้ และดวงตา อุปกรณป์ อ้ งกนั มือ อุปกรณ์ป้องกันเท้า อุปกรณ์ ปอ้ งกนั การตกจากทสี่ งู เป็นตน้ คมู่ อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๑๖
รปู ท่ี ๒.๑ อุปกรณ์ปอ้ งกนั อันตรายส่วนบคุ คล ๒.๒.๒ การเลือกอุปกรณป์ ้องกันอันตรายสว่ นบคุ คล การเลือกและใช้อปุ กรณ์ป้องกันอันตรายสว่ นบุคคลให้ เกิดประสิทธิภาพน้ัน ผู้รบั ผิดชอบควรยดึ หลกั ดังน้ี การทํางาน (๑) เลือกซอื้ ให้เหมาะสมกับลกั ษณะอันตรายที่พบจาก (๒) อปุ กรณท์ เ่ี ลือกควรได้รับการตรวจสอบและรบั รอง ตามมาตรฐาน (๓) มีประสิทธภิ าพสงู ในการทีจ่ ะป้องกนั อันตรายและมี ความทนทาน (๔) มนี ้ําหนกั เบา สวมใสส่ บาย มีขนาดเหมาะสมกับผใู้ ช้ และง่ายต่อการใช้ (๕) มีให้เลือกหลายแบบ และหลายขนาด (๖) การบํารุงรักษางา่ ย อุปกรณ์สําหรบั ซ่อมหาซือ้ ง่าย และไม่แพงเกนิ ไป คมู่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๑๗
(๗) ใหค้ วามรู้เขา้ ใจ กับผู้ใชใ้ นเร่ืองประโยชนข์ องการใช้ อุปกรณ์ป้องกันอันตราย วิธีการเลือกใช้ การสวมใส่ที่ถูกต้อง และการ บํารงุ รักษา (๘) มแี ผนการชักจูงการใช้ การปรบั ตัวในการใชใ้ นระยะ แรกและส่งเสรมิ การใช้ (๙) ให้รางวัลสาํ หรบั ผู้ใช้ทป่ี ฏิบัติตามกฎระเบียบ การใช้ เครอื่ งป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (๑๐) มปี ริมาณพอเพียงกบั จํานวนผู้ใช้ (๑๑) กรณีทอี่ ุปกรณ์ป้องกันอันตรายสว่ นบุคคลชาํ รดุ นน้ั ต้องเปลี่ยนหรือซ่อมแซมได้ ๒.๒.๓ ชนดิ ของอุปกรณ์ป้องกนั อันตรายสว่ นบคุ คล (๑) อุปกรณ์ปอ้ งกันศรี ษะ (Head Protection devices) (๒) อปุ กรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา (Eye and face Protection devices) (๓) อปุ กรณป์ ้องกันหู (Ear protection devices) (๔) อุปกรณ์ป้องกันการหายใจ (Respiratory protection devices) (๕) อปุ กรณป์ อ้ งกนั ลําตัว (Body protection devices) (๖) อปุ กรณ์ป้องกนั มือ (Hand protection devices) (๗) อุปกรณ์ปอ้ งกันเทา้ (Foot protection devices) (๘) อปุ กรณป์ อ้ งกันการตกจากที่สงู คมู่ อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๑๘
๒.๓ การปฏบิ ัตงิ านทางไฟฟ้าด้วยความปลอดภยั ๒.๓.๑ การเกดิ อันตรายจากไฟฟา้ ไฟฟ้าดูด คือการท่ีบุคคลมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย ไฟฟ้าดูดเกิดได้ท้ังกับบุคคลหรือส่ิงมีชีวิตอ่ืน เมื่อร่างกายมีกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านจะมีอาการต่างๆตามปริมาณกระแสไฟฟ้าท่ีไหลเส้นทางท่ี กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน และระยะเวลาทถ่ี กู ไฟฟ้าดูด รปู ที่ ๒.๒ ตวั อยา่ งผู้ถกู ไฟฟ้าดูด ผลกระทบของกระแสไฟฟา้ ต่อร่างกายของแตล่ ะบุคคลอาจเปลี่ยนแปลงไป ได้ไม่เหมือนกันในแต่ละคน แต่สามารถกําหนดเป็นค่าเฉลี่ยได้ ซึ่งผลของ กระแสไฟฟา้ กระแสสลับกาํ หนดไว้ดังน้ี - ขนาด ๕ mA รับรู้ไดว้ า่ ไฟดูด - ขนาด ๑๐ mA เจ็บปวด กลา้ มเน้ือเกรง็ บุคคลอาจไม่ สามารถหลดุ ออกไปพ้นจากอันตรายเน่อื งจากไฟฟ้าดดู ได้ - ขนาดประมาณ ๓๐ mA ระบบหายใจขดั ข้อง อาจทาํ ใหเ้ สียชวี ิตเนือ่ งจากหวั ใจเต้นผดิ จังหวะ - กระแสไฟฟา้ สูงมากกวา่ นี้ ทําให้เกิดแผลไหมแ้ ละหัวใจ หยดุ เต้น คมู่ ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๑๙
๒.๓.๒ ความปลอดภัยในการปฏิบัตงิ านไฟฟา้ (๑) ก่อนปฏิบัติงานต้องตรวจดูเสียก่อนว่า เคร่ืองมือ และอปุ กรณ์ตา่ งๆที่ใช้ในงานไฟฟา้ ชาํ รดุ แตก หัก หรือไม่ (๒) ก่อนปฏิบัติงาน เช่นการต่อสายไฟ ควรยกสะพาน ไฟ (Cut Out) หรอื ปลดวงจรเซอร์กิตเบรกเกอร์ออกเสียกอ่ น (๓) ขณะทํางานไมค่ วรหยอกลอ้ เล่นกันเป็นอนั ขาด (๔) ไม่ควรเสย่ี งอนั ตรายเมอื่ ไม่มคี วามแนใ่ จ (๕) ขณะทาํ งานมือเท้าต้องแห้ง หรือสวมรองเท้า (๖) ก่อนปฏิบัติงาน ควรจะเขียนวงจรดูเสียก่อนเพื่อ ความไม่ประมาท (๗) เม่ือเสร็จงาน ก่อนจ่ายกระแสไฟฟ้าควรตรวจสอบ วงจรไฟฟ้าใหล้ ะเอยี ดและถกู ต้องเสียกอ่ น (๘) เมื่อจะจ่ายกระแสไฟฟ้า ต้องดูให้แน่ใจว่าไม่มีใคร ปฏิบตั ิงานไฟฟ้าอยู่ (๙) ไมค่ วรนําฟวิ ส์ที่โตกว่าขนาดท่ีใช้ หรือวสั ดอุ น่ื ๆ เชน่ ลวดทองแดงแทนฟิวส์ (๑๐) รอยต่อสายไฟฟ้า ต้องใช้ผ้าเทปพันสายสายไฟฟ้า ให้เรียบร้อยเสียกอ่ น (๑๑) ตอ่ วงจรใหเ้ สร็จเสยี ก่อน จงึ นาํ ปลายสายท้งั ค่เู ข้า แผงสวิทซ์ (๑๒) สายเคร่อื งมือไฟฟ้าต้องใชช้ นิดหุ้มฉนวน ๒ ช้นั ถ้า ขาดตอ้ งเปลีย่ นใหมท่ ั้งเสน้ คู่มอื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๒๐
๒.๓.๓ การปฐมพยาบาลผ้ไู ด้รบั อนั ตรายจากไฟฟ้า การช่วยเหลือให้พ้นจากกระแสไฟฟ้าให้เลือกใช้วิธีใดวิธี หนง่ึ ดงั ตอ่ ไปน้ี (๑) ทําการตดั กระแสไฟฟ้าโดยปลดสวิตช์ คัทเอาท์ หรอื เตา้ เสยี บออก (๒) หากตัดกระแสไฟฟ้าไมไ่ ด้ ใหใ้ ช้ไม้ท่ีแหง้ หรือวัสดทุ ี่ เป็นฉนวนไฟฟา้ เขี่ยสิ่งท่มี ีกระแสไฟฟ้าออกไปให้พน้ (๓) ให้ใช้ผา้ หรือเชือกแห้งคล้องแขน ขา หรือลาํ ตวั ผ้ถู ูก ไฟฟ้าดูดชักลากออกไปให้พ้นส่ิงที่มีกระแสไฟฟ้า หากผู้ถูกไฟดูดสลบหมด สตใิ ห้ทาํ การปฐมพยาบาลใหฟ้ นื้ ต่อไป การชว่ ยเหลือด้วยวธิ ปี ฐมพยาบาล (๓.๑) หากหัวใจหยุดเต้น (ตรวจโดยเอาหฟู ังที่ หน้าอกหรือจับชีพจร) ให้ใชว้ ิธี \"นวดหัวใจภายนอก\" โดยเอามือกดตรงท่ีต้ัง หัวใจให้ยุบลงไป ๓ – ๔ เซนติเมตร เป็นจังหวะๆเท่าจังหวะการเต้นของ หวั ใจ (ผใู้ หญ่วินาทีละ ๑ ครัง้ เด็กเล็กวินาทีละ ๒ คร้ัง) นวด ๑๐ – ๑๕ ครั้ง เอาหูแนบฟงั ครงั้ หนงึ่ (๓.๒) หากไมห่ ายใจ (ตรวจโดยดูการขยายของ ซี่โครงและหน้าอก) ให้ใช้วิธีเป่าลมเข้าทางปากหรือทางจมูกของผู้ป่วย ดังนี้คอื การเปา่ ปาก จับผู้ปว่ ยนอนหงายใช้หัวแม่มือง้างปลายคางผู้ป่วยให้ ปากอ้าออก หากมีเศษอาหารหรือวัสดุใดๆให้ล้วงออกให้หมด แล้วจับ ศรี ษะให้เงยหนา้ มากๆ ผู้ชว่ ยเหลอื อ้าปากแลว้ ประกบกับปากผู้ป่วยให้สนิท และเป่าลมเข้าไปอย่างแรงจนปอดผู้ป่วยขยายออก (ซี่โครงและหน้าอก พองขึ้น) แล้วปลอ่ ยใหล้ มหายใจของผูป้ ว่ ยออกเองแล้วเปา่ อกี ทาํ เช่นนี้เป็น จังหวะๆ เท่ากับจังหวะหายใจปกติ (ผูใ้ หญน่ าทีละ ๑๒ – ๑๕ ครั้ง เด็กเล็ก นาทีละ ๒๐ – ๓๐ ครั้ง) ถ้าเป่าปากไม่ได้ให้ปิดปากผู้ป่วยแล้วเป่าเข้าทาง จมูกแทน ถ้าผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นและไม่หายใจด้วยให้นวดหัวใจสลับกับ การเป่าปาก ถ้ามผี ชู้ ว่ ยเหลือเพยี งคนเดียวกใ็ ห้เปา่ ปาก ๒ ครั้ง สลับกับการ นวดหัวใจ ๑๕ คร้ัง หรือถ้ามีผู้ช่วยเหลือสองคนก็ให้นวดหัวใจสลับกับการ คมู่ อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๒๑
เป่าปากเป็นทํานองเดียวกันโดยเป่าปาก ๑ ครั้ง นวดหัวใจ ๕ ครั้ง การ ปฐมพยาบาลน้ีต้องรีบทําทันทีหากช้าเกินกว่า ๔ – ๖ นาที โอกาสที่จะฟื้น มนี ้อย ขณะพาสง่ แพทย์ก็ควรทําการปฐมพยาบาลไปดว้ ยตลอดเวลา รูปท่ี ๒.๓ การปฐมพยาบาลผ้ปู ่วยหมดสติ ๒.๔ ความรูท้ ั่วไปเก่ียวกับวงจรไฟฟา้ ๒.๔.๑ ศพั ท์เฉพาะด้านไฟฟ้าท่ีควรรู้ (๑) ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) หมายถึง การที่ กระแสไฟฟา้ ทม่ี ีทิศทางไหลไปในทศิ ทางเดียวเสมอ คือไหลจากขั้วบวกไปสู่ ข้วั ลบ (กระแสสมมตุ ิ) (๒) ไฟฟ้ากระแสสลบั (Alternating Current) หมายถงึ กระแสไฟฟ้าท่ีมีการสลับสับเปล่ียนข้ัวอยู่ตลอดเวลาอย่างสม่ําเสมอ ซึ่งมี ทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าจะเปล่ียนสลับไปมาจากบวกไปสู่ลบ และ จากลบไปสู่บวกอยตู่ ลอดเวลา (๓) ระบบไฟฟ้าแรงสงู หมายถงึ ระบบไฟฟา้ ท่ีมีแรงดนั ไฟฟา้ เกนิ ๑,๐๐๐ โวลท์ (๔) ระบบไฟฟ้าแรงตํ่า หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่มี แรงดันไฟฟา้ ไม่เกิน ๑,๐๐๐ โวลท์ ค่มู ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๒๒
(๕) โวลท์ (Volt :V) หมายถงึ หน่วยวัดค่าแรงดนั ไฟฟา้ (๖) แอมแปร์ (Ampere :A) หมายถึง หน่วยวัดค่า กระแสไฟฟา้ (๗) วัตต์ (Watt :W) หมายถึง หน่วยการวัดของค่า กําลงั ไฟฟา้ ที่ใชจ้ รงิ (๘) หน่วย (Unit) หมายถึง หน่วยของกําลังไฟฟ้าที่ใช้ ต่อช่ัวโมง โดย ๑ ยูนิต คือ ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ๑,๐๐๐ วัตต์ ต่อ ๑ ชว่ั โมง (๙) ตวั ต้านทาน (Resistor) หมายถงึ อปุ กรณท์ ที่ ําหน้า ท่ีลดแรงดัน และจํากัดการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร หน่วยวัดเป็น โอห์ม (Ohm ใช้สญั ลักษณ์ Ω) ๒.๔.๒ กฎของโอหม์ ใ น ว ง จ ร ไ ฟ ฟ้ า ใ ด ๆ น้ั น มั ก จ ะ ป ร ะ ก อ บ ไ ป ด้ ว ย ส่ ว น สาํ คญั ๓ สว่ นคือแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และตัวต้านทาน หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าท่ีจะใส่เข้าไปในวงจรไฟฟ้าน้ันๆ เพราะฉะนั้น ความสําคัญของวงจรที่จะต้องคํานึงถึงเมื่อมีการต่อวงจรไฟฟ้าใดๆ เกิดข้ึน คือทําอย่างไรจึงจะไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปในวงจรมากเกินไปซ่ึง จะทําให้อุปกรณ์ไฟฟ้าชํารุดเสียหายหรือวงจรไหม้เสียหายได้ George Simon Ohm นักฟสิ กิ ส์ชาวเยอรมันได้สรุปเปน็ กฎออกมาดังนี้ คือ V = I×R จากสมการข้างต้นสามารถใช้กฎของโอห์มวิเคราะห์ในวงจรไฟฟ้า กระแสตรงหรอื วงจรไฟฟ้ากระแสสลับกรณีโหลดตวั ต้านทานได้ คู่มือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๒๓
กฎของโอหม์ สามารถเปล่ยี นรปู แบบสมการไดอ้ ีก ๒ รปู แบบคือ V I = R R = V I สามารถทาํ เป็นรูปแบบเพ่ือให้งา่ ยแก่การจดจาํ ดังรูปท่ี ๒.๔ รูปที่ ๒.๔ สามเหลี่ยมกฎของโอหม์ ๒.๔.๓ กําลังไฟฟา้ (Electric Power) กําลังไฟฟ้า คือ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปในเวลา 1 วินาที มี หนว่ ยเปน็ วัตต์ (W) หรือจูลตอ่ วนิ าที เขยี นเปน็ ความสมั พันธ์ได้ว่า กําลงั ไฟฟ้า (วตั ต์) = พลังงานไฟฟา้ (จูล)/เวลา (วนิ าที) เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะใช้พลังงานไฟฟ้าต่างกัน ท้ังน้ีขึ้นอยู่กับชนิด และขนาดของเคร่ืองใช้ไฟฟ้า ซึ่งทราบได้จากตัวเลขที่กํากับไว้บน เคร่ืองใช้ไฟฟ้าท่ีระบุท้ังค่าแรงดันไฟฟ้า (V) และค่ากําลังไฟฟ้า (W) เช่น หลอดไฟฟา้ มีตวั เลขกํากับว่า 220V 60W - 220V หมายถึงหลอดไฟฟา้ นี้ใช้กับแรงดนั ไฟฟ้า 220 โวลต์ ซง่ึ ตอ้ งใชใ้ หต้ รงกับคา่ แรงดนั ไฟฟา้ ท่กี าํ หนดมา คู่มือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๒๔
- 60W หมายถึงค่าของพลังงานไฟฟ้าท่ีหลอดไฟฟ้าใช้ไปใน เวลา 1 วินาที ซึ่งเรียกว่า กําลังไฟฟ้า การวัดพลังงานไฟฟ้าใช้หน่วยเป็น จูล ตัวเลข 60W จึงหมายถึง ขณะเปิดไฟหลอดไฟฟ้าน้ีจะใช้พลังงาน ไฟฟา้ 60 จูล ในเวลา 1 วนิ าที กําลังไฟฟ้ามีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน เคร่อื งใชไ้ ฟฟ้าและแรงดนั ไฟฟ้าท่ีเครื่องใชไ้ ฟฟ้านั้นต่ออยู่ โดยกําลังไฟฟ้ามี ค่าเท่ากับผลคูณระหว่างแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้าสามารถสรุปเป็นกฎ ออกมาดงั น้ี คือ P = V×I จากสมการขา้ งต้นสามารถเปลีย่ นรูปแบบสมการได้อกี ๒ รปู แบบคือ I = P V V = P I สามารถทําเป็นรูปแบบเพื่อใหง้ า่ ยแก่การจดจาํ ดังรูปที่ ๒.๕ รูปที่ ๒.๕ สามเหลย่ี มกําลังไฟฟ้า คู่มือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๒๕
ตัวอย่างที่ ๒.๑ จงคํานวณหาค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าระบบ 1 เฟส 220V ซ่ึงมีดวงโคมไฟฟา้ ขนาด 60W ตอ่ อยู่ วิธที าํ P 60W V 220V I = = = 0.27A ๒.๔.๔ ระบบจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับแรงตํ่า ก า ร จ่ า ย ไ ฟ ฟ้ า ใ น ร ะ บ บ ไ ฟ ฟ้ า ก ร ะ แ ส ส ลั บ แ บ บ แรงดันไฟฟ้าตาํ่ (น้อยกว่า ๑,๐๐๐ โวลท์) นนั้ โดยทัว่ ไปจะมอี ยู่ ๒ รูปแบบ ข้ึนอยู่กับลกั ษณะการใช้งานของผใู้ ช้ไฟฟ้าดงั น้ี (๑) ระบบ ๑ เฟส ๒ สาย (ไม่รวมสายดิน) รูปที่ ๒.๖ ระบบไฟฟ้า ๑ เฟส ๒ สาย ระบบไฟฟ้า ๑ เฟส คือระบบไฟฟ้าที่มีสายไฟฟ้าจํานวน ๒ เส้น เส้นที่มีไฟ เรียกว่าสายไฟหรือสายเฟสหรือสายไลน์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร L (Line) เส้นท่ีไม่มีไฟเรียกว่าสายนิวทรอลหรือสายศูนย์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร N (Neutral) ทดสอบได้โดยใช้ไขควงวัดไฟ เมื่อใช้ไขควงวัดไฟแตะสายเฟส หรือสายไฟหรือสายไลน์หลอดไฟเรืองแสงท่ีอยู่ภายไขควงจะติด สําหรับ ค่มู อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๒๖
สายนิวทรอลหรือสายศูนย์จะไม่ติด แรงดันไฟฟ้าที่ใช้มีขนาด ๒๒๐ โวลท์ (Volt :V) ความถี่ไฟฟ้า ๕๐ เฮิรตซ์ (Hertz :Hz) ใช้สําหรับบ้านพักอาศัย ท่วั ไปทมี่ ีการใช้ไฟฟ้าไมม่ ากนกั (๒) ระบบ ๓ เฟส ๔ สาย (ไมร่ วมสายดิน) รปู ท่ี ๒.๗ ระบบไฟฟา้ ๓ เฟส ๔ สาย ระบบไฟฟ้า ๓ เฟส คือระบบไฟฟ้าที่มีสายเส้นไฟจํานวน ๓ เส้น และสาย นิวทรอล ๑ เส้น จึงมีสายรวม ๔ เส้น ระบบไฟฟ้า ๓ เฟสสามารถต่อใช้ งานเป็นระบบไฟฟ้า ๑ เฟส ได้ โดยการต่อจากเฟสใดเฟสหนึ่งและสาย นิวทรอลอีกเส้นหน่ึง แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเฟสเส้นใดเส้นหนึ่งกับสาย นิวทรอลมีค่า ๒๒๐ โวลท์ และแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเฟสด้วยกันมีค่า ๓๘๐ โวลท์ ระบบน้ีจึงเรียกว่าระบบไฟฟ้า ๓ เฟส ๔ สาย ๒๒๐/๓๘๐ โวลท์ ระบบน้ีมีข้อดีคือสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าระบบ ๑ เฟส ถึง ๓ เท่า จึงเหมาะสมกับสถานที่ท่ีต้องการใช้ไฟฟ้ามากๆ เช่น อาคาร พาณิชย์ โรงงานอตุ สาหกรรม เป็นต้น ๒.๔.๕ คาํ อปุ สรรค (Prefixes) เมื่อคา่ ในหนว่ ยพน้ื ฐานมีจาํ นวนท่สี ูงมากหรือจาํ นวนท่ี น้อยมาก เราสามารถใช้ตัวคูณ(สิบยกกําลังบวกหรือลบ) เขียนแทนค่านั้น หรือใช้สญั ลกั ษณ์ของคาํ อุปสรรคนาํ หนา้ หนว่ ยแทนตัวคูณได้ คูม่ อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๒๗
ตารางที่ ๒.๒ คาํ อุปสรรคและสัญลกั ษณ์ ตัวคูณ ชอ่ื สัญลกั ษณ์ 10-1 เดชิ (deci) d 10-2 เซนติ (centi) c 10-3 มิลลิ (milli) m 10-6 ไมโคร (micro) µ (มิว) 10-9 นาโน (nano) n 10-12 พโิ ค (pico) p 101 เดคะ (deca) da 102 เฮกโต (hector) h 103 กโิ ล (Kilo) k 106 เมกะ (mega) M 109 กกิ ะ (giga) G 1012 เทอรา (tera) T ตวั อยา่ งที่ ๒.๒ การแปลงหน่วย 0.000 005 A = 5 × 10-6 A = 5 ไมโครแอมแปร์ (μA) 6,000 W = 6 × 103 W = 6 กโิ ลวัตต์ (kW) คมู่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๒๘
๒.๔.๖ วงจรไฟฟ้าเบ้อื งตน้ (๑) วงจรอนุกรม คือ วงจรท่ีมีอุปกรณ์ต่างๆ ต่อเรียงกัน และถัดกันไปเรื่อยๆ โดยการนําเอาปลายด้านหนึ่งอุปกรณ์ตัวแรกต่อกับ ปลายด้านหน่ึงของอุปกรณ์ตัวท่ีสองและปลายด้านหนึ่งของอุปกรณ์ตัวท่ี สองต่อกับปลายด้านหน่ึงของอุปกรณ์ตัวท่ีสามและต่อกันไปเรื่อยๆ จนมี ลักษณะเป็นลูกโซ่ เช่นตัวต้านทานต่ออนุกรมกัน จํานวน ๓ ตัว ดังรูปที่ ๒.๘ รูปท่ี ๒.๘ วงจรไฟฟา้ แบบอนุกรม คุณสมบัติของวงจรไฟฟา้ แบบอนุกรม - ค่าความตา้ นทานรวมทงั้ หมด( RT) ของ วงจรไฟฟา้ แบบอนุกรม มคี ่าเทา่ กับผลรวมของความต้านทานทกุ ตวั รวมกนั RT = R1 + R2 + R3 +………. Rn - กระแสไฟฟา้ ท่ีไหลผา่ นตัวตา้ นทานทุกตัวมีค่า เท่ากัน IT = I1 = I2 = I3 = ………. In คู่มือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๒๙
- แรงดนั ไฟฟา้ ที่ตกครอ่ มตวั ตา้ นทานแต่ละตวั ในวงจรจะแตกต่างกันไป ความต้านทานตัวใดมีค่ามากจะมีแรงดันตก คร่อมมาก - ผลรวมของแรงดันตกคร่อมความตา้ นทาน แต่ละตัวจะเทา่ กบั แรงดนั ที่จา่ ยใหก้ ับวงจร E = V1 + V2 + V3 +………. Vn ตัวอย่างท่ี ๒.๓ จากวงจรประกอบด้วยตัวต้านทาน R1 = 2.2 kΩ ตัว ต้านทาน R2 = 3 kΩ และตัวต้านทาน R3 =4.7 kΩ แหล่งจ่ายไฟตรง E = 20 V จงหาคา่ แรงดนั ไฟฟา้ ทีต่ กคร่อมตวั ต้านทานแต่ละตัว กระแสไฟฟ้า ไหลในวงจรรวม และความตา้ นทานรวมในวงจร วิธีทํา จากคณุ สมบัติของวงจรอนุกรม คํานวณหาค่าความต้านทานรวมทั้งหมด RT ได้ดังนี้ RT = R1 + R2 + R3 RT = 2.2 kΩ + 3 kΩ + 4.7 kΩ RT = 9.9 kΩ ความตา้ นทานรวมในวงจรเท่ากบั 9.9 kΩ คู่มือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๓๐
คํานวณหาค่ากระแสไฟฟา้ ทงั้ หมด IT จะได้ IT = E = 20V = 2.02mA RT 9.9kΩ กระแสไฟฟ้าท้ังหมด IT = I1 = I2 = I3 เท่ากับ 2.02 mA คาํ นวณหาค่าแรงดนั V1 ,V2 และ V3 จะได้ V1 = I1×R1 = 2.02 mA × 2.2 kΩ = 4.444 V V2 = I2×R2 = 2.02 mA × 3 kΩ = 6.06 V V3 = I3×R3 = 2.02 mA × 4.7kΩ = 9.494 V E = V1 + V2 + V3 E = 4.444 V + 6 .06 V + 9. 494 V E = 19.998 V ≈ 20 V (๒) วงจรขนาน คอื การตอ่ สายไฟฟา้ เมนจากทัง้ ขั้วบวก และลบของแหลง่ จ่าย (จํานวน ๒ สาย) แล้วจึงต่อจากสายย่อยออกมาเป็น คู่ๆ เพื่อต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้า ถ้าสังเกตจะพบว่าอุปกรณ์ทุกตัวจะต่อ ร่วมกันระหว่างจุด ๒ จุดคือสายเมนนั่นเอง นิยมนํามาใช้ต่อไฟฟ้าตาม บ้านเรือนท่ัวไป เช่น วงจรเต้ารับ วงจรแสงสว่าง เป็นต้น วงจรขนาน ตัวอย่างเช่นตวั ต้านทานต่อขนานกัน จํานวน ๓ ตวั ดงั รปู ที่ ๒.๙ คุณสมบัติของวงจรไฟฟ้าแบบขนาน - คา่ ความตา้ นทานรวมทั้งหมด ( RT) ของ วงจรไฟฟา้ แบบขนาน เป็นไปตามสมการ 1 1 1 1 1 RT = R1 + R2 + R3 + ..... + Rn คู่มอื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๓๑
หรือ R1.R2 R1 + R2 RT = - แรงดันไฟฟา้ ท่ีตกคร่อมตัวต้านทานทกุ ตัวมคี า่ เท่ากนั E = V1 = V2 = V3 = ………. Vn - กระแสไฟฟ้าที่ไหลผา่ นตวั ต้านทานแต่ละตัวใน วงจรจะแตกต่างกันไป ความต้านทานตัวใดมีค่ามากจะมีกระแสไหลผ่าน น้อย - ผลรวมของกระแสไฟฟา้ ท่ไี หลความต้านทาน แตล่ ะตัวจะเท่ากับกระแสไฟฟา้ ท่ีจ่ายใหก้ ับวงจร IT = I1 + I2 + I3 +………. In รปู ที่ ๒.๙ วงจรไฟฟ้าแบบขนาน คู่มือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๓๒
ตัวอย่างท่ี ๒.๔ จากวงจรประกอบด้วยตัวต้านทาน R1 = 3Ω ตัว ต้านทาน R2 = 6Ω ตัวต้านทาน R3 = 4Ω และตัวต้านทาน R4 = 4Ω แหล่งจ่ายไฟตรง E = 12 V จงหาค่าแรงดันไฟฟ้าท่ีตกคร่อมตัวต้านทาน แต่ละตัว กระแสไฟฟ้าไหลในวงจรรวม และความตา้ นทานรวมในวงจร วิธีทํา จากคณุ สมบัตขิ องวงจรขนาน คํานวณหาค่าความต้านทานรวมทั้งหมด RT ไดด้ ังน้ี R1.R2 RT1 = R1 +R2 = (3).(6) = 18 = 2Ω 3+6 9 RT2 = R3.R4 = (4).(4) = 16 = 2Ω R3 +R4 4+4 8 RT = RT1.RT2 = (2).(2) = 4 = 1Ω RT1 + RT2 2+2 4 คํานวณหาค่าแรงดนั V1 ,V2 และ V3 จะได้ V1 = V2 = V3 = V4 = E = 12V คาํ นวณหาคา่ กระแสไฟฟ้าทัง้ หมด IT จะได้ V1 I1 = R1 = 12V = 4A 3Ω คู่มือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๓๓
I 2 = V2 = 12V = 2A R2 6Ω I 3 = V3 = 12V = 3A R3 4Ω I4 = V4 = 12V = 3A R4 4Ω กระแสไฟฟา้ ทัง้ หมด IT = I1 + I2 + I3 + I4 = 4 + 2 + 3 + 3 = 12A ตัวอย่างที่ ๒.๕ จากวงจรแบบผสมประกอบด้วยตัวต้านทาน R1 ซ่ึงมี แรงดันตกคร่อม V1 = 6V ต่ออนุกรมกับตัวต้านทาน R2 ซ่ึงมีแรงดันตก ครอ่ ม V2 = 10V และตวั ตา้ นทาน R3 = 20Ω ตอ่ ขนานกับตัวต้านทาน R4 = 20Ω จงหาค่าแรงดันไฟฟ้าท่ีแหล่งจ่ายไฟตรง E เมื่อกําหนดให้ กระแสไฟฟ้าไหลในวงจรรวม IT = 1A คมู่ ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๓๔
วิธที าํ หาความตา้ นทานรวมของ R3 ขนานกับ R4 R3.R4 RT1 = R3 +R4 = (20).(20) = 400 = 10Ω 20 + 20 40 หาแรงดันไฟฟ้า V3 และ V4 V3 = V4 = IT×RT1 = 1A × 10Ω = 10 V ดังนั้น E = V1 + V2 + V3 = 6 + 10 + 10 = 26V ๒.๕ ความรทู้ ั่วไปเก่ยี วกบั เครอ่ื งวดั ไฟฟ้า ๒.๕.๑ แอมมเิ ตอร์ แอมมิเตอร์นัน้ เป็นอปุ กรณท์ ี่ใชว้ ัดคา่ กระแสไฟฟ้า ซ่งึ เป็น การดัดแปลงจากการนําความต้านทานชันต์ท่ีมีค่าน้อยๆ (RS) มาต่อขนาน กับแกลวานอมิเตอร์ (Galvanometer) ชนิดขดลวดเคล่ือนท่ี เพ่ือแบ่ง กระแส (IS) ไม่ให้ไหลผ่านแกลวานอมิเตอร์มากเกินไปเมื่อเราต้องการวัด กระแสที่มีค่ามาก (I) จนทําให้แกลวานอมิเตอร์เสียหายได้ หลักการทํางาน ของแกลวานอมเิ ตอร์คอื เมื่อมีกระแสไฟฟ้า (Ig) ผ่านเข้าไปในขดลวดจะทํา ให้ขดลวดหมุนได้เนื่องจากแรงกระทําระหว่างสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารอบๆ ขดลวดกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากขั้วแม่เหล็ก เข็มท่ีติดอยู่ขดลวดจึงหมุน ไปกับขดลวดด้วย ค่มู ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๓๕
ก. โครงสร้างแกลวานอมิเตอร์ ข. วงจรของแอมมเิ ตอร์ รปู ท่ี ๒.๑๐ แกลวานอมเิ ตอร์และแอมมเิ ตอร์ คุณสมบัติของแอมมเิ ตอร์ท่ีดี (๑) มคี วามแมน่ ยําสงู ซึ่งเกิดจากการนําชันตท์ ีม่ ีความ ต้านทานน้อยๆมาต่อ ซ่ึงแอมมิเตอร์ท่ีดีต้องมีค่าความต้านทานภายในต่ํา มากๆ เพ่ือว่าเมื่อนําแอมมิเตอร์ไปต่ออนุกรมในวงจรแล้วจะไม่ทําให้ความ ต้านทานรวมของวงจรเปลี่ยนแปลงทําให้กระแสท่ีวัดได้มีความแม่นยํา สูง หรือมีความผิดพลาดจากการวัดน้อยนั่นเอง (๒) มคี วามไวสูง เม่อื ชนั ต์มคี ่าน้อยๆ กระแสท่ีไหลผา่ น ชันต์จะมีค่ามากทําให้กระแสที่ไหลผ่านแกลวานอมิเตอร์มีค่าน้อย น่ันคือ แอมมเิ ตอร์ท่ีดีจะสามารถตรวจวัดค่ากระแสน้อยๆได้ กล่าวคือแม้วงจรจะ มกี ระแสไหลเพียงเล็กน้อยแอมมเิ ตอร์ก็สามารถวดั ค่าได้ การตอ่ แอมมเิ ตอร์ การตอ่ แอมมิเตอร์ที่ถกู ตอ้ ง นอกจากจะต้องต่ออนุกรม เข้ากับวงจรแล้ว เราจะต้องต่อด้านบวก(สายสีแดง)ของแอมมิเตอร์เข้ากับ ข้ัวบวกของเซลล์ไฟฟ้า และด้านลบ(สายสีดํา)ของแอมมิเตอร์เข้ากับข้ัวลบ ของเซลล์ไฟฟ้าจึงจะทําให้ผลการวัดเป็นไปอย่างถูกต้องและถ้าเราต่อกลับ ด้านแล้วเข็มของแอมมิเตอร์จะเบนไปทางด้านท่ีตํ่ากว่าศูนย์ ซ่ึงไม่สามารถ อา่ นค่าได้ ค่มู อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๓๖
ก. สัญลักษณ์การตอ่ แอมมิเตอร์อนกุ รมเขา้ กับวงจร ข. แอมมเิ ตอร์ ค. ภาพจาํ ลองการตอ่ แอมมิเตอร์อนกุ รมเขา้ กับวงจร รูปที่ ๒.๑๑ การต่อแอมมเิ ตอรอ์ นุกรมเขา้ กับวงจร ๒.๕.๒ โวลทม์ ิเตอร์ โวลท์มเิ ตอรท์ ี่สรา้ งข้นึ มาเพ่อื ใช้วดั คา่ ความตา่ งศักย์ไฟฟ้า (แรงดันไฟฟ้าหรือแรงดันตกคร่อม) ระหว่างจุดสองจุดในวงจร การท่ีจะ สามารถวัดแรงดันไฟฟ้าได้ก็อาศัยปริมาณของกระแสไฟฟ้าท่ีไหลผ่าน มิเตอร์ ซ่ึงกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านมิเตอร์ก็ข้ึนอยู่กับปริมาณของแรงดันท่ี คู่มอื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๓๗
จ่ายเข้ามา ดังนั้นการวัดปริมาณของแรงดันไฟฟ้าก็คือการวัดปริมาณของ กระแสไฟฟ้าน้ันเอง เพียงแต่เปล่ียนสเกลหน้าปัดของมิเตอร์ให้แสดงค่า ออกมาเป็นค่าปริมาณของแรงดันไฟฟ้าเท่านั้นและปรับค่าให้ถูกต้อง แต่ กระแสไฟฟ้าท่ีไหลผ่านเข้าโวลต์มิเตอร์จะมีขีดจํากัดขึ้นอยู่กับค่าการทน กระแสได้ของโวลท์มิเตอร์ตัวนั้น ดังนั้นเมื่อนําโวลต์มิเตอร์ไปวัด แรงดันไฟฟ้าค่ามากๆ ตัวต้านทานที่นํามาต่ออันดับกับดาร์สันวาล์มิเตอร์ แอมมิเตอร์หรือโวลท์มิเตอร์เดิมเพื่อให้โวลต์มิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าได้มาก ขนึ้ เรียกว่าตัวต้านทานทวีคูณ (Multiplies Resistor :RX) การใช้งานโวลท์ มิเตอร์วัดคา่ แรงดันไฟฟ้าให้นาํ โวลทม์ เิ ตอรต์ ่อขนานกับจุดทีต่ อ้ งการจะวัด ก. วงจรของโวลท์มิเตอร์ ข. การต่อโวลท์มเิ ตอรข์ นาน เขา้ กบั วงจร ค. โวลท์มเิ ตอร์ รูปที่ ๒.๑๒ โครงสร้างของโวลทม์ ิเตอรแ์ ละการตรวจวัด คมู่ อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๓๘
๒.๕.๓ โอหม์ มเิ ตอร์ โอหม์ มิเตอร์ (Ohmmeter) คือ มเิ ตอร์ท่ีสามารถวดั ค่า ความต้านทานออกมาได้โดยตรง โดยการดัดแปลงจากแอมมิเตอร์ให้ สามารถวัดค่าและแสดงค่าออกมาเป็นค่าความต้านทานได้โดยตรง เพราะ คุณสมบัติของค่าความต้านทานจะต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร เม่ือความต้านทานในวงจรแตกต่างกันย่อมทําให้กระแสไหลผ่านวงจร แตกต่างกัน ความต้านทานในวงจรน้อยกระแสไหลผ่านวงจรมาก และ ความต้านทานในวงจรมากกระแสไหลผ่านวงจรน้อย สภาวะกระแสที่ไหล ผ่านแอมมิเตอร์แตกต่างกันทําให้เข็มช้ีของแอมมิเตอร์บ่ายเบนไปแตกต่าง กัน เม่ือปรับแต่งสเกลหน้าปัดจากสเกลกระแสมาเป็นสเกลความต้านทาน ก็สามารถนําแอมมเิ ตอร์น้นั มาวดั ความต้านทาน โดยทาํ เปน็ โอห์มมิเตอรไ์ ด้ XY รปู ที่ ๒.๑๓ วงจรของโอหม์ มิเตอร์และโอห์มมเิ ตอร์ คูม่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๓๙
จากรูปที่ ๒.๑๔ เป็นวงจรเบ้ืองต้นของโอห์มมิเตอร์ ประกอบด้วย แหล่งจ่ายแรงดันไฟตรง (แบตเตอรี่ 3V) ต่ออันดับกับมิลลิแอมมิเตอร์วัด กระแสไฟตรงและต่ออนุกรมกับตัวต้านทาน ทําหน้าที่จํากัดกระแสไม่ให้ ไหลผ่านมิลลิแอมมิเตอร์มากเกินกว่าค่าสูงสุดที่มิลลิแอมมิเตอร์ทนได้ ข้ัวต่อ x–y เป็นขั้วต่อสําหรับต่อวัดตัวต้านทานที่ต้องการวัดค่าและ ปรบั แต่งสเกลเป็นศูนย์โอห์มขณะช็อตจุด x–y เข้าด้วยกัน (Adjust Zero) ทุกคร้ังก่อนการวัดค่าความต้านทาน การเปลี่ยนย่านวัดของโอห์มมิเตอร์ ทุกย่านจะต้องทําการปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ใหม่ทุกคร้ัง เม่ือปรับแต่งโอห์ม มิเตอร์ให้พร้อมใช้งานเรียบร้อยแล้วก็สามารถนําโอห์มมิเตอร์ไปวัดความ ต้านทานได้ตามตอ้ งการ ก. การปรบั แตง่ โอห์มมเิ ตอร์ก่อนใช้งาน ข. การวัดตัวต้านทาน รปู ที่ ๒.๑๔ การใชง้ านโอห์มมเิ ตอร์ กรณีการวัดค่าความต้านทานสูงๆ (High resistance) ท่ีมีค่าเป็น เมกกะโอห์มข้ึนไป เช่น ใช้วัดค่าความต้านทานของฉนวนสายไฟฟ้า (Insulation) หรือค่าความต้านทานของดิน เรียกว่า เมกกะโอห์มมิเตอร์ (Megaohmmeter) หรอื เมกเกอร์ ( Megger) คูม่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๔๐
ขอ้ ควรระวงั ในการใชโ้ อห์มมเิ ตอร์ (๑) การใช้โอห์มมเิ ตอรว์ ัดตวั ต้านทาน หา้ มทําการวดั ขณะที่ตัวต้านทานยังมีแรงดันตกคร่อมอยู่ เพราะจะทําให้โอห์มมิเตอร์เสีย ได้ และการวัดตัวต้านทานในวงจรถึงแม้ว่าสามารถอ่านค่าได้แต่ค่าที่อ่าน ได้อาจไม่ถูกต้อง เพราะตัวต้านทานอาจจะต่อร่วมกับอุปกรณ์ตัวอื่นๆ อีก ดังนัน้ ถา้ จะวัดตัวต้านทานในวงจรจําเป็นต้องปลดตัวต้านทานน้ันออกจาก วงจรขาหนง่ึ ก่อนทาํ การวดั ดว้ ยโอหม์ มเิ ตอร์ (๒) การใชโ้ อห์มมเิ ตอรต์ ้งั แตย่ า่ น Rx1k ขึ้นไป ตรวจวดั ตัวต้านทานหรืออุปกรณ์อ่ืนๆ ห้ามใช้มือของผู้วัดจับปลายเข็มวัดทั้งสอง สายของโอห์มมิเตอร์ด้วยมือท้ังสองข้าง เพราะเข็มมิเตอร์จะกระดิกข้ึน เนอื่ งจากมีกระแสจากโอห์มมิเตอร์ไหลผ่านตวั ผู้วดั ทําให้การวัดค่าผิดพลาด แตถ่ า้ จบั ปลายเข็มวดั สายเดยี วด้วยมือขา้ งเดยี วไม่เปน็ ไร (๓) ทําการหมนุ สวติ ช์ เลอื กย่านการวัดความตา้ นทาน ที่เหมาะสมกบั ค่าความตา้ นทาน เช่น Rx1 ,Rx10 ,Rx1k Rx10k เปน็ ตน้ (๔) ค่าความตา้ นทานของตัวต้านทานที่ได้จากการวดั จะ ต้องนาํ มาคูณกับพิสัยการวดั ตามย่านวดั ที่ใช้งาน รูปที่ ๒.๑๕ เมกกะโอหม์ มเิ ตอร์ คู่มือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๔๑
๒.๕.๔ มลั ตมิ เิ ตอร์ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (analog multimeter) เป็น เครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้าหลายประเภทรวมอยู่ในเคร่ืองเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วมัลติมิเตอร์จะสามารถใช้วัดปริมาณต่อไปน้ี แรงดันไฟฟ้า กระแสตรง (DC voltage) แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC voltage) ปริมาณกระแสไฟตรง (DC current) ความต้านทานไฟฟ้า (electrical resistance) อย่างไรก็ตามมัลติมิเตอร์บางแบบสามารถใช้วัดปริมาณอื่นๆ ได้อีก เช่น กําลังออกของสัญญาณความถ่ีเสียง (AF output) การขยาย กระแสตรงของทรานซิสเตอร์ (DC current amplification, hFE) กระแส รั่วของทรานซิสเตอร์ (leakage current, lCEO) ความจุทางไฟฟ้า (capacitance) ฯลฯ การใช้งานมัลติมิเตอร์เพ่ือไม่ให้เกิดความเสียหายต่อ การวัดผิดพลาด เมื่อเลิกใช้งานแล้วควรปรับสวิตซ์เลือกย่านวัดไปท่ี ตําแหน่ง OFF หรอื ย่านวัดแรงดันไฟฟา้ กระแสสลบั (ACV) สูงสุด รปู ที่ ๒.๑๖ มลั ติมเิ ตอรแ์ บบเขม็ คูม่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๔๒
๒.๕.๕ แคล้มปอ์ อนมเิ ตอร์ แคล้มปอ์ อนมเิ ตอร์ (Clamp-on Meter) คืออุปกรณ์ท่ีใช้ ในการวัดค่ากระแสไฟฟ้า โดยท่ีไม่ต้องตัดต่อสายไฟฟ้าแล้วทําการต่อ แอมมเิ ตอร์อนกุ รมกบั โหลดเพื่อวัดค่ากระแสไฟฟ้า โดยแคล้มป์ออนมิเตอร์ จะมีส่วนที่คล้ายขากรรไกรเพื่อใช้สําหรับคล้องสายไฟฟ้าและสามารถอ่าน ค่ากระแสไฟฟ้าได้เลยทําให้เกิดความสะดวกและรวดเร็ว กระแสไฟฟ้าท่ี ไหลผ่านเส้นลวดจะทําให้เกิดสนามแม่เหล็กรอบๆเส้นลวด ลักษณะของ สนามแม่เหล็กข้ึนอยู่กับรูปร่างของเส้นลวดและกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน สนามแม่เหลก็ ท่ีเกิดขึ้นนี้เรยี กว่า แม่เหลก็ ไฟฟ้า รปู ที่ ๒.๑๗ เสน้ แรงแม่เหลก็ รอบตัวนาํ ท่ีมกี ระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เม่ือนําเอาแคลม้ ป์ออนมิเตอร์คล้องเข้ากับสายไฟในขณะท่ีมีกระแสไหลอยู่ ภายในสายเส้นนั้น สนามแม่เหล็กที่เกิดข้ึนรอบๆ สายไฟจะเกิดการ เหนีย่ วนําไปตดั กับขดลวดทองแดงที่พันอยู่รอบแกนเหล็กของก้ามปู ทําให้ เกิดแรงดันไฟฟ้าเหน่ียวนําและกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนําขึ้นท่ีขดลวดบนแกน เหลก็ คู่มอื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๔๓
รปู ท่ี ๒.๑๘ หลักการทาํ งานของแคลม้ ป์ออนมิเตอร์ รปู ท่ี ๒.๑๙ การใชง้ านแคลม้ ปอ์ อนมเิ ตอร์ ซ่ึงหลักการดังกล่าวน้ีจะคล้ายกับหลักการของการเหนี่ยวนําภายในหม้อ แปลงไฟฟ้า (Transformer) โดยกระแสไฟฟ้าที่ได้จากกการเหนี่ยวนําของ ขดลวดนี้จะถูกสง่ ผ่านไปยงั วงจรเปลี่ยนกระแสให้เป็นแรงดัน และผ่านการ ลดทอนสัญญาณเพื่อให้ได้สัญญาณขนาดที่พอเหมาะ ในขณะน้ีสัญญาณท่ี ได้รับจะเป็นสัญญาณ AC ดังน้ันเพ่ือให้ง่ายต่อการนําไปแสดงผล เราจึง คูม่ ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายในอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความรู้) ๔๔
ต้องทําการเปล่ียนให้เป็นสัญญาณ DC ด้วยวงจร Rectifier แล้วส่ง สัญญาณให้ภาค A/D converter เพ่ือเปล่ียนสัญญาณ Analog แรงดันที่ ได้จากวงจร Rectifier เป็นสัญญาณดิจิตอล ซ่ึงจะถูกส่งต่อไปยัง ภาคแสดงผลแบบดจิ ติ อลต่อไป ๒.๕.๖ วัตตม์ ิเตอร์ วตั ต์มเิ ตอร์ (Wattmeter) คอื มิเตอร์ท่ีจะสามารถวัดค่า กําลังไฟฟ้าออกมาได้โดยตรง โดยการสร้างรวมเอาโวลต์มิเตอร์และ แอมมิเตอร์ไว้ในตัวเดียวกัน โครงสร้างของวัตต์มิเตอร์แบบอิเล็กโทร ไดนาโมมเิ ตอร์ ประกอบด้วยโครงสร้างขดลวด ๓ ขด ขดลวด ๒ ขดใหญ่ท่ี วางขนานกันเป็นขดลวดคงท่ี (Fixed Coil) หรือขดลวดกระแส (Current Coil) ส่วนตอนกลางของขดลวดคงท่ีมีขดลวดอีกหน่ึงขดวางอยู่ในส่วน วงกลมที่ว่างเป็นขดลวดเคลื่อนที่ได้ (Moving Coil) หรือขดลวดแรงดัน (Voltage Coil) ขดลวดเคล่ือนท่ีนี้ถูกยึดติดกับแกนร่วมกับเข็มชี้และ สปริงก้นหอย ขดลวดคงท่ีหรือขดลวดกระแสนั้นท้ังสองขดถูกต่ออนุกรม กันและต่อออกมาเพ่ือวัดค่ากระแสของวงจร ส่วนขดลวดเคล่ือนท่ีหรือ ขดลวดแรงดันถูกต่ออนุกรมกับตัวต้านทานทําหน้าที่จํากัดกระแสผ่าน ขดลวดและต่อออกมาเพ่อื วัดคา่ แรงดันของวงจร รูปที่ ๒.๒๐ โครงสรา้ งของวตั ตม์ เิ ตอรแ์ ละสัญลักษณ์ ค่มู อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายในอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความรู้) ๔๕
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104