กาพย์เห่เรือ จัดทำโดย นางสาวชุติมา สุทธิพรหมมา ชั้น ม.6/8 เลขที่ 27 เสนอ ครูสุชานาฏ โศภิษฐิกุล โรงเรียนสตรีพัทลุง
ผู้แต่งกาพย์เห่เรือ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) พระราชโอรสพระองค์แรกใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โดยแต่งขึ้นช่วงปลายสมัยอยุธยาตอนปลาย และนับว่า พระองค์เป็นกวีเอกในสมัยอยุธยาตอนปลายเลยทีเดียว เพราะมีความสามารถทั้งใน เชิงนิรุกติศาสตร์ (วิชาเกี่ยวกับภาษา) และฉันทศาสตร์ (วิชาเกี่ยวกับการประพันธ์) ทำให้มีผลงานของทั้งเรื่องของทางโลกและทางธรรม เช่น บทเห่เรื่องกากี 3 ตอน บท เห่สังวาสและเห่ครวญอย่างละบท กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์ห่อโคลง ประพาสธารทองแดง พระมาลัยคำหลวง เพลงยาวเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ฯลฯ
ที่มาและจุดประสงค์การแต่งกาพย์เห่เรือ เนื่องจากกษัตริย์ในสมัยนั้นต้องเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาไปนมัสการและ สมโภช (งานเลี้ยง) พระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งคาดว่าเจ้าฟ้ากุ้งน่าจะเดิน ทางตามเสด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจากท่าวาสุกรี ไปขึ้นบกที่ท่าเจ้าสนุกก่อน จะเดินเท้าต่อไปวัดพระพุทธบาท (การเดินทาง และเวลาในการแต่งกาพย์เห่เรือ นี้ส่วนนี้อาจมีข้อสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างออกไปหลายแนวคิด) ซึ่งการเดินทางบนเรือครั้งนั้นได้เป็นที่มาของการประพันธ์กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง โดยมีจุดประสงค์หลัก คือ เพื่อกำกับจังหวะของพลพายให้สามารถพายเรือขนาดใหญ่ได้อย่างพร้อม เพรียงกัน เพื่อสร้างความสนุกสำราญ ให้กับตนเองและพลพาย เพื่อประกาศการเสด็จของพระมหากษัตริย์ เพราะนาน ๆ ทีกษัตริย์จะ เสด็จออกจากพระบรมหาราชวังดังนั้นการเห่เรือจะทำให้ชาวบ้านทราบว่า กษัตริย์เสด็จมาและสามารถออกมารับเสด็จ/ชื่นชมพระบารมีริมฝั่งแม่น้ำ ได้
ลักษณะคำประพันธ์ ลักษณะคำประพันธ์ของกาพย์เห่เรือ เป็นรูปแบบของกาพย์เห่ คือ โคลงสี่สุภาพ ที่แต่งให้มีเนื้อความนำ ตามด้วยกาพย์ยานี 11 ที่แต่งให้มีเนื้อ ความตามโคลงสี่สุภาพและอาจขยายความออกไปตามความต้องการของกวี และ ไม่จำกัดจำนวนบท ฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ ฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี 11
เนื้อเรื่อง กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง แบ่งออกเป็น 2 ตอน และแบ่งตามช่วงเวลา ดังนี้ ตอนที่ 1 : บทเห่ชมเรือ ชมปลา ชมไม้ ชมนก ตอนที่ 2 : บทเห่ครวญ (กรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่า เกี่ยวข้องกับ เรื่องส่วนตัว คือ คร่ำครวญคิดถึงพระสนมของพระบิดา อันเป็นเหตุให้โดนพระ ราชอาญาจนถึงแก่ชีวิตในเวลาต่อมา)
ช่วงเช้า กาพย์เห่เรือ ชมเรือ กล่าวถึงเรือ 14 ลำ มีโคลงสี่สุภาพ 1 บท แต่งเป็นเกริ่นเห่ เพื่อบอกว่าเรือพระมหากษัตริย์ กำลังจะเสด็จด้วยขบวนพระยุหยาตราทางชลมารค ต่อมาคือกาพย์ยานี 11 เล่าถึงความงามของ เรือแต่ละลำ ได้แก่ - เรือพระที่นั่ง (เรือต้น/เรือกิ่ง) คือ เรือที่มีพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ประทับอยู่ โดย มี 4 ลำและเรือสุวรรณหงส์อยู่ในกระบวนเรือด้วย ตัวอย่าง : “สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม” สำหรับท่อนนี้บรรยายความงดงามว่าเรือหงส์ทอง มีพู่ห้อยระย้าลงมาตรงจงอยปากของหงส์หน้า เรือ ลอยเคลื่อนไปบนแม่น้ำเหมือนกับหงส์ที่เป็นพาหนะของพระพรหม มองแล้วช่างน่าดู/น่าชมยิ่ง นัก - เรือเหล่าแสนยากร (เรือรูปสัตว์) คือ เรือที่มีหัวเรือเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ แม้ไม่ได้วิจิตรงดงาม เหมือนเรือต้น แต่ก็มีความเป็นเอกลักษณ์ เช่น เรือคชสีห์ เรือเลียงผา เรือม้า เรือสิงห์ เรืออินทรี ฯลฯ ตัวอย่าง : “เลียงผาง่าเท้าโผน เพียงโจนไปในวารี นาวาหน้าอินทรี มีปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม” ท่อนนี้กล่าวถึง เรือที่คล้ายกับเลียงผากำลังกระโจนลงในแม่น้ำ ส่วนเรืออินทรีคล้ายกับว่ามีปีก โบยบินบนท้องฟ้า เป็นการเปรียบเทียบว่าเรือสัตว์นั้นงดงามราวกับมีชีวิตจริง ๆ - เรือชัย เรือที่มีเจ้าพนักงานกระทุ้งไม้เส้า (ไม้พายเรือ) กำกับจังหวะให้พลพายและเรือแต่ละลำ เคลื่อนที่ได้พร้อมเพรียงกัน
ช่วงสาย กาพย์เห่เรือ ชมปลา เริ่มด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท ตามด้วยกาพย์เห่เรือ 14 บท กล่าวถึง ปลา 15 ชนิด (มีเฉพาะปลาน้ำจืด) ได้แก่ ปลากระแห ปลากราย ปลาแก้ม ช้ำ ปลาคางเบือน ปลาชะแวง ปลาทุก ปลานวลจันทร์ ปลาน้ำเงิน ปลาแปบ ปลาตะเพียนทอง ปลาแมลงภู่ (ปลาชะโด) ปลาสร้อย ปลาเสือ ปลาหวีเกศ และปลาหางไก่ การชมปลาในที่นี้จะแต่งคล้ายกับนิราศ เพราะนำความงดงามของ ปลามาแต่งรวมกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองที่มีต่อนางอันเป็นที่รักของ กวี ตัวอย่าง : “นวลจันทร์เป็นนวลจริง เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา คางเบือนเบือนหน้ามา ไม่งามเท่าเจ้าเบือนชาย” นวลจันทร์ในที่นี้คือชื่อปลา และคำว่า นวลอีกความหมายหนึ่ง คือ สีนวลเหมือนเปลือกไข่ ส่วนประโยค ‘เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา’ หมายถึงผิว ของเจ้านั้นนวลงดงามยิ่งกว่าสีนวลของปลา ส่วนปลาคางเบือนที่ดูหน้าบึ้ง นั้น เหมือนตอนที่นางอันเป็นที่รักงอน แต่ถึงยังไงนางก็ยังสวยงามกว่า
ช่วงบ่าย กาพย์เห่เรือ ชมไม้ เริ่มด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท กาพย์ยานี 12 บท โดยมีการชมไม้ 15 ชนิด ได้แก่ แก้ว จวง จิก จำปา แต้ว บุนนาค ประยงค์ พิกุล พุดจีบ พุทธชาด ลำดวน สาวหยุด สุกรม มะลิวัลย์ นางแย้ม ตัวอย่าง : “ชมดวงพวงนางแย้ม บานแสล้มแย้มเกสร คิดความยามบังอร แย้มโอษฐ์ยิ้มพริ้มพรายงาม” บทนี้เป็นการเปรียบเทียบรอยยิ้มของนางอันเป็นที่รักกับพวงดอกนางแย้มว่า เมื่อเห็นดอกนางแย้มบานสะพรั่งงดงาม ก็นึกถึงยามที่ได้เห็นรอยยิ้มของนาง
ช่วงเย็น กาพย์เห่เรือ ชมนก เริ่มด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท และกาพย์ยานี 12 บท สาเหตุที่เลือกชมนก ในช่วงเย็นเพราะเป็นช่วงที่นกบินกลับรังพอดี โดยชมนก 10 ชนิด ได้แก่ นก ไก่ฟ้า นกแขกเต้า นกดุเหว่า นกนางนวล นกโนรี นกสร้อยทอง/ขุนทอง นกสัตวา นกสาลิกา นกแก้ว นกยูง ตัวอย่าง : “นางนวลนวลน่ารัก ไม่นวลพักตร์เหมือนทรามสงวน แก้วพี่นี้สุดนวล ดั่งนางฟ้าหน้าใยยอง” ท่อนนี้นำชื่อนกนางนวลกับคำว่า นวล ที่แปลว่านางอันเป็นที่รักมาไว้ในวรรค เดียวกันเพื่อเล่นคำ ส่วนการใช้คำว่า ดั่ง เป็นการอุปมาว่า นางเป็นคนที่ผิวนวล และสวยเหมือนนางฟ้าเลยทีเดียว
ช่วงดึก กาพย์เห่เรือ เห่ครวญ ประกอบด้วยโครงสี่สุภาพ 2 บท (เริ่มต้นและปิดท้ายอย่างละบท) และ กาพย์ยานีอีก 8 บท กล่าวถึงความรัก ความคิดถึงที่มีต่อนางสนม ตัวอย่าง : “งามทรงวงดั่งวาด งามมารยาทนาดกรกราย งามพริ้มยิ้มแย้มพราย งามคำหวานลานใจถวิล” บทนี้กล่าวถึงความงามของนางสนม ที่งามดั่งภาพวาด อีกทั้งมารยาท บุคลิก การเดิน รอยยิ้มและคำพูดต่าง ๆ ก็ยังงดงามด้วยเช่นกัน
คุณค่าวรรณคดี
คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ 1. รูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหา 2. ดีเด่นทางด้านการพรรณนาให้เห็นภาพ และให้อารมณ์ ความรู้สึกดี 3. ศิลปะการแต่งดี มีกลวิธีพรรณนาโดยใช้การอุปมา การเล่นคำ การใช้คำที่แนะให้เห็นภาพ คำที่นำให้นึกถึง เสียง คำที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ ได้ดี
คุณค่าทางด้านสังคม 1. สะท้อนภาพชีวิตของคนไทยในปลายกรุงศรีอยุธยาที่ใช้การสัญจร ทางน้ำเป็นสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยมีแม่น้ำลำคลองมาก 2. ให้ความรู้เกี่ยวกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค และประเพณี การเห่เรือ 3. สะท้อนให้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณี ต่านิยม และความเชื่อ ของคนไทย เช่น ค่านิยมเกี่ยว กับความงามของสตรีว่าจะต้องงาม พร้อมทั้งรูปทรง มารยาท ยิ้มแย้มแจ่มใส และพูดจาไพเราะ ความเชื่อเรื่องเวรกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นต้น
Search
Read the Text Version
- 1 - 14
Pages: