Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รูปแบบการจัด​การเรียน​รู้โดยใช้เทคนิค​TGT

รูปแบบการจัด​การเรียน​รู้โดยใช้เทคนิค​TGT

Published by Guset User, 2022-01-05 13:51:09

Description: รูปแบบการจัด​การเรียน​รู้โดยใช้เทคนิค​TGT

Search

Read the Text Version

การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษ​ที่2​ 1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้​ โดยใช้เทคนิค​TGT อาจารย์​ผู้ส​ อน​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ช​ วนพิศ​ รักษาพวก

ก คำนำ หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่ อเป็ นส่วนหนึ่ งของ​รายวิชา นวัตกรรมห​ ลักสูตรและการสอนสมัยใหม่ รหัสวิชา​ 5002603 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องการจัดการ เรียนรู้โดยใช้เทคนิค​TGT และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อ เป็ นประโยชน์กับการเรียนรู้ ​ ผู้จัดทำขอขอบพระคุณอาจารย์​ผู้ช่วยศาสตราจารย์​ ชวนพิศ​รักษาพวก​ที่คอยให้คำแนะนำในการจัดทำ หนังสือเล่มนี้​จนสำเร็จไปได้ด้วยดี ​ ผู้จัดทำหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน​นักศึกษา​ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่หากมี ข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใดผู้จัดทำขออภัยมา ณ​ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ

ข สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบ​TGT 1 การจัดการเรียนรู้แบบ​TGT 2 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ​TGT 3 ประโยชน์และข้อจำกัดของของวิธีการสอนแบบ​TGT 4 บทบาทผู้สอนในการจัดการเรียนแบบร่วมมือ​TGT 5 ลักษณะสำคัญของการสอนแบบร่วมมือ TGT 6 สรุปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ TGT 7 ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้แบบ TGT​ 8 สื่อการเรียนรู้​ 18 บรรณานุกรม​ 22

1 ความหมายของการจัดการเรียนรู้ แบบTGT TGT (Team Games Tournament ) การจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค เป็นการเรียนรู้แบบร่วมมืออีกรูปแบบหนึ่ง คล้ายกันกับเทคนิค STAD ที่แบ่งผู้เรียนที่มีควาสามารถแตก ต่างกันออกเป็นกลุ่มเพื่อทำงานร่วมกัน กลุ่มละประมาณ 4 – 5 คน โดยกำหนดให้สมาชิกของกลุ่มได้แข่งขันกันในเกมการ เรียนที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้แล้ว ทำการทดสอบความรู้ โดยการ ใช้เกมการแข่งขัน คะแนนที่ได้จากการแข่งขันของสมาชิก แต่ละคนในลักษณะการแข่งขันตัวต่อตัวกับทีมอื่น นำเอา มาบวกเป็ นคะแนนรวมของทีมผู้สอนจะต้องใช้เทคนิคการ เสริมแรง เช่น ให้รางวัล คำชมเชย เป็นต้น ดังนั้นสมาชิก กลุ่มจะต้องมีการกำหนดเป้ าหมายร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน เพื่อความสำเร็จของกลุ่ม

2 การจัดการเรียนรู้แบบ​TGT การจัดกิจกรรม TGT เป็นเทคนิครูปแบบหนึ่งในการสอนแบบ ร่วมมือและมีลักษณะของกิจกรรมคล้ายกันกับ STAD แต่เพิ่มเกม และการแข่งขันเข้ามาด้วย เหมาะสำหรับการจัดการเรียนการสอนใน จุดประสงค์ที่มีคำตอบถูกต้องเพียงคำตอบเดียว องค์ประกอบ 4 ประการ ของ TGT 1. การสอน เป็นการนำเสนอความคิดรวบยอดใหม่หรือบทเรียน ใหม่ อาจเป็นการสอนตรงหรือจัดในรูปแบบของการอภิปราย หรือ กลุ่มศึกษา 2. การจัดทีม เป็นขั้นตอนการจัดกลุ่ม หรือจัดทีมของนักเรียน โดยจัดให้คละกันทั้งเพศ และความสามารถและทีมจะต้องช่วยกัน และกัน ในการเตรียมความพร้อมและความเข้มแข็งให้สมาชิกทุกคน 3.​ การแข่งขัน การแข่งขันมักจัดในช่วงท้ายสัปดาห์หรือท้ายบท เรียน ซึ่งจะใช้คำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนมาในข้อ 1 และผ่าน การเตรียมความพร้อมของทีมมาแล้วการจัดโต๊ะแข่งขันจะมีหลาย โต๊ะ แต่ละโต๊ะจะมีตัวแทนของกลุ่ม/ทีม แต่ละทีมมาร่วมแข่งขัน ทุก โต๊ะการแข่งขันควรเริ่มดำเนินการเพื่อนำไปเทียบหาค่าคะแนนโบนัส 4. การยอมรับความสำเร็จของทีม ให้นำคะแนนโบนัสของแต่ละ คนในทีมมารวมกันเป็นคะแนนของทีม และหาค่าเฉลี่ยทีมที่มีค่า สูงสุด จะได้รับการยอมรับให้เป็นทีมชนะเลิศ โดยอาจเรียกชื่อทีมที่ ได้ชนะเลิศ กับรองลงมา โดยใช้ชื่อเก๋ ๆ ก็ได้ หรืออาจให้นักเรียนตั้ง ชื่อเอง และควรประกาศผลการแข่งขันในที่สาธารณะด้วย

3 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ​TGT ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. ครูสอนความคิดรวบยอดใหม่ หรือบทเรียนใหม่ โดยอาจใช้ใบความรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา หรือใช้กิจกรรมการ ศึกษาหาความรู้รูปแบบอื่นตามที่ครูเห็นว่าเหมาะสม 2. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 – 5 คน เพื่อปฏิบัติ ตามใบงาน 3. นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมความพร้อมให้กับสมาชิกใน กลุ่มทุกคน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนและพร้อมที่จะ เข้าสู่สนามแข่งขัน 4. แต่ละกลุ่มประเมินความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของ สมาชิกในกลุ่ม โดยอาจตั้งคำถามขึ้นมาเองและให้สมาชิกกลุ่ม ทดลองตอบคำถาม 5. สมาชิกกลุ่มช่วยกันอธิบายเพิ่มเติมในจุดที่บางคนยัง ไม่เข้าใจ 6. ครูจัดให้มีการแข่งขัน โดยใช้คำถามตามเนื้อหาใน บทเรียน 7. จัดการแข่งขันเป็นโต๊ะ โดยแต่ละโต๊ะจะมีตัวแทน ของทีมต่าง ๆ ร่วมแข่งขัน อาจให้แต่ละทีมส่งชื่อผู้แข่งขันแต่ละ โต๊ะมาก่อนและเป็ นความลับ

4 ประโยชน์และข้อจำกัดของ วิธีสอนแบบ​TGT ประโยชน์​ 1. ผู้เรียนมีความเอาใจใส่รับผิดชอบตัวเองและกลุ่มร่วมกับ​ สมาชิกอื่น 2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันได้เรียนรู้ร่วม กัน 3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำ 4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกและเรียนรู้ทักษะทางสังคม 5. ผู้เรียนมีความตื่นตัว สนุกสนานกับการเรียนรู้ ข้อจำกัด 1. ถ้าผู้เรียนขาดความเอใจใส่และความรับผิดชอบจะส่งผล ให้ผลงานของกลุ่มและการเรียนรู้ไม่ประสบความสำเร็จ 2. เป็นวิธีการที่ผู้สอนจะต้องเตรียมการ ดูแลเอาใจใส่ใน กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างใกล้ชิดจึงจะได้ผลดี 3. ผู้สอนมีภาระงานมากขึ้น

5 บทบาทผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบ TGT ในด้านเทคนิคการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ โดยใช้แบบ TGT การเรียนการสอนแบบ TGT นั้นป็นกา รสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนสนใจมากขึ้น มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1. Teams (T)​แบ่งนักเรียนออกเป็น 4-5 ทีม แต่ละ ทีมจะมีนักเรียนหลากหลาย คือ จะมีนักเรียนที่มีทั้งผล สัมฤทธิ์สูง ปานกลาง ต่ำ และเพศคละกัน สมาชิกจะอยู่ใน ทีมอย่างถาวร แต่ละทีมจะได้รับการฝึกฝนเหมือนกัน และ ในทีมจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทบทวนสิ่งที่ครูสอน 2. Games (G)​ เกมที่ใช้เป็นการฝึกทักษะ ซึ่งเน้ น ที่เนื้อหา หลักสูตร นักเรียนจะได้ตอบปัญหา เกมบัตรคำ ซึ่งเน้ นกฎเกณฑ์พื้นฐานลำดับก่อน – หลัง การแข่งขันที่ ยึดเนื้ อหาวิชาเป็ นหลัก 3. Tournaments (T)​การฝึกในทีมจะมีการ แข่งขัน อาจมีอาทิตย์ละ 1–2 ครั้ง โดยดูจากผลงาน นักเรียนจะได้เปรียบเทียบคะแนนของแต่ละทีม ว่าทีมใด คะแนนสูงสุด ปานกลาง ต่ำ คะแนนนี้จะแยกเป็นคะแนน สมาชิกแต่ละคนด้วย

6 ลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอบแบบ​TGT ลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบ TGT ​ ประกอบด้วย​3​ประการ​​คือ 1. ทีม (Teams) แบ่งนักเรียนออกเป็น 4-5 ทีม แต่ละทีมจะมี นักเรียนหลากหลาย คือ จะมีนักเรียนที่มีทั้งผลสัมฤทธิ์สูง ปาน กลาง ต่ำ และเพศคละกัน 2. เกม (Games) เกมที่ใช้เป็นการฝึกทักษะ ซึ่งเน้ นกฎเกณฑ์ พื้นฐานลำดับก่อน – หลัง การแข่งขันที่ยึดเนื้อหาวิชาเป็นหลัก 3. การแข่งขัน (Tournaments) การฝึกในทีมจะมีการแข่งขัน​ โดยดูจากผลงาน นักเรียนจะได้เปรียบเทียบคะแนนของแต่ละทีม ว่าทีมใดคะแนนสูงสุด ปานกลาง ต่ำ คะแนนนี้จะแยกเป็นคะแนน สมาชิกแต่ละคนด้วย

7 สรุปการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค​TGT TGT เป็นนวัตกรรม​ด้านการสอนรูปแบบหนึ่ง​ ที่ช่วย​พัฒนาส​ ร้างแรงจูงใจให้นักเรียนสนใจมากขึ้น มี องค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1. Teams (T)​ทีมคือในแต่ละทีมจะได้รับการ ฝึกฝนเหมือนกัน และในทีมจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการทบทวนสิ่งที่ครูสอน 2. Games (G)​เกมที่ใช้เป็นการฝึกทักษะ ซึ่งนักเรียนจะได้ตอบปั ญหา 3. Tournaments (T)​การฝึกในทีมจะมีการ แข่งขัน อาจมีอาทิตย์ละ 1–2 ครั้ง

8 ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค​TGT

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22 บรรณานุกรม​ อังสนา จั่นแดง. แผนการจัดการเรียน รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ป.3 กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์ https://sites.google.com/site/khunkrunong/4-1 https://sites.google.com/site/muttanatumoon/kar-cadkar-reiyn-kar- sxn-baeb-tgt

เสนอ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ช​ วนพิศ​รักษาพวก รายวิชา วิชานวัตกรรมห​ ลักสูตรแ​ ละ​การ​สอนส​ มัยใหม่​ รหัสว​ิชา​5002603​ ผู้จัดทำ 1.นางสาวกฤษณา​ ​ชินแ​ สง​ 611502201​ 2.นางสาวอริสา​ สม​อาจ​ 611502230​


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook