Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore We are ASEAN ฉันและเธอ เราคืออาเซียน

We are ASEAN ฉันและเธอ เราคืออาเซียน

Published by E-book Prasamut chedi District Public Library, 2019-08-22 10:26:10

Description: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
หนังสือ,เอกสาร,บทความ ที่นำมาเผยแพร่นี้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

Search

Read the Text Version

ช่วงนี้... มแี ต่คนพูดถึงอาเซยี น บางคนบอกว่า พวกเราตอ้ งรวมตัวเป็นครอบครัวเดยี วกนั ในบ้านหลงั ใหญ่ทเ่ี รียกว่า “ประชาคมอาเซยี น” แล้วพวกเรารู้หรอื เปล่า “อาเซยี น” คอื อะไร เก่ียวอะไรกับเรา ถา้ อยา่ งงัน้ พวกเราลองไปทำความรจู้ ักคุ้นเคยกับอาเซียนกันดกี วา่ และจะได้ไปบอกต่อกับเพือ่ นๆ ของเรา แลว้ ชวนกันมาร่วมกันสรา้ งบ้านอาเซยี นหลังน้ี ใหอ้ บอ่นุ แขง็ แรง และนา่ อยตู่ อ่ ไป 1

มาร้จู ัก “อาเซียน” กนั เถอะ อาเซยี น มีช่ือเต็มว่า สมาคมประชาชาติแหง่ เอเชียตะวนั ออกเฉยี งใต้ มสี มาชกิ 10 ประเทศ ได้แก่ 1) บรูไนดารุสซาลาม 2) ราชอาณาจกั รกมั พูชา 3) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 4) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 5) มาเลเซีย 6) สาธารณรฐั แหง่ สหภาพเมียนมาร์ 7) สาธารณรัฐฟิลปิ ปนิ ส์ 8) สาธารณรัฐสิงคโปร์ 9) ราชอาณาจักรไทย และ 10) สาธารณรัฐ สงั คมนยิ มเวยี ดนาม อาเซยี นจดั ตงั้ ขนึ้ เพอื่ ช่วยเหลอื สมาชกิ ทงั้ 10 ประเทศ ใหส้ ามารถ ทำงานร่วมกัน และช่วยเหลือซึง่ กันและกัน เพื่อให้อาเซียนของเรามีความ รว่ มมอื ระหวา่ งกนั ในดา้ นเศรษฐกจิ สงั คม วฒั นธรรม วทิ ยาศาสตร์ การเกษตร อุตสาหกรรม การคมนาคม รวมทัง้ การช่วยเหลือให้ประชาชนมีรายได้ เพิม่ มากขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อสร้างความเจริญรุง่ เรืองให้กับ อาเซยี นของเรา ปัจจบุ ันน้ี อาเซยี นมปี ระชากรจำนวน 600 กวา่ ล้านคนแลว้ มพี ้นื ท่ี กว้างใหญ่ถึง 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร ผูค้ นจำนวนมากมายเหล่านี้ เมื่อมารวมตัวกันเป็นครอบครัวใหญ่ ย่อมทำให้อาเซียนมีแหล่งท่องเทีย่ ว ทรัพยากรธรรมชาติ และวัตถุดิบที่มีมูลค่ามหาศาล เป็นที่ต้องการของ ประเทศต่างๆ ทำให้อาเซียนมีความได้เปรียบ และสามารถค้าขายสินค้า แข่งกับประเทศต่างๆ ทัง้ ในทวีปยุโรปและอเมริกา ทำให้ประชาชนมีรายได้ และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีมากขนึ้ 2

อาเซยี นมีอายุมากกวา่ 40 ปีแล้ว อาเซียนเกิดขึ้นจากความพยายามของ 5 ประเทศ ได้แก่ 1) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 2) มาเลเซีย 3) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 4) สาธารณรัฐสิงคโปร์ และ 5) ราชอาณาจักรไทย ที่ต้องการให้อาเซียน เป็นดินแดนแห่งสันติภาพ มีความร่วมมือกันในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ การเกษตรและอุตสาหกรรม โดยได้มีการลงนามในข้อตกลงร่วมกัน เรียกว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ ทีว่ งั สราญรมย์ เม่อื วันที่ 8 สงิ หาคม 2510 ผ้แู ทนจาก 5 ประเทศท่ีได้รว่ มกนั สร้างอาเซยี น ได้แก่ • นายอาดมั มาลกิ จากสาธารณรัฐอินโดนีเซยี • ตนุ อับดุล ราชัก บนิ ฮุสเซน จากประเทศมาเลเซีย • นายนาซิโซ รามอส จากสาธารณรัฐฟลิ ปิ ปนิ ส์ • นายเอส ราชารัตนัม จากสาธารณรัฐสิงคโปร์ • พนั เอก (พเิ ศษ) ถนดั คอมันตร์ จากราชอาณาจกั รไทย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการ- กระทรวงการตา่ งประเทศ ในรฐั บาลจอมพลสฤษด์ิ ธนะรชั ต์ จนถงึ จอมพลถนอม กติ ตขิ จร (ระหวา่ งวนั ท่ี 10 กมุ ภาพนั ธ์ 2502 - 17 พฤศจกิ ายน 2514) 3

ที่ทำงานของอาเซยี นอย่ทู ่ีไหน อาเซียนไดจ้ ดั ตงั้ สำนักงานเม่ือวนั ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2519 หลังจาก ท่ีไดม้ กี ารลงนามในขอ้ ตกลงการจดั ตง้ั สำนกั เลขาธกิ ารอาเซยี น ทก่ี รงุ จาการต์ า สาธารณรฐั อนิ โดนเี ซยี ตอ่ มาเมอ่ื วนั ท่ี 9 พฤษภาคม 2524 รฐั บาลอนิ โดนเี ซยี ได้มอบอาคารทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตาเพื่อใช้เป็นสำนักงานใหญ่ของ สำนักเลขาธิการอาเซียน อาคารดังกล่าวได้ใช้เป็นสำนักงานใหญ่ถาวรของ อาเซียนจนถึงทกุ วนั น้ี สำนกั เลขาธกิ ารอาเซียน ทำหน้าท่ีประสานงานและดำเนินงานตาม โครงการและกิจกรรมต่างๆ ของอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อ ระหวา่ งประเทศสมาชกิ อาเซยี นกบั คณะกรรมการชดุ ตา่ งๆ รวมทง้ั รฐั บาลของ ประเทศสมาชิก ใครดูแลงานอาเซยี น ผูด้ ูแลการทำงานของอาเซียน และเป็นหัวหน้าใหญ่ของสำนัก- เลขาธิการอาเซียน ไดแ้ ก่ เลขาธิการอาเซยี น ซ่ึงจะอยู่ในตำแหนง่ 5 ปี และ เมือ่ ครบวาระจะไม่สามารถต่ออายุได้อีก โดยประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียน มี โอกาสที่จะเสนอชือ่ ผู้แทนประเทศของตนให้ได้รับการแต่งตั้งเป็น เลขาธิการอาเซียน ปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้เสนอให้ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เปน็ ผแู้ ทนประเทศไทยในตำแหนง่ เลขาธกิ ารอาเซยี น ระหวา่ ง ปี 2550 - 2555 ซึง่ เป็นคนไทยคนที่สองที่ได้ดำรงตำแหน่งนีต้ ่อจาก นายแผน วรรณเมธี อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ระหวา่ งปี 2527-2529 สำนกั เลขาธกิ ารอาเซียน กรงุ จาการ์ตา สาธารณรฐั อินโดนเี ซยี 4

การดำรงตำแหน่งของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ นับเป็นช่วงเวลา ทีส่ ำคัญเนื่องจากอาเซียนกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการปรับเปลี่ยน ตวั เองใหเ้ ปน็ องค์กรท่แี ข็งแกร่งย่งิ ขน้ึ ที่เรียกวา่ “ประชาคมอาเซียน” ดงั น้นั การแสดงบทบาทท่เี หมาะสมของเลขาธิการอาเซียนจะมีส่วนสำคัญอย่างมาก ตอ่ ความพยายามของอาเซียนในการรวมตวั กันใหส้ ำเร็จภายในปี 2558 นอกจากนี้ อาเซียนยังมีรองเลขาธิการ 4 คน โดย 2 คนมาจาก ประเทศสมาชกิ อาเซียนเรยี งลำดบั ตามตวั อกั ษรชอ่ื ภาษาอังกฤษของประเทศ และอีก 2 คนมาจากการเปิดรับสมัครคัดเลือก สำนักเลขาธิการอาเซียน จะมีหนว่ ยงานเฉพาะดา้ นทด่ี ำเนินความรว่ มมอื ในด้านตา่ งๆ ท้งั ทางการเมอื ง ความมัน่ คง เศรษฐกจิ สังคมและวัฒนธรรม อาเซยี นมีสำนักงาน ในประเทศไทยหรอื เปลา่ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้จัดตั้งหน่วยงานซึง่ รับผิดชอบดูแลงาน อาเซียนของประเทศนั้นๆ เรียกว่า สำนักงานอาเซียนแห่งชาติซึง่ เป็น หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก สำหรับ หนว่ ยงานทด่ี แู ลงานอาเซยี นของประเทศไทย ไดแ้ ก่ กรมอาเซยี น กระทรวง- การตา่ งประเทศ ทำหน้าท่ีประสานการดำเนินงานอาเซยี นในประเทศไทย กับ ประเทศสมาชกิ อาเซยี น และสำนกั เลขาธกิ ารอาเซยี น เพ่อื ใหเ้ กดิ ความรว่ มมอื ในการดำเนนิ กจิ กรรมในดา้ นตา่ งๆ ของอาเซยี น เชน่ การเมอื งและความม่นั คง เศรษฐกจิ สังคมและวฒั นธรรม 5

การเมอื ง เศรษฐกจิ สวังฒัคมนธรรม ในปี 2551 ประเทศไทยได้จัดตัง้ สมาคมอาเซียน – ประเทศไทย (ASEAN Association – Thailand) เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมกับการสร้างประชาคมอาเซียน ปัจจุบันมีสำนักงานอยูท่ ี่ กระทรวงการต่างประเทศ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารรฐั ประศาสนภักดี ชน้ั 8 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักส่ี กรงุ เทพมหานคร พวกเรารูจ้ กั สัญลักษณอ์ าเซียนหรอื ยงั สัญลักษณอ์ าเซียน ไดแ้ ก่ รวงขา้ วสที อง 10 รวง นำมามัดรวมกนั ซึง่ แสดงถึงจำนวนของประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีที่ ใช้บนธงอาเซียน ไดแ้ ก่ สีขาว สนี ำ้ เงนิ สแี ดง และสเี หลือง ซงึ่ ลว้ นมาจากสธี งชาตสิ มาชกิ ทง้ั 10 ประเทศ โดยความหมายของแต่ละสคี อื 1. สแี ดง หมายถงึ 3. สีน้ำเงิน หมายถงึ ความกลา้ หาญและ สันติภาพและ ความม่นั คง ความก้าวหนา้ 4. สีเหลือง หมายถึง 2. สีขาว หมายถึง ความเจรญิ รงุ่ เรอื ง ความบริสทุ ธิ์ 6

ภาษาองั กฤษกับอาเซยี น ภาษาอังกฤษ เปน็ ภาษาราชการของอาเซยี น และเป็นภาษาสากลของโลกที่ ใช้กนั อยา่ ง แพร่หลาย ดังน้นั ประเทศไทยจงึ กำหนดให้ ภาษาอังกฤษเปน็ ภาษาตา่ งประเทศ ที่นกั เรียนทกุ คนตอ้ งเรียน เพ่อื นำความร้ไู ปใช้ในการ ประกอบอาชพี และติดต่อสือ่ สาร กบั ชาวตา่ งชาตไิ ด้ ฉะน้ันเยาวชน คนรุน่ ใหม่ตอ้ งเตรียมตัวใหพ้ รอ้ ม มีความสามารถในการใช้ภาษาองั กฤษ เพอื่ รบั มือกับการแขง่ ขันในโลก แห่งอนาคต และพรอ้ มทีจ่ ะก้าวสู่ เวที ในระดับนานาชาตไิ ดอ้ ยา่ งม่ันใจ คำขวญั ของอาเซียน “One Vision, One Identity, One Community” “หนึ่งวสิ ัยทศั น์ หนงึ่ อัตลักษณ์ หนึง่ ประชาคม” เพลงประจำอาเซียน อาเซียนมีเพลงประจำอาเซียน ที่บ่งบอกถึงความเป็นอาเซียน ชือ่ ว่าเพลง The ASEAN Way เปน็ เพลงทแ่ี ตง่ โดยคนไทย ได้แก่ นายกิตติคุณ สุดประเสริฐ (ทำนอง และเรยี บเรยี ง) นายสำเภา ไตรอดุ ม (ทำนอง) และนางพยอม วลัยพัชรา (เนือ้ ร้อง) 7

เนอ้ื เพลงอาเซียน (The ASEAN Way) Raise our flag high, sky high Embrace the pride in our heart ASEAN we are bonded as one Look’in out to the world. For peace, our goal from the very start And prosperity to last. We dare to dream we care to share Together for ASEAN we dare to dream we care to share for it’s the way of ASEAN. เน้ือเพลง The ASEAN Way ภาษาไทย พล้ิวลู่ลม โบกสะบดั ใต้หมธู่ งปลิวไสว สญั ญาณแหง่ สญั ญาทางใจ วนั ทเ่ี รามาพบกนั อาเซียน เปน็ หนง่ึ ดงั ที่เราปรารถนา เราพรอ้ มเดินหน้าไปตรงนั้น หลอ่ หลอมจิตใจ ให้เปน็ หนึ่งเดยี ว อาเซยี นยดึ เหน่ียวสัมพันธ์ ใหส้ งั คมนมี้ แี ต่แบ่งปนั เศรษฐกจิ มัน่ คง กา้ วไกล พวกเราสามารถ ดาวน์โหลดเพลง The ASEAN Way ได้จากเว็บไซต์ของสมาคมอาเซียน– ประเทศไทย ท่ี www.aseanthailand.org 8

รู้จักกฎบตั รอาเซียนหรอื ยงั กฎบัตรอาเซียนคือกรอบความตกลงทีก่ ำหนดเป้าหมาย หลักการ โครงสรา้ งองค์กร และกลไกทสี่ ำคัญตา่ งๆ ของอาเซียน โดยมีวตั ถปุ ระสงค์ เพือ่ 1) เพิม่ ประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามเป้าหมายต่างๆ โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ การรวมตัวไปสกู่ ารเป็นประชาคมอาเซยี น ภายในปี 2558 2) สร้างกลไกที่จะส่งเสริมประเทศในอาเซียนปฏิบัติตามความตกลงต่างๆ ของอาเซียน และ 3) ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ ใกล้ชิดและก่อให้เกิด ประโยชนต์ อ่ ประชาชนมากข้ึน โดยกำหนดให้มกี ารดำเนนิ การดังน้ี 1. ให้เพิ่มการประชุมสุดยอดอาเซียนจากปีละ 1 ครัง้ เป็นปีละ 2 ครงั้ 2. ใหม้ กี ารจดั ต้งั คณะมนตรปี ระจำประชาคมอาเซยี นตามเสาหลกั ทง้ั 3 ดา้ น คอื การเมอื งและความม่นั คง เศรษฐกจิ สงั คมและวฒั นธรรม เพ่อื กำหนดทิศทางและประสานงานเพือ่ ให้การดำเนินงานของแต่ละเสาหลัก มีเอกภาพ และประสทิ ธภิ าพมากขนึ้ กฎบตั ร อาเซียน 3. ให้ประเทศสมาชิกแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำอาเซียน ทีจ่ ะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อมุง่ ไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคม อาเซยี นในอนาคต 4. หากประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้ ให้ใช้การตัดสินใจ รปู แบบอืน่ ไดต้ ามทีผ่ ้นู ำกำหนด 5. ใหป้ ระเทศสมาชิกหารอื เพอ่ื แก้ไขปัญหาหากเกดิ ปัญหาทส่ี ง่ ผล กระทบตอ่ ประโยชนส์ ว่ นรวมของอาเซยี น และกำหนดใหป้ ระธานอาเซยี นเสนอ วธิ กี ารแก้ไขปัญหาดงั กล่าว 9

การจดั ระบบการทำงานของอาเซยี น อาเซยี นมีองค์กรในการปฏิบตั งิ านใหบ้ รรลเุ ป้าหมาย ดังนี้ โครงสรา้ งการทำงาน 1) ทีป่ ระชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ทำหน้าที่ ในการกำหนดนโยบาย สดุ ยทอ่ปี ดรอะาชเมุ ซยี น สงู สุดของอาเซยี น 2) ทีป่ ระชุมคณะมนตรีประสานงาน อาเซยี น (ASEAN Coordinating Council) ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย รั ฐ ม น ต รี ต่ า ง ป ร ะ เ ท ศ ข อ ง รฐั สมาชิกอาเซยี น ทป่ี ระชุมคณะมนตรี 3) ท่ปี ระชมุ คณะมนตรปี ระชาคมอาเซยี น ประสานงานอาเซยี น (AS EAN Community Councils) ประกอบด้วยคณะมนตรีประชาคมการเมือง และความม่นั คงอาเซียน คณะมนตรีประชาคม ท่ปี ระชมุ คณะมนตรี เศรษฐกิจอาเซียน และคณะมนตรีประชาคม ประชาคมอาเซยี น สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 4) ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเฉพาะ สาขาของประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN ท่ีประชุมระดบั รัฐมนตรี Sectoral Ministerial Bodies) เช่น เฉพาะสาขาของอาเซียน ด้านสาธารณสุข ด้านกลาโหม ด้านการศึกษา และ ด้านการเงนิ และการคลงั ฯลฯ 5) ที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ที่ประชมุ ระดบั เจ้าหน้าท่ี (ASEAN Senior Officials Meeting) อาวุโสของอาเซยี น เปน็ การประชมุ ระดับปลัดกระทรวง 6) คณะกรรมการผูแ้ ทนถาวรประจำ อาเซียน (Commitee of Permanent คณะกรรมการผ้แู ทน Representatives) เป็นการประชุมของ ถาวรประจำอาเซยี น เอกอคั รราชทตู ท่แี ตล่ ะประเทศสมาชกิ อาเซยี น แต่งตัง้ ให้ไปประสานงานกับสำนักเลขาธิการ อาเซยี น ณ กรุงจาการต์ า 10

อาเซยี นกบั ประเทศคู่เจรจา ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีความร่วมมือกับประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สาธารณรัฐเกาหลี จนี รัสเซีย อนิ เดีย อาเซียนบวกสาม (จนี ญ่ีปุน่ และ สาธารณรัฐเกาหลี) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก หรือ EAS เป็นต้น โดยมีความร่วมมือหลากหลายสาขา เช่น การศึกษา การพัฒนา- ทรัพยากรมนุษย์ การค้า การลงทุน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การปอ้ งกนั และปราบปรามยาเสพติด และการกอ่ การร้าย เปน็ ต้น “ประชาคมอาเซยี น” คืออะไร เมอื่ อาเซยี นอายุครบ 30 ปี ผนู้ ำของอาเซียนไดร้ ับรองเอกสารเพื่อ กำหนดการดำเนินงานของอาเซียนในอนาคต เรียกว่า “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020)” เพอ่ื ทำใหอ้ าเซยี นเปน็ ดนิ แดนแหง่ สนั ตภิ าพ มคี วามเจรญิ รงุ่ เรอื ง และความม่นั คงอย่างต่อเนอ่ื ง พร้อมทั้งส่งเสรมิ ใหเ้ กดิ สงั คมทป่ี ระชาชนทกุ คนรกั ใครด่ แู ลกนั เออ้ื อาทรและรว่ มแบง่ ปนั กนั ไมม่ กี าร แบ่งแยกกดี กัน มีความสามัคคีกัน นอกจากน้ี ผูน้ ำอาเซียนได้ตกลงกนั ทจี่ ะจดั ต้ังประชาคมอาเซยี น (ASEAN Community) ภายในปี 2563 ท่ีประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ 11

• ประชาคมการเมอื งและความมน่ั คงอาเซยี น (ASEAN Political - Security Community - APSC) • ประชาคมเศรษฐกจิ อาเซยี น (ASEAN Economic Community - AEC) • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) ตอ่ มาในการประชมุ สดุ ยอดอาเซยี น ครง้ั ท่ี 12 ทเ่ี มอื งเซบู สาธารณรฐั ฟิลปิ ปินส์ ผนู้ ำอาเซียนตกลงทจี่ ะเร่งรดั กระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน ใหส้ ำเร็จภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ประชาคมการเมอื งและความม่ันคงอาเซียน ประชาคมการเมอื งและความมัน่ คงอาเซียน (ASEAN Political - Security Community : APSC) จะชว่ ยเสรมิ สรา้ งความมน่ั คงทางการเมอื ง ซง่ึ เปน็ พ้นื ฐานสำคญั ของการพฒั นาดา้ นตา่ งๆ รวมถงึ การพฒั นาทางเศรษฐกจิ มีวัตถุประสงค์หลักเพือ่ (1) สร้างแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้าน ต่างๆ ด้วยการไม่ ใช้กำลังแก้ไขปัญหา และการไม่ ใช้อาวุธนิวเคลียร์ (2) เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคามทีม่ ี ผลต่อความม่นั คงของมนุษย์ เช่น การก่อการรา้ ย การลกั ลอบคา้ ยาเสพตดิ และอาชญากรรมข้ามชาติ เปน็ ตน้ และ (3) สร้างความสัมพันธ์ท่ีแน่นแฟน้ กับประเทศตา่ งๆ ในโลก โดยใหอ้ าเซียนมีบทบาทนำในภมู ภิ าค 12

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาเซียนให้ความสำคัญในการ เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยมุง่ ให้เกิดการ รวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวย ความสะดวกในการตดิ ตอ่ คา้ ขายระหวา่ งกนั เพื่อให้ภูมิภาคมีความเจริญมัง่ คั่ง และ สามารถแขง่ ขนั กบั ภมู ภิ าคอน่ื ๆ ได้ เพอ่ื ความ อยดู่ กี นิ ดขี องประชาชนในประเทศอาเซยี น อาเซียนมีประชากรรวมกนั กวา่ 600 ล้านคน ซงึ่ จะรวมตัวเปน็ ฐาน ตลาดเดียวกนั และจะมกี ารเคลือ่ นย้ายสนิ ค้า การบรกิ าร การลงทนุ เงนิ ทุน และแรงงานมฝี มี อื อยา่ งเสรี ภายในปี 2558 ปจั จบุ นั อาเซยี นไดย้ อมรบั คณุ วฒุ ิ ร่วมกันใน 7 สาขาอาชีพเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานโดยเสรี ไดแ้ ก่ วศิ วกร พยาบาล สถาปนกิ นกั สำรวจ แพทย์ ทนั ตแพทย์ และนกั บญั ชี ซึง่ ประเทศอาเซียนจะต้องเตรียมความพร้อมของผูเ้ รียนให้มีพื้นฐานด้าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาเพื่อนบ้าน สำหรับ ใช้ในการติดต่อสื่อสาร และการทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนได้อย่าง คล่องตัว ประโยชน์ที่ไทยจะไดร้ ับจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซยี น - อาเซยี นจะกลายเปน็ ตลาดท่สี ำคญั ของไทย โดยเฉพาะอตุ สาหกรรม ยานยนตแ์ ละชิน้ ส่วน คอมพวิ เตอร์และชิ้นสว่ นอิเลก็ ทรอนิกส์ - ประโยชน์จากการใชว้ ัตถดุ บิ รว่ มกนั ในอาเซียน - การพฒั นาเปน็ ศนู ยก์ ลางการผลติ ของอาเซยี นในสาขาทป่ี ระเทศไทย มคี วามถนดั SINGLE MARKET 13

ประชาคมสังคมและวฒั นธรรมอาเซยี น อาเซียนตัง้ เป้าหมายการเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ในสังคมที่เอือ้ อาทรและแบ่งปัน มีสภาพความเป็นอยูแ่ ละคุณภาพชีวิตทีด่ ี รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความรูส้ ึกในความเป็นหนึ่งเดียวกันของอาเซียน โดยมีความร่วมมือเฉพาะด้าน (Functional cooperation) ภายใต้ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทีค่ รอบคลุมในหลายด้าน เช่น การศกึ ษา การพัฒนาเยาวชน สิ่งแวดล้อม วฒั นธรรม และการสาธารณสุข เป็นต้น การจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ทำให้เกิดความ ร่วมมือกันในด้านต่างๆ เช่น 1) การพัฒนาสังคม โดยการยกระดับความ เปน็ อยู่ใหด้ ขี ้นึ 2) การพฒั นาการศกึ ษาทกุ ระดบั โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ การพฒั นา ดา้ นวทิ ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี 3) การสง่ เสรมิ ความรว่ มมอื ในดา้ นสาธารณสขุ เช่น การป้องกันและการควบคุมโรคติดต่อ 4) การจัดการปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยัง่ ยืน 5) การสง่ เสรมิ ความรสู้ กึ รว่ มในการเปน็ คนอาเซยี น และอยู่ในครอบครวั อาเซยี น ร่วมกัน เช่น การจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนอาเซียน การจัดกิจกรรมที่จะ ชว่ ยใหพ้ ลเมอื งอาเซยี นเรียนรู้ประวัติศาสตรแ์ ละวฒั นธรรมของกนั และกนั พัฒนาการศกึ ษาเพอ่ื อาเซียน การศึกษาเป็นส่ิงสำคัญประการแรกในการจดั ตั้งประชาคมอาเซียน เนือ่ งจากเป็นกลไกในการปลูกฝังค่านิยม แนวคิด ความเข้าใจระหว่างกัน ในประเทศสมาชิกอาเซียน และเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็ง และความเจริญรุ่งเรอื งทางเศรษฐกิจของอาเซียนและเศรษฐกจิ โลก 14

กรอบการดำเนินงานด้านการศกึ ษาในอาเซียน ปฏิญญาชะอำ - หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา เพอ่ื บรรลุเป้าหมายประชาคมอาเซียนทเี่ อ้ืออาทรและแบ่งปนั กระทรวงศกึ ษาธกิ ารของไทยไดย้ กรา่ งปฏญิ ญาชะอำ-หวั หนิ วา่ ดว้ ย การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพือ่ บรรลุเป้าหมายประชาคม อาเซยี นท่เี อ้อื อาทรและแบ่งปัน และได้รว่ มมอื กับกระทรวงการต่างประเทศ ในการนำเสนอเอกสารดังกล่าวให้ผู้นำอาเซียนให้การรับรองในการ ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 เมือ่ ปี 2553 ปฏิญญาชะอำ - หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมาย ประชาคมอาเซียนทีเ่ อือ้ อาทรและแบ่งปันเป็นกรอบการดำเนินงาน ด้านการศึกษาฉบับแรกของอาเซียน ทเี่ นน้ บทบาทของการศกึ ษาในการสรา้ ง ประชาคมอาเซยี น ท้งั 3 เสาหลัก ได้แก่ การเมืองและความมนั่ คง เศรษฐกจิ และสงั คมและวฒั นธรรม ดงั นี้ การศึกษากับการเมอื งและความมน่ั คง การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มี โอกาสเรียนรู้กับเกี่ยวกับหลักการ ประชาธปิ ไตย และการใหค้ วามเคารพในสทิ ธมิ นษุ ยชน จะชว่ ยพฒั นาอาเซยี น ใหเ้ ปน็ ภมู ิภาคท่มี ีความมนั่ คงและสงบสขุ การศึกษากบั เศรษฐกจิ การจัดการศึกษาและการฝึกอบรมเพือ่ พัฒนาทักษะด้านวิชาชีพ การจัดทำกรอบข้อตกลงยอมรับร่วมในสาขาวิชาชีพของอาเซียน การจัดทำ ระบบเทยี บโอนคณุ วฒุ ทิ างการศกึ ษาจะชว่ ยใหค้ นในอาเซยี นสามารถเดนิ ทาง ไปศกึ ษาตอ่ หรอื ทำงานในอาเซยี นได้โดยสะดวก และชว่ ยใหอ้ าเซยี นเปน็ ตลาด และฐานการผลิตทแี่ ขง็ แกร่งในภมู ิภาค 15

การศึกษากับสังคมและวัฒนธรรม การจัดการศึกษาทีม่ ีคุณภาพให้แก่ประชาชนทุกคนรวมทัง้ ในพื้นที่ หา่ งไกลและในชนบท การสร้างความตระหนกั เกี่ยวกบั อาเซียน และการเป็น อันหนึง่ อันเดียวกันของคนอาเซียนที่แม้จะมีพืน้ ฐานทางวัฒนธรรมและ ขนบธรรมเนยี มทแ่ี ตกตา่ งกนั แตก่ ส็ ามารถอยู่ในครอบครวั อาเซยี นจะชว่ ยให้ ประชาชนในอาเซียนมีความรักและความภูมิ ใจในการเป็นพลเมืองอาเซียน และร่วมกันพัฒนาอาเซียนใหเ้ ปน็ ดนิ แดนท่มี ีความเจริญรุง่ เรอื งสืบไป แผน 5 ปี ด้านการศึกษาของอาเซยี น อาเซียนมีการจัดทำแผน 5 ปี ด้านการศึกษา (2554-2558) ที่ได้รับมอบจากการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ครัง้ ที่ 4 ระหว่างวันที่ 5 - 8 เมษายน 2552 ณ จงั หวัดภเู ก็ต โดยมีเนื้อหาสำคญั ดงั น้ี ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 1 การเสริมสรา้ งความตระหนักเกย่ี วกับอาเซียน อาเซียนกำหนดเป้าหมายในการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของอาเซียน ดว้ ยการเสรมิ สรา้ งความตระหนกั และคา่ นยิ มรว่ มในการเปน็ ประชาชนอาเซยี น ในสงั คมทกุ ระดบั โดยใชก้ ารศึกษาเปน็ กลไกในการดำเนินการ ยทุ ธศาสตร์ที่ 2 การเข้าถึงการศกึ ษาทีม่ คี ณุ ภาพ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 2.1 การเสริมสร้างโอกาสในการได้รับการศึกษา ในระดบั ประถมศกึ ษาและมธั ยมศกึ ษา ยทุ ธศาสตรน์ ้ีใหค้ วามสำคญั กบั การจดั การ ศกึ ษาเพอ่ื บรรลเุ ปา้ หมายการจดั การศกึ ษาเพอ่ื ปวงชน ซง่ึ เปน็ ผลสบื เนอ่ื งจาก การประชุมโลกว่าดว้ ยการศกึ ษาเพ่ือปวงชนเม่ือปี 2533 ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 2.2 การพฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษาการยกระดบั มาตรฐาน การศึกษา การจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนาอาชีพ ยุทธศาสตร์นี้ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา และมธั ยมศกึ ษา สง่ เสรมิ การจดั การศกึ ษาทง้ั ในระบบโรงเรยี นและนอกระบบ โรงเรียนอย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และมผี ลตอบแทนครทู ่ีมผี ลงานเปน็ เลิศ 16

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนและการจัดการศึกษาให้มี ความเป็นสากล เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและสภาพ เศรษฐกจิ ของยคุ โลกาภวิ ตั น์ ซง่ึ อาศยั แรงงานทม่ี ที กั ษะและความชำนาญการสงู และสามารถเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชพี ในอาเซยี น ดังนั้น คนไทยต้องเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทักษะต่างๆ โดยเฉพาะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ซึง่ เป็นภาษาราชการของอาเซียนและ ภาษาสากลของโลก เพอื่ ประโยชน์ในการศกึ ษาหาความรู้ และตดิ ต่อสอื่ สาร กบั ชาวตา่ งชาติ ทง้ั ทเ่ี ปน็ คนอาเซยี น และคนในภมู ภิ าคอน่ื ๆ ของโลก นอกจากน้ี ยังควรเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เพื่อ ประโยชน์ในการตดิ ต่อส่อื สาร และสรา้ งความเขา้ ใจระหว่างเพอื่ นๆ ของเรา ในอาเซียนด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพการงานในอนาคต ซึง่ ในปี 2558 อาเซียนกำหนดให้มีการเคลือ่ นย้ายแรงงานทีม่ ีทักษะและ ความชำนาญการโดยเสรี 17

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรรายสาขาอืน่ ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษา เช่น สนับสนุนการศึกษาด้านสภาพแวดล้อม การจัดการด้านความเสี่ยงและภัยพิบัติ การจัดการศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชน การจดั การศกึ ษาเพอื่ การปอ้ งกัน HIV/AIDS เตรียมความพรอ้ ม… เพ่ือกา้ วสบู่ ้านหลงั ใหญข่ องอาเซียน กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแนวทางในการเตรียมความพร้อม ในการกา้ วสกู่ ารเปน็ ประชาคมอาเซยี น ภายในปี 2558 ใหแ้ กป่ ระชาชนทกุ คน ดงั ตอ่ ไปน้ี แนวทางท่ี 1 เผยแพรค่ วามรู้ ขอ้ มลู ขา่ วสาร และสรา้ งความตระหนกั และเจตคตทิ ่ดี เี กย่ี วกบั อาเซยี น ใหแ้ กค่ รู คณาจารย์ และบคุ ลากรทางการศกึ ษา นักเรียน นกั ศกึ ษา และประชาชนท่ัวไป แนวทางท่ี 2 พฒั นาศกั ยภาพนกั เรยี น นกั ศกึ ษา และประชาชนใหม้ ี ทักษะทีเ่ หมาะสมในการเป็นพลเมืองอาเซียน และสอดคล้องกับการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม รวมทั้งการเพิ่มโอกาสในการหางานทำ ของประชาชน และการพจิ ารณาแผนผลิตกำลงั คน แนวทางที่ 3 พัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อสร้างการยอมรับใน คุณภาพการศกึ ษา และสง่ เสริมการหมุนเวียนของนักศึกษา ครู อาจารย์ใน อาเซยี น รวมทง้ั การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล เพ่อื สนับสนุนการศกึ ษา ตลอดชวี ิต สง่ เสรมิ และปรบั ปรุงการศึกษาด้านอาชีวศกึ ษาและการฝกึ อบรม ทางอาชีพ ตลอดจนการส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบัน การศกึ ษาของประเทศสมาชิกอาเซยี น 18

แนวทางที่ 4 เตรียมความพร้อม การพัฒนาความสามารถ และ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพือ่ รองรับการเปิดเสรีการศึกษา รวมท้ังการเปิดเสรีด้านแรงงานในอาเซียน แนวทางที่ 5 บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานทีเ่ กี่ยวข้อง เพ่อื พฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษาไทย รวมทง้ั การจดั ตง้ั และพฒั นากลไกท่เี ก่ยี วขอ้ ง เพ่อื ใหเ้ กิดการดำเนินการอย่างย่ังยนื พวกเราจะมีส่วนช่วยสรา้ งประชาคมอาเซียนได้อย่างไร พวกเรามสี ว่ นชว่ ยสรา้ งประชาคมอาเซยี นไดห้ ลายวธิ ี เชน่ การพฒั นา ศักยภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นพลังสำคัญของอาเซียนในอนาคต การมีน้ำใจและมีมิตรไมตรีต่อเพื่อนๆ ในอาเซียน การให้ความสำคัญกับ การเรยี นภาษาองั กฤษ และภาษาของประเทศเพ่อื นบา้ น เพ่อื สรา้ งความสมั พนั ธ์ และความเขา้ ใจอนั ดรี ะหวา่ งประชาชนอาเซยี น การเขา้ รว่ มกจิ กรรมในโครงการ แลกเปลย่ี น และโครงการตา่ งๆ ของอาเซยี นทมี่ อี ย่อู ยา่ งมากมาย เราสืบค้นข้อมูลเพิ่มเตมิ เกย่ี วกับอาเซยี นไดท้ ่ี ใดบ้าง พวกเราสามารถสืบคน้ ข้อมูลเกีย่ วกับอาเซียนได้จากเวบ็ ไซตต์ ่อไปน้ี • สำนกั เลขาธกิ ารอาเซยี น www.aseansec.org • สำนกั งานเลขานุการเครือข่ายมหาวทิ ยาลยั อาเซยี น www.aunsec.org • กระทรวงการตา่ งประเทศ www.mfa.go.th/asean • สมาคมอาเซียน-ประเทศไทย www.aseanthailand.org • สำนักความสัมพนั ธ์ตา่ งประเทศ สำนักงานปลดั กระทรวงศกึ ษาธกิ าร www.bic.moe.go.th www.asean.moe.go.th 19

ขอ้ มูลประเทศอาเซียนท่คี วรรู้ บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) พืน้ ท่ี 5,765 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง บันดารเ์ สรีเบกาวาน (Bandar Seri Begawan) ประชากร 414,000 คน ภาษาราชการ ภาษามาเลย ์ (Malay หรอื Bahasa Melayu) ศาสนา อสิ ลาม (67%) พทุ ธ (13%) ครสิ ต์ (10%) และ อ่ืนๆ (10%) ระบอบการปกครอง สมบรู ณาญาสทิ ธริ าชย์ วันชาต ิ 23 กมุ ภาพันธ์ หนว่ ยเงนิ ตรา ดอลลาร์บรูไน (BND) ดอกไมป้ ระจำชาติ ดอก Simpor (Dillenia Suffruticosa) เป็นดอกไมท้ ี่มกี ลบี ดอกขนาดให- ่สีเหลอื ง เม่อื บานเต็มทกี่ ลีบดอกจะบานออกคล้ายรม่ ข้อมูลทางเศรษฐกจิ รายไดป้ ระชาชาติต่อหวั 28,340 USD การขยายตวั ทางเศรษฐกจิ ร้อยละ 3.1 สินค้านำเขา้ สำคญั เคร่อื งจกั รอตุ สาหกรรม รถยนต์ เครอื่ งใช้ไฟฟ้า สินคา้ เกษตร 20

ตลาดนำเข้าทสี่ ำคญั อาเซยี น จนี สหภาพยโุ รป สหรฐั อเมรกิ า และญ่ปี นุ่ สนิ ค้าส่งออกสำคัญ นำ้ มนั ดบิ กา๊ ซธรรมชาติ เสอ้ื ผ้า เครอ่ื งแต่งกาย ตลาดสง่ ออกทสี่ ำคัญ ญป่ี นุ่ อาเซียน เกาหลี ใต้ ออสเตรเลีย การศึกษาของบรูไนดารุสซาลาม บรูไนดารุสซาลามไม่มกี ารจดั การ ศึกษาภาคบงั คบั แต่มีการจดั การศึกษาใหแ้ ก่ เดก็ ทุกคน โดยไม่เสียคา่ ใชจ้ ่าย ระบบการศกึ ษา ของบรไู นดารุสซาลาม มดี งั นี้ • ระดับกอ่ นประถมศกึ ษา 1 ปี • ระดบั ประถมศกึ ษา 6 ปี • ระดับมัธยมศึกษา 7-8 ปี แบง่ เป็น - ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้ 3 ปี - ระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย 2-3 ปี หรือ หลกั สตู รทางเทคนคิ และ ศลิ ปะ ซ่งึ เป็นแนวทางวชิ าชีพ • ระดบั มหาวิทยาลัย 3-4 ปี หนว่ ยงานจดั การศกึ ษา ไดแ้ ก่ Ministry of Education - Brunei Darussalam http://www.moe.edu.bn 21

ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) พืน้ ท่ี 181,035 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง กรุงพนมเปญ (Phnom Penh) ประชากร 14.5 ลา้ นคน ภาษาราชการ ภาษาเขมร ศาสนา พทุ ธ ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรฐั สภาโดยมีพระมหากษัตรยิ ์ เป็นประมขุ ภายใต้รัฐธรรมนญู วนั ชาติ 9 พฤศจิกายน หน่วยเงนิ ตรา เรียล (HKR) ดอกไมป้ ระจำชาติ ดอก Rumdul หรือดอกลำดวน เปน็ ดอกสีขาวเหลอื งอยูบ่ นใบเดี่ยว มกี ล่นิ หอมในเวลาคำ่ ขอ้ มลู ทางเศรษฐกิจ รายไดป้ ระชาชาติตอ่ หวั 911.73 USD การขยายตวั ทางเศรษฐกจิ รอ้ ยละ 6.7 สินค้านำเข้าสำคัญ ผลิตภัณฑ์ปโิ ตรเลยี ม วัสดกุ อ่ สรา้ ง เคร่อื งจกั ร ยานพาหนะ ตลาดนำเขา้ ที่สำคัญ จีน ฮอ่ งกง เวียดนาม ไทย ไตห้ วัน 22

สนิ ค้าสง่ ออกสำคัญ เส้ือผา้ สงิ่ ทอ ไม้ ยางพารา ขา้ ว ตลาดส่งออกทีส่ ำคัญ สหรฐั อเมริกา เยอรมนี อังกฤษ แคนาดา เวยี ดนาม การศกึ ษาของกัมพูชา ระบบการศึกษาของกัมพูชาได้บรรจุไว้ใน แผนพัฒนาเศรษฐกจิ ของประเทศซ่ึงมีเป้าหมาย เพอ่ื ใหก้ ารศึกษาเปน็ กลไกสำคญั ของประเทศ ในการขจัดความยากจน โดยแบ่งไดด้ ังน้ี • ระดับก่อนประถมศึกษา 3 ปี • การศกึ ษาขนั้ พ้ืนฐาน 9 ปี - ระดับประถมศกึ ษา 6 ปี - ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนต้น 3 ปี • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี • ระดับอดุ มศึกษา 4-7 ปี • การจัดการศกึ ษาด้านอาชีวะและเทคนคิ จัดใหต้ ัง้ แต่ 1 ปี ไปจนถึง 3-5 ปี โดยจะเนน้ การฝึกทักษะ หนว่ ยงานจดั การศึกษา ได้แก่ Ministry of Education, Youth and Sport – Cambodia http://www. moeys.gov.kh 23

สาธารณรฐั อินโดนเี ซีย (Republic of Indonesia) พ้นื ท่ี 5,070,606 ตารางกิโลเมตร (แผ่นดิน 1,904,443 /ทะเล 3,166,163) เมืองหลวง จาการต์ า (Jakarta) ประชากร 243 ลา้ นคน ภาษาราชการ ภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) ศาสนา อสิ ลาม (85.2%) ครสิ ต์ (11.9%) และอ่ืนๆ (2.9%) ระบอบการปกครอง สาธารณรฐั แบบประชาธปิ ไตย มปี ระธานาธบิ ดี เปน็ ประมุข วันชาติ 17 สิงหาคม หน่วยเงนิ ตรา รเู ปียห์ (IDR) ดอกไม้ประจำชาติ ดอก Moon Orchid หรอื ดอกกลว้ ยไม้ราตรี เป็นกล้วยไม้ในสายพนั ธุ์ Phalaenopsis Amabilis ขอ้ มลู ทางเศรษฐกจิ รายไดป้ ระชาชาติต่อหัว 4,222 USD การขยายตวั ทางเศรษฐกิจ รอ้ ยละ 6.1 24

สินคา้ นำเข้าสำคัญ นำ้ มัน เหลก็ ท่อเหล็กและ ผลิตภัณฑเ์ หลก็ สง่ิ ทอ เคมภี ณั ฑ์ ตลาดนำเขา้ ทส่ี ำคัญ สิงคโปร์ ญี่ปุน่ จนี สหรฐั อเมรกิ า สินค้าส่งออกสำคัญ กา๊ ซธรรมชาติ แรธ่ าตุ ถ่านหิน เคร่ืองใช้ไฟฟา้ ยางพารา ตลาดสง่ ออกที่สำคัญ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สหรฐั อเมรกิ า จนี สงิ คโปร์ การศกึ ษาของอินโดนเี ซีย การจัดการศึกษาของสาธารณรัฐอินโดนีเซียมีรูปแบบการศึกษาที่ หลากหลาย ท้งั การศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน การศกึ ษาดา้ นอาชวี ศกึ ษา การจดั การศกึ ษา พเิ ศษ การศกึ ษาด้านการสอนศาสนา การศกึ ษาอุดมศกึ ษา ซงึ่ แบ่งได้ดังนี้ • การศกึ ษาข้ันพน้ื ฐาน ใชเ้ วลา 9 ปี โดยเรียนช้นั ประถมศกึ ษา 6 ปี และ ช้ันมธั ยมศกึ ษาตอนตน้ 3 ปี • การศึกษาระดับเตรียมอุดมศกึ ษา (สายสามัญและอาชีวศกึ ษา) ใชเ้ วลาเรยี น 3 – 4 ปี • การศกึ ษาระดบั อดุ มศกึ ษา ระดับปรญิ ญาตรี ใช้เวลาเรียน 4 ปี ปริญญาโท 2 ปี และ ปริญญาเอก 3 ปี หน่วยงานจดั การศกึ ษา ได้แก่ Ministry of Education and Culture– Indonesia http:// www.depdiknas.go.id 25

สาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People’s Democratic Republic) พ้ืนที่ 236,880 ตารางกิโลเมตร เมอื งหลวง เวียงจันทน์ (Vientiane) ประชากร 6 ล้านคน ภาษาราชการ ภาษาลาว ศาสนา พทุ ธ (76%) และอื่นๆ (14%) ระบอบการปกครอง สังคมนิยม โดยมีพรรคการเมืองเดียว คือพรรคประชาชนปฏิวัตลิ าว วนั ชาต ิ 2 ธันวาคม หน่วยเงินตรา กีบ (LAK) ดอกไม้ประจำชาติ ดอก Champa หรอื ดอกลลี าวดี มกี ลิ่นหอมและ มีหลายสี เปน็ ตวั แทนของ ความจรงิ ใจ และความสุขในชวี ติ ข้อมูลทางเศรษฐกจิ รายไดป้ ระชาชาติต่อหัว 835 USD การขยายตวั ทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.9 สินค้านำเข้าสำคัญ รถจกั รยานยนต์และสว่ นประกอบ เครือ่ งใชไ้ ฟฟ้า เครอื่ งอปุ โภคบริโภค 26

ตลาดนำเขา้ ท่ีสำคัญ ไทย จนี เวียดนาม สงิ คโปร ์ ญปี่ ุน่ สินค้าสง่ ออกสำคัญ ไมซ้ ุง ไม้แปรรปู ผลติ ภณั ฑ์ไม ้ สนิ แร ่ เศษโลหะไฟฟ้า ตลาดส่งออกที่สำคญั ไทย จีน เวียดนาม ฝร่งั เศส ญปี่ ุ่น เยอรมนี การศกึ ษาของ สปป. ลาว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้ความสำคัญต่อการ จัดการศกึ ษาเพ่อื พฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมของลาว ดงั น้ี • การศึกษาขนั้ พืน้ ฐาน - ระดับประถมศกึ ษา 5 ปี นักเรียนเข้าเรยี นเมอื่ อายุ 6 ปี - ระดบั มธั ยมศึกษาตอนตน้ 3 ปี • ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี • ระดบั อาชีวศึกษา ระยะเวลาเรียนขึ้นอยู่กับสาขาทีเ่ ลอื กเรยี น • การอดุ มศกึ ษาหรอื การศกึ ษาช้นั สงู รวมถงึ การศกึ ษาดา้ นเทคนคิ อยู่ในความรบั ผดิ ชอบของกรมอาชวี ศกึ ษาและมหาวทิ ยาลัย หนว่ ยงานจดั การศกึ ษา ไดแ้ ก ่ Ministry of Education and Sports – Lao PDR http:// www.moe.gov.la 27

มาเลเซีย (Malaysia) พน้ื ที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร เมอื งหลวง กรงุ กวั ลาลมั เปอร์ (Kuala Lumpur) ประชากร 28.9 ล้านคน ภาษาราชการ ภาษามาเลย์ (Malay หรอื Bahasa Melayu) ศาสนา อสิ ลาม (60%) พุทธ (19%) คริสต์ (12%) อ่นื ๆ (9%) ระบอบการปกครอง สหพนั ธรัฐโดยมีสมเดจ็ พระราชาธบิ ดี เปน็ ประมขุ และมาจากการเลอื กตงั้ ตามวาระ 5 ปี วนั ชาต ิ 31 สิงหาคม หนว่ ยเงินตรา รงิ กิต (MYR) ดอกไม้ประจำชาต ิ ดอก Bunga raya หรอื ดอกพรู่ ะหง โดยกลีบทั้ง 5 เป็นตวั แทนแหง่ ความเป็นชาติของมาเลเซียเพ่อื เสรมิ สร้าง ความเป็นปกึ แผน่ และความอดทนในชาติ ขอ้ มลู ทางเศรษฐกิจ รายไดป้ ระชาชาตติ อ่ หัว 6,760 USD การขยายตวั ทางเศรษฐกจิ รอ้ ยละ 6.8 สินค้านำเขา้ สำคญั ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนกิ ส์ เครอ่ื งจกั รและอปุ กรณ ์ อุปกรณ์ดา้ นการขนส่ง ผลติ ภัณฑ์โลหะ 28

ตลาดนำเข้าท่สี ำคญั ญีป่ นุ่ จีน สงิ คโปร์ สหรัฐอเมรกิ า ไทย สนิ ค้าส่งออกสำคญั ผลติ ภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนกิ ส์ นำ้ มนั ปาลม์ ก๊าซธรรมชาตเิ หลว น้ำมนั ดบิ ตลาดสง่ ออกทีส่ ำคญั สหรฐั อเมริกา สงิ คโปร์ ญีป่ นุ่ จนี ไทย การศกึ ษาของมาเลเซีย ระบบการศึกษาของมาเลเซยี แบง่ ได้ดังน้ี • ระดบั การเตรยี มความพร้อม • ระดบั ประถมศกึ ษา 6 ปี • ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนต้น 3 ป ี (ปี 1-3) และ ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย หรอื อาชีวศึกษา 2 ป ี (ป ี 4-5) • ระดบั เตรียมอดุ มศกึ ษา (1 ป)ี • ระดบั อุดมศกึ ษาทงั้ สถาบนั ของรฐั และ ของเอกชนที่จดั การศกึ ษา หน่วยงานจัดการศึกษา ไดแ้ ก่ Ministry of Education - Malaysia http:// www.moe.gov.my 29

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมยี นมาร์ (Republic of the Union of Myanmar) พนื้ ที่ 657,740 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง เนปิดอร ์ (Naypyidaw) ประชากร 58.38 ลา้ นคน ภาษาราชการ ภาษาเมยี นมาร/์ พมา่ ศาสนา พุทธ (89%) คริสต์ (5%) อสิ ลาม (4%) อืน่ ๆ (2%) ระบอบการปกครอง รฐั สภามีสมาชิกมาจากการเลือกตง้ั มีประธานาธบิ ดเี ป็นประมุขและหวั หน้ารฐั บาล วนั ชาต ิ 4 มกราคม หนว่ ยเงินตรา จัด๊ (MMK) ดอกไม้ประจำชาต ิ ดอก Paduak หรือดอกประดู่ มี ด อ ก สี เห ลื อ ง ท อ ง แ ล ะ ส่งกลิ่นหอมหลังฤดูฝนแรก ในราวเดอื นเมษายน ขอ้ มลู ทางเศรษฐกจิ รายไดป้ ระชาชาตติ ่อหวั 2,858 USD การขยายตัวทางเศรษฐกจิ ร้อยละ 3.3 สินคา้ นำเขา้ สำคญั เครอ่ื งจักรกล ใยสังเคราะห์ นำ้ มันสำเรจ็ รปู ตลาดนำเขา้ ที่สำคญั จีน สงิ คโปร ์ ไทย สนิ ค้าส่งออกสำคัญ กา๊ ซธรรมชาต ิ ไม ้ เมล็ดพืชและถัว่ ตลาดสง่ ออกทส่ี ำคญั ไทย อนิ เดีย จีน 30

การศกึ ษาของเมียนมาร์ ระบบการศกึ ษาในสหภาพเมยี นมาร ์กำหนดใหเ้ ดก็ อายตุ ้งั แต ่ 5 – 10 ป ี ต้องเข้าโรงเรียน ซึ่งเป็นบริการทีร่ ัฐมี ให้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยระบบ การศึกษาของสาธารณรฐั แห่งสหภาพเมียนมาร์ แบ่งไดด้ งั นี้ • ระดับประถมศึกษา 5 ปี (อนบุ าล 1 ป ี และประถมศึกษา 4 ป)ี • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4 ป ี • ระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย 2 ป ี • ระดบั อาชวี ศึกษา 1-3 ปี และ ระดบั อดุ มศกึ ษา 4-6 ปี หน่วยงานจัดการศกึ ษา ได้แก่ Ministry of Education – Myanmar http:// www.modins.net/ myanmarinfo/ministry/education.htm 31

สาธารณรฐั ฟลิ ิปปนิ ส์ (Republic of the Philippines) พน้ื ที่ 298,170 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง มะนิลา (Manila) ประชากร 101.8 ลา้ นคน ภาษาราชการ ภาษาตากาล็อกและองั กฤษ (Tagalog และ English) ศาสนา ครสิ ต ์ (โรมนั คาทอลิก 83% และ โปรแตสแตนท ์ 9%) อิสลาม (5%) ระบอบการปกครอง สาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเปน็ ประมุข และหัวหน้าฝา่ ยบริหาร วันชาต ิ 12 มถิ ุนายน หน่วยเงินตรา เปโซ (PHP) ดอกไม้ประจำชาติ ดอก Sampaguita Jasmine มีกลีบดอกรปู ดาวสีขาวทีบ่ านตลอดปี และมกี ลิน่ หอมในเวลากลางคืน ขอ้ มูลทางเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติตอ่ หวั 3,489 USD การขยายตัวทางเศรษฐกิจ รอ้ ยละ 6.9 สินคา้ นำเขา้ สำคญั สนิ คา้ อเิ ล็กทรอนกิ ส์ แร่เช้ือเพลิง นำ้ มนั หล่อล่นื และ วัสดุทเ่ี กี่ยวข้อง อุปกรณ์ขนส่ง ตลาดนำเข้าที่สำคญั สหรัฐอเมรกิ า ญี่ปนุ่ สงิ คโปร์ ไตห้ วัน จีน สนิ คา้ ส่งออกสำคัญ เส้ือผา้ และเครอ่ื งนงุ่ หม่ อปุ กรณ์ก่ึงตัวนำ ผลิตภัณฑ์ปโิ ตรเลยี ม มะพรา้ วและผลไม้ 32

ตลาดส่งออกทีส่ ำคัญ สหรัฐอเมริกา ญปี่ ุ่น จนี เนเธอร์แลนด์ ฮอ่ งกง การศึกษาของฟลิ ปิ ปินส์ ระบบการศึกษาของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีทัง้ แบบเป็นทางการ และไมเ่ ปน็ ทางการ โดยการศกึ ษาแบบเปน็ ทางการ แบง่ ได้ดงั นี้ • ระดบั การเตรยี มความพรอ้ มกอ่ นประถมศกึ ษาระยะเวลา 1-3 ปี • ระดับประถมศึกษาบังคับ 6 ปีที่โรงเรียนของรัฐ และ 7 ปี ท่ีโรงเรียนเอกชน • ระดับมธั ยมศกึ ษา ใชเ้ วลา 4 ปี • ระดบั อาชีวศึกษา • ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก) ใช้เวลา 4-8 ป ี การจัดการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ หรือนอกระบบโรงเรียน ได้แก ่ การจัดการศึกษาให้กบั ผู้ใหญท่ ่ีไมร่ ูห้ นังสอื หนว่ ยงานจัดการศกึ ษา ไดแ้ ก ่ Department of Education – Philippines http:// www.deped.gov.ph 33

สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) พน้ื ท่ี 699.4 ตารางกิโลเมตร เมอื งหลวง สงิ คโปร์ (Singapore) ประชากร 5.08 ล้านคน ภาษาราชการ ภาษาองั กฤษ จนี มลายู ศาสนา และทมฬิ (English, Cantonese, Malayu and Tamil) ระบอบการปกครอง พุทธ (42.5%) อสิ ลาม (14.9%) ครสิ ต์ (14.6%) วันชาติ ฮนิ ดู (4%) และอนื่ ๆ (24%) หนว่ ยเงินตรา สาธารณรฐั แบบรฐั สภา มีนายกรัฐมนตรี ดอกไมป้ ระจำชาติ เปน็ ผนู้ ำรัฐบาล 9 สิงหาคม ข้อมลู ทางเศรษฐกจิ ดอลลารส์ งิ คโปร์ (SGD) ดอก Vanda Miss Joaquim เปน็ ดอกไมส้ มี ว่ งและรูปลักษณ์ ท่ีสวยงามและร้จู ักอย่างแพรห่ ลาย ในสงิ คโปร์โดยตง้ั ช่ือตามผผู้ สมพนั ธ์ุ รายได้ประชาชาตติ ่อหัว 44,904 USD การขยายตวั ทางเศรษฐกิจ รอ้ ยละ 14.7 สินคา้ นำเขา้ สำคัญ เครอ่ื งจกั รกล ชิน้ ส่วนอุปกรณ์ไฟฟา้ น้ำมันดบิ เคมภี ัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร ตลาดนำเขา้ ทสี่ ำคัญ มาเลเซยี สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน ญป่ี นุ่ สนิ คา้ ส่งออกสำคัญ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครือ่ งมือสือ่ สาร เครอื่ งไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสอ้ื ผ้า ตลาดส่งออกทีส่ ำคญั ฮอ่ งกง มาเลเซยี สหรฐั อเมรกิ า อินโดนีเซยี จนี 34

การศกึ ษาของสงิ คโปร์ รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก โดยให้การ อุดหนุนด้านการศึกษาจนเสมือนเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า โรงเรียนใน ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ล้วนเป็นโรงเรียนของรัฐบาลหรือ กึง่ รัฐบาล สถานศึกษาของเอกชนในสิงคโปร์ มีเฉพาะในระดับอนุบาลและ โรงเรียนนานาชาตเิ ท่าน้นั ระบบการศกึ ษาของสาธารณรัฐสิงคโปร์ แบง่ ไดด้ งั น้ี • ระดบั ประถมศกึ ษา 6 ปี • ระดบั มัธยมศกึ ษาใช้เวลา 4-5 ปี • ระดับเตรยี มอุดมศกึ ษา แบง่ ออกเปน็ 2 แบบ - การศึกษาสายสามัญ แบง่ เป็น Junior Colleges ใช้เวลาเรียน 2 ปี และ Centralized Institutes ใชเ้ วลาเรียน 3 ปี - การศึกษาสายเทคนิค แบ่งเป็น Polytechnics และ Institute of Technical Education (ITE) • ระดบั อุดมศึกษา หน่วยงานจดั การศกึ ษา ไดแ้ ก่ Ministry of Education – Singapore http:// www.moe.edu.sg 35

ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) พนื้ ท่ี 513,115 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง กรุงเทพมหานคร (Bangkok) ประชากร 66 ล้านคน ภาษาราชการ ภาษาไทย ศาสนา พุทธ (95%) ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตย มีพระมหากษตั ริยเ์ ปน็ ประมขุ วนั ชาต ิ 5 ธนั วาคม หนว่ ยเงินตรา บาท (THB) ดอกไมป้ ระจำชาต ิ ตน้ Ratchphruek หรอื ราชพฤกษ ์ มชี อ่ ดอกสเี หลือง ชาวไทยถือว่าเป็นสี ของศาสนาพทุ ธ ความรุ่งโรจนแ์ ละ เปน็ สัญลักษณข์ องความปรองดอง ข้อมลู ทางเศรษฐกจิ รายไดป้ ระชาชาติต่อหวั 5,587 USD การขยายตัวทางเศรษฐกจิ ร้อยละ 6% สนิ คา้ นำเขา้ สำคญั นำ้ มนั ดิบ เครอื่ งจกั รกลและสว่ นประกอบ เครอ่ื งจกั รไฟฟา้ และสว่ นประกอบ เหลก็ กลา้ และเคมภี ณั ฑ์ ตลาดนำเขา้ ท่สี ำคัญ ญปี่ ุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สหรัฐอาหรบั เอมิเรตส์ สนิ คา้ ส่งออกสำคัญ สิ่งทอ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่อง- คอมพิวเตอร์ อัญมณแี ละเครอ่ื งประดบั ตลาดส่งออกทสี่ ำคญั สหรัฐอเมรกิ า ญีป่ นุ่ จีน สงิ คโปร์ ฮ่องกง 36

การศึกษาของไทย ระบบการศึกษาของราชอาณาจักรไทยมีการจัดการ 3 รูปแบบ ได้แก่ การศกึ ษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศกึ ษาตามอัธยาศยั โดยทีก่ ารศกึ ษาในระบบ (ข้นั พืน้ ฐาน) แบง่ ไดด้ ังนี้ • ระดบั ก่อนประถมศึกษา • ระดบั ประถมศกึ ษาบังคับ 6 ปี • ระดบั มัธยมศกึ ษาใช้เวลา 6 ปี แบ่งเป็น มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ 3 ปี และ มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย 3 ปี • ระดบั อาชวี ศึกษา มีเทียบเคยี ง ทง้ั ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนต้น และตอนปลาย • ระดบั อดุ มศกึ ษา หนว่ ยงานจัดการศกึ ษา ไดแ้ ก ่ Ministry of Education - Thailand http:// www.moe.go.th 37

สาธารณรฐั สงั คมนยิ มเวยี ดนาม (Socialist Republic of Vietnam) พื้นท่ี 331,690 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง ฮานอย (Hanoi) ประชากร 89.57 ล้านคน ภาษาราชการ ภาษาเวยี ดนาม ศาสนา ไมม่ ีศาสนาประจำชาติ หากแต่ ศาสนาพทุ ธมคี นนบั ถือมากท่สี ุด (9.3%) และมรี าว 81% ที่ไมน่ ับถือศาสนาใด ระบอบการปกครอง สังคมนยิ มมีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว และมีอำนาจสงู สดุ วนั ชาติ 2 กนั ยายน หนว่ ยเงินตรา ดอง (VND) ดอกไมป้ ระจำชาติ ดอก Lotus หรือดอกบัว เป็น 1 ใน 4 ดอกไม้และพืชที่มคี วามสวยงาม ข้อมูลทางเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาตติ อ่ หวั 1,362 USD การขยายตวั ทางเศรษฐกจิ รอ้ ยละ 5.9 สนิ ค้านำเขา้ สำคญั น้ำมันสำเรจ็ รูป เหล็กและเหล็กกล้า เส้นใยสงิ่ ทอ เครื่องใชไ้ ฟฟา้ พลาสตกิ 38

ตลาดนำเขา้ ท่ีสำคัญ สงิ คโปร ์ ญป่ี ุ่น ไต้หวนั เกาหลี ใต ้ จีน สนิ คา้ สง่ ออกสำคญั สิง่ ทอและเสือ้ ผา้ นำ้ มันดิบ อาหารทะเล ขา้ ว ยางพารา ตลาดสง่ ออกที่สำคญั ญีป่ ุน่ สหรฐั อเมรกิ า จีน สหภาพยโุ รป การศกึ ษาของเวยี ดนาม ระบบการศึกษาของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามต้องการให้ ประชาชนมีจิตวิญญาณในความเป็นสังคมนิยม มีเอกลักษณ์ประจำชาติ และ มคี วามสามารถในดา้ นอาชพี โดยแบ่งไดด้ งั นี้ • ระดบั ก่อนวยั เรียน • ระดบั ประถมศกึ ษา 5 ปี • ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนต้น 4 ปี • ระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี • ระดบั อาชีวศึกษามเี ทียบเคยี งท้ังระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน้ และตอนปลาย • ระดับอดุ มศกึ ษา 4-6 ปี และยงั มกี ารศกึ ษาตอ่ เน่อื งสำหรบั ประชาชนท่พี ลาดโอกาสการศกึ ษา ในระบบสายสามัญและสายอาชีพ หนว่ ยงานจดั การศกึ ษา ไดแ้ ก ่ Ministry of Education and Training - Vietnam http:// en.moet.gov.vn 39

ธงชาติของสมาชกิ อาเซยี น ธงชาติบรูไนดารุสซาลาม เริม่ มีธงชาติของตนใช้ อย่างเป็นทางการเมอื่ วนั ท่ ี 29 กันยายน 2502 ลกั ษณะของ ธงชาติเป็นธงสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าสีเหลืองภายในมีแถบสีขาวและ สดี ำวางพาดตามแนวทแยงมมุ จากมมุ ดา้ นบนไปยงั มมุ ลา่ งดา้ น ปลายธง โดยสขี าวอยู่บน สีดำอยลู่ า่ ง กลางธงนนั้ มีภาพตรา แผน่ ดนิ ของบรไู นดารสุ ซาลาม ในทวปี เอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ สเี หลอื งจะใชเ้ ป็นสีประจำสถาบันกษัตรยิ ์ ธงชาติกัมพูชา มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนื ธงแบง่ ตามแนวยาวเปน็ 3 ร้วิ โดยร้วิ กลางน้นั เปน็ พ้นื สแี ดง มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลางริ้วทีอ่ ยู่ ดา้ นนอกทง้ั สองดา้ นเปน็ พ้นื สนี ำ้ เงนิ ความหมายของสญั ลกั ษณ์ ในธงนั้นสะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของประเทศดังปรากฏ ในคำขวัญประจำธงชาตวิ า่ “ชาต ิ ศาสนา พระมหากษตั ริย”์ โดยพื้นสีแดงมีความหมายถึง ชาติ ปราสาทนครวัด สีขาว หมายถึง สันติภาพและศาสนาซึง่ เดิมมีรากเหง้าจากศาสนา พราหมณ์-ฮินดูและได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพระพุทธศาสนา ในปัจจุบนั สว่ นสนี ้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ ธงชาตอิ นิ โดนเี ซยี ร้จู กั กนั ท่วั ไปในช่อื “Sang Merah Putih” (แปลวา่ ธงขาวแดง) เปน็ ธงทม่ี ตี น้ แบบมาจากธงประจำ อาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที ่ 13 ธงมีลักษณะเป็น รปู สเ่ี หล่ยี มผนื ผา้ พ้นื ธงแบง่ เปน็ สองสว่ นตามแนวนอนคร่งึ บน สแี ดง หมายถึง ความกล้าหาญและอสิ รภาพ ครงึ่ ล่างสขี าว หมายถึงความบริสุทธิย์ ุติธรรม ธงนี้มีความคล้ายคลึงกับ ธงชาติโปแลนด์และธงชาติสิงคโปร์และเหมือนกับธงชาติ โมนาโคเกือบทกุ ประการ แต่ต่างกันท่ีสัดสว่ นธงเท่าน้นั 40

ธงชาติลาว แบบปจั จบุ นั เรม่ิ ใชม้ าต้ังแต่วันท ี่ 2 ธนั วาคม 2518 ซึง่ เป็นวันสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว มลี กั ษณะตามทก่ี ำหนดไว้ในรฐั ธรรมนญู แหง่ สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาวหมวดที่ 10 มาตราท ี่ 91 ดังน ้ี ธงชาติ สปป. ลาว เป็นธงพืน้ สีคราม แถบแดง และวงเดือนสีขาวอยู่ กง่ึ กลางของธงชาต ิ ธงชาตนิ ้ีมีชือ่ เรยี กในภาษาลาววา่ ธงดวงเดือน ธงชาติมาเลเซีย หรือเรียกอีกอย่างหนึง่ ว่า “Jalur Gemiang” (แปลว่าธงริว้ แห่งความรุง่ เรือง) มีลักษณะเป็น ธงส่เี หลย่ี มผนื ผา้ โดยมพี ้นื สแี ดงสลบั สขี าวรวม 14 แถบ ภายในบรรจุ เครื่องหมายพระจันทรเ์ ส้ียวและดาว 14 แฉก ที่มชี ือ่ วา่ “Bintang Persekutuan” หรอื “ดาราแหง่ สหพนั ธ”์ แถบร้วิ สแี ดงและสขี าวท้งั 14 แถบ หมายถงึ รฐั ในสหพนั ธรฐั มาเลเซยี ทงั้ 13 รฐั และรฐั บาล- กลางท่กี รุงกัวลาลัมเปอร์ รศั มีดาวท้ัง 14 แฉก หมายถงึ ความเป็น เอกภาพในหมรู่ ฐั ดังกล่าวทัง้ หมด พระจนั ทรเ์ ส้ียวหมายถึงศาสนา อิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ สีเหลืองในพระจันทร์เสีย้ วและ ดาราแหง่ สหพันธ์ คือ สแี ห่งยังด ี เปอรต์ วน อากง ผู้เป็นประมขุ แห่งสหพันธรัฐ ส่วนสีน้ำเงินนัน้ หมายถึงความสามัคคีของชาว มาเลเซียซึ่งแต่เดิมสีนี้ ใช้แทนความเชือ่ มโยงระหว่างสหพันธรัฐ มาเลเซยี กบั เครอื จกั รภพองั กฤษ ธงชาตเิ มยี นมาร ์ มลี กั ษณะเปน็ ธงสามสรี ปู สเ่ี หลย่ี มผนื ผา้ ภายในแบ่งตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน พืน้ สีเหลือง สีเขียว และสีแดง เรยี งตามลำดับจากบนลงลา่ ง กลางธงมีรปู ดาวหา้ แฉก สีขาวขนาดใหญ่ ธงนี้ ได้เริ่มใช้เป็นทางการครัง้ แรกเมือ่ วันที ่ 21 ตุลาคม 2553 ความหมายของสัญลักษณ์ ในธงชาติ ประกอบด้วย สีเขียวหมายถึงสันติภาพ ความสงบ และ ความอุดมสมบูรณ์ของเมียนมาร์ สีเหลืองหมายถึงความสามัคคี สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด ดาวสีขาว หมายถงึ สหภาพอันมน่ั คงเปน็ เอกภาพ 41

ธงชาตฟิ ลิ ปิ ปนิ ส ์ ผนื ปจั จบุ นั ไดร้ บั การยอมรบั อยา่ ง เป็นทางการในปี 2499 เมือ่ เป็นอิสรภาพจากสหรัฐอเมริกา แต่การประกาศใช้ธงมีมาตั้งแต่เมือ่ เป็นอิสรภาพจากสเปนใน ป ี 2441 แตถ่ กู อเมรกิ าเขา้ ยดึ ครองเกอื บทนั ท ี ธงทป่ี ระกาศใน ปี 2441 ได้ใชเ้ ปน็ ธงชาตเิ ม่ือปี 2450 และอีกชว่ งคอื ป ี 2464 จนถึงสมัยญีป่ ุ่นยึดประเทศในปี 2484 สัญลักษณ์ในธงชาติ มคี วามหมายคอื สามเหล่ยี มสขี าว คอื การเคล่อื นไหวเพ่อื เสรภี าพ สีน้ำเงินและสีแดงแทนความหมาย คือ ความมีน้ำใจ และ ความกลา้ หาญ ดาวเหลอื งดวงใหญ ่ 8 แฉกแทนแควน้ เลก็ ทง้ั 8 ทต่ี อ่ ส้กู บั สเปน ดาวเหลอื งดวงเลก็ 5 แฉก 3 ดวง คอื เกาะใหญ่ ทง้ั 3 ได้แก ่ ลูชอน มนิ ดาเนา วิสายัน ธงชาตสิ งิ คโปร์ เปน็ ธงส่เี หล่ยี มผนื ผา้ ประกอบดว้ ย แถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบนแถบสีขาว อย่ดู า้ นลา่ ง ท่มี มุ ธงบนมรี ปู พระจนั ทรเ์ ส้ยี วถดั จากรปู ดงั กลา่ ว มีรูปดาวหา้ แฉก 5 ดวง เรยี งเปน็ รปู หา้ เหลีย่ มมสี ีขาว ธงนี้ เริม่ ใช้ในปี 2502 ซึง่ เป็นปีทีส่ ิงคโปร์ปกครองตนเองจาก จกั รวรรดอิ งั กฤษและถอื เปน็ ธงชาตขิ องรฐั เอกราชเม่อื สงิ คโปร์ ประกาศเอกราชในวันที่ 9 สิงหาคม 2508 ความหมาย สำคญั ขององคป์ ระกอบต่างๆ ในธง ได้แก ่ สแี ดง หมายถึง ภราดรภาพและความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า สีขาว หมายถึงความบรสิ ุทธิ ์ และความดงี ามทแี่ พรห่ ลายและคงอยู่ ตลอดกาล รปู พระจนั ทรเ์ ส้ยี วซง่ึ เปน็ จนั ทรเ์ สย้ี วขา้ งข้นึ หมายถงึ ความเปน็ ชาติใหมท่ ่ถี อื กำเนดิ ข้นึ ดาว 5 ดาว หมายถงึ อดุ มคต ิ 5 ประการของชาต ิ ไดแ้ ก ่ ประชาธปิ ไตย สนั ตภิ าพ ความกา้ วหนา้ ความยุตธิ รรม และความเสมอภาค ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มลี กั ษณะเปน็ ธงสเี่ หลย่ี มผนื ผ้า ใช้สหี ลกั ในธง 3 ส ี คือสแี ดง สีขาว และสีนำ้ เงนิ โดยภายในแบ่งเป็น 5 แถบ แถบในสดุ สีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอก ทั้งด้านบนและด้านล่างเป็นสีขาว และสีแดงตามลำดับ ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นัน้ หมายถงึ สามสถาบันหลกั ของประเทศไทย คอื ชาต ิ (สแี ดง) ศาสนา (สขี าว) และพระมหากษตั รยิ ์ (สนี ำ้ เงนิ ) สที ง้ั สามนเ้ี อง เปน็ ทีม่ าของคำว่า ธงไตรรงค์ 42

ธงชาติเวียดนาม มีชือ่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ธงแดง ดาวเหลอื ง” ลกั ษณะธงชาตเิ ปน็ ธงสเี หล่ยี มผนื ผา้ พน้ื สแี ดง ตรงกลาง มรี ปู ดาวหา้ แฉกสเี หลอื งทอง สแี ดง หมายถงึ การตอ่ ส้เู พ่อื กเู้ อกราช ของชาวเวยี ดนาม สเี หลือง คือสีของชาวเวียดนาม ส่วนดาวห้าแฉก หมายถงึ ชนชน้ั ตา่ งๆ ในสงั คมเวยี ดนาม คอื นกั ปราชญ ์ ชาวนา ชา่ งฝมี อื พ่อค้า และทหาร อย่างไรก็ตามภายหลังการรวมชาติเวียดนาม ในปี 2519 ความหมายในธงไดม้ ีการอธบิ ายใหม่ในทางการเมอื งว่า สีแดง หมายถึงการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และดาวสีทอง หมายถึง การชีน้ ำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามก่อนหน้านี้ ในช่วงปี 2488 – 2498 ธงอาเซยี น แสดงถงึ เสถยี รภาพ สนั ตภิ าพ ความสามคั คแี ละ พลวัตของอาเซยี น สขี องธง ไดแ้ ก่ น้ำเงิน แดง ขาว และเหลอื ง ซง่ึ แสดงถงึ สหี ลกั ในธงชาตขิ องบรรดาประเทศสมาชกิ อาเซยี นทง้ั หมด น้ำเงิน แสดงถึงสันติภาพและเสถียรภาพ แดง บ่งช้ี ความกล้าหาญและความก้าวหนา้ ขาว แสดงความบริสทุ ธ ์ิ เหลือง เปน็ สญั ลักษณข์ องความเจรญิ รุง่ เรือง รวงข้าวแสดงถึงความใฝ่ฝันของบรรดาผูก้ ่อตัง้ อาเซียน ใหม้ อี าเซยี นทป่ี ระกอบดว้ ยบรรดาประเทศทง้ั หมดในเอเชยี ตะวนั ออก เฉยี งใต ้ ผกู พนั กนั อยา่ งมมี ติ รภาพและเปน็ หน่งึ เดยี ว วงกลม แสดงถงึ เอกภาพของอาเซียน คำศพั ทน์ า่ รู้เก่ยี วกบั อาเซียน AFTA ASEAN Free Trade Area หมายถึงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรอื อาฟตา้ ซ่งึ สมาชกิ อาเซยี นรวมกนั จดั ต้งั ข้นึ เพอ่ื เปดิ เสรที างการคา้ ระหวา่ งกนั โดยการ ขจัดอุปสรรคทางการค้า ทั้งที่เป็นมาตรการภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี เพือ่ มุง่ ให้ การคา้ ระหวา่ งกนั ขยายตวั ปจั จบุ นั อตั ราภาษภี ายใตอ้ าฟตา้ ของประเทศสมาชกิ อาเซยี น ส่วนใหญ่อยูท่ ี่ร้อยละ 0-5 โดยสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (ไทย มาเลเซีย อนิ โดนีเซีย ฟิลปิ ปนิ ส์ สิงคโปร ์ และบรไู นดารุสซาลาม) จะลดภาษีสนิ ค้าในบญั ชลี ดภาษี ทกุ รายการเปน็ รอ้ ยละ 0 ในป ี พ.ศ 2553 และสมาชกิ ใหม ่ 4 ประเทศ (CLMV : กมั พชู า สปป. ลาว พมา่ และเวียดนาม) ในป ี พ.ศ 2558 AMM ASEAN Ministerial Meeting หมายถึง การประชุมรัฐมนตรี ตา่ งประเทศของอาเซยี น ซง่ึ จะจดั เปน็ ประจำทกุ ป ี โดยมวี ตั ถปุ ระสงคส์ ำคญั เพอ่ื กำหนด แนวทางความรว่ มมือดา้ นการเมืองความมัน่ คงและสงั คมของอาเซยี น 43

AFAS ASEAN Framework Agreement on Services หรือ กรอบความตกลงว่าด้วยบรกิ ารของอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพ่อื ขยายความรว่ มมือด้าน บรกิ ารและเปดิ เสรกี ารคา้ บรกิ ารระหวา่ งประเทศสมาชกิ อาเซยี นใหม้ ากข้นึ กวา่ การเปดิ เสรีใน WTO ทงั้ น ้ี ผ้นู ำอาเซยี นมมี ตทิ ่จี ะเปดิ ตลาดการคา้ บรกิ ารทกุ สาขาบรกิ ารจนบรรลุ เปา้ หมายภายในปี 2015 (พ.ศ 2558) โดยสมาชกิ ยงั มีสทิ ธ์ิ ในการกำกับดแู ลการคา้ บริการ โดยสามารถใช้กฎระเบียบที่ไม่เลือกปฏิบัติหรือกฎระเบียบที่ ใช้บังคับกับทัง้ คนต่างชาต ิ และคนชาตติ น APT ASEAN Plus Three กรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสาม (อาเซียน 10 ประเทศ และจนี ญป่ี ุน่ สาธารณรฐั เกาหลี) ASCC ASEAN Socio-Cultural Community หรือประชาคมสงั คมและ วฒั นธรรมอาเซยี น มวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พ่อื ใหภ้ มู ภิ าคอาเซยี นเปน็ สงั คมท่เี อ้อื อาทร ประชาชน มีสภาพความเปน็ อยู่ทด่ี ี ไดร้ ับการพัฒนาในทกุ ด้าน และมคี วามมั่นคงทางสังคม ASEAN Vision 2020 หมายถึงเอกสารวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ 2020 ที่กำหนดทิศทางและเป้าหมายของการดำเนินการในด้านต่างๆ ครอบคลุมทัง้ ทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศภายนอก ซง่ึ ประเทศไทยเปน็ ผรู้ เิ รม่ิ ใหผ้ นู้ ำอาเซยี นรบั รองเอกสารดงั กลา่ วในชว่ งการประชมุ สดุ ยอด อาเซยี นอยา่ งไมเ่ ปน็ ทางการ ครงั้ ท ่ี 2 เมอ่ื เดอื นธนั วาคม พ.ศ 2540 ณ กรงุ กวั ลาลมั เปอร ์ ในโอกาสครบรอบ 30 ป ี การกอ่ ตง้ั อาเซยี น ทงั้ น ้ี อาเซยี น ไดจ้ ดั ทำแผนปฏบิ ตั กิ ารสำหรบั วสิ ยั ทศั นอ์ าเซยี น ค.ศ 2020 (Hanoi Plan of Action to implement the ASEAN Vision 2020) ในระหว่างการประชุมสดุ ยอดอาเซียนคร้งั ท่ ี 6 เม่ือเดอื นธันวาคม 2541 ASED ASEAN Education Ministers Meeting การประชุม รฐั มนตรศี กึ ษาอาเซยี น เพ่อื พจิ ารณากรอบความรว่ มมอื และนโยบายการพฒั นาคณุ ภาพ การศึกษาของภูมภิ าค CCS Coordinating Committee on Services หมายถึง คณะกรรมการประสานงานด้านบริการของอาเซียน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามมติของ SEOM เพือ่ ดำเนินการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้บรรลุ วตั ถปุ ระสงคข์ องกรอบความตกลงวา่ ดว้ ยบรกิ ารของอาเซียน CLMV Cambodia, Laos, Myanmar and Vietnam หมายถึง ประเทศสมาชกิ ใหม่ของอาเซียน ไดแ้ ก่ กมั พชู า สปป. ลาว พมา่ และเวียดนาม Common Market หมายถึง ตลาดร่วม เป็นการรวมกลุม่ ทางเศรษฐกิจ รปู แบบหนง่ึ อนั เกดิ จากขอ้ ตกลงระหวา่ งรฐั บาลต้งั แต ่ 2 ประเทศข้นึ ไป ซง่ึ เปน็ การขยาย รปู แบบของสหภาพศลุ กากรออกไป โดยประเทศภาคยี งั ตกลงใหก้ ารเคล่อื นยา้ ยแรงงาน และทนุ สามารถดำเนนิ ไปได้โดยเสรีระหวา่ งประเทศภาคดี ้วยกัน 44

FTA Free Trade Area เขตการค้าเสรี หมายถึง การรวมกลุ่มทาง เศรษฐกจิ รปู แบบหนง่ึ อนั เกดิ จากขอ้ ตกลงระหวา่ งรฐั บาลตง้ั แตส่ องประเทศขน้ึ ไปซง่ึ ตกลง ยกเลกิ ภาษศี ลุ กากร และมาตรการอ่นื ๆ ทเ่ี ปน็ อปุ สรรคทางการคา้ ใหแ้ กก่ นั และกนั และ อาจรวมถึงการเปิดตลาดดา้ นการคา้ บรกิ ารการลงทนุ และความร่วมมอื ตา่ งๆ HPA Hanoi Plan of Action หมายถึงการจัดทำแผนปฏิบัติการ ฮานอยในระหวา่ งป ี ค.ศ 1999 – 2004 เปน็ การนำเป้าหมายต่างๆ ภายใต้วสิ ยั ทัศน์ อาเซียน 2020 ไปส่กู ารปฏบิ ตั ิให้เกิดผลเปน็ รปู ธรรมภายในกำหนดเวลาท่ีชดั เจน และ มีการประเมินผลทุก 3 ปี โดยได้กำหนดกิจกรรมและโครงการทีจ่ ะนำไปสู่เป้าหมาย ในด้านการเมือง เศรษฐกิจและด้านกิจการตามหน้าที ่ (functional cooperation) ซง่ึ รวมถงึ เร่อื งการพฒั นาสงั คม วฒั นธรรม และขอ้ มลู สารสนเทศ ยาเสพตดิ ส่งิ แวดลอ้ ม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ใหม้ ีผลเป็นรูปธรรม IAI Initiative for ASEAN Integration หมายถึงการริเริ่มการกระชับ การรวมกลมุ่ ของอาเซยี น เพอ่ื ลดชอ่ งวา่ งของระดบั การพฒั นาทางเศรษฐกจิ และลดความ ยากจนในประเทศสมาชิกอาเซียน เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2541 โดยให้ความสำคัญ ในการขยายความรว่ มมอื 4 ดา้ นหลกั ไดแ้ ก ่ การพฒั นาโครงสรา้ งพ้นื ฐาน (ขนสง่ และส่อื สาร) การพฒั นาบคุ ลากร เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สาร และการรวมกลมุ่ ทางเศรษฐกจิ ในระดบั ภูมภิ าค MRAs Mutual Recognition Agreements/Arrangements ความตกลง/ข้อตกลงยอมรับร่วมกัน เป็นความตกลงทีป่ ระเทศภาคี ให้การยอมรับ มาตรฐานหรอื คณุ สมบตั ซิ ง่ึ กนั และกนั ความตกลง MRAs อาจเปน็ การยอมรบั ในดา้ นสนิ คา้ หรือบริการ ด้านสินค้าเป็นการยอมรับมาตรฐานของสินค้าซึง่ อาเซียนได้ลงนามเมือ่ พ.ศ 2541 เพอ่ื เร่มิ พฒั นาการยอมรับมาตรฐานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ทง้ั ใน ระดับทวิภาคี และระดับภมู ิภาค SOM – ED Senior Officials Meeting การประชมุ เจา้ หนา้ ทอี่ าวุโสระดบั ปลัดกระทรวงศึกษาธิการของอาเซียน จัดประชุมปีละ 1 ครั้ง เพื่อหารือเรือ่ ง การศกึ ษาในภูมิภาค 45

46


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook