Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Digital Libraries in Thailand

Digital Libraries in Thailand

Published by WAHIDA MUSOR, 2022-08-21 16:47:52

Description: Digital Libraries in Thailand

Search

Read the Text Version

Digital Libraries in Thailand ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://library.wu.ac.th/ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา http://www.lib.tsu.ac.th/indexx.html 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เนื้อเรื่อง หน้า History/Source of digital library ประวัติ/ที่มา 4 Policy/Mission of the digital library นโบบาย/พันธกิจ Automatic library system of the 5 digital library ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของ ห้องสมุดดิจิทัล 6 How does library automation work? ลักษณะการทำงานของห้องสมุดอัตโนมัติ user group กลุ่มผู้ใช้ Library restrictions ข้อจำกัดของห้องสมุด future trend แนวโน้มในอนาคต 7-8 9 10 11

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา เนื้อเรื่อง หน้า History/Source of digital library ประวัติ/ที่มา Policy/Mission of the digital library 12-13 นโบบาย/พันธกิจ Automatic library system of the digital library ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของ 14 ห้องสมุดดิจิทัล How does library automation work? ลักษณะการทำงานของห้องสมุดอัตโนมัติ 15 user group กลุ่มผู้ใช้ Library restrictions ข้อจำกัดของห้องสมุด future trend แนวโน้มในอนาคต 16 17 18 19

ประวัติความเป็นมา เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในปี 2539 ณ ศูนย์ประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร เป็นการให้บริการแก่อาจารย์สำหรับจัดเตรียมหลักสูตรต่าง ๆ หลังจากนั้นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ย้ายจากสำนักงานชั่วคราวจากหน่วย ประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพ ฯ มายังอำเภอท่าศาลา จังหวัด นครศรีธรรมราช พ.ศ. 2541 ในวันที่ 20 เมษายน ได้เปิดให้บริการพื้นฐานสำหรับผู้ใช้ห้องสมุด และให้บริการด้านการผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษา ต่อมาเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS มาใช้ปฏิบัติงาน และเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ได้เปิดให้บริการผู้ใช้หอสมุด ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มีการบริหารงานโดยแบ่งเป็น 4 ฝ่าย ฝ่ายบริหารทั่วไปและธุรการ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายส่งส่งเสริมการเรียนรู้และให้บริการการศึกษา ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษา 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

นโบบาย/พันธกิจ วิสัยทัศน์ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความเป็นสากล สร้างสรรค์เพื่อเป็นผู้นำด้านคุณภาพ พัฒนาความเป็นเลิศด้านบริการเพื่อตอบสนองการเรียนรู้และวิจัย พันธกิจ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามุ่งพัฒนาบทบาทการเป็นส่วนหนึ่งของการ เรียน การสอน และการวิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความพร้อม มีทรัพยากรสารสนเทศ มีสื่อการศึกษา และมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยภาย ใต้สภาพแวดล้อมดิจิทัล สามารถตอบสนองและสร้างคุณค่าต่อการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 มุ่งมั่นที่พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและจัดสภาพแวดล้อมการเรียน รู้ภายในหน่วยงาน ให้สะท้อนถึงบรรยากาศความเป็นสากลและความเป็นเลิศทาง วิชาการ พร้อมที่จะสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ใช้บริการทุกกลุ่มด้วยบริการที่มี คุณภาพ อันจะช่วยส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านการเรียน การสอน และความ เป็นสากลของมหาวิทยาลัย 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Walai AutoLib Ultimate) เป็นระบบห้องสมุด อัตโนมัติที่รองรับการบริหารจัดการห้องสมุด หนังสือที่มีในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib ของศูนย์บรรณสารและ สื่อการศึกษานั้นมีจำนวนมากกว่า 200,000 เล่ม หากผู้ใช้ไม่มีความเชี่ยวชาญใน การค้นหาหนังสือ จะทำให้เสียเวลา และต้องทำความเข้าใจกับระบบการสืบค้น เทคนิคการสืบค้น การใช้คำค้น หากต้องการให้การค้นหาหนังสือเป็นเรื่องที่ง่าย และได้รับหนังสือตรงตามความต้องการ การสร้าง Category หนังสือ มคอ.3 ใน ระบบ WALAI AutoLib ช่วยลดปัญหาการสืบค้น เป็นการรวบรวมหนังสือหรือ ตำราหลักและหนังสืออ่านเพิ่มเติมตาม มคอ.3 ไว้ด้วยกัน นอกจากนี้แล้วยังรวมเอา หนังสือที่เกี่ยวโยงกันเข้าไว้ด้วยเพื่อให้ผู้ใช้ \"ลดเวลา หาง่าย ได้รับตรงตามความ ต้องการ\" 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

ลักษณะการทำงานของห้องสมุดอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น การลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในระบบ ห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib เป็นการลงรายละเอียดข้อมูล ทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศเพื่ออธิบายลักษณะและ เนื้อหาของสารสนเทศ อันจะเป็นช่องทางการเข้าถึงรายการทาง บรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องตรงตามความต้องการ รวมถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มี ลักษณะเฉพาะและรูปแบบที่แตกต่างจากหนังสือทั่วไปด้วย ในคู่มือนี้ อธิบายรายละเอึยดการลงรายการลงในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นคว้าได้สะดวก รวดเร็ว และ ทราบว่าเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากหน้าจอแสดงผล รวมถึง สามารถเข้าอ่านฉบับเต็มของตัวเล่มได้ 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

ลักษณะการทำงานของห้องสมุดอัตโนมัติ (ต่อ) งานจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ มีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างฐาน ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ วิเคราะห์ หมวดหมู่และกำหนดหัวเรื่อง ดรรชนี คำค้น และเนื้อหาของทรัพยากรเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ อย่างรวดเร็วและตรงกับต้องการมากที่สุด โดยผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAIi AutoLib และช่องทางอื่น ๆ ที่มีให้บริการ 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

กลุ่มผู้ใช้ นักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากรและศิษย์เก่าของมหาลัย บุคคลภายนอกที่ต้องการใช้บริการทรัพยากรในหอสมุด ** หมายเหตุ ต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อนใช้บริการ 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

ข้อจำกัดของห้องสมุด การเปิด–ปิด Chiller (York) แบบ Manual กรณีสั่งงานผ่านระบบ อัตโนมัติขัดข้อง งานจดหมายเหตุและคลังสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำฐานข้อมูล เอกสารจดหมายเหตุและเอกสารโครงการพิเศษ จัดทำ Digital Content ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ และจัดทำคลังสารสนเทศสถาบัน หรือ WU IR (Walailak Institutional Repository) 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

แนวโน้มในอนาคต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้เริ่มนำระบบ WU-MIS (SAP)และให้มอบหมาย ผู้รับผิดชอบในการทำหน้าที่นำเข้าข้อมูลแผนงบประมาณประจำปี ตัวชี้วัดความ สำเร็จของหน่วยงาน และในขณะเดียวกันต้องทำหน้าที่ตรวจสอบ รายงานผลการ ใช้จ่าย และงบประมาณคงเหลือของหน่วยงาน ตลอดจนรายงานผลการดำเนิน งานของหน่วยงานให้ผู้บริหาร และมหาวิทยาลัยรับทราบเป็นรายเดือน ทำหน้าที่ สืบค้นงบประมาณคงเหลือของหน่วยงานและรายงานให้ผู้บริหารหน่วยงานของ ตนทราบถึงความคืบหน้าของการใช้งบประมาณ เพื่อประโยชน์ในการติดตาม ตรวจสอบการใช้งบประมาณของแต่ละกิจกรรม เพื่อบริหารจัดการงบประมาณที่ ได้รับการจัดสรรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

ประวัติความเป็นมา ในปี พ.ศ. 2511 ได้จัดตั้งวิทยาลัยการศึกษาสงขลา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัย ทักษิณ ได้เริ่มมีมาพร้อมกับการจัดตั้งวิทยาลัยการศึกษาสงขลา ตามการขยายงานออก สู่ส่วนภูมิภาคของวิทยาลัยการศึกษา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512 ในครั้งแรกได้จัดสร้างอาคารขึ้นหนึ่งหลังเป็นอาคาร 2 ชั้น ใช้ชื่อว่า \"ห้อง สมุดวิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลา\" เริ่มเปิดให้บริการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2512 พ.ศ. 2517 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ห้องสมุดวิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลาจึงเปลี่ยน ชื่อเป็น \"สำนักหอสมุดกลาง\" พ.ศ. 2532 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ได้มีการขยายงานไปยังพื้นที่ จังหวัดพัทลุง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

ประวัติความเป็นมา (ต่อ) ในเวลาต่อมา สำหรับอาคารสำนักหอสมุดกลางในขณะนั้นได้ทรุดโทรม ลงมาก ประกอบกับทรัพยากรสารสนเทศและผู้ใช้บริการมีจำนวนเพิ่ม มากขึ้น มหาวิทยาลัยจึงได้สร้างอาคารใหม่ เป็นอาคาร 5 ชั้น มีเนื้อที่ ประมาณ 9,660 ตารางเมตร มีที่นั่งอ่านประมาณ 1,200 ที่นั่ง พ.ศ. 2538 เปิดให้บริการอาคารสำนักหอสมุดกลาง เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2539 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง หนึ่งเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. 2539 สำนักหอสมุดกลาง จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ\" จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2554 เปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติจาก ระบบห้องสมุด อัตโนมัติ (Horizon) เป็น ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Walai AutoLib) 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

นโบบาย/พันธกิจ วิสัยทัศน์ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการ และเป็นปากตู ขององค์ความรู้สากลและภูมิปัญญาของภาคใต้ พันธกิจ 1.พัฒนาสำนักหอสมุดดาวรุ่งด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย 2.เชื่อมโยงชื่อเสียงและความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยสู่นานาชาติ 3.ขยายการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4.สร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือ 5.บริหารจัดการสำนักหอสมุดสู่ความเป็นเลิศด้วยระบบคุณภาพ TQA (TQA- Oriented Management to Maintain and Promote Excellence) 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ หอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Walai AutoLib Ver.2.0) และใช้เวอร์ชั่น 2.0 ได้มีการพัฒนาระบบดังต่อไปนี้ 1.ปรับปรุงระบบสืบค้นและบริการสมาชิก (OPAC Module) ให้อยู่ในรูปแบบของ Library 2.0 2.พัฒนาระบบการจัดการคำค้นแบบ Solr-based 3.พัฒนาระบบการค้นแบบ FACET ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Walai AutoLib) ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อใช้งานในสถาบันอุดมศึกษาที่ ประสงค์จะใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่พัฒนาในประเทศไทย และมีฐานการ พัฒนาบนห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทยโดยเฉพาะ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib พัฒนาโดยสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

ลักษณะการทำงานของห้องสมุดอัตโนมัติ ระบบหมุนเวียน (Circulation Module) ของระบบ WALAI AutoLib เป็นระบบย่อยที่ประกอบด้วยชุดคำสั่งต่างๆ สำหรับงานบริการยืมคืน ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด โดยออกแบบและพัฒนาให้บริการยืม คืน จอง สำรอง จ่ายค่าปรับ และแจ้งหายแก่สมาชิก แบบครบวงจรทั้ง ณ จุดให้ บริการและข้ามสาขาห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อีกทั้งยังมีความ ยืดหยุ่นสูงเพื่อรองรับนโยบายการให้บริการที่แตกต่างทั้งต่างห้องสมุดสาขา และต่างประเภทสมาชิกสามารถแสดงรูปสมาชิกขณะทำรายการได้และ สนับสนุนอุปกรณ์ Self Check และ RFID 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

กลุ่มผู้ใช้ นักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากรและศิษย์เก่าของมหาลัย บุคคลภายนอกที่ต้องการใช้บริการทรัพยากรในหอสมุด ** หมายเหตุ ต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อนใช้บริการ 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

ข้อจำกัดของห้องสมุด สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้จัดทำ TSU LIB E-Magazine เพื่อบริการข้อมูล ข่าวสาร เผยแพร่กิจกรรมและผลงานของสำนักหอสมุดให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม และเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างสำนักหอสมุด กับนิสิต บุคลากร ศิษย์เก่า และผู้สนใจ สำนักหอสมุดจัดบริการ E-Journal Shelve เพื่อเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงวารสาร ภาษาไทยฉบับออนไลน์โดยการสแกน QR Code ผ่าน Smart Phone เพื่อเข้าถึง บทความฉบับเต็มของวารสาร ซึ่งจำแนกรายชื่อวารสารตามคณะที่เปิดสอนภายใน มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้จัดบริการสำหรับผู้ใช้บริการในด้านการเรียน การสอนและการวิจัย เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถรับทราบข้อมูลด้านการจัดหาหนังสือ ทั้งหนังสือในรูปแบบสิ่งพิมพ์ (print) และหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E- Book) และเป็นช่องทางที่ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อสื่อสารกับบรรณารักษ์งานจัดหา หนังสือได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

แนวโน้มในอนาคต หอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ด้านศิลป วัฒนธรรมและประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอื่น ๆ อาจจะมีการคิดค้นระบบ ที่จัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ หากหอสมุดมีการจัดการการบริการที่สามารถเข้าถึงและดึงดูดความสนใจของ ทรัพยากรในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ดี อนาคตอาจทำให้มีผู้สนใจเข้าใช้ บริการหอสมุดได้มากขึ้น 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

เปรียบเทียบหอสมุด 2 แห่ง หอสมุดศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่มีการได้รับงบ ประมาณสนับสนุนจาก (สกอ.) ให้พัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib Ultimate เป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่รองรับการบริหารจัดการห้องสมุดประกอบ ด้วย ส่วน ระบบงานหลัก (Core system), ส่วนระบบงานเสริม (Optional) และ ส่วนการเชื่อมต่อกับระบบภายนอก (Interface) ในขณะที่หอสมุดมหาลัยทักษิณ สงขลา ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib 2.0 เวอร์ชั่นนี้มีการปรับปรุง ดังนี้ 1.ปรับปรุงระบบสืบค้นและบริการสมาชิก (OPAC Module) ให้อยู่ในรูปแบบ ของ Library 2.0 2.พัฒนาระบบการจัดการคำค้นแบบ Solr-based 3.พัฒนาระบบการค้นแบบ FACET หอสมุดศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามีหนังสือจำนวนมากกว่า 200,000 เล่ม ระบบ ห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib ช่วยลดปัญหาการสืบค้น เป็นการรวบรวม หนังสือหรือตำราหลักและหนังสืออ่านเพิ่มเติม และยังรวมเอาหนังสือที่เกี่ยวโยงกัน เข้าไว้ด้วยเพื่อให้ผู้ใช้ \"ลดเวลา หาง่าย ได้รับตรงตามความต้องการ\" 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

เปรียบเทียบหอสมุด 2 แห่ง หอสมุดมหาลัยทักษิน สงขลา สาเหตุที่ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib ในเวอร์ชั่น 2.0 ซึ่งคาดว่าเพียงพอต่อทรัพยากรในหอสมุดที่มีในขณะนั้น เพราะหอ สมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ ส่วนใหญ่เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามพันธกิจของหอสมุด และมักจะพัฒนาระบบต่าง ๆที่เกี่ยวข้องมาเอง เช่น E-Journal Shelv, TSU LIB E-Magazine หอสมุดศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สาเหตุที่ใช้ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib Ultimate เพราะเป็นระบบที่พัฒนาขึ้น มาเองและตอบโจทย์นโยบายและเป็นระบบที่ครอบคลุมการทำงานพื้นฐานของห้อง สมุด ประกอบด้วย ระบบงานบริหานจัดการนโยบาย ระบบงานจัดการข้อมูลสมาชิก ระบบงานจัดซื้อจัดหา ระบบงานจัดทำรายการ ระบบงานบริการยืมคืน และระบบงาน สร้างรายงาน เป็นต้น 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT

WAHIDA MUSOR Our Team (DA) NURFASILA EMAN 6220210335 (FA) 6220210483 JASMINE AWAE TUWANNIDA TUWAESALAEH (MINT) (TUWAN) 6220210001 6320210289 421-354 DIGITAL INFORMATION MANAGEMENT


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook