คำยืมภาษาต่างประเทศ ภาษาชวา - มลายู
ภาษาชวา-มลายู ปัจจุบันเรียกว่า ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลเซีย ซึ่งเป็น ภาษาของประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยมาเป็นเวลาช้านาน ภาษาชวา-มลายู เข้ามาในภาษาไทยได้นั้นก็เพราะการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันของ คนไทย โดยเฉพาะในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีเรื่องเด่น ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ คือ อิเหนา ซึ่งนับเป็น วรรณคดีที่ชักนำให้คนไทยยอมรับภาษาชวา-มลายูอย่างแพร่หลาย
ลักษณะของคำยืมภาษาชวา-มลายู 1 ส่วนใหญ่เป็นคำ ๒ พยางค์ คำพยางค์เดียวมีน้อยมาก เช่น ทุเรียน น้อยหน่า มังคุด 2 ไม่มีเสียงควบกล้ำ เช่น กะปะ (งู) กะพง (หอย) กุเรา/กุเลา (ปลา) 3 ไม่ใช้เสียงวรรณยุกต์ แม้ระดับเสียงของคำเปลี่ยนไป แต่ความหมายของคำยังคงเดิม เช่น กระดังงา กุดัง สลัก
ตัวอย่างคำยืม ที่มาจากภาษาชวา-มลายู ลองกอง เงาะ สตูล ละมุด บูดู โลมา มัสยิด
Search
Read the Text Version
- 1 - 4
Pages: