Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

Published by 945sce00472, 2021-05-13 08:05:43

Description: ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

Search

Read the Text Version

ทักษะที่จำเปน็ ในศตวรรษที่ 21 สำนักงานส่งเสรมิ การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั จงั หวดั รอ้ ยเอด็ สำนกั งานปลดั กระทรวงศกึ ษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ~0~

ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการ พัฒนาเพ่ือให้สอดคล้องกบั ภาวะความเปน็ จริง ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง \"ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21\" ได้ถูก พัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศกึ ษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัท แอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรยี กย่อๆว่า เครือข่าย P21 หนว่ ยงานเหลา่ น้มี ีความกังวลและเห็นความจำเป็นทีเ่ ยาวชนจะต้องมที ักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตใน โลกแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการ เรียนรู้และนวัตกรรม หรอื 3R และ 4C ซง่ึ มอี งค์ประกอบ ดงั นี้ • 3 R ได้แก่ Reading (การอา่ น), การเขยี น(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ • 4 C (Critical Thinking - การคิดวเิ คราะห์, Communication- การสอ่ื สาร Collaboration-การ ร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้าน สารสนเทศสือ่ และเทคโนโลยี และการบริหารจัดการดา้ นการศกึ ษาแบบใหม่ นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาอีกท่านหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดนั เรื่องการฎิรูปการเรียนรู้ดังกล่าวให้ กว้างขวางขึ้น คือ เซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาระดับโลก โดยได้เน้นยำ้ถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง แนวคิดการจัดการศึกษาระบบโรงงาน มาเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างสรา้ งสรรคแ์ ละ เข้ากับบริบทของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ชมแอนิเมชั่นด้านบน การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาใน ศตวรรษท่ี 21 (Changing Education Paradigms) โดย เซอรเ์ คน โรบนิ สัน ~1~

ทกั ษะการเรียนรแู้ ห่งศตวรรษท่ี 21 ความท้าทายดา้ นการศึกษาในศตวรรษท่ี 21 ในการเตรยี มนักเรียนให้พรอ้ มกบั ชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรบั เปลี่ยนทางสังคมท่ีเกดิ ขนึ้ ในศตวรรษท่ี 21 สง่ ผลต่อวถิ กี ารดำรงชีพของ สังคมอย่างทัว่ ถงึ ครูจึงตอ้ งมคี วามตน่ื ตัวและเตรียมพร้อมในการจดั การเรียนรู้เพอื่ เตรียมความพรอ้ มให้ นักเรยี นมที กั ษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษท่ี 21 ท่เี ปล่ียนไปจากศตวรรษท่ี 20 และ 19 โดยทกั ษะแหง่ ศตวรรษท่ี 21 ท่สี ำคัญที่สุด คอื ทกั ษะการเรยี นรู้ (Learning Skill) สง่ ผลให้มีการเปลี่ยนแปลง การจดั การเรียนรู้เพือ่ ให้เด็กในศตวรรษท่ี 21 นี้ มคี วามรู้ ความสามารถ และทกั ษะจำเปน็ ซึ่งเปน็ ผลจากการ ปฏริ ูปเปลี่ยนแปลงรปู แบบการจดั การเรยี นการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านตา่ งๆ ทักษะแห่งศตวรรษท่ี 21 (21st Century Skills) วจิ ารณ์ พานิช (2555: 16-21) ไดก้ ล่าวถงึ ทกั ษะเพือ่ การดำรงชวี ติ ในศตวรรษที่ 21 ดงั น้ี สาระวชิ ากม็ ีความสำคัญ แต่ไมเ่ พยี งพอสำหรับการเรยี นรู้เพ่อื มีชวี ติ ในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปจั จุบนั การ เรียนรสู้ าระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเปน็ การเรยี นจากการค้นคว้าเองของศษิ ย์ โดยครูชว่ ย แนะนำ และชว่ ยออกแบบกจิ กรรมทีช่ ่วยให้นักเรียนแตล่ ะคนสามารถประเมนิ ความกา้ วหน้าของการเรียนรขู้ อง ตนเองได้ สาระวิชาหลกั (Core Subjects) ประกอบดว้ ย ภาษาแม่ และภาษาสำคญั ของโลก ศลิ ปะ คณิตศาสตร์ การปกครองและหน้าที่พลเมอื ง เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวตั ิศาสตร์ โดยวชิ าแกนหลักนีจ้ ะนำมาสกู่ ารกำหนดเปน็ กรอบแนวคดิ และยทุ ธศาสตรส์ ำคัญต่อการจัดการเรยี นรู้ ในเน้ือหาเชงิ สหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรอื หัวข้อสำหรบั ศตวรรษท่ี 21 โดยการสง่ เสริมความ เข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลกั และสอดแทรกทักษะแหง่ ศตวรรษท่ี 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลกั ดงั นี้ ทกั ษะแห่งศตวรรษท่ี 21 ~2~

- ความรู้เกีย่ วกับโลก (Global Awareness) - ความรูเ้ ก่ียวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเปน็ ผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy) - ความรูด้ า้ นการเปน็ พลเมืองทดี่ ี (Civic Literacy) ความร้ดู ้านสุขภาพ (Health Literacy) ความรู้ดา้ นสงิ่ แวดล้อม (Environmental Literacy) - ทักษะดา้ นการเรยี นร้แู ละนวัตกรรม จะเปน็ ตัวกำหนดความพรอ้ มของนกั เรยี นเขา้ ส่โู ลกการ ทำงานที่มีความซับซ้อนมากข้ึนในปจั จบุ นั ได้แก่ ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคดิ อยา่ งมีวิจารณญาณและการแกป้ ัญหา การสื่อสารและการรว่ มมือ ทกั ษะด้านสารสนเทศ สอ่ื และเทคโนโลยี เนอ่ื งด้วยในปจั จุบันมีการเผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสารผ่านทางสือ่ และเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงตอ้ งมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอยา่ งมวี จิ ารณญาณและ ปฏิบัตงิ านไดห้ ลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้ - ความรู้ด้านสารสนเทศ - ความรูเ้ ก่ียวกบั สื่อ - ความรู้ด้านเทคโนโลยี ทักษะดา้ นชวี ิตและอาชีพ ในการดำรงชวี ติ และทำงานในยุคปจั จบุ ันให้ประสบความสำเร็จ นกั เรียน จะต้องพฒั นาทักษะชีวิตทสี่ ำคัญดังต่อไปน้ี - ความยืดหย่นุ และการปรบั ตวั - การริเร่มิ สร้างสรรคแ์ ละเปน็ ตัวของตัวเอง - ทกั ษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม - การเป็นผูส้ ร้างหรอื ผูผ้ ลิต (Productivity) และความรับผดิ ชอบเชอ่ื ถือได้ (Accountability) - ภาวะผู้นำและความรบั ผิดชอบ (Responsibility) ~3~

ทกั ษะของคนในศตวรรษท่ี 21 ทท่ี กุ คนจะต้องเรยี นรู้ตลอดชีวิต คอื การเรยี นรู้ 3R x 7C 3R คอื Reading (อา่ นออก), (W)Riting (เขยี นได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น) 7C ได้แก่ - Critical Thinking and Problem Solving (ทกั ษะดา้ นการคิดอยา่ งมวี ิจารณญาณ และทักษะใน การแก้ปัญหา) - Creativity and Innovation (ทกั ษะดา้ นการสร้างสรรค์ และนวตั กรรม) - Cross-cultural Understanding (ทกั ษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน)์ - Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะดา้ นความรว่ มมือ การทำงานเปน็ ทีม และภาวะผนู้ ำ) - Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะดา้ นการสอ่ื สารสารสนเทศ และรเู้ ท่าทนั สื่อ) - Computing and ICT Literacy (ทกั ษะด้านคอมพวิ เตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สือ่ สาร) - Career and Learning Skills (ทกั ษะอาชพี และทกั ษะการเรยี นร)ู้ ภาพประกอบ แนวคิดสำคญั ในศตวรรษท่ี 21 ~4~

แนวคิดทกั ษะแหง่ อนาคตใหม่: การเรยี นรู้ในศตวรรษท่ี 21 และกรอบ แนวคดิ เพอื่ การเรยี นรู้ในศตวรรษท่ี 21 การเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจดั การเรยี นรู้ โดยรว่ มกันสรา้ ง รูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสรมิ สร้างประสทิ ธภิ าพของการจดั การเรียนรใู้ นศตวรรษท่ี 21 โดยเน้นทอ่ี งค์ ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกบั ตัวผเู้ รียน เพ่ือใชใ้ นการดำรงชีวิตในสงั คมแห่งความ เปล่ียนแปลงในปัจจบุ ัน โดยจะอา้ งถึงรูปแบบ (Model) ท่ีพัฒนามาจากเครอื ข่ายองค์กรความรว่ มมือเพอ่ื ทกั ษะ แหง่ การเรียนรูใ้ นศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ท่ีมีชื่อย่อว่า เครอื ข่าย P21 ซ่ึงไดพ้ ัฒนากรอบแนวคดิ เพอ่ื การเรียนรใู้ นศตวรรษท่ี 21 โดยผสมผสานองคค์ วามรู้ ทักษะเฉพาะ ด้าน ความชำนาญการและความรเู้ ท่าทนั ดา้ นต่างๆ เขา้ ดว้ ยกนั เพ่อื ความสำเร็จของผูเ้ รียนทั้งดา้ นการทำงานและ การดำเนินชวี ิต ภาพ กรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรใู้ นศตวรรษท่ี 21 (21st Century Learning Framework) (http://www.qlf.or.th/) ~5~

กรอบแนวคิดเชิงมโนทัศน์สำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นที่ยอมรับในการสร้างทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 (Model of 21st Century Outcomes and Support Systems) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่าง กว้างขวางเนื่องด้วยเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน (Student Outcomes) ทั้งในด้านความรู้ สาระวิชาหลัก (Core Subjects) และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะช่วยผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมใน หลากหลายด้าน รวมทั้งระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่มาตรฐานและการประเมิน หลักสูตรและการเยนการ ส อ น ก า ร พ ั ฒ น า ค ร ู ส ภ า พ แ ว ด ล ้ อ ม ท ี ่ เ ห ม า ะ ส ม ต ่ อ ก า ร เ ร ี ย น ใ น ศ ต ว ร ร ษ ท ี ่ 21 การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการ เรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning) ของนักเรียน ซง่ึ สง่ิ ทเี่ ป็นตวั ชว่ ยของครูในการจดั การเรียนรคู้ ือ ชุมชนการเรียนรู้ครู เพื่อศิษย์ (Professional Learning Communities : PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การทำหน้าท่ขี องครูแตล่ ะคนนั่นเอง ~6~

มาดทู กั ษะทสี่ ำคัญในการใชช้ ีวิตและทำงานในศตวรรษท่ี 21 ได้แก่ ทักษะการเรียนรแู้ ละนวตั กรรม ทักษะสารสนเทศ ส่ือ เทคโนโลยี ทกั ษะ ชีวติ และอาชพี 1. ทกั ษะการเรยี นรูแ้ ละนวตั กรรม • คิดสรา้ งสรรค์ • ใสใ่ จนวตั กรรม • มีวิจารณญาณ • แกป้ ญั หาเป็น • ส่อื สารดี • เตม็ ใจร่วมมือ ~7~

2. ทกั ษะสารสนเทศ สอื่ เทคโนโลยี • อัพเดตทุกขอ้ มูลขา่ วสาร • รเู้ ทา่ ทนั สือ่ • รอบรเู้ ทคโนโลยสี ารสนเทศ • ฉลาดสือ่ สาร ~8~

3. ทกั ษะชีวิตและอาชพี เรยี นรวู้ ัฒนธรรม มคี วามเปน็ ผู้นำ • มคี วามยืดหยุน่ รบั ผดิ ชอบหนา้ ท่ี • รูจ้ กั ปรับตวั พัฒนาอาชพี • รเิ ริ่มสงิ่ ใหม่ หมน่ั หาความรู้รอบดา้ น • ใสใ่ จดแู ลตวั เอง • ร้จู ักเขา้ สงั คม ~9~

ทักษะการเรยี นรู้และนวตั กรรม ทักษะการเรียนรู้และนวตั กรรม สำหรบั การเรียนรแู้ ห่งศตวรรษท่ี 21 ทกั ษะด้านนี้จุดเนน้ อยู่บนพ้นื ฐานแห่งการสร้างสรรค์ การคิดแบบมีวิจารณญาณ การสอ่ื สาร และการมี สว่ นรว่ มในการทำงาน ดงั รายละเอียดตอ่ ไปน้ี 1) ความคิดสรา้ งสรรค์และนวัตกรรม (Creatively and Innovation) ประกอบด้วย 1.1) การคิดสร้างสรรค์ (Think Creativity) โดย (1) ใช้เทคนิคของการสร้างสรรค์ทางความคดิ ที่เปิดกว้าง เช่น การระดมสมอง (2) สร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่และเสริมสร้างคุณค่าทางความคิดและสติปัญญา และ (3) มี ความละเอียดรอบคอบต่อการคิดวิเคราะห์และประเมนิ แนวความคิด เพ่อื นำไปสกู่ ารปรับปรุงและพฒั นางานใน เชิงสรา้ งสรรค์ 1.2) การทำงานร่วมกับผูอ้ ืน่ ได้อยา่ งสร้างสรรค์ (Work Creativity with Others) โดย (1) มุ่งพัฒนา เน้น ปฏิบัติและสื่อสารแนวคิดใหม่ๆไปสู่ผู้อื่นได้อย่างมีประสทิ ธิภาพ (2) เปิดใจกว้างและยอมรับในมมุ มองหรอื โลก ทัศน์ใหม่ๆที่ส่งผลต่อระบบการทำงาน (3) เป็นผู้นำในการสร้างสรรค์งาน รวมทั้งมีความรู้และเข้าใจใน สภาพการณ์ซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริงหรือเป็นข้อจำกัด โดยพร้อมที่จะยอมรับความคิดหรือสภาพการณ์ใหม่ๆท่ี เกิดขน้ึ น้ันได้ (4) สามารถสร้างวิกฤตใิ หเ้ ปน็ โอกาสส่งผลต่อการเรยี นรู้ และเขา้ ใจถงึ วธิ ีการสร้างสรรค์นวัตกรรม ท่ีต้องใชเ้ วลาและสามารถนำเอาข้อผิดพลาดมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางานได้อยา่ งตอ่ เน่อื ง 1.3) การนำเอานวัตกรรมมาสู่การปฏิบัติ (Implement Innovations) โดยปฏิบัติเชิงสร้างสรรค์ให้เกิด คณุ ประโยชนต์ ่อการปรบั ใช้และพัฒนาจากผลแหง่ นวัตกรรมที่นำมาใช้ 2) การคิดเชงิ วพิ ากษแ์ ละการแกไ้ ขปญั หา (Critical Thinking and Problem Solving) ประกอบด้วย 2.1) การใช้เหตุผลอย่างมีประสทิ ธิภาพ (Reason Effectively) เป็นการให้เหตุผลท่ีชัดเจนในเรื่องใดเรื่อง หนึ่ง ทั้งเหตุผลในเชิงนิรนัย (Inductive) และเหตุผลเชิงอุปนัย (Deductive) ได้เหมาะสมตามสถานการณ์ ตา่ งๆทเ่ี กิดขนึ้ 2.2) การใช้วิธีคิดเชิงระบบ (Use Systems Thinking) สามารถคิดวิเคราะห์จากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ไดอ้ ยา่ งเปน็ องคร์ วมทง้ั หมดและเปน็ ระบบครบวงจรในวธิ ีคดิ หรอื กระบวนการคิดนนั้ ~ 10 ~

2.3) ประสิทธิภาพในการตัดสินใจ (Make Judgments and Decisions) โดย (1) สร้างประสิทธิภาพใน การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ เพื่อสร้างการยอมรับและความน่าเชื่อถือ (2) สามารถวิเคราะห์และ ประเมินในเชิงทัศนะได้อย่างต่อเนื่อง (3) สังเคราะห์และเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลรวมทั้งบทสรุปที่เกิดขึ้น (4) ตีความหมายและใหข้ ้อสรุปท่ีตัง้ บนฐานแห่งการวิเคราะหท์ ี่มีความน่าเช่ือถอื มากทีส่ ุด (5) สะท้อนผลไดอ้ ย่างมี วิจารญาณ บนพ้นื ฐานแหง่ ประสบการและกระบวนการเรียนรู้ 2.4) การแก้ไขปัญหา (Solve Problems) โดย (1) แก้ไขปัญหาที่มีความแตกต่างได้ทั้งปัญหาซ้ำซากและ ปัญหาทีอ่ บุ ตั ขิ ึ้นใหมใ่ นหลากหลายเทคนิควิธีการ (2) สามารถกำหนดเป็นประเดน็ คำถามสำคญั ท่ีจะนำไปสร้าง เป็นจดุ เนน้ ในการแกไ้ ขปัญหาตามสถานการณ์ที่เหมาะสมและดีท่ีสุด 3) การสอ่ื สารและการมีส่วนรว่ ม (Communication and Collaboration) ประกอบดว้ ย 3.1) การสื่อสารได้ชัดเจนมีประสทิ ธิภาพ (Communication Clearly) โดย (1) สร้างความถูกต้องชัดเจน ในการสื่อความหมายทั้งการพูด การเขียน หรือการใช้ทักษะอ่ืนๆในทางอวัจนภาษา (Non-verbal) ในรูปแบบ ต่างๆ (2) มีประสิทธิภาพทางการรับฟังที่สามารถสร้างทักษะสำหรับการถอดรหัสความหมาย การสรุปเป็น ความรู้ สร้างคุณค่า ทัศนคติ และเกิดความสนใจใฝ่รู้ (3) ใช้การสื่อสารในการกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะทัง้ การ รายงาน การสอน การสร้างแรงจูงใจ (4) ใช้สื่อเทคโนโลยีหลากหลายและรู้วิธีการใชส้ ือ่ ได้อย่างมปี ระสิทธภิ าพ และ (5) ส่อื สารได้อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพทา่ มกลางสภาพแวดลอ้ มหรือบรบิ ทที่ต่างกัน 3.2) การทำงานร่วมกับผอู้ น่ื (Collaborate with Others) โดย (1) มคี วามสามารถในการเป็นผู้นำในการ ทำงานและเกิดการยอมรับในทมี งาน (2) มกี ิจกรรมการทำงานท่สี ร้างความรับผดิ ชอบและก่อให้เกดิ ความสุขใน การท างานเพอื่ ให้บรรลผุ ลตามท่มี ุง่ หวัง (3) สรา้ งการมีสว่ นรว่ มในความรบั ผดิ ชอบในภารกิจงาน และแต่ละคน มองเห็นคุณคา่ ของการทำงานเป็นหมคู่ ณะ อา้ งอิง http://www.vcharkarn.com/varticle/60454 http://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/new-gen/262/ http://www.qlf.or.th/home/Contents/417 http://www.srn2.go.th/attachments/article/145 www.p21.org หนังสือรวมมิตร คดิ เรื่องการเรียนรู้ โดยสำนักงานอทุ ยานการเรยี นรู้ สบร. ~ 11 ~

จัดทำโดย ทีป่ รกึ ษา : นายสุรัติ วิภกั ดิ์ ผ้อู ำนวยการ สำนักงาน กศน. จังหวดั ร้อยเอด็ นายสัญญา ยุบลชติ รองผอู้ ำนวยการ สำนักงาน กศน. จงั หวดั รอ้ ยเอด็ เรียบเรียง/พมิ พ์ : นายสภุ ทั รศกั ดิ์ คำสามารถ นักวชิ าการศกึ ษา ~ 12 ~


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook