คำนำ โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) ตำบลออนใต้ เป็นโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP และ เกษตรอินทรีย์ สำหรับรองรับการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ โดย หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ภายใต้การดำเนิน งานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ใน พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย เทศบาลตำบลออนใต้ กลุ่ม วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ออนใต้ กลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน กลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์ ม.6 แม่ผาแหน ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร สาขาแม่ออน โครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 (สวพ.) จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ สมาคม ธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมภายใต้อัตลักษณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น อันก่อให้เกิดรายได้และการจ้างงานในชุมชน ที่ยั่งยืน อาจารย์ผู้รับผิดชอบและทีมงานตำบลออนใต้ (1)
สารบัญ หน้า คำนำ (1) สารบัญ (2) บทที่ 1 ข้อมูลสำคัญ ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับตำบลออนใต้ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับหมู่ บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ออนใต้ 5 ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลออนใต้ 6 บทที่ 2 ผู้ผลิตเด่นในตำบลออนใต้ รายชื่อผู้ผลิตเด่นและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 10 ผลิตภัณฑ์เด่นที่ทำการผลิต 14 บทที่ 3 การสังเคราะห์องค์ความรู้ตำบลออนใต้ยั่งยืน 28 การสังเคราะห์องค์ความรู้ตำบลออนใต้ยั่งยืน 33 การวิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้อสู่ความสำเร็จ ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานในตำบลในอนาคต 37 ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการเชื่อมโยงผลการดำเนินงาน 39 ในระดับตำบลกับหน่วยปฏิบัติการ ข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงการเรียนการสอน/หลักสูตร 45 (2)
บทที่ 1 ข้อมูลสำคัญ
ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับ ตำบลออนใต้ ที่ตั้งและขนาด ตำบลออนใต้ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอสันกำแพง มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 43,682.5 ไร่ หรือ 69.892 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลร้องวัวแดง โดยใช้น้ำแม่ออนเป็นแนวแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลทาเหนือ โดยใช้สันเขาเป็นแนวแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลออนกลาง โดยใช้คันนาเป็นแนวแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลแช่ช้าง โดยใช้เหมืองลึกเป็นแนวแบ่งเขต ระยะห่างจากตัวอำเภอประมาณ 10 กิโลเมตร และมีระยะห่างจากที่ว่าการ อำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร -1-
มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ 1 บ้านป่าเหียง หมู่ 2 บ้านโห้ง หมู่ 3 บ้านริมออน หมู่ 4 บ้านป่าแงะ หมู่ 5 บ้านริมออนใต้ หมู่ 6 บ้านแม่ผาแหน หมู่ 7 บ้านป่าตึง หมู่ 8 บ้านปง หมู่ 9 บ้านป่าห้า หมู่ 10 บ้านแพะ หมู่ 11 บ้านป่าเปางาม มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 5,322 คน มีอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ อาชีพเสริม คือ การเป็นผู้ผลิตวิสาหกิจชุมชน รองรับการเป็ นหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ -2-
ข้อมูลสำคัญทาง ประวัติศาสตร์ “ชุมชนออนใต้” เป็นชุมชนที่พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ ถึง 9 ครั้ง โดยทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ให้พิจารณาดำเนินการก่อสร้าง อ่างเก็บน้ำห้วยลาน อ่างเก็บน้ำดอยโตน และอ่างเก็บน้ำห้วยไร่ เพื่อพัฒนา แหล่งน้ำในพื้นที่สำหรับการส่งน้ำให้กับ กิจกรรมพัฒนาด้านป่าไม้ ด้านประมง และด้านเกษตรกรรมของราษฎร โดย กรอบของการพัฒนา อาศัยหลักการ “ต้องระเบิดจากข้างใน” สำหรับการ สร้างความเข้มแข็งให้คนและครอบครัว ในชุมชนที่เข้าไปพัฒนา ให้มีความพร้อม ที่จะพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมา สู่สังคมภายนอก -3-
บ้านจุ้มเมืองเย็น บ้านจุ้มเมืองเย็น หมายถึง บ้านที่อุดมสมบูรณ์ เมืองที่สงบร่มเย็นแสดงความเป็นตัวตนของ ชุมชนในพื้นที่ตำบลออนใต้ ซึ่งมีบรรพบุรุษจาก “พันนาภูเลา” เมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงราย คำว่า “จุ้ม” หมายถึง มีน้ำอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำ 3 สาย ได้แก่ น้ำแม่ออน น้ำแม่ผาแหน น้ำแม่ลาน และอ่างเก็บน้ำโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ จำนวน 2 แห่ง คำว่า “เมืองเย็น” หมายถึง สถานที่ที่สงบร่มเย็น เป็นสุข ด้วยวัฒนธรรมประเพณีอยู่ใต้ร่มเงา พระพุทธศาสนา -4-
หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ออนใต้ ในปี 2559 กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดทำโครงการ อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม การพัฒนาหมู่บ้าน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยเน้นให้มีการ ส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยวมีความ ได้เปรียบเชิงวัฒนธรรม และได้มีการคัดเลือกชุมชน ออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็น 1 ใน 9 ชุมชนจากทั่วภูมิภาคของไทย สำหรับ การเป็นชุมชนต้นแบบเพื่อเป็น “หมู่บ้าน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์” (Creative Industry Village: CIV) ที่มีการนำทุนวัฒนธรรม วิถีชีวิต มาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้วิถีชีวิตแบบ “บ้านจุ้ม เมืองเย็น” หรือบ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ ภายใต้ภูมิปัญญาของท้องถิ่น -5-
หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หมายถึง การนำภูมิปั ญญาและความเจริญรุ่งเรืองภายใน ชุมชนพื้นที่ต่าง ๆ โดย ตัวอักษร C มาจากความอ่อนช้อยของรูปทรงเครื่อง ถ้วยโบราณ ตัวอักษร I เปรียบเสมือนลำเทียนที่ให้ความสว่าง ดุจปั ญญา ตัวอักษร V หมายถึง การบรรจบกันของสายธาร ความคิดแล้วแตกยอดเจริญขึ้นอีก โดยพื้นกรอบสีฟ้ าของสัญลักษณ์ แทนค่าความ กว้างไกลของชุมชนต่าง ๆ ในผืนแผ่นดินไทย แนวคิดในการดำเนินหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ คือ หมู่บ้านแห่งความสมดุลที่นำทุน ทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตมาผนวกกับความคิด สร้างสรรค์และการออกแบบ เพื่อสร้างมูลค่าใหม่ทาง เศรษฐกิจบนแนวคิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ให้กับสินค้าที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวและบริการ -6-
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ตำบลออนใต้ - งานประดิษฐ์จากผ้าและเศษผ้า ได้แก่ ผ้าทอมือ - สินค้าที่ระลึก เซรามิก เครื่องปั้ นดินเผา สบู่สมุนไพร ข้าวไรซ์เบอรี่ กล้าไม้และเกษตรอินทรีย์ เครื่องจักสาน ผลิตภัณฑ์ประดิษฐ์จากกะลามะพร้าว ผลิตภัณฑ์จักสาน ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก - กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ข้าวแต๋นน้ำแตงโม น้ำพริก น้ำมัลเบอร์รี่เข้มข้น - กลุ่มโฮมสเตย์ ได้แก่ การจัดที่พักรองรับนักท่องเที่ยว - กลุ่มศูนย์เรียนรู้และบริการ ได้แก่ การนวดแผนไทย การเรียนรู้วิธีการทำเกษตรแบบผสมผสาน - กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย กลุ่มทอผ้าฝ้าย บ้านปงห้วยลาน และงานเซรามิกเขียนลายเชิงอนุรักษ์ -7-
ในปี 2563 มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ดำเนินงานในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว อุตสากรรมสร้างสรรค์ออนใต้ โดยมี นายภิญโญ วิสัย เป็นประธานกลุ่ม สมาชิกลุ่มประมาณ 40 ราย ดำเนิน การท่องเที่ยวแบบครบวงจรในพื้นที่ ประกอบด้วย การจัดบริการท่องเที่ยวโดยผู้สื่อความหมายท้องถิ่น การบริการที่พักในรูปแบบโฮมสเตย์ การบริการ อาหารและเครื่องดื่ม การจัดกิจกรรมศูนย์เรียนรู้ -8-
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์ ม. 6 บ้านแม่ผาแหน เป็นการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกผัก อินทรีย์ออนใต้ มีนายอนนต์ มโนวงศ์ เป็นประธาน กลุ่ม สมาชิกกลุ่มประมาณ 25 ราย ทำการปลูกพืชผัก สำหรับการบริโภคในครัวเรือนและการจำหน่ายให้แก่ ลูกค้า ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภายใต้ความร่วมมือ ของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 1 เชียงใหม่ โดยได้เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป การแสดงฉลาก และการจัดจำหน่ายตาม มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ -9-
บทที่ 2 ผู้ผลิตเด่นในตำบลออนใต้
รายชื่อผู้ผลิตเด่น และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน - 10 -
รายชื่อวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์ - 11 -
แผนที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ OTOP ภายในตำบลออนใต้ - 12 -
แผนที่ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ตำบลออนใต้ - 13 -
ผลิตภัณฑ์เด่น ในตำบลออนใต้
ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูปหญิง แบรนด์พจนางานปัก ที่มาของผลิตภัณฑ์/แรงบันดาลใจ เริ่มจากการรับจ้างเย็บผ้าและนำ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการตัดเย็บไปขาย แต่ผลิตภัณฑ์ขายได้ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากเป็นผ้าที่ไม่มีลวดลาย จึงเกิด ความคิดที่จะนำลายปักเข้ามาเสริม เพื่อ เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ จึงเกิดเป็น ผลิตภัณฑ์ที่มีลายปักเป็นเอกลักษณ์ และการตัดเย็บที่สวยงาม ติดต่อ นางพจนา สามคำ ตั้งอยู่ บ้านป่าเปางาม บ้านเลขที่ 50/5 หมู่ 11 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 - 14 - เบอร์โทรศัพท์ 082-9074049
เสื้อผ้า กระเป๋าผ้าปักลาย แบรนด์อิษดา ที่มาของผลิตภัณฑ์/แรงบันดาลใจ เริ่มจากการรับจ้างเหมาตัดเย็บกระเป๋าให้ กับบริษัทเอกชน แต่ด้วยสถานการณ์และเศรษฐกิจ ในบัจจุบัน จึงหันมาเข้าร่วมกับกลุ่ม CIV ของ ชุมชนออนใต้ กลายเป็นกลุ่ม”อิษดากระเป๋าผ้า” มีการตัดเย็บเสื้อ กางเกง ที่เป็นอัตลักษณ์ของ ชุมชนออนใต้ และมีการนำเศษผ้าที่เหลือจากการ ตัดเย็บ มาทำเป็นกระเป๋า พวงกุญแจ สร้อยคอ และของฝาก เพื่อเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ กลุ่มอิษดากระเป๋าผ้า ข้อมูลการติดต่อ ติดต่อ นางอิษดา จอมบัวคำ ตั้งอยู่ บ้านโห้ง บ้านเลขที่ 35 หมู่ 2 ตำบลออนใต้ อำเภอ สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 - 15 - เบอร์โทรศัพท์ 086-9219238
ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ ที่มาของผลิตภัณฑ์/แรงบันดาลใจ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี 2560 (4 ปีที่แล้ว) ตั้งอยู่ที่ บ้านโห้ง ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดย พี่ฟ้า พเยาว์ มหาวัน ก่อนที่จะมาทำฟ้าใหม่แฮนด์ลูม ได้ทำงาน ประจำมาก่อนแต่อยากกลับมาอยู่กับครอบครัว จึงคิดริเริ่ม สืบสานฟื้ นฟูภูมิปัญญาการทอผ้า, การใช้สีย้อมผ้าจากธรรมชาติ โดยเรียนรู้จากคุณยายที่ทอผ้าในครัวเรือนมาตั้งแต่สมัยก่อน แต่เดิมคนในตำบลออนใต้ ส่วนใหญ่จะมีกี่ทอผ้า แต่ปัจจุบัน เริ่มหายไปมีไม่มากเหมือนแต่ก่อน เลยเริ่มหาซื้อ กี่ทอผ้า จากคนในชุมชนที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว มาปรับปรุงซ่อมแซม เพื่อ นำมาใช้ทอผ้า ฟื้ นฟูและอนุรักษ์การทอผ้าและผลิตเสื้อผ้าทอมือ ย้อมสีจากธรรมชาติ ข้อมูลการติดต่อ ติดต่อ นางสาวพเยาว์ มหาวัน ตั้งอยู่ บ้านโห้ง บ้านเลขที่ 24/2 หมู่ 2 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 - 16 - เบอร์โทรศัพท์ 095-4130042
ผลิตภัณฑ์จากลูกหม่อน ที่มาของผลิตภัณฑ์/แรงบันดาลใจ ผลิตภัณฑ์น้ำลูกหม่อน ได้นำผลผลิตของฟาร์มมา แปรรูป และมีการส่งเสริมในการรับซื้อหม่อน ในเครือข่าย ของกรมหม่อนเฉลิมพระเกียรติ และทุก ๆ ผลิตภัณฑ์ได้รับ มาตรฐานอาหารและยา (อย.) เรียบร้อยแล้ว มัลเบอร์รี่ที่ปลูกเป็นสายพันธุ์เชียงใหม่ 60 เป็น ผลไม้มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน ต้นมัลเบอร์รี่ยิ่งแก่ผลยิ่งดก จึงสามารถเก็บผลผลิตได้มาก และสามารถนำมาแปรรูป ได้หลากหลาย จึงมีแรงบันดาลใจเห็นว่ามัลเบอร์รี่ ซึ่งมี ประโยชน์มากมาย และมีสารแอนโทไซยานิน สารสีม่วง วิตามินซีสูง ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปสามารถจำหน่ายให้กับ ผู้บริโภคได้ทุกเพศทุกวัย อีกทั้งมัลเบอร์รี่ยังเหมาะกับกลุ่ม ที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพหลายกลุ่มอีกด้วย ข้อมูลการติดต่อ ติดต่อ นายกิตติพงศ์ ปาลี ตั้งอยู่ บ้านริมออนใต้ บ้านเลขที่ 18/1 หมู่ 5 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 - 17 - เบอร์โทรศัพท์ 099-1425445
ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้ นดินเผา ที่มาของผลิตภัณฑ์/แรงบันดาลใจ เริ่มมาจากทางเทศบาลส่งเสริมการนำเอกลักษณ์ ของลายปลาออนใต้มาพิมพ์ลงบนผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ งานปั้ นศิลาดล จึงมีการว่าจ้างผู้ชำนาญการด้านการปั้ น มาสอนเรื่องงานปั้ นให้กับคนในชุมชน เมื่อเรียนจบหลักสูตรแล้วจึงสร้างแบรนด์ ปลาคู่นก ขึ้นมาตั้งแต่นั้น โดยชื่อของแบรนด์นี้ได้มาจาก ชื่อของ ผู้สอนที่พบรักกับผู้ที่มาเรียนรู้ จึงได้คบหากันเป็นคู่รัก และนำชื่อของทั้งสองคนมาต่อกันเป็น ปลาคู่นก ข้อมูลการติดต่อ ติดต่อ นางสุดธิดา ใจติขะ ตั้งอยู่ บ้านป่าห้า บ้านเลขที่ 35 หมู่ 9 ตำลออนใต้ - 18 -อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130
ผลิตภัณฑ์เสื้อปักลาย แบรนด์ซะป๊ะ ที่มาของผลิตภัณฑ์/แรงบันดาลใจ แบรนด์ซะป๊ะ ได้เริ่มขึ้นทะเบียน OTOP ในปี 2557 และได้มีการเข้าร่วมกลุ่ม CIV ซึ่ง มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวที่มาซื้อผลิตภัณฑ์ มีการ ออกแบบลวดลายที่สอดคล้องกับตำบลออนใต้ คือ ลายปลาสามตัว ซึ่งคำว่า ซะป๊ะ ก็มาจาก ผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย ข้อมูลการติดต่อ ติดต่อ นางสาววลัยพรรณ ไชยเบญจพงษ์ ตั้งอยู่ บ้านป่าห้า บ้านเลขที่ 26 หมู่ 9 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 เบอร์โทรศัพท์ 099-1397478 - 19 -
ชุดผ้าฝ้ายปักลาย แบรนด์จุไรรัตน์ผ้าฝ้าย ที่มาของผลิตภัณฑ์/แรงบันดาลใจ เริ่มต้นจากการรับจ้างปักลายให้กับสินค้า อื่น ๆ และเมื่อได้เริ่มเข้าร่วมกับกลุ่ม CIV จึงมี การเริ่มคิดค้นลายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง นำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกลุ่มมาพัฒนา ผลิตภัณฑ์ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น และมีเอกลักษณ์ เฉพาะแบรนด์ ข้อมูลการติดต่อ ติดต่อ นางจุไรรัตน์ วงศ์คม ตั้งอยู่ บ้านป่าตึง บ้านเลขที่ 33/2 หมู่ 7 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 เบอร์โทรศัพท์ 062-0414199 - 20 -
ผลิตภัณฑ์กระเป๋า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ปักลาย แบรนด์นายใจดี ที่มาของผลิตภัณฑ์/แรงบันดาลใจ แบรนด์นายใจดี ได้รับการคัดสรรในปี 2559 ได้ระดับ 5 ดาว ประเภทพวงกุญแจช้าง แต่เดิมได้มีการผลิตตุ๊กตา ที่เก็บ พวงกุญแจ สมุดโน๊ต กระเป๋าสตางค์ งานชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นเริ่ม พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นใหญ่ กระเป๋าย่าม เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ที่สามารถใช้งานได้ง่าย มีการปักลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน แรงบันดาลใจในการออกแบบลวดลายมาจากวิถีชีวิตใน ชนบทที่อบอุ่นและความสวยงามของธรรมชาติใกล้ตัว ทั้งดอกไม้ ภูเขา ต้นไม้ ปลา ลำธาร อักษรไทย และอักษรล้านนา ผสานเข้ากับความละเมียดละไมและจินตนาการ จนเกิดเป็น ชิ้นงานที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ข้อมูลการติดต่อ ติดต่อ นางรุ่งนภา ใจดี ตั้งอยู่ บ้านป่าห้า บ้านเลขที่ 25 หมู่ 9 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 เบอร์โทรศัพท์ 097-1632696 - 21 -
ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูป ปักลาย แบรนด์บุษกรผ้าฝ้าย ที่มาของผลิตภัณฑ์/แรงบันดาลใจ จุดเริ่มต้นมาจากการเข้าร่วมอบรมโครงการ หมู่บ้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จึงทำให้เกิดเป็น แรงบันดาลใจเกี่ยวกับธรรมชาติ จึงคิดริเริ่มที่จะปรับ เปลี่ยนลายปักให้แตกต่างไปจากเดิม เพิ่มจุดเด่นโดย ยังคงความเป็นธรรมชาติ ซึ่งในชุมชนมีการปลูกข้าว เป็นส่วนมาก จึงได้ลวดลายที่เด่น ๆ คือ ลายเมล็ด ข้าวสารปักลงบนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายในแบรนด์ บุษกรผ้าฝ้าย ข้อมูลการติดต่อ ติดต่อ นางบุษกร วงศ์แก้วแปง ตั้งอยู่ บ้านป่าตึง บ้านเลขที่ 54 หมู่ 7 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 - 22 -เบอร์โทรศัพท์ 082-9060861
กลุ่มทอผ้าบ้านปง อารีย์ผ้าทอ ที่มาของผลิตภัณฑ์/แรงบันดาลใจ กลุ่มอารีย์ผ้าทอเคยก่อตั้งขึ้นมาแล้วถึง สองครั้ง ในครั้งแรกนั้นไม่ประสบผลสำเร็จจึงต้อง ล้มเลิกกลุ่มไป หลังจากนั้นประมาณปี พ.ศ. 2550 ได้ก่อตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เพราะมี โครงการท่องเที่ยวมาสนับสนุน เพื่อให้กลุ่มอารีย์ ผ้าทอ เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการทอผ้าของชุมชน ออนใต้ จึงเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ในชื่อแบรนด์ อารีย์ ผ้าทอ ข้อมูลการติดต่อ ติดต่อ นางอารีย์ ใจวงค์ ที่อยู่ บ้านปง บ้านเลขที่ 32 หมู่ 8 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 - 23 - เบอร์โทรศัพท์ 086-9151418
ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นสมุนไพร ที่มาของผลิตภัณฑ์/แรงบันดาลใจ เกิดจากการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเพื่อ สร้างรายได้ จึงได้เล็งเห็นว่าข้าวแต๋น เป็นขนม พื้นบ้านหรืออาหารว่างของคนภาคเหนือ ที่แสดงถึง วัฒนธรรมของชาวบ้านพื้นเมืองที่บริโภคข้าวเหนียว เป็นอาหารหลัก จึงเลือกทำข้าวแต๋นและประกอบ กับอยากให้เป็นผลิตภัณฑ์ของฝากจำหน่ายให้กับ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในชุมชน โดยมีการทำ ข้าวแต๋นให้เป็นรูปปลา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ออนใต้ ข้อมูลการติดต่อ ติดต่อ นางณัฐมล กันทะวี ที่อยู่ บ้านป่าเหียง บ้านเลขที่ 5/5 หมู่ 1 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 - 24 - เบอร์โทรศัพท์ 062-4144953
ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก กลุ่มสล่าหนองพญาพรหม ที่มาของผลิตภัณฑ์/แรงบันดาลใจ สถานที่หนองพญาพรหม มีพื้นที่ทั้งหมด 750 ไร่ ซึ่งเป็นน้ำทั้งหมด มีน้ำตลอดปี ตามประวัติศาสตร์เป็น ที่ว่างเปล่ามานาน ทางกลุ่มสล่าหนองพญาพรหม จึงได้ประชุมหารือกัน เกิดเป็นความคิดที่จะพัฒนาให้ เป็นแหล่งท่องเที่ยว และการแกะสลักก็เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งที่น่าสนใจ ทางกลุ่มจึงคิดริเริ่มเปิดทำการ แกะสลัก และสอนนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมตำบล ออนใต้ ให้ได้มาฝึกฝนเรียนรู้ และสามารถต่อยอดได้ อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ ยาวนานสืบทอดรุ่นสู่รุ่น ข้อมูลการติดต่อ ติดต่อ นายชาติชาย ชัยพนัศน์ ที่อยู่ บ้านป่าเหียง บ้านเลขที่ 29/4 หมู่ 1 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 - 25 - เบอร์โทรศัพท์ 082-6119252
ผลิตภัณฑ์น้ำพริกป่าตึง ที่มาของผลิตภัณฑ์/แรงบันดาลใจ น้ำพริกตาแดง เป็นอาหารพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อของ ภาคเหนือโดยเฉพาะเชียงใหม่ สามารถเก็บไว้ได้นาน และวัตถุดิบก็หาง่าย วิธีทำก็ไม่ยาก จึงเกิดการรวมกลุ่ม แม่บ้าน มาช่วยกันทำ เริ่มจากการทำไว้รับประทานใน ครัวเรือน ต่อมามีหน่วยงานของภาครัฐเข้ามาส่งเสริม ทักษะอาชีพ ให้กับกลุ่มสตรีแม่บ้าน เพื่อเป็นการสร้าง งานสร้างรายได้ โดยเลือกวัตถุดิบที่มีในชุมชน ประกอบ กับมีความถนัดในด้านนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำ น้ำพริกตาแดง และมีการทำการตลาดโดยกระจาย สินค้าไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ ในตำบลออนใต้ ข้อมูลการติดต่อ ติดต่อ นางนิตยา กันทะพรหม ที่อยู่ บ้านป่าตึง บ้านเลขที่ 97/1 หมู่ 7 ตำบลออนใต้ - 26 - อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 เบอร์โทรศัพท์ 084-6150519
ผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร ที่มาของผลิตภัณฑ์/แรงบันดาลใจ เริ่มจากการลาออกจากงานประจำที่บริษัท มาทำงาน ที่ฟาร์มโคนม มีนมเกรดบีที่ส่งสหกรณ์ไม่ได้ จึงนำมาทำเป็น นมผง แล้วนำนมผงมาทำเป็นสบู่ ผลิตภัณฑ์เริ่มแรก คือ สบู่นมสด ซึ่งมีการต่อยอดโดยการนำผลิตภัณฑ์สบู่นมสด มาเข้าร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวชุมชน และได้เข้าร่วม โครงการ U2T มีการอบรมสอนทำสบู่สมุนไพร จึงนำความรู้ ที่ได้จากการอบรม มาพัฒนาใช้กับผลิตภัณฑ์สบู่ จึงเป็นที่มา ของสบู่สมุนไพรเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ของผลิตภัณฑ์ ข้อมูลการติดต่อ ติดต่อ นางสาวทัตติกา ปาลี ที่อยู่ บ้านป่าเหียง บ้านเลขที่ 15/2 หมู่ 1 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 - 27 - เบอร์โทรศัพท์ 063-4124721
บทที่ 3 การสังเคราะห์องค์ความรู้ ตำบลออนใต้ยั่งยืน
การสังเคราะห์องค์ความรู้ต้นแบบ โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP และเกษตรอินทรีย์ สำหรับรองรับการท่องเที่ยวแบบบูรณาการโดยหมู่บ้านอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยการสังเคราะห์องค์ความรู้ทางเศรษฐกิจต้นแบบ ดังนี้ 1. โครงการยกระดับสินค้า OTOP ของกลุ่มผลิตภัณฑ์เด่น สำหรับรองรับการท่องเที่ยวแบบบูรณาการในพื้นที่หมู่บ้าน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ - 28 -
1.1 องค์ความรู้ต้นแบบ การจัดบริการวิชาการในการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์เด่นสำหรับการเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้กับวิสาหกิจ ชุมชนในหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ตำบลออนใต้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประดิษฐ์จากผ้าและเศษผ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป กระเป๋า ผ้า ผ้าปักลายต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้ นดินเผา น้ำพริกตาแดง น้ำลูกหม่อนเข้มข้น ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก ประกอบไปด้วย การพัฒนารูปแบบการผลิต การพัฒนาการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อขอใบรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เพื่อรองรับการพัฒนาเข้าสู่ ผู้ผลิตในระดับ OTOP จังหวัดเชียงใหม่ การสร้างแบรนด์สินค้า และการเพิ่มช่องทางจำหน่ายผ่านออนไลน์ การสร้างเนื้อเรื่อง เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และการจำหน่ายสินค้าในพื้นที่สำหรับรองรับ การท่องเที่ยวแบบบูรณาการ - 29 -
1.2 ผลผลิต (out put) การผลิตสินค้าประเภทเครื่องแต่งกาย งานฝีมือ รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปปลา 3 ตัว ว่ายน้ำวน ไปทางขวาลงบนตัวผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตในระดับ 5 ดาว ได้แก่ นางรุ่งนภา ใจดี นางสาววลัยพรรณ ไชยเบญจพงศ์ ผู้ผลิตในระดับ 4 ดาว ได้แก่ นางพจนา สามคำ ผู้ผลิตเด่นที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จากสำนักงาน อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ นางอิษดา จอมบัวคำ นางบุษกร วงศ์แก้วแปง กลุ่มทอผ้าบ้านปงห้วยลาน นางสาวพเยาว์ มหาวัน นางคำใบ เมืองตา นางจุไรรัตน์ วงศ์คม กลุ่มถักทอ นายอนันต์ พรหมลิขิตศิลป์ นางสาวสุทธิดา ใจติขะ และ นายชาติชาย ชัยพนัส ซึ่งผลิตภัณฑ์จะทำการผลิตภายใต้อัตลักษณ์และภูมิปัญญา ท้องถิ่น มีการผลิตเพื่อจำหน่ายรองรับการเป็นหมู่บ้านเพื่อการ ท่องเที่ยว รวมทั้งการนำสินค้าไปจำหน่ายภายนอกชุมชน - 30 -
2. โครงการยกระดับเกษตรอินทรีย์สำหรับรองรับการ ท่องเที่ยวแบบบูรณาการ ในพื้นที่หมู่บ้านอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 2.1 องค์ความรู้ต้นแบบ การจัดบริการวชิ าการในการจัดการความรู้แก่วิสาหกิจ ชุมชนกลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์ ม. 6 บ้านแม่ผาแหน และในพื้นที่ ใกล้เคียง เพื่อพัฒนาการผลิตและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ผู้ปลูกผักเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์จากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การจัดแปลงปลูกตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การตรวจ แปลงตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และการปรับปรุงแปลงใน แต่ละขั้นตอน - 31 -
2.2 ผลผลิต (output) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ทำการปลูกพืชผักสำหรับการบริโภค ในครัวเรือน และการจำหน่ายตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ประกอบ ไปด้วย ธนาคารเมล็ดพันธุ์ ธนาคารดิน ธนาคารปุ๋ย และธนาคารน้ำ และเกษตรกร โดยในปี 2564 มีเกษตรกร จำนวน 10 ราย ประกอบด้วย นายอนนต์ มโนวงศ์ นางอุไร จินดาปุก นายจรัส อุปละ นายทองคำ อินตายวง นางเบญจพรรณ ใจติยะ นายประดิษฐ์ สมมูล นายสมจิตร กันทะพรหม นายทัศน์ สามปินปา นางจันทร์แสง วงศ์คำปัน และนายภิญโญ วิสัย (ออนใต้ฟาร์ม) อยู่ระหว่างการจัดทำแปลงปลูกผัก เพื่อขอใบรับรองมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ในรอบแรก รวมทั้งการปรับปรุงแก้ไข เพื่อรับการตรวจ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์รอบที่สอง จากกรมวิชาการเกษตร - 32 -
การวิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้อสู่ความสำเร็จ กลไกการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP และ เกษตรอินทรีย์สำหรับรองรับการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ มีกลไกที่เอื้อสู่ความสำเร็จ ดังนี้ 1. ผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบไปด้วย วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ออนใต้ วิสาหกิจกลุ่มผู้ปลูกผักเกษตรอินทรีย์ เทศบาลตำบล ออนใต้ และผู้นำชุมชนทั้ง 11 หมู่บ้านของตำบลออนใต้ ประชาชน ครัวเรือนในตำบลออนใต้ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาแม่ออน สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 1 เชียงใหม่ สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ โครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลานอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงาน พัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานอื่น ๆ เข้าร่วมในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการ เพื่อ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ตำบลออนใต้ - 33 -
2. การจัดบริการวิชาการ ประกอบไปด้วย การจัดการความรู้ด้านการผลิตมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน การถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อรองรับการท่องเที่ยว การจัดการท่องเที่ยวโดยผู้สื่อความหมายท้องถิ่น การพัฒนาช่อง ทางการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ การสร้างเรื่องเล่าจากผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่น ซึ่งเป็นการจัดการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุง คุณภาพการผลิต การจำหน่าย และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ ในท้องถิ่นรองรับการท่องเที่ยว - 34 -
3. การยกระดับเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย การยกระดับผลิตสินค้าจากมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) สู่การคัดสรร OTOP ของจังหวัดเชียงใหม่ การยกระดับพืชผักทางการเกษตรตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ด้านการผลิต การแปรรูป การแสดงฉลาก และการจำหน่าย การยกระดับการท่องเที่ยวแบบบูรณาการตามมาตรฐาน ความปลอดภัยด้าน สุขอนามัย (SHA/SHA+) ประกอบด้วย การจัดการแหล่งท่องเที่ยว การบริการท่องเที่ยว อาหาร ครื่องดื่ม การบริการที่พัก และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ - 35 -
ปัจจัยที่เอื้อสู่ความสำเร็จ ของตำบลออนใต้ - 36 -
ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานตำบล ในอนาคต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ของผู้ผลิตเด่นในตำบลออนใต้ ทำการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผ้าและการแต่งกาย ผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้ นดินเผา ซึ่งผลิตโดยใช้แรงงานในพื้นที่ทำการผลิต และก่อ ให้เกิดมูลค่าเพิ่มโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการปักลวดลายลงบน ผลิตภัณฑ์ ที่เน้นถึงอัตลักษณ์ในพื้นที่ มีการผลิตที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) รวม ทั้งมีผู้ผลิตบางรายที่ได้รับการจัดสรรคัดเลือกในระดับ OTOP 4-5 ดาว สามารถนำตัวอย่างของผู้ผลิตเด่นไปเชื่อมโยงกับผู้ผลิตรายอื่น ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนอยู่แล้ว สามารถเพิ่ม มูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์เพื่อเข้าสู่การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ของไทย อันจะก่อให้เกิดรายได้ และเกิดการจ้างงานใน ชุมชนตำบลออนใต้ เพื่อสร้างความมั่งคั่ง มั่นคงทางรายได้ให้แก่ ผู้ผลิตในพื้นที่ - 37 -
นอกจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ ยังมีผู้ผลิตเด่นในพื้นที่ซึ่งเป็น เกษตรกรที่ทำการปลูกพืชผักทางการเกษตร เพื่อการบริโภคใน ครัวเรือน และการจำหน่ายภายในพื้นที่ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของ เกษตรกรที่ทำการปลูกผักตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภายใต้ ต้นแบบของผู้นำกลุ่ม ที่ต้องการยกระดับหมู่บ้านให้ได้รับการ รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากกรมวิชาการเกษตร เพื่อสร้าง และพัฒนาแหล่งผลิตทางการเกษตรสู่อาหารที่ปลอดภัย ภายใต้ ศักยภาพเด่นของผู้ผลิตในพื้นที่ เนื่องจากการขอรับใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไม่ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จได้ในระยะเวลา 1 ปี จึงเห็นว่าควร สนับสนุนโครงการนี้ต่อไป และสามารถนำมาต่อยอดเพื่อใช้เป็น ต้นแบบสำหรับชุมชนอื่น ๆ ต่อไป - 38 -
ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการเชื่อมโยงผลการดำเนินงาน ในระดับตำบลกับหน่วยปฏิบัติการอว.ส่วนหน้า และ เครือข่ายระหว่างตำบลในอำเภอและจังหวัดเดียวกัน ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการเชื่อมโยงผลการดำเนินงานในระดับตำบล กับหน่วยปฏิบัติการอว.ส่วนหน้า มีดังนี้ 1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวอุตสาหกรรมสร้างสรรค์/หมู่บ้าน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตต้นแบบ ผลิตภัณฑ์ OTOP ใน ระดับ 5 ดาว และมีผู้ผลิตในพื้นที่ทำการผลิตและได้รับการรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) สำหรับการต่อยอดเข้าสู่การขอ รับรองมาตรฐานการผลิต เข้าสู่การจัดสรรของจังหวัดเชียงใหม่ สามารถสร้างงานและอาชีพให้แก่ผู้ผลิตเด่นในพื้นที่ ก่อให้เกิด การผลิตและการสร้างรายได้จากการประกอบอาชีพในชุมชน รวมทั้ง ยังเป็นต้นแบบไปในพื้นที่และจังหวัดอื่น ๆ ได้ - 39 -
2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์ ทำการปลูกพืชผัก ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จากการดำเนินโครงการยกระดับ เศรษฐกิจและสังคมฯ เดือนธันวาคม 2564 ทางสำนักงานเกษตร อำเภอสันกำแพง ได้แจ้งผลการตรวจแปลงของเกษตรกรในพื้นที่ ผ่านการขอใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จำนวน 9 ราย จาก ผู้ยื่นสมัคร จำนวน 20 ราย ประกอบด้วย นายอนนต์ มโนวงศ์ นางอุไร จินดาปุก นายจรัส อุปละ นายทองคำ อินตายวง นางเบญจพรรณ ใจติยะ นายประดิษฐ์ สมมูล นายทัศน์ สามปินปา นางจันทร์แสง วงศ์คำปัน และนายภิญโญ วิสัย ผลจากการผ่านใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ดังกล่าว ใช้เป็นต้นแบบแก่เกษตรกรรายอื่น ๆ ในพื้นที่ ที่ยังไม่ได้ใบรับรอง เพื่อเพิ่มจำนวนเกษตรกรที่ปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งใช้เป็นต้นแบบในพื้นที่และจังหวัดอื่น ๆ ได้ - 40 -
3. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ออนใต้ มีสมาชิกเข้ารับการอบรมตามมาตรฐานความ ปลอดภัยในด้านสุขอนามัย (SHA/SHA+) ประกอบไปด้วย การจัดการแหล่งท่องเที่ยว อาหารและเครื่องดื่ม การบริการ ที่พัก และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์รองรับการท่องเที่ยวโดย ชุมชน ซึ่งจะก่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบบูรณาการโดยชุมชน สามารถใช้เป็นต้นแบบไปยังพื้นที่และจังหวัดอื่น ๆ ได้ - 41 -
4. หน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ เทศบาลตำบลออนใต้ ผู้นำ ชุมชนในพื้นที่ทั้ง 11 หมู่บ้าน ประชาชนในพื้นที่ สถาบันการเงิน ในพื้นที่ คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาแม่ออน และโครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลานอันเนื่องมา จากพระราชดำริ เข้าร่วมกิจกรรมในการดำเนินงาน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง - 42 -
5. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษา ได้จัดบริการวิชาการด้านต่าง ๆ ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ซึ่งเป็นต้นแบบไปยัง พื้นที่และจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป 6. การยกระดับเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การคัดสรร OTOP มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย เพื่อก่อให้เกิดการ ผลิตตามมาตรฐานในแต่ละด้าน อันจะก่อให้เกิดการจ้างงาน และสร้างรายได้ให้กับชุมชนต้นแบบ ซึ่งเป็นต้นแบบไปยังพื้นที่ และจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป - 43 -
Search