DBD ห น้ า Accounting 2 e-Magazine ฉบับที่ 113 ประจำเดือนสิงหาคม 2564 ข่ า ว ป ร ะ ช า สั ม พั น ธ์ ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาตรการช่วยเหลือค่าบริการการจดทะเบียนนิติบุคคล 4 บทความ ห น้ า มาตรการภาษีบรรเทาผลกระทบจากโรคโควิด 19 5 8 Q& A 13 รวมคำถาม-คำตอบคลินิกบัญชี (ตอนที่ 2) รอบรู้มุมต่างประเทศ 5 เคสทุจริตอื้อฉาวที่สุดในปี 2020 www.dbd.go.th 1570 DBD Public Relations
ร่าง พ.ร.บ.ป้ องกัน ประชาสัมพนั ธ์ และปราบปรามการฟอกเงิน (เกย่ี วข้องกับนติ ิบคุ คลท่ีใหบ้ รกิ าร ด้านการทำบัญชหี รือด้านการสอบบญั ชี) สำนักงาน ปปง. ได้จัดทำร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน (ฉบับท่ี..) พ.ศ. ....แล้วเสร็จและอยู่ระหว่างรอมติ ครม. อนุมัติ ซ่ึงมีสาระสำคัญท่ีเกี่ยวข้องกับนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการ ให้บริการด้านการทำบัญชีหรือด้านการสอบบัญชี ตามมาตรา 11 แห่ง พระราชบัญญตั วิ ิชาชพี บญั ชี พ.ศ. 2547 โดยสรปุ ได้ ดงั นี้ กำหนดให้ “ผู้ประกอบอาชีพ” ท่ีเป็นนิติบุคคล ซ่ึง ประกอบอาชีพผู้ทำบญั ชีตามกฎหมายว่าดว้ ยการบญั ชีหรือผสู้ อบ บัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี เป็นผู้รายงาน “ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย” ท่ีมีเหตุอันควรเช่ือไดว้ ่ากระทาํ ขึ้น เพ่ือหลีกเลี่ยงมิให้ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือธุรกรรมที่เกี่ยวขอ้ งหรืออาจเก่ียวข้องกับการกระทําความผิด มูลฐานหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ท้ังนี้ไม่ ว่าจะเป็นการทําธุรกรรมเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง และให้ หมายความรวมถงึ การพยายามกระทาํ ธรุ กรรมดงั กล่าวด้วย อา่ น ร่าง พ.ร.บ. ฉบับน้ีไดท้ ี่ https://bit.ly/3hd7can หรอื สแกน QR code
โดยนิตบิ คุ คลทีใ่ ห้บรกิ ารด้านการทำบัญชหี รอื ด้านการสอบบญั ชี จะตอ้ ง ดำเนินการให้เปน็ ไปตาม ร่าง พระราชบญั ญัติ ปปง. ดังกล่าว โดยมีหน้าท่ีในการ รายงาน ดังน้ี (1) การจดั ให้ลกู คา้ แสดงตน . (2) การตรวจสอบเพ่ือทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Customer Due Diligent: CDD) ต้องมีการตรวจสอบลูกค้าว่ามีรายชื่อเป็นบุคคลที่ถูกกำหนด ในรายชื่อของ สหประชาชาติหรือสำนักงาน ปปง. หรือไม่ (UN Sanction list หรือ Thailand Sanction list) โดยมีแนวทางในการดำเนนิ การ ดงั น้ี 2.1 การจัดทำนโยบายและแนวปฏบิ ตั ดิ า้ นกฎหมายฟอกเงนิ 2.2 การประเมินความเส่ียงภายในองคก์ ร 2.3 การประเมนิ และบริหารความเสีย่ งของลกู คา้ 2.4 การควบคมุ ภายในและนโยบายสำหรบั สาขาหรือบริษทั ในเครอื (3) รายงานธรุ กรรมทมี่ เี หตอุ ันควรสงสัย (4) เก็บรักษาข้อมูล (5) การปฏิบัติตามกฎหมาย CTPF (กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม . การสนับสนุนทางการเงินแก่การกอ่ การร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้าง . สูง (Anti-Money Laundering and Counter-Terrorism and Proliferation of Weapon of Mass Destruction Financing: AML/CTPF)) นติ ิบุคคลใดท่ีไมป่ ฏิบตั ิตาม พรบ.น้ี จะตอ้ งได้รับโทษ ดังนี้ 3.1 มีโทษปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 1 หมื่นบาท ตลอดระยะเวลาทีฝ่ ่าฝนื หรือจนกว่าจะปฏบิ ตั ใิ หถ้ กู ต้อง 3.2 ผู้ใดรายงาน แจ้ง หรือให้ข้อมูล โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงที่ต้องแจ้ง มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมนื่ บาท หรอื ทงั้ จำท้ังปรับ ส า ม า ร ถ ติ ด ต า ม หากท่านมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ. ค ว า ม คื บ ห น้ า ไ ด้ ท่ี ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงนิ (เก่ียวข้องกับนิติ เว็บไซต์สภาวิชาชพี บญั ชี บุคคลที่ให้บริการด้านการทำบัญชีหรือด้านการสอบ บัญชี) สามารถให้ข้อมูลแก่สภาวิชาชีพบัญชี ใน www.tfac.or.th พ ร ะ บ ร ม ร า ชู ป ถั ม ภ์ โ ด ย ส แ ก น QR code *เปิดรบั คำถามถงึ วนั ท่ี 25 กนั ยายน 2564*
ขา่ วดีสาหรบั นิติบคุ คลใหม่ !
มาตรการภาษี บรรเทาผลกระทบ จากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของ COVID-19 กรมสรรพากรออกมาตรการภาษีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ ระบาดฃของ COVID-19 ให้แก่ผู้มีหน้าทเ่ี สียภาษเี งินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงนิ ได้นติ บิ ุคคล ท่ยี ืน่ แบบผ่านทางอินเทอร์เนต็ โดยมีรายละเอยี ดดังต่อไปน้ี ขยายเวลายืน่ แบบฯ ประเภทภาษี กำหนดการยน่ื แบบฯ กรณยี น่ื แบบฯ ทาง อนิ เทอรเ์ น็ตขยายเวลาถงึ ... ภาษีเงินไดบ้ ุคคลธรรมดา ภายใน ภายใน คร่งึ ปี (ภ.ง.ด. 94) วนั ที่ 30 กนั ยายน 2564 วันท่ี 30 ธันวาคม 2564 ภาษเี งนิ ไดน้ ิตบิ คุ คลครง่ึ รอบ ภายใน ภายใน ระยะเวลาบญั ชีปี 2564 วันท่ี 23 กนั ยายน 2564 (ภ.ง.ด.51) วันท่ี 3 สิงหาคม 2564 ถึงวันท่ี 22 กันยายน 2564 ภาษเี งินได้นติ บิ คุ คลรอบระยะเวลา ภายใน ภายใน บญั ชีปี 2563 (ภ.ง.ด.50,52,55) วันที่ 3 สงิ หาคม 2564 วนั ท่ี 23 กนั ยายน 2564 งบการเงนิ และ Disclosure ถึงวันท่ี 22 กนั ยายน 2564 Form
มาตรการภาษบี รรเทาผลกระทบ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ขยายเวลาย่นื แบบฯ ประเภทภาษี กำหนดการยนื่ แบบฯ เดอื นภาษี กรณยี ่นื แบบฯ ทาง อินเทอรเ์ นต็ ขยาย ภาษเี งนิ ไดห้ กั ณ ท่จี ่าย ภายใน วนั ที่ 7 ของ เดอื นสงิ หาคม 2564 (ภ.ง.ด.1,2,3,53,54) เดอื นถัดไป เวลาถึง... ภาษีมูลคา่ เพิ่ม (ภ.พ.36) ภายใน วนั ท่ี 7 ของ เดอื นสงิ หาคม 2564 วันที่ 30 กันยายน เดอื นถัดไป 2564 ภาษีมูลคา่ เพ่ิม (ภ.พ. 30) ภายใน วันท่ี 15 ของ เดือนสิงหาคม 2564 วันท่ี 30 กันยายน เดอื นถัดไป 2564 ภาษีธรุ กจิ เฉพาะ ภายใน วนั ที่ 15 ของ เดือนสิงหาคม 2564 วันที่ 30 กนั ยายน (ภ.ธ.40) เดอื นถดั ไป 2564 วันที่ 30 กนั ยายน 2564 คง VAT 7%ข่าวดสี ำหรับผูป้ ระกอบการ ขยายเวลาต่ออีก 2 ปี ถึง 30 ก.ย. 2566 ➢ มตคิ ณะรฐั มนตรตี อ่ อายุลดอตั ราภาษี จากร้อยละ 10 เปน็ รอ้ ยละ 7
มาตรการภาษีบรรเทาผลกระทบ จากสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของ COVID-19 ลดเบ้ยี ปรบั กรณยี ื่นแบบฯ เกินกำหนดเวลา และกรณียื่นแบบฯ ผิดพลาด งดเบีย้ ปรับ เมอื่ ชำระภาษีและเงินเพ่ิมครบถ้วน ลดเบี้ยปรับ คงเรยี กเก็บในอัตรา 2% เมอื่ ชำระภาษี พรอ้ มกบั การยน่ื แบบฯ ไว้ไม่นอ้ ยกวา่ 25% ของภาษีทตี่ ้องชำระ รองรับสำหรับการย่ืนแบบฯ ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ ท่ีต้องยื่นภายในเดือน กันยายนถึงธันวาคม 2564 และได้ยื่นแบบฯ ภายใน 3 เดือน นับแต่พ้นกำหนดเวลาการย่ืนแบบฯ ทไี่ ดข้ ยายเวลา ลดค่าปรับอาญา กรณเี ปรียบเทียบปรับอาญา ไม่เกนิ 2,000 บาท เรยี กเก็บ 1 บาท กรณเี ปรยี บเทยี บปรบั อาญา ไมเ่ กนิ 5,000 บาท เรยี กเกบ็ 2 บาท สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ผ่านระบบเครอื ข่ายอนิ เทอรเ์ น็ต โดยสแกน QR code ทม่ี าของข้อมลู : กรมสรรพากร เว็บไซต์ www.rd.go.th
คลนิ กิ บัญชี (ตอนท่ี 2) จาก DBD Accounting ฉบับท่ีแล้ว (ฉบับท่ี 112) ได้นำประเด็นคำถาม-คำตอบ จากการเปิดให้บริการ คลินิคบัญชีผ่าน Line Official เกี่ยวกับด้านการบัญชีและภารกิจต่างๆ ของกองกำกับบัญชีธุรกิจมาแบ่งปันแก่ผู้ทำ บัญชี ผู้สอบบัญชีและประชาชนทั่วไปที่สนใจ ใน DBD Accounting ฉบับน้ี จะนำเสนอคำถาม-คำตอบจาก Line Official ทีเ่ ปน็ คำถามเกี่ยวกับงานผู้ทำบัญชคี วามรู้มาให้ทา่ นผอู้ ่านไดศ้ กึ ษาและนำไปปฏิบัติตอ่ ไป Q: ต้องการค้นหาสำนักงานบญั ชคี ณุ ภาพ สามารถค้นหาได้ท่ีเมนใู ด A: สามารถคน้ หาได้จากเว็บไซต์กรมพัฒนาธรุ กจิ การค้า www.dbd.go.th มีขนั้ ตอนดังน้ี 1. เขา้ สหู่ นา้ เวบ็ ไซต์กรมฯ ➢ เลอื กไปทเ่ี มนู “คู่มือทำธุรกจิ ” 2. เลอื กไปทเ่ี มนู “บญั ชแี ละธรรมาภิบาลธรุ กิจ” 3. เลือกเมนู “ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี” ซ่ึงจะมีเมนูย่อยเก่ียวกับรายชื่อสำนักงานบัญชีในแต่ละ จงั หวัด และรายช่อื สำนักงานบญั ชคี ุณภาพ Q: ลืมรหสั ผ่านเขา้ ระบบ e-Accountant และตอบคำถามชว่ ยจำผดิ ตอ้ งดำเนนิ การอย่างไร A: ผู้ทำบัญชีจะต้องไปติดต่อเจ้าหน้าท่ีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตพ้ืนท่ีใกล้บ้านเพื่อ ยืนยันตัวตนผู้ทำบัญชี โดยนำบัตรประชาชน (ฉบับจริง) เพื่อใช้ขอรหัสผ่านใหม่ ซึ่งไม่ สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอ่ืนดำเนินการแทนได้ แต่เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ผ้ทู ำบัญชสี ามารถยืนยันตัวตนได้โดยถ่ายรปู ตัวผทู้ ำบญั ชีคกู่ บั บัตรประชาชนฉบับจรงิ ส่งมาที่ e-mail:[email protected] เพอ่ื ให้เจ้าหนา้ ท่ีตรวจสอบข้อมูลและกำหนดรหสั ผา่ นให้ใหม่ Q: สามารถคน้ หาคมู่ ือการข้นึ ทะเบียนเป็นผ้ทู ำบัญชีได้ท่ีใด A: สามารถคน้ หาไดท้ ่เี ว็บไซต์ www.dbd.go.th เลอื กเมนู บรกิ ารออนไลน์ ➢ ผทู้ ำบัญชี (e-account) ➢ ระบบงานผูท้ ำบัญชี (e-Accountant) หรือเข้า Link eaccountant.dbd.go.th/e-accountant/login
คลนิ กิ บัญชี (ตอนท่ี 2) Q: ผ้ทู ำบญั ชีเปน็ พนักงานบริษทั A และได้ข้ึนทะเบยี นเปน็ ผทู้ ำบญั ชใี ห้กับบริษทั A สามารถ ข้นึ ทะเบยี นเปน็ ผ้ทู ำบญั ชีใหก้ ับนติ ิบคุ คล B ซง่ึ เป็นบริษัทในเครือของบริษทั A ได้หรือไม่ A: ผู้ทำบัญชีเป็นพนักงานของบริษัท A รับเงินเดือนจากบริษัท A ไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำ บญั ชีของบริษทั B ได้ แตผ่ ู้ทำบัญชีสามารถรับทำบัญชใี นฐานะผู้รบั จ้างทำบัญชอี ิสระของบรษิ ัท B ได้ โดยการเข้าไปท่ีระบบ e-Accountant เมนู เพิ่มฐานะท่ีรับทำธุรกิจ ➢ เพ่ิมฐานะอีกครั้ง ➢ เลือกฐานะ ผ้รู ับจ้างทำบัญชอี ิสระ ส่วนรายละเอียดของแต่ละบริษัทให้เพิ่มที่หัวข้อเปล่ียนแปลงการรับทำบัญชี เลือก ➢ เพิ่ม รายการ Q: ผู้ทำบัญชสี ามารถเปลยี่ นช่อื บรษิ ทั ที่รับทำบญั ชไี ดท้ ี่เมนใู ด A: สามารถแจ้งเปลี่ยนแปลงรายช่ือบริษัทที่รับบัญ ชีได้ที่ระบบงาน ผู้ทำบัญ ขี e-Accountant หลังจากดำเนินการแจ้งข้อมูลการรับทำบัญชีให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทราบแลว้ ผู้ทำบัญชจี ะมีสถานะเป็นผทู้ ำบญั ขีของบริษัทนน้ั Q: ได้ดำเนินการข้ึนทะเบียนเป็นผู้ทำบัญ ชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าผ่านระบบ e-Accountant แลว้ แตร่ ะบบแสดงสถานะวา่ ยงั ไมไ่ ดร้ บั อนมุ ัติ ตอ้ งดำเนินการอยา่ งไร A: เม่ือผทู้ ำบญั ชีได้ดำเนินการขน้ึ ทะเบียนในระบบ e-Accountant แล้ว ทางสภาวชิ าชีพจะทำ การตรวจสอบข้อมูลของผทู้ ำบัญชวี า่ มีคณุ สมบัตถิ กู ตอ้ งครบถว้ นในการเป็นสมาชกิ สภาวชิ าชีพ บญั ชีหรอื ไม่ ซึง่ ใชเ้ วลาในการตรวจสอบประมาณ 5 วนั ทำการ เม่ือสภาฯ อนุมตั ผิ ทู้ ำบญั ชเี ปน็ สมาชิกเรียบรอ้ ยแล้ว ผู้ทำบัญชจี ึงจะเข้าใช้งานในระบบ e-Accountant ได้
คลนิ กิ บัญชี (ตอนท่ี 2) Q: ผ้ทู ำบัญชีต้องการพมิ พห์ นังสอื รบั รองแจ้งการทำบญั ชีครัง้ แรกตอ้ งดำเนินการอย่างไร A: ให้เข้าระบบงานผู้ทำบัญชี e-Accountant ระบุ username และ password ของผู้ทำ บัญชี เม่ือเขา้ ส่รู ะบบแลว้ ให้เลือกเมนูดา้ นซ้ายมอื ➢ พมิ พ์แบบฟอรม์ ในกรณีท่ีแจ้งเป็นผู้ทำบัญชีครั้งแรก หลังจากท่ีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รับแจ้งเป็น ผู้ทำบัญชีแล้ว ทางสภาวิชาชีพบัญชีต้องทำการตรวจสอบข้อมูลผู้ทำบัญชีจากระบบงาน ผู้ทำบัญชี (e-Accountant) เพื่ออนุมัติเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีก่อน ซึ่งใช้เวลา ประมาณ 5 วันทำการ หลังจากท่ีได้รับอนุมัติแล้ว ผู้ทำบัญชีสามารถดำเนินการเข้าระบบ e-Accountant เพ่อื พิมพห์ นังสอื รับรองได้ Q: ในกรณีที่ผู้ทำบัญชีของนิติบุคคลเกษียณ และต้องการยืนยันผู้ทำบัญชีคนใหม่ ต้อง ดำเนนิ การอย่างไร A: ให้ผู้ทำบัญชีคนเก่าดำเนินการแจ้งยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชีของนิติบุคคลรายนั้นๆ ออก จากระบบงานผู้ทำบัญชี (e-Accountant) ภายใน 30 วัน หลังจากนั้นผู้ทำบัญชีรายใหม่จึง จะสามารถดำเนนิ การยืนยนั ผู้ทำบัญชีของนติ บิ ุคคลนั้นได้ Q: ตอ้ งการยกเลกิ เป็นผ้ทู ำบัญชีต้องดำเนนิ การอย่างไร A: ให้ดำเนินการแจ้งยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชีผ่านระบบงานผู้ทำบัญชี (e-Accountant) โดย ยกเลิกรายชื่อบริษัทที่รับทำบัญชีออกจากระบบให้หมด แล้วทำการยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชี ระบุเหตุผลท่ียกเลิกพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน ยืนยันคำขอแจ้งการยกเลิกเป็นผู้ทำบัญชี หลงั จากนนั้ เจ้าหน้าท่จี ะดำเนนิ การตรวจสอบและแจ้งผลการยกเลิกไปทางอเี มลของผู้ทำบัญชี
คลนิ ิกบัญชี (ตอนท่ี 2) Q: แจง้ ตำแหนง่ ฐานะผทู้ ำบัญชีในระบบ e-Accountant ผดิ ตอ้ งแกไ้ ขอยา่ งไร A: ให้ดำเนินการยกเลิกการรับทำบัญชีของบริษัทท่ีแจ้งฐานะเข้ามาผิดออกจากระบบ e-Accountant ก่อน เมอื่ ยกเลกิ แล้ว ให้เพ่มิ ช่ือบริษทั ใหม่และระบุฐานะทถี่ กู ตอ้ งลงไป Q: นิติบุคคลมีการเปลี่ยนผู้ทำบัญชีใหม่ ณ วันท่ี 1 ก.ค. 2564 งบการเงินไตรมาส 2 สามารถ ลงนามโดยผู้ทำบัญชคี นใหมไ่ ดห้ รอื ไม่ A: ถ้านติ บิ คุ คลมกี ารเปลีย่ นผู้ทำบัญชี โดยท่ผี ทู้ ำบัญชคี นเกา่ หมดภาระหน้าทีก่ ับนติ ิบคุ คล หรือนิติบุคคลมอบหมายแตง่ ตง้ั ใหม้ ีผ้ทู ำบญั ชคี นใหม่จัดทำงบการเงินนั้นแล้ว ก็สามารถลง นามได้ Q: ผู้ทำบัญชีต้องการเพิ่มรายชื่อนิติบุคคลท่ีรับทำงบการเงินย้อนหลังตั้งแต่ปี 2559 - 2563 ต้องดำเนินการอย่างไร A: ให้เพ่ิมรายชอ่ื นิติบุคคลทีร่ บั ทำงบการเงนิ ยอ้ นหลงั แคค่ รงั้ เดียว แต่ในชอ่ งปงี บการเงิน ให้เลอื กปงี บการเงนิ ทจี่ ัดทำ 5 ปี อยา่ งนน้ั ตอ้ งเพิ่มเขา้ ไปจานวน 5 คร้งั ใชห่ รือเปล่าค่ะ ขอQบ:คณุ ผู้ทคะ่ำบัญชีไม่ได้รับการอบรมพัฒนาความรู้ฯ เป็นเวลา 2 ปี ถ้าผู้ทำบัญชีต้องการลงช่ือเป็น ผูท้ ำบัญชีของนติ ิบุคคล จะตอ้ งดำเนนิ การอย่างไร ขอบคุณคะ่ A: หากตลอดระยะเวลา 2 ปีทีห่ ยดุ ไป ไมม่ ีการแจ้ง/ยกเลิก การทำบัญชี หรือไม่มรี ายชอ่ื ธุรกิจท่ี อย่างนน้ั ตอร้ ับงเทพำม่ิ บเขัญา้ ไชปีในจารนะบวนบ ไ5ม่ตค้อรงั้งอใชบห่ รรมือชเดปเลชา่ ยคะ่ให้อบรมเฉพาะของปีปัจจุบันจำนวน 12 ชั่วโมง หาก ขอบคณุ คะ่ ในระยะเวลา 2 ปีท่ีหยุดไปมีรายช่ือธุรกิจท่ีรับทำอยู่ในระบบ มีการแจ้งทำบัญชี แจ้งยกเลิกการ ทำบัญชี จะตอ้ งอบรมชดเชยเพม่ิ ในปีปจั จุบัน ตามจำนวนชั่วโมงที่ขาดการอบรมของปกี ่อนหน้า นั้น ทั้งน้ีให้ผู้ทำบัญชี login เข้าระบบงานผู้ทำบัญชี ด้วย username และ password ท่ีผู้ทำ บญั ชตี งั้ ไว้ เพื่อแจง้ รายละเอียดของบริษัทที่ตอ้ งการรบั ทำบัญชี
คลนิ ิกบัญชี (ตอนที่ 2) Q: ต้องการลงทะเบียนทำบัญชีครั้งแรกแต่ไม่มีสำเนาใบปริญญาบัตร สามารถใช้ใบรับรอง ปรญิ ญาแทนไดห้ รือไม่ A: กรณีท่ีใบปริญญาบัตรสูญหายหรือชำรุด สามารถใช้ใบแทนใบปริญญาบัตรท่ีออกโดย สถาบนั การศกึ ษาแทนได้ Q: กรณที ี่ต้องการเปลี่ยนผู้ทำบญั ชีคนใหม่ เน่อื งจากผู้ทำบัญชีคนเก่าเสียชีวิตตอ้ งดำเนนิ การอยา่ งไร A: ให้ผ้ทู ำบัญชคี นใหม่แจง้ รายละเอียดการทำบัญชีของนิตบิ ุคคลผ่านระบบ e-Accountant ส่วนผู้ทำบัญชีคนเก่าที่เสียชีวิต ให้ญาติหรือทางนิติบุคคลทำหนังสือแจ้งเข้ามาที่กรมพัฒนา ธุรกิจการค้า เพื่อยกเลิกการทำบัญชีของผู้ทำบัญชีคนเก่าออกจากระบบพร้อมแนบใบ มรณบตั รและสำเนาบัตรประชาชนของผทู้ ำบัญชีคนเกา่ Q: นิติบุคคลสามารถมีผู้ทำบัญชี 2 คนได้หรือไม่ และสามารถลงชื่อในงบการเงินได้ท้ัง 2 คน ได้หรอื ไม่ A: นิติบุคคลสามารถมีผู้ทำบัญชีได้มากกว่า 1 คน เช่นผู้ทำบัญชีใน แผนก/ฝ่าย บัญชี แต่ผู้ทำ บัญชีท่ีสามารถลงนามในงบการเงินได้น้ันจะต้องเป็นผู้ทำบัญชีที่นิติบุคคลมอบหมายให้เป็น ผ้รู ับผิดชอบสูงสดุ ในการจดั ทำบญั ชีซ่ึงจะมแี ค่ 1 คน ท่านผูอ้ ่านสามารถติดตามประเดน็ คำถามท่นี ่าสนใจ อื่นๆ ไดใ้ น DBD Accounting ฉบับถัดไป
รอบรู้มุมต่างประเทศ \"5 Most Scandalous Frauds of 2020\" เขียนโดย Hallie Ayres; Mason Wilder, CFE 5 กรณีทุจริตอื้อฉาวที่สุดแห่งปี 2020 ในปี 2020 ที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่มีแต่ความไม่ แน่นอนและยังไม่มีทีท่าจะสิ้นสุดจนถึงปัจจุบันนี้ กลายเป็นโอกาสของมิจฉาชีพในการ ทำทุจริตฉ้อโกงในระดับที่สูงกว่าสถานการณ์ปกติ อีกทั้งยังเกิดเคสทุจริตฉ้อโกงของ บริษัทขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่องอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ในบทความนี้ ผู้เขียนได้ รวบรวม 5 เคสทุจริตอื้อฉาวที่สุดในปี 2020 เพื่อหวังว่าจะเป็นประโยชน์และเป็น แนวทางให้ผู้อ่านรู้เท่าทันกลวิธีการทุจริตต่างๆ 1. กลโกงของมิจฉาชีพในสังคมช่วงโควิด 2.สองพันล้านดอลลาร์สหรัฐที่หายไปจาก Wirecard 3.เอกสาร FinCEN และการฟอกเงินทั่วโลก 4.วีรกรรมติดสินบนของ Airbus 5.ทุจริตกาแฟแก้วใหญ่ Luckin Coffee 13 DBD Accounting ฉบับที่ 113 เดือนสิงหาคม 2564
1 กลโกงของมิจฉาชีพในสังคมช่วงโควิด เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้รัฐบาลในหลายๆประเทศต้องประกาศปิด เมือง และออกมาตรการกระตุ้นเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น มาตรการช่วย เหลือลูกหนี้ คนว่างงาน และการแจกเงินโดยตรงแก่ประชาชน ในขณะเดียวกันมิจฉาชีพได้ ฉวยโอกาสนี้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากนโยบายช่วยเหลือของรัฐ อีกทั้งวิถีชีวิตและ บริบทที่เปลี่ยนไปจากการเกิดโรคระบาดนี้ ยังเพิ่มช่องทางในการทุจริตทางไซเบอร์ และรูป แบบการหลอกหลวงผู้บริโภค เช่น การหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ต (phishing) เพื่อขาย อุปกรณ์ป้องกันส่วนตัว อุปกรณ์ตรวจหาเชื้อ และยาปลอม โดยในปี 2019 ที่ผ่านมานั้น คณะ กรรมาธิการว่าด้วยการค้าแห่งสหพันธรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Federal Trade Commission) ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวและการหลอกหลวง ผู้บริโภคมากกว่า 3.2 ล้านครั้ง ซึ่งตัวเลขนี้ยังถือว่าต่ำกว่าความเป็นจริงมากและมีแนวโน้มสูง ขึ้นอีกในปีต่อๆไป ในเดือนสิงหาคม 2020 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาสูญเสียเงินถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐเนื่องมาจากการทุจริตในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด ซึ่งส่วนมาก มาจากการขโมยอัตลักษณ์ (identity theft) หรือ การขโมยข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตน (Personally Identifiable Information-PII) เช่น เนื่องจากช่วงนี้มีคนจำนวนมากถูกพัก งานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง (furlough)และต้องการเงินทุนช่วยเหลือ จึงทำให้เกิดการขโมย หมายเลขประกันสังคมเพื่อสวมรอยไปยื่นขอผลประโยชน์สำหรับคนว่างงาน ส่งผลให้เจ้าของ หมายเลขนั้นจริงๆหมดสิทธิรับเงินช่วยเหลือเมื่อไปขอยื่นรับผลประโยชน์ดังกล่าว ต่อมา จากการที่รัฐสภาประเทศสหรัฐอเมริกาลงมติออกมาตรการช่วยเหลือที่ร่วมถึงการแจก เงิน (Stimulus check) ให้กว่า 150 ล้านครัวเรือนนั้น ทำให้ scammer หรือผู้ที่หลอกลวง บนโลกออนไลน์ใช้กลวิธีหลอกขอข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน โดยแจ้งกับผู้เสียภาษีที่ต้องการ ขอรับเงินช่วยเหลือว่าจำเป็นต้องใช้ข้อมูลในส่วนนี้ในการรับเงินดังกล่าว 14 DBD Accounting ฉบับที่ 113 เดือนสิงหาคม 2564
1 กลโกงของมิจฉาชีพในสังคมช่วงโควิด นอกจากนั้นการถูกขโมยข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตน (PII) ที่เป็นการเปิดช่องทางให้มิจฉาชีพเข้าถึง เบอร์โทรศัพท์ส่วนตัวและรายชื่อคนรู้จักได้ ยังทำให้มิจฉาชีพสามารถส่งข้อความที่เชิญชวน ให้กดเปิดลิ้งค์เพื่อฝัง malware (เช่น ไวรัส) เพื่อเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมทางการเงินและ หมายเลขประกันสังคมได้ นอกจากนี้แล้ว การแพร่ระบาดของโรคครั้งใหญ่นี้ยังทำให้เกิดกลวิธีหลอกหลวงที่หลากหลาย ในอุตสาหกรรมด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตัวอย่างเช่น ในเดือนพฤษภาคม บริษัท Wellness Matrix Group ถูกอัยการของเมืองลอสแองจาลิสฟ้องร้องเนื่องจากขายอุปกรณ์ ตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด 19 และยาต้านไวรัส ที่อ้างว่าได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและ ยา (FDA) แล้วบนฉลากผลิตภัณฑ์ และปลอมผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในกระบวนการขอ อนุมัติ จากการที่ Small Business Administration (SBA) ออก Payroll Protection Program หรือโครงการเงินกู้ช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กโดยไม่ต้องจ่ายเงินคืนที่มีมูลค่าโครงการรวม 650 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น ยังมีเจ้าของกิจการรายหนึ่งหาช่องทางกอบโกยผลประโยชน์ โดย เขาได้รับเงินกู้ช่วยเหลือนี้ในนามบริษัทกว่า 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยอ้างว่าเงินก้อนนี้คือ จำนวนเงินที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายเงินเดือนของพนักงานบริษัทตนเอง ทั้งที่จริงๆแล้วบริษัทมี ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้โดยเฉลี่ยเพียง 200,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน และเนื่องจากมีบริษัท ขนาดเล็กจำนวนมากยื่นขอเงินกู้ช่วยเหลือ ทำให้ทางการไม่สามารถตรวจความถูกต้องของใบ สมัครได้ทัน และไม่ได้มีการตรวจสอบไปยังหน่วยงานรัฐที่ดูแลเรื่องการจ่ายภาษีเงินเดือน ทำให้เกิดการโกงเงินกู้จากรัฐดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการขโมยอัตลักษณ์หรือข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตน การหลอกลวง บนโลกออนไลน์ การปลอมแปลงใบอนุญาตเพื่อหลอกลวงผู้บริโภค จนถึงการกอบโกยผล ประโยชน์ส่วนตัว ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามิจฉาชีพได้ใช้วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้เพื่อ หลอกหลวงหาผลประโยชน์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตใดในอดีตเลย 15 DBD Accounting ฉบับที่ 113 เดือนสิงหาคม 2564
2 สองพันล้านดอลลาร์สหรัฐที่หายไปจาก Wirecard บริษัท Wirecard ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1999 โดยให้บริการด้านการประมวลผลธุรกรรมชำระ เงิน และด้านการวิเคราะห์ (data analytics) ระหว่างปี 2013 - 2018 รายได้ของบริษัทสูงขึ้น กว่า 4 เท่า โดยแตะ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 และด้วยพนักงานบริษัทจำนวน เกือบ 6,000 คนใน 26 ประเทศ บริษัท Wirecard มีชื่อปรากฎในการจัดอันดับบริษัทที่ใหญ่ ที่สุดในประเทศเยอรมัน 30 อันดับแรก และยังถือว่าเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีการเงินแถว หน้าในทวีปยุโรปอยู่ช่วงหนึ่ง แต่ทว่าภายหลังการสืบสวนข้อหาการทุจริตฉ้อโกงและตรวจสอบแนวปฏิบัติทางบัญชีในปี 2019 บริษัทได้ออกมายอมรับถึงประเด็นการหายไปของเงินสดจำนวน 2 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐ โดยการกระทำนี้ส่งผลให้มูลค่าของบริษัทดิ่งลงอย่างรวดเร็วจากประมาณ 26.9 พัน ล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนการประกาศ เหลือเพียง 3.6 พันล้านในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน 2020 ความล้มเหลวของบริษัท Wirecard เริ่มต้นตั้งแต่เดือนมกราคม 2019 เมื่อสื่อ Financial Times ได้ออกบทความการสืบสวนที่เกิดขึ้นภายหลังที่มีผู้แจ้งเบาะแสอ้างถึงการปลอมแปลง เอกสารอย่างต่อเนื่อง และธุรกรรมต่างๆที่น่าสงสัยในประเทศสิงคโปร์ ถึงแม้บริษัทจะปฏิเสธ ข้อกล่าวหาทั้งหมด แต่หน่วยงานที่มีอำนาจในประเทศสิงคโปร์ได้ให้คำมั่นว่าจะสืบสวนเรื่อง นี้ต่อไป ส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทตกลงอย่างมาก ต่อมาในปลายปี 2019 สื่อ Financial Timesได้ออกบทความเกี่ยวกับพฤติกรรมที่น่าสงสัย ของบริษัท Wirecard นี้อีกครั้ง โดยแสดงถึงเอกสารที่มีการรายงานตัวเลขกำไรและยอดขาย ที่สูงผิดปกติในสำนักงานประเทศไอร์แลนด์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บริษัทได้กล่าวปฏิเสธ ข้อหาเหล่านี้อีก แต่ในครั้งนี้มีรายงานการตรวจสอบของ KPMG เปิดเผยว่า ทางบริษัท Wirecard ไม่ได้มีการออกมาแสดงหลักฐานมากเพียงพอที่จะทำให้ลบข้อหาที่ Financial Times ได้ออกมากล่าวหาบริษัท 16 DBD Accounting ฉบับที่ 113 เดือนสิงหาคม 2564
2 สองพันล้านดอลลาร์สหรัฐที่หายไปจาก Wirecard ภายหลังการหายไปของเงินสด 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในบัญชีนั้น บริษัท Wirecard ได้ กล่าวอ้างว่าเงินทั้งหมดนี้อยู่ในบัญชีธนาคารในประเทศฟิลิปปินส์ แต่ว่าธนาคารเหล่านี้กลับ ปฏิเสธทั้งหมด ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท Wirecard ยังได้พยายามออกมากล่าวในทำนองที่ว่า ที่ ผ่านมาบริษัทตกเป็นเหยื่อของการทุจริตหลอกลวง แต่วีดีโอดังกล่าวที่มีเนื้อหาเหล่านี้กลับถูก ลบไปในเวลาต่อมา และเพียงเวลาสั้นๆหลังจากที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทลาออก แล้ว บริษัทได้เข้าสู่กระบวนการล้มละลายเพื่อที่จะไม่ต้องจ่ายเงิน 4 พันล้านคืนแก่นักลงทุน Markus Braun, CEO of Wirecard EY บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีของบริษัท Wirecard ตกเป็นที่วิจารณ์อย่างหนักที่เซ็นต์รับรอง งบการเงินของบริษัทในข่วงปี 2016 ถึง 2018 โดยปราศจากการยืนยันอย่างอิสระถึงความมี อยู่จริงของเงินสดในรายการสินทรัพย์ การละเลยการตรวจสอบนี้กลายเป็นประเด็นของคดีใน ประเทศเยอรมันที่กล่าวหาว่า EY มองข้ามสินทรัพย์มูลค่ากว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐที่ ผ่านการดำเนินการอย่างไม่ถูกต้อง 17 DBD Accounting ฉบับที่ 113 เดือนสิงหาคม 2564
3 เอกสาร FinCEN และการฟอกเงินทั่วโลก ในเดือนกันยายน 2020 เว็บไซต์ข่าว Buzzfeed News ได้รับข้อมูลจากเครือข่ายผู้สื่อข่าว สืบสวนนานาชาติ (International Consortium of Investigative Journalists - ICIJ) ที่ กล่าวพาดพิงถึงธนาคารใหญ่ระดับโลก ทั้ง Deutsche Bank, JPMorgan Chase, HSBC, Standard Chartered และ Bank of New York Mellon ในการฟอกเงินมูลค่ากว่า 2 ล้าน ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเชื่อมโยงถึงกลุ่มผู้มีอำนาจ อาชญากร ผู้ก่อการร้าย ระหว่างปี 1999 ถึง 2017 รายงานของ ICIJ นี้มาจากการวิเคราะห์รายงานกิจกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย (Suspicious Activity Reports - SARs) มากกว่า 2,100 ฉบับของธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆที่ส่ง ถึง FinCEN (US Financial Crimes Enforcement Network) หรือ เครือข่ายปราบ ปรามอาชญากรรมทางการเงินแห่งสหรัฐฯ ผ่านการช่วยเหลือของนักข่าวมากกว่า 400 คนใน 88 ประเทศ และสื่อด้านการข่าวกว่า 110 แห่ง เพื่อสืบสวนประเด็นอื้อฉาวนี้ ซึ่งจริงๆแล้วยัง ถือเป็นส่วนน้อยมากๆหากเทียบกับจำนวนรายงาน SARs กว่า 12 ล้านฉบับที่ถูกส่งถึง FinCEN ในช่วงปี 2011 ถึง 2017 รายงานฉบับนี้ยังอธิบายว่า ถึงแม้ว่าธนาคารที่มีความผิดจะจ่ายค่าปรับในข้อหาการฟอกเงิน แล้วนั้น ธนาคารเหล่านี้ยังคงดำเนินธุรกรรมต่างๆต่อไปโดยไม่ระบุบุคคลที่เกี่ยวข้อง และใน หลายๆเคสธนาคารจะส่งรายงานต่อ SARs ภายหลังการทำธุรกรรมนั้นแล้วหลายปี และ นอกจากการเปิดโปงการฟอกเงินที่ทำเป็นวงกว้างในระบบการเงินของอเมริกา รายงานฉบับนี้ ยังค้นพบว่า กระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกาไม่มีเครื่องมือเพียงพอสำหรับการตรวจ ธุรกรรมจำนวนกว่าล้านล้านรายการต่อวันที่ผ่านธนาคารในสหรัฐอเมริกา ธนาคาร JPMorgan ซึ่งเป็นธนาคารก่อตั้งในสหรัฐอเมริกาที่ใหญ่ที่สุดถูกพบว่า โอนเงิน มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับหนึ่งในบุคคลสำคัญในคดีทุจริตอื้อฉาวของประเทศ มาเลเซียหรือที่มีชื่อเรียกว่า 1MDB และยังมียอดมากกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่โอนให้กับ บริษัทด้านพลังงานสัญชาติเวเนซูเอล่า ซึ่งถูกกล่าวหาว่าพบการทุจริตต่อรัฐบาลและมีส่วนร่วม ทำให้เกิดไฟฟ้าดับเรื่อยๆทำให้ผู้คนหลายล้านคนไม่มีไฟฟ้าใช้ 18 DBD Accounting ฉบับที่ 113 เดือนสิงหาคม 2564
3 เอกสาร FinCEN และการฟอกเงินทั่วโลก แบบฟอร์ม SARs หรือ รายงานว่าด้วยธุรกรรมที่ต้องสงสัย โดยหลังจากการตรวจสอบของ ICIJ เสร็จสิ้นแล้ว พบว่าในจำนวนเงินสกปรกรวม 2 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐนั้น ประมาณ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐถูกโยกย้ายผ่านทาง Deutsche Bank และอีก 514 พันล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านทางธนาคาร JPMorgan Elizabeth Rosenberg เจ้าหน้าที่ในกระทรวงการคลังเปิดเผยกับ The Wall Street Journal ว่า เอกสารต่างๆของ FinCEN แสดงให้เห็นถึงความจริงอันน่าประหลาดใจที่มีเงิน สกปรกจำนวนมากกำลังเคลื่อนไหวในระบบการเงิน และธนาคารของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้รับ บทเจ้าภาพและผู้อำนวยความสะดวกให้กับมิจฉาชีพและอาชญากรที่เป็นภัยคุกคามต่อความ มั่นคงระดับประเทศที่ซ่อนเงื่อนที่สุดในบางครั้ง ธนาคารต่างๆพยายามจะส่งรายงาน SARs ให้มีจำนวนมากเพื่อให้เข้าตาผู้บังคับบัญชาและผู้ ตรวจสอบบัญชี แต่การกระทำแนวนี้ยิ่งไปปิดบังการทำงานของเจ้าหน้าที่ในกระทรวงการคลัง ที่มีหน้าที่คัดหากรณีการฟอกเงิน และแย่ไปกว่านั้นคือการที่ธนาคารต่างๆมักจะส่งเอกสารที่ เกี่ยวข้องกับธุรกรรมที่ต้องสงสัยนั้นตามมาหลายปีให้หลัง แน่นอนว่าวิธีการของธนาคารแบบ นี้ไม่ใช่วิธีการที่จะสามารถช่วยป้องกันประเทศจากภัยคุกคามต่างๆได้ 19 DBD Accounting ฉบับที่ 113 เดือนสิงหาคม 2564
4 วีรกรรมติดสินบนของ Airbus ในเดือนมกราคม 2020 บริษัทการบินสัญชาติฝรั่งเศส Airbus ตกลงจ่ายค่าปรับมากกว่า 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นค่าปรับจำนวนมากที่สุดของคดีติดสินบนที่เคยเกิดขึ้น เพื่อชำระคดีติดสินบนระหว่างประเทศต่อเจ้าหน้าที่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และสห ราชอาณาจักร และถือเป็นการสิ้นสุดการสอบสวนคดีกว่า 4 ปีในข้อกล่าวหาต่างๆที่บริษัทไป จ้างบุคคลที่สามเพื่อให้สินบนกับเจ้าหน้าที่รัฐในประเทศที่ซื้อเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ และ ดาวเทียมกับบริษัท เพื่อเป็นการกระตุ้นการแข่งขันกับคู่แข่งอย่างบริษัท Boeing ในปลายปี 2012 สำนักงานฉ้อโกงร้ายแรงของสหราชอาณาจักร (U.K. Serious Fraud Office) ได้เข้าตรวจสอบบริษัทย่อยแห่งหนึ่งของบริษัท Airbus ที่มีประเด็นการปฏิบัติตาม กฎระเบียบข้อบังคับ (compliance) กับเอกสารสัญญาที่ทำกับประเทศซาอุดิอาระเบีย และใน ปลายปี 2016 สำนักงานเดียวกันนี้ยังได้เข้าสืบสวนทางอาชญากรรม เนื่องจากข้อสงสัยที่ว่า บริษัท Airbus มีส่วนร่วมในธุรกรรมทุจริตอย่างจริงจังโดยช่องทางการติดสินบนและการ คอร์รัปชั่น หลังจากได้รู้ผลตรวจสอบข้อกล่าวหาของสำนักงานฉ้อโกงร้ายแรงของ สหราชอาณาจักรแล้วนั้น ทางการในประเทศสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสก็ได้เข้าร่วมการ สืบสวนนี้ ซึ่งต่อมาได้มีการชำระคดีรวมแล้วกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2016 บริษัท Airbus เองได้เริ่มการสืบสวนหาข้อเท็จจริงหลังจากได้ค้นพบหลักฐาน การดำเนินธุรกิจที่น่าสงสัยจากผู้ตรวจสอบภายใน และได้แจ้งผลการตรวจสอบไปยังทางการ ในประเทศฝรั่งเศสในเวลาต่อมา ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่ทำให้บริษัทไม่ต้องจ่าย เงินค่าปรับอีกเกือบ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยประมาณ 20 DBD Accounting ฉบับที่ 113 เดือนสิงหาคม 2564
5 ทุจริตกาแฟแก้วใหญ่ Luckin Coffee Luckin Coffee เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2017 โดยมีกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่อย่าง Joy Capital หนึ่งใน ธุรกิจร่วมทุน (Venture Capital) รายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน และกองทุน GIC ของประเทศ สิงคโปร์ร่วมลงทุนในธุรกิจร้านกาแฟนี้ที่เน้นการให้บริการผ่านแอป การซื้อกลับบ้าน และการ จัดส่งกาแฟ (delivery) ด้วยเงินทุนที่ไหลเข้ามากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น ทำให้บริษัท เปิดสาขาได้เกือบ 5,000 แห่งในเมืองสำคัญต่างๆของประเทศจีนและสามารถแซงจำนวน สาขาของคู่แข่งอย่างสตาร์บัคส์ได้ในเวลาเพียง 2 ปีกว่า เนื่องจากรูปแบบการทำธุรกิจที่แทบ จะตรงกันข้ามกับสตาร์บัคส์ ภายในร้าน Luckin Coffee ไม่มีโต๊ะและเก้าอี้ การดำเนินงานทุก อย่างในร้านจะทำผ่านคีออส (kiosk) และไม่มีที่ให้นั่งกินภายในร้าน ทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนค่า เช่าและค่าแรงนั้นต่ำ อีกทั้งราคากาแฟ Luckin ก็ถูกกว่าสตาร์บัคส์และยังมีการให้ส่วนลด มากมาย ซึ่งไม่ได้สะท้อนอยู่ในค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงานที่ต่ำเลย โดยตามรายงานผล ประกอบการของบริษัทในปี 2018 นั้น บริษัทดำเนินธุรกิจด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ายอดขายถึง 3 เท่า ในเดือนพฤษภาคม 2019 Luckin Coffee ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq โดยสามารถระดมทุนได้กว่า 561 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะได้ธนาคารขนาดใหญ่อย่าง Credit Suisse และบริษัทจัดการลงทุนแนวหน้าอย่าง BlackRock ที่เห็นถึงศักยภาพการ เติบโตของบริษัทในช่วงแรกมาร่วมลงทุน ในเดือนมกราคม 2020 ราคาหุ้น Luckin Coffee อยู่ที่ 50 ดอลลาร์สหรัฐ จากราคาหุ้นเริ่ม ต้นที่ 17 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ทว่าในสิ้นเดือนนั้นเอง บริษัทสืบสวนแห่งหนึ่งได้ออกเอกสารมหา กาพย์ 89 หน้าจากการศึกษาข้อมูลจากผู้บริโภค ยืนยันว่าตัวเลขรายได้และจำนวนหน่วยที่ ขายได้ต่อวันของ Luckin Coffee นั้นสูงกว่าความเป็นจริง ภายหลังการเปิดเผยรายงานชิ้น นี้ ราคาหุ้น Luckin Coffee ดิ่งลงแต่สามารถฟื้ นตัวขึ้นมาได้ภายในเดือนเดียว แต่เพียงไม่ นานหลังจากที่บริษัทตรวจสอบบัญชีออกมายืนยันว่า เอกสารรายงานจากบริษัทสืบสวน ทั้งหมดเป็นความจริง และมีหลักฐานยืนยันบ่งชี้ถึงการตกแต่งตัวเลขยอดขาย ทำให้ประธาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ต้องออกมาเปิดเผยว่า บริษัทได้ตกแต่งตัวเลขกำไรและ ปลอมแปลงรายได้มากกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 21 DBD Accounting ฉบับที่ 113 เดือนสิงหาคม 2564
5 ทุจริตกาแฟแก้วใหญ่ Luckin Coffee กลางเดือนพฤษภาคม 2020 บริษัท Luckin Coffee ไล่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ออก รวมถึงสั่งพักงานพนักงาน 6 คนที่มีส่วน รวมในเหตุการณ์ทุจริตนี้ บริษัทยังถูกสั่งห้ามไม่ให้มีการซื้อขายในตลาดหุ้น Nasdaq ตั้งแต่ เดือนเมษายน จากที่ราคาหุ้นดิ่งลงกว่า 83 เปอร์เซ็นต์ภายหลังการเปิดเผยเกี่ยวกับการทุจริต ทว่าในช่วงเวลาที่บริษัทเป็นข่าวนั้น สาขาร้านกาแฟต่างๆก็ยังเปิดให้บริการปกติ และยอด ดาวน์โหลดแอปสำหรับสั่งกาแฟพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากบริษัทแจกกาแฟฟรีให้กับลูกค้า ใหม่เพื่อพยายามกลบข่าวทุจริตและสร้างชื่อเสียงขึ้นมาใหม่อีกครั้ง บทความต้นฉบับ \"5 Most Scandalous Frauds of 2020\" www.fraud-magazine.com เขียนโดย Hallie Ayres; Mason Wilder, CFE ที่มา Fraud Magazine ฉบับเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 เผยแพร่โดย สมาคมผู้ตรวจสอบการทุจริตที่ผ่านการรับรองแห่งสหรัฐอเมริกา Association of Certified Fraud Examiners (ACFE) แปลและเรียบเรียงโดย นางสาวบุญสิตา ภววงษ์ศักดิ์ ฝ่ายวิชาการ กองกำกับบัญชีธุรกิจ 22 DBD Accounting ฉบับที่ 113 เดือนสิงหาคม 2564
ที่ปรึกษา อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า นายทศพล ทังสุบุตร รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ ผู้อำนวยการกองกำกับบัญชีธุรกิจ นางภารดี อินทชาติ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ นางสาวจุฑามณี ยอดแสง _________ คณะผู้จัดทำ นางสาวธัญพร อธิกุลวริน นางสาวภาสิน จันทรโมลี นางสาววลัยพร ขจรกลิ่น นางสาวบุญสิตา ภววงษ์ศักดิ์ หากมีข้อแนะนำ/ติชมสามารถแจ้งได้ที่ Line OpenChat : DBD Accounting กองกำกับบัญชีธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อีเมล [email protected] เบอร์โทรศัพท์ 02-547-4407 Line OpenChat : DBD Accounting แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ...
Search
Read the Text Version
- 1 - 23
Pages: