DBD Accounting e-Magazine ฉบับที่ 116 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 ข่ า ว ป ร ะ ช า สั ม พั น ธ์ ห น้ า การประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพ 2 บัญชี ครั้งที่ 66 4 แจ้งเตือนผู้ทำบัญชีประจำปี เตรียมความพร้อมการส่งงบการเงินรอบปี 2564 5 บทความ ห น้ า รอบรู้มุมต่างประเทศ 8 บัญชีนิติวิทยา 101 www.dbd.go.th 1570 DBD Public Relations
ข่าวประชาสัมพันธ์ DBD ACCOUNTING หน้า 2 การประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ครั้งที่ 66 วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ กำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ครั้งที่ 66 (3/2564) ด้วย Application Zoom โดยมี นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เข้าร่วมประชุม ณ ห้องโสมสวลี ชั้น 11 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 ในการประชุมดังกล่าว คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี (กกบ.) ได้พิจารณา ให้ความเห็นชอบในเรื่องต่างๆ สรุปได้ดังนี้ 1. (ร่าง) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 เรื่อง การนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินมา ใช้เป็นครั้งแรก เพิ่มเติมและปรับปรุงข้อกำหนดให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน โดยมีผลบังคับใช้สำหรับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลารายงานที่เริ่มในหรือหลังวัน ที่ 1 มกราคม 25651 มกราคม 2565 ทั้งนี้ อนุญาตให้ถือปฏิบัติก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ได้ 2. (ร่าง) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 6 เรื่อง การสำรวจและการประเมินค่าแหล่ง ทรัพยากรแร่ ปรับแก้ไขถ้อยคำการแปลให้สอดคล้องกับมาตรฐานฯ ฉบับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลง หลักการ
ข่าวประชาสัมพันธ์ DBD ACCOUNTING หน้า 3 การประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ครั้งที่ 66 วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 3. (ร่าง) แนวปฏิบัติทางการบัญชี เรื่อง แนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กําหนดแนวปฏิบัติทางการบัญชีนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย และ 1. เป็นทางเลือกกับทุกกิจการที่ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน หรือ มาตรการ อื่นตามที่ ธปท. กําหนดเพิ่มเติม รวมถึงธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็น ประกัน ธุรกิจสินเชื่อส่วน บุคคลภายใต้การกํากับ และ ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของ ธปท. (ธุรกิจลิสซิ่ง ธุรกิจเช่าซื้อ ธุรกิจแฟคตอริ่ง) 2. การจัดชั้นและการกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้ที่เข้าตามลักษณะ ครอบคลุมถึงลูกหนี้ทุกประเภท คือ ลูกหนี้ธุรกิจขนาดใหญ่ ลูกหนี้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และลูกหนี้รายย่อย 4. ยกเลิกแนวปฏิบัติทางการบัญชี 6 ฉบับ (1) แนวปฏิบัติการวัดมูลค่าและรับรู้รายการของพืชเพื่อการให้ผลผลิต (2) แนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการบันทึกบัญชีสำหรับสินทรัพย์ประเภทอาคารชุด (3) แนวปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลสำหรับกิจการที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล (4) แนวปฏิบัติทางการบัญชีการบันทึกบัญชีเมื่อมีการตีราคาใหม่ (5) แนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการบันทึกบัญชีหุ้นปันผล (STOCK DIVIDEND) (6) แนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการบันทึกบัญชีสิทธิการเช่า
ข่าวประชาสัมพันธ์ DBD ACCOUNTING หน้า 4 แจ้งเตือนผู้ทำบัญชีประจำปี e-Accountant
ข่าวประชาสัมพันธ์ DBD ACCOUNTING หน้า 5 เตรียมความพร้อมการส่งงบการเงินรอบปี 2564 (1/3) e-Filing ผู้ที่ต้องยื่นงบการเงิน 1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน 2.บริษัทจำกัด (บจก.) 3.บริษัทมหาชนจำกัด (บมจ.) 4. นิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจ ในไทย 5. กิจการร่วมค้า 6. สมาคมการค้า 7. หอการค้า ช่องทางการยื่นงบการเงิน มี 2 ช่องทาง 1. ผ่านระบบ e-Filing ที่ http://efiling.dbd.go.th (ไม่ต้องยื่นงบการเงินกระดาษตามมาอีก) 2. ยื่นงบการเงินกระดาษ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ส่วนกลาง หรือ เขต 1-6) หรือ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด โดยต้องยื่นงบการเงินผ่านระบบ e-Filing ภายใน 7 วันด้วย จึงจะถือว่าครบถ้วน
ข่าวประชาสัมพันธ์ DBD ACCOUNTING หน้า 6 เตรียมความพร้อมการส่งงบการเงินรอบปี 2564 (2/3) e-Filing ระบบ e-Filing รองรับ การนำส่งข้อมูลอะไรบ้าง 1.งบการเงิน (รูปแบบ XBRL เป็น Zipped File) 2.รายงานผู้สอบบัญชี (สแกนภาพขาวดำ เป็น PDF) 3.หมายเหตุประกอบงบการเงิน (สแกนภาพ ขาวดำ เป็น PDF) 4.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (กรณี บจก. ใช้รูป แบบ Excel Version 4.0 และกรณี บมจ. ใช้รูปแบบ Excel Version 4.2) 5. รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น (ส่งเฉพาะ บมจ. โดยสแกน ภาพขาวดำ เป็น PDF) 6. รายงานประจำปี (กรณี บมจ. ให้สแกนภาพขาวดำเป็น PDF หรือใช้หนังสือนำส่งและรับรองข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ URL หรือ QR Code ก็ได้ และกรณีสมาคมการค้าและหอการค้า ให้สแกนภาพ ขาวดำเป็น PDF)
ข่าวประชาสัมพันธ์ DBD ACCOUNTING หน้า 7 เตรียมความพร้อมการส่งงบการเงินรอบปี 2564 (3/3) e-Filing การใช้ระบบ e-Filing กรณีมี Username และ Password อยู่แล้ว - ใช้ Username และ Password นี้ในการ Log-In เข้าใช้ระบบ เพื่อทดแทนการลง ลายมือชื่อในงบการเงินและเอกสารที่เกี่ยวข้อง กรณียังไม่มี Username และ Password - ยื่นคำขอที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ส่วนกลางหรือเขต 1-6) หรือที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด - เอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่ แบบคำขอ หนังสือแสดงความ ตกลงหรือมติกรรมการอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อกรมได้อนุมัติข้อมูลที่ยื่นผ่านระบบ e-Filing แล้ว กรมจะสามารถให้บริการรับรองสำเนาเอกสารที่ยื่น ผ่านระบบ e-Filing ได้ ในวันทำการถัดไป ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่เกี่ยวข้อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ. 2564 แนวทางปฏิบัติในการยื่นงบการเงิน และ บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น พ.ศ. 2564 https://bit.ly/3e9r7VS https://bit.ly/3e9wiVM
รอบรู้มุมต่างประเทศ DBD ACCOUNTING หน้า 8 บัญชีนิติวิทยา 101 Forensic Accounting 101 ในปัจจุบันมีข่าวทุจริตที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากบริษัทและลูกจ้างที่ต้องปรับตัวรับการ เปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่อยู่ตลอดแล้ว ตัวอาชญกรก็ปรับตัวและเปลี่ยนรูปแบบการทำทุจริตด้วยเช่นกัน จากการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตที่แพร่หลายมากขึ้น ยิ่งทำให้เกิดช่องทางทุจริตใหม่ๆและทำได้ง่ายขึ้น โดยจาก รายงานผลการสำรวจ Global Fraud and Identity Report พบว่า ภาคธุรกิจได้รับความเสียหายจากการ ทุจริตเพิ่มขึ้น 33 เปอร์เซ็นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา รูปแบบการเกิดทุจริตในบริษัทที่พบโดยมากในปัจจุบันคือการจงใจแก้ไขตัวเลขบนงบการเงิน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ เสียเห็นภาพที่บิดเบือนไปจากความจริง ทั้งข้อมูลผลประกอบการ ฐานะทางการเงิน กระแสเงินสด และสภาพ คล่องของบริษัท สะท้อนถึงธรรมาภิบาลของบริษัทที่ล้มเหลวและยังส่งผลโดยตรงต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนรายย่อยและสถาบัน หน่วยงานรัฐ และอื่นๆ จะเห็นได้ว่า บัญชีนิติวิทยามีบทบาท สำคัญในการรักษาธรรมาภิบาลของบริษัท ที่ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความโปร่งใส ความยุติธรรม และการเปิดเผยข้อมูล บัญชีนิติวิทยา คืออะไร ? บัญชีนิติวิทยา คือการใช้ทักษะทั้งการบัญชี การสอบบัญชี และการสืบสวน ในการทำงานเพื่อตรวจสอบ ทุจริตหรืออาชญกรรมทางการเงิน รวมถึงหาพฤติกรรมที่น่าสงสัยในกิจกรรมทางการเงิน ในมุมของบริษัท นั้น ข้อมูลที่ได้จากนักบัญชีนิติวิทยาถือเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้ในชั้นศาล และยังเป็นการลดความเสียหาย จากการถูกฉ้อโกง
รอบรู้มุมต่างประเทศ DBD ACCOUNTING หน้า 9 FORENSIC ACCOUNTING AUDIT PROCEDURES ขั้นตอนการทำงานของนักบัญชีนิติวิทยา 1. INVESTIGATION การสืบสวน โดยทั่วไปแล้ว นักบัญชีนิติวิทยาเริ่มการสืบสวนและรวบรวมหลักฐานภายหลังที่พบพฤติกรรมที่ น่าสงสัยแล้ว ทำให้เห็นถึงสัญญาเตือน (RED FLAGS) และตัวเลขที่ผิดปกติที่เป็นตัวบ่งบอกว่า เกิดการกระทำทุจริตขึ้นแล้ว นักบัญชีนิติวิทยาอาจสัมภาษณ์พนักงานของบริษัท เพื่อให้ได้ข้อมูล มากขึ้นและพยายามค้นหาพนักงานผู้อยู่เบื้องหลังการทุจริต จากนั้น นักบัญชีนิติวิทยาจะตั้ง สมมติฐานจากหลักฐานที่รวมรวมและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และวางแผนติดตามและประเมินบริษัท ต่อไป เมื่อขั้นตอนการสืบสวนเสร็จสิ้นแล้ว นักบัญชีนิติวิทยาจะกำหนดงานที่จำเป็นต้องทำในขั้น ตอนต่อไป และถ่ายทอดข้อมูลนี้ให้แก่บริษัท 2. REPORTING การรายงาน ในขั้นตอนนี้ นักบัญชีนิติวิทยาจะรายงานผลที่ได้จากการรวมรวมข้อมูลในขั้นตอนแรกให้แก่ผู้ร่วม งานที่เกี่ยวข้องเพื่อค้นหาสาเหตุของการเกิดทุจริตและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมถึงอาจให้คำแนะนำ ในการป้องกันการเกิดทุจริตในอนาคต เช่น การเพิ่มความปลอดภัยภายในกิจการ และมีการกำกับ ภายในที่รัดกุมมากยิ่งขึ้น หลังจากรายงานผลแล้ว นักบัญชีนิติวิทยาจะเตรียมตัวเข้าสู่ขั้นตอนในชั้น ศาลต่อไป 3. LITIGATION กระบวนการทางกฎหมาย ขั้นตอนสุดท้ายในการทำงานของนักบัญชีนิติวิทยาคือการเข้าร่วมการพิจารณาคดีในชั้นศาลใน ฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำเสนอเอกสารหลักฐานต่างๆ อธิบายเอกสารทางการเงินให้บุคคล ทั่วไปและศาลเข้าใจได้ และให้การแย้งผู้กระทำความผิด ดังนั้นนักบัญชีนิติวิทยาจำเป็นต้องมีวาทะ ศิลป์ที่ดีเพื่อสื่อสารในชั้นศาล
รอบรู้มุมต่างประเทศ DBD ACCOUNTING หน้า 10 ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเป็นนักบัญชีนิติวิทยา นอกจากความรู้ความเข้าใจด้านบัญชีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว นักบัญชีนิติวิทยามักจะต้องเข้าไปเป็น พยานในฐานะผู้เชี่ยวชาญในระหว่างการสอบสวนคดีของศาล ดังนั้น นักบัญชีนิติวิทยาจะต้องมีทักษะที่ หลากหลายเพื่อใช้ประกอบการสืบสวนคดีและการขึ้นศาล ทั้งทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลและคิดเชิงวิพากษ์ ความคิดสร้างสรรค์และการแก้ไขปัญหา ความใส่ใจในรายละเอียด ความอดทนมุ่งมั่น การสื่อสาร เท่าทัน เทคโนโลยี ทักษะการวิเคราะห์และการคิดเชิงวิพากษ์ ANALYTICAL AND CRITICAL THINKING SKILLS ในการหาเอกสารหลักฐานเพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ ตัวเลข บนเอกสารของบริษัทอาจไม่ตรงกับตัวเลขที่ปรากฎบนหน้า รายงานเสมอไป ดังนั้น นักบัญชีนิติวิทยาต้องสามารถบอก ได้ว่า ตัวเลขบนรายงานนั้นมาจากไหน และตัวเลขที่นำมา ใช้บนรายงานนั้นถูกต้องหรือไม่ โดยนักบัญชีนิติวิทยาต้อง เข้าไปดูว่าแต่ละธุรกรรมของบริษัทได้ทำอย่างถูกต้องตาม หลักการและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึง พิจารณาว่าตัวเลขจากเอกสารทั้งบัญชีและเอกสารต่างๆนั้น ถูกต้องโปร่งใส และสอดคล้องตามกิจกรรมของบริษัท ดัง นั้นทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลและคิดเชิงวิพากษ์ นั้นสำคัญ สำหรับการเป็นนักบัญชีนิติวิทยาเป็นอย่างมาก ทักษะความคิดสร้างสรรค์และการแก้ไขปัญหา CREATIVE THINKING AND PROBLEM SOLVING การปรับตัว และการแก้ไขปัญหาถือเป็นทักษะสำคัญของนักบัญชีนิติ วิทยา ข้อมูลที่ได้มาใหม่หรือบริบทอื่นๆที่เปลี่ยนไป อาจส่งผลต่อการ ซักถามข้อมูลโดยทันที ดังนั้นนักบัญชีนิติวิทยาต้องมีความคิด สร้างสรรค์ในการหาแนวทางที่หลากหลายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้อง กับข้อมูลของบริษัทในปัจจุบัน และยังคงต้อ มีความใส่ใจในรายละเอียดเหมือนกับนักบัญชี รวมถึงต้องมีทักษะทาง สังคมที่ดีประกอบด้วย นอกจากนี้แล้ว บริษัทมักจะต้องการนักบัญชีนิติวิทยาเข้ามาช่วยหลีก เลี่ยงการเกิดทุจริตการเงิน ดังนั้นนักบัญชีนิติวิทยาจึงควรมีความ เข้าใจและมีการปรับใช้กลยุทธ์ที่ดีเพื่อป้องกันการเกิดทุจริตไว้แต่แรก แล้ว
รอบรู้มุมต่างประเทศ DBD ACCOUNTING หน้า 11 ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเป็นนักบัญชีนิติวิทยา (ต่อ) ความใส่ใจในรายละเอียด ATTENTION TO DETAILS การตรวจสอบรายงานทางการเงินและเอกสารที่เกี่ยวข้องนั้น จะ ต้องจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล และนักบัญชีนิติวิทยาจะ พลาดไม่ได้ แม้เป็นประเด็นที่เล็กน้อย เพราะผลลัพธ์ของคดีอาจ มาจากข้อมูลนั้นได้ การพบเจอตัวเลขทางการเงินที่ผิดปกติหรือ เจอจุดที่แตกต่างเพียงเล็กน้อยก็สามารถเป็นตัวบ่งชี้รูปแบบการ เกิดทุจริตในวงกว้างต่อไป และปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องให้ความ สำคัญกับความผิดปกติเหล่านี้ ความอดทนมุ่งมั่น PERSISTENCE ไม่ใช่ทุกครั้งที่การเกิดทุจริตนั้นจะมีความชัดเจน หลายๆครั้ง ร่อยรอยทุจริตมักจะถูกซ้อนไว้เป็นอย่างดี ทำให้การสืบสวน ของนักบัญชีนิติวิทยาคืบหน้าไม่เร็วนัก ทำให้ต้องอาศัยความ อดทนเป็นอย่างมากในการก้าวผ่านความผิดหวังและพยายาม ที่จะหาทางสืบสวนต่อไป และบางครั้งเอกสารหลักฐานอาจไม่ เพียงพอที่จะสนับสนุนรายงานทางการเงิน ทำให้นักบัญชีนิติ วิทยาต้องขอข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมจากบริษัทไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถหาข้อสรุปได้ ทักษะการสื่อสาร COMMUNICATION การมีทักษะการสื่อสารที่ดี สามารถอธิบายและสรุปสิ่งที่ซับซ้อน และความรู้ทางทฤษฎีที่เฉพาะเจาะจงให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย รวม ถึงสามารถเชื่อมโยงกับคดีโดยรวมได้ ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่นักบัญชี นิติวิทยาจะต้องมีในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ยุติธรรม ทั้งการขึ้นศาลในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญและการเขียน รายงานการสืบสวน ดังนั้นทักษะการพูดและการเขียนถือเป็นสิ่ง สำคัญมากในการเป็นนักบัญชีนิติวิทยา
รอบรู้มุมต่างประเทศ DBD ACCOUNTING หน้า 12 ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเป็นนักบัญชีนิติวิทยา (ต่อ) เท่าทันเทคโนโลยี TECH SAVVY จากการที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงานของสายอาชีพ บัญชีนิติวิทยามากขึ้น นักบัญชีนิติวิทยาจะต้องรับมือกับ อาชญกรรมทางไซเบอร์มากขึ้น ทำให้การรู้จักใช้เครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆที่หลาก หลายเพื่อใช้ในการตรวจสอบและตรวจจับธุรกรรมการเงินที่ แปลกปลอมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก โดยนักบัญชีนิติวิทยาจะ ต้องมีความตื่นตัวกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆและเท่าทันผู้กระทำ ความผิดที่กำลังสืบสวน ผู้ตรวจสอบการทุจริตรับอนุญาตสากล (CFE) Certified Fraud Examiner (CFE) คือการสอบวุฒิบัตรผู้ตรวจสอบการทุจริตรับอนุญาตสากล จัดโดย สมาคมต่อต้าน การทุจริตสากล หรือ Association of Certified Fraud Examiners (ACFE) องค์กรชั้นนำด้านการต่อต้านการทุจริตที่ ใหญ่ที่สุดในโลกและยังเป็นผู้ให้บริการฝึกอบรมและการศึกษาต่อต้านการฉ้อโกงชั้นนำ โดยผู้ที่จะเข้ารับการสอบวุฒิบัตรผู้ ตรวจสอบการทุจริตรับอนุญาตสากล จะต้องจบการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่าและมีประสบการณ์ทำงานด้านการ ป้องกันการเกิดทุจริตที่เกี่ยวข้อง เช่น การทำงานด้านบัญชี กฎหมาย การสืบสวนทุจริต อย่างน้อย 2 ปี รวมถึงผ่านการ ทดสอบ 4 ด้าน ได้แก่ 1.รายงานทางการเงินและลักษณะการทุจริต (Financial Transactions and Fraud Schemes) 2.กฎหมาย (Law) 3.การสืบสวน (Investigation) 4.อาชญวิทยาและการป้องกัน (Fraud Prevention and Deterrence) อ้างอิง https://www.investopedia.com/terms/f/forensicaccounting.asp https://www.dailypioneer.com/2021/columnists/forensic-accountants-to-curb-financial-frauds.html https://www.accounting.com/resources/forensic-accounting-basics/ https://www.illumeo.com/blogs/illumeo-customer-success/2021/07/13/what-essential-skills-are-necessary-have-forensic- accounta https://www.acfe.com/ แปลและเรียบเรียงโดย นางสาวบุญสิตา ภววงษ์ศักดิ์ ฝ่ายวิชาการ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
ที่ปรึกษา นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า นางสาวจุฑามณี ยอดแสง ผู้อำนวยการกองกำกับบัญชีธุรกิจ _________ คณะผู้จัดทำ นางสาวธัญพร อธิกุลวริน นางสาวภาสิน จันทรโมลี นางสาวบุญสิตา ภววงษ์ศักดิ์ หากมีข้อแนะนำ/ติชมสามารถแจ้งได้ที่ Line OpenChat : DBD Accounting กองกำกับบัญชีธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อีเมล [email protected] เบอร์โทรศัพท์ 02-547-4407 Line OpenChat : DBD Accounting แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ...
Search
Read the Text Version
- 1 - 13
Pages: