หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book) เรื่องการตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอ วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพว30103 ผู้จัดทำ นางสาวศิรประภา คำพิสัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 เลขที่40 ครูผู้สอน นางสาวรัตนา หมู่โยธา โรงเรียนสตรีราชินูทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมอุดรธานี
การตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอ DNA fingerprint
ลายพิมพ์ DNA คือลำดับเบสที่เป็นเอกลักษณ์ในสิ่งมีชีวิต แต่ละตัวตนหรือบุคคล วิธีตรวจหาลายพิมพ์ DNA มีหลายประเภท เช่น RFLP (RestrictionFragment Length Polymorphism), RAPD (RapidAmplifiedPolymorphic DNA), minisatellite DNA และ microsatelliteDNAเป็นต้น
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอเป็นอย่างไร บนสายดีเอ็นเอจะมีตำแหน่งที่มีท่อนดีเอ็นเอซ้ำๆกัน หลายชุดไม่เกิน100ครั้งอย่างต่อเนื่องและมีเบสซ้ำขนาด 1-6 เบส บริเวณนี้เรียกว่า STR(Short Tandem Repeat) โดยสามารถใช้ลักษณะจำนวนซ้ำของท่อน ดีเอ็นเอเหล่านี้ไม่น้อยกว่า 10 ตำแหน่ง แสดงเป็น ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ(DNA fingerprinting) เพื่อพิสูจน์ ตัวบุคคล หรือพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดได้ เพราะมีความจำเพาะและแตกต่างกันทุกคน
การตรวจลายพิมพ์DNA จากวิธีการ ทำRFLPของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ สามารถ บ่งบอกเอกลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดได้ จากรูปแบบของแถบที่ปรากฏ
การตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอทำได้อย่างไร ขั้นตอนการตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอประกอบด้วย 1. การสกัดดีเอ็นเอจากสิ่งส่งตรวจ เช่น เลือด กล้ามเนื้อ กระดูก เซลล์กระพุ้งแก้ม เซลล์รากผมและอื่นๆ เป็นต้น 2. การเพิ่มปริมาณดีเเอ็นเอตรงส่วนที่เป็น STR ไม่น้อยกว่า 10ตำแหน่ง แล้วนำมาแยกขนาดของ สารพันธุกรรม ก่อนนำไปย้อมสีเพื่อวิเคราะห์ลักษณะ แถบดีเอ็นเอ
3. การเปรียบเทียบลายพิมพ์ดีเอ็นเอ เพื่อใช้หาความสัมพันธ์ หรือพิสูจน์ว่าเป็น ดีเอ็นเอของใคร เช่น ดีเอ็นเอในที่เกิดเหตุกับ ดีเอ็นเอของผู้ต้องสงสัย พิสูจน์ความเป็น พ่อแม่ลูก เป็นต้น
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ มีประโยชน์อย่างไร 1. ใช้ตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ทาง สายเลือด เช่น ตรวจความเป็น พ่อ-แม่-ลูก 2. ใช้ตรวจพิสูจน์ตัวบุคคล ซึ่งมักใช้เป็น หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในการ คลี่คลายคดีต่างๆของพนักงานสอบสวน
3. ใช้ติดตามผลการรักษาทางการแพทย์ เช่น ผลการปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นต้น 4. ใช้ศึกษาความสัมพันธ์ของประชากร แต่ละเผ่า หรือเชื้อชาติ
การแปรผลการตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ในการตรวจความสัมพันธ์ทางสายเลือด 1. กรณีความสัมพันธ์แบบพ่อ แม่ ลูก สมมติว่าทำการ ตรวจดีเอ็นเอเพียงตำแหน่งเดียว ในการตรวจบุตรนั้น เราจะพบว่าดีเอ็นเอของลูกจะต้องมาจากพ่อครึ่งหนึ่ง และมาจากแม่ครึ่งหนึ่งด้วย และต้องไม่มีดีเอ็นเอของลูก แบบใดแบบหนึ่ง ที่พ่อหรือแม่ไม่มีได้เลย
2. กรณีความสัมพันธ์แบบพ่อ- ลูก / แม่-ลูก สมมติว่าทำ การตรวจดีเอ็นเอเพียงตำแหน่งเดียว ดีเอ็นเอของลูกจะต้อง มาจากพ่อครึ่งหนึ่ง หรือมาจากแม่ครึ่งหนึ่งด้วย เมื่อเราตรวจ เปรียบเทียบดีเอ็นเอของพ่อหรือแม่กับลูก จะต้องพบดีเอ็นเอ ของลูกที่มีครึ่งหนึ่งเป็น A หรือ B หรือ C หรือ D และต้องไม่มี ดีเอ็นเอของลูกแบบใดแบบหนึ่งแปลกปลอมที่พ่อหรือแม่ไม่มี
3. กรณีความสัมพันธ์แบบพี่ น้อง สมมติว่าทำการตรวจ ดีเอ็นเอเพียงตำแหน่งเดียว ดีเอ็นเอของลูกจะต้องมาจาก พ่อครึ่งหนึ่ง และมาจากแม่ครึ่งหนึ่งด้วย เราจึงอาจพบ ลักษณะของดีเอ็นเอในแบบต่างๆ ที่อาจไม่ซ้ำกันเลยก็ได้ ถ้าตรวจเพียง 2 ตำแหน่ง อาจแตกต่างกันไปถึง 16 แบบ ดังนั้นเมื่อเราทำการตรวจดีเอ็นเอเพื่อหาความสัมพันธ์ แบบพี่ น้อง อาจพบว่าไม่มีดีเอ็นเอซ้ำกันเลยก็ได้
4. กรณีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ จะเป็นการ แปรผลยากมากขึ้นอีก เพราะอาจพบว่าไม่มี ดีเอ็นเอซ้ำกันเลยได้
บรรณานุกรม http://www.digitalschool.club/digitalschoo l/science1_2_2/science19_1/more/995.php http://pinteacher.com/index.php/knowled ge/15-ebola http://medinfo2.psu.ac.th/medtech/pdf/05_ Pathology%2005.pdf
Thank You For Today!
Search
Read the Text Version
- 1 - 19
Pages: