ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
安全从你开始
บริษัท อุดรธานี เจ็ท เฉอล็อกงวัซน์คเรพบรอรบสปีที่ จ15ำกัด ได้จัดทำหนังสือคู่มือ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับพนักงาน และผู้รับเหมา เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้พนักงานมีสุขอนามัยที่ดี และมีความปลอดภัยในการทำงาน ปราศจากการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย การเกิด โรคจากการทำงาน ความพิการ และเสียชีวิต รวมไปถึงทรัพย์สินเสียหาย การสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน จะส่งผล ให้เข้าใจถึงปัญหา สาเหตุของการประสบอันตราย รวมถึงรับทราบบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และแนวทางในการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย การดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทำงานของบริษัทฯ จะเกิดประสิทธิผลได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากพนักงาน ทุกท่าน ในการใช้คู่มือความปลอดภัยฉบับนี้ให้เกิดประโยชน์ นำไปปฏิบัติตาม ด้วยความเข้าใจ และตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน 1
สิทธินายจ้างและลูกจ้าง 1.นายจ้างและลูกจ้างมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน 2.นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพการทํางานและสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้ง ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของลูกจ้างมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย 3.นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐาน ถ้าลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว ให้นายจ้างสั่ง ให้หยุดการทํางาน จนกว่าลูกจ้างจะสวมใส่อุปกรณ์นั้น 4.นายจ้างมีหน้าที่จัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมให้สามารถบริหารจัดการและดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานได้อย่างปลอดภัยก่อนการเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทํางาน หรือเปลี่ยนแปลงเคร่ืองจักรหรืออุปกรณ์ 5.นายจ้างมีหน้าที่แจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทํางาน และแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทํางาน เปลี่ยน งาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทํางาน 6.นายจ้างมีหน้าที่ติดประกาศ คําเตือน คําสั่ง หรือคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พนักงานตรวจความปลอดภัย หรือคณะกรรมการ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน แล้วแต่กรณี 7.นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน 8.ลูกจ้างมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดําเนินการและส่งเสริมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน โดยคํานึงถึง สภาพของงานและหน้าที่รับผิดชอบ 9.ลูกจ้างมีหน้าที่แจ้งข้อบกพร่องของสภาพการทํางาน หรือการชํารุดเสียหาย ของอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร 10. ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่นายจ้างจัดให้และดูแลให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะ เวลาทํางาน 11.ในสถานที่ที่มีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํา งานของนายจ้าง และสถานประกอบกิจการอื่นที่ไม่ใช่ของนายจ้างด้วย 12.ลูกจ้างมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการเลิกจ้าง หรือถูกโยกย้ายหน้าที่การงานเพราะเหตุที่ฟ้องร้อง เป็นพยาน ให้หลักฐาน หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับความ ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานต่อพนักงานตรวจความปลอดภัย คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพ แวดล้อมในการทํางาน หรือศาล 13.ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดในระหว่างหยุดการทํางาน หรือหยุดกระบวนการผลิตตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัย เว้น แต่ลูกจ้างที่จงใจกระทํา การอันเป็นเหตุให้มีการหยุดการทํางานหรือหยุดกระบวนการผลิต 2
3
4
นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน บริษัท อุดรธานี เจท เอ็กซ์เพรส จำกัด ได้ตฉรละหอนงักวัถนึงคครวาบมรปอลบอปดีภทัี่ย1ต่5อชีวิตและสุขภาพของพนักงาน เพื่อให้เกิดผลการ ดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล องค์กรจึงมีนโยบาย ให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามแนวทางดังนี้ 1. บริษัทได้กำหนดให้ เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่รับผิดชอบอันดับแรกในการปฏิบัติงานของทุกคน 2. บริษัท ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการ ทำงาน รวมถึงนโยบายอย่างเคร่งครัด 3. บริษัทได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการขับขี่ของพนักงาน ในส่วนการจัดส่ง โดยเราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ พนักงานมีความปลอดภัยในขณะขับขี่ และลดการเกิดอุบัติเหตุได้ โดยมีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการขับขี่ 4. บริษัท สนับสนุนและส่งเสริมให้มีกิจกรรมความปลอดภัยต่างๆ ที่จะช่วยกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัยของพนักงานทั้งในและ นอกงาน เช่น วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย การอบรม จูงใจ ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 5. บริษัท กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องกระทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้นำ อบรม ฝึกสอน จูงใจ และกระตุ้นจิตสำนึกให้กับ พนักงานปฏิบัติงานด้วยวิธีที่ปลอดภัย 6. บริษัท สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการใช้อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสม รวมถึงการรักษาไว้ซึ่งสุขภาพอนามัยที่ดีของพนักงานทุกคน 7. บริษัท รณรงค์ส่งเสริมให้พนักงานทุกคนร่วมมือในโครงการความปลอดภัยอาชีวอนามัยของบริษัทฯ และมีสิทธิ์เสนอความคิดเห็นใน การปรับปรุ งสภาพการทำงานและวิธีการทำงานให้ปลอดภัยอย่างต่อเนื่ อง 8. บริษัท มุ่งมั่นในการสนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงาน ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอก มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมด้านอาชีว อนามัยและความปลอดภัย 5
เป้าหมายการดำเนินงาน ด้านความปลอดภัย 1. ความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุ IFR ลดลง 50 % 2. ความรุนแรงของอุบัติเหตุ ISR ลดลง 50% 3. พนักงานผ่านการอบรมความปลอดภัย 100% 4. การปฏิบัติให้สอดคล้องกฎหมายความปลอดภัย 5. ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ป้องกันและระงับเหตุ ฉุกเฉิน 100 % 6
7
1. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความ ปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน นอกจากพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้ว ยังมีกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งมีความ เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทํางาน ได้แก่ กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2541) เรื่องงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2541) เรื่องงานที่ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทํางาน กฎกระทรวงฉบบั ที่ 12 (พ.ศ.2541) เรื่องงานขนส่งทางบก กฎกระทรวงกําหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานได้ (พ.ศ. 2547) กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ (พ.ศ. 2547) 8
1. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตราสําคัญที่ลูกจ้างควรทราบและปฏิบัติมีดังนี้ มาตรา 6 นายจ้าง มีหน้าที่ จัดและดูแลลูกจ้างและสถานประกอบกิจการให้มีความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานของลูกจ้างไม่ให้ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย ลูกจ้าง มีหน้าที่ ให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดําเนินการและส่งเสริมด้านความปลอดภัยฯ เพื่ อให้เกิดความ ปลอดภัยแก่ลูกจ้างและ สถานประกอบกิจการ มาตรา 8 นายจ้าง ต้องดำเนินงานตามมาตรฐานกฎกระทรวง รวมถึงจัดทําเอกสาร รายงานตามที่กําหนด ลูกจ้าง ต้องปฏิบัติตาม \"กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน\" ในแต่ละฉบับ ดังนี้ เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 เกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2557 เกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 เกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 เกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ. 2563 9
1. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 14 หากงานใดที่อาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตราย ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะ เกิดขึ้นและแจกคู่มือปฏิบัติงาน ให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน หรือ เปลี่ยนสถานที่ทํางาน มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยฯ ทั้ง ก่อนเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทํางาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร อุปกรณ์ที่อาจทํา ให้ลูกจ้างได้รับอันตราย โดยเนื้ อหา วิธีการ เงื่ อไขการอบรมให้เป็นไปตามอธิบดีกำหนด มาตรา 17 ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์ เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ และ ข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการ มาตรา 18 สถานประกอบกิจการที่มีที่ตั้งหลายแห่ง ให้นายจ้างดําเนินการด้านความปลอดภัย ให้เป็นไปตามพ ระราชบัญญัตินี้ รวมถึงลูกจ้างซึ่งทํางานในแต่ละที่ตั้งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความ ปลอดภัยฯที่กำหนดเหมือนกัน 10
1. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 21 ลูกจ้าง มีหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทํางานตามมาตรฐาน ในกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 8 เพื่ อให้ เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย โดยคํานึงถึง สภาพของงานและพื้ นที่ที่รับผิดชอบ หากทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชํารุดเสียหายและแก้ไขด้วยตนเองไม่ได้ ให้แจ้งต่อจป., หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร และจป., หัวหน้างาน หรือผู้บริหารแจ้งรายงานต่อนายจ้างโดยไม่ ชักช้า และถ้าหากหัวหน้างานแก้ไขได้ให้ดำเนินการโดยทันทีและแจ้งรายงานต่อจป. และ นายจ้างต่อไป มาตรา 22 นายจ้าง ต้องจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐาน ลูกจ้าง ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและดูแลรักษาอุปกรณ์ให้สามารถใช้ งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทํางาน ในกรณีที่ลูกจ้างไม่สวมใส่ อุปกรณ์ดังกล่าว ให้นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดการทํางานนั้น จนกว่าลูกจ้าง จะสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว 11
2. กฎหมายอื่ น ๆที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัย นอกจากพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้ว ยังมีกฎ กระทรวงซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการ ทํางาน ได้แก่ กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2541) เรื่องงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง งานทำต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ อุโมงค์ หรือที่อับอากาศ, งานเกี่ยวกับรังสี, งามเชื่ อมโลหะ, งานขนส่งวัตถุอันตราย, งานผลิตสารเคมีอันตราย, งานสั่นสะเทือน, งานที่มีความร้อนจัดหรือเย็นจัด กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2541) เรื่องงานที่ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทํางาน งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียงดัง, งานสารเคมีอันตราย วัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ, งานสำรวจ ขุดเจาะ กลั่น บรรจุ หรือขนถ่ายน้ำมันเชื้ อเพลิง, งานที่เกี่ยวข้องกับจุลชีวันเป็นพิษ เชื้ อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื้ ออื่ น, งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้ นจั่นทุกชนิด, งานที่เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี กฎกระทรวงฉบบั ที่ 12 (พ.ศ.2541) เรื่องงานขนส่งทางบก กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการขนส่งทางบก เวลาทำงานปกติ, ล่วงเวลา, เวลาพัก, การทำงานวันหยุด, ค่าตอบแทน กฎกระทรวงกําหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานได้ (พ.ศ. 2547) ลูกจ้าง เด็กหญิงอายุตั้งแต่ 15 - 18 ปี ยกได้ไม่เกิน 20 Kg., ลูกจ้างหญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป ยกได้ไม่เกิน 25 Kg ลูกจ้าง เด็กชายอายุตั้งแต่ 15 - 18 ปี ยกได้ไม่เกิน 25 Kg., ลูกจ้างชายอายุ 18 ปีขึ้นไป ยกได้ไม่เกิน 55 Kg กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ (พ.ศ. 2547) กำหนดให้จัดสวัสดิการสภาพแวดล้อมการทำงาน, ห้องน้ำ ห้องส้วม, ห้องพัก, น้ำดื่ ม, ยาและอุปกรณ์ปฐมพยาบาล รายละเอียดข้อกำหนดตามกฎหมายเพิ่มเติม พนักงานสามารถนำชื่ อกฎหมายไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์สาธารณะ หรือเว็บไซต์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน https://www.labour.go.th/index.php/labor-law 12
หน่วยงาน บุคลากร และคณะทำงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน บริษัท อุดรธานี เจ็ท เอ็กซ์เพรส จำกัด ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549 ทางบริษัท อุดรธานี เจ็ท เอ็กซ์เพรส จำกัด เป็นสถานประกอบกิจการที่เข้าข่ายประเภทที่ 4 คือ ธุรกิจประเภทการขนส่งสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า ซึ่งตามรายละเอียดของกฎกระทรวง ดังกล่าว กำหนดให้ทางบริษัทฯต้องมีบุคลากรและคณะทำงานด้านความปลอดภัย ดังนี้ ตำแหน่งตามโครงสร้าง วิชาชีพเฉพาะตาม ตำแหน่งตามโครงสร้าง ขององค์กร กฎหมาย 1 ตำแหน่ง ขององค์กร 13
หน่วยงาน บุคลากร และคณะทำงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน บริษัท อุดรธานี เจ็ท เอ็กซ์เพรส จำกัด กํากับ ดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามข้อบังคับคู่มือความปลอดภัย บทบาทหน้าที่ของ จป.หัวหน้างาน วิเคราะห์งาน เพื่ อหาอันตรายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขั้น รายงานการประสบอันตราย เกิดอุบัติเหตุต่อจป.วิชาชีพโดยทันที ส อ น ขั้ น ต อ น ก า ร ทำ ง า น อ ย่ า ง ป ล อ ด ภั ย ใ ห้ พ นั ก ง า น ใ น ค ว า ม ดู แ ล ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย ร่วมกับจป.วิชาชีพ ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องมือ เครื่องจักรให้ปลอดภัย ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัย กำกับดูแลให้พนักงานสวมอุปกรณ์คุ้มครองส่วนบุคคล (PPE) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยตามที่ได้รับหมายจากนายจ้าง บทบาทหน้าที่ของ จป.วิชาชีพ ตรวจสอบ เสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้าง เพื่ อให้ปฏิบัติงานปลอดภัย วิเคราะห์งาน ชี้บ่งอันตราย กำหนดมาตรการป้องกัน/ขั้นตอน ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย วิเคราะห์แผนงานโครงการ ข้อเสนอแนะ มาตรการความปลอดภัย ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องมือ เครื่องจักรให้ปลอดภัย ตรวจประเมินการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนงานและมาตรฐาน แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับ และคู่มือความปลอดภัย ตรวจสอบหาสาเหตุอุบัติการณ์ การประสบอันตราย รายงานผล และเสนอแนะ รวบรวมสถิติ จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยอย่างเหมาะสม 14
หน่วยงาน บุคลากร และคณะทำงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน บริษัท อุดรธานี เจ็ท เอ็กซ์เพรส จำกัด บทบาทหน้าที่ของ จป.บริหาร กำกับ ดูแล จป.ทุกระดับซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานตามแผนและมาตรฐาน เสนอแผนงานโครงการด้านความปลอดภัยในหน่วยงานต่อนายจ้าง ส่งเสริม สนับสนุน และติดตาม การดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานโครงการ กำกับ ดูแล และติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่ อความปลอดภัยตามที่ได้รับรายงาน บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ พิจารณานโยบายและแผนงานความปลอดภัย เพื่ อป้องกันและลดอุบัติเหตุ ความปลอดภัยฯ พิจารณาข้อบังและคู่มือ มาตรฐานความปลอดภัย (คปอ.) รายงานและเสนอแนะมาตรการ หรือแนวทาง ให้ถูกต้องตามกฎหมาย มาตรฐาน สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติ วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ลูกจ้าง พิจารณาโครงการ หรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัย ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน 15
บทบาทหน้าที่ความร่วมมือ ของลูกจ้างต่อนายจ้าง ลูกจ้างต้องให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ 1. การปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎระเบียบด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด 2. การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอย่างถูกต้อง 3. หากพบสภาพการทำงานหรือการกระทำที่ไม่ปลอดภัยต่าง ๆ ต้องรีบแจ้งต่อ หัวหน้างานหรือ จป.วิชาชีพทราบโดยเร็ว 4. การเขารับการอบรมในหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานต่าง ๆ 5. การเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นระยะ ๆ เพื่ อเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน 6. เข้าร่วมจิกรรมและโครงการด้านความปลอดภัยฯ ที่นายจ้างจัดขึ้น 7. การเข้ารับการอบรมในหลักสูตรความปลอดภัย ในการทำงานต่าง ๆ 8. การเริ่มทำงานวันใหม่ด้วย 3 อ. (อาหารที่ดี ออกกำลังกาย อารมณ์สดใส) พักผ่อนให้เพียงพอ สุขภาพแข็งแรง จิตใจแจ่มใส 16
17
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมายถึง การกระทำหรือสภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการ ประสบอันตราย การเจ็บป่วย ความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย อันเนื่ องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน อันตราย การประสบอันตราย โรคจากการทำงาน สิ่งหรือสถานการณ์ที่เป็นเหตุที่จำไป การได้รับอันตรายหรือภัยจากการ การเจ็บป่วยเกิดขึ้นของผู้ สู่ความสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นการบาด ทำงานที่ทำให้ได้รับความเสียหาย ปฏิบัติงานเนื่ องจากการทำงาน เจ็บ เจ็บป่วย ทรัพย์สินเสียหาย รวม ด้านร่างกาย การบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือความเสียหายด้านทรัพย์สิน ถึงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 18
คำศัพท์เกี่ยควกวับามเรื่ปองลอดภัย INCIDENT Accident Near Miss INCIDENT เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ให้เกิด ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลทำให้ อุบัติการณ์ เกิดความสุญเสีย : อุบัติเหตุ (Accident) หรือไม่เกิดความ สูญเสีย : เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near Miss) ACCIDENT เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่คาดคิดในเวลา อุบัติเหตุ และสภานที่หนึ่งโดยไม่ทราบล่วงหน้า เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดผลกระทบ ความเสียหาย ความสูญเสีย ทั้งร่างกาย ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม โอ๊ย!, เออะ! NEAR MISS เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่คาดคิดในเวลาและ สภานที่หนึ่ง โดยไม่ทรายล่วงหน้า ซึ่งเกิดขึ้นแล้วไม่ส่งผลให้เกิดผลกระ เกือบเกิด ทบความเสียหาย ความสูญเสีย ทั้งร่างกาย ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม อุ๊ย ! 19
คำศัพท์เกี่ยควกวับามเรื่ปองลอดภัย INCIDENT Accident Near Miss INCIDENT นาย A ลื่นน้ำมันที่หก อุบัติการณ์ รั่วไหลบนพื้นทางเดิน ACCIDENT นาย A ลื่นแล้วล้มกระแทก อุบัติเหตุ พื้น ได้รับบาดเจ็บแผล ถลอก และหัวเขาฟกช้ำ NEAR MISS นาย A ลื่นแล้วสามารถยั้ง เกือบเกิด ตัวได้ และเกาะเสาหรือ ราวจับบริเวณนั้นได้ทัน 20
คำศัพท์เกี่ยควกวับามเรื่ปองลอดภัย INCI DENT Accident Near Miss INCIDENT นาย B ขับรถที่ถนนสายหลักด้วย อุบัติการณ์ ความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อ ชั่วโมง มีสุนัขวิ่งตัดหน้ารถ ACCIDENT นาย B ทำการเบรคและหักหลบ อุบัติเหตุ สุนัข ทำให้รถไถลตกไหล่ทาง ได้รับ บาดเจ็บ และรถพังเสียหาย NEAR MISS สุนัขวิ่งผ่านไปได้ โดยที่ เกือบเกิด นาย B เบรคและหักหลบได้ ไปอย่างฉิวเฉียด 21
สาเหตุของการเกิด อุบัติเหตุและการเจ็บป่วย การกระทําที่ไม่ปลอดภัย สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เหตุการณ์นอกเหนือ 88 Unsafe Action 1 0Unsafe Condition เป็นการกระทําของผู้ปฏิบัติ เป็นสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ 2 การควบคุม งานในขณะทํางาน ซึ่งอาจจะ ตัวผู้ปฏิบัติงานในขณะทํางาน เป็นเหตุจากธรรมชาติ ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ที่ไม่สามารถกำหนด % % ซึ่งอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิด % หรือควบคุมได้ อุบัติเหตุได้ ใช้เครื่องมือเครื่องจักโดยพลการ หรือ ไม่มีที่ครอบหรือการ์ดปิดคลุมส่วนที่หมุน ลมพายุ ไม่ได้รับมอบหมาย ไ ด้ แ ล ะ ส่ ว น ส่ ง ถ่ า ย กํ า ลั ง ข อ ง เ ค รื่ อ ง จั ก ร ฝนตก ใ ช้ เ ค รื่ อ ง จั ก ร ใ น อั ต ร า ที่เ ร็ว เ กิ น กํ า ห น ด ที่ค ร อ บ ห รือ ก า ร์ด ข อ ง เ ค รื่ อ ง จั ก ร ไ ม่ น้ำท่วม ซ่อมแซมหรือบํารุงรักษาในขณะที่ ปลอดภัยหรือไม่เหมาะสม น้ำหลาก เ ค รื่ อ ง ย น ต์ กํ า ลั ง ห มุ น เครื่องจักร เครื่องมือที่ใช้มีการออกแบบที่ ฟ้าผ่า ถอดอุปกรณ์ความปลอดภัยออกจาก ไม่เหมาะสม แผ่นดินไหว เ ค รื่ อ ง จั ก ร โ ด ย ไ ม่ เ ห ตุ อั น ส ม ค ว ร บริเวณพื้ นที่ทํางานลื่ น ขรุขระ หรือสกปรก ไฟป่า หยอกล้อกันในขณะทํางาน บริเวณที่ทํางานมีการวางของไม่เป็น ฯลฯ ทํางานในที่ที่ไม่ปลอดภัย ระเบียบ กีดขวางทางเดิน ใ ช้ เ ค รื่ อ ง มื อ ที่ชํ า รุ ด ห รือ ไ ม่ ถู ก วิ ธี การกองวัสดุสูงเกินไป หรือการซ้อนวัสดุ ยกหรือเคลื่ อนย้ายวัสดุด้วยท่าทาง ไม่ถูกวิธี วิธีการที่ไม่ปลอดภัย การจัดเก็บสารเคมีสารไวไฟต่าง ๆ ไม่ ไม่สวมใส่อุปกรณ์ PPE เหมาะสม ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ แสงสว่างไม่ เหมาะสม เช่น แสงอาจสว่าง ข้อห้าม ป้ายหรือสัญลักษณ์เตือน ไม่ เพียงพอ หรือแสงจ้าเกินไป เป็นต้น ฯลฯ ไม่มีระบบการระบายและถ่ายเทอากาศที่ ฯลฯ ความบกพร่องในการจัดการของฝ่ายบริหารของสถานประกอบกิจการ จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทําให้ เกิดการประสบอันตรายและความสูญเสียในสถานประกอบกิจการ 22
ความสุญเสียของ การเกิดอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย ทางตรง ทางอ้อม 23
ความเจ็บป่วยและโรคจากการทำงาน องค์ประกอบหลักที่ทําให้เกิดอาการเจ็บป่วยและ/หรือโรคจากการทํางาน มี 3 ปัจจัย ภูมิหลังของผู้ปฏิบัติงาน อายุ เพศ กรรมพันธุ์ เชื้ อชาติ ภาวะโภชนาการ โรคประจําตัว ความไวต่อการเกิดโรค พื้ นฐานการศึกษา ของผู้ปฏิบัติงาน องค์ประกอบด้านจิตใจ และองค์ประกอบด้านพฤติกรรม สภาพแวดล้อมในการทํางานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สภาพแวดล้อมทาง กายภาพ ทางเคมี ทางชีวภาพ ทางการยศาสตร์ และทางจิตวิทยาสังคม สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ทั่ ว ไ ป เป็นปัจจัยภายนอกที่กระตุ้นและส่งเสริม ทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่จะทําให้โรคเกิดเร็วขึ้น สภาพที่พักอาศัยไม่ถูกสุขลักษณะ สภาพภูมิอากาศ และสภาพ เศรษฐกิจ เป็นต้น 24
ความเจ็บป่วยและโรคจากการทำงาน โรคจากการประกอบอาชีพหรือโรคจากการทำงาน (Occupational diseases) หมายถึง โรคที่เกิดจากปัจจัยในการประกอบอาชีพโดยตรงปัจจัยเดียว - เกิดทันที เช่น ได้รับสัมผัสไอกรดในโรงงานแบตเตอรี่ มีอาการแสบตา แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หรือการสัมผัสสารกำจัด แมลงในขณะฉีดพ่น มีอาการแน่นหน้าอก หนังตากระตุกน้ำตาไหล คลื่ นไส้ อาเจียน ผื่ นคันตามผิวหนัง เป็นต้น - เกิดขึ้นภายหลัง เช่น โรคนิวป์โมโคนิโอสิส ได้แก่ โรคซิลิโคสิส โรคจากแร่ใยหินแอสเบสตอสมีระยะการก่อโรค (latency period) ตั้งแต่เริ่มสัมผัสจนมีอาการและอาการแสดง ใช้เวลานานอย่างน้อย 15 ปี โดยส่วนใหญ่โรคจากการประกอบอาชีพจะมี ระยะฟักตัวนานและความสำคัญคือ เมื่ อเป็นโรคแล้วมักจะรักษาไม่หายขาด โรคจากการทํางาน หรืออาจเรียกว่าโรคจากการ ประกอบอาชีพ ซึ่งบางครั้งอาจปรากฏ อาการขึ้นอย่างเฉียบพลัน เนื่ องจากได้รับสิ่งที่ทําให้ เกิดโรคในปริมาณความเข้มข้นสูงใน ระยะเวลา สั้น ๆ เช่น กรณีหายใจเอาก๊าซแอมโมเนียที่เกิดการรั่วไหลจากกระบวนการผลิตทําให้เกิดผลต่อ ระบบทางเดินหายใจ เกิดการเจ็บป่วยขึ้น แต่บางครั้งโรคจากการทํางานอาจปรากฏอาการแบบเรื้อรังเนื่ องจากผู้ปฏิบัติงานได้รับสิ่งที่ทําให้ เกิดโรคนั้น ทีละเล็กทีละน้อย สะสมเป็นเวลานานหลาย เดือนหรือหลายปีเช่น หูตึงจากเสียงดัง โรคปอดฝุ่นฝ้าย ฝุ่นทราย ปอดผุ โรคที่เกี่ยวเนื่ องจากการประกอบอาชีพ (Work-related diseases) หมายถึง การประกอบอาชีพไปกระตุ้นให้โรคเดิมของผู้ป่วยคนนั้นให้แสดงอาการออก มา หรือทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม เช่น ในคนที่มีโครงสร้างผิดปกติอยู่แล้ว หรือผู้ป่วยด้วย โรคเบาหวานจะมีอาการโรคเส้นเอ็นอักเสบได้ง่าย ดังนั้นการประกอบอาชีพเมื่ อมีการ ออกแรงซ้ำ ๆ หรือมีท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้อง ก็จะแสดงอาการขึ้น โรคและภัยสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม (Environmental diseases) หมายถึง ผลกระทบที่เกิดจากมลพิษปนเปื้ อนในดิน น้ำ อากาศ ทั้งจากธรรมชาติ และกิจกรรมของมนุษย์ ทำให้เกิดโรคหรือผลกระทบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง 25
ความเจ็บป่วยและโรคจากการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทํางานที่อยู่รอบตัวผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอาจทําให้เกิดการเจ็บป่วย หรือโรคจากการทํางาน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทางเคมี ทางชีวภาพ ทางการยศาสตร์ และทางจิตวิทยาสังคม 26
ความเจ็บป่วยและโรคจากการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทํางานที่อยู่รอบตัวผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอาจทําให้ เกิดการเจ็บป่วย หรือโรคจากการทํางาน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทางเคมี ทางชีวภาพ ทางการยศาสตร์ และทางจิตวิทยาสังคม ปัจจัยด้านกายภาพ เสียงดัง ค ว า ม สั่ น ส ะ เ ทื อ น ก า ร สู ญ เ สีย ก า ร ไ ด้ ยิ น แ บ บ ชั่ ว ค ร า ว กระดูกสันหลังอักเสบ การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร ปลายประสาทอักเสบ ความร้อน รังสี ตะคริวเนื่ องจากความร้อน ความผิดปกติในเซลล์ร่างกาย อ่อนเพลียเนื่ องจากความร้อน ผ่าเหล่าในทารก เป็นหมัน โรคมะเร็ง เป็นลมจากความร้อนสูง ผด ผื่ นขึ้นตามผิวหนัง แสงสว่าง ไม่สบายตา กล้ามเนื้ อตาเมื่ อยล้า สูญเสียสมรรถภาพการมองเห็น 27
ความเจ็บป่วยและโรคจากการทำงาน ปัจจัยด้านเคมี สารเคมีสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนี้ 1. การหายใจ เนื้ อเยื่ อถูกทำลายอย่างรุนแรง ฝุ่น ผง หรือละออง ร่างกายจะมีระบบป้องกัน และกำจัดออกจากร่างกายได้โดยขึ้นอยู่กับขนาดของสารพิษ 2. การสัมผัสทางผิวหนังหรือดวงตา ทำให้เกิดความระคายเคือง ไปจนถึงอาการแพ้ สารเคมีส่วนใหญ่จะเป็น อันตรายต่อดวงตาตั้งแต่ทำให้เกิดการระคายเคือง สร้างความ เจ็บปวด สูญเสียความสามารถในการมองเห็น ไปจนถึงทำให้ ตาบอดอย่างถาวรได้ 3. การกิน / กลืน เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินอาหารทำอันตราย เนื้ อเยื่ อต่าง ๆ ในระบบทางเดินอาหารได้โดยตรง 4. การฉีดหรือผ่านทางบาดแผลที่ผิวหนัง เ กิ ด ขึ้ น โ ด ย ไ ม่ ตั้ ง ใ จ ห รือ จ า ก อุ บั ติ เ ห ตุ ร ะ ห ว่ า ง ก า ร ทำ ง า น 28
ความเจ็บป่วยและโรคจากการทำงาน ปัจจัยด้านชีวภาพ ไวรัส แบคทีเรีย เชื้ อรา พยาธิ รวมทั้งฝุ่นและเส้นใยพืช 29
ความเจ็บป่วยและโรคจากการทำงาน ปัจจัยด้านการยศาสตร์ อายุ, เพศ, สัดส่วนร่างกาย ขีดจำกัดเชิงกายภาพ การยศาสตร์ (Ergonomics) ผู้ปฏิบัติงาน ประสบการณ์มนการทำงาน สุขภาพความสมบูรณ์ของร่างกาย การยศาสตร์ ความกระตือรือร้นในการทำงาน สภาพจิตใจ ความคาดหวัง หมายถึง วิทยาการที่ศึกษาเกี่ยวกับ คน, งาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมี ความสุข ไม่เกิดการปวดเมื่อยล้า การบาดเจ็บหรือ การเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากลักษณะท่าทางการ ปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน โรคจากการทำงาน สถานที่ทำงาน การออกแบบงาน โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ อุณหภูมิ เสียง แสงสว่าง ความสั่นสะเทือน ประเภทงาน ขั้นตอนการทำงาน ปวดคอ บ่า ไหล่ หลังส่วนบน จุดปฏิบัติงาน ความสูง-ต่ำ ของสถานีงาน ปริมาณงาน เวลาในการทำงาน และหยุดพัก อุปกรณ์ ขนาด น้ำหนัก อุปกรณืในการทำงาน ลักษณะ ท่าทางในการทำงาน ตำแหน่งการควบคุมอุปกรณ์ ความซ้ำซากของท่าทางและงานที่ปฏิบัติ หมอนรองกระดูก เส้นเอ็นอักเสบ กดทับเส้นประสาท ปวดหลังส่วนล่าง เยื่อหุ้มข้ออักเสบ ใส้เลื่อน เส้นประสาทอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ 30
ความเจ็บป่วยและโรคจากการทำงาน ปัจจัยด้านจิตวิทยาสังคม งานที่ก่อให้เกิดความเครียดต่อจิตใจ - ทํางานแข่งกับเวลาต้องทํางานด้วยความเร่งรีบ - การทํางานกะ ไม่เป็นเวลา - การได้รับค่าจ้างที่ไม่เหมาะสม - สัมพันธภาพระหว่างผู้ปฏิบัติงาน - ฯลฯ จากการที่ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นผลทําให้เกิดการเจ็บป่วย หรือเกิดโรคจากการทํางานขึ้น เมื่ อเกิดการเจ็บป่วย ผู้ปฏิบัติงานอาจได้รับการตรวจวินิจฉัย รักษาพยาบาล และ ฟื้ นฟูสภาพให้หายได้แต่เมื่ อผู้ปฏิบัติงานนั้นกลับเข้าทํางานในสภาพแวดล้อมการทํางานที่ไม่เหมาะสมเช่นเดิมอีก ผู้ปฏิบัติงานนั้นก็อาจได้รับ อันตรายทํานองเดียวกับที่เกิด ขึ้นแล้วไม่มีที่สิ้นสุด 31
การควบคุมอันตราย อุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยจากการทำงาน SOURSE ป้องกันแหล่งกำเนิด เครื่องมือ เครื่องจักร เครื่องกำบัง ระบบ การทำงานของอุปกรณ์ และพลังงานต่าง ๆ PASS WAY ป้องกันทางผ่าน ทางผ่านของอันตรายเช่น อากาศ ลม แสง เสียง RECEIVER 32 ป้องกันที่ผู้รับ ป้องกันจากตัวผู้รับเช่น อบรมให้ความรู้ สวมใส่ PPE
อุปกรณ์คุ้มครองอันตรายส่วนบุคคล PPE Personal Protective Equipment ข้อจำกัดของอุปกรณ์ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เหมาะ ส ม ใ น ก า ร ป้ อ ง กั น อั น ต ร า ย จ า ก ก า ร ใ น ช่ ว ง สั้ น ๆ อุปกรณ์ไม่สามารถกำจัดอันตรายจากสถานที่ทำงาน ได้ โดยเฉพาะเมื่ ออุปกรณ์ทำงานล้มเหลวจะทำให้ผู้ สวมใส่อุปกรณ์ได้รับสัมผัสกับอันตรายทันที อุปกรณ์ ป้องกันอันตรายจะใช้ไม่ได้ผลถ้าผู้สวมใส่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการใช้ที่ถูกต้องและเลือกสวมใส่ โดยไม่คำนึงถึงอันตรายที่จะต้องสัมผัส 33
34
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ ความปลอดภัยในการทำงาน ห้าม บังคับ เตือน สภาวะ ปลอดภัย อุปกรณ์ ดับเพลิง 35
36
ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงาน เครื่องจักร “เครื่องจักร” หมายความว่า สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับก่อกำเนิด พลังงานเปลี่ยนหรือแปลงสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ เชื้ อ เพลิง ลม ก๊าซ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่ น และหมายความรวมถึงเครื่องอุปกรณ์ ล้อตุนกำลัง รอก สายพาน เพลา เฟือง หรือสิ่งอื่ นที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งเครื่องมือกล 1. กำหนดให้พนักงานต้องสวมใส่เครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อย รัดกุมและไม่รุ่งริ่ง 2. ห้ามสวมใส่เครื่องประดับที่อาจเกี่ยวโยงกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ 3. รวบผมที่ปล่อยยาวเกินสมควร เพื่ อป้องกันการถูกดึงจากเครื่องจักร 4. พนักงานซึ่งไม่เกี่ยวข้องห้ามเข้าไปในบริเวณดังกล่าว 5. ต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามลักษณะงาน 6. ดำเนินการจัดทำรั้ว คอกกั้น หรือเส้นแสดงเขตอันตราย ณ บริเวณที่ตั้งของเครื่องจักร ให้พนักงานเห็นได้ชัดเจน 7. เครื่องจักรที่มีการถ่ายทอดพลังงานโดยใช้เพลา สายพาน รอก เครื่องอุปกรณ์ ล้อตุนกำลังต้องมีตะแกรงหรือ ที่ครอบปิดคลุมส่วนที่หมุนและส่วนถ่ายกำลังให้มิดชิด ป้องกันการถูกหนีบ ดึง เฉือน กระแทก ทับ จนเกิดอันตราย 1. การซ่อมเครื่องจักรต้องหยุดเครื่องจักรและต้องทำการ Lock Out & Tag Out 2. เครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้าต้องมีระบบหรือวิธีการป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วเข้าตัวบุคคล 3. ที่เกี่ยวข้องหรือเครื่องจักรและต้องต่อสายดิน 4. ต้องตรวจสอบเครื่องจักร ให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีและปลอดภัย 5. ปุ่มหยุดฉุกเฉิน Emergency Stop ต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา 37
ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงาน เครื่องจักร EMERGENCY STOP ปุ่มหยุดฉุกเฉิน กดปุ่มเพื่อตัดวงจรพลังงาน เครื่องจักรหรืออุปกรณ์หยุด ทำงานโดยทันที ในกรณี 1. อุบัติเหตุของบุคคล 2. อุบัติเหตุเครื่องจักรเสียหาย 3. เหตุฉุกเฉินต่าง ๆ 38
ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงาน ไฟฟ้า 1. อย่าเข้าใกล้หรือจับต้องอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีป้ายห้ามใช้ โดยไม่จำเป็น 2. ผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ห้ามเข้าบริเวณติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันสูง 3. หากตัวเปียกชื้ น ห้ามจับต้องอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า 4. ห้ามวางวัตถุไวไฟใกล้กับเต้ารับ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า 5. ต้องปิดสวิซต์ก่อนทำความสะอาดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้ง 6. การซ่อมบำรุงต้องทำโดยช่างไฟฟ้าเท่านั้น 7. การเสียบหรือถอดเต้าเสียบต้องจับที่ตัวเต้าเสียบ ห้ามใช้วิธีดึงหรือจับที่สายไฟ 8. ห้ามคลุมหลอดไฟฟ้าด้วยกระดาษหรือผ้า เพราะอาจทำให้ เกิดอัคคีภัยได้ 9. การติดตั้งสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องใช้สายและอุปกรณ์ที่เหมาะสมและติดตั้งอย่างถูกต้อง 10. ควรระวังอย่าวางสายไฟฟ้าสอดไว้ใต้พรมปูพื้ นใต้บานประตูหน้าต่างหรือขวางทางเดิน เพราะเมื่ อถูก เหยียบหรือกดทับนาน ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าจะชำรุดฉีกขาดอันตรายย่อมเกิดขึ้น ได้ง่าย 11. อย่าให้หลอดไฟฟ้าซึ่งมีความร้อนสูงอยู่ติดกับวัตถุซึ่งเป็นเชื้ อเพลิงติดไฟง่าย เช่น ผ้า หรือกระดาษ 12. หลอดไฟฟ้าที่ขาดแล้ว ควรปิดช่องเสียบจนกว่าจะเปลี่ยนหลอดใหม่เพื่ อป้องกันไม่ให้ผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเผอเรอเอานิ้วแหย่เข้าไป หากหลอดไฟฟ้ากระพริบติด ๆ ดับ ๆ ควรแจ้งให้มีการเปลี่ยนหรือซ่อมบำรุง 13. เมื่ อจะใช้โคมไฟฟ้านอกชายคา หรือใช้งานสมบุกสมบันแม้จะเป็นการชั่วคราว เช่น อู่ซ่อมรถ ควรเลือกใช้ โคมไฟฟ้าที่ดีได้มาตรฐาน มีตะแกรงครอบหลอดและมีสายชนิดที่มีฉนวนหุ้มหนา 14. อย่าเข้าใกล้บริเวณที่มีการใช้กระแสไฟฟ้าแรงสูง หม้อแปลงหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง อื่ น ๆ เพราะเมื่ อเข้า ใกล้ก็อาจเกิดอันตรายได้โดยไม่สัมผัส หากจุดที่ปฏิบัติงานอยู่ใกล้ สายไฟฟ้าแรงสูงต้องทราบอันตรายและ แนวทางป้องกัน และอยู่ห่างในระยะที่ปลอดภัย 39
ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงาน ไฟฟ้า เมื่ อประสบเหตุไฟไหม้อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือมี ลูกจ้างถูกไฟฟ้าช็อต ให้ดำเนินการ ดังนี้ ปิดสวิตซ์ไฟ ถ้าไม่สามารถทำได้ให้แจ้ง ช่างไฟฟ้าทันที กรณีไม่สามารถปิดสวิตซ์ไฟได้ทันทีเมื่ อ พบเห็นเหตุพบผู้ถูกไฟฟ้าช็อตให้พยายาม ช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายออกจากกระแส ไฟฟ้า โดยใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่ อไฟฟ้า เช่น ผ้า แห้ง ไม้แห้งเชือกแห้ง สายยางแห้ง เป็นต้น เขี่ยสายไฟออกจากร่างกายผู้ประสบภัย อย่า ช่วยเหลือด้วยการจับต้องตัวผู้กำลังถูกไฟฟ้า ช็อคโดยตรง เพราะจะถูกไฟฟ้าช็อตด้วย 40
ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงาน ไฟฟ้า ขั้นตอนการกดนวดหัวใจ CPR (CARDIO PULMONARY RESUSCITATION) 1. ปลุกเรียกสติ, สังเกตุการหายใจ, ให้ทุกคนถอยห่าง เปิดพื้นที่โล่งให้อากาศถ่ายเทสะดวก 2. ขอความช่วยเหลือคนในบริวณนั้น ให้โทร 1669 (แจ้งเหตุ แจ้งสถานที่ เบอร์โทรติดต่อกลับ และเครื่อง AED มาด้วย) หากไม่มีให้โทรเองแล้ววางโทรศัพท์ เปิดลำโพง แล้วทำการนวดหัวใจได้เลย 3. ทำการกดนวดหัวใจที่ใต้ราวนมให้กดลึก 5-6 ซม. จำนวน 15-30 ครั้ง และเป่าผายปอด 2 ครั้ง = 1 ยก (ไม่สะดวกไม่ต้องผายปอด) 4. ทำการนวดต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าเข้าหน้าที่ฉุกเฉินจะมา โดยให้ทำ 5 - 6 ยก แล้วเปลี่ยนคนช่วยกดนวด 5. เมื่อเจ้าหน้าที่มา ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการช่วยเหลือได้เลยโดยใช้เครื่อง AED การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR (CARDIOPULMONARY RESUSCITATION) เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED (AUTOMATED EXTERNAL DEFIBRILLATOR) กด ให้ ลึก กด ให้ ร้อย ปล่อยให้สุด อย่าหยุดกด 41
ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงาน การใช้ยานพาหนะ ภ า ย ใ น บ ริษั ท ขับไม่เกิน 20 Km/hr รถบรรทุก 4, 6 ล้อใหญ่ ขับไม่เกิน 80 Km/hr รถยนต์ 4 ล้อ ขับไม่เกิน 100 Km/hr รถจักรยานยนต์ ขับไม่เกิน 80 Km/hr 1. ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะต้องมีใบขับขี่ถูกต้องตามกฎหมาย 2. ตรวจสอบสภาพรถก่อนใช้งานทุกครั้ง 3. ในการขับรถผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องรักษากฎจราจร และเชื่ อฟังเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรอย่างเคร่งครัด 4. ผู้ขับขี่ต้องขับด้วยความเร็วตามกำหนด 5. ลดความเร็วลงเมื่ อถึงเขตชุมชน โรงเรียน ทางโค้ง ทางแคบ หรือถนนที่มีสภาพชำรุด ถนนที่มีฝุ่นทราย หรือน้ำมันไหลนองอยู่ให้ใช้เกียร์ต่ำช่วย อย่าเบรกรถโดยกะทันหันเป็นอันขาด เพราะจะทำให้รถพลิก คว่ำได้ และในกรณีที่สภาพแวดล้อมมีความเสี่ยง เช่น ฝนตก ลมแรง พายุเข้า เป็นต้น 6. เมื่ อจำเป็นต้องหยุดรถบนทางลาด ทางชัน หรือสภาพที่ที่รถอาจเคลื่ อนที่ได้ ต้องใช้หมอนรองล้อหนุนล้อ หน้าคนขับอย่างน้อย 1 คู่ เพื่ อกันไม่ให้รถเคลื่ อนที่ 7. ขณะขับรถลงที่ลาดชัน หรือลงจากเขาให้ใช้เกียร์ต่ำ อย่าปลดเกียร์ว่างให้รถไหลลงมาเองเป็นอันขาด 8. ผู้ปฏิบัติงานต้องขับขี่ยานพาหนะอย่างสุภาพ และมีความเห็นอกเห็นใจผู้ใช้รถอื่ น ๆ เสมอ 9. ให้สัญญาณรถคันอื่ น ๆ ทุกครั้งเมื่ อเปลี่ยนเส้นทางหรือจอดฉุกเฉิน 10. กรณีถอยรถให้ลดกระจกลงทั้ง 2 ข้าง เพื่ อฟังสัญญาณจากผู้อื่ น 11. จอดรถให้ดับเครื่องยนต์และดึงเบรกมือ ทุกครั้ง 42
ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงาน สำนักงาน 1. ทำความสะอาดพื้ นที่ทำงานให้แห้งอยู่เสมอ 2. เมื่ อพบเห็นสิ่งผิดปกติรีบแจ้งให้ผู้รับผิดชอบทราบ 3. หากต้องการยกของไม่ควรยกของสูงเกินไปจนมองไม่เห็นทาง 4. สวมรองเท้าให้รัดกุม ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป 5. เครื่องใช้ไฟฟ้าควรวางใกล้ปลั๊กไฟฟ้าให้มากที่สุด 6. สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ เดินบนพื้ นต้องติดเทปกาวให้เรียบร้อย 7. ไม่ใช้เก้าอี้นั่งมารองยืนเพื่ อหยิบหรือวางสิ่งของ 8. กรณีที่หยิบสิ่งของที่สูงๆ ให้ใช้แท่น หรือบันไดวางให้มั่นคงและมีคนช่วยจับด้วย 9. บริเวณมุมอับ หรือหัวมุมต้องเดินให้มุมกว้าง ชิดขวามือตนเอง อย่าเดินชิดหัวมุม 10. หาตู้เก็บเอกสารใส่แฟ้มเอกสาร เอกสารที่มีน้ำหนักมากควรเก็บไว้ในลิ้นชักล่าง 11. วางหรือยึดตู้เอกสารให้มั่นคง 12. ไม่เปิดตู้เอกสารทีละหลาย ๆ ชั้นพร้อมกัน ควรเปิดทีละชั้นเสมอ 13. ไม่ควรวางของเกะกะทางเดิน 14. ตรวจบริเวณทางเดินให้อยู่่ในสภาพที่ปลอดภัย และสะอาดอยู่เสมอ 15. ต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงานให้ปลอดภัยด้วยความระมัดระวัง 16. ถอดปลั๊กไฟฟ้า และปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่ อเลิกใช้งานทุกครั้ง 17. พนักงานต้องรู้จักวิธีการใช้ถังดับเพลิง และวิธีการอพยพหนีไฟ ตามแผนที่กำหนดไว้ 43
ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงาน สำนักงาน 1. ไม่ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่ องนานเกิน 1 ชั่วโมง 2. ควรปฏิบัติงานประเภทอื่ นสลับกับงานคอมพิวเตอร์ เช่น ตรวจหรือ เขียนเอกสาร พูดโทรศัพท์ เข้าประชุม เป็นต้น 3. ขณะพูดโทรศัพท์ไม่ควรปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ เช่น ไม่ใช้แป้นพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น แต่ถ้าจำเป็นต้องปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ด้วยก็ควรใช้ อุปกรณ์หูฟังและไมโครโฟนในการ พูดโทรศัพท์ 4. ถ้าต้องมองเอกสารขณะปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ควรวางเอกสารบนที่วางเอกสาร 5. ควรวางเอกสารตรงหน้าระหว่างแป้นพิมพ์และจอภาพ หรือวางข้างจอภาพ 6. ไม่ควรนั่งปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ เป็นเวลานาน ๆ ควรลุกขึ้นแล้วเดินไป-มา และ บริหารส่วนของร่างกายที่มีอาการปวดเมื่ อย 7. ให้ปรับเบาะนั่งให้อยู่ระดับที่เหมาะสมโดยให้ขาท่อนบนขนานกับพื้ น ขาท่อนล่างตั้ง ฉาก กับพื้ น และเท้าทั้งสองข้างวางราบบนพื้ นหรือบนที่พักเท้า 8. ขณะนั่งปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ไมนั่ง ไขว่ห้าง ขัดสมาธิคุกเข่า พับเพียบ หรือพับขา บน เบาะนั่ง 9. ให้ปรับพนักพิงหลังให้ตั้งฉากหรือเอนไปด้านหลังเล็กน้อย นั่งพิงพนักพิงหลังอย่าง เต็ม แผ่นหลัง 10. ขณะปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ไม่ควรวางแขนทั้งสองข้างบนที่พักแขน นอกจากจะ สามารถปรับระดับ และระยะชิด – ห่างจากลำตัวให้เหมาะสมกับร่างกายได้ 44
ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงาน การยกและเคลื่อนย้ายวัสดุ น้ำหนักที่ยกได้ เด็กหญิง (15-17 ปี) ไม่เกิน 20 กิโลกรัม ตามกฎหมายกำหนด เด็กชาย (15-17 ปี) ไม่เกิน 25 กิโลกรัม ลูกจ้างหญิง ไม่เกิน 25 กิโลกรัม ลูกจ้างชาย ไม่เกิน 55 กิโลกรัม การยกและเคลื่ อนย้ายวัสดุในพื้ นที่การทำงาน 1. ใช้กำลังจากคน เช่น การยก การถือ และแบกหามโดยคน 2. เครื่องทุ่นแรง คือ รถเข็น รถลาก อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) รถพ่วง รถบรรทุก การวางแผนการยก 1. ต้องประเมินน้ำหนักของวัสดุสิ่งของ ยกเพียงคนเดียวได้หรือไม่ 2. ถ้าไม่สามารถยกได้ต้องหาคนช่วยยก ไม่ควรพยายามยกโดยลำพัง 3. ตรวจสภาพบริเวณที่จะยกโดยรอบ เช่น ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทาง มีเนื้ อที่ว่างมากพอในการยกเคลื่ อนย้าย พื้ นจะต้องไม่ลื่ น เป็นต้น 4. ควรใช้เครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม เพื่ อลดการใช้กำลังแรงงานคน 5. จัดวางตำแหน่งวัสดุสิ่งของที่จะยก ไม่สูงเกินกว่าระดับไหล่ 6. การทำงานกับวัสดุสิ่งของที่มีน้ำหนักต่าง ๆ กัน เมื่ อยกของที่หนักแล้วให้สลับ มายกของเบาเพื่ อพักกล้ามเนื้ อ และเพื่ อช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้ อ 7. ควรใช้ถุงมือเพื่ อป้องกันขูดขีดและการถูกบาดจากของมีคม 8. สวมใส่รองเท้านิรภัยเพื่ อป้องกันการลื่ นและป้องกันการบาดเจ็บจากวัสดุ สิ่งของหล่นทับ 45
ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงาน การยกและเคลื่อนย้ายวัสดุ การยกของขึ้นอย่างถูกวิธีและปลอดภัย 1. ยืนชิดวัสดุสิ่งของ วางเท้าให้ถูกต้องและมีความมั่นคง 2. ย่อเข่าให้หลังเป็นแนวตรง เพื่ อให้แรงกดลงบน หมอนรองกระดูกสันหลังมีการกระจายตัวเท่าๆ กัน 3. จับวัสดุสิ่งของให้มั่นคงโดยใช้ฝ่ามือจับ 4. ควรให้แขนชิดลำตัว เพื่ อให้น้ำหนักของวัสดุสิ่งของผ่านลง ที่ต้ น ข า ทั้ ง ส อ ง ข้ า ง 5. ควรให้ตำแหน่งของศีรษะสัมพันธ์กับร่างกาย โดยให้ศีรษะ และกระดูกสันหลังอยู่ในแนวเดียวกัน ซึ่งจะทำให้มองเห็น ทางเดินได้ชัดเจนในขณะที่ยกขึ้นและเดิน 6. ค่อยๆ ยืดเข่า เพื่ อยืนขึ้นโดยใช้กำลังจากกล้ามเนื้ อขา และขณะที่ยืนขึ้น หลังจะอยู่ในแนวตรงหรือเป็นไปตาม ธรรมชาติ 46
ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงาน การยกและเคลื่อนย้ายวัสดุ การใช้รถลาก รถยกอย่างถูกวิธีและปลอดภัย 1. ห้ามนำรถเข็นยกของ (Hand Lift) ไปใช้ปฏิบัติสิ่งที่นอกเหนือจากหน้าที่ที่กำหนด และห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องนำรถยกออกไปใช้งาน 2. ห้ามเริ่มต้นทำงานหากยังไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในการควบคุมบังคับ รวมถึง ห้ามยกย้ายสิ่งของ ที่ไม่อยู่ในสภาพที่มีเสถียรภาพ หรือมัดรวมแบบหลวมๆ หรือยกของ หรือยกย้าย เกินกว่าสมรรถนะตามพิกัดของรถ 3. ห้ามนำรถเข็นยกของ (Hand Lift) ไปใช้ปฏิบัติงาน หากมือจับเปียกหรือลื่ น 4. ห้ามใช้รถเข็นยกของ (Hand Lift) ที่อยู่ในสภาพไม่ปลอดภัยหรือยัง ไม่ได้รับการซ่อมแซมไปใช้งาน โดยให้ปลดกุญแจรถออกเก็บไว้ต่างหาก 5. ห้ามปรับแต่งรถเข็นยกของ (Hand Lift) หรือถอดชิ้นส่วนใดของรถออกก่อนได้รับอนุญาต 6. ห้ามบรรทุกผู้โดยสารไปกับรถเข็นยกของ (Hand Lift) 7. ห้ามยืน หรือเดินผ่านใต้ส่วนที่ยกลอยสูงขึ้นยืนชิดวัสดุสิ่งของ วางเท้าให้ถูกต้องและมีความ มั่ น ค ง 8. เมื่ อลากผ่านทางลาด เปียกแฉะ หรือขรุขระ ให้เดินอย่างช้า ๆด้วย ความระมัดระวัง 9. เมื่ อถึงทางแยกหรือบริเวณมุมให้หยุดรถเพราะอาจชนกับเพื่ อนร่วมงานที่เดินผ่านมาได้ให้คน เดินก่อนเสมอ 10. ลากรถด้วยความเร็วสำหรับการเดินปกติ ห้ามวิ่งลาก 47
48
Search