ลิลิตตะเลงพ่าย ประพันธ์โดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ผู้แต่ง ประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ผู้แต่ง แต่งในยุคสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงใช้เวลาแต่งอยู่ ได้ผนวชเป็นสามเณร ประทับ ณ พระตำหนักท่าวาสุกรี วัดพระเชตุพนฯ หลายปีตั้งแต่ยังทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส โดยมีพระ องค์เจ้ากปิตถาขัตติยกุมารเป็นพระนัดดาของพระองค์ ทรงช่วยนิพนธ์ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงเป็นพระราชวงศ์ บ้างและสนับสนุนให้กำลังใจ และทรงพระนิพนธ์สำเร็จจบโดยสมบูรณ์ พระองค์แรกที่ทรงได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งขณะที่ดํารงพระยศ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงปฏิสังขรณ์วัด เป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องลิลิตตะเลงพ่าย โดยมีพระองค์เจ้ากปิกถา พระเชตุพนเสร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. ๒๓๗๕ ขัตติยกุมาร พระนัดดาของพระองค์ทรงช่วยนิพนธ์บ้างเล็กน้อย ดังปรากฏหลักฐานในโคลงสี่ สุภาพท้ายเรื่อง ในรัชกาลที่ ๓ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ์ และใน ปี พ.ศ. ๒๓๙๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีการจารึกสรรพวิชา ความรู้รวมทั้งวรรณคดีบางเรื่องไว้บนแผ่นหินอ่อน แล้วนําไปประดับไว้ในวัดแห่งนี้เพื่อให้ ประชาชนทั่วไปได้เล่าเรียนหรือค้นคว้าวิชาการต่าง ๆ เหล่านั้นได้โดยสะดวก เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายก็เป็นเรื่องหนึ่งที่โปรดเกล้าฯ ให้กวีทรงพระนิพนธ์ขึ้นในครั้งนั้น เพื่อ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาที่ทรงกระทํายุทธหัตถีชนะ พระมหาอุปราชาดังปรากฏในเนื้ อความตอนต้นเรื่องว่า\"เฉลิมพระเกียรติผ่านเผ่าเจ้า จักรพรรดิแผ่นสยามสมญานามนฤเบศนเรศวรนรินทร์\" (กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๔: ๔๙)
ความเป็นมาของวรรณคดี เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ตะเลง มีความหมายว่า มอญ พ่าย มีความหมายว่า แพ้ ตะเลงพ่าย แปลตามตัวว่า มอญแพ้ แต่จุดมุ่งหมายของเรื่องคือ พม่าแพ้ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะคนไทยเรียกพม่าปนกับมอญ เนื่องด้วยพม่าได้ เข้าไปครอบครองดินแดนมอญ ย้ายเมืองหลวงของพม่ามาตั้งที่หงสาวดี ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของ มอญ และกองทัพที่ยกมาครั้งนั้น ก็เกณฑ์พลทหารมอญเป็นจำนวนมาก วรรณคดี เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย กล่าวถึงเรื่องตามพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งเป็นพระราชพงศาวดารอยุธยา ที่นำมาชำระเรียบเรียงให้ได้เนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช และเป็นฉบับที่ถือเป็นหลักกันมา ดังปรากฏในร่าย ตอนต้นเรื่องว่า \"จักดำเนินในเบื้อง เรื่องราชพงศาวดาร บรรหารเหตุแผ่นภูชูพระยศเจ้าหล้า\"
เพ็ญศรีจันทร์ดวง (๒๕๔๘: ๑๗๖) ได้อ้างถึง ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ที่กล่าวไว้ในหนังสือวิเคราะห์รส วรรณคดีว่าลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีที่จงใจพรรณนาเหตุการณ์ที่คนอ่านหนังสือนั้นรู้เรื่องดีอยู่แล้วเพราะมีอยู่ใน พงศาวดารผู้รจนาดำเนินตามพงศาวดารอันเป็นที่รับรองในสมัยของท่าน มิได้เปลี่ยนแปลงเหตุการณ์อันใด ไม่ได้ตั้งข้อ วิจิกิจฉาในฐานะนักประวัติศาสตร์ลิลิตเรื่องนี้ ถ้าจะเปรียบก็เหมือนว่า กวีได้ยินเรื่องราวเรื่องหนึ่ง ได้ยินแล้วก็วาดภาพ ในมโนของท่าน เป็นภาพที่น่าพิศวง กวีแต่งลิลิตตะเลงพ่ายขึ้น โดยมีจุดประสงค์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวร ดังความในร่ายต้นเรื่อง ว่า \"เฉลิมพระเกียรติผ่านเฝ้า เจ้าจักรพรรดิแผ่นสยาม สมญานามนฤเบศ นเรศวรนรินทร์\" และในโคลงสี่สุภาพ ท้ายเรื่อง ตรงบาทที่ว่า \"จบกลอนเกลาพากย์อ้าง อภิปราย เถลิงเกียรติราชบรรยาย ยศให้\"
ลิลิตตะเลงพ่ายในฐานะวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะดํารงพระยศเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรสทรง พระนิพนธ์ เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย โดยมีพระองค์เจ้ากปิกถาขัตติยกุมารพระนัดดา ของพระองค์ ทรงช่วยนิพนธ์บ้างเล็กน้อย ดังปรากฏหลักฐานในโคลงสี่สุภาพท้ายเรื่อง ในรัชกาลที่ ๓ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดพระเชตุพนวิมล มังคลารามหรือวัดโพธิ์และในปี พ.ศ. ๒๓๙๑ พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการจารึกสรรพวิชาความรู้รวมทั้งวรรณคดีบางเรื่องไว้บนแผ่นหินอ่อน แล้วนําไป ประดับไว้ในวัดแห่งนี้ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เล่าเรียน หรือค้นคว้าวิชาการต่าง ๆ เหล่านั้นได้โดยสะดวก เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ก็ เป็นเรื่องหนึ่งที่โปรดเกล้าฯ ให้กวีทรงพระนิพนธ์ขึ้นในครั้งนั้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาที่ ทรงกระทํายุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา ดังปรากฏในเนื้อความตอนต้นเรื่องว่า เฉลิมพระเกียรติผ่านเผ้า เจ้าจักรพรรดิแผ่น สยามสมญานามนฤเบศนเรศวรนรินทร์ (กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๔: ๔๙)
ลิลิตตะเลงพ่ายในฐานะวรรณคดีประวัติศาสตร์ เนื้อหาการทําสงครามในเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่มีการบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ พันจันทนุมาศ (เจิม) ว่า ในปี พ.ศ. ๒๑๓๓ เมื่อพระเจ้ากรุงหงสาวดีนันทบุเรงทรงทราบว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต กรุงศรีอยุธยา อาจมีเหตุการณ์วุ่นวายแย่งชิงบัลลังก์กัน จึงฉวยโอกาสสั่งให้พระมหาอุปราชาผู้เป็นโอรสยกทัพรุกรานไทย พระมหาอุปราชาเดินทัพมาทางด้าน เจดีย์สามองค์ และเข้าตีเมืองกาญจนบุรีขณะนั้น สมเด็จพระนเรศวรเป็นพรมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา โดยมีสมเด็จพระเอกาทศรถผู้เป็นอนุชา ทรงดํารงตําแหน่งมหาอุปราช เวลานั้นทรงเตรียมทัพจะไปรบเขมร แต่เมื่อทรงทราบข่าวศึกพม่าก็จัดเตรียมทัพรับศึกนอกพระนคร กองทัพของทั้ง สองฝ่ายปะทะกันที่ ตําบลตระพังตรุ จังหวัดสุพรรณบุรี ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวร และของสมเด็จพระเอกาทศรถกําลังตกมัน เมื่อได้ยินเสียง กลองศึก จึงวิ่งเตลิดเข้าไปกลางทัพพม่า ทําให้ทั้งสองพระองค์ตกอยู่ในวงล้อมของศัตรูโดยมีเพียงควาญช้าง และกลางช้างโดยเสด็จเท่านั้น สมเด็จพระนเรศวรทรงสังเกตเห็นพระมหาอุปราชาประทับอยู่ใต้ต้นข่อย จึงเสด็จเข้าไปเชิญพระมหาอุปราชาให้ออกมาทํายุทธหัตถีด้วยกัน พระมหาอุปราชาหมดหนทางเลี่ยงต้องจําใจออกรบด้วยจนขาดคอช้าง เมื่อเสด็จคืนอยุธยาแล้ว สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงปรึกษาโทษแม่ทัพนายก องทั้งหลายที่ตามเสด็จไม่ทันแต่สมเด็จพระวันรัตได้กราบทูลขอพระราชทานโทษแม่ทัพนายกองทั้งหลายที่ตามเสด็จไม่ทันแต่สมเด็จพระวันรัตได้ กราบทูลขอพระราชทานโทษแทนนายทหารเหล่านั้นไว้ได้ (กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๔: ๔๙)
รูปแบบคำประพันธ์ ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วยโคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ โคลงสี่สุภาพ และร่ายสุภาพ ในการแต่งต้องผูกร้อยสัมผัสกัน โดยตลอดทุกบท โคลงสองสุภาพ โคลงสี่สุภาพ โรโโควคคบรเลม่ลรลาืท่งทอัยงง้สปงีงสส่สสรุหลาุภอิะภมลมพงาิัาดตสสพนุพุภตภธ๔๔์าะใ๓า๓เนพ๙พล๓๙วง๑๔รบ๕พร๐บ่ท๕ณาบทยบทบคมททีดี โคลงสามสุภาพ ร่ายสุภาพ
เรื่องย่อ ลิลิตตะเลงพ่าย กรุงหงสาวดีได้ยินข่าวว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรเสด็จขึ้นครองราชย์ คาดว่าน่า จะมีเหตุแย่งชิงราชสมบัติ พระเจ้าหงสาวจึงให้พระมหาอุปราชายกทัพมาเพื่อแสดงแสนยานุภาพ และหากแผ่นดินระส่ำระ ส่ายจะได้ถือโอกาสอีก แม้พระมหาอุปราชาจะถูกว่าโหรทักว่ามีเคราะห์ถึงฆาตแต่กลับโดนตรัสประชดจนต้องยกทัพไป พระมหาอุปราชาเสด็จไปลานางสนมกำนัลด้วยความเศร้าโศก แล้วจึงทูลลาพระเจ้าหงสาวดียกทัพ ออกไป ระหว่าง ทางเดินทัพพระมหาอุปราชาเดินทางด้วยความโศกเศร้าและอาลัยถึงสนมกำนัล พร้อมเจอ ลางร้ายมากมาย เช่น หมอกมืด ลมเวรัมภาพัดจนฉัตรหักจนพระองค์รู้สึกพระทัยเสีย แม้โหรจะพยายามทำนาย ให้ดีก็ยังรู้สึกหนักพระทัย ณ ค่ายพลับพลาหลวง สมเด็จพระนเรศวรทรงพระสุบินว่าน้ำไหลบ่ามาจากทิศตะวันตก พระองค์ ทรงลุยน้ำไปพบ จระเข้ใหญ่ หลังทรงประหารจระเข้ทำให้น้ำที่ไหลบ่ามาหายไป โหรทำนายว่าจะชนะศึก หงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรและ สมเด็จพระเอกาทศรถมีพระบัญชาให้จัดทัพออกโจมตีทันที ช้างทรงของทั้งสอง พระองค์ตกมัน จึงวิ่งเข้าไปกลางวงข้าศึก สมเด็จพระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชายืนช้างหลบร่มอยู่ จึงตรัสทำให้ออกมากระทำยุทธหัตถีกัน ท้ายที่สุด สมเด็จพระนเรศวรทรงมีชัยเหนือพระมหาอุปราชา เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระเอกาทศรถมีชัยเหนือมังจาชโร ทัพพม่าหมด กำลังใจทำศึกจึงถอยหนี ชัยชนะจึงเป็นของ ฝ่ายทัพสยาม
บรรณานุกรม กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). “คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย.” กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสนค้าและพัสดุภัณฑ์. ชนัญญา เตชจักรเสมา. ๒๕๕๙. “เตรียมสอบภาษาไทย ม.ปลาย ฉบับสมบูรณ์.” ใน สินีนุช จันทศรี, บรรณาธิการ. ลิลิตตะเลงพ่าย, ๙๖. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์. นฤมล วิจิตรรัตนะ. “คู่มือเตรียมสอบ วรรณคดีวิจักษ์ ม.๔-๕-๖.” กรุงเทพฯ : ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง, ๒๕๕๙. วชิรญาณ. “ลิลิตตะเลงพ่าย.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://vajirayana.org/ลิลิตตะเลงพ่าย/ตะเลงพ่าย. สืบค้น ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๔. วิบูลศรี กิ่งแก้ว. ๒๕๕๒. “การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเอง วิชาภาษาไทย เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายสําหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล.” สารนิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการ มัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Search
Read the Text Version
- 1 - 9
Pages: