อารยธรรมกรีก
คำนำ E-bookเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชามัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้ได้ศึกษา หาความรู้ในเรื่อง อารยธรรมกรีกและได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหา ข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ผู้จัดทำ วันที่ 14 มกราคม 2565
สารบัญ เรื่อง 01 ต้นกำเนิดอารยธรรมกรีก 02 03 กำเนิดอารยธรรมกรีก 04 - 08 ที่ตั้งอารยธรรมกรีก 09 - 12 ความรุ่งเรืองของกรีก 13 - 15 •ศิลปกรรม •สถาปัตยกรรม 16 - 17 •ประติมากรรม •จิตรกรรม สมัยต่างๆในประวัติศาสตร์กรีก •เฮเลนนิสติค (Hellenistic Culture) •ศาสนาเฮเลนนิสติค •ยุคมืด มหากาพย์เทวตำนานกรีก •เทพปกรณัมกรีก วรรณกรรมในกรีกโบราณ
01 ต้นกำเนิดอารยธรรมกรีก อารยธรรมกรีกเกิดขึ้นเมื่อ 4,000 ปีมาแล้ว เป็นอารยธรรมเก่าของแหลมอิตาลี เกิดบนแผ่นดินกรีกในทวีปยุโรป และบริเวณชายฝั่ งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ถือเป็นอารยธรรมตะวันตกและอารยธรรมสมัยใหม่ อารยธรรมที่เจริญขึ้นในนครรัฐกรีกมีศูนย์กลางที่สำคัญในนครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาร์ตา ชาวกรีกเรียกตนว่า เฮลีนส์ และเรียกบ้านเมืองตนว่า เฮลัส เรียกอารยธรรมตนว่า อารยธรรมเฮเลนิก เพราะตำแหน่งที่ตั้งถิ่นฐานเป็นจุดบรรจบของทวีปยุโรป เอเชีย และ แอฟริกา กรีกจึงได้รับอิทธิพลความเจริญจากทั้งอียิปต์และเอเชียมาพัฒนาอารยธรรมของตนขึ้นจนกระทั่งเป็นเอกลักษณ์ ชาวกรีกถือตนเองเป็นผู้มีคุณลักษณะพิเศษผิด กับชนชาติอื่นที่พวกเขารวมเรียก ว่า บาเบเรียน หมายความว่าผู้ที่ใช้ภาษาผิดไปจากภาษาของพวกกรีก อารยธรรมโรมันได้รัมการถ่ายทอดมาจากอารยธรรมกรีก โดยชาวอิทรัสกันที่อยู่ในเอเชียไมเนอร์ได้อพยพเข้าสู่แหลมอิตาลี และได้นำเอาความเชื่อและศิลปวัฒนธรรม ของกรีกเข้าไปด้วย ซึ่งต่อมาบรรพบุรุษของชาวโรมันคือ ละติน ตอนใต้ของแม่น้ำไทเบอร์ ไดขับไล่กษัตริย์อิทรัสกันแล้วรวมตัวเป็นชุมนุมในบริเวณที่เรียกว่า ฟอรัม เป็น ศูนย์กลางเมือง และจุดเริ่มต้นของกรุงโรมในเวลาต่อมา โดยรับเอาอารยธรรมกรีกจากชาวอิทรัสกันมาเป็นต้นแบบอารยธรรมตนด้วย ที่ตั้งของกรุงโรมอยู่ห่างจากทะเล 15 ไมล์ เหมาะกับการทำการค้าทางทะเล กรุงโรมยังอยู่ในทำเลเหมาะสมทางยุทธศาสตร์ สามารถใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางคมนาคมและ ทำการค้า มีภูเขาและหนองน้ำกีดขวางผู้บุกรุก ปัจจัยที่สนับสนุนการเรื่องอำนาจเหนือดินแดนโดยรอบทะเลเมดเตอร์เรเนียนของ อาณาจักรโรมันคือการสร้างถนนที่มั่นคง ถาวรไปยังดินแดนที่ยึดครอง ทำให้เกิดความคล่องตัว การขยายกองทัพและการคมนาคมขนส่ง จักรวรรดิโรมันปกครองคาบสมุทรอิตาลีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองอย่างยิ่ง ก่อกำเนิดอารยธรรมด้านต่างๆ มากมาย ด้านการปกครอง จักรพรรดิมี อำนาจสูงสุด ด้านการคมนาคม มีการสร้างถนนเชื่อมต่อเมืองต่างๆ ด้านกฎหมาย เกิดหลักกฎหมาย ด้านเศรษฐกิจ แปรผันตามการเกษตรกรรม ด้านสังคม แบ่งชนชั้นผู้ ถูกปกครองและผู้ปกครอง ด้านปรัชญา ประกาศปรัชญาของสโตอิกส์และเอปิคิวเรียน ด้านสถาปัตยกรรม รับอิทธิพลจากกรีกเฮเลนิก เน้นความแข็งแรงใหญ่โต
02 กำเนิดอารยธรรมกรีก อารยธรรมกรีกที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้ประกอบด้วยอารยธรรมหลัก 2 ส่วน ได้แก่ อารยธรรมของชาวกรีกโบราณหรืออารยธรรมเฮลเลนิก (Hellenic Civilizaton, ปี 750-336 ก่อนคริสต์ศักราช) และ อารยธรรมเฮลเลนิสติก (Hellenistic Civilization, ปี 336-31 ก่อน คริสต์ศักราช) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่กรีกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิมาซิโดเนีย (Macedonia) และเป็นอารยธรรมที่ผสมผสานกับความเจริญที่รับจากดินแดนรอบๆ ทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดอารยธรรมกรีกโดยรวม คือ ที่ตั้งทาง ภูมิศาสตร์ ชาวกรีกโบราณ และระบอบนครรัฐกรีก
03 ที่ตั้งอารยธรรมกรีก ที่ตั้งอารยธรรมกรีกเกิดขึ้นในบริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรบอลข่านและชายฝั่ งทะเลอีเจียน ซึ่งกั้นระหว่างคาบสมุทร บอลข่านและเอเชียไมเนอร์ บริเวณเหล่านี้อยู่ในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งรายรอบด้วยอารยธรรมสำคัญของโลก คือ อารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ใกล้กับเกาะครีตซึ่งเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมไมนวน (Minoan Civilization ประมาณปี 2000-1400 ก่อนคริสต์ศักราช) ที่เกิดจากการผสมผสานอารยธรรมของดินแดนในแถบ รอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้ชาวกรีกสมัยโบราณมีโอกาสรับและแลกเปลี่ยนความเจริญด้านต่างๆ ของอารยธรรมเมโส โปเตเมียและอียิปต์จากเกาะครีต อนึ่ง พื้นที่ในคาบสมุทรบอลข่านตอนใต้ยังประกอบด้วยภูเขาและที่ราบสูงซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการรวมศูนย์อำนาจปก รอง ทำให้ชาวกรีกสมัยโบราณมีการปกครองแบบนครรัฐและมักเกิดสงครามระหว่างนครรัฐ เช่น กรณีนครรัฐสปาร์ตา (Sparta) ทำสงครามรุกรานกรุงเอเธนส์ อนึ่ง กรีกยังมีพื้นที่ราบเพาะปลูกไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถพึ่งพาการประกอบอาชีพ เกษตรกรรมได้เพียงอย่างเดียว แต่สภาพที่ตั้งซึ่งมีชายฝั่ งทะเลและท่าเรือที่เหมาะสมจำนวนมาก ชาวกรีกจึงสามารถประกอบ อาชีพประมงและเดินเรือค้าขายกับดินแดนต่างๆ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมทั้งมีโอกาสขยายอิทธิพลไปยึดครองดินแด นอื่นๆ ในเขตเอเชียไมเนอร์ด้วย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดอารยธรรมต่อกัน โดยเฉพาะการนำอารยธรรมของ โลกตะวันออกไปสู่ตะวันตก
04 ความรุ่งเรืองของกรีก ชาวกรีกได้สร้างสรรค์ความเจริญให้เป็นมรดกแก่ชาวโลกจำนวนมาก ที่สำคัญได้แก่ ความเจริญ ด้านศิลปกรรม ปรัชญา การศึกษา วรรณกรรมและวิทยาการต่างๆ NEXT
05 *ศิลปกรรม ความเจริญด้านศิลปกรรมเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของอารยธรรมกรีกซึ่งได้รับการยกย่องว่า เป็นต้นแบบของ งานศิลปกรรมของโลก ส่วนใหญ่เป็นงานสร้างสรรค์ที่ได้รับแรงบันดาลใจ จากความศรัทธาทางศาสนา โดยสร้างขึ้นเพื่อแสดง ความเคารพบูชาและบวงสรวงเทพเจ้า ของตน ผลงานที่ได้รับการยกย่องมีจำนวนมากที่สำคัญได้แก่ ด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และศิลปะการแสดง
06 *ด้านสถาปัตยกรรม ชาวเอเธนส์ได้สร้างสรรค์งานด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นให้แก่ชาวโลกจำนวน มาก ส่วนใหญ่ เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมสาธารณะ เช่น วิหาร สนาม กีฬา และโรงละคร ความโดดเด่นของงานสถาปัตยกรรมไม่ได้ขึ้น อยู่กับความ ใหญ่โตของสิ่งก่อสร้าง แต่เป็นความงดงามของสัดส่วนที่สมบูรณ์แบบ ตัวอย่าง เช่น วิหารพาร์เทนอน (Parthenon) ที่ ตั้งอยู่บนเนินเขาอะโครโพลิส (Acropolis) เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีสัดส่วนงดงามทั้งความยาว ความกว้างและความ สูง จัดว่าเป็นผล งานชิ้นเอกของโลก
07 *ด้านประติมากรรม ผลงานด้านประติมากรรมจัดว่าเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุดในงานศิลปกรรมของกรีก ชาวกรีก สร้างงาน ประติมากรรมจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นรูปปั้ นเทพเจ้าของกรีก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากชาวกรีกยอมรับและเชื่อมั่นคุณค่าของ มนุษย์ ผลงานประติมากรรมจึงดูเป็น ธรรมชาติ ลักษณะของสรีระกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคล้ายมนุษย์ที่มีชีวิต ผลงานชิ้นเยี่ยม ได้แก่ รูปปั้ นเทพเจ้าอะทีนา ที่วิหารพาร์เทนอน และเทพเจ้าซุส ที่วิหารแห่งโอลิมเปีย
08 *ด้านจิตรกรรม ที่ปรากฏอยู่ส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่เขียนบน เครื่องปั้ นดินเผา เช่น แจกัน คนโท ฯลฯ และจิตรกรรมฝา ผนังที่พบในวิหารและกำแพง
09 สมัยต่างๆ ในประวัติศาสตร์กรีก NEXT
10 เฮเลนนิสติค (Hellenistic Culture) คำว่า เฮเลนนิสติค (Hellenistic) นี้ เป็นคำที่ใช้อ้างอิงอธิบายถึงวัฒนธรรมหรืออารยธรรมของกรีกในช่วงที่ตกอยู่ ภายใต้การปกครองของอาณาจักรมาเมโดเนีย โดยเฉพาะในสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (และก่อน หน้าที่โรมจะก้าวขึ้นมาเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่) โดยที่กรีกในช่วงเวลานี้แม้ไม่ได้เป็นนครรัฐที่เป็นอิสระเหมือนก่อน หน้านี้ก็ตาม (ก่อนสงคราม Battle of Chaeronea ในปี 338 ก่อนคริสตกาล ซึ่งกรีกพ่ายแพ้สงครามต่ออาณาจักรมา เซโดเนียที่อยู่เหนือตนขึ้นไปในทางภูมิศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มต้นที่มาเซโดเนียได้เข้าครอบครองกรีกทั้งหมด) แต่ ปรากฏว่าอิทธิพลของวัฒนธรรมกรีกยังคงได้รับความสำคัญอยู่ และมิหนำซ้ำยังได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง การขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางของวัฒนธรรมกรีก ตามพื้นที่จักรวรรดิที่กว้างใหญ่ไพศาลและในหมู่ ประชากรที่หลากหลายทางเชื้อชาติ ได้สร้างให้จักรวรรดิมีกลิ่นไอของความเป็นเอกภาพอยู่บ้างท่ามกลางความหลาก หลาย โดยมีวัฒนธรรมหลายแขนง (วรรณกรรม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ และปรัชญา) ได้พัฒนายิ่งขึ้นไปในหลายๆ พื้นที่ โดยเฉพาะจะมีความโดดเด่นเป็นอย่างมากใน 2 เมืองนี้คือ เมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) (ทางตอนเหนือ ของประเทศอียิปต์ในปัจจุบัน) และเมืองเปอเกมัม (Pergamum) (ทางตะวันตกของประเทศตุรกีในปัจจุบัน)
11 ศาสนาเฮเลนนิสติค ศาสนายุคเฮเลนนิสติค เทพเจ้าไอซิส (cult of Isis) เป็นศาสนาและพิธีกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคนี้ ตามภาพนี้เป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่หน้าวัดไอซิส (temple of Isis) ด้านบนพระคนหนึ่งกำลังถือภาชนะทองคำ ขณะที่ด้านล่างพระอีกคนกำลังนำกลุ่มทำพิธีบูชา และพระอีกคนกำลังพัดไฟในเตา (ภาพนี้เป็นภาพฝาผนังในอิตาลี) ศาสนาในช่วงนี้ มีรูปแบบอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อของกรีก เช่นนิยมทำพิธีกรรมในสถานที่โล่งแจ้ง (outdoor) พระ (priest) มีบทบาทและเอกสิทธิทาง สังคม (ได้รับการนับถือ) น้อยลงเป็นลำดับ ส่วนในด้านเนื้อหาของความคิดความเชื่อทางศาสนา การบูชาเทพเจ้าประเพณีของกรีกเดิมเช่นซีอุส (Zeus) และเอธีนา (Athena) ได้เสื่อมลงไปอย่างสิ้นเชิง มีการวิเคราะห์ว่าที่เป็นเช่นนี้ (ทั้งๆ ที่ชาวกรีกเป็นผู้มีอิทธิพลครอบงำสังคม) เพราะพิธีกรรมทางศาสนาของกรีกไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อที่เป็นเรื่องของ จริยธรรม หรือที่บอกให้เห็นว่าสิ่งใดดีหรือชั่วอย่างไร (เช่นเรื่องนรกหรือสวรรค์) หรือแม้กระทั่งการสร้างความรู้สึกรับรู้เชื่อมไปถึงการมีอยู่ของพระเจ้า แต่มีลักษณะที่ เป็นพิธีกรรมเฉลิมฉลองของชาวเมืองมากกว่า (มีลักษณะเป็นเรื่องของพลเมืองที่เป็นมนุษย์ธรรมดามากกว่าพระเจ้าจริงๆ หรือเป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนเหตุผลมากกว่า ความรู้สึกดีชั่วแบบงมงาย ทำให้มีคุณค่าทางจิตใจน้อยกว่า) เพราะเหตุนี้ จึงทำให้ไม่เป็นที่สนใจต่อประชากรที่ไม่ใช่กรีก (ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่) และยิ่งเมื่อเวลา ผ่านไป แทนที่คนพื้นถิ่นจะต้องยอมรับนับถือตามความเชื่อของกรีก แต่กลับเป็นชาวกรีกเองที่ปรับตัวเข้ารับเอาความเชื่อของคนพื้นถิ่น โดยเฉพาะชาวกรีกที่อยู่ในชั้น ของสังคมที่ต่ำกว่า(ส่วนหนึ่งมีการวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะผู้ปกครองชาวกรีกให้เสรีภาพในทางนับถือศาสนา) โดยเมื่อมาถึงในศตวรรษที่ 2 ศาสนาและความเชื่อที่เป็นของคนพื้นถิ่นเดิม (โดยเฉพาะของอียิปต์) กลับเป็นที่นิยมในหมู่ชาวกรีกตะวันออก (กรีกที่อพยพ ออกมายังที่ต่างๆ ของอาณาจักรมาเซโดเนีย) คือ การบูชาเทพเจ้าไอซิส (cult of Isis) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งแม่น้ำไนล์และการเกิดใหม่ เทพเจ้ามิตรา (cult of Mithra) เทพเจ้าแห่งชีวิตที่เป็นนิรันดร์ และเทพเจ้าเซอเรพเพิส (cult of Serapis) ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่อยู่ใต้โลกและผู้ตัดสินวิญญาณ โดยลักษณะที่ร่วมกันเป็นประการสำคัญ ของเทพเจ้าทั้งสามนี้ คือความลึกลับที่เรียกว่า mystery religions ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของชะตากรรม (faith) มากกว่าเหตุผล (reason) โดยที่เชื่อว่ามีโลกหน้า (โลก หลังความตาย) ที่เป็นสุขนิรันดรที่รอมนุษย์อยู่ และเทพเจ้าเหล่านี้มีความเป็นสากลที่มีอิทธิพลต่อชะตากรรมของของมนุษย์ทุกคนไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ที่ไหนก็ตาม หรือจะ รู้จักนับถือเทพเจ้าเหล่านี้หรือไม่ก็ตาม ซึ่งความสำคัญของความคิดความเชื่อเช่นนี้ ได้เป็นพื้นฐานรองรับต่อการก้าวย่างเข้ามาของศาสนาคริสต์และความสำเร็จของ ศาสนาคริสต์ (ที่ยิ่งมีความลึกลับมากกว่านี้) ในเวลาต่อมาภายหลังจากนี้
12 ยุคมืด (Dark Age) ภายหลังจากที่อารยธรรมไมเซเนียนทางตอนเหนือของกรีกแผ่นดินใหญ่ได้ล่มสลายลงไปในราวปี 1100 ปี ก่อนคริสตศักราช อารยธรรมในแผ่นดินกรีกนี้ก็เข้าสู่ช่วงที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่าเป็น ยุคมืด (Dark Age) มีช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 1100-750 ก่อนคริ สตศักราช การที่นักประวัติศาสตร์เรียกยุคนี้ว่าเป็นยุคมืด เพราะหลักฐานที่หลงเหลือน้อยมากที่จะมาช่วยให้เห็นภาพในอดีต หรือ กิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าในช่วงเวลานี้ สังคมกรีกได้ตกอยู่ในความยากลำบาก จำนวนประชากรได้ลดลง และการ ผลิตอาหารก็ลดลง จนกระทั่งปี 850 ก่อนคริสตกาล การทำการกสิกรรมจึงได้เริ่มฟื้ นฟูขึ้นมา เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ คือ ชาวกรีกบนแผ่นดินใหญ่ได้อพยพแตกออกไปยังเกาะต่างๆ ในบริเวณทะเลเอ เจียน (Aegean Sea) โดยเฉพาะได้ข้ามทะเลเอเจียนไปยังพื้นที่ทางฝั่ งตะวันตกเฉียงใต้ บนแผ่นดินที่เรียกว่าเอเชียไมเนอร์ (Asia Minor) ซึ่งเรียกกันในชื่อเฉพาะว่าไอโอเนีย (Ionia) และคนกรีกที่อาศัยอยู่ในที่นี้ถูกเรียกว่า ไอโอเนียน (Ionian) กรีกอีกพวกซึ่งเรียกว่า เอโอเลียน (Aeolian Greek) ซึ่งตั้งรกรากอยู่ทางตอนเหนือและตอนกลางของกรีก ก็ได้ขยายอิทธิพล เข้าครอบงำเกาะขนาดใหญที่เรียกว่าเลสบอส (Lesbos) และพื้นที่อื่นๆ ที่อยู่ข้างเคียงกับแผ่นดินใหญ่ กรีกอีกพวกหนึ่งซึ่งเรียกว่า ดอเรียน (Dorian Greek) ได้เข้าไปตั้งรกรากที่ทางตะวันตกฉียงใต้ของกรีซแผ่นดินใหญ่ โดย เฉพาะในพื้นที่ๆ เรียกว่า เพลอพอนเนซุส (Peloponnesus) รวมทั้งในเกาะอื่นๆ ทางตอนใต้ของทะเลเอเจียน รวมทั้งเกาะครีตซึ่งเป็น แหล่งอารยธรรมที่รุ่งเรืองก่อนหน้านี้ด้วยซึ่งเรียกว่าอารยธรรมไมนวน (เรียกตามชื่อกษัตริย์ไมนอส)
13 มหากาพย์เทวตำนานกรีก NEXT
14 เทพปกรณัมกรีก เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก และจุดกำเนิดและความ สำคัญของวิถีปฏิบัติและพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา ในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่กล่าวถึงเรื่องปรัมปราและศึกษาในความพยายามที่จะอธิบายสถาบัน ทางศาสนาและการเมืองในกรีซโบราณ อารยธรรม และเพิ่มความเข้าใจของธรรมชาติในการสร้างตำนาน ขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสี แจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลกและรายละเอียดของชีวิต รวมทั้งการ ผจญภัยของบรรดาเทพ เทพี วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ได้สืบทอด โดยบทกวีจากปากต่อปากเท่านั้น ในปัจจุบัน ตำนานกรีกได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในวรรณกรรม กรีกเป็นส่วนใหญ่ วรรณกรรมกรีกที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกันคือ มหากาพย์ อีเลียด และ โอดิสซีย์ ของโฮเมอร์ ซึ่งจับเรื่อง ราวเหตุการณ์ในระหว่างสงครามเมืองทรอย นอกจากนี้มีบทกวีมหากาพย์ร่วมสมัยอีกสองชุดของเฮสิโอด คือ Theogony และ Works and Days เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดโลก การสืบทอดของจอมเทพผู้ ศักดิ์สิทธิ์ ยุคของมนุษย์ กำเนิดศัตรูของมนุษย์ และพิธีบูชายัญต่างๆ เรื่องเล่าปรัมปรายังพบได้ใน บทเพลงสวดสรรเสริญของโฮเมอร์ จากเสี้ยวส่วนหนึ่งของบทกวีมหากาพย์ Epic Cycle จากบทเพลง จาก งานเขียนโศกนาฏกรรมในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล จากงานเขียนของปราชญ์และกวีในยุคเฮเลนนิ สติก และในตำราจากยุคของจักรวรรดิโรมันที่เขียนโดยพลูตาร์คกับเพาซานิอัส
15 สันนิษฐานของที่มาของการเกิดเทวเทพปกรณัมกรีก อาจเป็นเพราะชาวกรีกโบราณพยายามหาคำตอบให้กับตัวเองว่าทำไม ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือเหตุใดจึงมีเสียงสะท้อนจากถ้ำเมื่อเราส่งเสียง หรือ ฯลฯ นั่นเพราะความกลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติจึงพยายามหาเหตุผล และชาวกรีกชอบฟังนิทานเรื่องเล่าปรัมปรา, ชอบแต่งโคลงกลอน จึงรัก การขับลำนำและดีดพิณคลอไปด้วยจึงทำให้การขับลำนำเป็นที่นิยม เล่า กันว่าโฮเมอร์ (Homer) ก็เป็นนักขับลำนำชั้นยอดคนหนึ่งของกรีก ใคร ๆ ก็รักน้ำเสียงการเล่านิทานของเขา แรกเริ่มเทวตำนานเป็นบทกลอนที่ ท่องจำกันมาเป็นรุ่น ๆ ต่อมามีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เราจึงไม่ ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้แต่งเทพปกรณัม บ้างก็ว่า โฮเมอร์ เป็นผู้แต่ง อี เลียด (Iliad) บ้างก็ว่าแค่รวบรวม บ้างก็ว่ากวีกรีกนาม เฮซิออด (Hesiod) แต่ง ส่วน โอวิด (Ovid) กวีโรมก็เล่าถึงเทวตำนานแต่ใช้ชื่อตัว ละครต่างกัน เล่มของโอวิดจะเล่าได้พิสดารกว่าของนักเขียนคนอื่น
16 วรรณกรรมในกรีกโบราณ next
17 1.อิเลียด(lliad) เป็นหนึ่งในวรรณกรรมเเรกๆของชาวกรีกที่ปรากฏขึ้นบนโลกนี้เเต่งโดยโฮเมอร์ 2.โอดิสซี(odyssey) เป็นอีกหนึ่งมหากาพย์ที่เเต่งโดยโฮเมอร์ ประพันธ์เหมือนอิเลียดทุกประการ 3.เอดิปุส เร็กซ์(oedipus rex) เป็นวรรณกรรมหรือบทละครในรูปเเบบโศกนาฏกรรม 4.อิเนียด(aeneid) มีรูปเเบประพันธ์เช่นเดียวกับอิเลียดเเละโอดิสซีเเต่เป็นผลงานของเวอร์จิล 5.เมตามอร์โฟซิล(metamorphoses) เป็นผลงานของโอวิด นักประพันธ์ขาวโรมัน ซึ่งใช้ภาษาละตินในการเขียนวรรณกรรม
18 ผู้จัดทำ 011.นายกล้าอนันต์ อินทร์คง เลขที่ 1 8 2.นายณพงศ์ภัทร ภารเพิง เลขที่ 10 12 023.นายธิเบศก์ แก่นวงษา เลขที่ 16 4.นายนาราชา 21 มากวงค์ เลขที่ 23 5.นายพุทธินันท์ 24 นาเก่า เลขที่ 27 036.นายเอื้ออังกูร 31 7.นางสาวเกษรวี สิงห์กอ เลขที่ 37 8.นางสาวณัฐพร กำแหงเกช เลขที่ 049.นางสาวธิษณา ประมูลชัย เลขที่ 10.นางสาวพชรมน อนุเดช เลขที่ 0511.นางสาวโสมรัศมิ์ เหลืองศรีพงศ์ เลขที่ เขาแก้ว เลขที่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5
T H AN KS
Search
Read the Text Version
- 1 - 22
Pages: