Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ปี 3 - คู่มือ Motion graphic Powerpoint

ปี 3 - คู่มือ Motion graphic Powerpoint

Published by Sunisa Yok, 2022-04-20 22:37:42

Description: ปี 3 - คู่มือ Motion graphic Powerpoint

Search

Read the Text Version

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08.30-16.30 น. ณ ห้องฝึกอบรมสัมมนาทางด้านคอมพิวเตอร์ (Computer Training) ชั้น 2 อาคารศูนย์ภาษาและศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง นางสาวสุนิษา เจนการะกูล จัดโดย สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำนำ ก ปัจจุบันการสร้างสื่อนำเสนอและพลังของการนำเสนอ สามารถสร้างมูลค่า สร้างความเข้าใจได้อย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็ว สิ่งสำคัญของการนำเสนอ นอก จากผู้นำเสนอที่มีความสามารถแล้ว สื่อสำหรับประกอบการนำเสนอ ก็เป็นอีกส่วน หนึ่ง ที่เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมเนื้อหาของผู้บรรยาย ไปสู่ผู้รับฟังหรือผู้ชม ดัง นั้นสื่อนำเสนอจึงมีบทบาทสำคัญ สื่อการนำเสนอที่ดีจะช่วยให้การถ่ายทอดเนื้อหา สาระได้อย่างรวดเร็วและเข้าใจในเนื้อหาได้ดีมากขึ้น โปรแกรม PowerPoint เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในการใช้นำเสนอ ด้วยรูปแบบและวิธีการนำเสนอที่มีความหลากหลายใช้งานง่ายสะดวกไม่ซับซ้อน สำหรับการสร้างสื่อนำเสนอ PowerPoint ให้น่าสนใจนั้นสามารถทำได้หลากหลาย วิธี เทคนิคการสร้างสรรค์สื่อนำเสนอที่แนะนำเพิ่มเติมคือการนำ Motion Graphic หรือการนำ Graphic ต่าง ๆ มาขยับและเคลื่อนไหวฉีกกฎเดิม ๆ เพื่ อช่วยในการ ถ่ายทอดเนื้อหาสาระทำให้สื่อการนำเสนอเกิดความน่าสนใจดึงดูดและสื่อสารเข้าถึง กลุ่มนักศึกษาได้ง่าย หนังสือคู่มือเล่มนี้จะแนะนำการสร้างสรรค์สื่อนำเสนอ Motion Graphic ด้วย Powerpoint ทำให้สื่อนำเสนอมีความน่าสนใจ สามารถสร้างสรรค์ได้ง่ายไม่ซับซ้อน และผู้จัดทำหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการนำเสนอได้ไม่มากน้อย จัดทำโดย นางสาวสุนิษา เจนการะกูล สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิ วเตอร์การศึกษา

สารบัญ ข เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ทำความรู้จัก Motion Graphic 1 1 - Motion Graphic คืออะไร 1 - ข้อดีของ Motion Gaphic 3 - จุดเด่นของ Motion Graphic 5 - ขั้นตอนการทำ Motion Graphic 7 7 9 การใช้งาน Microsoft PowerPoint ในงาน Motion Graphic 10 - การกำหนดสี Theme Color 11 - การจัดลำดับเลเยอร์ 14 - ประเภทของ Animation ของ Powerpoint 15 - เทคนิคการทำ Motion Graphic อย่างง่าย 16 - การเรียงลำดับ Animation 18 - Transition ในการสลับเปลี่ยนแต่ละฉาก Scene - การใ่ส่เสียง 19 - การ Export อ้างอิง

ทำความรู้ 1 MOTION GRAPHIC Motion Graphic คืออะไร “Motion graphic” คืออะไร motion graphic นั้นถ้าแยกออกเป็นสองคำจะ ได้คำว่า ซึ่งแปลว่า การเคลื่อนไหวและ phic ซึ่งก็คือ ศิลปะแขนงหนึ่งที่สื่อความ หมายด้วยการใช้เส้น เช่น แผนภูมิ แผนภาพ การ์ตูน ดังนั้น Motion graphic ก็คือการสร้างภาพด้วยกราฟฟิคให้มีการเคลื่อนไหวได้ ในหลากหลายมิตินั่นเอง ซึ่งต่างกับ animation ตรงที่ไม่มีตัวละครเป็นตัวดำเนิน เรื่องหรือมีบทพู ดและการตัดฉากสลับเหมือนภาพยนตร์ แต่จะเป็นการสร้างการเคลื่อน ไหวให้กับ graphic แทนและใช้การพากย์เสียงบรรยายประกอบนิยมใช้กับเรื่องราว ที่มีข้อมูลเยอะ เข้าใจยาก ให้ออกมาในรูปเเบบที่สนุกและเข้าใจง่ายมากขึ้น Motion Graphics นั้นมีขอบเขตที่ค่อนข้างกว้าง ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ Infographic ในรูปแบบ Motion Graphics ที่นิยมในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน Motion Graphics บางชิ้นก็สามารถจัดเป็น Animation ได้เพราะมีการผสมผสานรูปแบบต่างๆ จาก Animation และ Visual Effect เข้ามาเพื่อสร้างเป็นผลงาน ซึ่งทั้ง Animation, VFX และ Motion Graphics มีหลายองค์ประกอบที่คาบเกี่ยวกัน ผลงานชิ้นหนึ่ง ๆ ที่เราเห็นจึงอาจเป็นได้ทั้ง 2 หรือ 3 แบบ ขึ้นอยู่กับมุมมองที่ใช้ในการประเมิน หาก จะเปรียบเทียบความแตกต่างที่สามารถจำแนกได้อย่างชัดเจนระหว่าง Motion Graphics และ Character Animation นั่นก็คือองค์ประกอบในการเล่าเรื่องที่ Motion Graphics ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวละคร และบทสนทนาในการดำเนินเรื่องเหมือน Character Animation โดยแต่ละรูปแบบจะมีจุดเด่นที่ชัดเจน ตามที่แสดงในตาราง ข้างล่างนี้ ดังตารางหน้าถัดไป...

2 รูปแบบ Animation/Motion Graphic รูปแบบ องค์ประกอบในการเล่าเรื่อง จุดเด่น Animation - จำเป็นต้องมีตัวละคร - ให้ความสำคัญกับตัวละคร (Character) - มีบทสนทนาเล่าเรื่อง และโครงสร้างเรื่อง (Plot) - การลำดับภาพโดยอิงตาม ภาษาภาพยนต์ เพื่อสื่อความ หมาย และการเล่าเรื่อง Motion Graphic - อาจมีหรือไม่มีตัวละครก็ได้ - ให้ความสำคัญกับ Art - ไม่ต้องมีบทสนทนาเื่อเล่าเรื่อง Diection และ Branding - ให้ความสำคัญกับการจัด องค์ประกอบภาพ มุมกล้อง การเคลื่อนกล้อง การเชื่อม ภาพ ในแต่ละซ็อตที่หวือหวา เพื่ อสร้างความน่าสนใจและ การจดจำผลงานมากกว่า การสร้างอารมณ์ความรู้สึก ในแง่รูปแบบนั้น Motion Graphics นั้นถือเป็น Animation รูปแบบหนึ่งส่วน ในแง่เทคนิค Animation ก็เป็นเพียงเทคนิคหนึ่งสำหรับการสร้างผลงาน Motion Graphics ดังนั้นการทำความเข้าใจเพียงนิยามจากคำสองคำนี้อาจจะช่วยขยายกรอบ อ้างอิงเดิมของเราไปสู่การแสวงหาแนวทาง และสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพื่ อให้ เกิดการผสมผสานเป็นผลงานภาพเคลื่อนไหวที่มีเสน่ห์ และมีความหลากหลายมากขึ้น

3 จุดเด่นของ Motion Graphic 1. เข้าถึงความรู้สึกผู้บริโภคได้มากกว่าภาพนิ่งธรรมดา ภาพนิ่ง หรือภาพกราฟิกแบบเดิม สามารถเล่าเรื่องและสื่อความหมายได้ระดับ นึง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คนทั่วไปอาจจะไม่เข้าในสิ่งที่เราสื่อสารทั้งหมด โดยเฉพาะเนื้อหา ที่เป็นความรู้การให้ข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้แล้ว โมชั่นกราฟิกยังสามารถสร้างภาพ ลักษณ์แบรนด์ได้ด้วย เช่น ภาพเคลื่อนไหวของโลโก้แบรนด์ ภาพตัวการ์ตูน หรือ สินค้าที่ขยับดุ๊กดิ๊ก เพื่อสร้างภาพจำให้ลูกค้า เป็นต้น 2. เล่าเรื่องได้ชัดเจนกว่าภาพนิ่ง ในภาพนิ่ง 1 ภาพ ผู้รับสารอาจตีความไปได้หลากหลายความหมาย แต่ใน โมชั่นกราฟิกจะเหมือนน้องๆวิดีโอ ทำให้เห็นเรื่องราวการตีความชัดเจนตามใจ ที่อยากจะสื่อได้มากกว่า เห็นได้จากโฆษณาสินค้าของแบรนด์ดังต่าง ๆ นิยม ใช้การทำคอนเทนต์ภาพเคลื่อนไหวกับตัวสินค้า และองค์ประกอบอื่น ๆเพื่อดึง ดูดให้คนสนใจ และบอกเล่าคุณประโยชน์ของสินค้าไปในตัว 3. ทำให้คอนเทนต์ไม่น่าเบื่อ เพราะเป็นการใช้ภาพ เสียง และองค์ประกอบอื่นๆสร้างเป็นภาพ เคลื่อนไหว สั้น ๆ เพื่อทำให้คอนเทนต์ที่ต้องสารสื่อสารมีความน่าสนใจมากกว่าเดิม ช่วย ดึงดูดใจลูกค้าให้สนใจ ด้วย Mood & Tone และเกิดภาพจำที่ดีกับแบรนด์ ได้ในระยะเวลาสั้นๆ 4. คอนเทนต์ภาพเคลื่อนไหวเข้าถึงผู้คนได้ง่าย และหลากหลายในคราวเดียว เดิมคอนเทนต์ที่มีภาพประกอบก็เป็นคอนเทนต์ที่สามารถเข้าใจง่ายอยู่ แล้ว แต่เราจะเห็นได้ว่าเมื่อเป็นวิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว จะสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม กับคนดูได้มากกว่า

4 เป็นเหตุผลที่การทำภาพเคลื่อนไหวกราฟิกสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลาก หลายและครอบคลุม เนื่องจากเนื้อหาในโมชั่นกราฟิกนั้น ได้ถูกปรับแต่งด้วยกระบวน การคิด วิเคราะห์มาอย่างดี เพื่อตอบโจทย์สำหรับแก้ปัญหาสิ่งยาก ๆ ที่แบรนด์ต้อง การสื่อสาร ให้การสื่อสารระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคกลายเป็นเรื่องง่าย 5. สื่อสารได้ครบถ้วน ในเวลาแสนสั้น แม้ว่าการทำภาพกราฟิกแบบเคลื่อนไหวได้จะสามารถสื่อสารได้ครอบคลุม ทั่วถึง และง่าย แต่เนื้อหาในคอนเทนต์นั้นก็ไม่ควรมากไป หรือน้อยไป เพราะระยะเวลาของ วิดีโอ ภาพกราฟิกแบบเคลื่อนไหวมีผลต่อการเลือกรับรู้ และตัดสินใจของผู้บริโภค เช่นกัน ภายในระยะเวลาเพียงเท่านี้เท่านั้น ต้องสื่อสารได้กระชับ ครบถ้วน และตอบ วัตถุประสงค์การสื่อสาร โจทย์หินไม่เบา แต่รับรองว่าผลลัพธ์ก็คุ้มค่าพอสมควร

5 ขั้นตอนการทำ Motion Graphic 1. เรียงลำดับเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอทั้งหมดลงในแต่ละสไลด์ให้เรียบร้อย 1 2 34 2. ในแต่ละสไลด์ ให้เรียงลำดับแต่ละวัตถุและกำหนดตำแหน่งของวัตถุนั้นๆ เช่น รูปภาพ รูปร่าว ไอคอน สัญลักษณ์ 12 TEXT TEXT 3. วางแผนรูปแบบการปรากฏตัวของวัตถุนั้นๆและกำหนดตำแหน่งของวัตถุแต่ละ ตัว 2 1 เช่น ให้วัตถุปรากฏพร้อมกันในครั้งเดียว 4. ใช้หลักการเปลี่ยน (Transition) 3 ขั้นตอน ขั้นที่ ขั้นที่ ขั้นที่ 3 12 เข้ามา ปรากฏตัวและแสดงฤติกรรม ออกไป กำหนดตำแหน่งของวัตถุและกำหนดระยะเวลาที่ใช้ทุกจุด

6 ขั้นตอนการทำ Motion Graphic 5. กำหนดรูปแบบการเข้ามาของวัตถุนั้น ๆ เข้ามาอย่างไร เข้ามาเหมือนกันหรือเข้า ต่างกัน ทิศทางเดี่ยวกันหรือทิศทางต่างกัน 1 เข้า 2 3 6. เลือกจะเน้นวัตถุ หรือจะให้วัตถุนั้นอยู่นิ่ง ๆ หรือเน้นทุกตัวหรือเน้นบางตัว รูป แบบการเน้นเหมือนกันหรือเน้นต่างกัน 7. เลือกรูปแบบการออกไปของวัตถุนั้น ๆ ออกไปอย่างไร ออกเหมือนกันหรือออก ต่างกัน ทิศทางเดียวกันหรือทิศทางต่างกัน 8. ปรับค่าเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น การหน่วงเวลา การราบรื่น การเด้ง เริ่ม ก่อนหน้า เริ่มหลังจากก่อนหน้า 9. เลือกรูปแบบการเปลี่ยนสไลด์ให้ต่อเนื่อง 10. บันทึกงานเป็นแบบ Powerpoint Show หรือการบันทึกเป็นไฟล์วิดีโอ

การใช้งาน POWERPOINT 7 ในงาน MOTION GRAPHIC กำหนด Theme สีให้กับงานนำเสนอ โปรแกรม Powerpoint จะมีการกำหนดชุดสีมาให้เลือก สามารถ เลือกได้ ดังขั้นตอนดังนี้ 1 เลือก Design 2 คลิ๊ก Variants 1) เลือกแท็บ Design 3 เลือก Color 2) จากนั้นคลิ๊กที่ Variants 3) เลือก Color ดังรูป

8 ความพิเศษนอกจากนี้ เรายังสามารถสร้าง Theme สีของ ตัวเองได้ 1 เลือก Customize 3 2 กำหนดชื่อ Theme Color 1) เลือก Customize โดยสามารถเลือกสีที่สนใจได้เลย 2) กำหนดชื่อของ Theme Color 3) สีที่เรากำหนดขึ้นจะปรากฏอยู่ใน Theme Color (ซึ่งไล่เรียงลำดับความเข้มของสี ทำให้เราเลือกใช้สีได้อย่างง่ายขึ้น)

9 การจัดลำดับเลเยอร์ หากในสไลด์เรามีวัตถุเยอะ เราต้องการจัดลำดับวัตถุเลเยอร์ของวัตถุ ใน Powerpoint จะมีตัวฟีเจอร์ที่ช่วยในการจัดลำดับได้ สามารถทำได้ตามขั้น 1 ไปที่แท็บ Format ตอนดังนี้ 1) เมื่อกดวัตถุ ไปที่แท็บ Format 2 เลือก Selection Pane 2) กดเลือก Selection Pane (Selection Pane จะบอกเลเยอร์ของวัตถุในสไลด์) สามารถเรียงลำดับวัตถุได้โดย การเลือกเลเยอร์เลื่อนขึ้นหรือเลื่อนลง นอกจากนี้ยังสามารถโชว์หรือซ้อน วัตถุในสไลด์ด้วย Selection Pane โดยการกดที่ตาปิดเปิด

10 ประเภทของ Animation ใน Powerpoint Animations บนแถบเครื่องมือ มี one-click styles หลายตัวที่ใช้กับ รูปภาพได้ สามารถเลื่อนแถบ scroll bar ลงไปเพื่อเลือกดูเอฟเฟคแต่ละอัน หรือเพี ยงแค่คลิกที่ลูกศรซ้อนด้านล่างขวาเพื่ อดูเอฟเฟคทั้งหมดในครั้งเดียว ดูสไตล์ animations ทั้งหมดที่รูปภาพด้านล่าง ในหน้าต่างนี้จะเห็นรายชื่อเอฟเฟคให้เลือกมากมาย มาดูตัวอย่างกันว่า แต่ละเอฟเฟคนั้นทำงานอย่างไร เอฟเฟคที่เป็นไอคอนสีเขียว จะทำให้ไอเทมเข้ามาในสไลด์ เอฟเฟคที่เป็นไอคอนสีเหลือง จะทำให้ไอเทมเคลื่อนไหวอยู่บนสไลด์ ยก ตัวอย่างเช่น spinning หรือ pulsing ซึ่งจะเหมาะกับการเพิ่มจุดสนใจ ให้กับไอเทมที่เลือกโดยเฉพาะ เอฟเฟคที่เป็นไอคอนสีแดง จะทำให้ไอเทมออกไปจากสไลด์ ชื่อของสไลด์ เป็นตัวที่แสดงให้เข้าใจถึงเอฟเฟคของ animations นั้นๆ อย่างเช่นหากคุณเห็นชื่อสไลด์ว่า \"Fly out\" แน่นอนว่าต้องทำให้ไอเทมอ อกจากสไลด์ไป ในขณะที่ \"Float In\" บ่งบอกว่าไอเทมจะปรากฎเข้ามาใน สไลด์

11 เทคนิคการทำ Motion Graphic อย่าง ง่าย ข้อแนะแนะนำให้สร้างสไลด์แ ละเนื้อหาการนำเสนอให้เสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วค่อยเพิ่ม animations เข้าไปทีหลัง เน้นไปที่เนื้อหาและไอเดียในการที่ต้อง การสื่อ จากนั้นตามด้วยเสียงประกอบในตอนที่ตั้งเวลาให้กับ animations Note: animations คือเอฟเฟคเพื่อเพิ่มลูกเล่นให้กับไอเทมบนสไลด์ ใน ขณะที่ transitions จะเป็น animations ที่เกิดขึ้นขณะคุณกำลังเปลี่ยนหน้า สไลด์ นี่คือภาพตัวอย่าง เราได้คลิกบนกล่องข้อความบนสไลด์ จากนั้นคลิก Pulse เพื่อให้กล่องข้อ ความปรากฎขึ้นบนสไลด์นี้ 1. คลิกบนวัตถุที่ต้องการเพิ่ม animation บนสไลด์ สามารถเพิ่มได้ ทั้ง image(รูป), แผนผัง(chart), หรือกล่องข้อความ(block of text) 2. หา Animations บนแถบเครื่องมือ 3. ในเมนู Animation จะมีไอคอนรูปดาวแตกต่างกันไป รูปดาวแต่ละ อันจะแสดงให้เห็นถึงเอฟเฟคของ animation อันนั้นๆ 4. คลิกเลือกเอฟเฟคให้กับวัตถุที่เลือกไว้จากขั้นตอนที่ 1 ในตัวอย่างนี้ จะเลือกใช้ Pulse เพื่อให้ข้อความนั้นค่อยๆปรากฎขึ้นมา

12 สามารถตรวจสอบได้ว่าไอเทมนั้นมี Animation หรือไม่ โดยการสังเกต จากกล่องเล็กๆสีส้มบนสไลด์ ที่มีตัวเลขอยู่ด้านใน นอกจากนี้ยังสามารถดู ตัวอย่าง animations ได้โดยการกดปุ่ม Preview ที่ด้านซ้ายบนของแถบ Animation คลิกปุ่ม Preview บน Animations tab เพื่อแสดงตัวอย่างของ animations เวลาที่เปลี่ยนเป็นโหมด Slide Show เมื่อคลิกเม้าส์หรือกดแป้นพิมพ์ เอฟเฟคก็จะเล่นไปตามลำดับ สามารถคลิกเพื่อเปลี่ยนเป็นสไลด์ต่อไปหรือให้ เอฟเฟคเล่นไปจนกระทั่งถึงสไลด์ถัดไปก็ได้

13 เทคนิคการปรับ Option ของ Animation สำหรับ Option ของ Ani mation ใน Powepoint สามารถที่จะเลือก ว่าการเล่นของ Animation นั้นจะเล่นด้วยวิธีใด เช่นการเล่นด้วยการ คลิ๊กเมาส์ การกำหนดเวลาเผื่อให้ Animation เล่นอัตโนมัติก็สามารถ ทำได้ ดังรูปด้านล่าง

14 การเรียงลำดับ Animation สามารถเรียงลำดั บของการทำ Animation ได้โดยดูจากตัวเลขของวัตถุ เช่นหากในสไลด์มีวัตถุสองชิ้น Animation ที่เป็นหมายเลข 1 คือ ที่เล่นเป็น ลำดับแรก เราเรียงลำดับเอฟเฟคที่ Animation Panel ได้ง่ายๆ เพียงแค่คลิกเม้าส ค้างไว้และลากไปยังลำดับที่ต้องการ หากเราต้องการให้กล่องข้อความเข้ามา ในสไลด์เป็นอันดับแรก ก็เพียงลากชื่อไอเทมกล่องข้อความนั้นขึ้นไปยังด้าน บนสุด สามารถเปลี่ยน Animation ได้เพียงกดที่ Animation ของวัถตุที่เรา ต้องการเปลี่ยนและเลือกใหม่

15 การใส่ Transitions ให้กับสไลด์ สามารถเลือก Transition ให้กับสไลด์ได้ โดย Powerpoint จะมีสไลด์ให้ เราเลือกอย่างหลากหลาย เลือกได้จากแท็บ Transition และยังกำหนดเวลา สำหรับการเล่นได้อีกด้วย

16 การใส่เสียง การใส่เสียงสามารถกด Insert กด Audio เลือก Audio on My จาก นั้นเลือกไฟล์เสียงที่เครื่องเราได้เลย

17 หากต้องการให้ไฟล์เสียงเล่นไปทุกไสลด์ สามารถกดได้ที่ Playback และ เลือก Playbackground หลังจากนั้นเมื่อเรากดเล่นเสียงก็จะเล่นในทุกสไลด์ เรียบร้อย สามารถปรับแต่งไฟล์เสียงได้โดยคลิกที่ไฟล์เสียงและกดที่ Trim Audio

18 การ Export เป็นไฟล์ วิดีโอ การ Export เป็นไฟล์วิดีโอ โดยการกดที่ File > Export > Create a Video > เลือกควาคมชัด> Create Video

อ้างอิง 19 Akkharaphin. (มมป). Motion Graphics VS Animation แตกต่างกันยังไง. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพั นธ์ 2564, จาก https://www.beartheschool.com Infographic. (2561). เบื้องหลังการทำ motion graphic 1 ชิ้น. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://infographicthailand.com ฮัลโหลแอดส์. (มมป). ทำความรู้จักกับ Motion Graphic. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://helloads.net Andrew.(2020). เราจะใส่ลูกเล่นเคลื่อนไหวในการนำเสนอผ่านโปรแกรม PowerPoint อย่างไร. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://business.tutsplus.com/th


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook