INTERNET OF TH ING อินเทอร์เน็ตเพื่อทุกสรรพสิ่ง (IOT) BY NAPAPORN MANAKIT
คำนำ หนั งสืออิเล็กทรอนิ กส์เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง อินเทอร์เน็ ตเพื่อทุกสรรพสิ่ง (INTERNET OF THING) แก่ผู้อ่านเพื่อให้ผู้ อ่านได้ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ ตเพื่อทุกสรรพสิ่งได้รู้ประโยชน์ ต่างๆของ การใช้งาน ผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลมาในหนั งสือ เล่มนี้ แล้ว ผู้จัดทำหวังอย่างยิ่งว่าหนั งสือเล่มนี้ จะให้ความรู้และประโยชน์ แก่ผู้อ่าน หากมีข้อเสนอแนะประการใด ผู้จัดทำขอรับไว้ด้วยความขอบคุณอย่างยิ่ง นางสาวนภาพร มานะกิจ ผู้จัดทำ
สารบัญ เรื่อง หน้า SMART HOME 1 SMART CITY 2 SMART GRIDS 3 4 SMART FARMINGM 5-6 7 CONNECTED CAR 8 SMART RETAIL 9 SMART WEARLABLE 10 SMART SUPPLY CHAIN บรรณานุกรม
SMART HOME Smart Home ความหมายของ smart home ในทางสากลนั้ นจะมองในเชิง โครงสร้างคือจะเป็น smart home ได้ต้องมีโครงสร้าง 3 ส่วนคือเริ่มจาก อุปกรณ์ที่เป็น smart device และอุปกรณ์เหล่านั้ นต้องสามารถเชื่อม โยงเป็นเครือข่ายได้ที่เรียกว่า smart home network และสุดท้ายคือต้อง มีส่ วนควบคุมหลักที่เป็นมันสมองของบ้านซึ่งเราสามารถเขียนโปรแกรม ให้บ้านของเรามีความฉลาดแบบใดก็ได้ตามที่เราต้องการที่เรียกว่า intelligent control system เหล่านี้ จึงจะประกอบรวมเรียกว่าเป็น smart home ที่มีการสร้าง smart home ขึ้นเพื่อความสะดวกสบาย เพื่อความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อประหยัดพลังงาน เพื่อดูแลสุขภาพ ของผู้อาศัยภายในบ้าน ประตูอัจฉริยะ สัญญาณตรวจจับไฟไหม้
SMART CITY เมืองอัจฉริยะ คือ เมืองที่ใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทัน สมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการบริหาร จัดการเมือง องค์ประกอบพื้นฐานของเมืองอัจฉริยะไว้ 7 ด ้าน คือ 1.เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) เมืองที่มุ่งเน้ นประสิทธิภาพและความคล่องตัว ในการดำเนิ นธุรกิจ สร้างให้เกิดความเชื่อมโยงและความร่วมมือทางธุรกิจ และ ประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจ โดยจะผลักดันเมืองเป้า หมายเป็นศูนย์กลางธุรกิจด้านใดด้านหนึ่ งบนฐานนวัตกรรม เช่น เมืองเกษตรอัจฉริยะ เมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ เป็นต้น 2.ระบบขนส่งและการสื่อสารอัจฉริยะ (Smart Mobility) เมืองที่มุ่งเน้ นการเพิ่มความ สะดวกในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน การเดินทางสะดวกปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการระบบโลจิสติกส์ และการใช้ยานพาหนะประหยัดพลังงาน 3.พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) เมืองที่มุ่งเน้ นเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ของเมืองหรือใช้พลังงานทางเลือกเป็นพลังงานสะอาด (Renewable Energy) 4.สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) เมืองที่มุ่งเน้ นปรับปรุงคุณภาพและเพิ่ม ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการบริหารจัดการ และติดตามเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมและ สภาวะแวดล้อมอย่างเป็นระบบ 5.ระบบบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) เมืองที่มุ่งเน้ นการพัฒนาระบบ บริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐ เช่น Smart Portal เพิ่มช่องทางการมีส่วน ร่วมของประชาชน รวมถึงการเปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ 6.พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) เมืองที่มุ่งเน้ นการพัฒนาผู้บริหารเมืองหรือผู้นำ ท้องถิ่นที่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาเมืองสร้างพลเมืองที่มี ความรู้และความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่ งเสริม ความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้นอกระบบรวมถึงการส่ งเสริมการอยู่ร่วมกันด้วย ความหลากหลายทางสั งคม 7.การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) เมืองที่มุ่งเน้ นการสนั บสนุนให้มีระบบบริการ ที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิต เช่น บริการด้านสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพ และสุขภาวะที่ดี การเพิ่มความปลอดภัยของประชาชนด้วยการเฝ้าระวังภัยจาก อาชญากรรมไปจนถึงการส่ งเสริมให้เกิดสิ่ งอำนวยความสะดวกสำหรับการดำรงชีวิตที่ เหมาะสม
SMART GRIDS สมาร์ทกริด (Smart Grid) คือระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่นำเทคโนโลยีหลาก หลายประเภทเข้ามาทำงานร่วมกัน โดยครอบคลุมตั้งแต่การประยุกต์ใช้งาน เทคโนโลยีเหล่านั้ นตลอดทั้งห่วงโซ่ของระบบไฟฟ้าตั้งแต่การผลิตไฟฟ้า การส่ง ไฟฟ้า การจำหน่ ายไฟฟ้า ไปจนถึงภาคส่วนของผู้บริโภค ได้อย่างชาญฉลาด การ สื่ อสารในการเก็บข้อมูลและทำการสั่ งการควบคุมโครงข่ายไฟฟ้าโดยใช้ข้อมูลดัง กล่าวในการตัดสินใจ เช่น เก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าจากผู้ใช้งานและการ ผลิตไฟฟ้าจากผู้ผลิต การควบคุมอัตโนมัติของระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อทำการ ปรับปรุงประสิทธิภาพความเชื่อถือได้ ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และความ ยั่งยืนในการผลิตและจ่ายไฟฟ้าในระบบโครงข่ายไฟฟ้า นั่ นคือผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไป ตั้งแต่ภาคบ้านเรือน ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจและการพาณิชย์ เป็นต้น ประโยชน์ ของ Smart Grid **ด้านระบบไฟฟ้า - ระบบส่งจ่ายไฟฟ้ามีความมั่นคง เชื่อถือได้และมีคุณภาพสูงขึ้นมาก - ระบบส่งจ่ายไฟฟ้าจะสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึง ทําให้เพิ่มประสิทธิภาพสูงขึ้น - ในกรณีที่เกิดปัญหาไฟฟ้าดับขึ้น ผู้ใช้ไฟฟ้าจะสามารถกลับมาใช้ไฟฟ้าได้ใหม่ภายในระยะ เวลาอันสั้ น **ด้านบริการ - ผู้ใช้ไฟฟ้าตรวจสอบลักษณะการใช้ไฟฟ้าและลดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนได้ - มีระบบแจ้งเตือนไฟฟ้าขัดข้องแบบอัตโนมัติ - มีบริการใหม่ ๆ **ด้านสั งคมและสิ่ งแวดล้อม - สนั บสนุนให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประหยัดการใช้พลังงาน และผลิตพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม - สนั บสนุนนโยบายภาครัฐในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ - สร้างความปลอดภัยให้ชุมชน
SMART FARMINGM สมาร์ทฟาร์ม หรือ เกษตรอัจฉริยะ เป็นรูปแบบการทำเกษตรแบบใหม่ที่จะทำให้ การทำ ไร่ทำนามีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการนำเอาข้อมูลของภูมิอากาศ ทั้งในระดับพื้นที่ย่อย (Microclimate) ระดับไร่ (Mesoclimate) และระดับมหภาค (Macroclimate) มาใช้ในการบริหารจัดการ ดูแลพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ อากาศที่เกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่จะเปลี่ยนแปลงไปใน อนาคต ระบบสมาร์ทฟาร์มจะบูรการข้อมูล Microclimate และ Mesoclimate จากเครือข่าย เซ็นเซอร์ไร้สาย (Wireless Sensor Networks) ที่ติดตั้งตามจุดต่างๆ ภายในไร่นา (ข้อมูล อุณหภูมิ ความชื้น ในดินและในอากาศ แสง ลม น้ำฝน) กับข้อมูลอุตุนิ ยมวิทยา Macroclimate (เรดาร์ ข้อมูลดาวเทียม โมเดลสภาพอากาศ) ที่มีอยู่บนอินเตอร์เน็ ต และนำ เสนอต่อเกษตรกร เจ้าของไร่ ผ่านทางเว็บไซต์ โดยจะมีการเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลของไร่ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ และ ดำเนิ นกิจกรรมต่างๆ การวางแผนการเพาะปลูก การให้ น้ำ ให้ปุ๋ย และ ยา เป็นต้น
CONNECTED CAR Connected Car เป็นการประยุกต์ใช้งานอย่างหนึ่ งของ Internet of Things (IoT) โดย เป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับยานยนต์และการคมนาคมขนส่ง ทำให้ รถยนต์สามารถสื่อสารกับสิ่งต่างๆ รถยนต์จะกลายเป็นเซนเซอร์เคลื่อนที่ที่ช่วยเก็บ รวบรวมข้อมูลจากท้องถนน ได้แก่ ข้อมูลอากาศ สภาพถนนและความหนาแน่ นของจราจร จึงอาจเปรียบรถยนต์ได้กับสถานี ตรวจวัดอากาศเคลื่อนที่ที่พร้อมส่งข้อมูลของสภาพ แวดล้อมต่างๆ จากพื้นที่จริง รถยนต์จึงนั บแหล่งเก็บข้อมูลที่น่ าเชื่อถือและต่อยอด ประโยชน์ ได้อย่างมาก Connected Car จะทำให้เกิดบริการแอพพลิเคชันและรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ที่ช่วย ให้การคมนาคมขนส่งมีความปลอดภัยมากขึ้น มีประสิทธิภาพคล่องตัวมากขึ้น ช่วยอำนวย ความสะดวกสบายให้แก่ผู้เดินทาง ดังนี้ บริการด้านข่าวสารและความบันเทิง (Infotainment) โดยผู้โดยสารรถยนต์สามารถดู หนั งฟังเพลงจากในรถที่ sync ข้อมูลกับโทรศัพท์มือถือ ทำให้ประสบการณ์ในการใช้ งานระหว่างอุปกรณ์ เป็นไปอย่างลื่นไหล บริการประกันภัยที่คิดเงินตามการขับจริง (Usage-based Insurance) โดยจากข้อมูล ลักษณะการขับขี่จะทำให้บริษัทประกันภัยสามารถประเมินความเสี่ ยงของผู้ขับขี่ได้ดีขึ้น และนำมาคิดค่าเบี้ยประกันตามพฤติกรรมในการขับรถได้ บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ในกรณีที่ผู้ขับขี่ประสบอุบัติเหตุ หน่ วยงานให้ความช่วยเหลือ ฉุกเฉินสามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ตัวอย่างเช่น ในยุโรปได้มีบริการที่ เรียกว่า ECall กำหนดให้รถยนต์ใหม่ทุกคันต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่จะโทรเรียกหมายเลข ฉุกเฉิน 112 โดยอัตโนมัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุการชนรุนแรง และส่งข้อมูลการทำงานของ ถุงลมนิ รภัย และพิกัดของรถยนต์ให้หน่ วยงานให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินทราบ ซึ่งจะ ช่วยลดระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้ถึง 40-50%
บริการตรวจเช็ครถยนต์จากระยะไกล (Remote Diagnostic and Maintenance) โดย เซนเซอร์ที่อยู่บนรถยนต์จะตรวจวัดสภาพรถและส่ งข้อมูลไปยังศูนย์บริการโดยอัตโนมัติ ทำให้ศูนย์บริการสามารถวิเคราะห์สภาพรถและพยากรณ์การเสียของรถได้ล่วงหน้ าแล้ว แจ้งให้ผู้ขับขี่นำรถมาซ่อมได้ก่อนที่จะเกิดการเสี ยจริง การสื่อสารของรถยนต์กับสิ่งรอบตัว (Vehicle-to-Everything Communications: V2X) โดยมีทั้งการสื่อสารระหว่างรถยนต์ (Vehicle-to-vehicle: V2V) เช่น รถยนต์คันหน้ าแจ้ง เตือนรถยนต์ที่ตามมาเมื่อมีการเบรกเพื่อความปลอดภัย การสื่อสารระหว่างรถและ โครงสร้างพื้นฐาน (Vehicle-to-infrastructure: V2I) เช่น สัญญาณไฟจราจรอาจแจ้งให้ รถหลีกเลี่ยงเส้นทางรถติด ช่วยให้การคมนาคมคล่องตัวขึ้น การประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยสามารถนำข้อมูลจากเซนเซอร์ต่างๆ ที่ติด ตั้งในรถยนต์มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุ งระบบการคมนาคมขนส่ งและการพัฒนา เมือง ตามแนวคิดของเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ได้ การขับขี่โดยอัตโนมัติ (Automated Driving) โดยนำการสื่อสารมาใช้ร่วมกับเซนเซอร์ ต่างๆ ซึ่งใช้ในการตรวจจับสิ่งที่อยู่รอบตัว
SMART RETAIL Smart retail คือการจัดการระบบร้านค้าด้วยการส่งข้อมูลไปถึงมือลูกค้าอย่างฉับไว จะดีเพียงใดถ้าเพียงลูกค้าเดินผ่านประตูร้านเข้ามาก็ได้รับการทักทาย จะเพิ่มโอกาสและ แรงจูงใจในการจับจ่ายสินค้าได้มากแค่ไหน หากสามารถนำเสนอสินค้าต้องตามรสนิ ยม หรือแม้แต่มอบส่วนลดได้ตรงใจลูกค้าอย่างรวดเร็ว ถึงมือ จะสร้างความพึงพอใจให้กับ ลูกค้าได้แค่ไหน เมื่อไม่ต้องเสียเวลาหรือถูกกวนใจกับข้อมูลสินค้าและโปรโมชั่นที่ไม่ ต้องการ และไม่เพียงส่งข้อมูลที่เหมาะสมตรงถึงลูกค้าเท่านั้ น ยังสามารถเก็บข้อมูลและ สถิติในรูปแบบต่างๆ ที่ธุรกิจจะสามารถนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์ทางการตลาดและบริหาร เพิ่มความแข็งแกร่งทาง ด้านข้อมูลข่าวสาร เสริมศักยภาพ และความได้เปรียบในการ แข่งขันของธุรกิจของคุณ
SMART WEARLABLE Wearable คืออุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาให้สวมใส่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อ เก็บข้อมูลแล้วนำไปประมวลผลต่อ หรือตอบสนองความต้องการด้านโสตประสาท เช่น การเก็บข้อมูลต่างๆของร่างกายเพื่อนำไปประมวลผลด้านสุขภาพ, การฟังเพลงไร้สาย, การดูหนั งเสมือนได้เข้าไปอยู่ในโรงภาพยนต์จริงๆ เป็นต้น ปัจจัยหลัก 3 ประการ ที่ทำให้ตลาด Smart wearable เติบโต 1) กระแสใส่ใจสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น 2) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 3) การลงทุนข้ามอุตสาหกรรมของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ในธุรกิจอุปกรณ์ Smart Wearable
SMART SUPPLY CHAIN ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ระบบนี้ จะเป็นโซลูชั่นที่เข้ามาช่วยติดตามสินค้าที่กำลัง ขนส่งไปตามท้องถนน การทำงานก็มีการส่งต่อ ทำงานเกี่ยวเนื่ องกัน โดยเริ่มตั้งแต่การ หาสินค้า หรือวัตถุดิบ จนสิ้นสุดกระบวนการส่งถึงมือลูกค้า เพื่อตอบสอบความพึงพอใจ ของลูกค้า โดยสิ่งที่เชื่อม Supply Chain ด้วยกันคือ Logistic นั้ นเอง ตัวอย่างของ Supply Chain มีอะไรบ้าง การเชื่อมกันของ โซ่ อุปทาน เพื่อให้สินค้าจากต้นน้ำไปถึงปลายทางหรือคือลูกค้า ประกอบ ไปด้วย การจัดหาวัตถุดิบ การผลิตสินค้า/การนำเข้าวัตถุดิบ (ผลิตเพื่อใคร ผลิตอย่างไร ) การจัดเก็บสินค้า (การจัดการคลังสินค้า) การส่งสินค้า/การกระจายสินค้า (วิธีการส่งสินค้า) การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (ความพึงพอใจของลูกค้า) โดยการบริหาร supply chain เป็นภาพใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 flows ดังนี้ 1. Product flow การไหลของสินค้า/ วัตถุดิบ 2. Information flow การไหลของข้อมูล เช่น สถิติการผลิต ข้อมูลการขนส่ง 3. financial flow การไหลของเงินในระบบ
บรรณานุกรม อ้างอิง: www.Internet of Things (IoT) – KM (prd.go.th)
Search
Read the Text Version
- 1 - 13
Pages: