Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ใบความรู้ประกอบการสอน_เรื่อง_การอธิบายคุณค่า_ของโคลงโลกนิติ-02242040

ใบความรู้ประกอบการสอน_เรื่อง_การอธิบายคุณค่า_ของโคลงโลกนิติ-02242040

Published by อิสสระ กลิ่นหอม, 2022-02-24 14:12:01

Description: ใบความรู้ประกอบการสอน_เรื่อง_การอธิบายคุณค่า_ของโคลงโลกนิติ-02242040

Search

Read the Text Version

ใบความรู้ที่ 5 เรอ่ื ง การอธบิ ายคณุ ค่าและขอ้ คดิ จากโคลงโลกนติ ิ หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 10 เร่ือง โคลงโลกนิตข้อคดิ สอนใจ แผนการจัดการเรยี นรทู้ ี่ 5 เรือ่ ง การอธิบายคุณค่าและขอ้ คดิ จากโคลงโลกนิติ (2) รายวิชาภาษาไทย รหัสวชิ า ท๑๕๑๐๑ ภาคเรยี นที่ 2 ชั้นประถมศกึ ษาปที ี่ ๕ การอธิบายคณุ ค่าจากเร่ืองที่อ่าน เป็นการวิเคราะห์ลักษณะดีเด่นในด้านต่าง ๆ ของ เรื่องท่ีอ่าน เช่น คุณค่าด้านเนื้อหา คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง กล่ันกรอง แยกแยะ และแสวงหาเหตุผลเพ่ือประเมิน คณุ คา่ ของวรรณคดีอย่างมเี หตุผล การอ่านหนังสือหรือเรื่องราวต่าง ๆ อย่างพินิจพิเคราะห์จะทำให้ประจักษ์ในคุณค่า ประเทืองปัญญาได้รับประโยชน์หลายประการ รวมท้ังสนุกสนานเพลิดเพลินจากการอ่าน ย่งิ ข้นึ คุณค่าของเรือ่ งทอ่ี า่ นแบ่งกวา้ ง ๆ ได้ ๔ ด้าน ดังน้ี 1. คุณค่าด้านเน้ือหาสาระ คือ การท่ีผู้อ่านจะได้รับความรู้ ความคิดเพ่ิมข้ึน ทำให้มีปัญญาแตกฉานทั้งด้าน วิทยาการ ความรรู้ อบตวั ความรู้เท่าทนั คนและอื่น ๆ 2. คุณค่าด้านวรรณศลิ ป์ คือ ศิลปะในการประพันธ์และความงามทางภาษา เป็นการใช้คำให้เกิดความงาม ความไพเราะทางภาษา ผู้อ่านสามารถซาบซ้ึงในความหมายของคำ เห็นภาพเคลื่อนไหว เกิดภาพพจน์จินตนาการตามอารมณ์และความนึกคิดต่าง ๆ เช่น ความรู้สึกโศกเศร้า สะเทือนใจ โกรธ ตลกขบขัน เปน็ ต้น ๓. คุณคา่ ดา้ นสงั คมและวฒั นธรรม คือ เรื่องราวที่อ่านจะสะท้อนให้เห็นสภาพสังคม วัฒนธรรมประเพณี ค่านิยม คติชีวิต คำส่ังสอน คุณธรรมและจริยธรรม ความเป็นอยู่ ประวัติศาสตร์ การเมือง อาหาร การกิน สอดแทรกไปกับการดำเนินเรื่อง ทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้เกี่ยวกับสังคมในอดีต ชว่ ยให้เข้าใจวถิ ีชีวิตความเปน็ ไทยมากยงิ่ ขน้ึ และงานเขยี นทีด่ จี ะช่วยจรรโลงสงั คมไดด้ ้วย ๔. คณุ คา่ ด้านการนำขอ้ คิดไปใชใ้ นชีวติ ประจำวนั คือ ผู้การที่ผู้อ่านสามารถนำแนวคิดจากวรรณคดีและประสบการณ์จาก เร่ืองท่ี อา่ นไปประยกุ ตใ์ ชห้ รอื แกป้ ัญหาในชีวิตประจำวันได้

การหาขอ้ คิดจากเรื่องท่อี ่าน ข้อคิด หมายถงึ ประเดน็ ชวนคิด คติท่เี ป็นประโยชน์ การหาข้อคิดจากเรื่องท่ีอ่าน เป็นการหาข้อคิดหรือคติสอนใจจากเรื่องท่ีอ่านน้ัน ๆ ว่าใหข้ ้อคดิ ท่เี ปน็ ประโยชน์อะไรบา้ ง แลว้ จงึ นำข้อคิดนั้นมาประยกุ ตใ์ ช้ในชวี ติ ประจำวนั การค้นหาข้อคิดจากการอ่านหนังสือต่าง ๆ เช่น การอ่านนิทาน บทความ สารคดี ควรอ่านตั้งแต่ต้นจนจบเร่ือง แล้วทำความเข้าใจเน้ือเรื่อง จับใจความสำคัญ หรือประเด็น สำคัญที่ผ้เู ขียนต้องการใหข้ ้อคดิ กบั ผอู้ ่าน การอธิบายคุณค่าและขอ้ คดิ จากโคลงโลกนติ ิ โคลงโลกนิติ เป็นวรรณคดีคำสอนที่แฝงไปด้วยสุภาษิต มุ่งหมายให้เป็นเครื่อง เตือนสตแิ กผ่ อู้ า่ น และเปน็ แนวทางในการดำเนนิ ชีวิต มเี น้อื หาสาระสำคญั กล่าวถึงความเปน็ จริงที่เกิดข้ึนในชีวิตของมนุษย์ รวมท้ังความเป็นไปของโลก ถือเป็นเร่ืองปกติธรรมดา เช่น ธรรมชาติของมนุษย์ คุณค่าของความรู้ วิธีการแสวงหาความรู้ แนวทางการดำเนินชีวิตเร่ือง เชน่ การเลอื กคบคน การวางตัวในสังคม เปน็ ตน้ ข้อคิดของโคลงโลกนิติ โคลงแต่ละบทจะมีข้อคิดท่ีกล่าวอย่างตรงไปตรงมา และ กลา่ วสอนแบบนัย (ความหมายแฝงและความหมายเชงิ เปรียบเทยี บ) การใช้อปุ มาในโคลงโลกนิติ อปุ มา คอื การเปรียบเทยี บสิง่ หน่ึงกับอีกสิง่ หนงึ่ เพ่ือให้ เหน็ ภาพชัดเจนมากยิ่งขนึ้ โดยท่ีทั้งสองส่ิงนั้นมสี ภาพท่ีแตกต่างกัน แต่มีลักษณะเด่นร่วมกัน เช่น ผิวของเธอขาวราวกับสำลี จมูกของเพียงพอเหมือนลูกชมพู่ ซึ่งท้ังสองประโยคมีการใช้ คำสำคัญในการเปรียบเทียบ โดยในประโยคแรกใช้คำว่า “ราวกับ” และประโยคที่สองใช้ คำวา่ “เหมือน” ดังนั้น คำสำคญั ที่มักใช้เปรยี บเทียบ ได้แก่ ดจุ ดง่ั ราว ราวกับ เปรียบ เสมือน พา่ ง เพีย้ ง ประดุจ เฉก เช่น เล่ห์ ปาน ประหน่งึ เป็นตน้

ตัวอย่าง การอธิบายคณุ คา่ และขอ้ คดิ จากโคลงโลกนิติ ปลารา้ พนั หอ่ ด้วย ใบคา ใบก็เหมน็ คาวปลา คละคล้งุ คือคนหมไู่ ปหา คบเพ่ือน พาลนา ไดแ้ ตร่ า้ ยร้ายฟุ้ง เฟอ่ื งให้เสยี พงศ์ 1. ดา้ นเนื้อหา คือ สอนเรอ่ื งการเลือกคบเพ่ือน เราไม่ควรคบคนพาล เพราะคนพาล จะชักชวนเราไปทำในสิ่งท่ีผิด ทำให้เสียช่ือเสียงแก่วงศ์ตระกูล เราควรเลือกคบคนดี เพราะ คนดีจะชักชวนเราไปทำแต่ส่ิงที่ดีและเป็นประโยชน์ ดังคำกล่าวที่ว่า “คบคนพาลพาลพา ไปหาผดิ คบบัณฑิตบัณฑติ พาไปหาผล” 2. ด้านวรรณศิลป์ คอื การใช้คำเปรียบเทยี บหรืออุปมาโวหาร ซึ่งใชค้ ำว่า “ปลาร้า” เปรยี บเทียบไดก้ ับ “คนพาล, คนเกเร” ทำใหเ้ กดิ ความงามทางภาษาอยา่ งหน่งึ 3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ แทรกวิถีชีวิตของคนสมัยก่อน โดยพ่อแม่มักสอน ให้ลูกเลือกคบคนดีเป็นมิตร เพราะถ้าคบคนพาลก็จะถูกชักจูงไปทำในเรื่องเส่ือมเสีย ทำให้ เสยี หายแกว่ งศต์ ระกูล 4. ด้านการนำข้อคิดไปใช้ในชีวิตประจำวัน คือ หากเราอยู่ในสังคมที่มีท้ังคนดีและ คนไม่ดี จะต้องรจู้ ักแยกแยะคนดีและคนไม่ดีให้ได้ และรู้จักเลือกคบคนดีเป็นมิตร ไม่คบคน ทม่ี นี สิ ัยพาล หรอื นิสัยเกเร