Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore rice

rice

Published by teerapat181048, 2021-08-18 03:21:31

Description: rice

Search

Read the Text Version

ขา ว (Rice) สารบญั 1 บทนํา 4 แหลงกําเนดิ และสภาพแวดลอม 6 การเจริญเติบโตของขา ว 9 การจาํ แนกชนดิ ของขาว 11 การเพาะปลูกขา ว 13 การใสปยุ 14 การกาํ จัดวชั พชื 15 โรคขา ว 16 แมลงศัตรขู าว 18 สตั วศ ตั รขู า ว 18 การเก็บเกย่ี วและปฏิบัติการหลังเก็บเก่ยี ว 19 คาํ ถามทายบท 21 เอกสารและแหลง ขอมลู เพมิ่ เตมิ บทนาํ ขาวเปนธญั พืชทส่ี ําคัญของโลกโดยเปนแหลงพลงั งานของประชากรเกือบสองพันลานคน ตามรายงานขององคก ารอาหารและเกษตรแหงสหประชาชาติ (FAO) ในชวงระหวางป 2538-2542 ผลผลิตขาวของโลกจะอยูในระหวาง 551-593 ลานตันขาวเปลือก (370-396 ลานตันขาวสาร) ซ่ึง เปนผลผลิตจากทวีปเอเซียประมาณ 534-538 ลานตันขาวเปลือก (มากกวารอยละ 90 ของผลผลิต ทั้งหมด)และเปนการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศเปนสวนใหญ มีการซื้อขายในตลาดโลกเพียง ปละประมาณ 19-27 ลา นตนั ขา วสารเทา นั้น ในขณะท่ีปริมาณการซือ้ ขายขา วสาลสี ูงถึง 93-96 ลาน ตัน (จากผลผลิตรวม 548-613 ลานตนั ) ประเทศไทยสามารถผลิตขาวไดประมาณปละ 22-23 ลานตันขาวเปลือก (สถิติระหวางป 2539-2543) จากขาวนาปประมาณ 18 ลานตันและขาวนาปรังประมาณ 5 ลานตัน มีการสงออก ประมาณ 2ใน3หรือประมาณ 7-9 ลานตันขาวเปลือก (5-6 ลานตันขาวสาร) ครองอันดับหน่ึงใน

2 การสงขาวออกของโลกมานานมากกกวา 20 ป โดยมีมูลคาการสงออกระหวาง 28,000-87,000 ลานบาทตอ ป (ขอ มลู ระหวางป 2533-2542) พน้ื ท่ีเก็บเกย่ี วและผลผลิตของประเทศผผู ลติ ท่สี าํ คัญของโลกไดแ สดงไวในตารางที่ 1 (เปรียบเทียบขอ มลู ใหมไดจ าก http://www.oae.go.th/statistic/yearbook/200-01) ตารางที่ 1 เนอ้ื ที่เก็บเก่ียว ผลผลิต และผลผลติ เฉลย่ี ตอไร ของขา วในบางประเทศในป พ.ศ. 2535.1 ประเทศ พืน้ ท่เี กบ็ เกย่ี ว ผลผลติ * ผลผลิตเฉล่ีย (1,000 ไร) (1,000 ตนั ) (กก./ไร) รวมทั้งโลก 917,992 526,893 574 จีน 202,494 188,150 929 อนิ เดีย 262,500 109,511 417 อินโดนีเซีย 66,525 47,770 718 บงั คลาเทศ 63,312 27,400 433 เวยี ดนาม 41,875 21,500 513 ไทย 57,248 19,917 348 พมา 29,456 13,771 468 ญ่ีปนุ 13,206 13,255 1,004 บราซิล 29,331 9,961 340 ฟล ปิ ปนส 20,406 9,185 450 สหรัฐอเมรกิ า 7,919 8,123 1,026 1 ขอมลู จากศนู ยส ถติ กิ ารเกษตร (2537) * ผลผลติ ขา วเปลอื ก ประเทศท่ีมีการสงออกขาวท่ีสําคัญของโลกไดแสดงในตารางที่ 2 และการสงออก ของไทยจะสงออกในรูปขาวสาร ขาวกลอง และขาวน่ึง ปริมาณการสงออกและมูลคาการสงออก ของประเทศไทย ระหวางป พ.ศ. 2534-2536 ไดแสดงไวในตารางที่ 3 สวนเนื้อท่ีเพาะปลูกของ 2

3 ประเทศไทยในภาคตาง ๆ ในฤดูนาปรังและฤดูนาป ไดแสดงไวในตารางที่ 4 และตารางท่ี 5 ตามลาํ ดบั ตารางที่ 2 ปรมิ าณการสง ออกขา วของโลกของประเทศผสู ง ออกที่สาํ คัญ (พันตันขาวสาร) 1 ประเทศ ป * ป * 2520-2522 2530-2532 ไทย 2,381 4,915 สหรัฐอเมรกิ า 2,500 2,548 จีน 1,441 742 ปากสี ถาน 1,014 852 เวยี ตนาม 58 1,050 พมา 525 170 บราซิล 198 16 ออสเตรเลยี 292 366 อื่น ๆ 2,577 2,699 รวม 10,986 12,992 * การสง ออกเปน ปรมิ าณเฉลี่ยราย 3 ป 1 ขอ มลู จาก FAO (1994) ตารางท่ี 3 ปรมิ าณและมลู คาของขา วสงออกของไทยระหวางป พ.ศ. 2534-2536 ชนดิ สนิ คา พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2536 ปริมาณ มลู คา ปรมิ าณ มูลคา ปรมิ าณ มูลคา (เมตริกตัน) (พันบาท) (เมตรกิ ตนั ) (พนั บาท) (เมตริกตัน) (พนั บาท) ขา วสารเจา 3,212,631 23,635,326 3,744,603 28,257,693 3,775,549 25,757,918 ขา วสารเหนยี ว 329,324 1,055,235 383,536 1,264,004 164,202 1,336,228 ขา วกลอ ง 85,077 634,248 70,209 482,703 89,426 568,508 ขาวน่งึ 702,897 5,170,818 915,411 6,186,303 955,167 5,266,555 ปลายขา วนง่ึ 2,604 14,236 2,422 13,416 2,539 11,427 ขาวอน่ื ๆ 482 5,919 1,123 8,025 581 5,955 ขาวเปลือก - - 300 1,607 - - รวมขา วสงออก 4,333,015 30,515,809 5,117,604 36,213,753 4,987,464 32,946,591 3

คิดเปน % ของสินคา 11.92% 12.71% 4 เกษตรกรรมสงออก 11.78% 1 ขอมูลจากศูนยสถติ ิการเกษตร (2537) ตารางท่ี 4 ขาวนาปรงั : เนือ้ ท่ี ผลผลิต และผลผลิตเฉลี่ย ป พ.ศ. 2537 1 ภาค เน้อื ทเ่ี พาะปลกู เน้ือทเ่ี กบ็ เกีย่ ว ผลผลิต ผลผลติ เฉลี่ย (กก./ไร) (ไร) (ไร) (ตัน) 360 672 ตะวันออกเฉียงเหนอื 93,699 89,891 32,323 673 403 เหนือ 543,685 528,187 354,884 652 กลาง 2,323,518 2,265,828 1,525,466 ใต 137,289 128,853 51,924 รวมทุกภาค 3,098,191 3,012,759 1,964,597 1 ขอมลู ศนู ยสถิติการเกษตร (2537) ตารางท่ี 5 ขา วนาป : เนอ้ื ที่ ผลผลติ และผลผลติ เฉล่ียตอไร ปเพาะปลูก พ.ศ. 2536/2537 1 ภาค เนื้อทเี่ พาะปลูก เนอ้ื ท่ีเก็บเกยี่ ว ผลผลิต ผลผลติ เฉลย่ี (ไร) (ไร) (ตัน) (กก./ไร) ตะวันออกเฉียงเหนอื 30,734,409 27,223,024 7,125,324 262 เหนอื 12,129,172 10,722,914 4,170,424 389 กลาง 10,221,356 9,431,000 4,244,548 450 ใต 3,068,133 2,625,504 942,367 359 รวมทุกภาค 56,153,070 50,002,442 16,482,663 330 1 ขอ มลู ศนู ยสถิตกิ ารเกษตร (2537) ถ่นิ กําเนดิ และสภาพแวดลอ ม จากการตรวจสอบหลักฐานทางโบราณคดีพบวาขาวมีการปลูกมานานมากกวา 2800 ป กอนคริสตกาลในอินเดียและจีน และหลักฐานลาสุดจากการคนพบของนักโบราณคดี Donn T. Bayard และคณะที่ไดมาขุดคนเรื่องราวทางประวัติศาสตรโบราณคดีที่บานโนนนกทา อ.ภูเวียง จ. 4

5 ขอนแกน พบเมล็ดขาวท่ีมีอายุประมาณ 3500 ปกอนคริสตกาล จึงเช่ือวาถ่ินกําเนิดของขาวนั้นอยู ในเอเซียโดยเฉพาะเอเซียใต และตะวันออกเฉียงใตเน่ืองจากมีสภาพภูมิประเทศเปนที่ราบลุมซึ่ง เปนพื้นทท่ี ีข่ าวสวนใหญป รับตัวไดดี สภาพนิเวศนวิทยาของขาวนั้นพบวาขาวสามารถปรับตัวไดดีตั้งแตเสนรุงท่ี 49°เหนือ (ประเทศเชคโกสโลวาเกีย) จนถึง 35° ใต (รัฐนิวเซาทเวลประเทศออกเตรเลีย) แตสวนใหญจะพบวา อยูในเขตรอนระหวางเสน tropic of cancer (23° 27′ เหนือ) และ tropic of capricorn (23° 27′ ใต) ซ่ึง ไดแกป ระเทศตาง ๆ ในเอเซียใต เอเซียตะวันออกเฉียงใต อาฟริกาตะวันตก อเมริกากลาง และอเมริกา ใต ขาวสามารถเจรญิ เติบโตไดใ นสภาพดินฟา อากาศดังตอไปนี้ (1) ความสูงของพืน้ ท่ี ขาวขึ้นไดตัง้ แตระดับนํา้ ทะเลจนถงึ ทีส่ งู 2,500 เมตร สามารถเจริญเติบโตทง้ั ในที่ดอน (ขา วไร) และทลี่ มุ มรี ะดบั น้ําต้งั แต 5 ซม. (ขาวนาสวน) จนถึง หลายเมตร (ขา วฟางลอย) (ภาพที่ 1) ภาพท่ี 1 สภาพพื้นทป่ี ลกู ขา วแบงตามสภาพนา้ํ และชนิดของขาว (2) ดิน ข้ึนไดในดินเกือบทุกชนิดยกเวนดินทราย สวนใหญชอบขึ้นในดินเหนียว และเหนียวรวน มีความเปนกรดและดาง (pH) ตั้งแต 3-10 ข้ึนไดแมกระท่ังในดินที่มีความอุดม สมบูรณต ํ่า (3) ปริมาณนํา้ มีความตอ งการนาํ้ ตงั้ แต 875 มม. (ขา วไร) จนถงึ 2,000 มม. (ขา วนา สวน) ตอป แตควรมีการกระจายฝนที่ดี ในพ้ืนท่ีท่ีไมไดรับน้ําชลประทานหรือท่ีเรียกวานาน้ําฝน ซึ่งสว นใหญจะปลูกขาวไดในนาปเทานั้น และการตอบสนองตอความตองการนํ้ายังข้ึนอยูกับพันธุ และชวงของการเจริญเติบโต ในชวงกากรเตรียมดินน้ันควรมีน้ําประมาณ 150-200 มม. ชวงท่ีเปน 5

6 ตนกลาตองการประมาณ 250-400 มม. จนถึงตนกลาอายุ 30-40 วัน สวนในชวงปกดําจนกระท่ัง เก็บเก่ียวนัน้ ควรมีนํ้าอยูในระหวาง 800-1,200 มม. (4) แสงอาทิตย ปริมาณแสงมีความจําเปนตอการเจริญเติบโตโดยที่พืชใชใน กระบวนการสังเคราะหแสง และชวงเวลาสั้นยาวของกลางวันกลางคืนยังมีผลตอการเจริญทาง สืบพันธุของขาวไวแสง (จะไดกลาวในรายละเอียดตอไป) ความเขมของแสงในฤดูฝนซ่ึงมีเมฆ หมอกมากนั้นจะนอยกวาความเขมแสงในฤดูรอน ผลผลิตขาวสวนใหญจึงนอยกวาเมื่อปลูกในฤดู ฝน เชน จากรายงานพบวาขาวที่ปลูกในฤดูฝนจะใหผลผลิตประมาณ 63 ถัง/ไร แตถานําพันธุ เดียวกันไปปลูกในหนารอนหรือหนาแลงจะไดผลผลิตสูงถึง 73 ถัง/ไร (ใชพันธุ กข.11, กข.7 และ กข.1) แสงแดดมีความจาํ เปนมากในชว งเร่ิมสรา งดอกจนกระท่งั 10 วนั กอ นเมล็ดแก (5) อุณหภูมิ ไดมีการศึกษาพบวาอุณหภูมิมีอิทธิพลตอการเจริญเติบโตของขาว และการใหผลผลิตพบวาอุณหภูมิที่เหมาะสมจะอยูในระหวาง 25-33° ซ. อุณหภูมิท่ีต่ําเกินไปหรือ สูงเกินไป (ตํ่ากวา 15° ซ สูงกวา 35° ซ) จะมีผลตอการงอกของเมล็ด การยืดของใบ การแตกกอ การสรางดอกออน การผสมเกสร เปนตน เชน พบวาอุณหภูมิที่สูงเกินไปและตํ่าเกินไปชวงท่ีมีการ ออกดอกจะทําใหดอกขาวเปน หมนั ซ่งึ จะสงผลทําใหไดผ ลผลติ ต่าํ กวา ปกติ เปนตน (6) ความช้ืนสัมพัทธ อิทธิพลของความชื้นสัมพัทธของบรรยากาศตอการ เจริญเติบโตของขาวน้ันมักจะไมชัดเจน เพราะจะมีความสัมพันธกับปริมาณความเขมแสงและ อณุ หภมู ิในเชิงทกี่ ลบั กันคือ เม่ือความเขมของแสงมากและอุณหภมู สิ ูงมักทําใหค วามช้ืนสมั พัทธต่ํา อุณหภูมเิ ย็นในเวลากลางคนื ทําใหเกิดนํา้ คา งสงู จะมีผลตอการพัฒนาของเชื้อโรคของขาวบางชนิด เชน โรคใบไหมไดเหมาะสมย่ิงขนึ้ เปนตน (7) ลม ลมออ นท่พี ดั ถายเทอยตู ลอดเวลา (ความเร็วประมาณ 0.75-2.25 ซม./วินาที) จะชวยใหมีการถายเทกาซคารบอนไดออกไซดที่ใชในการสังเคราะหแสงไดดี ทําใหพืชสามารถ สังเคราะหแสงไดมากยิ่งขึ้น แตถาลมแรงจะมีผลโดยตรงทําใหตนขาวหักลม เกิดความเสียหายแก ผลผลิตได การเจรญิ เติบโตของขา ว การศึกษาทางการเจริญเติบโต หรือสรีรวทิ ยาของพืชนั้นมีความสําคัญทําใหท ราบถึง ขัน้ ตอนของกระบวนการมีชวี ติ ของพืช และอิทธิพลของปจ จัยภายนอกที่สงผลตอ กระบวนการทํา ใหเ กิดอาการผิดปกติหรอื เจริญเติบโตไมเ ต็มท่ี ถาเราสามารถศึกษาและเขาใจการตอบสนองของ 6

7 พชื ดังกลาวไดแลว กส็ ามารถนาํ ความรนู น้ั ไปปรบั ปรุงแกไขใหพืชเจรญิ เตบิ โตในสภาพปกตแิ ละ ใหผลผลิตตามเปาหมายได ในทีน่ ้จี ะไดกลาวถึงการเจรญิ เตบิ โตของขาวพอสงั เขปเทาน้นั การเจรญิ เติบโตของขาวโดยทัว่ ไปจะแบงออกเปน ระยะตา ง ๆ ไดด ังน้ี (ดภู าพการเจรญิ เตบิ โตและพัฒนาการของขา วจาก:http://www.riceweb.org/Plant.htm) (1) การเจริญเติบโตทางลาํ ตน และใบ (vegetative growth) โดยมี 2 ระยะคอื - ระยะตนกลา (seedling stage) เปนระยะจากขาวงอกจนกระทั่งถึงขาวแตกกอ ใช ระยะเวลาประมาณ 20 วนั (ข้นึ อยกู ับพันธ)ุ ส้ินสดุ ระยะน้ตี น ขา วจะมใี บประมาณ 5-6 ใบ - ระยะแตกกอ (tillering stage) นับจากขาวเร่ิมแตกกอดังกลาวจนถึงขาวเริ่มสรางชอ ดอกออน (panicle initiation) ใชเ วลาประมาณ 30-50 หลังจากระยะตนกลาขึ้นอยูกับการตอบสนอง ตอชวงแสงของพันธขุ า ว (2) การเจริญเติบโตทางดานการสืบพันธุ (reproductive growth) เร่ิมจากขาวเร่ิม สรางชอดอกออน ผานระยะต้ังทอง (booting stage) จนถึงโผลชอดอกและผสมเกสร (heading, flowering, fertilization) โดยจะใชร ะยะเวลาชวงนป้ี ระมาณ 30-35 วัน ลกั ษณะของระยะตาง ๆ มดี ังน้ี - ระยะเร่มิ สรา งชอ รวงออน หลังจากแตกกอเตม็ ทแ่ี ลวก็จะเขาสูระยะสรางชอรวงออน (พันธุที่ไวแสงจะตองไดรับชวงแสงที่เหมาะสมกอน จึงจะกอใหเกิดระยะนี้ได) ระยะนี้ตนขาวจะ เปลี่ยนจากตนท่ีมีลักษณะแบนเปนตนกลม และจะมีการยืดปลอง (stem elongation) ในอัตรา รวดเร็ว เม่ือผาลําตนดูจะเห็นจุดกําเนิดชอดอก (panicle primordium) ลักษณะเปนสามเหลี่ยมมีสี ขาวปยุ ๆ และจะเจริญเติบโตเร่ือย ๆ เปนชอดอกที่มีดอกเรยี กวา spikelets - ระยะตั้งทอง เปนระยะที่ดอกออนของขาวขยายตัวใหญขึ้นจนเปนชอดอกที่สมบูรณ ตรงกาบใบธงจะอวนพองขึน้ - ระยะออกดอกและผสมเกสร ระยะที่ชอดอกโผลจากกาบใบ (heading) ดอกขาวบาน (flowering) และผสมเกสร (fertilization) ซึง่ จะเกดิ พรอ มกันหรือเหลื่อมกันบางเพียงเล็กนอย (3) การพัฒนาการของเมล็ด (grain development) ไดแกระยะภายหลังการผสม เกสร ซ่ึงรังไขท่ีไดรับการผสมจะเจริญเติบโต อาหารท่ีไดรับการสังเคราะหแสงจะถูกสะสมใน เมล็ดเปนลําดับ ในหลายแหงจึงเรียกระยะน้ีวาระยะสะสมในเมล็ด (grain filling period) ใน ระยะแรกจะอยูในระยะนํ้านม (milky) เปล่ียนเปนแปงออน (dough) จนกระท่ังเมล็ดสุก (ripening) 7

8 เปนแปงแข็งเปนระยะสุกแกหรือเก็บเกี่ยว (harvest maturity) จะใชเวลาการพัฒนาการของเมล็ด ท้งั หมดประมาณ 25-30 วนั ดงั นนั้ เม่อื รวมระยะตา ง ๆ แลว ขาวจะมีอายุในระหวาง 110-120 วัน สําหรับขาวไมไว แสงและประมาณ 120-140 วันสาํ หรบั ขาวไวแสง การตอบสนองตอ ชวงแสงในการออกดอกของขาว (photoperiodism) ลักษณะทางสรีรวิทยาทีค่ วรรูอ ีกอยา งหนงึ่ ในเร่อื งขาวคือ การตอบสนองตอชว งแสง ในการออกดอกของขาวหรอื ที่เรยี กวา ขา วไวแสง (sensitive to photoperiod) ซ่งึ จัดขาวอยใู น ประเภทพชื วนั ส้ัน (short day plant) กลา วคอื ขาวพนั ธุน้นั ๆ จะมจี าํ นวนชั่วโมงของชวงความยาว กลางวนั อยูระดบั หนึ่งที่จะทาํ ใหพ ชื มกี ารสรา งดอกได เรยี กวาชวงแสงวกิ ฤต (critical daylength) โดยทีถ่ าชวงแสงกลางวันมจี ํานวนมากกวาชวงแสงวกิ ฤตแลว พชื จะไมออกดอกคอื จะมกี ารเจริญ ทางดานลําตน ใบตลอดเวลาจนกวาจะไดร ับชวงแสงตํ่ากวาชวงแสงวิกฤต ดังน้นั ในรอบหน่งึ ปจงึ ควรรวู า ในพื้นที่ทปี่ ลกู ขา วน้นั มีปรมิ าณชว งเวลากลางวันและกลางคนื เทา ไร ซึง่ สามารถจะคาํ นวณ ไดจ ากตาํ แหนง ของเสนรงุ เชนเปรียบเทียบสภาพชวงแสงกลางวันในรอบปของจังหวัดเชียงใหม กรุงเทพฯ และสงขลา (ภาพท่ี 2) จงั หวัดที่ตัง้ ใกลเสนศูนยสตู รมากท่ีสดุ คอื สงขลา จะมีชวงแสง กลางวนั กลางคืนไมแ ตกตางกันมากนกั แตถายง่ิ สงู ขึน้ ไปทางเหนอื หรือเสนรงุ เหนอื ข้นึ ใน กรุงเทพฯ และเชียงใหมความแตกตางของชวงเวลากลางวนั กลางคืนจะมากขึน้ ตามลาํ ดับ 8

9 ดังนัน้ ถา ปลูกขาวไวแสงสามพันธุพ รอม ๆ กันคอื ขาวขาวดอกมะลิ 105 (ชว งแสง วิกฤต = 11 ชม. 52 นาท)ี ขา วขาวปากหมอ 148 (ชว งวกิ ฤต = 11 ชม. 45 นาท)ี และขา วเหลือง ปะขาว 123 (ชว งแสงวกิ ฤต = 11 ชม. 32 นาที) จะพบวาขาวขาวดอกมะลิ 105 จะติดดอกกอน เพราะผานชวงแสงวกิ ฤติกอ น สว นพันธุอีก 2 พันธตุ อ งชะลอออกไปอกี เน่อื งจากชว งแสงวิกฤตจะ ถึงภายหลงั (ภาพท่ี 2) สําหรับชว งที่ตอ งรอออกดอกซ่งึ เปน สาเหตสุ ําคัญของการยืดอายุขา วใหม าก ข้นึ เรยี กวาชวง lag vegetative growth ดังน้ันขา วทัง้ สามพนั ธนุ ้ีจงึ มอี ายุเกบ็ เกีย่ วตางกัน ภาพที่ 2 ก. ปรมิ าณชว งแสงในแตละเดือนในรอบหน่งึ ปข องจังหวัดตา ง ๆ ในประเทศไทย และ ข. การตอบสนองตอ ชว งแสงในการออกดอกของพันธุขา วพันธุตา ง ๆ ที่ปลกู ในสถานท่แี ละเวลาเดยี วกัน (ทม่ี า : การทาํ นาน้ําฝน สถาบันวจิ ยั ขา ว กรมวชิ าการ เกษตร) การจําแนกชนดิ ของขา ว การจาํ แนกชนดิ ของขา วนัน้ มหี ลายแบบขึน้ อยูก ับวัตถปุ ระสงคข องการจาํ แนก ซึง่ แบง ออกไดดังนี้ 1. จาํ แนกตามสภาพพ้ืนท่ปี ลูก แบง ออกเปน - ขาวไร (upland rice) หมายถึงขาวที่ปลูกในที่ดอนไมมีน้ําขัง และไมมีคันนา ปลูก โดยอาศัยนํ้าฝนเพียงอยางเดียว การปลูกเหมือนพืชไรท่ัวไปและมีปลูกมากทางภาคเหนือ (ตาม 9

10 ดอย) และภาคใต (ปลูกแซมสวนยางอายุ 1-3 ป) มีพันธุดีที่ทางราชการแนะนําปลูก เชน ซิวแมจัน (ภาคเหนอื ) กูเมืองหลวง และดอกพยอม (ภาคใต) - ขาวนาสวน (lowland rice) เปนขาวที่ปลูกในท่ีลุมมีระดับน้ําลึกไมเกิน 80 ซม. เปน ขา วทีป่ ลูกกันสว นใหญของประเทศและมีพ้ืนที่ปลูกมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาค กลาง สวนมากจะใหผ ลผลติ ตอไรสงู กวา ขา วไร และขา วข้นึ น้ํา (อยูในระหวาง 30-50 ถงั ตอ ไร) - ขาวข้ึนนํ้าหรือขาวนาเมืองหรือขางฟางลอย (floating rice) เปนขาวท่ีปลูกในพ้ืนท่ีท่ี มีน้ําทวมลึกในฤดูน้ําหลาก โดยมีนํ้าทวมลึกเกินกวา 80 ซม. บางที่น้ําอาจจะลึกถึง 3-4 เมตรก็ได พันธขุ าวชนดิ นจ้ี ะสามารถปรับตัวไดตามระดับน้าํ ท่ีสูงขึน้ จงึ เรยี กวาขาวข้ึนนํ้า พบมากในพน้ื ที่ราบ ลุมภาคกลาง สวนในภาคใตพบบางเปนบางแหง การปลูกมักจะใชหวานขาวแหงตอนตนฤดูฝน พันธุท่ีทางราชการแนะนําไดแก เล็บมือนาง 111, ปนแกว 56, ตะเภาแกว 161, นางฉลอง, กข.17, กข.19 เปนตน ผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 200-300 กก./ไร เมล็ดขาวเมื่อนําไปสีมักจะแตกหัก เนื่องจากขา วสารมที องไขห รอื ทอ งปลาซิวมาก พอคา จงึ นยิ มเอาไปทําขาวน่ึงเพราะเม่ือนําไปสีแลว ไดขาวสารทมี่ ีคุณภาพดี 2. จาํ แนกตามคุณสมบัตขิ องเมลด็ ขาว คุณสมบัติของเมล็ดขาวจะประกอบดวยแปงสวนใหญ 2 ชนิดคือ อะมัยโลเพคติน (amylopectin) ทําใหเมล็ดขาวมีสีขาวขุน เวลาตมสุกแลวจะเหนียว และอะมัยโลส (amylose) ที่ทํา ใหขาวมีสขี าวใส เมอ่ื ตมสุกจะมีสีขาวขุนและรวน ขาวเหนียว (glutinous rice) จะมีแปงอะมัยโลเพ คตินเปนสวนใหญคือประมาณ 95% และมีแปงอะมัยโลสนอยมากหรือไมมี สวนขาวเจา (non- glutinous rice) น้ันมีปริมาณอะมัยโลสสูง 10-30% มีอะมัยโลเพคติน 70-90% ตัวอยางขาวเจาพันธุ ดีท่ีทางการแนะนําไดแก ขาวดอกมะลิ 105, ขาวตาแหง 17, เหลืองปะทิว 123, กําผาย 41, กข. 1, กข. 5, กข.7 ฯลฯ สวนพันธุขาวเหนียวที่ทางการแนะนํา ไดแก เหนียวสันปาตอง, กข.2, กข.4, กข.6, กข.8 , กข.10 3. จาํ แนกตามฤดกู าลหรอื การตอบสนองตอ ชวงแสง แบง ออกเปน - ขา วพันธไุ วตอ ชวงแสง (photoperiod sensitive varieties) เปน พนั ธขุ าวท่ีจะออกดอก ไดในชวงวันสั้น (นอยกวา 12 ช่ัวโมง) ในประเทศไทยจะอยูในชวงเดือนกันยายน-ธันวาคม (ดัง ยกตัวอยางมาแลว) ขาวพันธุไวตอชวงแสงน้ีจะปลูกไดเฉพาะ นาป ถาปลูกในนาปรังจะไมออก ดอก พันธุไ วตอชว งแสงนไี้ ดแ ก พันธพุ ืน้ เมอื งทั่วไป และพันธุ กข. ที่ไวตอชวงแสงได กข.5, กข.6, กข.8, กข.13, กข.15, กข.19, และกข.17 10

11 - ขาวพันธุไมไวตอชวงแสง (photoperiod insensitive varieties) พันธุขาวจําพวกน้ีจะ ออกดอกไดโดยไมข้ึนกับความยาวของชวงวันจะข้ึนอยูกับอายุเก็บเกี่ยวที่คอนขางแนนอน และใช เปนพันธุขาวที่ปลูกในนาปรัง ซึ่งตองอาศัยนํ้าชลประทาน พันธุตาง ๆ ไดแก กข.1, กข.2, กข.3, กข.4, กข.7, กข.9, กข.10, กข.11, กข.17, กข.21, กข.23 และ กข.25 สวนพันธุพื้นเมืองมีอยูพันธุ เดียว คือ พนั ธุเ หลืองทอง 4. จําแนกตามการปรับปรุงพนั ธุพชื แบงออกเปน 2 พวกใหญ ๆ คือ - พันธุพ้ืนบานหรือพันธุพ้ืนเมือง (land race varieties) เปนพันธุที่เกษตรกรใชปลูกมา แตดั้งเดิม สวนมากมักเปนพันธุท่ีมีการปรับตัวดีในสภาพแวดลอมของทองถิ่น มักมีตนสูงใบลู (แขงกับวัชพืช) ปรับตัวในสภาพดินไมอุดมสมบูรณไดดี (มีการวิวัฒนาการที่ตอเน่ืองมา) ตอบสนองตอ ปุยตา่ํ พันธุพื้นเมืองจะใหผลผลิตตํ่าถึงปานกลางในสภาพการปลูกของเกษตรกร (ใช ปจจัยการผลิตตํ่า) พันธุพ้ืนเมืองมีอยูมาก และมักเรียกช่ือไปตามทองถิ่น สวนมากจะมีคําวา ขาว เหลือง ชื่อดอกไม ชื่อผูหญิง เชน ขาวนวล เจาขาว หอมเหลือง เหลืองนอย แกนจันทร ยาไทร นาง มล ศรนี วล ฯลฯ ขาวพันธุดีทางราชการ คือ พันธุขาวที่ทางราชการไดขยายพันธุและเผยแพรออกสู เกษตรกร เปนพันธุขาวท่ีคณะกรรมการพิจารณาพันธุขาวไดตรวจสอบแลว และประกาศเปน ทางการ ลักษณะโดยทัว่ ไปจะเปนพนั ธทุ ่ีใหผ ลผลติ สูง ตอบสนองตอปุยสูง ตานทานโรคและแมลง มเี มล็ดไดมาตรฐาน คณุ ภาพการหุงตมดี ลกั ษณะตา ง ๆ เหลา น้ี จะมีอยใู นแตละพันธุแตกตางกันไป การไดม าของพันธดุ ที างราชการน้ันไดมาจาก การคัดเลือกจากพันธุพื้นเมือง และการสรางพันธุขึ้น ใหมโดยวิธีการผสมพันธุ หรือชักนําใหกลายพันธุโดยการใชรังสี ซึ่งจัดเปนประเภท กข. ตัวอยาง พันธุดีท่ีไดรับการคัดเลือกจากพันธุพื้นเมือง เชน ขาวขาวดอกมะลิ 105, เหนียวสันปาตอง, ขาวตา แหง 17, เหลืองปะทิว 123, ขาวพวง 32, ปนแกว 56, ทางภาคใตมี นางพญา 132, แกนจันทร, เผือก น้ํา 43, พวงไร 2 เปนตน (เลขคูเปนขาวเหนียวและ เลขคี่เปนขาวเจา) ขาวพันธุ กข. ที่เกิดจากการ ชักนําใหกลายพันธุดวยรังสี เชน กข.6, กข.10, กข.15 เปนตน ทางราชการจะมีรายช่ือพันธุขาวท่ี สง เสรมิ ในทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งพันธุเหลาน้ันไดผานการทดสอบในระดับทองถ่ินมาแลววา ไดรบั ผลดี ดงั นน้ั ในแตล ะพ้ืนที่จงึ อาจจะมพี นั ธุเ ฉพาะแหง ไป 5. การจาํ แนกตามฤดูการปลูก แบง ออกเปน 2 ประเภท - ขาวนาป คือ ขาวท่ีปลูกในฤดูการทํานาปกติตามฤดูฝน ซึ่งจะแตกตางกันไปในแต ละภาคและทองที่ สวนมากจะใชพันธุขาวที่ไมไวแสง พันธุขาวนาปยังแบงออกเปนพันธุขาวหนัก ขา วกลาง และขาวเบา ตามอายุการเก็บเก่ียว 11

12 - ขาวนาปรัง (หรือนากรัง) คือ ขาวท่ีปลูกนอกฤดูทํานาปกติไดรับน้ําจากการ ชลประทาน สวนมากจะใชพันธุขาวที่ไมไวแสง สามารถจะกําหนดอายุเก็บเก่ียวไดของแตละพันธุ คอ นขา งแนน อน ฤดูการทํานาในประเทศขึ้นอยูกับชวงของฤดูฝนเปนสวนใหญ นอกจากพ้ืนท่ีท่ีมีการ ชลประทานได ดังนั้นจึงมีความแตกตางกันตามภาคตาง ๆ ดังนี้ (จะมีความเหลื่อมลํ้ากันบางขึ้นอยู กบั พันธขุ าว และความลา หรอื ชาของฤดฝู น) 1. ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใตฝงตะวันตก ฤดูกาลทํา นาปจะเร่ิมตั้งแตเดือนเมษายน หรือพฤษภาคมจนถึงเดือนมกราคม สวนนาปรังจะเร่ิมต้ังแตเดือน มกราคมจนถงึ เดือนเมษายน 2. ภาคใตฝงตะวันออก (ฝงอาวไทย) ฤดูกาลทํานาปจะอยูในระหวางเดือนกันยายน โดยจะมีการเตรียมดินในชวงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม และเก็บเกี่ยวประมาณเดือนมีนาคม สว นการทํานาปรังนน้ั อยูใ นชวงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม การเพาะปลูกขา ว การปลูกขา วในประเทศไทยแบง ออกไดเ ปน 3 วธิ ีดว ยกนั 1. การปลกู ขา วไร (upland rice planting) หมายถึงการปลูกขาวบนที่ดอนและไมมีน้ํา ขังในพื้นที่ปลูก พ้ืนท่ีดังกลาวมักเปนพ้ืนท่ีเชิงเขามีระดับสูง ๆ ต่ํา ๆ หรือในภาคใตปลูกแซมยาง ออนไมเกิน 4 ป เนื่องจากมีพื้นที่วางระหวางแถวยาง ซึ่งรมใบยังไมปดทางแสง จึงไมสามารถไถ เตรียมดินเหมือนการปลูกพืชไรอื่น ๆ เกษตรกรมักจะปลูกแบบหยอดโดยจะทําการตัดไมเล็กและ หญาออก ใชไมปลายแหลมเจาะดินเปนหลุมเล็ก ๆ ลึกประมาณ 3 ซม. ปากหลุมมีขนาดกวาง ประมาณ 1 น้ิว ระยะระหวางหลุมประมาณ 25 x 25 ซม. มักจะหยอดเมล็ดทันทีที่ทําหลุมโดย หลอดหลมุ ละ 5-8 เมลด็ หยอดเสรจ็ แลว ใชเ ทาเกลีย่ ดินกลบ ขาวจะงอกหลังจากไดรับความชื้นจาก ฝน วัชพืชเปนปญหาสําคัญ ตองหม่ันกําจัดถาตองการผลผลิต สวนใหญปลูกขาวไรไวบริโภคใน ครัวเรอื น 2. การปลูกขาวนาดํา (transplanting rice culture) แบงวิธีการออกเปน 2 ขั้นตอนคือ ตอนแรกเปนการตกกลา (เพาะกลา) ในแปลงขนาดเล็ก ตอนท่ีสองไดแกการถอนตนกลาหรือยาย กลา ไปปกดําในนาท่ีไดเ ตรยี มพื้นท่ไี วแ ลว ขน้ั ตอนตาง ๆ มรี ายละเอยี ดดังน้ี การเตรียมดิน พื้นท่ีท่ีจะทําการปกดําจะตองมีการไถดะ ไถแปรและคราด เอาเศษพืช จากนาออกไป เดิมเกษตรกรใชควาย วัว ปจจุบันมีรถไถขนาดเล็กเรียกวาควายเหล็กหรือรถไถเดิน 12

13 ตาม นาโดยท่ัวไปจะแบงออกเปนแปลงเล็ก ๆ (ทางใตเรียกวาบิ้ง) มีขนาดประมาณ 1 ไร หรือเล็ก กวา คันนามีไวสําหรับเก็บกักน้ํา หรือปลอยนํ้าท้ิงจากแปลงนา กอนไถตองรอใหดินมีความช้ืน พอท่ีจะไถไดเสียกอน อาจจะรอใหฝนตกหรือปลอยนํ้าเขาไปในแปลง การไถดะ หมายถึงการไถ ครั้งแรกเพื่อทําลายวัชพืชในนาและพลิกกลับหนาดิน ปลอยทิ้งไวประมาณ 1 สัปดาห จึงทําการไถ แปร ซึ่งหมายถึงการไถเพื่อตัดกับรอยไถดะ ทําใหรอยไถดะแตกเปนกอนเล็ก ๆ จนวัชพืชออกจาก ดิน การไถแปรอาจจะไถมากกวาหน่ึงคร้ังก็ไดขึ้นอยูกับระดับนํ้าและปริมาณวัชพืช หลังจากไถ แปรแลวควรทําคราดทันที การคราดน้ันมีวัตถุประสงคเพื่อเอาวัชพืชออกจากในนา การเตรียม พื้นที่ท่ีดีจะปรับใหพ้ืนที่สมํ่าเสมอ จะเปนการดีสําหรับใหระดับน้ํามีมาสมํ่าเสมอในแปลง หาก พืน้ ที่ไมสมํา่ เสมอพืน้ ทส่ี งู จะมีวัชพืชขนึ้ และเปนท่พี กั พิงของหนูทําลายขาวในระยะตอ มา ข้ันการตกกลา การตกกลา หมายถึง การเอาเมล็ดไปหวานใหงอกและเจริญเติบโต ขึ้นมาเปนตนกลา สามารถจะทําไดหลายวิธี เชน การตกกลาในดินเปยกคือตกกลาบนเทือก การตก กลาในดินแหงจะตกกลาในพ้ืนที่ดอนที่มีการปรับที่เรียบรอยแลว เมล็ดพันธุท่ีเอามาตกกลาจะตอง เปนเมล็ดพันธุที่สมบูรณปราศจากเช้ือโรคตาง ๆ การแยกเอาเมล็ดสมบูรณ ทําไดโดยใสเมล็ดพันธุ ในนํา้ เกลือท่ีมคี วามถวงจําเพาะประมาณ 1.08 (นา้ํ สะอาด 1 ลิตร ผสมเกลอื แกง 1.7 กก. วดั ดไู ดจาก ไขเริม่ ลอย) เมลด็ สมบูรณจะจมกน สว นเมล็ดไมสมบรู ณจ ะลอย และตกั ออก เอาเมล็ดท่ีตองการใส ถุงผาไปแชในนํ้านาน 12-24 ชั่วโมง แลวนํามาผ่ึงบนกระดานที่มีลมถายเทสะดวก เอาผาหรือ กระสอบเปยกนํ้าคลุมไว 36-48 ช่ัวโมง หลังจากน้ันเมล็ดขาวจะงอก จึงเอาไปหวานบนแปลงกลา เปยกที่ไดเตรียมไว สําหรับตกกลาในดินแหงนั้นจะใชการหวานเมล็ดบนแปลงกลาท่ีเปดเปนรอง เปนแถวแลวกลบ อาจจะมีการรดนํ้าชวยใหขาวงอกเร็วข้ึนผาฝนไมตก โดยปกติใชเมล็ดพันธุ จํานวน 40-50 กก. ตอเน้ือท่ีแปลงกลาหนึ่งไร เมื่อกลามีอายุครบ 25-30 วันนับจากวันหวานเมล็ด จะถอนตนกลาไปปก ดาํ ขั้นการปกดํา ใชตนกลาอายุ 25-30 วัน โดยถอนตนกลาจากแปลงแลวมัดรวมกันเปน มัด ๆ เขาตนกลาสูงมากก็ใหตัดปลายใบท้ิง นําไปปกดําในท่ีนาที่เตรียมไว ซึ่งควรมีน้ําขังอยู ประมาณ 5-10 ซม. เพราะชวยค้ําตนขาวไมใหลมไดเม่ือมีลมพัด ทําการปกดําเปนแถวโดยใชกลา 3-4 ตน ตอ กอ ปลูกใหม ีระยะหางระหวางกอ 25x25 ซม. 3. การปลูกขาวนาหวาน (broadcasting or direct sowing rice culture) เปนการปลูก ขาวโดยการหวานเมล็ดพันธุหวานลงไปในพื้นที่นาท่ีไดเตรียมไว พ้ืนที่ที่ทําขาวนาหวานนั้นมีการ ไถดะไถแปร โดยจะมีการไถพ้ืนที่พลิกดินไวกอน 1-2 เดือนเพ่ือรอฝน เมื่อฝนเริ่มมาจึงทําการ 13

14 หวาน การหวานมีหลายวิธีดวยกัน เชน การหวานสํารวย หวานคราด กลบหรือไถกลบ การหวาน หลังขไี้ ถ และการหวานน้าํ ตม การหวานสํารวย หลังจากเตรียมดินโดยการไถดะไถแปรแลวนําเมล็ดพันธุที่ไมได เพาะใหงอกหวานลงไปโดยตรง ปกติใชเมล็ดพันธุ 1-2 ถังตอไร (1 ถังขาวเปลือก = 10 กก.) เมล็ด พันธุที่หวานจะตกอยูตามซอกกอนดินและรอยไถ เมื่อฝนตกลงมา เมล็ดไดรับความชื้นก็จะงอก การหวานแบบน้ใี ชก บั ดินทม่ี คี วามชน้ื เพยี งพออยแู ลว การหวา นคราดกลบหรอื ไถกลบ กระทาํ เชนเดียวกับการหวานสํารวย แตใชคราดหรือ ไถเพอ่ื กลบเมล็ด หากดินมคี วามชืน้ อยูแ ลวเมล็ดก็จะเร่ิมงอกทันที ตนกลาท่ีขึ้นมาโดยวิธีน้ีจะตั้งตัว ไดดีกวา การหวานนํ้าตม การหวานแบบนี้นิยมใชในพื้นที่ท่ีมีนํ้าขังประมาณ 3-5 ซม. การ เตรียมดินเหมือนการเตรียมดินทํานาดําดังกลาวแลว หลังจากดินตกตะกอนเปนนํ้าใสแลว จึงเอา เมล็ดพันธุจํานวน 1-2 ถังตอไร เพาะใหงอกแลวหวานลงไป แลวไขนํ้าออกเมล็ดจะเจริญเติบโต เปนตน ขา ว การหวา นขาวแบบนจ้ี ะตอ งมกี ารปรบั พน้ื ที่ใหส มา่ํ เสมอ และมกี ารควบคุมนา้ํ ได การใสปุย โดยธรรมชาติแลวดินนาจะมีแรธาตุอาหารพืชตํ่ากวาดินสําหรับปลูกพืชอื่น ๆ ท่ัวไป ย่ิงเม่ือไดปลูกขาวติดตอกันมาหลายรอยป ปริมาณธาตุอาหารก็ยิ่งขาดแคลน ตัวอยางเชน จากการ วิเคราะหตนขาวพันธุนางมล S-4 จากผลผลิต 576 กก.ตอไร พบวามีปริมาณธาตุไนโตรเจน 6.84 กก. ธาตุฟอสฟอรัส 3.50 กก. และธาตุโปรแตสเซียม 2.15 กก. เมื่อเทียบกลับไปเปนปริมาณปุยตอ ไรก็จะไดเทากับปุยแอมโมเนียมซัลเฟต (ใหธาตุไนโตรเจน) จํานวน 34 กก. ปุยซูเปอรฟอสเฟต (ใหธาตุฟอสฟอรัส) จํานวน 17 กก. และปุยโปแตส (ใหธาตุโปแตสเซียม) จํานวน 3.5 กก. ท้ังนี้ยัง ไมไ ดร วมแรธาตทุ เ่ี อาไปสรา งฟาง เทากับแสดงใหเห็นวาขาวนั้นดูดแรธาตุจากดินนาไปสรางเมล็ด จริง หากปลูกโดยไมมีการใสปุยก็จะทําใหดินน้ันเสื่อมความอุดมสมบูรณลงเปนลําดับ ความ ตองการธาตุอาหารหลักของขาวสามารถวิเคราะหไดดังแสดงในตารางที่ 6 ซ่ึงจะเห็นวาขาว ตอ งการธาตโุ ปแตสเซยี มในปริมาณสูง แตเ นอ่ื งจากดนิ นาสวนใหญข องประเทศไทยเปนดินเหนียว และดินรวน ซ่ึงมักมีธาตุโปรแตสเซียมเพียงพอแกความตองการของขาว ยกเวนดินสวนใหญของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต บางแหงที่เปนดินปนทราย ซึ่งจะขาดแคลนธาตุโปแตสเซียม จึงตองพิจารณาใสธาตุอาหารนี้ในดินดังกลาวน้ีดวย เกษตรกรในปจจุบันรูจักใชปุยเคมีแทนการใช ปุยอินทรีย เน่ืองจากสะดวกและใหผลเร็ว แตสวนใหญจะใสในปริมาณตํ่า เน่ืองจากภาวะทาง 14

15 เศรษฐกิจของเกษตรกรเปนขอจํากัดท่ีสําคัญ อยางไรก็ตามทางราชการไดมีขอเสนอแนะสําหรับ การใสปุยเคมีดังตัวอยางตอไปน้ีคือ แบงการใสปุยออกเปนสองครั้ง โดยที่คร้ังแรกใสกอนปกดํา 1 วัน หรือใสวันปกดําหรือหลังจากปกดําประมาณ 15 วัน เม่ือขาวต้ังตัวไดแลว ครั้งท่ี 2 ใสปลังปก ดําแลวประมาณ 35-45 วัน ซึ่งเปนชวงที่ขาวเร่ิมสรางชอดอกออน (ประมาณ 30 วันกอนออกดอก) เปนการใสปุยแตงหนา สวนชนิดของปุยอัตราที่ใชจะขึ้นอยูกับลักษณะของดิน วิธีปลูกและ ประเภทของพนั ธขุ าว เชน ขา วนาดําพันธุขาวประเภทไวตอชวงแสงในสภาพดินเหนียว คร้ังแรกใช ปุย 16-20-0 หรือ 18-20-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 20-30 กก./ไร ครั้งที่ 2 ใชปุยแอมโมเนียซัลเฟต (20%N) อัตรา 15-30 กก./ไร หรือปุยยูเรีย (45%N) อัตรา 7-15 กก./ไร สวนขาวไมไวตอชวงแสง (นาปรัง) จะใชอ ัตราปยุ ทส่ี งู กวา ตารางท่ี 6 ปริมาณความตองการธาตอุ าหารหลกั ของขา วตอ การสรา งผลผลิตของขาว ปรมิ าณธาตุอาหาร (กก./ไร) ผลผลิต N P2O5 K2O ขาวไวแสง เมล็ด 400 4 1.2 1.2 ฟาง 800 4 0.8 8.0 รวม 8 2.0 9.2 ขาวไมไวแสง เมล็ด 800 8 4.8 2.4 ฟาง 1200 6 2.4 18.0 รวม 14 7.2 20.4 ท่มี า : การทํานานํ้าฝน สถาบันวิจัยขา ว, กรมวชิ าการเกษตร การกําจดั วชั พชื วัชพืชเปนปญหาที่สําคัญท่ีจะจํากัดการเจริญเติบโตและผลผลิตของขาว ถาไมมีการ จัดการท่ีดีจะกอใหเกิดความเสียหายตอผลผลิตมาก วัชพืชจะข้ึนไดทุกแหงดวยปริมาณและชนิด แตกตางกันไปในแตละพ้ืนท่ีและวิธีการทํานา เชน นาหวานจะมีวัชพืชมากกวานาดํา เน่ืองจากนา ดํามีวิธีการเตรียมดินดีกวาการเก็บวัชพืชออกไปกอนปกดํา และการปลูกเปนแถวเปนแนวสามารถ กาํ จัดวชั พืชไดงายกวา บางพื้นท่ีพบวาชาวนาจะทํานาดวยวธิ ีทง้ั สองสลับกันไป เชน ทํานาหวาน 2- 15

16 3 ป แลวกลับมาทํานาดาํ อีก 1 ป (นาหวานแกป ญหาเรอ่ื งแรงงาน นาดําแกปญหาเร่ืองวัชพืช) วัชพืช ในนาขาวมีทั้งพวกใบกวาง (ใบเลี้ยงคู) และใบแคบ (ใบเล้ียงเดี่ยว) หรือพวกหญาตาง ๆ และชนิด ของวัชพืชจะขึ้นอยูกับสภาพของพนื้ ทน่ี า เชน ท่ีนาดอน หญา แดง (Ischaemum rugosum), หญานกสีชมพู (Echinochloa colona), หญา ชันอากาศ (Panicum repens) ทนี่ าลมุ ปานกลาง ขาเขียด (Monochoria vaginalis), แหว ทรงกระเทียม (Elcocharis dulcis), หญาหนวดปลาดุก (Fimbristylis miliacea), กกสามเหลีย่ ม (Scirpus grossus), เทียนนา (Jussiaea linifolia) ทีน่ าลุมมาก สาหรายพุงชะโด (Cellatophyllum demersum), สนั ตะวาใบขาว (Ottelia alismodes), สาหรา ยไฟ (Chara zeylanica), กกขนาก (Cyperus difformis), หญาตากลับ (Cyperus procerus) การปองกันกําจัดวัชพืชสามารถจะทําไดหลายวิธีการเขตกรรม เชน การไถ การคราด กาํ จดั ดวยมอื จนถงึ การใชสารเคมที ั้งน้ขี นึ้ อยกู บั ศักยภาพของเกษตรกร การปองกันกาํ จัดสามารถทํา ไดต ง้ั แตกอนปลกู เปนตนไป โดยทอ่ี าจจะใชหลกั การตอไปน้ี 1.การใชพันธุขาวท่ีเหมาะสมและเมล็ดพันธุที่สมบูรณ พันธุพื้นเมืองท่ีมีลักษณะตน สูงใบปรกรากหย่ังลงในแนวนอนจะแขงขันกับวัชพืชไดดีกวาพันธุท่ีไดรับการปรับปรุง ซึ่งมี ลักษณะใบต้ัง ตนเต้ียและรากหย่ังลงในแนวดิ่ง เมล็ดพันธุที่สมบูรณจะไดตนกลาท่ีแข็งแรงมี ความสามารถแขงขันกับวัชพืชไดดี อีกอยางหนึ่งเมล็ดพันธุท่ีสะอาดปราศจากเมล็ดวัชพืชเจือปนก็ จะเปน การลดปญ หาวัชพชื ไดต้งั แตตน 2.การเตรียมแปลงปลูก การไถดะเปนการพลิกดินช้ันลางขึ้นดานบนและดินดานบน ลงลาง สวนขยายพันธุของวัชพืชท่ีอยูใตผิวดินเมื่อมีความช้ืนเพียงพอก็จะงอก เม่ือไถครั้งที่สอง (ไถแปร) ในขณะท่ีวัชพืชเริ่มงอกจะชวยทําลายวัชพืชไปดวยสวนหน่ึง บางรายพบวา การไถคร้ังที่ สองจะลดปริมาณวัชพืชถึงเกินคร่ึงถึงเกือบหมด (ข้ึนอยูกับชนิดของวัชพืชดวย) สวนข้ันตอนการ คราดน้ันมีวัตถุประสงค เพื่อเก็บซากวัชพืชออกจากแปลงอยูแลวทั้งยังชวยใหดินรวนซุยขาว เจริญเติบโตดีสูวัชพืชที่จะข้ึนมาภายหลังไดอีก ดังไดกลาวมาแลววาการปรับระดับพื้นท่ีปลูกขาว เปนส่ิงที่สําคัญอยางหนึ่ง หากปรับไมไดสม่ําเสมอจะทําใหเกิดปญหาวัชพืชในบริเวณท่ีดอนกวา และยังเปนท่ีอยูอาศัยของหนูอีกดวย ถาหากเกษตรกรสามารถจะพิถีพิถันในเร่ืองเหลาน้ีก็จะชวย ปองกนั ปญหาวชั พืชและศัตรูพืชอื่น ๆ ไดดวี ิธีหนง่ึ 3.อัตราปลูกหรือความหนาแนนของตนขาว การปลูกดวยอัตราท่ีมีความหนาแนนสูง ก็จะชวยปองกันกําจัดวัชพืชได เน่ืองจากตนกลาจะลดชองวางท่ีจะใหวัชพืชข้ึนนั้น แตท้ังน้ีตองไม 16

17 แนนเกินไปจนตนขาวเกิดสภาพแกงแยงปจจัยการเจริญเติบโตกันเอง จากการทดลองพบวาเมื่อใช เมล็ดพันธุ 18 กก./ไร ในนาหวาน (อัตราปกติประมาณ 10 กก./ไร) และนาดําอัตราปกดํา 25x25 ซม. จะลดปญหาวชั พืชและมีผลผลติ สงู สดุ โรคขา ว โรคของขาวมีหลายชนิดและสามารถทําลายใหเกิดความเสียหายตอผลผลิตตั้งแต ระดับไมรุนแรงจนกระทั่งรุนแรงมากเปนบริเวณกวาง โรคของขาวที่สําคัญมีดังตอไปนี้ (ดูขอมูล เพ่มิ เติมไดจาก:http://www.rdi.ku.ac.th/TropRice_th/Disease%20management.htm) 1. โรคทีเ่ กดิ จากเชือ้ รา (fungus) ทสี่ าํ คญั ไดแ ก โรคไหม (rice blast) เกิดจากเช้ือ Pyricularia oryzae โรคใบจดุ สนี ํา้ ตาล (brown leaf spot) เกิดจากเชอื้ Helminthosporium oryzae โรคใบขดี สนี า้ํ ตาล (narrow brown leaf spot) เกดิ จากเชอ้ื Cercospora oryzae โรคถอดฝกดาบหรอื โรคขาวตวั ผู (bakanae disease) เกิดจากเชือ้ Gibberella fujijuroi โรคกาบใบแหง (sheath blight) เกดิ จากเช้อื Thanatephorus cucumeris โรคกาบใบเนา (sheath rot) เกิดจากเช้ือ Acrocylindrium oryzae โรคดอกกระถิน (false smut) เกดิ จากเชื้อ Ustileginoidea virens 2. โรคที่เกดิ จากเชื้อแบคทีเรีย (bacteria) โรคขอบใบแหง (bacteria leaf blight) เกดิ จากเช้ือ Xanthomonas oryzae โรคใบขดี โปรง แสง (bacteria leaf streak) เกดิ จากเชือ้ X. translucens 3. โรคทีเ่ กิดจากเช้ือไวรสั (virus) และมายโคพลาสมา (mycoplasma) โรคใบสสี ม (yellow orange leaf virus disease) เกดิ จากเชอื้ ไวรสั โดยมีเพลี้ยจัก๊ จนั่ หลายชนิด เปนพาหะ เชน เพล้ยี จก๊ั จน่ั สเี ขยี ว (Nephotettix virescens และ N. nigropictus) เพลีย้ จั๊กจ่นั ปกลายหยกั (Recilia darsalis) โรคจู หรอื ใบหงกิ (ragged stunt disease) เกดิ จากเชอ้ื ไวรัส โดยมเี พลยี้ กระโดยสีน้าํ ตาล (Nilaparvata lugens) เปนพาหะ โรคเหลอื งเต้ยี (yellow dwarf disease) เกิดจากเชอื้ Mycoplasma โดยมีเพล้ยี จ๊ักจน่ั สีเขียว (N. virescens, N. nigropictus และ N. cincticeps) เปนพาหะ 17

18 โรคเขยี วเตย้ี (grassy stunt disease) เกดิ จากเช้อื Mycoplasma โดยมเี พลย้ี กระโดดสีนํา้ ตาล (Nilaparvata lugens) เปนพาหะ 4. โรคที่เกดิ จากไสเ ดือนฝอย (nematode) ทส่ี ําคญั ไดแ ก ไสเ ดือนฝอยรากปม (root knot nematode) เกิดจากไสเดอื นฝอย (Meloidogyne graminicola) แมลงศตั รขู า ว (ดขู อมลู เพิม่ เติมไดจ าก: http://www.rdi.ku.ac.th/TropRice_th/Insect%control.htm และ ดูแมลงดแี ละรา ยในนาขา วจาก: http://www.doae.go.th/html/detail/insect/insect.htm#แมลงดีในนา ขา ว) แมลงหลายชนิดเปนศัตรขู าวที่รายแรงเมอื่ มีการระบาดมากทาํ ความเสยี หายแกผลผลิต ขา วมหาศาล แมลงศตั รูขา วทสี่ ําคัญ ๆ มีดังน้ีคอื หนอนกอ (rice stem borer) เปนหนอนของผีเสื้อกลางคืนหลายชนิด เชน หนอนกอสี ครีม (Scirpophaga incertulas) หนอนกอสีชมพู (Sesamia inferens) โดยที่ตัวหนอนจะเขาไปในลํา ตนขาว ถาอยูในระยะขาวแตกกอทําใหใบออนแหงตาย เกิดอาการ “ยอดแหง” (dead heart) ถา ทําลายในระยะออกรวงทําใหคอรวงขาดจากตนทําใหดอกหรือเมล็ดลีบเห็นชอดอกเปนสีขาวเรียก อาการนว้ี า “ขาวหัวหงอก” (white head) หนอนกระทู (rice army worm) เปนหนอนผีเส้ือกลางคืนช่ือ Spodoptera mauritia ตัว หนอนจะเขา ทําลายตน กลาในระยะทตี่ นกลาอายุ 25-30 วัน โดยกัดกินในเวลากลางคืนสวนในเวลา กลางวันตัวหนอนจะหลบซอนตามบริเวณคันนาหรือโคนตนกลาขาวจะกัดกินตนกลาจนไมมีใบ เหลอื อยูเลย ลักษณะคลาย ๆ ถกู ควายกนิ เพลี้ยไฟ (rice thrips) เปนแมลงที่ใชปากแทงดูดน้ําเล้ียงจากใบขาวในระยะตนกลา และดอกในระยะออกรวงทาํ ใหเ มล็ดลีบ ขา วจะมีอาการใบสเี หลืองเจรญิ เตบิ โตชา ใบจะมวนเขาหา สวนกลางของใบ ปลายใบจะแหงและเพล้ียไฟจะอาศัยอยูขางใน ตนขาวท่ีโตพนระยะตนกลาแลว จะไมไดรับความเสียหาย ยกเวนในชวงออกรวงดังกลาว สภาพอากาศแหงแลงหรือฝนตกนอย โอกาสทีเ่ พลี้ยไฟจะระบาดมมี ากกวา สภาพที่มีฝนตกชมุ ชน้ื เพลี้ยจ๊ักจ่ันสีเขียว (green leafhopper: Nephotettix virescens) เปนแมลงที่ดูดน้ําเล้ียง ตามใบ และกาบใบขาวทําใหตนขาวเหลืองซีด และเปนพาหะนําเช้ือไวรัสทําใหเกิดโรคใบสีสม ดังกลา วมาแลว 18

19 เพล้ียกระโดดสีนํ้าตาล (brown planthopper, Nilaparvata lugens) เปนแมลงท่ีใชปาก แทงดดู น้าํ เล้ยี งจากกาบใบใกลระดบั น้ํา ทําใหข าวชะงกั การเจริญเติบโต และเหย่ี วแหงเปนสีนํ้าตาล ทําลายไดทุกระยะของการเจริญเติบโต จะระบาดมากในชวงท่ีมีอากาศรอนและความช้ืนสูง เชน เดือนพฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม และยังเปนพาหะของเชื้อโรคไวรัสท่ีทําใหเกิดโรคเขียว เตีย้ และโรคใบหงิก แมลงบั่ว (rice gall midge : Orseolia oryzae) เปนแมลงมีลักษณะคลายยุง แตลําตว เปนสีชมพู จะวางไขที่ใบขาว ไขจะฟกเปนตัวหนอนซ่ึงจะแทรกเขาไประหวางลําตน และกาบใบ ดูดกนิ หนอ ออ นของตน ขาว ทําใหใบมวนเปนหลอดหอ หมุ ตวั หนอนเอาไวจนกระท่ังเปนตัวแกบิน ออกไป หลอดดังกลาวเรียกวา “หลอดบั่ว” หนอที่เปนหลอดบ่ัวจะไมออกรวง ขาวที่ถูกทําลายจะ แตกกอมาก ตนขาวจะแคระแกรน เปนท่ีสังเกตไดงาย แมลงชนิดน้ีจะระบาดมากในภาคเหนือและ ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ หนอนมวนใบ (rice leaf roller : Cnaphalocrocis medinalis) ตัวทําลายเปนหนอนของ ผีเสื้อกลางคืน วางไขบนใบขาว ฟกตัวแลวตัวหนอนจะชักใบเอาขอบของใบขาวใหมวนมาติดกัน และอาศัยอยูขางในกัดกินใบจนขาวเหลือแตแถบใบ ถาระบาดมาก ๆ จะเห็นใบขาวเปนสีขาว เพราะไมม คี ลอโรฟลเหลืออยู แมลงสิง (rice bug : Leptocorisa aratoria) เปนแมลงท่ีใชปากแทงดูดนํ้าเลี้ยงจากตน ขาวโดยเฉพาะคอรวง ยอดออน และเมล็ดขาวในระยะน้ํานม ทําใหเมล็ดขาวลีบ เมล็ดขาวที่ถูก ทําลายจะเห็นเปนจุดสีนํ้าตาลเต็มไปหมด ถาระบาดมากสามารถทําลายทําใหเกิดความเสียหายได อยางมาก นอกจากน้ีแลวยังมีแมลงอีกหลายชนิดที่พบในนาขาว เชน มวนเขียวขาว (Nezar viridula), หนอนปลอก (Nymphula depunctalis), หนอนกระทูคอรวง (Mythimna separata), ตัก๊ แตนขา ว (Hieroglyphus banian) ฯลฯ ซึ่งสามารถทาํ ความเสยี หายไดระดับหนงึ่ และยงั มแี มลงท่ี ทําลายขาวในยุงฉาง เชน ดวงงวงขาว (Sitophilus oryzae), มอดแปง (Tribolium casteneum) ผีเสื้อ ขา วเปลอื ก (Sitotroga cerealcella) เปน ตน สตั วศ ตั รขู า ว ความเสยี หายทจ่ี ะเกดิ ขึน้ ตอผลผลิตของขาว ท่สี าํ คัญอีกประการหนง่ึ คือสัตวตา ง ๆ ท่ี กัดกินตนขาวเปนอาหารทส่ี ําคญั และเกิดความเสยี หายอยางกวางขวางไดแ ก 19

20 หนู มหี นหู ลายชนิดท่ที าํ ความเสียหายตอ การเพาะปลูกขาว ไดแก หนูพุกใหญ หนูพุก เล็ก หนูนาทองขาว หนูหริ่งหางยาว หนูหร่ิงหางส้ัน เปนตน หนูสามารถเขาทําลายไดทุกระยะการ เจริญเติบโตของขาว มีการขยายพันธุไดเร็ว มักอาศัยอยูบริเวณชายปา มีความสามารถในการยาย ถน่ิ ฐานเมอ่ื ขาดแคลนอาหารทําใหเกิดการระบาดไดก วางขวาง ปูนา เปนสัตวที่เปนศัตรูขาวท่ีสําคัญอีกชนิดหนึ่ง เขาทําลายในระยะปกดําใหม ๆ โดยจะกัดตนขาวตรงบริเวณใตระดับนํ้าซ่ึงเปนสวนออนของตนขาว ปูนาทนทานตอ สภาพแวดลอมไดดีมาก ในชวงฤดูทํานามันจะอาศัยอยูในรูบริเวณคันนา หลังการเก็บเก่ียวมันจะ ขุดรูและจําศีล เมื่อเขาฤดูกาลทํานาจะขุดรูออกมาพรอมกับมีไขในทองและจะออกลูกคราวละมาก ๆ จงึ ทาํ ใหกําจดั ยาก นก นกที่ทําความเสียหายแกขาวเปนนกท่ีอยูกันเปนฝูง เชน นกกระติ๊ด นกกระจาบ นกกระจอก นกพริ าบ เปนตน โดยสวนมากจะเขาทาํ ลายในระยะที่ขาวเริ่มติดเมล็ดจนถึงขาวสุกแก เมื่อมีการทํานาในพ้ืนท่ีมาก ๆ ความสูญเสียจากนกก็จะนอยลงเพราะมีการกระจายความสูญเสียให ลดนอ ยลงไป ชาวนาจงึ มักจะทาํ นาพรอม ๆ กัน เพื่อลดความสูญเสยี จากศัตรูพืชตาง ๆ รบกวน การเกบ็ เกยี่ วและปฏิบัตหิ ลงั การเกบ็ เกย่ี ว หลังจากที่ขาวออกดอกหรือมีการผสมเกสรแลวประมาณ 25-30 วัน ขาวจะเร่ิมสุกแก ซึ่งจะทําการเก็บเกี่ยวได ระยะขาวสุกแกขาวจะมีสีเหลืองอมเขียวหรือเรียกวาสีพลับพลึงขาวใน ระยะนี้เมลด็ ยังไมแหง เต็มท่ี เมล็ดมีความชืน้ ประมาณ 20-25% ความชื้นที่เหมาะสมสําหรับการเก็บ เกี่ยวควรไมเกิน 20% เพราะถาความช้ืนสูงจะทําใหขาวมีคุณภาพเลว คือจะเกิดทองไขหรือทอง ปลาซิวเมื่อนําไปสีทําใหขาวหักงาย แตถาจะเก็บชาเกินไปทําใหคอรวงหัก การเก็บเกี่ยวเพ่ือทํา พันธุตองเกบ็ เกี่ยวเม่ือเมล็ดแหงเต็มท่ีแลว การเก็บเกี่ยวทางภาคกลางจะใชเคียว สวนใหญจะเปนการเก่ียววางเรียง โดยจะเก่ียว ใกลขอท่ีหน่ึงนับจากรวง วางขาวเปนกอง ๆ รายไปบนกองฟางเม่ือแหงแลวจึงหอบมารวมกันมัด ดวยฟางขาวซึ่งบิดเขาหากันเรียกวาคะเน็ตหรือตอกเปนฟอน ในพื้นท่ีนาไมคอยแหงจะเกี่ยวแบบ “เก่ียวพนั คํา” โดยเกีย่ วขา วแลวมดั เปนกาํ แลว สุม กับตอซังตากไวไมใหรวงขาวจุมนํ้า การเก็บเกี่ยว ขาวนาปรังมักใชวิธีนี้ สําหรับทางภาคใตบางจังหวัดจะนิยมเก็บเก่ียวขาวดวย แกระ ตัดที่คอรวง แลวมัดเปน กาํ เรยี กวา “เรียง” นําไปเกบ็ ไวใ นยุงฉาง ตองการเม่อื ไรแลวจึงนํามานวด อยางไรก็ตาม ในพนื้ ท่ที ํานาปรังท่วั ไปจะเกบ็ เกย่ี วดว ยเคยี ว 20

21 การนวดขาว เม่ือเก็บเกี่ยวแลวจะตากมัดขาวไวใหแหงประมาณ 3-7 วัน จนความช้ืน ในเมล็ดลดลงประมาณ 13-15% ชาวนาจะขนขาวจากนาไปกองบนลานสําหรับนวดขาวแลวใช แรงงานสัตว เชน วัว ควาย ขึ้นไปเหยียบใหเมล็ดหลุดจากรวง ในภาคเหนือและภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมนวดขาวโดยใชแรงคนฟาดกําขาวใหเมล็ดหลุดในภาชนะท่ีรองรับหรือ ใชฟ าดกบั แคร ในปจจุบนั หลาย ๆ ทองทมี่ กี ารใชเ ครอ่ื งจกั รเขา ชวยในการนวด การทําความสะอาดเมล็ด มีวิธีการหลายอยาง เชน โดยการสาดขาวเพื่อใหลมพัดเอา ส่ิงเจือปนออกเมล็ดขาวเปลือกจะตกรวมกองที่พื้น และวิธีพ้ืนบานโดยการฝดขาวในกระดง ปจจุบันมีเครื่องสีฝดเปนเครื่องทุนแรงท่ีใชทําความสะอาดเมล็ดขาวไดอยางมีประสิทธิภาพ หลังจากทําความสะอาดแลวจะมีการตากขาวอีกประมาณ 3-4 แดด เพื่อลดความชื้นในเมล็ดใหลง เหลือประมาณ 13-15% กอนจะนาํ ไปเกบ็ ในยุงฉางตอ ไป เอกสารและแหลง ขอมลู เพม่ิ เติม กรมวิชาการเกษตร. (ไมปรากฏปท่ีพมิ พ). การทํานานาํ้ ฝน กรุงเทพฯ : ฝายฝก อบรม สถาบันวิจยั ขาว กรมวชิ าการเกษตร. จํารัส โปรงศิริวัฒนา. 2534. ความรูเร่อื งขา ว. กรงุ เทพฯ : สถาบนั วิจัยขา ว กรมวิชาการเกษตร. ทรงเชาว อินสมพนั ธ. 2531. พืชไรสําคญั ทางเศรษฐกจิ ของประเทศไทย เลม 1. เชยี งใหม : ภาควิชาพชื ไร คณะเกษตรศาสตร มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม. พรี ะศกั ดิ์ ศรนี เิ วศน, เจริญศกั ดิ์ โรจนฤทธ์ิพเิ ชษฐ. 2529. การปรับปรุงพันธุพ ืชเศรษฐกจิ ของ ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กลมุ หนงั สือเกษตร. ไสว พงษเกา, อารีย วรญั ญวฒั ก, ดสุ ิต ศริ พิ งษ, พรี ะศักด์ิ ศรีนิเวศน, วชั รินทร บุญวัฒน และสุ รพล อปุ ดิสสกุล. 2525. พืชเศรษฐกจิ เลม 1. กรงุ เทพฯ ; ภาควิชาพชื ไรนา คณะเกษตร มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร. ศูนยส ถิตกิ ารเกษตร. 2537. สถิตกิ ารเกษตรของประเทศไทย ปเ พาะปลูก 2536/37. สาํ นกั งาน เศรษฐกิจการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ. กรุงเทพมหานคร. FAO. 1994. Medium-term prospects for agricultural commodities project to the year 2000. Food and Agriculture Organization of the United Nations. Rome. ความรูเ พ่มิ เติมจาก Websites : พนั ธขุ าวพืน้ เมืองไทย: http://www.disc.doa.go.th/rice ขาวตัดตอ ยีนส: http://www.eng.su.ac.th/biotech/rice.htm 21

22 การปลกู ขา วหอมมะลิ 105: http://web.ku.ac.th/agri/rice105/rindex2.htm ขา วและผลิตภณั ฑข าว (มขี อ มูลเกย่ี วกบั สถานการณการผลิตขา วไทยและมาตรฐานสนิ คา ขา ว ไทย): http://www.charpa.co.th/bulletin/rice_exp.html ขาว:กลยทุ ธการเพม่ิ ศกั ยภาพการสง ออกสตู ลาดคณุ ภาพ: http://www.charpa.co.th/bulletin/rice_potential_development.html Country rice facts (ขอมูลขาวประเทศตางๆ): http://www.fao.org/WAICENT/FAO/AGRICULT/AGP/doc/riceinfo/C ความรูทกุ อยา งเก่ยี วกับขา ว: http://www.riceweb.org/ 22

คาํ ถามทบทวนเรื่องขาว 1. จงใหเ หตผุ ลวาทาํ ไมขาวจงึ มีความสาํ คัญตอเศรษฐกิจและสงั คมของประเทศไทยอยางมาก? 2. มีหลกั ฐานอะไรท่ีบงบอกวาขา วมีถนิ่ กาํ เนดิ อยูใ นแถบเอเซยี ตะวันออกเฉยี งใต และเอเซยี ใต 3. แหลง ผลิตขา วแหลง ใหญทสี่ ดุ ของไทยอยบู ริเวณใดและใหบอกจงั หวัดท่ีผลติ ขา วมากทสี่ ดุ 5 อนั ดบั 4. ปจจบุ นั รฐั บาลจดั ขาวอยูในกลุมพืชท่ีใหมีการผลิตลดลง รัฐบาลวางนโยบายอยา งไรในการผลติ ขาว 5. ท่ีกลาววาขาวสามารถปรับตัวไดในวงกวางหมายความวาอยางไร จงเปรียบเทียบใหเห็นกับพืชบาง ชนดิ ท่ีมีการปรับตัวไดในวงแคบ 6. จงแบงระยะการเจริญเติบโตออกเปนขั้นตอนโดยสมมุติวาขาวพันธุนั้นมีอายุ 150 วัน ใหกําหนด ครา ว ๆ วา ในแตล ะระยะมีชวงการเจริญเตบิ โตยาวนานเทาใด 7. จงใหคําจํากัดความของศัพทบัญญัติตอไปนี้ panicle initiation, photoperiodism, short day plant, lag vegetative growth, floating rice, harvest maturity, abdominal white 8. ขาวพันธุไวตอชวงแสง 2 พันธุ พันธุท่ี 1 มี critical daylength 11 ชม. 30 นาที และพันธุท่ี 2 11 ชั่วโมง 50 นาที, โดยปลูกพันธุท่ี 1 ที่เชียงใหม และพันธุที่ 2 ที่สงขลา ปลูกพรอมกันเมื่อวันท่ี 15 พฤษภาคม ถามวา พันธไุ หนจะออกดอกกอน เพราะอะไร? 9. ใหความหมายของพันธุพ้ืนบานหรือพ้ืนเมืองกับขาวพันธุดีทางราชการ และใหเหตุผลวาทําไมใน หลาย ๆ พ้ืนทเี่ กษตรจึงยงั นิยมปลูกขา วพนั ธพุ น้ื เมือง 10. ใหบอกชื่อพันธุขาวท่ีไดรับการคัดพันธุจากพันธุพื้นเมืองมาเปนพันธุดีทางราชการ พันธุท่ีไดมาจาก การผสมพนั ธุ และพนั ธทุ ีป่ รบั ปรุงโดยการชกั นาํ ใหก ลายพนั ธดุ ว ยรงั สี 11. ทาํ ไมฤดูกาลทาํ นาของภาคใตฝง ตะวนั ตกจึงแตกตางจากภาคใตฝ งตะวันออก 12. จงบอกถึงวตั ถุประสงคของการไถดะ ไถแปร และการคราด 13. จงบอกถึงขอดีขอเสียของวิธีการทํานาแบบหวานขาวแหง (หวานสํารวย) หวานขาวน้ําตม และการ ปก ดาํ 14. ทําไมสูตรปยุ ในนาขา วจงึ ใช 16-20-0 หรือ 18-20-0 และแบง การใสปุย 2 คร้ัง โดยท่ีครั้งหลังหนักไป ในทางใหปยุ ไนโตรเจนเพียงอยางเดยี ว 15. เพราะเหตุใดจงึ ไมค วรใชป ุย ไนเตรดในนาขาว? 16. ถาเกษตรกรไมป ระสงคจะใชสารเคมกี ําจัดวัชพชื ทา นคิดวานา จะแนะนาํ วิธกี ารอ่ืน ๆ นอกเหนือจาก การถอนดว ยมอื อยา งไรบา ง? 17. จงบอกโรคของขาวที่สําคัญ ๆ ท่ีทําลายผลผลิตขาวเปนอยางมากท่ีผานมา ถาเกิดเหตุการณระบาด ของโรคตาง ๆ ดังกลา วจะมีวิธีการปองกันและกาํ จดั อยา งไร?

24 18. จงบอกโรคขาวท่ีเกิดจากไวรัสและใหบอกดวยวาเพลี้ยจ๊ักจ่ันที่เปนพาหะของแตละโรคน้ันแตกตาง กันอยา งไร? 19. แมลงศตั รขู า วทีส่ ําคัญ ๆ มีอะไรบาง แมลงแตละชนดิ ทาํ ลายขา วในชว งการเจริญเติบโตไดอยางไร? 20. จะเก็บเกี่ยวขาวใหมคี ุณภาพดีควรจะทําอยางไร? 24


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook