ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม กองทุนให้เลอื กหลากหลาย ตั้งแต่เสี่ยงน้อยไปถึงเสี่ยงมาก ลองไปสอบถาม รายละเอียดจากธนาคารที่ท่านเป็นลูกค้านะครับ - ซ้ือประกันชีวิตแบบทยอยชํำ�ระเบี้ย การซ้ือประกันชีวิตจัดเป็น ส่วนผสมระหว่างการออมภาคสมัครใจและการคุ้มครองกรณีเสียชีวิต โดยผู้ซ้ือประกันออมเงินด้วยการชํำ�ระเบี้ยประกัน และจะได้รับเงินคนื ตามสัญญาหากเสียชีวิตหรอื เมื่อสัญญาครบกํำ�หนด เท่าที่เคยคํำ�นวณ คร่าวๆ การซ้ือประกันชีวิตจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 2 – 4% ต่อ ปี ทั้งนี้ แทนที่จะชํำ�ระเบี้ยเป็นเงินก้อนใหญ่ปีละครั้ง บริษัทประกันชีวิต หลายแห่งมีทางเลอื กให้ลูกค้าทยอยชํำ�ระเบี้ยเป็นราย 3 เดอื นหรอื ราย เดอื น นับเป็นการสร้างระบบการออมอัตโนมัติอย่างหนึ่ง การทยอยชํำ�ระ เบี้ยอาจทํำ�ให้ท่านจ่ายเบี้ยมากกว่าการชํำ�ระเพียงครั้งเดียว ขอแนะนํำ�ให้ 42 ศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจครับ ผมหวังว่าแนวทางการออมต่างๆ ข้างต้นจะเป็นประโยชน์กับท่าน ผู้อ่าน และเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้ท่านเลือกแนวทางการ สร้างระบบการออมให้กับตนเอง ขอย้ำ�อีกครั้งว่า การสร้างระบบ การออมเพื่อเกษียณเป็นการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับตัว ท่านเองและครอบครัวในระยะยาวครับ
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม เคล็ดลับ 5 ข้อ ออมให้มีเงินพอใช้หลังเกษียณ ในทางปฏิบัติ การออมเงินเป็นเรื่องที่ต้องฝืนใจตนเองอย่างมาก เราลองมาดูกันว่า มีวิธีใดบ้างที่จะช่วยให้เราสามารถออมเงินได้ตาม เป้าหมายครับ 1. ออมภาคบังคับให้เต็มกำ�ลัง การออมภาคบังคับเป็นการสร้าง วินัยการออมที่ดีที่สุด เพราะเรากำ�ลังถูกบังคับให้ออมเงินด้วยการ หักจากเงินเดือนโดยอัตโนมัติ และไม่ปล่อยให้มีเงินค้างในบัญชี ซึ่งจะล่อใจให้นำ�ไปใช้จ่าย ระบบการออมภาคบังคับที่สำ�คัญของไทย คือ กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ซึ่งท่านที่เป็นผู้ประกันตนหรอื สมาชิกกองทุนที่มีจํำ�นวนกว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศในขณะนี้ ได้ออมอยู่ แล้วทุกเดือนในอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้าง นายจ้างช่วยสมทบอีกร้อยละ 3 ของค่าจ้าง มีเพดานค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาท เงินที่ท่านออมเหล่านี้จะ 43ได้รับกลับคนื ไปในรูปของ “บํำ�เหน็จ” หรือ “บํำ�นาญ” เมื่อเกษียณ ท่าน จึงได้ออมเงินกับกองทุนประกันสังคมอยู่แล้วทุกเดอื น ดังตัวอย่างที่แบ่ง ตามกลุ่มรายได้ ดังนี้ - รายได้ 7,000 บาทต่อเดือน ออมกับกองทุนประกันสังคม 210 บาท นายจ้างสมทบอีก 210 บาท รวม 420 บาท - รายได้ 10,000 บาทต่อเดือน ออมกับกองทุนประกันสังคม 300 บาท นายจ้างสมทบอีก 300 บาท รวม 600 บาท - รายได้ 15,000 บาทต่อเดอื นขึ้นไป ออมกับกองทุนประกันสังคม 450 บาท นายจ้างสมทบอีก 450 บาท รวม 900 บาท จะเห็นได้ว่า ในแต่ละเดือน ท่านออมกับกองทุนประกันสังคมเป็น จํำ�นวนไม่มากนัก เช่น ท่านที่มีรายได้ 10,000 บาทต่อเดอื น ท่านออม
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม เพียง 300 บาท (หรอื เพียงวันละ 10 บาท) มีเงินเหลอื ให้ท่านนํำ�ไปใช้ จ่ายอีก 9,700 บาท แถมยังมีนายจ้างช่วยสมทบให้อีก 300 บาท รวม เป็นเงินออมเดือนละ 600 บาท การออมกับกองทุนประกันสังคมจึงไม่ได้ สร้างภาระทางการเงินแต่ประการใด แต่เป็นการสร้างระบบการออมแบบ อัตโนมัติให้กับตัวท่านเอง เพื่อให้มีบํำ�เหน็จหรือบํำ�นาญใช้หลังเกษียณ นอกจากกองทุนประกันสังคมแล้ว ข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุน บํำ�เหน็จบํำ�นาญข้าราชการ (กบข.) ก็จัดว่าอยู่ในระบบการออมภาคบังคับ โดยมีอัตราการออมเงิน 3% + 3% ของรายได้เช่นเดียวกัน หากที่ทำ�งาน ของท่านมีกองทุนสํำ�รองเลี้ยงชีพ หรือสหกรณ์ออมทรัพย์ ขอให้ใช้โอกาส ออมเงินกับกองทุนเหล่านี้ให้เต็มกํำ�ลัง 44 2. ออมก่อนใช้ ไม่ใช่ใช้แล้วเหลอื จึงออม ในกรณีที่ไม่ได้อยู่ในระบบการ ออมภาคบังคับ เราก็สามารถสร้างระบบการออมภาคบังคับได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ โดยธรรมชาติของคนเรานั้นมักจะขาดวินัยในการออม แม้ตั้งใจจะ ใช้จ่ายอย่างประหยัดเพ่ือจะออมให้ได้ ก็มักทํำ�ไม่สํำ�เร็จ เช่น มีเงินเดอื น 20,000 บาท ตั้งใจจะใช้จ่ายแค่ 15,000 บาท เพ่ือจะออมให้ได้เดอื น ละ 5,000 บาท แต่เรามักทํำ�ไม่สํำ�เร็จ พอใกล้สิ้นเดือนก็มีของล่อใจให้ซื้อ หรือเผลอใจไปสร้างภาระให้ตนเองด้วยการซ้ือเคร่ืองใช้ไฟฟ้าหรือโทรศัพท์ มอื ถอื ด้วยเงนิ ผ่อน ในทส่ี ุดก็ไมม่ เี งนิ เหลอื ออม วธิ กี ารแก้ปัญหาการขาดวนิ ัย
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม นี้ ทํำ�ได้ด้วยการปรับแนวคิดใหม่ คอื ออมก่อนใช้ แทนที่จะใช้ก่อนออม นั่น คอื ทันทีที่เงินเดือนออก เช่น ได้เงินเดือน 20,000 บาท ให้โอนเข้าบัญชีเงิน ออมทันที 2,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 18,000 บาทในบัญชีคือส่วนที่นํำ� ไปใช้จ่ายได้ ทํำ�แบบนี้ให้เป็นอัตโนมัติ จะช่วยให้เราตัดความรู้สึก “อยาก” ออกไป และเป็นการสร้างวินัยให้กับตนเองด้วยการออมเงินแบบอัตโนมัติ คํำ�แนะนํำ�ของผมคือ ท่านควรจะออมอย่างน้อยร้อยละ 10-20 ของราย ได้ เช่น ท่านที่มีรายได้เดือนละ 20,000 บาท ควรออมอย่างน้อยเดือนละ 2,000 – 4,000 บาทครับ 3. เปิดบัญชีเงินสํำ�รองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ถึงแม้ว่าเราอยากจะประหยัด แต่ชีวิตคนเราเอาแน่ไม่ได้ครับ ในบางครั้งเราอาจจะมีเหตุจํำ�เป็นต้องใช้เงิน ถึงแม้ว่าท่านผู้อ่านที่เป็นผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองจากกองทุน 45ประกันสังคมในทุกจังหวะชีวิตที่เดอื ดร้อน ไม่ว่าจะเป็นการได้รับความ คุ้มครองกรณี ประสบอันตรายหรอื เจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร หรอื ว่างงาน เป็นต้น ทํำ�ให้ไม่ต้องมีภาระทางการเงิน หรือช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินไปได้บ้าง แต่ในชีวิตคนเรามักจะมีเหตุ จํำ�เป็นที่ต้องใช้เงินอยู่บ้าง เช่น จ่ายค่าเทอมลูก ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ ค่าซ่อมรถ ค่าซ่อมบ้าน ฯลฯ เราจึงควรมีเงินสํำ�รองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ผม ขอแนะนํำ�ว่าให้เปิดบัญชีเงินฝากหรือบัญชีเงินออม แยกต่างหากอีก 1 บัญชี และค่อยๆ “หยอดกระปุก” สะสมไว้เป็นเงินสํำ�รอง การมีเงินสํำ�รองนี้ช่วย ให้เรามีเงินรองรับค่าใช้จ่ายพิเศษต่างๆ ได้โดยที่ไม่ต้องกู้ยืมเงินใครมาใช้ จํำ�นวนเงินในบัญชีสํำ�รองนี้จะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับความมั่นคงทางการ เงิน ท่านที่มีหน้าที่การงานมั่นคง เช่น รับราชการ หรอื เป็นพนักงาน รัฐวิสาหกิจ อาจจะสํำ�รองไว้ประมาณ 2-3 เท่าของเงินเดือน ส่วนท่านที่ ทํำ�งานเอกชน หรือคาดว่ามีแนวโน้มอาจจะต้องเปลี่ยนงานในอนาคต และ
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านที่มีภาระการผ่อนบ้านหรอื ผ่อนรถ ควรจะสํำ�รอง ไว้ประมาณ 3 – 6 เท่าของเงินเดอื น เพื่อให้มั่นใจว่าในช่วงที่ไม่ได้ทํำ�งาน จะยังมีความสามารถในการผ่อนชํำ�ระได้อย่างต่อเนื่อง เร่ืองนี้สํำ�คัญมากนะครับ เพราะหากอยู่ดีๆ เรามีเหตุต้องออกจากงาน แต่เรายังมีภาระการผ่อนบ้าน/ผ่อนรถอยู่ หากไม่มีเงินสํำ�รอง เราก็อาจจะ ต้องไปขอยืมเงินคนอื่นหรือกู้เงินจากแหล่งอื่นซึ่งมักจะคิดดอกเบี้ยแพงกว่า สร้างภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นอีกโดยไม่จํำ�เป็น การ “หยอดกระปุก” เข้าบัญชีสํำ�รองนี้เป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทํำ�ยาก ครับ ท่านจะต้องมีวินัยในตัวเองสูงมาก ทันทีที่มีรายได้พิเศษ มีโบนัส หรอื มีเงินเหลือ ต้องรีบโอนเข้าบัญชีสํำ�รองนี้ทันที อย่าทิ้งไว้ในบัญชีที่ ถอนไปใช้ได้ง่าย หรอื อีกวิธีหนึ่งคือ ทํำ�ระบบการโอนเงินอัตโนมัติตามข้อ 46 2. เริ่มต้นแบบง่ายๆ สัก 2,000 – 3,000 บาทต่อเดอื นเป็นประจํำ�ทุก เดือน ทั้งนี้ บัญชีสํำ�รองไม่ควรมีบัตรเอทีเอ็ม เพราะจะทํำ�ให้เบิกเงินมาใช้ ง่ายเกินไป ทางที่ดี ควรเป็นเป็นบัญชีเงินฝากประจํำ� หรือซ้ือหน่วยลงทุน กองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น มีความมั่นคงและมีสภาพคล่องพอ สมควร เรียกว่า “กองทุนรวมตลาดเงิน” ซึ่งสามารถขายคืนเพ่ือเอาเงิน มาใช้ได้เมื่อจํำ�เป็น แต่ก็ไม่สะดวกมอื จนเกินไป
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 4. ใช้หนี้บัตรเครดิต หนี้ส่วนบุคคล และกํำ�จัดหนี้นอกระบบให้หมด ผมเชื่อว่าเราจะไม่สามารถทํำ�ตามคํำ�แนะนํำ�เรื่องการออมทั้ง 3 ข้อข้างต้น ได้เลย หากยังมีภาระหนี้สินดอกเบี้ยแพงพะรุงพะรัง ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตร เครดิต หนี้ส่วนบุคคล (Personal Loan) หรอื หนี้นอกระบบ เพราะ เรามีภาระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมกับหนี้สินเหล่านี้สูงมาก ประมาณ 15 – 25% ต่อปี ยิ่งปล่อยไว้ภาระหนี้ยิ่งพอกพูน ต้องยอมรับว่าเร่ืองการ ใช้หนี้ดอกเบี้ยแพงให้หมดเป็นเรื่องที่ทํำ�ยากมากครับ เราจะต้องใช้ความ อดทนสูงมากและต้องทํำ�หลายอย่างพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นการตัดรายจ่าย ที่ไม่จํำ�เป็นออกให้หมด เช่น หยุดซ้ือเส้ือผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เที่ยวกลางคนื ลดการทานอาหารนอกบ้าน รวมทั้งเลกิ เหล้า เลกิ บุหร่ี ฯลฯ หารายได้เสรมิ ขายทรัพย์สินส่วนตัวบางส่วนเพื่อนํำ�เงินมาใช้หนี้ และที่สํำ�คัญคอื ต้องไม่ ก่อหนี้ใหม่เด็ดขาด เราอาจจะต้องใช้เวลา 6 เดือน – 1 ปี หรอื มากกว่านั้น 47กวา่ จะท�ำํ ส�ำํ เรจ็ แตห่ ากท�ำํ ได้ เราจะได้เปน็ คนปลอดหน้ที ม่ี คี วามสขุ มากครับ 5. อยากได้อะไรให้เก็บเงินซื้อ อย่าตกเป็นเหยื่อเงินผ่อนดอกเบี้ย 0% ต้องยอมรับว่ากลยุทธ์ทางการตลาดของสินค้าไฮเทคทั้งหลายล้ำ�เลิศ มาก ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถอื , คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค, กล้องดิจิตอล, ipad, iPhone, LCD TV, Home Theater ฯลฯ เราจะถูกจูงใจด้วย ข้อเสนอผ่อนชํำ�ระรายเดอื น อัตราดอกเบี้ย 0% ดูแล้วเหมือนกับเราไม่ได้เสีย อะไรเพราะเป็นการซ้ือเงินผ่อนโดยไม่เสียดอกเบี้ย หารู้ไม่ว่าข้อเสนอแบบนี้ เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดท่ีทำํ�ให้ผู้บริโภครู้สึกว่าตนเองสามารถซ้ือสินค้า ราคาแพงเหล่านี้โดยไม่ต้องใช้เงนิ ก้อน และรู้สึกว่าอยู่ในระดับที่ตนเองซ้ือได้ เช่น iPhone ราคา 20,000 บาท ฟังดูแพงมาก และเราอาจจะไม่มี เงินเก็บมากพอในขณะนี้ แต่เมื่อได้รับข้อเสนอผ่อน 0% เป็นเวลา 10 เดือน ตัวเลขลดลงเหลือ 2,000 บาทต่อเดือน เราเริ่มรู้สึกว่าน่าจะพอไหว ในที่สุดเราก็ต้องติดกับดักก่อหนี้ให้กับตนเอง และเป็นภาระต้องผ่อนส่งไป
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม หลายเดอื นกว่าจะหมด ผมขอแนะนํำ�ว่า ให้ตั้งเป็นกฎกับตนเองไว้ว่า อยากได้อะไรให้เก็บเงินซ้ือ อย่าสร้างภาระให้ตนเองเป็นอันขาด ที่จริงโทรศัพท์มอื ถือราคา 20,000 บาท เก็บเงินไม่กี่เดอื นก็ซื้อได้แล้ว ดีไปกว่านั้นคือ เมื่อเราเก็บเงินได้ครบ เราอาจจะได้ซื้อสินค้ารุ่นเดิมในราคาที่ถูกลง เพราะของพวกนี้ราคาตกเร็ว มาก หรือไม่ก็ได้สินค้ารุ่นใหม่ที่ราคาเท่าเดิมแต่สเปกดีกว่าเดิมครับ 48
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ตั้งเป้าการออมเพ่ือเกษียณ ท่านที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ช่วงอายุ 20 – 35 ปี อาจจะมองข้ามหัวข้อ นี้ไป เพราะเห็นว่าไกลตัว อีกตั้งหลายปีกว่าจะอายุครบ 60 ยังไม่ถึงเวลา ต้องคิดเร่ืองเกษียณอายุ หารู้ไม่ว่า การออมเพื่อวัยเกษียณนั้น เป็นเรื่องจํำ�เป็นที่ต้องทํำ�เสียแต่ เนิ่นๆ ครับ ยิ่งเริ่มก่อนยิ่งได้เปรียบ ที่จริงแล้ว การออมเพื่อวัยเกษียณ เราควรเริ่มตั้งแต่เข้าทํำ�งานด้วยซ้ํำ� ที่เราต้องหันมาสนใจเร่ืองนี้ ก็ไม่ใช่เพื่อใครอื่น เพื่อตัวเราเองครับ ถ้า ท่านผู้อ่านอยู่ในวัยเดียวกับผม คือมีอายุประมาณ 30 – 35 ปี ลองสังเกต ดูว่า คนไทยในสมัยคุณพ่อคุณแม่ของเรานั้นอยู่กันแบบครอบครัวใหญ่ มี พี่น้องหลายคน หลายครอบครัวมีพี่น้อง 5 – 10 คน การที่เป็นครอบครัว ใหญ่ทํำ�ให้ภาระการดูแลคนรุ่นคุณตาคุณยายของพวกเราในด้านการเงิน 49ไม่ค่อยมีปัญหามากนัก ลูกๆ สามารถแบ่งเบาภาระกันได้ และสังคมไทย เองก็เชิดชูคุณธรรมในเร่ืองความกตัญญูด้วย จึงไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่เมื่อมาถึงคนรุ่นปัจจุบัน พวกเราแต่งงานช้าลง เมื่อแต่งแล้วก็มี ลูกน้อยลง มีจํำ�นวนมากที่เลอื กจะอยู่เป็นโสด ไม่แต่งงานด้วยซ้ํำ� เมื่อ เราเกษียณแล้วมีลูกแค่ 1 – 2 คน หรอื ไม่มีลูกเลย เราจะดูแลตัวเราเอง อย่างไร จะเอาเงินที่ไหนมาใช้ ท่านลองถามตัวเองดูนะครับ สมมติว่าท่านจะเกษียณเม่ืออายุ 60 ปี และคาดว่าจะมีอายุยืนไปจนถึง 80 ปี หากคิดว่า ชีวิตหลังเกษียณ ท่าน สามารถดํำ�รงอยู่ได้อย่างสบายๆ ด้วยเงิน 10,000 บาทต่อเดือน ด้วย การถอนเงินทั้งต้นและดอกออกมาใช้จากบัญชีเงินฝากธนาคาร สมมติ ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเท่ากับระดับปัจจุบันคือประมาณ 2.00% ต่อปี ท่านคิดว่าจะต้องมีเงินออม ณ วันที่เกษียณเท่าใดครับจึงจะมีเงินใช้เดอื น ละ 10,000 บาทหลังเกษียณ
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม คำ�ตอบคือ ประมาณ 2,000,000 บาทครับ น่าคิดไหมครับว่า ตลอดชีวิตการทํำ�งานของเรา ประมาณ 30 – 35 ปี เราจะหาเงิน 2 ล้านบาทได้อย่างไร สิ่งที่น่ากลัวมากกว่านั้น คือเงิน 10,000 บาทต่อเดอื นนั้นน่าจะแค่ พอยังชีพได้นะครับ คนเราเมื่อเกษียณแล้วก็คงอยากหาความสุขใส่ตัวบ้าง 50 ด้วยการไปพักผ่อน ท่องเที่ยวต่างจังหวัดหรอื ต่างประเทศ ไหนจะต้องมี เงินเก็บไว้ส่วนหนึ่งสํำ�หรับค่ารักษาพยาบาล เพราะเม่ืออายุมากขึ้น การ เจ็บป่วยก็ตามมาเป็นเรื่องธรรมดา เราอาจจะต้องการมีเงินใช้ 20,000 – 30,000 บาทต่อเดือน ซึ่งก็แปลว่า ณ วันที่เกษียณ ท่านจะต้องมีเงิน ออม 4 – 6 ล้านบาท ก่อนที่ท่านจะกังวลไปมากกว่านี้ ผมมีเคล็ดลับมาบอกครับว่า การจะ มีเงิน 2 ล้านบาท ณ วันที่เกษียณนั้น ไม่ยากเลย เคล็ดลับก็คือว่า
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม หากเรามเี ป้าหมายวา่ ณ วันทเ่ี กษยี ณ เราจะต้องมเี งนิ 2 ล้านบาท และ สมมติว่าท่านออมด้วยการฝากธนาคารเพียงอย่างเดียว อัตราดอกเบี้ย เงินฝาก 2% เท่ากับในปัจจุบัน ท่านที่อายุ 20 ปีในวันนี้จะต้องออมเงิน เพียงเดอื นละ 2,723 บาทเท่านั้น (เฉลี่ยวันละ 90 บาท) ส่วนท่านที่ อายุ 30 ปีพอๆ กับผมจะต้องออมเงินเพิ่มขึ้นอีกหน่อย เป็นเดอื นละ 4 พัน บาท สังเกตได้ว่า ยิ่งเริ่มก่อนยิ่งได้เปรียบ ข่าวดีก็คือว่า หากท่านสามารถวางแผนจัดการเงินออมของท่านให้ดีขึ้น ด้วยการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม ทํำ�ให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้น เป็น 5% ต่อปี เงินที่ต้องออมต่อเดอื นน้อยลงมาก ท่านที่อายุ 20 ปีในวันนี้ จะต้องออมเพียงเดือนละ 1,311 บาทเท่านั้น ส่วนท่านที่อายุ 30 ปี จะต้องออมเพิ่มเป็น 2,403 บาท ส่วนท่านที่อยู่ในวัย 40 – 50 ปีก็ไม่ต้องกังวลนะครับ ถ้าจะเริ่มออม 51เสียแต่วันนี้ก็ยังไม่สายเกินไป ท่านอาจจะต้องออมมากกว่าในแต่ละเดือน แต่เช่ือว่าเม่ือท่านอยู่ในวัย 40 – 50 ปี ท่านน่าจะมีรายได้ค่อนข้างมาก แล้วด้วยหน้าที่การงาน ท่านที่อายุ 50 ขึ้นไปที่มีครอบครัวน่าจะมีภาระ น้อยลงเพราะลูกๆ น่าจะเรียนจบทํำ�งานแล้ว การจะต้องกัดฟันออมเงินให้ ได้สักเดือนละ 15,000 บาทต่อเดอื นน่าจะไม่เกินกํำ�ลังความสามารถครับ ขา่ วดยี ง่ิ กค็ อื วา่ ทา่ นผ้อู า่ นจ�ำํ นวนมากอาจจะได้ออมอยบู่ ้างแล้วผา่ น ระบบการออมตา่ งๆ โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ทา่ นทเ่ี ปน็ ผ้ปู ระกันตนจ�ำํ นวนกวา่ 10 ล้านคนทัว่ ประเทศ ทา่ นได้ออมผา่ น กองทนุ ประกันสังคมกรณชี ราภาพ ได้ออมอยแู่ ล้วทกุ เดอื นในอัตราร้อยละ 3 ของคา่ จ้าง นายจ้างชว่ ยสมทบอกี ร้อยละ 3 ของคา่ จ้าง มเี พดานคา่ จ้างไมเ่ กนิ 15,000 บาท เงนิ ทท่ี า่ นออม เหลา่ น้จี ะได้รับกลับคนื ไปในรปู ของ “บ�ำํ เหนจ็ ” หรอื “บ�ำํ นาญ” เมอ่ื เกษยี ณ ทา่ นจงึ ได้ออมเงนิ กับกองทนุ ประกันสังคมอยแู่ ล้วทกุ เดอื นครับ
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 52
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ส่วนที่ 4 : ภารกิจการนำ�เงิน ออมไปลงทุนให้เกิดดอกผ5ล3
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม สร้างดอกผลจากการนำ�เงินออมไปลงทุน ท่านได้ทราบแล้วว่า ในแต่ละเดอื นที่ท่านผู้ประกันตนถูกหักเงินสมทบ กองทุนประกันสังคมในอัตราร้อยละ 5 ของค่าจ้าง (เพดานไม่เกิน 15,000 บาท) เงินสมทบของท่านในอัตราร้อยละ 3 เป็นเงินออมที่ท่านสะสมไว้เพ่ือ ให้ได้รับสิทธิบํำ�เหน็จหรือบํำ�นาญชราภาพเม่ือท่านเกษียณ นับตั้งแต่เริ่มให้มีสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพเม่ือปี พ.ศ. 2541 สํำ�นักงานประกันสังคมได้ทํำ�หน้าที่จัดเก็บเงินออมของท่านผู้ประกันตน แล้วนํำ�ไปลงทุนเพ่ือให้เงินของท่านเติบโตขึ้น 54
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม หลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง (สัดส่วนรวม 79% ของเงินลงทุน) ประกอบด้วย 1. ตัว๋ เงนิ คลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย เปน็ ตราสารออกโดยรัฐบาลไทย จงึ จัดวา่ มคี วามมัน่ คงสงู สดุ สว่ นใหญ่ สำํ�นักงานประกันสังคมเน้นลงทุนใน พันธบัตรระยะกลางถงึ ยาว ในขณะ น้ีการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลให้ ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบ้ียเงินฝาก ธนาคาร 2. พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ํำ�ประกัน เป็นตราสาร 55ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ถูกจัดเป็นหลักทรัพย์ที่ มั่นคงสูงเพราะได้รับการค้ํำ�ประกันจากกระทรวงการคลัง 3. หุ้นกู้เอกชน เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทเอกชนที่มีกิจการมั่นคง และมีผลกํำ�ไรดี โดยเลือกลงทุนเฉพาะหุ้นกู้ที่ได้รับอันดับเครดิตตั้งแต่ A ขึ้นไป เพราะต้องการเน้นความมั่นคงเป็นหลัก โดยทั่วไปหุ้นกู้เอกชน ให้ผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชย ความเสี่ยง หลักทรัพย์ทม่ี คี วามเสย่ี ง (สัดสว่ นรวม 21% ของเงนิ ลงทนุ ) ประกอบด้วย 4. เงินฝากธนาคาร การที่มีสัดส่วนเงินฝากธนาคารน้อย เพราะเป็น ที่ทราบกันดีว่า หลังจาก พ.ร.บ. คุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้เม่ือเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา ทํำ�ให้วงเงินการคุ้มครองเงินฝากลดลง เรื่อยๆ เงินฝากธนาคารได้เปลี่ยนสถานภาพจากหลักทรัพย์ที่มั่นคงสูง
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม เป็นหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง สํำ�นักงานจึงได้ทยอยลดสัดส่วนเงินฝาก ธนาคารเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงนี้ ประกอบกับช่วงที่ผ่านมา ดอกเบย้ี เงนิ ฝากอยใู่ นระดับต�ำํ่ มากเพยี ง 0.5 – 2.0% เทา่ นัน้ ส�ำํ นักงานจงึ ได้ นํำ�เงินไปลงทุนในพันธบัตรที่มีความมั่นคงสูงกว่าและได้ดอกเบี้ยมากกว่า 5. ตราสารหนี้อ่ืนๆ ส่วนใหญ่เป็นพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวง การคลังไม่ได้ค้ํำ�ประกัน ถึงแม้ว่ารัฐวิสาหกิจจะจัดเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มีความมั่นคง แต่เมื่อไม่ได้รับการค้ํำ�ประกัน เราจึงจัดให้หลักทรัพย์ กลุ่มนี้อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง โดยกองทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” สูงกว่าพันธบัตรอื่นๆ เพ่ือชดเชยความเสี่ยงของการลงทุนใน พันธบัตรกลุ่มนี้ 6. หนว่ ยลงทนุ ประกอบด้วยการลงทนุ 56 ในกองทนุ 2 ประเภทหลัก คอื กองทนุ รวม อสังหารมิ ทรัพย์ เปน็ กองทนุ ทจ่ี ัดตั้งข้นึ เพอ่ื รวบรวมเงนิ ของนักลงทนุ หลายๆ ราย น�ำํ ไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ท่ีสร้างเสร็จ แล้ว มผี ้เู ชา่ อยแู่ ล้ว เพอ่ื สร้างรายได้จาก คา่ เชา่ โดยทัว่ ไปการลงทนุ ประเภทน้จี ะได้ รับผลตอบแทนในรปู ของ “เงนิ ปันผล” ใน อัตราประมาณ 6.0 – 9.0% ตอ่ ปี และ กองทุนรวมท่ีลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ประเทศ เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้สำ�นักงานสามารถแบ่งเงิน ลงทุนส่วนหนึ่งไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงในต่างประเทศ โดยเน้นลงทุนเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศและหุ้นกู้เอกชนต่าง ประเทศที่มีเครดิต A ขึ้นไป สูงกว่าเครดิตของรัฐบาลไทย มีการติดตาม กํำ�กับการทํำ�งานและควบคุมความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเคร่งครัด
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 7. หุ้นสามัญ เป็นการลงทุนในหุ้นของกิจการที่มีความมั่นคงและมี ผลกํำ�ไรดี โดยสํำ�นักงานเน้นลงทุนในระยะยาว เพ่ือให้ได้รับผลตอบแทน ทั้งในรูปของมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้น และในรูปของ “เงินปันผล” โดยสํำ�นักงาน มีทีมงานวิเคราะห์ที่เข้มแข็ง และมีหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดในการคัดเลอื กหุ้น แต่ละตัวที่จะลงทุน ทํำ�ให้สํำ�นักงานมีการลงทุนเฉพาะในหุ้นที่มีความ มั่นคงและมีปัจจัยพื้นฐานดีเท่านั้น จากข้อมูลทั้งหมดข้างต้น ท่านจะเห็นได้ว่า การลงทุนของกองทุน ประกันสังคมนั้นเน้น “ความมั่นคง” เป็นหัวใจสํำ�คัญ เงินออมของท่าน โดยส่วนใหญ่ถูกนํำ�ไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ซึ่งล้วนแต่มีความมั่นคงสูงมาก มีบางส่วนที่แบ่งไปลงทุนในหุ้นที่ถึงแม้ว่า จะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่สํำ�นักงานก็เน้นการลงทุนระยะยาวเพ่ือให้ได้ 57รับผลตอบแทนสูงขึ้น
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ขั้นตอนการตัปดรสะินกใจันลสงังทคุนมของสํำ�นักงาน ภารกิจหลักอีกอย่างหนึ่งของสํำ�นักงานประกันสังคม ที่กฎหมายให้ อํำ�นาจไว้ตามที่ระบุใน มาตรา 26 ของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 คือการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่ คณะกรรมการประกนั สงั คมก�ำํ หนด โดยความเหน็ ชอบของกระทรวงการคลงั ดังนั้นนอกจากการจัดเก็บเงนิ สมทบและจา่ ยสทิ ธปิ ระโยชน์แล้ว สำํ�นักงาน ยังมีหน้าที่ในการบริหารกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน ด้วยการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถนํำ�เงินไปลงทุนในตราสาร การเงินประเภทต่างๆ ที่มีระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ตามประเภทหลักทรัพย์และสัดส่วนที่กํำ�หนดไว้ 58 โครงสร้างการตัดสนิ ใจลงทนุ พ.ร.บ. กำหนดให้มีระเบียบว่ำดว้ ยกำรจดั หำผลประโยชน์ สปส. คณะกรรมการ กำหนดนโยบำยกำรลงทุน ควบคุมกำรดำเนินงำน ประกนั สังคม และกำรลงทุนใหเ้ ป็นไปตำมนโยบำย คณะอนุกรรมการบริหาร กำหนดกรอบ รำยละเอียดกำรลงทนุ กลนั่ กรอง และ การลงทุน ให้คำแนะนำต่อคณะกรรมกำรประกนั สงั คม สานกั งานประกันสังคม ปฏิบตั ิกำรลงทุนตำมกรอบ รำยละเอียด แผนกำร ลงทุน และนโยบำยที่กำหนด ในการนำ�เงินสมทบของผู้ประกันตนไปลงทุนเพ่ือให้เกิดดอกผลนั้น สํำ�นักงานประกันสังคมมีขั้นตอนการตัดสินใจลงทุนตามลํำ�ดับดังนี้
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 1. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 26 ได้กํำ�หนด ให้การบริหารจัดการลงทุนของกองทุนประกันสังคมเป็นไปตามระเบียบ ที่คณะกรรมการประกันสังคมกํำ�หนดโดยความเห็นชอบของกระทรวง การคลัง ซึ่งปัจจุบันการลงทุนได้ดํำ�เนินการตามระเบียบคณะกรรมการ ประกันสังคม ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2549 2. คณะกรรมการประกันสังคม มีหน้าที่กํำ�หนดกรอบนโยบายการ ลงทุน โดยกรอบการลงทุนฉบับปัจจุบันมีชื่อว่า “ระเบียบคณะกรรมการ ประกันสังคม ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2549” ซึ่งกํำ�หนดให้กองทุนประกันสังคมลงทุนในหลักทรัพย์ ที่มีความมั่นคงสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเงินกองทุน และลงทุนใน หลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ไม่เกินร้อยละ 40 ของเงินกองทุน นอกจากนี้ 59คณะกรรมการประกันสังคมยังมีบทบาทสํำ�คัญในการพิจารณาให้ ความเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การลงทุน (แผน 5 ปี) และแผนการลงทุน ประจํำ�ปี รวมทั้งติดตามผลการดํำ�เนินงานด้านการลงทุนอย่างสม่ํำ�เสมอ ทั้งนี้ หากมีข้อเสนอการลงทุนใดที่มีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ ต่อกองทุนประกันสังคมแต่อยู่นอกเหนือแผนการลงทุน จะต้องขอ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคมเป็นรายกรณี 3. คณะอนุกรรมการบริหารการลงทุน กองทุนประกันสังคม มีหน้าที่ กํำ�หนดกรอบ รายละเอียดการลงทุน กลั่นกรอง และให้คํำ�แนะนํำ�แนวทาง การปฏิบัติงานด้านการลงทุน ทํำ�ให้การกํำ�หนดนโยบายการลงทุนมี ความรอบคอบรัดกุมมากขึ้น โดยคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุนชุด ปัจจุบันประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละ 4 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินและการลงทุนจํำ�นวน 6 คน และผู้แทน หน่วยงานตรวจสอบต่างๆ อีก 3 คน ได้แก่ ผู้แทนกระทรวงการคลัง,
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ผู้แทนสํำ�นักงานคณะกรรมการกํำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย 4. สํำ�นักงานประกันสังคม ทํำ�หน้าที่ดํำ�เนินการลงทุนตามกรอบการ ลงทุนและแผนการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการประกันสังคม โดยจะต้องรายงานการลงทุนต่อคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุน และ ต่อคณะกรรมการประกันสังคม เป็นประจํำ�ทุกเดอื น เพ่ือให้ผู้แทนทั้งฝ่าย นายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และฝ่ายรัฐบาล ได้ตรวจสอบการจัดการลงทุน อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ มีสํำ�นักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบ เป็นประจํำ� เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ประกันตน 60
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม กรอบการลงทุน การลงทนุ ของกองทนุ ประกนั สงั คมเปน็ ไปตาม “ระเบียบคณะกรรมการ ประกันสังคม ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2549” ซึ่งกำ�หนดให้สำ�นักงานประกันสังคมมีหน้าที่นำ�เงิน กองทุนไปจัดหาผลประโยชน์โดยลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ ดังนี้ (1) ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ํำ�กว่าร้อยละ 60 ของ เงินกองทุน ได้แก่ - ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล - พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ํำ�ประกัน - เงินฝากธนาคารที่ได้รับการค้ํำ�ประกัน - หุ้นกู้เอกชนที่ได้รับการจัดอันดับเครดิต (2) ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงไม่เกินร้อยละ 40 ของเงิน 61กองทุน ได้แก่ - ตราสารหนี้อื่นๆ - หน่วยลงทุน (รวมการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ และกองทุน รวมอสังหาริมทรัพย์) - หุ้นสามัญ ทั้งนี้ เงินลงทุนจํำ�นวนกว่า 9 แสนล้านบาทในปัจจุบัน แบ่งลงทุน ในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง คิดเป็นร้อยละ 80 ของเงินลงทุน และ ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 20 ของเงินลงทุน
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม คำ�ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับการลงทุน แวดวงการเงินและการลงทุนมีคํำ�ศัพท์ที่ใช้กันเป็นการเฉพาะจํำ�นวน มาก หลายคํำ�เข้าใจยาก ในตอนนี้ผมจึงขอนํำ�คํำ�ศัพท์พ้ืนฐานเกี่ยวกับ การลงทุนมาอธิบายเพื่อให้ท่านเข้าใจง่ายขึ้นนะครับ 1. ตราสารหน้ี ตราสารหนี้ เป็นตราสารที่แสดงสัญญาการกู้ยืมเงิน โดยผู้ออก ตราสาร (ลูกหนี้) สัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นให้แก่ผู้ถือ ตราสาร (เจ้าหนี้) เมื่อครบกํำ�หนดหรือจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆแล้วแต่จะ ตกลงกัน ผู้ออกตราสารเป็นได้ทั้งรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ นิติบุคคลเฉพาะ และ 62 เอกชน ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ องค์กรของรัฐ หรอื รัฐวิสาหกิจ เรียกว่า “พันธบัตร” หากออกโดยภาคเอกชนหรือบริษัทต่างๆ เรียกว่า “หุ้นกู้”นอกจากนี้ ยังมีหลักทรัพย์อีกหลายชนิดที่จัดเป็นตราสารหนี้ อาทิ ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน รวมทั้ง เงินฝากธนาคาร ก็จัดเป็นตราสารหนี้เช่นกัน โดยทั่วไป ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล หรอื หน่วยงานของรัฐ เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ จัดเป็นตราสารที่มีความ มั่นคงสูงกว่าตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน 2. พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐบาล คือตราสารที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็น ผู้ออก ซึ่งสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นให้แก่ผู้ถือเมื่อครบ กํำ�หนดหรือจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆแล้วแต่จะตกลงกัน รัฐบาลจะออก พันธบัตรรัฐบาลเพื่อกู้ยืมเงินจากประชาชนและผู้ซื้อพันธบัตรจะมี ฐานะเป็น “เจ้าหนี้” ของรัฐบาลตามกฎหมาย
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ในประเทศไทย เราจะถือว่ารัฐบาลคอื ผู้กู้เงินที่มีเครดิตดีที่สุด มีโอกาส ที่จะไม่ชํำ�ระคืนน้อยที่สุด การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลจึงจัดเป็น หลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง พันธบัตรมีการระบุอายุครบกํำ�หนดชัดเจน เช่น พันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 ปี ผู้ที่ถอื พันธบัตรจะได้เงินต้นคนื เม่ือสิ้นปีที่ 5 แต่ระหว่างทางจะ ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กํำ�หนด ปจั จบุ นั ส�ำํ นกั งานประกนั สงั คมไดน้ �ำํ เงนิ ออมของทา่ นไปลงทนุ ในพนั ธบตั ร รฐั บาล (รวมทง้ั ตว๋ั เงนิ คลงั และพนั ธบตั รธนาคารแหง่ ประเทศไทย) เปน็ เงนิ มากกวา่ 6 แสนลา้ นบาทครบั 3. พันธบัตรรัฐวสิ าหกจิ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจคือตราสารหนี้ระยะกลางถึงระยะยาวที่ออกโดย 63รัฐวิสาหกิจซึ่งจัดเป็นหน่วยงานของรัฐ ส่วนใหญ่จะได้รับการค้ํำ�ประกัน โดยกระทรวงการคลัง ผลตอบแทนของพันธบัตรจะขึ้นอยู่กับ อัตราดอกเบี้ยของตลาดเงินในขณะนั้น ระดับความเสี่ยง และระยะเวลา ครบกํำ�หนดไถ่ถอน ตัวอย่างพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่สํำ�นักงานประกันสังคมลงทุน ได้แก่ พันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พันธบัตรการไฟฟ้าส่วน ภูมิภาค พันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 64
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 4. หุ้นก้เู อกชน หุ้นกู้คือตราสารที่บริษัทต่างๆออกเสนอขายให้ผู้ลงทุนเพื่อต้องการ กู้ยมื เงิน ผู้ถอื หุ้นกู้หรอื ผู้ลงทุนในหุ้นกู้ก็คือ“เจ้าหนี้”ของบริษัท ได้รับ ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย หุ้นกู้จะมีกํำ�หนดอายุที่แน่นอน กํำ�หนดวันจ่าย ดอกเบี้ยที่แน่นอน และอาจมีระบุเงื่อนไขปลีกย่อยอ่ืนๆอีก ความเสี่ยงการ ลงทุนในหุ้นกู้ที่สํำ�คัญที่สุดก็คอื ความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินต้นคนื ถ้าผู้ออก หุ้นกู้ผิดนัดชํำ�ระหนี้ การลงทุนในหุ้นกู้ก็เหมือนกับการปล่อยกู้ ซึ่งเราต้องวิเคราะห์ ความสามารถในการชํำ�ระหนี้ของผู้กู้ก่อน ประกอบกับผู้ออกตราสารเป็น บริษัทเอกชน ซึ่งโดยทั่วไปมีความน่าเชื่อถือหรือเครดิตด้อยกว่ารัฐบาล กฎหมายจึงบังคับให้ผู้ออกหุ้นกู้จัดให้มีการประเมินอันดับเครดิตโดย ผู้จัดอันดับความน่าเช่ือถือ ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเช่ือถือจะช่วยให้ 65ผู้ลงทุนสะดวกขึ้นที่จะประเมินความเสี่ยง อันดับเครดิตกลุ่มใหญ่ที่เรียง ลํำ�ดับจากมั่นคงมากไปมั่นคงน้อย คอื AAA, AA, A, BBB, BB, B, CCC, CC.....ไปเร่ือยๆจนถึง D โดยปกติหุ้นกู้ที่มีคุณภาพดีควรจะมีอันดับเครดิต BBB ขึ้นไปเราเรียก หุ้นกู้กลุ่มนี้ว่า มีคุณภาพสามารถลงทุนได้ (Investment Grade) 5. เงนิ ฝากธนาคาร เงินฝากธนาคารจัดเป็นตราสารหนี้ชนิดหนึ่ง เพราะเป็นสัญญาการ กู้ยมื เงินโดยธนาคาร(ลูกหนี้)สัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นให้แก่ ผู้ฝากเงิน (เจ้าหนี้) เม่ือครบกํำ�หนดหรือจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆแล้วแต่จะ ตกลงกัน ในอดีตที่ผ่านมา เงินฝากธนาคารได้รับการค้ํำ�ประกันโดยรัฐบาล จึงถูกจัดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงมาโดยตลอด อย่างไรก็ดี
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม รัฐบาลได้จัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และมีแผนจะปรับลดวงเงินการ ค้ํำ�ประกันเงินฝากเหลอื ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อผู้ฝากหนึ่งรายในอนาคต เงินฝากธนาคารส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทจะกลายเป็นหลักทรัพย์ที่มีความ เสี่ยง การที่สำ�นักงานประกันสังคมมีสัดส่วนเงินฝากธนาคารน้อย นอกจากเรื่องการลดวงเงินค้ํำ�ประกันแล้ว ช่วงที่ผ่านมาดอกเบี้ยเงินฝาก อยู่ในระดับต่ํำ�มากเพียง 0.5 – 2.0% เท่านั้น สํำ�นักงานจึงได้นํำ�เงินไป ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีความมั่นคงสูงกว่าและได้ดอกเบี้ยมากกว่า 6. หนว่ ยลงทนุ หน่วยลงทุน คือตราสารที่แสดงความเป็น“เจ้าของ”ส่วนหนึ่งของ 66 “กองทุนรวม” ซึ่งเป็นการรวบรวมเงินทุนจากนักลงทุนทั่วไป คนละเล็ก คนละน้อย เพ่ือรวมเป็นเงินก้อนขนาดใหญ่ แล้วนํำ�เงินที่รวบรวมนั้นไป ลงทุนตามที่ได้ตกลงกับนักลงทุน กองทุนที่รวบรวมเงินที่ได้นี้จะได้รับ การบริหารจัดการจากบริษัทจัดการกองทุนซึ่งมีหน้าที่ลงทุนแทน นักลงทนุ หรอื ผ้ถู อื หนว่ ยลงทนุ และมกี ารจัดตั้งผ้ดู แู ลผลประโยชน์เพม่ิ ข้นึ มา อีกซึ่งกฎหมายจะกํำ�หนดเอาไว้ เพ่ือคอยดูแลเงินกองทุนนั้นแทนนักลงทุน ที่นํำ�เงินมาลงทุน หลักทรัพย์ที่กองทุนรวมนํำ�เงินไปลงทุนมีหลากหลาย อาทิ พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ ทองคํำ� เป็นต้น ในกรณีที่นํำ�ไปลงทุนแล้วได้ กํำ�ไร ผู้ลงทุนในหน่วยลงทุนก็จะได้รับกํำ�ไรไปด้วย มากหรอื น้อยตาม สัดส่วนหน่วยลงทุนที่ตนเองถืออยู่ โดยที่อาจจะได้ส่วนแบ่งกํำ�ไรเป็น เงินปันผล หรอื หน่วยลงทุนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ในกรณีที่กองทุนรวมนํำ�เงิน ไปลงทุนแล้วขาดทุน ผู้ลงทุนก็จะต้องรับผลขาดทุนตามสัดส่วนเช่นกัน ส�ำํ นกั งานมกี ารลงทนุ ใน “หน่วยลงทุน” ของกองทนุ รวมอสงั หารมิ ทรพั ย์
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม และกองทนุ รวมทล่ี งทนุ ในตา่ งประเทศ ทง้ั 2 กลมุ่ นเ้ี ปน็ การลงทนุ ทจ่ี �ำํ เปน็ ตอ้ ง ใชผ้ จู้ ดั การกองทนุ ทม่ี คี วามช�ำํ นาญเฉพาะดา้ น 7. ตราสารทนุ ตราสารทุน เป็นตราสารที่แสดงความเป็น “เจ้าของ” ต่างจาก ตราสารหนี้ที่แสดงความเป็น “เจ้าหนี้”ดังนั้น บริษัทผู้ออกตราสารทุนจึง 67ไม่ต้องสัญญาว่าจะชํำ�ระดอกเบี้ยหรือเงินต้นคืนเหมือนผู้ออกตราสารหนี้ แต่ผู้ถือตราสารทุนในฐานะ “เจ้าของ” มีสิทธิออกเสียงเพ่ือควบคุมการ ดํำ�เนินงานของบริษัทและมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกรณีที่กิจการมีผลกํำ�ไร ตัวอย่างของตราสารทุน ได้แก่ หุ้นสามัญ และ หุ้นบุริมสิทธิ์ 8. หุ้น หุ้น เป็นตราสารทุนชนิดหนึ่งที่ออกโดยบริษัทเพื่อแสดงความเป็น “เจ้าของ” โดยแบ่งหน่วยความเป็นเจ้าของตามสัดส่วนจํำ�นวนหุ้นที่มีถอื อยู่ ผู้ถือหุ้นจะมีสิทธิ์ออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นได้มากเท่ากับสัดส่วนของ หุ้นที่ถอื บริษัทที่ออกหุ้นไม่มีภาระต้องชํำ�ระดอกเบี้ยหรือเงินต้นคืนเหมือนการ ลงทุนในหุ้นกู้ แต่ตราบใดที่กิจการมีกํำ�ไร ผู้ถือหุ้นในฐานะ “เจ้าของ” มี สิทธิได้รับปันส่วนกํำ�ไรนั้นในรูปของ “เงินปันผล (Dividend)” นอกจากนี้
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม หากบริษัทเติบโตและมีกํำ�ไรอย่างต่อเน่ือง มูลค่าของหุ้นโดยทั่วไปมักจะ ปรับเพิ่มขึ้น ผู้ถอื หุ้นสามารถขายหุ้นในราคาที่สูงกว่าที่ซื้อมา ได้รับผล ตอบแทนอีกส่วนหนึ่งที่เรียกกันว่า “กํำ�ไรจากการขาย (Capital Gain)” อีกด้วย เนื่องจากบริษัทที่ออกหุ้นไม่มีภาระต้องชํำ�ระดอกเบี้ยหรือเงินต้นคืน การลงทุนในหุ้นจึงมีความเสี่ยงสูงกว่าพันธบัตรและหุ้นกู้ แต่หากลงทุน ในระยะยาว การลงทุนในหุ้นก็มักจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นกู้และ พันธบัตรเพ่ือชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น การลงทุนในหุ้นนั้นแม้จะมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาใน ระยะสั้น แต่หากมีวินัยการลงทุนที่เคร่งครัด คัดเลอื กลงทุนเฉพาะในหุ้น ของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี เน้นรับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล และเน้น 68 ลงทุนระยะยาวตั้งแต่ 5-10 ปีขึ้นไป การลงทุนในหุ้นจะให้ผลตอบแทนสูง กว่าการลงทุนในเงินฝากธนาคารและพันธบัตรมาก ซึ่งกองทุนประกัน สังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีชราภาพจํำ�เป็นต้องแสวงหาดอกผลจากการ ลงทุนในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้กองทุนมีเงินเพียงพอสํำ�หรับการจ่าย บํำ�นาญชราภาพในอนาคต
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 69
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 70
ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ประวัติผู้เขียน วิน พรหมแพทย์ เริ่มรับราชการที่สํำ�นักบริหารการลงทุน สํำ�นักงานประกันสังคม 71 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ปัจจุบันดํำ�รงตํำ�แหน่ง หัวหน้ากลุ่มงานลงทุน รับผิดชอบ การบริหารทีมงานลงทุน ทั้งกองทุนประกันสังคมซึ่งมีเงินลงทุนมากกว่า 9 แสน ล้านบาท และกองทุนเงินทดแทนซึ่งมีเงินลงทุนมากกว่า 35,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการของ คณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกองทุน และเป็นรองโฆษก สํำ�นักงานประกันสังคม วินจบการศึกษาระดับ ป.ตรี เศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับ ป.โท บริหารธุรกิจจาก Erasmus University ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยได้รับทุนรัฐบาล (ก.พ.) สอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst และมีรายชื่อขึ้นทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็น ผู้จัดการกองทุน (Fund Manager License) วินเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาการเงิน ที่มหาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และที่สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) และได้รับรางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจํำ�ปี พ.ศ. 2549
ออมทุกเดือนกับ กองทนุ ประกันสงั คมกรณชี ราภาพ เมื่อเกษียณ มีสทิ ธริ ับบาำ เหนจ็ หรือบาำ นาญ (อายไุ ม่ต่ำากว่า 55 ปีบริบรู ณ)์ สมทบไม่ครบ 180 เดือน มสี ทิ ธิรับบำาเหน็จ จา่ ยเปน็ กอ้ นครั้งเดยี ว สมทบครบ 180 เดือนขึ้นไป มีสทิ ธริ บั บาำ นาญ จา่ ยเปน็ รายเดือนตลอดชวี ติ มีขอ้ สงสยั สอบถามเพมิ่ เติมไดท้ ี่ สาำ นักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พ้ืนที่/จงั หวัด/สาขา ทุกแหง่ โทร. 1506 หรือ www.sso.go.th อยากร้เู รื่อง การออมและการลงทนุ กับกองทนุ ประกันสงั คม ติดตามได้ที่ Facebook.com/SSOSavingsClub
Search