Principles of Marketing Suki teenoi ENJOY EATING
คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการตลาด MK101 จัดทำขึ้นมาเพื่อทำให้เกิดความรู้เกี่ยวกับการ ตลาด (Marketing) และนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือในชีวิตประจำวัน ตามหัวข้อ ส่วนประสมทางการ ตลาดเป้าหมาย Marketing Mix หรือ 4Ps และการ วิเคราะห์ผลกระทบการดำเนินธุรกิจผ่าน SWOT Analysis การกำหนดตลาดเป้าหมายหลักและตลาด เป้าหมายรอง ของแบรนด์ สุกกี้ ตี๋น้อย คณะผู้จัด ทำได้เลือกธุรกิจ สุกกี้ ตี๋น้อย เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มี การเติบโตที่รวดเร็ว และน่าสนใจ จึงจัดทำรายงานเล่ม นี้ขึ้นมา คณะผู้จัดทำ
ส า ร บัญ ห น้ า ความเป็นมา 1 SWOT 5 B2C, B2B 9 STP 11 7P's 15 ข้อแนะนำ 18 19 ราบชื่อสมาชิก
ความเป็นมา 1 จุดเริ่มต้นของแบรนด์สุกี้ตี๋น้อย เริ่มจาก ความคิดที่อยากจะทำธุรกิจของตัวเอง มาตั้งแต่เด็กของคุณนัทธมน ทำให้เมื่อ เรียนจบและสั่งสมประสบการณ์ทำงาน มา 3 ปี หรือประมาณ 3 ปีที่แล้ว เธอ จึงปรึกษาคุณพ่อ ซึ่งเคยทำธุรกิจร้าน อาหาร “เรือนปั้นหยา” มาก่อน และสิ่ง ที่ได้เรียนรู้คือ การรักษารสชาติอาหาร ให้คงที่เป็นเรื่องยากมากสำหรับการทำ ร้านอาหารที่มีหลายสาขา จึงจุด ประกายให้คุณนัทธมนตัดสินใจก้าวสู่ ธุรกิจร้านอาหาร โดยเน้นทำร้านอาหาร ที่สามารถขยายสาขา ควบคู่ไปกับการ รักษามาตรฐานอาหารให้คงที่ ไม่ว่า ลูกค้าจะไปใช้บริการสาขาไหน รสชาติ อาหารก็เหมือนกัน จนในที่สุดตัดสินใจ ทำร้านสุกี้ ชาบู สไตล์บุฟเฟต์ ในราคา 199 บาท
2 เมื่อ 3 ปีที่แล้ว สุกี้ชาบูบุฟเฟต์ มีผู้เล่นในตลาดจำนวนมาก และการทำ ราคา 199 บาท ไม่ใช่เรื่องใหม่ในตลาด แต่ร้านส่วนใหญ่จะอยู่นอกห้าง ไม่ติดแอร์ แถมลูกค้าต้องบริการตัวเอง จึงนำ Pain Point ทุกอย่างมา ปรับใหม่ โดยพื้นที่ในร้านสุกี้ตี๋น้อยจะติดแอร์เสมือนนั่งรับประทานในห้าง ที่จอดรถสะดวก รวมถึงมีพนักงานเสิร์ฟอาหารถึงโต๊ะ และเปิดให้บริการ ตั้งแต่ 12.00-05.00 น. ในขณะที่ร้านอาหารทั่วไปจะเปิดปิดตามเวลาห้าง ทำให้สุกี้ตี๋น้อยแตกต่าง และสามารถให้บริการกับลูกค้าได้ทุกกลุ่ม ตั้งแต่ นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงวัยทำงาน แม้กระทั่งกลุ่มครอบครัว และเพียง ปีแรกแม้แบรนด์จะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ขยายร้านได้ถึง 10 สาขา สร้างยอดขายได้ถึง 499 ล้านบาท ทำให้เธอเห็นโอกาสเติบโตต่อ จึง วางแผนขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3 ธุรกิจกำลังเติบโตไปได้ดี แต่ทุกอย่างก็ต้องสะดุด เมื่อเจอโควิด-19 เพราะส่งผลกระทบให้สุกี้ตี๋น้อย ต้องปิดร้านอาหารภายใน 24 ชั่วโมง จาก มาตรการล็อกดาวน์ในครั้งแรก สต็อกวัตถุดิบจึง เหลือเป็นจำนวนมาก เนื่องจากแต่ละวันร้านจะสั่ง ซื้อวัตถุดิบจำนวนมาก เช่น กุ้ง 2,000 กิโลกรัม เนื้อหมู 7,000 กิโลกรัม และเนื้อวัว 2,000 กิโล กกรัมต่อวัน จึงสั่งนำผัก และของสดจากทุกสาขา มารวมกันที่ครัวกลางเพื่อหาทางออก
4 เมนูสุกี้อะลาคาร์ท-ฟู้ดทรัค ปั้มยอดขาย จากนั้นต้องขยับตัว พลิกวิธีหารายได้เพิ่ม ด้วยการนำเมนู Signature ของร้าน ทั้งน้ำจิ้มสุกี้ หมี่หยก ลูกชิ้นมาดัดแปลงเป็นเมนูพร้อมทาน “หมี่ หยกตี๋น้อย” ในราคา 39 บาท โดยขายผ่านหน้าร้านแบบนำกลับไปทานที่ บ้าน ซึ่งได้รับผลตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี แต่เนื่องจากมีแค่เมนูเดียว รายได้จึงไม่มาก ขณะที่มีพนักงานหลายพันชีวิต ทำให้มานั่งคิดว่าจะทำ อย่างไรเพื่อให้ทุกคนรอดไปด้วยกัน จึงคิดต่อยอดทำสุกี้แบบซื้อกลับไป ทานที่บ้านที่ยังคงคอนเซ็ปท์อร่อยคุ้มค่า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของร้าน
5 SWOT S จุดแข็ง 1. เปิดเที่ยงวันถึงตีห้า เรียกว่าเป็นจุดขายสำคัญสำหรับสายหิว ยามดึก เปิดร้านเพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่ไม่รู้จะกินอะไรดี 2. คุณภาพกับราคา สุกี้ตี๋น้อยเป็นร้านบุฟเฟ่ต์ที่ราคาจับต้องได้ และคุณภาพอาหารที่ดีและหลากหลาย 3. โปรโมชั่นดึงดูด ไปเป็นแก๊งหรือไปเป็นคู่ สุกี้ตี๋น้อยก็มักจัดโปร โมชั่นเพื่อลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่อยู่เสมอ ทำให้เกิดการหมุนเวียน ของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ใช่ว่าจำนวนคิวที่รอจะน้อยลง เพราะยิ่งโปรโมชั่นดึงดูดขนาดไหน กลุ่มลูกค้าก็ยิ่งให้ความสนใจ เพิ่มมากขึ้น 4. มีหลายสาขา การขยายสาขาของธุรกิจสุกี้ตี๋น้อยยังคงเพิ่ม ขึ้นเรื่อยๆ เพราะความต้องการของลูกค้ายังคงให้ความสนใจและ ยังเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ 5. ปรับตัวให้ทันทุกสถานการณ์ สุกี้ตี๋น้อยเปลี่ยนจุดขายจากสุกี้ บุฟเฟ่ต์ให้กลายเป็นแบบ Take Away ซึ่งขายเป็นชุดเมนูแบบอะ ละคาร์ท และยังส่ง สุกี้ตี๋น้อย ฟู้ดทรัค เพื่ออำนวยความสะดวก ให้กับพื้นที่ต่างจังหวัดได้รู้จักแบรนด์สุกี้ตี๋น้อย
6 6. มีทำเลที่ดีตั้งอยู่กลางชุมชน อยู่ติดถนนสามารถเข้าถึงได้ง่าย เดินทางสะดวก และเป็นชาบูที่ไม่เหมือนใคร เพราะว่าร้านชาบูที่อื่น มักจะอยู่ในห้างกันหมด แต่สุกี้ตี๋น้อยนั้นมีหน้าเป็นของตัวเอง ซึ่ง เป็นจุดสำคัญมากๆในการหาลูกค้า 7.เป็นร้านชาบูต้นๆของประเทศที่มี Delivery ซึ่งมันแปลกใหม่ ราคาถูกกว่าไปกินในร้าน เหมาะสำหรับการกินคนเดียว
7 W จุดอ่อน 1. เมนูเนื้อแต่ละประเภทยังมีให้เลือกไม่มากพอ ไม่สามารถรองรับ ความหลากหลายของเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่ต่างกันได้ 2. บางช่วงเวลามีลูกค้ามาก ทำให้ต้องใช้เวลารอที่นานเกินไป 3. เนื่องจากการมีลูกค้าที่เยอะ ทำให้เกิดเสียงดังรบกวน ไม่มีความ เป็นส่วนตัวในการรับประทาน O โอกาส 1. เพิ่มเนื้อสัตว์ เพิ่มเมนู หรือการเพิ่มน้ำจิ้ม เพื่อสนองความต้องการ ของลูกค้าที่หลากหลายให้มาทานได้ 2. เพิ่มส่วนของปิ้งย่างหรือเตากระทะ สำหรับลูกค้าที่ชอบทานปิ้งย่าง มากกว่าชาบู 3. จัดโปรโมชั่นตลอดทุกเดือนเพื่อเพิ่มยอดขาย กำไร ให้แก่บริษัท
8 T อุปสรรค 1.ปัจจัยภายนอก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่มั่งคง อาจ จะทำให้มีการปรับเปลี่ยนราคาที่สูงขึ้น คนมาทานชาบูได้น้อย ลงกว่าเดิม 2. มีคู่แข่งเยอะ เพราะมีร้านอาหาร ร้านชาบูอื่นๆที่มีอาหาร เยอะมากกว่า ถูกกว่าอยู่ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป
9 B2C (Business to Customer) หรือก็คือ ธุรกิจสุกี้ตี๋น้อย คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรง ถึงลูกค้าหรือผู้บริโภค โดยมีกลุ่มลูกค้าเป็นเด็ก นักเรียน นักศึกษา ครอบครัว วัยรุ่น วัยทำงาน และบุคคลทั่วไป โดย เน้นการขายและบริการลูกค้า ธุรกิจร้านอาหารประเภท “ชาบู” ในสไตล์บุฟเฟต์ เป็นรูปแบบร้านอาหารที่อยู่ในเทรนด์ความ นิยมของผู้บริโภค ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ “จุดขาย” ของร้าน อาหารประเภทนี้ นอกจากการมานั่งทานกับเพื่อนหรือคนสนิท ร่วมกันแล้ว ยังตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในเรื่องความคุ้ม ค่าอีกด้วย
10 B2B (Business to Business) คือ การทำธุรกิจระหว่างคู่ค้าธุรกิจด้วยกันเอง เพื่อตอบ สนองความต้องการทางด้านธุรกิจในด้านต่าง ๆ หรือ ถ้าจะพูดในอีกแง่หนึ่งก็คือ ซื้อสินค้าหรือบริการไปทำเงิน ต่อนั่นเอง การสั่งวัตถุดิบ สุกี้ตี๋น้อยที่ต้องมีการสต็อก วัตถุดิบเป็นจำนวนมาก เนื่องจากแต่ละวันร้านจะสั่งซื้อ วัตถุดิบจำนวนมาก เช่น กุ้ง 2,000 กิโลกรัม เนื้อหมู 7,000 กิโลกรัม และเนื้อวัว 2,000 กิโลกกรัมต่อวัน จึง สั่งนำผัก และของสดจากทุกสาขามารวมกันที่ครัวกลาง เพื่อนำไปเป็นตัวกลางบริการให้กับลูกค้าที่ร้านสุกี้ตี๋น้อย
11 STP หมายถึง กลยุทธ์ในการวิเคราะห์เลือกกลุ่มเป้า หมายทางการตลาด โดยประกอบด้วย -Segmentation (การแบ่งกลุ่มการตลาด) -Targeting (การเลือกเป้าหมาย) -Positioning (การวางตำแหน่งของการตลาด) การทำ STP จะช่วยธุรกิจในการทำความเข้าใจกับตัว เองและลูกค้าให้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น พร้อมต่อการวางแผน เพื่อแข่งขันและเติบโตในตลาด
12 Segmentation การแบ่งส่วนตลาดหรือ Segmentation นั้นจะช่วยให้ ธุรกิจสามารถวัดประสิทธิภาพของการดำเนินการได้ ละเอียดมากขึ้น สามารถทำนายพฤติกรรม จัดสรร เวลาและทรัพยากรตามลำดับความสำคัญ สุกี้ตี๋น้อย ที่ได้รับ ผลกระทบอย่างหนัก ฉุดยอดขายที่กำลังเติบโตหลายวับ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจร้านอาหารประเภท \"ชาบู\" ในสไตล์บุฟเฟต์ เป็นรูปแบบร้านอาหารที่อยู่ในเท รนด์ความนิยมของผู้บริโภค ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ \"จุด ขาย\" ของร้านอาหารประเภทนี้ นอกจากการมานั่ง ทานกับเพื่อนหรือคนสนิทร่วมกันแล้ว สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ การรักษารสชาติอาหารให้คงที่เป็น เรื่องยากมากสำหรับการทำร้านอาหารที่มีหลายสาขา จึงจุดประกายให้คุณนัทธมนตัดสินใจก้าวสู่ธุรกิจร้าน อาหาร โดยเน้นทำร้านอาหารที่สามารถขยายสาขา ควบคู่ไปกับการรักษามาตรฐานอาหารให้คงที่
13 Targeting เลือกเป้าหมาย กลุ่มคนหิวดึก เนื่องจากช่วงเวลาในการเปิดปิดร้านที่เปิด ตั้งแต่ 12.00-05.00 ด้วยช่วงเวลาเปิดที่ยาวนานถึงดึก ตรง นี้จึงเป็นจุดหนึ่งที่ตอบโจทย์ลูกค้าที่ไม่มีเวลามาใช้บริการใน ช่วงกลางวัน หรือคนหิวดึก ให้สามารถมาใช้บริการในตอน กลางคืนได้ ทั้งนี้จึงทำให้เราสามารถเห็นผู้คนมาต่อคิวจำนวน มาก แม้จะดึกแล้ว Positioning วางตำแหน่งของตลาด ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีเวลาเปิดปิดตามห้างค้าปลีก แต่สุกี้ตี๋ น้อยเลือกเปิดปิด 12.00 - 05.00น เหมาะสำหรับคนที่ ต้องการทานอาหารอร่อยคุ้มค่าสะดวกสบายถึงแม้จะดึกมาก
14 Pain Point ทุกอย่างมาปรับใหม่ โดยพื้นที่ในร้านสุกี้ ตี๋น้อยจะติดแอร์เสมือนนั่งรับประทานในห้าง ที่จอดรถ สะดวก วมถึงมีพนักงานเสิร์ฟอาหารถึงโต๊ะ และเปิด ให้บริการตั้งแต่ 12.00-05.00 น. ในขณะที่ร้านBehavioral - พฤติกรรมการซื้อหรือ ปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ ความต้องการ ความถี่ใน การใช้งานหรือซื้อ ช่วงเวลาและวาระโอกาสในการซื้อ Geographic - ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ เช่น ที่อยู่ เมือง ประเทศ ประชากร และสภาพอากาศ Demographic - ตัวตนของลูกค้า เช่น อายุ เพศ อาชีพ รายได้ สถานะครอบครัว Psychographic - เงื่อนไขทางจิตวิทยา เช่น วิถีชีวิต ลักษณะนิสัย คุณค่าที่ยึดถือ ความสนใจ
15 7P (ตี๋น้อย) 1.Product 2.Price : 219.- Vat7% 3.Promotion :
16 4.Place : สถานที่ต้องมีลานจอดรถและทำเลที่ดีเช่นใกล้ โรงเรียนหรือที่ทำงานหรือคอนโด เพราะจะทำให้คนส่วนมาก เดินทางได้ง่ายและมีที่จอดรถได้สะดวก 5.People : กลุ่มคนที่มากินสามารถเป็นเด็กจนถึงผู้สูงอายุได้ และราคาไม่แพงมากจึงทำให้คนส่วนใหญ่มาใช้บริการตี๋น้อย
17 6.Process : กระบวนการตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงร้านตี๋ น้อยได้โดยการโปรโมทจากเพจบนFacebook และ Google Tiktok , Instagram , Youtube 7.Physical Evidence : การบริการในร้านตี๋น้อยโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายสุภาพเรียบร้อยและการเซิฟอาหารบน โต๊ะแต่สมัยนี้ทางร้านได้มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยการเซิฟอาหาร นั้นคือการใช้หุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้โดยล้อและมีเสียง เมื่อมีผู้คนขวางทางเพื่อที่ไม่ให้ผู้คนเดินชนและหุ่นยนต์ตัวนี้ก็ บริการลูกค้าจนตลอดวันและมีอาหารมากมายและนำ้จิ้มที่ อร่อยอีกทั้งยังมีนำ้ดื่มมากมายให้ได้เลือกกันและราคาไม่แพง มากจึงรู้สึกคุ้มค่าในการกินจนทำให้ต้องกลับมาใช้บริการอีก
18 ข้อเสนอแนะหรือข้อแนะนำ ธุรกิจอาหารจะเติบโตได้ต้องเริ่มต้นจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับราคาซึ่งคุณภาพอาหารของร้านสุกี้ตี๋น้อยมี คุณภาพดีอยู่แล้ว(จากรีวิวของผู้รับประทาน)แต่บางอย่างก็ ควรตรวจเช็คและรักษาความสะอาดเช่นผักบุ้ง ผักชี หรือผัก ที่มาทั้งราก อาจจะมีดินติดอยู่ที่ส่วนรากควรเช็คและทำความ สะอาดให้ดีก่อนนำเสิร์ฟ และสิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างคือ การ บริการของพนักงานของแต่ละสาขาพนักงานควรให้บริการ ด้วยความเต็มใจทุกคน พนักงานบางคนยังมีกิริยาท่าทางที่ไม่ ดีในการบริการลูกค้าซึ่งอาจจะทำให้ลูกค้าบอกต่อกันไปว่า พนักงงานบริการไม่ดีและอาจจะทำให้ยอดขายของแต่ละสาขา ตกได้ซึ่งควรมีการจัดอบรมก่อนมาให้บริการลูกค้าเพื่อให้ พนักงานบริการลูกค้าแบบมีคุณภาพมากที่สุด
19 รายชื่อสมาชิก นาย ณัฐกฤษฎ์ ทองสุข 1650215286 No.104 นาง สาวจรัญพร แต่สกุล 1650215609 No.112 นาย ปภพ ชัยภัทรธนัย 1650215633 No.113 นาย ธนัช พันธุฟัก 1650215674 No.115 นาย วิธวินธ์ กันทะลือ 1650215690 No.116 นางสาว ศิริญทิพย์ วงษ์โกฏ 1650216268 No.132 นางสาว กัลสุดา บุตรพรม 1650216284 No.134 นางสาว นลินรัตน์ สิงห์จริญ 1650216961 No.145 นางสาว ดุษฎี แก้วไทย 1650217514 No.153 นาย สรวิชญ์ ศิริกัณฑ์ 1650218298 No.167
Search
Read the Text Version
- 1 - 22
Pages: