ชุมชนต้นแบบ เศรษฐกิจพอเพียง จัดทำโดย นางสาว พิมพ์ดารินทร์ ยศศักดิ์ รหัสประจำตัวนักศึกษา 6440304117 เสนอ ผ ศ . ดร . กนกพร ฉิมพรี นักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษย์ศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คำนำ ก รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนา ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้ได้ ศึกษาหาความรู้ในเรื่องชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงและได้ ศึกษาอย่างเข้าใจ เพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หาก มีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้
สารบัญ ข เรื่อง หน้า คำนำ ก ข สารบัญ 1 1 ข้อมูลทั่วไปของชุมชน 2 3 คำขวัญ 4 ความเป็นมา 5 ประชากร 6 สภาพเศรษฐกิจ 7 สภาพภูมิศาสตร์ 11 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่นำไปสู่การเป็นชุมชนต้นแบบ เศรษฐกิจพอเพียง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชน บทสรุป 12 13 บรรณานุกรม
ข้อมูลทั่วไปของชุมชน 1 ชื่อหมู่บ้าน บ้านคลองหัวช้าง หมู่ที่ 10 ตำบล คลองเรือ อำเภอ วิหารแดง จังหวัด สระบุรี คำขวัญ เจดีย์พระคุณแม่ ธรรมชาติแท้ท่องไพร อ่างใหญ่ซับปลากั้ง อุโมงค์ทางรถไฟ บึงใหญ่หนองโพธิ์ ไข่โตส้มหวาน
ความเป็นมา 2 บ้านคลองหัวช้าง เดิมขึ้นอยู่กับบ้านยางคู่ หมู่ที่ 5 ตำบลคลองเรือ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี คนส่วนใหญ่เรียกหมู่บ้านเขาวิหาร ตามชื่อของ สำนักสงฆ์เขาวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช 2536 ได้ แยกหมู่บ้านออกมา และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า หมู่บ้าน คลองหัวช้าง ซึ่งได้ตั้งชื่อตามผู้เฒ่าผู้แก่ของ หมู่บ้านที่บอกเล่า สืบทอดต่อ ๆ กันมาว่า ในสมัย ก่อนพื้นที่หมู่บ้านอุดมสมบูรณ์มาก และมีลำคลอง ต้นน้ำไหลจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ตลอดหมู่บ้าน ลำคลองดังกล่าวจะมีช้างลงมากินน้ำเป็นประจำ และต่อมามีคนไปหาปลาได้พบหัวกะโหลกของช้าง ในลำคลอง จึงได้เรียกลำคลองนั้นว่า คลองหัวช้าง ซึ่งชื่อหมู่บ้านก็ได้ตั้งชื่อตามลำคลอง ได้มีการคัดเลือกผู้นำหมู่บ้านคลองหัวช้าง คน แรกคือ นายสังวาลย์ คชประเสริฐ เป็นผู้ใหญ่ บ้าน ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ตั้งแต่ พ.ศ.2536 จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ หมู่ ที่ 10 ตำบลคลองเรือ อำเภอวิหารแดง จังหวัด สระบุรี
3 บ้านคลองหัวช้าง มีจำนวนประชากรอาศัย อยู่ทั้งหมด 169 ครัวเรือน จำนวนประชากร แยกเป็น ชาย 264 คน หญิง 275 คน รวมทั้งสิ้น 539 คน
4 ประชาชนในชุมชนบ้านคลองหัวช้างส่วนใน มักจะประกอบอาชีพต่างๆ ได้แก่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผักสวน ทำสวนปลูกผลไม้ ครัว
5 ลักษณะพื้นที่ของตําบลคลองเรือ โดยทั่วไปเป็น ที่ราบค่อนข้างเรียบถึงลูกคลื่ นลอนตอนบนทิศ ตะวันออกของตำบลจดเทือกเขาป่าสงวนแห่งชาติ ป่ามวกเหล็กและป่าทับกวาง แปลงสอง มีแหล่งนํ้า ที่สำคัญได้แก่ คลองห้วยกรวดและคลองหัวช้าง ไหลมาบรรจบกันเป็นคลองวิหารแดงในเขตหมู่ที่ ๙ โดยไหลจากทิศตะวันออกลงทิศตะวันตกของตำบล ������ภาพพื้นที่โดยทั่วไปจึงเหมาะสำหรับการเกษตรและ ปศุสัตว์
ทรัพยากรธรรมชาติและ 6 สิ่งแวดล้อม แหล่งนํ้าและการชลประทาน แหล่งนํ้าธรรมชาติ ที่สำคัญ มีจำนวน 1 แห่ง -อ่างเก็บนํ้าเขาแก้ว หมู่ที่ ๔ ตาบลคลองเรือ -แหล่งนํ้าขนาดเล็ก -ฝายจำนวน 17 แห่ง - บ่อนํ้าตื้น มีขอบบ่อทุกครัวเรือน - บ่อโยก จำนวน 34 แห่ง
7 ในอดีตชาวบ้านในพื้นที่มีอาชีพปลูก อ้อย พันธ์มะลิช้างที่ปลูกไว้รับ ประทานแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเวลานำไปขายต้องใช้เวลาปอก และควั่น ต่อมาหันมาปลูกเห็ดฟาง ก็ไม่ประสบความสำเร็จเพราะในพื้นที่ การทำนายังใช้สารเคมีเยอะมาก ส่ง ผลต่อฟาง
8 จากนั้นทางกอ.รมน.ได้เข้ามาส่งเสริมการปลูก สะเดามันยอดแดง เป็นสะเดาทวาย ที่มีรสชาติ อร่อยเป็นที่ต้องการของตลาด นอกการปลูกสะเดา แล้วยังมีการปลูกพืช ผัก ชนิดอื่นด้วย เป็นการ ปลูกพืชแบบผสมผสาน เปลี่ยนจากการปลูกพืช เชิงเดี่ยวเป็นการปลูกแบบผสมผสาน ตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียง นอกจาการปลูกพืชผัก แล้ว ยัง มีการสนับสนุนให้มีการปลูกเห็ดนางฟ้าและเห็ด ขอนด้วยก้อนเชื้อที่ผลิตเองและยังผลิตก้อนเชื้อ เห็ดนางฟ้า และเห็ดขอน เพื่อจำหน่าย เห็ดที่เพาะ สามารถเก็บผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
9 เวลาว่างจากการเก็บผลผลิตทางการเกษตร ทาง กลุ่มยังมีการประดิษฐ์พรมเช็ดเท้าเป็นอาชีพเสริม ทำให้ชุมชนมีรายได้จากหลายทาง ทั้งอาชีพหลังและ อาชีพเสริม ซึ่งเป็นไปคามหลีกปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียง ทำให้เราพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนั้นยังมีการ เลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ และกบ เรียนว่าครบวงจร เป็น ชุมชนที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ แม้ในภาวะที่โควิด ระบาดในระลอกใหม่ ประชาชนหลายคนประสบปัญหา การตกงาน แต่คนในชุมชนบ้านคลองหัวช้างทุกคนไม่ ได้รับผลกระทบ เพราะการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอ เพียงมาใช้”
10 “นอกจากการถ่ายทอดความรู้ให้คนในชุมชน แล้ว ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้าน คลองหัวช้าง ยังเปิดให้ประชาชน และกลุ่ม นักเรียน นักศึกษา ผู้สนใจได้เข้ามาศึกษา เรียนรู้ ดูงาน ทางศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียง บ้านคลองหัวช้างยังเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้เรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียงของ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นักเรียน นายร้อยพระจุลจอมเกล้าเข้ามาศึกษาเรียนรู้ เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจ ที่ศูนย์ทุกปี”
11 หลังจากทาง กอ.รมน.ได้เข้ามาสนับสนุนในเรื่องนี้ และให้ทางวิทยากรในพื้นที่ ที่เป็นปราชญ์เข้ามาสอน เรื่องการปลูกสะเดาและสนับสนุนกิ่งพันธ์ สามารถ เก็บขายสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน บางบ้านมีราย ได้เป็นล้านบาทต่อปี บางบ้านได้หลักหมื่น หลักแสน ขึ้นอยู่กับเนื้อที่ที่ปลูก ในปัจจุบันปรับมาใช้หลัก เศรษฐกิจพอเพียง ตอนเช้าเก็บพัก ตอนสายทำเห็ด ตอนเย็นทำพรมเช็ดเท้า สร้างรายได้ทุกทาง มีรายได้ ไม่ขาดมือ ช่วงโควิด ระบาด ทางชุมชนก็ไม่ได้รับผลก ระทบ ถ้าเกิดเหตุการณ์ถูกตัดขาดจากภายนอก ประชาชนในชุมชนก็ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะ ที่ชุมชนมีความมั่นคงทางอาหาร
12 ในพื้นที่ ต.คลองเรือ เกษตรกรรม ปลูกสะเดามันยอดแดง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้สู้ชุมชน นับล้านบาท ต่อปี โดยการสนับสนุนจาก กอ.รมน.จังหวัดสระบุรี เข้ามา ส่งเสริมองค์ความรู้ และสนับสนุนในการจัดหาปัจจัยที่ช่วย ส่งเสริมการปลูกสะเดา ทางกอ.รมน. จ.สระบุรีได้ บรูณาการ การให้ความรู้ร่วมกับปราชญ์เพื่อความมั่นคง จังหวัดสระบุรี สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย มีความร่วมมือกันในการ ฝึกอบรมให้ความรู้กับ ประชาชนในพื้นที่ ให้เข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำมาใช้ในการดำรงชีวิตได้ และมีความสุข สร้าง งาน สร้างอาชีพและสร้างรายได้ ในสภาวะการแพร่ระบาด ของโควิด รอบใหม่ ชาวบ้านในชุมชนไม่ได้รับผลกระทบและ ยังสามารถพึ่งพาตนเองได้
13 https://siamrath.co.th/n/214839 http://www.klongrua.go.th/fileupl oad/8651704262.pdf
Search
Read the Text Version
- 1 - 16
Pages: