Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ

การอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ

Published by namfon.math54, 2019-05-07 22:58:05

Description: คู่มือการอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ

Search

Read the Text Version

คมู่ ือการสอนอา่ นเขียน โดยการแจกลูกสะกดค�ำ กอ - อา กา ขอ - อา ขา สถาบนั ภาษาไทย สำ�นักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ส�ำ นกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พืน้ ฐาน กระทรวงศึกษาธกิ าร

ปที ี่พมิ พ ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ จำ�นวนพิมพ ์ ๓๕,๐๐๐ เลม่ จดั ท�ำ โดย สถาบันภาษาไทย สำ�นักวชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษา ส�ำ นกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ISBN 978-616-395-734-4 พิมพ์ที่ โรงพมิ พ์ชุมนมุ สหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำ�กดั ๗๙ ถนนงามวงศว์ าน แขวงลาดยาว เขตจตจุ กั ร กรงุ เทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทร. ๐-๒๕๖๑-๔๕๖๗ โทรสาร ๐-๒๕๗๙-๕๑๐๑ นายโชคดี ออสุวรรณ ผู้พิมพ์ผโู้ ฆษณา

“คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ�” เล่มนี้ จัดทำ�ขึ้นเพื่อเป็นแนวทาง จัดการเรียนรู้สำ�หรับครูผู้สอนภาษาไทย ใช้แก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ด้วยวิธีการ สอนแบบแจกลูกสะกดคำ� ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีการสอน ท่ีสร้างความเข้าใจทางภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพในการทำ�ให้ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้ การจดั ทำ� “คู่มือการสอนอา่ นเขยี นโดยการแจกลกู สะกดค�ำ ” ได้มกี ารศกึ ษาค้นควา้ ส่วนทเ่ี ปน็ สาระ ความรู้จากหนังสือและตำ�ราทางภาษาไทย สำ�หรับแนวทางการจัดการเรียนรู้ และการวัดและ ประเมินผลจัดทำ�ขึ้นโดยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการสอนภาษาไทย และด้านการวัดและประเมินผล จากสถาบนั อดุ มศกึ ษา ศึกษานิเทศกท์ ร่ี ับผิดชอบภาษาไทย ครูผสู้ อนภาษาไทย และนักวิชาการศึกษา ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย และการวัดและประเมินผล ซงึ่ ครผู สู้ อนหรอื ผทู้ ส่ี นใจสามารถน�ำ คมู่ อื นไ้ี ปใชเ้ ปน็ แนวทางการสอนอา่ นเขยี นภาษาไทย พฒั นาวชิ าชพี หรือพัฒนาตนเองในด้านการสอนแก่นักเรียนในวัยเริ่มเรียน และซ่อมเสริมนักเรียนที่มีปัญหา อ่านไม่ออกเขียนไมไ่ ด้ โดยสามารถน�ำ ไปปรับใชใ้ หเ้ หมาะสมกับบริบทของตนเองไดเ้ ป็นอย่างดี ในโอกาสน้ี ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ คณะทำ�งาน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องท่ีได้ร่วมจัดทำ� และให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำ�หนังสือเล่มนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า “คู่มือการสอนอ่านเขียน โดยการแจกลูกสะกดคำ�” นี้ จะเป็นแนวทางในการพฒั นาการอา่ นการเขียนของนักเรยี น เพื่อให้เกิด ประโยชนส์ งู สดุ กบั ผู้เรียนเปน็ สำ�คญั หากมขี ้อเสนอแนะประการใด โปรดแจง้ ส�ำ นักงานคณะกรรมการ การศึกษาขนั้ พน้ื ฐาน เพอ่ื เป็นข้อมูลการพัฒนาตอ่ ไป (นายการุณ สกุลประดิษฐ)์ เลขาธกิ ารคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน



หน้า ค�ำ นำ� บทนำ� ๑ สอนอยา่ งไรให้อ่านออก อา่ นคล่อง และอา่ นเป็น สำ�หรบั นกั เรียนระดับชนั้ ประถมศกึ ษาปีที่ ๑-๓ ๘ หนว่ ยที่ ๑ รปู และเสียงพยัญชนะ ๑๓ หนว่ ยที่ ๒ รปู และเสยี งสระ ๔๕ หน่วยที่ ๓ รปู และเสียงวรรณยกุ ต์ ๖๗ หน่วยท่ี ๔ การแจกลูกสะกดค�ำ ในแม่ ก กา ๘๒ หน่วยที่ ๕ การผนั วรรณยุกตค์ ำ�ในแม่ ก กา ๑๒๑ หนว่ ยที่ ๖ การแจกลูกสะกดค�ำ ท่ีมีตัวสะกดตรงตามมาตรา ๑๔๖ หน่วยท่ี ๗ การผันวรรณยกุ ต์ค�ำ ท่มี ตี วั สะกดตรงตามมาตรา ๑๘๔ หน่วยท่ี ๘ การแจกลกู สะกดคำ�ทม่ี ตี วั สะกดไมต่ รงตามมาตรา ๒๑๐ หน่วยท่ี ๙ การแจกลูกสะกดคำ�ท่มี อี ักษรควบ ๒๓๖ หน่วยท่ี ๑๐ การแจกลกู สะกดค�ำ ที่มีอักษรน�ำ ๒๖๔ บรรณานุกรม ๒๙๔ คณะผ้จู ัดทำ� ๒๙๖



บทน�ำ การศึกษาเป็นเคร่ืองมือสำ�คัญในการพัฒนาและส่งเสริมความรู้ความคิดให้กับเยาวชน ของประเทศ โดยเฉพาะในโลกของศตวรรษท่ี ๒๑ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ท้ังด้าน เทคโนโลยีการสอื่ สาร และการคดิ ค้นพฒั นาองค์ความรใู้ หม่ ๆ ที่กล่าวได้วา่ การอา่ นและการรหู้ นงั สอื (Reading & Literacy) เป็นทักษะท่ีจำ�เป็นอย่างย่ิงสำ�หรับการเรียนรู้และการดำ�เนินชีวิต เนื่องจาก การอ่านและการรู้หนังสือทำ�ให้เกิดความรู้ ความสามารถ และส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ ประยกุ ต์ใช้ข้อมลู ทเี่ ป็นประโยชน์ต่อชวี ิต ซ่ึงหากผู้ใดมคี วามบกพรอ่ งหรอื ขาดความสามารถ ในการอ่านการเขียนก็จะส่งผลให้เกิดความยากลำ�บากในการสื่อสารและการเรียนรู้ และจะเป็นปัญหา ในการด�ำ รงชีวิตต่อไปได้ กระทรวงศึกษาธิการเล็งเห็นถึงความสำ�คัญของการพัฒนาการอ่านการเขียนว่าเป็นพ้ืนฐาน สำ�คัญในการพัฒนาไปสู่การเรียนรู้ในระดับที่สูงข้ึนของผู้เรียน จึงกำ�หนดนโยบายพัฒนาการจัด การศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ โดยมีมาตรการให้หน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง เรง่ ด�ำ เนนิ การเพอื่ ใหผ้ เู้ รยี นในระดบั การศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐานสามารถอา่ นออกเขยี นได้ เพอ่ื น�ำ ไปสกู่ ารเรยี นรู้ ในระดบั ตา่ ง ๆ อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ ซง่ึ จากผลการประเมนิ การอา่ นการเขยี นของนกั เรยี นชนั้ ประถมศกึ ษา ปีที่ ๑ - ๖ ในภาคเรียนท่ี ๑ ปกี ารศกึ ษา ๒๕๕๘ พบวา่ ยงั มนี กั เรียนจ�ำ นวนหน่งึ ทีม่ ีผลการประเมิน ในระดบั อ่านไม่ได้/อ่านไมค่ ล่อง (รอ้ ยละ ๗.๓๗, ๔.๓๐, ๓.๓๐, ๒.๓๓, ๒.๕๑ และ ๑.๖๑ ตามล�ำ ดับ) และระดับเขียนไม่ได้/เขียนไม่คล่อง (ร้อยละ ๑๕.๕๑, ๗.๒๔, ๗.๐๐, ๔.๐๖, ๓.๖๐ และ ๓.๑๑ ตามล�ำ ดับ) และเม่อื พจิ ารณาผลการประเมินการอา่ นออกเขียนไดข้ องนกั เรยี นช้ันประถมศกึ ษาปีที่ ๑ พบว่า มีผลการประเมินการอ่านออกเขียนได้ในระดับปรับปรุง ร้อยละ ๔.๖๘ ซึ่งจากการติดตาม การดำ�เนินงานการอ่านการเขียน พบว่า ครูผู้สอนภาษาไทยมีความคิดเห็นว่าการสอนแบบแจกลูก สะกดคำ�มคี วามเหมาะสมท่ีจะน�ำ มาใช้กับการสอนการอ่านการเขยี น เพ่ือให้นักเรยี นอ่านออกเขียนได้ ซ่ึงสอดคล้องกับผลการติดตามการดำ�เนินงานพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ท่ีพบว่า ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบงานภาษาไทยและครูผู้สอนภาษาไทยต้องการได้รับความรู้เก่ียวกับเร่ือง การสอนอา่ นเขยี นแบบแจกลกู สะกดคำ� เนอื่ งจากปจั จบุ นั ครผู สู้ อนภาษาไทยสว่ นหนงึ่ ไมไ่ ดจ้ บวชิ าเอก ภาษาไทย คูม่ อื การสอนอา่ นเขยี น 1 โดยการแจกลูกสะกดค�ำ

ในการนี้ ส�ำ นักวิชาการและมาตรฐานการศกึ ษา จงึ จดั ท�ำ เอกสาร “ค่มู ือการสอนอา่ นเขยี น โดยการแจกลูกสะกดคำ�” ข้ึน โดยมุ่งหวังว่าจะเป็นแนวทางสำ�หรับครูผู้สอนสำ�หรับนำ�ไปใช้ ในการจดั การเรยี นร้ไู ด้อยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพตอ่ ไป วตั ถุประสงคข์ องการจดั ท�ำ คู่มอื สอนอา่ นเขยี นโดยการแจกลูกสะกดค�ำ ๑. เพอื่ เปน็ แนวทางการสอนอ่านเขียนให้นักเรียนอา่ นออกเขยี นได้ ๒. เพื่อเป็นแนวทางใชส้ อนซอ่ มเสรมิ นกั เรียนใหอ้ ่านออกเขยี นได้ ๓. เพ่ือน�ำ ไปประยกุ ต์ใช้ในการจดั การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาไทย คู่มอื การสอนอา่ นเขียน 2 โดยการแจกลูกสะกดค�ำ

การดำ�เนินการจัดทำ�คมู่ ือการสอนอา่ นเขยี นโดยการแจกลูกสะกดค�ำ สถาบันภาษาไทย สำ�นกั วชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษาได้จดั ทำ� “คูม่ อื การสอนอ่านเขียน โดยการแจกลูกสะกดค�ำ ” ขนึ้ โดยมีการด�ำ เนนิ การดังน้ี ๑. แต่งตั้งคณะทำ�งานประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการสอนภาษาไทย ด้านการวัด และประเมนิ ผล ตวั แทนศึกษานิเทศกท์ ่ีรับผดิ ชอบภาษาไทย และครผู สู้ อนภาษาไทยจากทุกภูมิภาค ๒. จัดประชุมปฏิบัติการจัดทำ�คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ� ๓ ครั้ง ดงั นี้ การประชุมคร้ังที่ ๑ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำ�และพัฒนาคู่มือการสอนอ่านเขียน โดยการแจกลูกสะกดค�ำ ประกอบดว้ ยการบรรยาย การอภปิ ราย และปฏบิ ัติงานกลุ่ม เพ่อื ให้เกดิ การมี ส่วนร่วมและแลกเปล่ียนความคิดเห็นเชิงวิชาการในการจัดทำ�คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูก สะกดคำ� การประชุมคร้ังนี้ คณะทำ�งานได้ร่วมพิจารณาส่วนประกอบของคู่มือการสอนอ่านเขียน โดยการแจกลกู สะกดค�ำ ซง่ึ สรปุ ไดเ้ ปน็ ๓ สว่ น คอื ความรสู้ �ำ หรบั ครู ตวั อยา่ งแนวทางการจดั การเรยี นรู้ และแนวทางการวัดและประเมินผลประจำ�หน่วย จากน้ันกำ�หนดเน้ือหาสำ�หรับนำ�ไปใช้ในการจัด การเรียนการสอน โดยยึดตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นหลักในการจัดทำ� จากน้ัน ดำ�เนินการจัดทำ�คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ� โดยมีการวิพากษ์ผลงาน โดยผู้ทรงคณุ วฒุ ดิ า้ นการสอนภาษาไทย และการวัดและประเมินผล เพอ่ื ให้ได้เนอ้ื หาทีม่ ีความถูกต้อง ตามหลักวชิ าการและน�ำ ไปปฏิบตั ิได้จริงในการจัดการเรยี นการสอน การประชุมครั้งท่ี ๒ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำ�และพัฒนาคู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการ แจกลูกสะกดคำ� คณะทำ�งานได้ร่วมจัดทำ�คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ� ต่อจาก การประชุมคร้ังท่ี ๑ โดยมีการวิพากษ์ผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอนภาษาไทย และการวัด และประเมินผล เพื่อให้ได้เนื้อหาท่ีมีความถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถนำ�ไปปฏิบัติได้จริง ในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของคู่มือการสอนอ่านเขียน โดยการแจกลูกสะกด คมู่ ือการสอนอ่านเขยี น 3 โดยการแจกลกู สะกดค�ำ

การประชุมคร้ังท่ี ๓ มีวัตถุประสงค์เพ่ือจัดทำ�แนวทางการติดตามและประเมินผลการใช้ คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดค�ำ การประชุมในคร้ังน้ีแบ่งการด�ำ เนินงานเป็น ๒ ส่วน เพอ่ื ใหค้ มู่ อื การสอนอา่ นเขยี นโดยการแจกลกู สะกดคำ� มคี วามถกู ตอ้ งสมบรู ณก์ อ่ นนำ�ไปใชใ้ นการอบรม ให้แก่ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบงานภาษาไทย ท้ัง ๒๒๕ เขต โดยส่วนที่ ๑ เป็นการบรรณาธิการกิจ คู่มือการสอนอ่านเขียน ส่วนที่ ๒ เป็นการพิจารณาร่างแนวทางและเครื่องมือการติดตาม และประเมินผลการใช้คมู่ อื การสอนอ่านเขียนโดยการแจกลกู สะกดค�ำ คู่มือการสอนอา่ นเขียน 4 โดยการแจกลกู สะกดค�ำ

การใช้คูม่ ือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดค�ำ ภาษาไทย คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ� จัดแบ่งเป็นหน่วยการสอนตามลำ�ดับ ของการสอนภาษาไทยข้นั พื้นฐาน เป็น ๑๐ หน่วย หน่วยท่ี ๑ รปู และเสียงพยญั ชนะ หน่วยท่ี ๒ รูปและเสียงสระ หนว่ ยที่ ๓ รูปและเสียงวรรณยกุ ต ์ หน่วยที่ ๔ การแจกลูกสะกดคำ�ในแม่ ก กา หนว่ ยท่ี ๕ การผนั วรรณยุกตค์ �ำ ในแม่ ก กา หนว่ ยท่ี ๖ การแจกลูกสะกดค�ำ ทม่ี ีตวั สะกดตรงตามมาตรา หน่วยที่ ๗ การผนั วรรณยุกต์ค�ำ ทมี่ ีตวั สะกดตรงตามมาตรา หนว่ ยท่ี ๘ การแจกลูกสะกดคำ�ที่มีตวั สะกดไม่ตรงตามมาตรา หน่วยท่ี ๙ การแจกลกู สะกดค�ำ ทม่ี อี กั ษรควบ หนว่ ยที่ ๑๐ การแจกลูกสะกดค�ำ ที่มอี ักษรน�ำ แตล่ ะหนว่ ย มีสว่ นประกอบสำ�คัญ ๓ สว่ น คอื ส่วนท่ี ๑ ความรู้สำ�หรับครู เป็นส่วนที่ให้ความรู้ความเข้าใจ เป็นการเตรียมความรู้ ให้แก่ครูเพ่ือให้มีความรู้ความเข้าใจสาระสำ�คัญ และหลักการของเร่ืองที่สอนอย่างถูกต้องตาม หลกั วิชาการ ส่วนที่ ๒ แนวทางการจัดการเรียนรู้ เป็นการนำ�เสนอข้ันตอนการจัดการเรียนรู้ พรอ้ มสอ่ื การเรยี นรู้ และการวดั และประเมนิ ผลการเรยี นรู้ โดยเปน็ การวดั ผลระหว่างเรยี นเพื่อพฒั นา การเรยี นการสอน (Formative test) ซึง่ สอดแทรกระหว่างการจดั การเรียนรู้ เปน็ การบันทึกผลจาก การฝกึ ทักษะการอ่านและการเขยี นในระหวา่ งเรียนเพ่อื ให้ครูไดใ้ ชเ้ ปน็ แนวทางในการจดั การเรยี นรู้ สว่ นท่ี ๓ แนวทางการวัดและประเมินผลประจำ�หน่วย เป็นการนำ�เสนอตัวอย่าง การวัดและประเมินผลประจำ�หน่วย เพื่อตัดสินว่าหลังการจัดการเรียนรู้ครบตามหน่วยนั้นแล้ว นกั เรยี นมคี วามรู้ความสามารถตามจุดประสงคก์ ารเรยี นรใู้ นหนว่ ยนั้นในระดบั ใด ซง่ึ น�ำ ผลจากการวดั มาตรวจสอบความสามารถในการอ่านและเขียนในหนว่ ยนน้ั ๆ คมู่ ือการสอนอ่านเขียน 5 โดยการแจกลกู สะกดคำ�

ส่วนท่ี ๑ ความรสู้ ำ�หรบั คร ู จุดประสงค์ของความรู้สำ�หรับครู เป็นสาระสำ�คัญสำ�หรับให้ครูได้ศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นเก่ียวกับหลัการใช้ภาษาที่เป็นพ้ืนฐานสำ�คัญของการจัดการเรียนรู้แต่ละหน่วย รวมท้ังเพื่อนำ�เสนอข้ันตอนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละหน่วยตามแบบการแจกลูกสะกดคำ� เพ่ือให้ ครูดำ�เนินการตามไดอ้ ย่างเป็นระบบ เพ่อื ให้นักเรียนอ่านและเขียนได้ สว่ นที่ ๒ แนวทางการจัดการเรียนร้ ู จดุ ประสงค์ของสว่ นที่ ๒ นี้ คือ เพอื่ เป็นตัวอย่างใหค้ รูน�ำ ไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม และบริบทของสถานศกึ ษา ในหวั ข้อนปี้ ระกอบดว้ ย ตัวอย่างแนวการจัดการเรยี นรู้ ๑. ระบุชื่อหน่วยและเวลาท่ีใช้ในแต่ละหน่วย โดยผู้นำ�ไปใช้สามารถปรับเปล่ียนได้ตาม ความเหมาะสม เวลาท่กี ำ�หนดไว้เปน็ การก�ำ หนดโดยประมาณเท่าน้นั ๒. จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ครูกำ�หนดว่า เม่ือสอนหน่วยนี้แล้ว ผเู้ รยี นตอ้ งมคี วามรคู้ วามเขา้ ใจ และมคี วามสามารถในการอา่ นและเขยี นตามจดุ ประสงคข์ องหนว่ ยนน้ั ในระดบั ใด ซึ่งแนวทางการจดั การเรยี นรู้สามารถนำ�ไปประยุกตใ์ ช้กับการสอนภาษาไทยตามหลกั สตู ร โดยการก�ำ หนดจดุ ประสงคข์ องการจัดการเรียนร้ทู ีพ่ จิ ารณาจากจุดประสงคก์ ารเรยี นร้ใู นหลักสตู ร ๓. แนวทางการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เห็นว่าหน่วยน้ีแบ่งการสอนเป็นขั้นตอนในการจัด การเรียนรู้ได้กีค่ รั้ง แตล่ ะครง้ั ใช้เวลาครง้ั ละ ๑ ชั่วโมง ครสู ามารถปรับเปล่ยี นจำ�นวนครั้งและเวลาได้ ตามความเหมาะสมและการน�ำ ไปใชข้ องครู แตต่ อ้ งใหน้ กั เรยี นเกดิ การเรยี นรตู้ ามจดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้ ทกี่ �ำ หนด ๔. แนวการจัดการเรียนรู้ท่ี ๑ ทุกหน่วยจะเขียนตัวอย่างแนวทางการจัดการเรียนรู้ไว้ให้ ๑ เรอื่ ง ประกอบด้วย ๔.๑ จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้ (ระบผุ ลลพั ธท์ เ่ี กดิ จากการเรยี นรเู้ ฉพาะเรอ่ื งทส่ี อนในชว่ั โมงนนั้ ) ๔.๒ ขนั้ ตอนการจดั การเรียนรู้ เสนอให้เหน็ ขน้ั ตอนการสอนตง้ั แต่ ข้ันนำ�: มีจุดประสงค์เพ่ือสร้างความสนใจและทบทวนความรู้ท่ีเชื่อมโยงกับ หวั ข้อทีจ่ ะเรียนต่อไป ค่มู ือการสอนอ่านเขียน 6 โดยการแจกลกู สะกดคำ�

ขน้ั สอน: เสนอแนวทางการจดั เรยี นรใู้ หไ้ วเ้ ปน็ ตวั อยา่ ง โดยครสู ามารถปรบั เปลยี่ น สอื่ ไดต้ ามความเหมาะสม แตจ่ ดุ เนน้ ของการจดั การเรยี นรตู้ อ้ งการใหน้ กั เรยี นไดฝ้ กึ ทกั ษะการอา่ นและ การเขียนเป็นหลกั ขน้ั สรุป: เปน็ ขัน้ การทบทวนให้นกั เรียนเขา้ ใจในเรอื่ งทส่ี อน ๔.๓ สือ่ การสอน เป็นการเสนอแนะสื่อทใ่ี ช้ในการสอนของชว่ั โมงนนั้ ๆ ๔.๔ การวัดและประเมินผล เป็นการเสนอวิธีการวัดและประเมินผลการฝึกทักษะ การอ่านและการเขียนระหวา่ งเรยี นของนักเรียนเป็นรายบคุ คล ตัวอย่างแนวการจัดการเรียนรู้ที่ ๒ และต่อ ๆ ไป เป็นการนำ�เสนอจุดประสงค์การเรียนรู้ ของหน่วยน้ัน และแนวทางการจัดการเรียนรู้อย่างกว้าง ๆ เพื่อให้ครูผู้สอนได้นำ�ไปประยุกต์ใช้ได้ และบางหนว่ ยได้เสนอแนะแนวทางการจดั การเรียนร้ไู ว้จนครบทกุ ขั้นตอน สว่ นท่ี ๓ การวดั และประเมินผลประจ�ำ หนว่ ย การวัดและประเมินผลประจำ�หน่วย เป็นการประเมินตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้ ประจำ�หน่วย เพื่อตัดสนิ ผลการเรียนของหน่วยนั้น โดยจะก�ำ หนด ๑. แบบวดั ตามจดุ ประสงคข์ องหน่วยน้นั ๒. วธิ ีการวดั ๓. เกณฑ์การประเมิน หมายเหตุ การวดั ระหวา่ งเรยี นจะเปน็ การฝกึ ทกั ษะหรอื การใชแ้ บบวดั อนื่ ๆ ตามจดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้ ในช่วั โมงนั้น ๆ เปน็ การวัดเพอ่ื การพัฒนาการเรียนของนกั เรยี น คมู่ อื การสอนอา่ นเขียน 7 โดยการแจกลูกสะกดคำ�

สอนอย่างไรให้อ่านออก อา่ นคล่อง และอ่านเปน็ สำ�หรบั นักเรยี นระดบั ช้นั ประถมศกึ ษาปีที่ ๑-๓* รองศาสตราจารย์ปิตินันธ์ สุทธสาร คณะครศุ าสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย และกรรมการวิชาการของราชบณั ฑติ ยสภา การอ่านเป็นกระบวนการท่ีซับซ้อน เด็กจะต้องรู้จักสัญลักษณ์ท่ีเป็นตัวอักษรไทย คือ พยญั ชนะ สระ และวรรณยกุ ต์ เพอ่ื น�ำ มาประสมแลว้ สามารถเปลง่ เสยี งคำ� ๆ นน้ั และเขา้ ใจความหมาย ของคำ� โดยโยงประสบการณข์ องตนเข้ามาช่วยเสรมิ ให้เข้าใจยิง่ ขนึ้ ดงั นัน้ การอา่ นจงึ เป็นสง่ิ ท่จี �ำ เป็น ที่ครูจะต้องสอนให้แก่เด็ก รู้วิธีการสอนหลาย ๆ แบบ ไม่มีวิธีการสอนใดเป็นสูตรสำ�เร็จ การสอนท่ีดี จึงต้องใช้วิธีสอนหลากหลายวิธีผสมผสานกันตามความสามารถของเด็กแต่ละวัย และพจิ ารณาถึงความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม การอ่านเป็นทักษะท่ีครูจะต้องฝึกฝนให้เด็กจนเกิดความชำ�นาญ และฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง และสมา่ํ เสมอ ทกั ษะการอ่านท่คี รูตอ้ งสอนให้แกเ่ ดก็ ไดแ้ ก่ ๑. การอ่านคำ� และรู้ความหมายของคำ� นั่นคือให้เด็กอ่านออกเป็นคำ� และเข้าใจ ความหมายของค�ำ นน้ั ซ่งึ เป็นทกั ษะเบอ้ื งตน้ คือสอนให้เดก็ อ่านออก ๒. การอ่านจับใจความ เมื่อเด็กอ่านออกเป็นคำ� วลี และประโยคได้แล้ว จะต้องเข้าใจ ในสิ่งที่อา่ น บอกไดว้ า่ ใครทำ�อะไร ทีไ่ หน อยา่ งไรในเรือ่ งทอ่ี า่ น เลา่ เรื่องได้ สรุปเรอื่ งได้ นั่นคือการสอน ให้เด็ก อา่ นเปน็ ๓. การอ่านออกเสียงให้ชดั เจน ถูกต้อง โดยเฉพาะคำ�ทีอ่ อกเสยี ง ร ล คำ�ควบกล้ํา คำ�ท่ีมี อักษรนำ� ร้จู ักจังหวะในการอ่านใหถ้ ูกวรรคตอนฝึกจนอ่านคลอ่ ง * ค�ำ บรรยายในการประชุมปฏิบัตกิ ารการสอนอา่ นเขียนโดยการแจกลกู สะกดค�ำ โดยรองศาสตราจารย์ปติ นิ นั ธ์ สทุ ธสาร คูม่ ือการสอนอ่านเขียน 8 โดยการแจกลูกสะกดค�ำ

๔. การอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้ รู้จักวิธีค้นคว้าความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทักษะนี้ เหมาะทจ่ี ะใช้กบั เดก็ ในช้ันประถมปลายไปจนถึงชนั้ ทส่ี ูง ๕. ฝกึ ให้เด็กมีนสิ ัยรักการอ่าน ครูจัดบรรยากาศในช้นั เรียนเพอ่ื กระตนุ้ ให้เดก็ อ่านหนังสอื จดั กจิ กรรมตา่ ง ๆ ทเี่ ชญิ ชวนใหเ้ ดก็ อยากอา่ น ขอ้ ส�ำ คญั คอื ครตู อ้ งเปน็ ตวั อยา่ งทด่ี แี กเ่ ดก็ อา่ นหนงั สอื หลากหลายน�ำ มาเลา่ ใหเ้ ดก็ ฟงั ๖. การอ่านเพื่อให้คุณค่าและเกิดความซาบซึ้ง นั่นคือ การสอนอ่านวรรณคดีและ วรรณกรรมสำ�หรับเด็ก ให้เด็กมองเห็นประโยชน์ท่ีได้รับจากการอ่านเพื่อนำ�มาใช้ในชีวิตประจำ�วัน ให้เด็กรู้รสไพเราะของการอ่านร้อยกรองต่าง ๆ การอ่านวรรณคดีท่ีจัดไว้ให้เด็กแต่ละช้ันเพ่ือให้เห็น ความงดงามของภาษา การสอนใหอ้ ่านออก การสอนให้อ่านออกมีหลายวิธี ครูไม่ควรยึดวิธีใดวิธีหนึ่ง ควรผสมผสานหลายวิธี จนสามารถทำ�ให้เดก็ อ่านออกเปน็ ค�ำ และรคู้ วามหมายของคำ� ๑. สอนโดยวิธีประสมอักษร เป็นการสอนท่ีใช้กันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันท่ีแสดงถึง ภูมิปญั ญาการสอนอา่ นแบบไทย ซึง่ ท�ำ ใหเ้ ด็กอา่ นหนงั สือไทยได้แตกฉานวิธหี นง่ึ วิธีสอนแบบน้ีเป็นการนำ�พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ มาประสมกัน แล้วฝึกอ่านแบบ แจกลูก การอ่านแบบสะกดคำ� เป็นการสอนอ่านที่เน้นการฟังเสียงของพยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด และวรรณยกุ ตท์ น่ี ำ�มาประสมกนั เปน็ คำ� เมือ่ ฝกึ ฝนบอ่ ย ๆ จนชินหูก็จะอ่านได้ถูกต้องแม่นย�ำ การอา่ นแบบแจกลกู เปน็ การอ่านโดยยดึ พยญั ชนะตน้ เป็นหลกั ยึดสระเปน็ หลัก หรือ ยดึ สระ และตัวสะกดเป็นหลัก เชน่ ยึดพยัญชนะตน้ –ะ –า –ิ –ี –ึ –ื –ุ –ู เปน็ หลัก กะ กา กิ กี กึ กือ กุ กู ก ขะ ขา ขิ ขี ขึ ขือ ขุ ขู ข คะ คา คิ คี คึ คอื คุ คู ค คมู่ อื การสอนอา่ นเขียน 9 โดยการแจกลูกสะกดคำ�

ยึดสระเปน็ หลัก ก จ ต อ ข ส ม ย –า กา จา ตา อา ขา สา มา ยา –ี ก ี จี ต ี อ ี ขี ส ี ม ี ยี – ู ก ู จ ู ตู อู ขู ส ู มู ยู ยดึ สระและตัวสะกด ก จ ต อ ข ส ม ย เป็นหลัก กาง จาง ตาง อาง ขาง สาง มาง ยาง –า ง กาน จาน ตาน อาน ขาน สาน มาน ยาน –า น กาด จาด ตาด อาด ขาด สาด มาด ยาด –า ด การอ่านแบบสะกดคำ� เป็นการอ่านโดยสะกดคำ� หรือออกเสียงพยัญชนะ สระ ตัวสะกด วรรณยกุ ต์ การนั ต์ ทีป่ ระกอบเปน็ คำ� เชน่ ตา สะกดวา่ ตอ - อา ตา บา้ น สะกดว่า บอ - อา - นอ บาน - ไมโ้ ท บา้ น เรอื่ ง สะกดวา่ รอ - เออื - งอ เรอื ง - ไมเ้ อก เร่อื ง ถนน สะกดวา่ ถอ - นอ - โอะ - นอ ถะ - หฺนน สตั ว์ สะกดว่า สอ - อะ - ตอ - วอการันต์ สดั ๒. สอนด้วยการเดาคำ�จากภาพ หรือ การสอนอา่ นจากภาพ เด็กเริ่มหัดอ่านจากรูปภาพก่อน แล้วจึงนำ�ไปสู่การอ่านจากตัวอักษร รูปภาพจะเป็น ส่ิงชแ้ี นะให้เด็กอา่ นคำ�นัน้ ได้ เชน่ กระตา่ ย เรือใบ คูม่ ือการสอนอา่ นเขยี น 10 โดยการแจกลูกสะกดค�ำ

๓. สอนอา่ นจากรปู รา่ งของค�ำ เมอื่ เดก็ เหน็ รปู รา่ งของค�ำ โดยสว่ นรวมกจ็ ะจ�ำ ได้ แลว้ จะน�ำ ไปเปรยี บเทยี บกบั คำ�ทเ่ี คยอา่ นออกแลว้ ค�ำ ใดทม่ี รี ปู รา่ งคลา้ ยคลงึ กนั กส็ ามารถเดาและเทยี บเสยี งไดว้ า่ อ่านอย่างไร การสอนแบบน้ีครูต้องตีกรอบคำ�ท่ีทำ�ให้เด็กสามารถมองเห็นรูปร่างคำ�ได้อย่างชัดเจน เน้นการฝกึ ใหเ้ ดก็ สังเกตรูปร่างของคำ� เชน่ หน หม เ รื อ เ สื อ ู ู ิิ ใจ บน กน ใน ๔. สอนดว้ ยการเดาคำ�จากบริบท หรือคำ�ทอ่ี ยู่แวดลอ้ ม สำ�หรับเดก็ มักจะใช้บรบิ ททเี่ ปน็ ปริศนาคำ�ทาย หากครูต้องการให้เด็กอ่านคำ�ใดก็สร้างปริศนาคำ�ทาย เม่ือเด็กทายคำ�ได้ถูกก็สามารถ อ่านค�ำ นั้นออก ตวั อย่างปริศนาคำ�ทายทีใ่ ชส้ ระอะ ๏ ฉันเป็นผักสวนครัว เน้ือตัวเป็นตะปุ่มตะป่ํา แต่มีคุณค่าเลิศล้ํา ค้ันเอานํ้าแม้ขมหน่อย อร่อยดี (มะระ) ๏ ฉันเปน็ ของใช้ มีไว้ในครวั เอาไวผ้ ัดควั่ ทัว่ ทุกบา้ นตอ้ งมี (กระทะ) ๕. สอนอ่านโดยให้รู้หลักภาษา วิธีนี้เด็กจะรู้หลักเกณฑ์ของภาษาเพ่ือการอ่านการเขียน เช่น อักษร ๓ หมู่ สระเสียงเดี่ยว สระเสียงประสม มาตราตัวสะกด การผันวรรณยุกต์ การอ่านคำ� ควบกล้ํา การอ่านอักษรนำ� เป็นต้น วิธีนี้ต้องหาวิธีสอนที่หลากหลาย จัดกิจกรรมที่น่าสนใจ ใหเ้ ดก็ เรยี นรหู้ ลกั ภาษาทงี่ า่ ย ๆ ดว้ ยวธิ งี า่ ย ๆ ทท่ี �ำ ใหเ้ ดก็ สนกุ สนาน กจิ กรรมทเ่ี ดก็ ชอบ เชน่ เลา่ นทิ าน รอ้ งเพลง เลน่ เกม เป็นตน้ คมู่ ือการสอนอ่านเขียน 11 โดยการแจกลกู สะกดคำ�

ตวั อยา่ งการสอนโดยใช้เพลง เพลง สระ อะ ค�ำ ร้อง รศ.ปิตนิ นั ท ์ สุทธสาร ท�ำ นอง THIS IS THE WAY ค�ำ สระอะ จะมีเสียงสนั้ อยู่คูเ่ คียงกนั พยญั ชนะ จะ ปะ กระบะ กระทะ ตะกละ มะระ ล้วนอะตามเรียงราย คำ�สระอะมีตวั สะกด อะจะกระโดดเป็น หันอากาศ เชน่ กะ - น - กัน และฉัน น้ัน ม่ัน ตัว อะ แปรผัน เปน็ หันอากาศ (ซา้ํ ) ๖. สอนอ่านตามคร ู วธิ นี เ้ี ปน็ การสอนทง่ี า่ ย ครสู ว่ นใหญช่ อบมาก ถา้ ครไู มค่ ดิ พจิ ารณาใหด้ วี า่ เมอ่ื ใดควรสอน ด้วยวิธนี จ้ี ะเป็นอนั ตรายต่อเด็ก ครจู ะใชว้ ิธีนต้ี อ่ เมื่อเปน็ คำ�ยาก ค�ำ ท่มี ีตวั สะกดแปลก ๆ หรือครไู ด้ใช้ วธิ ีอ่ืนแลว้ เด็กยังอา่ นไม่ได ้ ส�ำ หรับชัน้ ป. ๑ ครอู าจใช้วธิ นี ี้ได้ โดยครูอ่านน�ำ แล้วให้นักเรียนอ่านตาม เมอื่ เด็กอ่าน ไดแ้ ลว้ จึงฝกึ ให้อา่ นเป็นกลมุ่ เป็นรายบุคคล การอ่านบทรอ้ ยกรองนั้น ครจู �ำ เปน็ ต้องอ่านน�ำ กอ่ น เพื่อใหร้ ู้จังหวะ และลีลาการอ่าน บทรอ้ ยกรองตามประเภทของคำ�ประพนั ธน์ ้ัน ๆ วธิ ีการสอนท้งั ๖ วิธนี ี้ ครคู วรน�ำ ไปประยุกตใ์ ช้ให้ผสมผสานใหเ้ หมาะสมแก่วัยของเดก็ จะท�ำ ใหเ้ ด็กอ่านออกอา่ นเกง่ ตอ่ ไปครจู งึ สอนอ่าน วลี ประโยค ข้อความ เร่อื งราวสน้ั ๆ และการฝึก การอา่ นจับใจความในล�ำ ดบั ต่อไป คมู่ ือการสอนอา่ นเขยี น 12 โดยการแจกลกู สะกดคำ�

หนว่ ยที่ ๑ รูปและเสยี งพยญั ชนะ สว่ นท่ี ๑ ความร้สู ำ�หรับครู การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อมุ่งให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ท่ีประสบผล สำ�เร็จมีหลากหลายวิธี ท้ังน้ีข้ึนอยู่กับเทคนิคและประสบการณ์ของครูเป็นสำ�คัญ แต่ส่ิงที่สำ�คัญ ทค่ี รคู วรคำ�นงึ ถงึ คือ การศึกษาผเู้ รยี นเป็นรายบุคคล และจัดการเรียนรูต้ ามความแตกตา่ งของผเู้ รียน ด้วยความรักความเขา้ ใจ โดยครูควร ๑. ตระหนักถึงความสำ�คัญของการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาให้ นักเรียนอ่านออกเขียนได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้วิชาต่าง ๆ และการส่ือสารในชีวิตตาม วตั ถปุ ระสงคต์ ่าง ๆ ของตน ๒. มคี วามรเู้ ก่ียวกบั รูปและเสยี งของพยัญชนะไทย ๓. ใหค้ วามส�ำ คญั กบั การสอนและฝกึ ฝนใหน้ กั เรยี นเขยี นพยญั ชนะไดถ้ กู วธิ ี ตลอดจนวธิ กี าร จับดนิ สอ การวางสมดุ และท่านง่ั ทถี่ กู ต้อง ๔. จัดเตรียมสื่อให้น่าสนใจ ครบตามจำ�นวนนักเรียน และให้นักเรียนทุกคนได้ฝึกปฏิบัติ จนเกดิ ทกั ษะและความแม่นยำ� รูปพยัญชนะ พยัญชนะไทยมที ้ังหมด ๔๔ ตัว ปัจจุบันใชเ้ พียง ๔๒ ตวั พยัญชนะตวั ท่ไี ม่ใช้ คอื ฃ และ ฅ ค่มู ือการสอนอ่านเขยี น 13 โดยการแจกลกู สะกดค�ำ

ตวั อกั ษรแบบกระทรวงศกึ ษาธิการ พยัญชนะไทย ขอ้ สังเกต ๑. พยญั ชนะ ฬ ในรูปแบบของกระทรวงศกึ ษาธกิ ารใช้หางสงู กวา่ บรรทัดท่ี ๑ ขึ้นไป ๒ ส่วน ๒. พยญั ชนะ อ ฐานของ อ จะโค้งหรอื ตรงก็ได้ ชื่อพยัญชนะ ชื่อพยัญชนะไทยท่ีใช้กำ�กับพยัญชนะแต่ละตัว ที่ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เป็นช่ือท่ี สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาด�ำ รงราชานภุ าพ ไดส้ รรหาค�ำ มาก�ำ กบั ซง่ึ ตอ่ มามผี แู้ ตง่ รอ้ ยกรอง ประกอบชื่อพยัญชนะข้ึนหลายสำ�นวน เพ่ือให้นักเรียนท่องจำ�ได้ง่ายขึ้น สำ�นวนที่ใช้กันมานานอย่าง แพรห่ ลาย คือ ส�ำ นวนท่ปี รากกฏในแบบเรยี น ก ไก่ ของบรษิ ัทประชาชา่ ง ดงั นี้ คมู่ ือการสอนอ่านเขียน 14 โดยการแจกลกู สะกดคำ�

คมู่ ือการสอนอา่ นเขียน 15 โดยการแจกลกู สะกดค�ำ

ข้อสงั เกตเกี่ยวกบั รอ้ ยกรองทป่ี ระกอบพยัญชนะ ๑. พยญั ชนะ ซ บางต�ำ ราใช้ ล่ามตี หมายถึง ล่ามและตีตรวน แต่ในทีน่ ีใ้ ช้ ล่ามที ๒. พยัญชนะ ฌ ที่ถูกใช้ เฌอ หมายถึง ต้นไม้ ซึ่งตรงตามรูปประกอบ กระเชอ น้ัน หมายถึง ภาชนะสานชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายกระจาดแต่สูงกว่า ก้นสอบ ปากกว้างกว่า ใช้สำ�หรับ กระเดียด ๓. พยัญชนะ ศ ใช้ ศ ศาลา เท่าน้นั ทง้ั นไี้ ม่ใช้ ศ คอ ศาลา ๔. พยญั ชนะ ษ ใช้ ษ ฤๅษี เทา่ น้ัน ท้งั นีไ้ มใ่ ช้ ษ บอ ฤๅษี อยา่ งไรก็ตาม สิ่งสำ�คญั คอื ครตู อ้ งสอนให้นกั เรยี นรู้จกั รูปและเสียงของพยัญชนะใหถ้ ูกตอ้ ง ตรงกัน ส่วนช่ือเรียกพยัญชนะและคำ�สร้อยนั้น สามารถปรับเปล่ียนได้ตามยุคสมัยและสำ�นักพิมพ์ ซ่ึงอาจมีความแตกตา่ งกนั ได้ ค่มู ือการสอนอ่านเขยี น 16 โดยการแจกลูกสะกดค�ำ

การฝกึ เขยี นพยัญชนะ กรณีท่ีนักเรียนยังไม่เคยเรียนเร่ืองการอ่านและการเขียนพยัญชนะมาก่อนเลย ครูควรสอน พน้ื ฐานส�ำ คญั สำ�หรับการเริ่มตน้ เขยี นพยัญชนะใหถ้ กู ต้องกอ่ น ดงั นี้ ๑. วธิ กี ารจบั ดินสอทีถ่ กู ตอ้ ง ๒. ลักษณะการนั่งทถ่ี ูกวิธี ๓. การเขียนเสน้ พืน้ ฐานในการเขยี นพยัญชนะ ๑. วธิ จี ับดินสอท่ีถกู ตอ้ ง การจบั ดนิ สอทจี่ ะท�ำ ใหไ้ มเ่ กดิ การเกรง็ ของนว้ิ และขอ้ มอื มากเกนิ ไป และยงั เปน็ การจบั แบบ ธรรมชาตติ ามสรีระของนิ้วและมือ คือ นว้ิ หัวแมม่ ือและน้ิวชี้จบั ตัวดินสอ นิว้ กลางใชเ้ ป็นฐานรองดินสอ ภาพการจับดินสอท่ถี ูกวธิ ี ๒. ลักษณะการน่งั ที่ถกู วิธี ๒.๑ นกั เรยี นนง่ั ตวั ตรง หนั หนา้ เขา้ หาโตะ๊ เรยี น ทง้ั นไี้ มค่ วรนง่ั เอยี งเพราะอาจท�ำ ใหห้ ลงั คด ๒.๒ แขนทั้ง ๒ ข้าง วางอยู่บนโต๊ะ ประมาณ ๓ ใน ๔ ของความยาวระหวา่ งศอกกับขอ้ มือ โดยวางพาดไวก้ บั ขอบโต๊ะ คู่มือการสอนอ่านเขยี น 17 โดยการแจกลูกสะกดคำ�

๒.๓ วางกระดาษสำ�หรับเขียนไว้ตรงหน้า ท้ังนี้ควรวางกระดาษให้ตรง หรือเอียงเพียง เลก็ นอ้ ย หากวางเอยี งมากไปอาจท�ำ ใหผ้ เู้ ขยี นตอ้ งเอยี งคอ สง่ ผลใหส้ ายตาท�ำ งานมาก อาจท�ำ ใหส้ ายตา นกั เรยี นผดิ ปกติได้ ๒.๔ มอื ทใี่ ชเ้ ขยี นตอ้ งท�ำ มมุ ใหเ้ หมาะสมกบั ตวั อกั ษร ขอ้ ศอกตอ้ งไมก่ างออกหรอื แนบล�ำ ตวั มากเกนิ ไป ๒.๕ การวางมือ ใชฝ้ า่ มือควา่ํ ลง มอื งอ ท�ำ มุม ๔๕ องศากับข้อมือ นิ้วกลางรองรบั ดนิ สอ หรือปากกา สว่ นน้ิวหวั แมม่ อื กบั นิ้วชจี้ ะประคองดินสอร่วมกบั น้ิวกลาง ๒.๖ จบั ดนิ สอใหพ้ อเหมาะ ไมแ่ นน่ หรอื หลวมเกนิ ไป สว่ นนว้ิ ทจี่ บั ดนิ สอควรโคง้ งอเลก็ นอ้ ย ๒.๗ ขณะทคี่ ัดลายมือ แขน มอื และนิ้วตอ้ งเคลอื่ นไหวให้สัมพนั ธก์ นั ๒.๘ การเคล่ือนไหวของดินสอขณะที่คัดตัวพยัญชนะ จะต้องเริ่มต้นจากการเขียนส่วนหัว ของพยญั ชนะทกุ ตัวเสมอ ทงั้ นต้ี ้องเขียนพยญั ชนะแตล่ ะตวั ให้เสร็จเรยี บร้อยกอ่ นท่ีจะยกดนิ สอ ๓. การเขียนเสน้ พนื้ ฐานในการเขียนพยญั ชนะ ก่อนสอนเขียนพยัญชนะไทย ครูควรฝึกการเขียนเส้นพื้นฐานจากง่ายไปหายาก จำ�นวน ๑๓ เสน้ ให้กับนกั เรยี น โดยใช้บรรทัด ๕ เส้น (๔ สว่ น) จนนักเรียนเกิดความช�ำ นาญ ตวั อย่างเส้นพ้ืนฐานในการเขียนพยญั ชนะ ๑. เสน้ ตรงจากบนลงล่าง ๒. เสน้ เฉียงจากบนขวามาล่างซ้าย คู่มือการสอนอ่านเขียน 18 โดยการแจกลูกสะกดคำ�

๓. เส้นเฉยี งจากบนซ้ายมาลา่ งขวา ๔. เส้นเฉยี งจากลา่ งซา้ ยไปบนขวา ๕. เสน้ ตรงจากลา่ งไปบน ๖. เส้นเฉยี งจากลา่ งขวาไปบนซา้ ย ๗. เสน้ ตรงลา่ งจากซา้ ยไปขวา คมู่ ือการสอนอา่ นเขยี น 19 โดยการแจกลูกสะกดคำ�

๘. เสน้ ตรงลา่ งจากขวาไปซา้ ย ๙. เส้นโคง้ บนจากซา้ ยไปขวา ๑๐. เสน้ โค้งล่างจากซา้ ยไปขวา ๑๑. เส้นโค้งบนจากขวาไปซ้าย ๑๒. เสน้ วงกลมจากซา้ ยไปขวา คู่มือการสอนอ่านเขียน 20 โดยการแจกลูกสะกดค�ำ

๑๓. เส้นวงกลมจากขวาไปซ้าย การสอนให้นักเรียนเกิดทักษะการเขียนเส้นพ้ืนฐาน ครูควรให้นักเรียนเขียนเส้นพ้ืนฐาน ท้ัง ๑๓ เส้น ตามรูปแบบที่กำ�หนดให้ต่อเน่ืองจนเกิดความชำ�นาญ และเมื่อนักเรียนคุ้นเคย กับการเขียนเส้นข้ันพื้นฐานท้ัง ๑๓ เส้นแล้ว ครูสามารถเริ่มสอนเขียนพยัญชนะไทยตามรูปแบบ พยัญชนะไทยที่ถูกต้อง ท้ัง ๔๔ ตัว อย่างต่อเนื่องจนเกิดความชำ�นาญ โดยยึดหลักเกณฑ์ท่ีสำ�คัญ ดงั น้ี ๑. การเขียนพยัญชนะไทยต้องเน้นให้นักเรียนเขียนตัวพยัญชนะก่อนแล้วจึงเขียนเชิง หาง หรือไส้ และให้เริม่ เขียนที่ต้นตวั พยญั ชนะแลว้ ลากเสน้ ติดตอ่ กนั ไปจนจบท่ปี ลายพยญั ชนะ หาง เชงิ ไส้ ๒. การเขยี นหัวพยัญชนะ ตอ้ งเขียนให้กลม มเี สน้ เรยี บคมและสมํา่ เสมอ ในท่ีน้ีขอเสนอวธิ ี การเขยี นพยญั ชนะไทยตามล�ำ ดบั ความยากง่าย ดังนี้ ๒.๑ หัวอยู่สว่ นท่ี ๑ กลมเตม็ ๑ สว่ น ๒.๑.๑ หวั หลงั บน ได้แก่ ผ ฝ ย คู่มอื การสอนอ่านเขยี น 21 โดยการแจกลูกสะกดค�ำ

๒.๑.๒ หัวหนา้ บน ได้แก่ ง บ ป น ม ท ห พ ฟ ษ ฬ ๒.๒ หัวอย่ใู นสว่ นที่ ๒ กลมเตม็ สว่ น ๑ ส่วน ๒.๒.๑ หวั หลังกลาง ได้แก่ ค ศ อ ฮ ๒.๒.๒ หวั หน้ากลาง ได้แก่ จ ฉ ด ต ฒ ฐ ๒.๓ หวั อยใู่ นสว่ นที่ ๔ กลมเต็ม ๑ ส่วน ๒.๓.๑ หวั หลงั ล่าง ได้แก่ ถ ล ส ฌ ณ ญ ๒.๓.๒ หวั หนา้ ล่าง ไดแ้ ก่ ฎ ฏ ภ ค่มู อื การสอนอา่ นเขียน 22 โดยการแจกลกู สะกดค�ำ

๒.๔ หัวขมวดหกั หนา้ บน ไดแ้ ก่ ข ช ๒.๕ หวั หยกั หักเหล่ยี มหน้าบน ได้แก่ ซ ฑ ฆ วธิ ีคัดพยญั ชนะไทย พยัญชนะกลุม่ ท่ี ๑ พยญั ชนะไมม่ ีหวั พยญั ชนะกลุม่ ท่ี ๒ พยญั ชนะท่ีมีหวั เรมิ่ ทบี่ รรทัดส่วนท่ี ๑ พยัญชนะกลมุ่ ท่ี ๓ พยัญชนะทีม่ ีหัวระหว่างบรรทดั ส่วนที่ ๑ และส่วนท่ี ๒ พยัญชนะกลุ่มท่ี ๔ พยญั ชนะทม่ี หี ัวเรมิ่ ท่บี รรทดั ส่วนท่ี ๒ คมู่ ือการสอนอ่านเขยี น 23 โดยการแจกลูกสะกดคำ�

พยญั ชนะกลมุ่ ท่ี ๕ พยัญชนะทม่ี หี ัวระหวา่ งบรรทัดส่วนที่ ๓ และสว่ นที่ ๔ ล�ำ ดับพยญั ชนะท่ีควรสอน กอ่ น - หลงั พยัญชนะไทยทั้ง ๔๔ ตัว มีระดับความยากง่ายในการอ่านออกเสียง และการเขียนรูป พยญั ชนะท่แี ตกตา่ งกัน ครคู วรเลือกพยัญชนะท่ีง่ายตอ่ การออกเสียงและเขียนรูป ใหน้ กั เรียนฝกึ อ่าน ฝกึ เขยี นตามล�ำ ดับกอ่ น ทง้ั น้เี พ่ือเป็นการเสริมแรงและเพิม่ กำ�ลังใจในการเรียนรใู้ หก้ ับนักเรียน ล�ำ ดบั พยัญชนะไทยท่คี วรสอนกอ่ น - หลงั เปน็ ชดุ ๆ ดังนี้ ชุดที่ ๑ ก จ ด ต บ ป อ ชุดที่ ๒ ค ง ช ซ ท น ชุดที่ ๓ พ ฟ ม ย ร ล ว ฮ ชดุ ท่ี ๔ ข ฉ ถ ผ ฝ ส ห ชดุ ที่ ๕ ฃ ฅ ฆ ฑ ธ ภ ศ ษ ฬ ชุดท่ี ๖ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฒ ณ คมู่ อื การสอนอ่านเขยี น 24 โดยการแจกลกู สะกดค�ำ

สว่ นท่ี ๒ แนวทางการจัดการเรยี นรู้ ๑. สอนใหเ้ ห็นรูป สอนใหร้ จู้ ักเสียง สอนใหเ้ ขียนรูป ๒. สอนทลี ะขั้นตอน ค่อยเป็นค่อยไป ๓. หากพบนักเรียนคนใดยังอ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง หรือเขียนไม่ได้ ให้หยุดรอ พร้อมท้ัง ช่วยเหลือและแก้ไขเสียก่อน อย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน เพราะจะเกิดความเสียหาย และสายจนแกไ้ ขไดย้ าก คูม่ ือการสอนอา่ นเขียน 25 โดยการแจกลูกสะกดค�ำ

ตวั อย่างการน�ำ แนวทางการจดั การเรียนรู้ไปใช้ในหอ้ งเรยี น หนว่ ยที่ ๑ รปู และเสยี งพยัญชนะ จดุ ประสงค์การเรียนรูข้ องหนว่ ย (๒ ชวั่ โมง) (๑ ช่ัวโมง) เพอ่ื ใหน้ กั เรียนอ่านเขยี นรูปและเสียงพยัญชนะได้ (๑ ชว่ั โมง) แนวทางการจดั การเรยี นรทู้ ี่ ๑ การอ่านรูปและเสียงพยญั ชนะ แนวทางการจัดการเรียนร้ทู ่ี ๒ การเขยี นพยญั ชนะ แนวทางการจดั การเรยี นรูท้ ่ี ๑ การอ่านรปู และเสียงพยัญชนะ (๑ ชัว่ โมง) จุดประสงคก์ ารเรยี นรู้ เพื่อใหน้ ักเรยี นอ่านรปู และเสยี งพยัญชนะไทยทง้ั ๔๔ ตัว ไดถ้ ูกต้อง ขั้นตอนการจัดการเรยี นรู้ ๑. ข้ันน�ำ ครูสอนให้นักเรียนรู้จัก “ช่ือพยัญชนะ” ท้ังหมดโดยใช้วิธี “อ่านท่องร้องเล่น” ตามท่ี ทอ่ งกนั โดยทว่ั ไป ซงึ่ จะตอ้ งเรยี งตามล�ำ ดบั พยญั ชนะ เพอ่ื ใหน้ กั เรยี นไดร้ จู้ กั “ชอ่ื ” ของพยญั ชนะแตล่ ะตวั ทั้งน้ีควรฝึกให้นักเรียนอ่านท่องร้องเล่นบ่อย ๆ จนเกิดความชำ�นาญและควรเน้นความสนุกสนาน เพลิดเพลนิ กบั การทอ่ งรอ้ งเลน่ ชอ่ื พยญั ชนะพรอ้ มปรบมือให้จังหวะ ค่มู ือการสอนอา่ นเขยี น 26 โดยการแจกลูกสะกดค�ำ

๒. ขน้ั สอน ๒.๑ ครูสอนให้รู้จัก “รูป” และ “เสียง” ของพยัญชนะแต่ละตัว เพื่อนำ�สู่การอ่าน และเขียนสะกดค�ำ ต่อไป โดยใช้แผนภูมิพยญั ชนะ ๒.๒ ใหน้ ักเรียนอ่าน ก - ฮ พร้อม ๆ กัน และเปน็ รายบุคคล ๒.๓ ครสู ังเกตความถกู ต้องในการอ่านออกเสยี งพยญั ชนะของนกั เรยี น ๒.๔ ให้นกั เรยี นทำ�แบบฝึกการอา่ นรปู พยัญชนะ ๓. ขน้ั สรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปชื่อพยัญชนะ ท้ัง ๔๔ ตัว โดยการอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง ดงั นี้ ก ออกเสยี งวา่ กอ ข ออกเสียงว่า ขอ ค ออกเสยี งวา่ คอ จ ออกเสยี งว่า จอ ช ออกเสยี งว่า ชอ ต ออกเสียงว่า ตอ ฝ ออกเสยี งว่า ฝอ ร ออกเสยี งวา่ รอ ส ออกเสียงว่า สอ ฮ ออกเสยี งว่า ฮอ คมู่ อื การสอนอา่ นเขียน 27 โดยการแจกลกู สะกดค�ำ

ส่ือการเรยี นการสอน ๑. แผนภูมิ ก - ฮ ๒. แบบฝกึ การวดั และประเมนิ ผล การตรวจแบบฝึก คูม่ อื การสอนอา่ นเขยี น 28 โดยการแจกลูกสะกดค�ำ

แบบฝึกการอา่ นออกเสยี งพยัญชนะ ค�ำ ชี้แจง ๑. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนตามความเหมาะสม การแบ่งกลุ่มของนักเรียนไม่ควรเกิน ๕ คน หรืออาจให้นักเรยี นจบั คูก่ นั ๒. ครูแจกบตั รพยญั ชนะไทยและบัตรภาพ ก - ฮ แล้วใหน้ กั เรยี นจบั คูพ่ ยัญชนะและภาพ ใหถ้ ูกต้อง ๓. ให้นักเรียนจับคู่ คนท่ี ๑ ถือบัตรภาพ และคนท่ี ๒ อ่านออกเสียงพยัญชนะให้ตรง กบั ภาพ ถา้ นกั เรยี นอ่านออกเสยี งผิดใหแ้ กไ้ ขทันที ค่มู อื การสอนอา่ นเขียน 29 โดยการแจกลูกสะกดคำ�

คมู่ ือการสอนอา่ นเขียน 30 โดยการแจกลกู สะกดค�ำ แบบบันทึกผลการอา่ นออกเสยี งพยัญชนะ ที ่ ช อื่ -สกลุ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด พตย ัญถช นทะ ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ รวม คะแนน* คะแนนรวม** หมายเหตุ ๑. ให้บนั ทกึ คะแนนของนักเรยี นเป็นรายข้อ เพอื่ ให้รู้วา่ นกั เรยี นมีขอ้ บกพร่องใด สำ�หรับน�ำ ไปใช้ในการปรบั ปรุงและพฒั นานกั เรยี น ๒. วธิ กี ารบนั ทกึ ถา้ อา่ นออกเสียงถกู ตอ้ งให้ใสเ่ ครื่องหมาย √ ถ้าอา่ นออกเสียงผดิ ใหใ้ หใ้ สเ่ ครอ่ื งหมาย X (เครอื่ งหมาย √ เท่ากบั ๑ คะแนน เครื่องหมาย X เท่ากบั ๐ คะแนน) ๓. ใช้ รวมคะแนน* เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยข้อบกพร่องของนักเรยี นเป็นรายบุคคล และน�ำ ไปใชใ้ นการปรบั ปรงุ และพัฒนานกั เรยี นเปน็ รายบคุ คล ๔. ใช้ คะแนนรวม** เพอื่ ประโยชนใ์ นการวนิ จิ ฉยั วา่ ขอ้ บกพรอ่ งของนกั เรยี นในภาพรวมของชน้ั เรยี น เพอื่ น�ำ ไปใชใ้ นการปรบั ปรงุ และพฒั นาการจดั การเรยี น การสอน ๕. นักเรยี นตอ้ งอ่านพยญั ชนะถูกต้องทุกตัว จงึ ผ่านเกณฑ์ กรณที น่ี กั เรยี นไม่ผา่ นเกณฑ์ ครตู ้องฝกึ จนนักเรียนอ่านได้

แนวทางการจดั การเรียนรู้ที่ ๒ การเขียนพยัญชนะ (๑ ชว่ั โมง) จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้ เพื่อให้นักเรยี นเขยี นพยัญชนะไทย ทั้ง ๔๔ ตวั ไดอ้ ยา่ งถกู ต้อง ขน้ั ตอนการจัดการเรยี นรู้ ๑. ข้นั น�ำ ครูนำ�แผนภูมิพยัญชนะไทยซ่ึงมีทั้งหมด ๔๔ ตัว (ปัจจุบันใช้เพียง ๔๒ ตัว พยัญชนะ ที่เลิกใช้ คอื ฃ และ ฅ) ใหน้ กั เรยี นดแู ละให้นกั เรียนอ่านพร้อมกนั ๒. ขั้นสอน ๒.๑ ครูเตรียมความพร้อมด้านการเขียนให้นักเรียน โดยสาธิตและอธิบายเกี่ยวกับ การจบั ดนิ สอทถี่ ูกต้องและลักษณะการน่งั ทถี่ ูกวิธี ๒.๒ ให้นักเรียนฝึกการเขียนเส้นพื้นฐานจากง่ายไปหายาก จำ�นวน ๑๓ เส้น ตามแบบฝกึ ที่ ๑ การเขยี นเสน้ พนื้ ฐานในการเขยี นพยญั ชนะ โดยใชบ้ รรทดั ๕ เสน้ (๔ สว่ น) จนนกั เรยี น เกิดความชำ�นาญ ท้ังนี้ครูควรกำ�ชับให้นักเรียนเขียนเส้นพ้ืนฐานทั้ง ๑๓ เส้น ตามรูปแบบท่ีกำ�หนด ให้ต่อเน่ือง และอาจใหน้ ักเรียนนำ�ไปฝึกฝนทบี่ ้านเพม่ิ เตมิ กไ็ ด้ ๒.๓ ครสู อนใหน้ ักเรยี นเขยี นหวั พยญั ชนะไทย ตามแบบฝกึ ที่ ๒ การเขยี นหัวพยัญชนะ โดยใช้บรรทัด ๕ เส้น (๔ ส่วน) จนนักเรียนเกิดความชำ�นาญ โดยให้นักเรียนดูตัวอย่างการเขียน หัวพยญั ชนะไทย แล้วใหน้ ักเรียนฝกึ เขียนตามตวั อย่าง ๒.๔ ครูสอนให้นักเรียนเขียนพยัญชนะไทย โดยเรียงลำ�ดับพยัญชนะท่ีเขียนง่าย ไปหายากตามล�ำ ดับ ๓. ขัน้ สรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรปุ ถงึ รูปแบบการเขยี นตวั พยญั ชนะไทยทีถ่ กู ตอ้ งทัง้ ๔๔ ตัว คู่มอื การสอนอา่ นเขยี น 31 โดยการแจกลูกสะกดค�ำ

สอื่ การเรียนการสอน แบบฝึก การวดั และประเมนิ ผล การตรวจแบบฝึก ค่มู อื การสอนอ่านเขียน 32 โดยการแจกลูกสะกดค�ำ

แบบฝึกที่ ๑ การเขียนเสน้ พ้นื ฐานในการเขยี นพยญั ชนะ คำ�ช้ีแจง ใหน้ กั เรยี นเขยี นเสน้ พื้นฐานในการเขียนพยญั ชนะใหถ้ ูกตอ้ ง ๑. เส้นตรงจากบนลงล่าง ๒. เสน้ เฉยี งจากบนขวามาล่างซ้าย ๓. เสน้ เฉยี งจากบนซา้ ยมาลา่ งขวา ๔. เส้นเฉยี งจากลา่ งซา้ ยไปบนขวา คมู่ อื การสอนอ่านเขยี น 33 โดยการแจกลกู สะกดคำ�

๕. เส้นตรงจากลา่ งไปบน ๖. เส้นเฉียงจากล่างขวาไปบนซา้ ย ๗. เสน้ ตรงล่างจากซา้ ยไปขวา ๘. เส้นตรงลา่ งจากขวาไปซา้ ย ๙. เส้นโคง้ บนจากซา้ ยไปขวา คมู่ อื การสอนอา่ นเขียน 34 โดยการแจกลกู สะกดค�ำ

๑๐. เสน้ โค้งล่างจากซ้ายไปขวา ๑๑. เสน้ โค้งบนจากขวาไปซ้าย ๑๒. เส้นวงกลมจากซ้ายไปขวา ๑๓. เส้นวงกลมจากขวาไปซ้าย คมู่ ือการสอนอา่ นเขยี น 35 โดยการแจกลูกสะกดคำ�

แบบบันทึกผลการเขยี นเสน้ พ้นื ฐานในการเขียนพยญั ชนะ ท่ี ช ื่อ - สก ุล ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ข๗้อท ่ี ๘ ๙ ๑ ๐ ๑ ๑ ๑๒ ๑๓ คะรแวนมน* คะแนนรวม* หมายเหตุ ๑. ให้บันทึกคะแนนของนักเรียนเป็นรายข้อ เพ่ือให้รู้ว่านักเรียนมีข้อบกพร่องใด สำ�หรับนำ�ไปใช้ในการ ปรับปรุงและพัฒนานกั เรียน ๒. วธิ กี ารบนั ทกึ ถ้าเขยี นถกู ตอ้ งใหใ้ ส่เคร่อื งหมาย √ ถ้าเขยี นผดิ ใหใ้ สเ่ ครอื่ งหมาย X (เครอ่ื งหมาย √ เท่ากับ ๑ คะแนน เครื่องหมาย X เท่ากบั ๐ คะแนน) ๓. ใช้ รวมคะแนน* เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยข้อบกพร่องของนักเรียนเป็นรายบุคคล และนำ�ไปใช้ ในการปรบั ปรงุ และพัฒนานกั เรียนเป็นรายบคุ คล ๔. ใช้ คะแนนรวม** เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยว่าข้อบกพร่องของนักเรียนในภาพรวมของชั้นเรียน เพ่ือน�ำ ไปใช้ในการปรบั ปรุงและพฒั นาการจดั การเรียนการสอน ๕. นกั เรียนตอ้ งเขียนไดถ้ กู ต้องทุกข้อ จงึ จะผา่ นเกณฑ์ กรณีท่ีนักเรียนไมผ่ า่ นเกณฑ์ ครูตอ้ งฝกึ จนนกั เรยี น เขียนได้ คมู่ ือการสอนอา่ นเขยี น 36 โดยการแจกลูกสะกดค�ำ

แบบฝึกท่ี ๒ การเขยี นหวั พยญั ชนะ คำ�ชีแ้ จง ใหน้ กั เรยี นเขยี นหวั พยัญชนะตามท่ีกำ�หนดให้ถูกตอ้ ง ๑. หวั อยูส่ ่วนท่ี ๑ กลมเต็ม ๑ สว่ น ๑.๑ หัวหลงั บน ไดแ้ ก่ ผ ฝ ย ๑.๒ หัวหนา้ บน ได้แก่ ง บ ป น ม ท ห พ ฟ ษ ฬ ๒. หัวอยูใ่ นส่วนที่ ๒ กลมเตม็ ส่วน ๑ สว่ น ๒.๑ หวั หลังกลาง ไดแ้ ก่ ค ศ อ ฮ ๒.๒ หวั หน้ากลาง ได้แก่ จ ฉ ด ต ฒ ฐ คู่มอื การสอนอา่ นเขียน 37 โดยการแจกลกู สะกดคำ�

๓. หัวอยูใ่ นส่วนท่ี ๔ กลมเต็ม ๑ สว่ น ๓.๑ หวั หลงั ลา่ ง ไดแ้ ก่ ถ ล ส ฌ ณ ญ ๓.๒ หัวหน้าล่าง ได้แก่ ฎ ฏ ภ ๔. หวั ขมวดหกั หน้าบน ไดแ้ ก่ ข ช ๕. หวั หยกั หักเหลีย่ มหนา้ บน ได้แก่ ซ ฑ ฆ ค่มู อื การสอนอ่านเขยี น 38 โดยการแจกลูกสะกดค�ำ

แบบบันทึกผลการเขยี นหัวพยัญชนะ ท่ ี ชอ่ื - ส กุล ๑ ๒ ข๓อ้ ท ่ี ๔ ๕ คะรแวนมน* คะแนนรวม* หมายเหตุ ๑. ให้บันทึกคะแนนของนักเรียนเป็นรายข้อ เพ่ือให้รู้ว่านักเรียนมีข้อบกพร่องใด สำ�หรับนำ�ไปใช้ในการ ปรับปรงุ และพัฒนานกั เรยี น ๒. วธิ ีการบนั ทึก ถา้ เขยี นถกู ตอ้ งให้ใสเ่ ครื่องหมาย √ ถา้ เขยี นผิดให้ใสเ่ ครอื่ งหมาย X (เครื่องหมาย √ เทา่ กับ ๑ คะแนน เครือ่ งหมาย X เท่ากบั ๐ คะแนน) ๓. ใช้ รวมคะแนน* เพ่ือประโยชน์ในการวินิจฉัยข้อบกพร่องของนักเรียนเป็นรายบุคคล และนำ�ไปใช้ ในการปรบั ปรงุ และพฒั นานักเรียนเป็นรายบุคคล ๔. ใช้ คะแนนรวม** เพ่ือประโยชน์ในการวินิจฉัยว่าข้อบกพร่องของนักเรียนในภาพรวมของช้ันเรียน เพ่อื นำ�ไปใชใ้ นการปรบั ปรงุ และพัฒนาการจดั การเรยี นการสอน ๕. นกั เรยี นต้องเขยี นได้ถกู ต้องทุกขอ้ จงึ จะผ่านเกณฑ์ กรณที ่ีนักเรยี นไม่ผ่านเกณฑ์ ครูต้องฝึกจนนักเรยี น เขียนได้ คมู่ ือการสอนอ่านเขยี น 39 โดยการแจกลกู สะกดคำ�

ส่วนท่ี ๓ แนวทางการวดั และประเมินผลประจ�ำ หน่วย ฉบับที่ ๑ การอ่านพยญั ชนะ คำ�ชี้แจง ให้นกั เรียนอ่านออกเสียงพยัญชนะไทยตามท่กี �ำ หนดให้ถูกต้อง จ�ำ นวน ๔๔ ตวั โดยครูส่มุ จากบตั รพยญั ชนะ ก - ฮ เพื่อไมใ่ ห้เรียงตัวอกั ษร ตัวอย่างบัตรพยญั ชนะ ก ออกเสยี งว่า กอ คู่มอื การสอนอ่านเขยี น 40 โดยการแจกลกู สะกดคำ�

คมู่ ือการสอนอา่ นเขียน 41 โดยการแจกลกู สะกดค�ำ แบบบนั ทึกผลการอ่านพยญั ชนะ ที่ ช ื่อ-สกลุ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด พตย ัญถช นทะ ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ รวม คะแนน* คะแนนรวม** หมายเหตุ ๑. ใหบ้ นั ทกึ คะแนนของนักเรยี นเป็นรายขอ้ เพ่ือใหร้ วู้ า่ นกั เรียนมขี ้อบกพร่องใด สำ�หรบั น�ำ ไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนานกั เรยี น ๒. วิธีการบันทกึ ถา้ อา่ นถกู ต้องใหใ้ ส่เครื่องหมาย √ ถา้ อา่ นผดิ ใหใ้ สเ่ ครื่องหมาย X (เครอ่ื งหมาย √ เท่ากับ ๑ คะแนน เคร่อื งหมาย X เทา่ กับ ๐ คะแนน) ๓. ใช้ รวมคะแนน* เพอื่ ประโยชนใ์ นการวนิ จิ ฉัยขอ้ บกพรอ่ งของนักเรยี นเป็นรายบคุ คล และนำ�ไปใชใ้ นการปรับปรุงและพฒั นานกั เรียนเป็นรายบุคคล ๔. ใช้ คะแนนรวม** เพอ่ื ประโยชนใ์ นการวนิ จิ ฉยั วา่ ขอ้ บกพรอ่ งของนกั เรยี นในภาพรวมของชน้ั เรยี น เพอ่ื น�ำ ไปใชใ้ นการปรบั ปรงุ และพฒั นาการจดั การเรยี น การสอน ๕. นักเรียนอา่ นพยญั ชนะถูกต้องทุกตัว จงึ ผา่ นเกณฑ์ กรณีท่นี ักเรยี นไม่ผ่านเกณฑ์ ครูต้องฝึกจนนกั เรียนอา่ นได้

ฉบับท่ี ๒ การเขยี นพยัญชนะ ค�ำ ชี้แจง ให้นักเรียนเขียนพยัญชนะไทยตามแผนภูมิท่ีก�ำ หนดท้ัง ๔๔ ตัว โดยใช้กระดาษท่ีมีบรรทัด ๕ เส้น คู่มือการสอนอา่ นเขียน 42 โดยการแจกลกู สะกดคำ�

คมู่ ือการสอนอา่ นเขียน 43 โดยการแจกลกู สะกดค�ำ แบบบนั ทึกผลการเขยี นพยญั ชนะ ท ี่ ช ่ือ-สกลุ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด พตย ญั ถช นทะ ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ รวม คะแนน* คะแนนรวม** หมายเหตุ ๑. ให้บันทกึ คะแนนของนกั เรยี นเปน็ รายขอ้ เพ่ือให้ร้วู ่านักเรียนมีขอ้ บกพรอ่ งใด ส�ำ หรบั น�ำ ไปใช้ในการปรับปรุงและพฒั นานักเรยี น ๒. วิธกี ารบันทึก ถา้ เขียนถูกตอ้ งให้ใส่เครือ่ งหมาย √ ถา้ เขยี นผดิ ใหใ้ สเ่ ครอ่ื งหมาย X (เครื่องหมาย √ เทา่ กับ ๑ คะแนน เคร่ืองหมาย X เทา่ กบั ๐ คะแนน) ๓. ใช้ รวมคะแนน* เพอ่ื ประโยชน์ในการวินจิ ฉัยขอ้ บกพร่องของนักเรียนเป็นรายบุคคล และน�ำ ไปใช้ในการปรบั ปรงุ และพัฒนานักเรียนเป็นรายบคุ คล ๔. ใช้ คะแนนรวม** เพอื่ ประโยชนใ์ นการวนิ จิ ฉยั วา่ ขอ้ บกพรอ่ งของนกั เรยี นในภาพรวมของชนั้ เรยี น เพอื่ น�ำ ไปใชใ้ นการปรบั ปรงุ และพฒั นาการจดั การเรยี น การสอน ๕. นกั เรยี นต้องอา่ นพยญั ชนะถูกต้องทุกตัว จงึ ผา่ นเกณฑ์ กรณีทีน่ กั เรียนไมผ่ า่ นเกณฑ์ ครูต้องฝกึ จนนักเรยี นอ่านได้

ตัวอยา่ งสรปุ ผลการประเมินรูปและเสยี งพยญั ชนะ ที่ ชื่อ - สก ุล (๔ ฉ๔ บคบั ะทแี่ผน๑ ลน ก)า ร ประ(เ๔มฉ๔ินบ คับะท แ่ี น๒น ) ( ๘๘คระควแะมนแนน น ) สรปุ ผลการประเมิน ผา่ น ไมผ่ า่ น หมายเหตุ นักเรียนต้องได้คะแนนผ่านเกณฑ์ทุกฉบับจึงจะผ่านเกณฑ์ กรณีท่ีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ ใหส้ อนซอ่ มเสริม คู่มอื การสอนอา่ นเขียน 44 โดยการแจกลกู สะกดคำ�


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook