Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การประเมินงาน

การประเมินงาน

Published by nutta.123, 2021-10-07 04:22:28

Description: การประเมินงาน

Keywords: ประเมินงาน

Search

Read the Text Version

คู่มือการประเมินผลการ ปฏิบัติราชการ สำหรับข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ (สายสอน) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำนำ จากประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) กำหนดระบบ การประเมินผลการปฏิบัติราชการที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 โดยมาตรา 10 กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ดำเนินการ ประเมินและพัฒนาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการสำหรับข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ (สายสอน) มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้หน่วยงานมีความเข้าใจแนวทางการประเมินผล การปฏิบัติราชการ รวมทั้งการนำผลการประเมินไปใช้ประกอบการดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับ การบริหารทรัพยากรบุคคล โดยคู่มือเล่มนี้ได้รวบรวมระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการประเมิน เกณฑ์และตัวชี้วัดที่จะใช้ในการประเมินแต่ละด้าน ขั้นตอนและกรอบเวลาในการดำเนินการ บทบาท หน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง แบบฟอร์มที่ใช้ในการประเมิน ตลอดจนรายการเอกสารหลักฐานที่ผู้รับ การประเมินจะต้องรวบรวมไว้ ซึ่งมหาวิทยาลัยคาดหวังให้ผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน ได้รับทราบ แนวทางปฏิบัติที่ตรงกัน อันจะส่งผลให้การดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการเป็นไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

ความเป็นมาและแนวคิดการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ในสถาบันอุดมศึกษาตามระบบบริหารงานบุคคลใหม่ การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐตั้งแต่ปี.2518..ซึ่งเป็นการจำแนกตำแหน่งโดย มุ่งเน้นหน้าที่ความรับผิดชอบตามความยากง่ายของงาน หรือ ที่เรียกว่า เป็นระบบซี หรือมาตรฐานกลาง ซึ่งมีอยู่ 11 ระดับ และมีโครงสร้างบัญชีอัตราเงินเดือนเพียงบัญชี เดียวและใช้กับทุกตำแหน่งในระบบข้าราชการพลเรือน.(ก.พ.)..ซึ่งระบบการบริหาร งานบุคคลดังกล่าว มีผลกระทบต่อความโปร่งใสในการประเมินผลงานของข้าราชการ ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.พ.ศ.2550 ได้บัญญัติเกี่ยวกับระบบ การบริหารทรัพยากรบุคคลของประเทศไว้ในมาตรา.279..วรรคสี่ โดยกำหนดให้การ พิจารณา สรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งบุคคลใดเข้าสู่ตำแหน่งที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ใน การใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการ ลงโทษบุคคลนั้น จะต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทาง จริยธรรมของบุคคลดังกล่าวด้วย

ความหมายของการบริหารผลการปฏิบัติราชการ การบริหารผลการปฏิบัติราชการ หมายถึง กระบวนการด าเนินการ อย่างเป็นระบบ เพื่อผลักดันให้ผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ บรรลุเป้าหมาย โดยการเชื่อมโยงเป้าหมาย ผลการปฏิบัติราชการใน ระดับองค์กร หน่วยงาน และบุคคลเข้าด้วยกัน โดยผ่านกระบวนการ กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การพัฒนาผู้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม การ ติดตามผลการปฏิบัติราชการอย่างต่อเนื่อง การประเมินผลการปฏิบัติ ราชการที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดและมีการนำผลการประเมิน ไปใช้ประโยชน์ประกอบการพิจารณาตอบแทนความดีความชอบแก่ผู้ ปฏิบัติงาน (สำนักงาน ก.พ.2552 : 1)

ความสำคัญของการบริหารผลการปฏิบัติราชการ การบริหารผลการปฏิบัติราชการเป็นกลยุทธ์หนึ่งของ การบริหารทรัพยากรบุคคลที่เน้นความสำคัญของการมี ส่วนร่วมระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อผลักดัน ผลการปฏิบัติราชการให้สูงขึ้น จึงนับว่ามีความสำคัญและ เป็นประโยชน์ทั้งต่อส่วนราชการและผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่าง ยิ่ง สรุปได้ดังนี้

ประโยชน์ต่อส่วนราชการ 1. การปฏิบัติราชการของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับสอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายของส่วนราชการ 2. การบริหารผลการปฏิบัติราชการเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ช่วยผลักดันให้ผู้ปฏิบัติงาน ทุกระดับ ทำงานเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของส่วนราชการ 3. การนำตัวชี้วัดผลงานหลัก (Key0Performance0Indicator0หรือ0KPI) มาใช้เป็นเครื่องมือกำหนด เป้าหมายผลการปฏิบัติงานระดับองค์กร ทำให้ผู้บริหารสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาสร้างเป็นข้อมูลฐาน (Baseline) สำหรับการเทียบเคียบ (Benchmark) เพื่อปรับปรุงการ ปฏิบัติราชการของส่วนราชการในอนาคต

ประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงาน 1. การกำหนดให้มีการวางแผนปฏิบัติราชการเป็นรายบุคคล นอกจากจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน รับทราบเป้าหมายผลการปฏิบัติราชการของตนอย่างชัดเจนตั้งแต่ รอบการประเมินแล้วยังช่วยให้เห็น ภาพความเชื่อมโยงของงานที่ตนรับผิดชอบกับผลสเร็จขององค์กรได้ชัดเจนขึ้นอีกด้วย 2. ผู้ปฏิบัติงานจะได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมและตรงตามความต้องการของ แต่ละบุคคลมากขึ้น เนื่องจากกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติราชการกำหนดไว้ว่า ต้องมีการติดตามผลการปฏิบัติราชการ เป็นรายบุคคลเพื่อแก้ปัญหาข้อขัดข้องในการทำงาน อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนแนวทาง/วิธีการ ปฏิบัติงาน และการพัฒนาตัวผู้ปฏิบัติงานให้สามารถทำงานมุ่งเป้าหมายสู่ความสำเร็จขององค์กรได้ดี ยิ่งขึ้น 3. การประเมินผลการปฏิบัติราชการจะมีความชัดเจนและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะสิ่งที่ประเมินมา จากเป้าหมายของงานที่มีการมอบหมายกันไว้อย่างเป็นทางการ และผู้รับการประเมินจะได้รับทราบ ตั้งแต่รอบการประเมิน

กระบวนการบริหาร กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติราชการประกอบด้วย 5 ขั้น ผลการปฏิบัติราชการ ตอนหลัก ได้แก่ 1. การวางแผนและการกำหนดเป้าหมายผลการปฏิบัติ ราชการ 2. การติดตาม 3. การพัฒนา 4. การประเมินผลการปฏิบัติราชการ 5. การให้รางวัล

องค์ประกอบและสัดส่วนของการประเมิน 1. ผลสัมฤทธิ์ของงาน 2. พฤติกรรมการปฏิบัติราชการ โดยอาจจะประเมินจากปริมาณผลงาน ให้ประเมินตามสมรรถนะที่สภา คุณภาพผลงาน ความรวดเร็วหรือตรงตาม สถาบันอุดมศึกษากำหนด เวลาที่กำหนด หรือความประหยัด หรือความ คุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร และให้สัดส่วน โดยให้กำหนดสัดส่วนคะแนนในการ คะแนน ในการประเมิน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ประเมิน ไม่เกินร้อยละ 30 ได้ดังนี้ 70

องค์ประกอบและสัดส่วนของการประเมิน (ต่อ) 2.1 สมรรถนะหลัก 2.2 สมรรถนะเฉพาะตามลักษณะ งานที่ปฏิบัติ หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมของบุคลากรทุกตำแหน่ง ซึ่งมหาวิทยาลัยกำหนดขึ้นเพื่อหล่อหลอมค่านิยมและพฤติกรรม หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่กำหนดเฉพาะสำหรับสายงาน พึงประสงค์ร่วมกันในองค์กร หรือตำแหน่ง เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม ประกอบด้วย กับตำแหน่งหน้าที่ และส่งเสริมให้สามารถปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ได้ดียิ่ง (1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) ขึ้น ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้กำหนดให้บุคลากรสายสอนมี (2) การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานวิชาชีพ (Expertise) สมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ (3) การท างานเป็นทีม (Teamwork) ประกอบด้วย (4) บริการที่ดี (Service Mind) (5) การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม (Integrity) (1) การสืบเสาะหาข้อมูล (Information Seeking) (2) ความเข้าใจองค์กรและระบบราชการ (Organizational Awareness) (3) การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) (4) การใส่ใจและพัฒนาผู้อื่น (Caring Others)

การจัดระดับและช่วงคะแนนในการประเมิน คะแนนการประเมินผลการปฏิบัติราชการจะถูกแบ่งเป็นอย่างน้อย 5ระดับ ได้แก่ ดีเด่น ดีมาก ดี พอใช้ และต้องปรับปรุง คะแนนต่ำสุดของ ระดับ “พอใช้” ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 โดยมีช่วงคะแนนประเมินของ แต่ละระดับ แบบอิงเกณฑ์ ในกรณีที่ผู้รับการประเมินได้คะแนนต่ำกว่า ร้อยละ 60 (ต้องปรับปรุง) ต้องจัดทำ “คำมั่น ในการพัฒนาปรับปรุงตนเอง” เป็นลาย ลักษณ์อักษรร่วมกับผู้บังคับบัญชาไว้ด้วย

ผู้มีอำนาจประเมิน ระดับหน่วยงาน ให้คณะกรรมการบริหารประจำหน่วยงานนั้น ๆ ทำหน้าที่กลั่นกรอง ผลการประเมิน ระดับมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 1. อธิการบดีเป็นประธาน 2. รองอธิการบดี ทุกคน เป็นกรรมการ 3. ผู้ช่วยอธิการบดี ทุกคน เป็นกรรมการ 4. ผู้อำนวยการกองบริหารงานบุคคล เป็นเลขานุการ

แบบฟอร์มที่ 1 แบบสรุปการประเมินผล แบบฟอร์มที่ใช้ในการประเมิน การปฏิบัติราชการ (แบบ ปม. 3 ก) ผลการปฏิบัติราชการ แบบฟอร์มที่ 2 แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ แบบฟอร์มที่ 4 แบบลงนามข้อตกลงการ ของงาน (แบบ ปม. 1 ก) ประเมินผลการปฏิบัติราชการ (สาย สอน) แบบฟอร์มที่ 3 แบบประเมินพฤติกรรม การปฏิบัติราชการหรือสมรรถนะ (แบบ ปม. 2 ก)

ขั้นตอนการดำเนินการตามระบบประเมินผลการ ปฏิบัติราชการและการใช้แบบฟอร์ม การดำเนินการตามระบบประเมินผลการปฏิบัติราชการใน หนึ่งรอบการประเมิน แบ่งได้เป็น 3 ช่วง ดังนี้ 1. เริ่มรอบการประเมิน 2. ระหว่างรอบการประเมิน และ 3. ครบรอบการประเมิน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook