นวัตกรรม ตอกไม้ไผ่ไร้เชื้อรา
ที่มาของ นวัตกรรมตอกไม้ไผ่ไร้เชื้อรา แรกเริ่ม ก่อนที่โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม รายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (U2T) เข้าร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ ปราชญ์ชุมชนได้ใช้การทาแล็กเกอร์ช่วยป้ องกันการ ขึ้นราและเหน่าของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสารแล็กเกอร์มีผล ต่อสุขภาพของผู้บริโภค เมื่อสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ จักสานไม้ไผ่ ทางกลุ่มโครงการ U2T ช่วยคิดค้นวิธี การแก้ไขปั ญหาในการทำให้ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ ไร้เชื้อราและขึ้นเหน่า ที่สำคัญต้องปลอดภัยต่อการ ใช้งานของผู้บริโภค จึงได้สารโซเดียมเบนโซเอตและ น้ำซาวข้าว ในการทดลองตอกไม้ไผ่ สุดท้ายก็ได้ผล อย่างที่คาดคิดไว้ เพราะวัสดุที่ใช้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ห่างไกลจากสารเคมีส่งผลต่อสุขภาพ ของผู้บริโภค แน่นอน
วัสดุอุปกรณ์ สารโซเดียมเบนโซเอต น้ำซาวข้าว ตอกไม้ไผ่
วิธีการทดลอง ใส่น้ำซาวข้าวลงในกะละมังและ เติมสารโซเดียมเบนโซเอตลงไป แล้วคนให้เข้ากัน นำตอกไม้ไผ่ลงไปในกะละมัง ที่ได้ผสมเรียบร้อยแล้ว แช่ไว้ 1 คืน นำตอกไม้ไผ่ที่แช่เอาไว้ 1 คืน นำมาจากแดดจนแห้งสนิท โดย จะตากอยู่ประมาณ 2-3 วัน
ผลการทดลอง ตอกไม้ไผ่จะมีสีหมองคล้ำ ตอกไม้ไผ่สะอาดและสว่างมากขึ้น ที่สำคัญจะไม่เกิดเชื้อราและเหน่า
ประมวลภาพผลิตภัณฑ์ไผ่พาสเทล จากการทดลอง
ขอขอบคุณ ผศ.ดร.รุ่งรวี จิตภักดี หัวหน้าโครงการ โครงการยกระดับศรษฐกิจและ สังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Search
Read the Text Version
- 1 - 7
Pages: