U-SHAPE การจัดห้องประชุมแบบตัวยู Feb. 14, 2022 30200-0028 การจัดประชุม
กลุ่ม การจัดห้องประชุม Our Team แบบ U-Shape นางสาวญาสุมินทร์ บุญสิทธิ์ เลขที่ 9 นางสาวพลอยไพลิย มุขเงิน นางสาวผกามาศ สังข์ทอง เลขที่ 21 เลขที่ 33 นางสาวเสาวรส ชุมคง นางสาวยุวธิดา อั้นทอง เลขที่ 29 เลขที่ 34 นางสาวอารียา รายา เลขที่ 31 นางสาวกานต์พิชชา เอี้ยวสกุล นางสาวจันทกานต์ เอียดสุข เลขที่ 32 เลขที่ 35 U-SHAPE
U-Shape OF CONTENTS 04 คำนำ 08 การจัดสถานที่ และอุ ปกรณ์การ 05 ความหมายและความสำคัญ จัดโต๊ ะประชุ ม ก า ร จั ด เ ต รี ย ม ส ถ า น ที่ 07 วัตถุประสงค์ การจัดสถานที่ 09 วิธีการจับผ้าปู โต๊ ะ ข้อมู ลประกอบการ 15 สรุ ป การจัดห้ องประชุ มแบบ พิ จ า ร ณ า ใ น ก า ร จั ด ส ถ า น ที่ U-SHAPE อุ ปกรณ์ในการจัดสถานที่ 16 อ้างอิง
U-SHAPE คำนำ รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดห้องประชุม งานประชุมเป็นภาระ กิจที่สําคัญอย่างหนึ่งเนื่องจากเป็นแหล่งระดมความคิดในการวางแผน วางนโยบายตลอดจนแนว ปฏิบัติหรือระดมความคิดเพื่อให้การปฏิบัติงานกิจกรรมหนึ่งสําเร็จผลตามเป้าหมายฉะนั้นการจัด ประชุมและการเขียนรายงานการประชุมที่กระชับรัดกุมจะสนองให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการจัดประชุม ตามความมุ่งหมาย คู่มือฉบับนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนแรกเป็นประเภทของความหมาย และประเภทขั้นตอน ของการประชุม ส่วนที่สองเป็นรูปแบบของการจัดประชุม วัตถุประสงค์ของการจัดประชุม และ การเตรียมการการจัดสถานที่ก่อนเริ่มการประชุม ข้อมูลการประกอบการพิจรณาในการจัดสถานที่ เพื่อเป็นประโยชน์และแนวทางในการปฎิบัติงานของหน่วยงานและองค์กรต่างๆต่อไป โดย กลุ่มการจัดห้องประชุมแบบตัว U
ความหมายและความสำคัญ การจัดแบบ U-shape เป็นการจัดโต๊ะคล้ายรูปตัว U เหมาะสำหรับ ผู้บรรยายที่อยากจะใกล้ชิดกับผู้ฟัง แบบ ถาม-ตอบ เพราะการจัดโต๊ะแบบลักษณะ ตัว U ผู้บรรยายสามารถเดินเข้าไปหาผู้ฟังและสอบถามพูดคุยได้อย่างทั่วถึง การจัดโต๊ะ แบบ U–Shape เหมาะสำหรับการจัดประชุมแบบกลุ่มคนขนาดใหญ่ สามารถซ้อนโต๊ะ ได้อย่างน้อย 2 ชั้น และสามารถจุคนได้มากกว่าแบบ U-Shape ชั้นเดียว การจัดโต๊ะแบบ U-Shape ไม่ควรซ้อนเกิน 2-3 ชั้นเพราะผู้บรรยายอาจจะ ดูแลไม่ทั่วถึง และแถวที่ซ้อนด้านหลังอาจจะไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร สามารถแก้ ปัญหาการมองไม่เห็นจอ Projector ได้อย่างทั่วถึงด้วย เพราะทุกคนนั่งอยู่ในตำแหน่งที่ ไม่มีใครบังกัน แถมพื้นที่ตรงกลางยังสามารถจัดกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีก เพื่อเพิ่มสีสันให้กับ การประชุม เหมาะสำหรับการใช้กับเทคนิคการประชุมที่ต้องการให้สมาชิกได้อภิปราย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือใช้สำหรับการสาธิต วิทยากรสายกิจกรรมชอบใช้การ จัดห้องประชุมรูปแบบนี้ เพราะสามารถทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เล่นเกม ย้ายที่ไปมาได้ สะดวก และรูปแบบสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม เช่น ถ้าห้องประชุมจัด U- shape วงเดียวไม่ได้ ก็สามารถจัดเก้าอี้ซ้อน 2 แถวเป็น 2 วง ได้อีก ข้อเสียของการจัดห้องประชุมรูปแบบนี้คือ หากผู้เข้าอบรมมีจำนวนมาก ก็ต้องใช้ ห้องประชุมที่ใหญ่ตาม และไม่ควรจัด U-Shape หากผู้อบรมมีมากกว่า 200 คนขึ้น ไป(โดยค่าเฉลี่ย) เพราะจะทำให้วงกว้างเกินกว่าที่วิทยากรจะควบคุมได้ เพราะระยะการ นั่งในบางตำแหน่งจะห่างจากวิทยากรเกินไป U-SHAPE
รูปแบบการจัดห้องประชุม U-SHAPE U-SHAPE STYLE แ บ บ ตั ว U U-SHAPE
U-SHAPE วัตถุประสงค์ การจัดสถานที่ เพื่อให้การดำเนินการในการแข่งขันดำเนินการไปอย่างราบรื่น ประสบความสำเร็จพบข้อบกพร่องน้อยที่สุดในการแข่งขันและการประชุม เพื่อสร้างบรรยากาศภายในห้องประชุมบริเวณร อบอาคารสถานที่ให้เกิดความน่าสนใจ สอดคล้องกับเรื่องที่จัดประชุม เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้เกิดแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ผู้จัด หรือเจ้าภาพในการจัด ข้อมูลประกอบการพิจารณาในการจัดสถานที่ ผู้ดำเนินการจัดห้องประชุมหรือผู้ที่มีหน้า ที่จัดสถานที่ จะต้องประสานไปยังฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประธาน เลขานุการ งานทะเบียน สวัสดิการ เพื่อหาข้อมูลประกอบการ จัดสถานที่ ดังนี้ 1.จำนวนผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งหมด -> จัดที่นั่ง / จัดห้องประชุม 2.จำนวนและขนาดของห้องที่ใช้ประชุม -> จัดให้เหมาะสมกับจำนวนคน 3. สถานที่ตั้งของห้องห้องประชุม - > เดินทางสะดวก / เป็นที่รู้จัก / อาคาร ชั้น ห้อง ระบุให้ละเอียด 4.ห้องประชุม /ห้องน้ำ -> ควรอยู่บริเวณใกล้กัน 5.ห้องประชุมควรเป็นเอกเทศ -> ไม่มีกลิ่น แสง เสียงรบกวน 6.มีอากาศถ่ายเทสะดวก -> อุณหภูมิ แสงสว่าง ระบบเสียง ที่เหมาะสม 7. เครื่องอำนวยความสะดวก 8. วางแผนออกแบบโต๊ะประชุม
อุ ป ก ร ณ์ ใ น ก า ร จั ด โ ต๊ ะ ป ร ะ ชุ ม โต๊ะ - เก้าอี้ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าจับจีบ เทปผ้า เข็มหมุด การจัดสถานที่และอุปกรณ์การจัดโต๊ะประชุม การจัดโต๊ะประชุมแต่ละครั้ง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงและต้องเตรียมการตรวจ สอบความเรียบร้อย คือ การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์ การเลือก ห้องประชุม รูปแบบการจัดห้องประชุม รูปแบบการจัดเวทีการแข่งขัน เป็นสิ่งที่มี ส่วนทำให้การแข่งขันระดับอาชีวศึกษามีบรรยากาศและช่วยตอบสนองการดำเนิน กิจกรรมได้มากขึ้น การจัดเตรียมสถานที่ ก่ อ น ที่ จ ะ ดำ เ นิ น ก า ร จั ด ส ถ า น ที่ อ ย่ า ง เ ป็ น ท า ง ก า ร อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ข อ ง ก ร ะ บ ว น ก า ร จั ด ห้อง ประชุมต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์กันกับสถานที่ที่ใช้ในการดำเนินการประชุม ไปพร้อมๆ กัน เพื่ อจะทำให้การแข่งขันดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย โดยมีราย ล ะ เ อี ย ด ที่ ต้ อ ง พิ จ า ร ณ า ดั ง ต่ อ ไ ป นี้ U-SHAPE
U-SHAPE 1. ติดต่อขอใช้สถานที่จากคุณครูรายวิชา การจัดประชุม 2. สำรวจอุปกรณ์ -> เครื่องมือ / เครื่อง ปรับอากาศ / เครื่องเขียน / ปลั๊กไฟ / ทดสอบการใช้งาน 3. ดูแลความสะอาดห้องน้ำ ห้องประชุม 4. เตรียมการและตรวจสอบความเรียบร้อย -> กระทำก่อนล่วงหน้า 1 วัน เช่น จัดผ้าคลุมโต๊ะให้เรียบร้อย จัดกระถางต้นไม้ จัดโต๊ะชั้นวางหนังสือ จัดเตรียมเวที จัดวางโต๊ะ+ผ้าปูโต๊ะ เก้าอี้ สำหรับผู้เข้า ร่วมประชุม วิทยากร ประธาน ฯลฯ
วิธีการจับผ้าปูโต๊ะ ลายสัปปะรด 1. วัดผ้ากับโต๊ะ ตลบชายผ้าไว้ด้านในให้ชายผ้ากองพื้นเล็ก น้อย เก็บริมผ้าด้านข้าง 01 02 03
วิธีการจับผ้าปูโต๊ะ ลายสัปปะรด 2. กรีดผ้าทิ้งกลีบให้ตรง วัดลง มาประมาณ 1 คืบ
วิธีการจับผ้าปูโต๊ะ 3. ขึ้นกลีบแรกกว้างไม่เกิน 2 นิ้ว ยึดเป็นห่วง จำนวน 3ห่วง
วิธีการจับจับผ้าปู โต๊ะ 4. จับกลีบยึดด้วยเข็มหมุด สับหว่างลงมาเรื่อย ๆ ระยะห่างประมาณ 1-2 นิ้ว ทำประมาณ 1-2 ชั้น เมื่อสำเร็จแล้วโต๊ะจะทรงเอวคอด
5. ใช้นิ้วกดผ้าด้านบน ให้พองออก วิธี การ จับ จับ ผ้า ปู โต๊ะ
แบบสำเร็จ (ทำจนรอบโต๊ะ)
สรุป การจัดห้องประชุมแบบ U-Shape การจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ในการสัมมนา เป็นการแสดงถึง ความพร้อมในการ จัดสัมมนา การอำนวยความสะดวกให้แก่วิทยากร เป็น เทคนิคประการหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้เข้ารับ การสัมมนาเกิดความประทับใจ ส่ง ผลให้การจัดสัมมนาบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ และในการจัดการ เรียนการสอนวิชาสัมมนา จึงมีการจัดสัมมนาโดยให้นักศึกษาแสดงบทบาท สมมุติ การแบ่งงานและให้ความสำคัญขององค์ประกอบในการจัดสัมมนา ตั้งแต่บทบาทการเป็น ผู้จัดสัมมนา วิทยากร ผู้เกี่ยวข้องด้านต่างๆ และ สามารถจัดสถานที่การสัมมนาได้อย่างเหมาะสม ตามแบบพิธีการ
THANK YOU 30200-0028 การจัดประชุม
Search
Read the Text Version
- 1 - 19
Pages: