Group Translation EN2204-152 THAI-ENGLISH TRANSLATION DEPARTMENT OF ENGLISH FACULTY OF LIBERAL ARTS AND SOCIENCES FATONI UNIVERSITY
คำนำ ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปราณีเสมอ มวลการสรรเสริญของพระองค์อัลลอฮฺและการสรรเสริญความ สันติจงมี แด่ท่านศาสนทูตมูฮัมมัด (ซ.ล. ) และบรรดาวงศ์วาน ของท่านสหายของท่าน และบรรดาผู้ที่เจริญตามแนวทางของ ท่าน ขอซูโกร (ขอบคุณ) ต่ออัลลอฮ (ซ.ล.) องค์พระผู้อภิบาลที่ ทรงบันดาลหรือช่วยเหลือให้งานการแปล 3 บทความในครั้งนี้ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ร า ย ง า น เ ล่ ม นี้ เ ป็ น ส่ว น ห นึ่ ง ข อ ง ร า ย วิช า ก า ร แ ป ล ไ ท ย - อั ง ก ฤ ษ [EN2204-152] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ อศึกษาและวิเคราะห์งาน แปลที่อาจารย์ได้มอบหมายให้และรวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และเพื่ อนำมาปรับใช้กับบทแปลของกลุ่มดิฉัน และรายงานเล่มนี้ ประกอบไปด้วย ความหมายของการแปล กลวิธีในการแปล รวม ถึงปัญหากับวิธีการแก้ปัญหาในงานการแปลในครั้งนี้ กลุ่มดิฉันหวังว่ารายงานการแปลฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็น ประโยชน์แก่ผู้อ่าน หรือผู้ที่สนใจในงานการแปลไม่มากก็น้อย สุดท้ายนี้หากรายงานเล่มนี้มีความผิดพลาดประการใดขออภัย ณ ที่นี้ด้วย จัดทำโดย พาตีเม๊าะ มะลีเย๊าะ และสมาชิกในกลุ่ม
สารบัญ หน้า เรื่อง 1. ความหมายของการแปล 1 2. กลวิธีในการแปล 2 3 2.1. การแปลแบบตามตัว 4 2.2. การแปลแบบเอาความ 5 2.3. การแปลแบบตีความ 6 3. ปัญหาและวิธีการแก้ในการแปล 7 3.1. การแปลระดับคำ 8 3.2. การแปลระดับประโยค
ความหมายของการแปล พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความ หมายของคำว่า “แปล” ซึ่งเป็นคำกริยาไว้ 2 ความหมาย ดังนี้ 1) ถ่ายทอดความหมาย จากภาษาหนึ่ง มาเป็นอีกภาษาหนึ่ง 2) ทำให้เข้าใจความหมาย นักปราชญ์ด้านการแปลต่างๆ ได้ให้ความหมายของการแปลไว้ ดังนี้ จอห์น วายคลิฟ (John Wycliffe) กล่าวว่า การแปล คือ การแปล ประโยคให้ได้ความ ชัดเจนโดยใช้ภาษาของคนสามัญ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) กล่าวว่า การแปล คือ การ สามารถถ่ายทอดวิญญาณต้นฉบับ โดยสามารถทำให้สามัญชน เข้าใจได้ ยูจีน ไนดา (Eugene A. Nida) ผู้เชี่ยวชาญทฤษฎีการแปลชาว อเมริกัน กล่าวว่า การแปล คือ การถ่ายทอดความหมายของ ข้อความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยรักษารูปแบบของ ข้อความไว้ได้ตรงตามต้นฉบับ สรุป การแปล (Translation) คือ การถ่ายทอดความ หมายจากภาษาต้นฉบับไปเป็นอีกภาษาหนึ่งและให้ความ หมายเท่ากัน หรือใกล้เคียงกับภาษาต้นฉบับมากที่สุด 1
กลวิธีในการแปล 2
กลวิธีในการแปล การแปลแบบตรงตัว คือการแปลที่ผู้แปลต้องพยายามรักษารูปแบบของการ ถ่ายทอดความหมายให้เหมือนกับต้นฉบับมากที่สุด รูปแบบที่ว่า นี้หมายถึง คำ วิธีในการเรียงคำในประโยค และรวมไปถึงการใช้ เครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ ด้วย ตัวอย่าง บล็อคโคลี อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและไฟเบอร์สูงที่ ช่วยในการขับถ่าย \" Broccoli is rich in antioxidant and fiber that helps in excretion.\" 3
กลวิธีในการแปล การแปลแบบเอาความ คือการแปลโดยไม่เน้นรูปแบบเดิมของต้นฉบับ แต่ มุ่งเน้นด้านของความหมายและความเข้าใจมากกว่า โดย ใช้วิธีการจับความหมายหรือใจความของต้นฉบับก่อน แล้วจึงถ่ายทอดเนื้อหาสาระสำคัญจากภาษาต้นฉบับไปสู่ ภาษาปลายทางอย่างครบถ้วน ตัวอย่าง ผมยาวสลวย \" It is simple to keep sleek hair.\" ข้าวไม่ขัดขาว \" Brown Rice\" 4
กลวิธีในการแปล การแปลแบบตีความ คือการแปลงหรือเรียบเรียง “ความ” ที่ได้อ่าน จาก “คำ เดิม สำนวนเดิมหรือภาษาเดิม” ให้กลายเป็น “คำใหม่ สำนวนใหม่หรือภาษาใหม่” ซึ่งเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยที่ยังคง รักษาความหมายของเนื้อหาไว้ได้อย่างครบถ้วน ตัวอย่าง ต้นฉบับ “อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย แม้นเจ็บอื่ นหมื่ นแสนจะแคลนคลาย เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ” ฉบับแปล \" Sugar cane's sweetness is temporary, But sweet talk will remind us to remember. Although ten thousand pains are just momentary, Indignation will last forever. \" 5
ปัญหาและ วิธีการแก้ในการแปล 6
ปัญหาและวิธีการแก้ การแปลระดับคำ การแปลคำว่า “ความยืดหยุ่น” Elasticity & Pliability สองคำนี้มีความ หมายความยืดหยุ่นเหมือนกัน ผู้แปลจึงใช้กลวิธี การค้นหาในCambridge dictionary “Elasticity” มีความหมายตรงกับบริบท ผู้แปลจึงเลือกใช้คำนี้ การแปลคำว่า “ไฟเบอร์สูง” เดิมทีผู้แปล แปลคำว่า ไฟเบอร์สูงเป็น high in fiber จะเป็นการแปลตามตัว แข็งทื่อ มีความตามตัวเกินไป ฉะนั้นผู้แปลจึงแก้ปัญหานี้โดย เอาบทความมาแปลโดยไม่ เน้นรูปแบบโครงสร้าง เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เป็น rich in fiber 7
ปัญหาและวิธีการแก้ การแปลระดับประโยค การแปลประโยค \"รับประทานแล้วยังอิ่มนาน\" การแปลระดับประโยคจะแตกต่างจากการแปล ระดับคำและวลี เพราะการแปลระดับประโยคจะยากขึ้น มาอีกระดับหนึ่ง เนื่องจากผู้แปลขาดประสบการณ์ และยังขาดความเข้าใจของโครงสร้างทางภาษาปลาย ทาง ทำให้ผู้แปลไม่สามารถถ่ายทอดความหมายทั้ง โครงสร้างของภาษาปลายทางและความหมายโดย รวมของประโยค ผู้แปลจึงเลือกที่จะค้นหาประโยค ของ ดราฟแรกในกูเกิ้ล ทำให้เจอกับคำว่า filling และ หลังจากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับคำดังกล่าวแล้ว ผู้แปลจึง ตัดใจใช้คำว่า filling ในบริบทนี้ First draft -It can make you feel full for long time Final Draft -It is very filling. 8
Submitted to Aj. Wilaiwan Ka-j Group members Nasuhal A-Sae 612424015 Pateemoh Maleeyoh 612424026 Aisah Samaae 612424049 Tasnim Kaema 612424062 Hasmin Nahim 612424063 Section 04
Search
Read the Text Version
- 1 - 13
Pages: