เอกสารแนบท้ายประกาศโรงเรยี นพัฒนาศิลปะวิทยา เรื่อง มาตรฐานการศึกษาและเป้าหมายความสำ� เร็จ ระดบั การศึกษาขั้นพน้ื ฐาน ประกาศ ณ วนั ท่ี ๙ เดอื นพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ โรงเรียนพัฒนาศิลปะวิทยาก�ำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษา ขั้นพนื้ ฐาน โดยกำ� หนดเป้าหมายความส�ำเรจ็ ของสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดบั ดเี ลิศ โดยมเี ปา้ หมายในแตล่ ะมาตรฐาน ดงั น้ี มาตรฐานท่ี ๑ คณุ ภาพของผูเ้ รยี น ผลสมั ฤทธท์ิ างวิชาการ ๑.๑ นักเรยี นร้อยละ ๗๕ มีความสามารถในการอ่านเชงิ วพิ ากย์และเขียน วจิ ารณบ์ ทความ/สารคดไี ดต้ ้ังแต่ระดบั ดขี ึน้ ไป ๑.๒ นักเรียนร้อยละ ๕๕ มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ (CU-TEP) ของศนู ย์ทดสอบทางวชิ าการแหง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้งั แต่ ๖๐ คะแนนขน้ึ ไป ๑.๓ นักเรียนร้อยละ ๓๕ มีผลการสอบวัดระดับความสามารถภาษาจีน (HSK) อยใู่ นระดบั ๒ ข้ึนไป ๑.๔ นักเรียนร้อยละ ๘๕ สามารถใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ (ICT) พฒั นาโปรแกรมในรปู แอปพลเิ คชน่ั ต่าง ๆ ได้ ๑.๕ นักเรียนทุกคนมีความสามารถในการท�ำขนมไทยได้อย่างน้อย ๑ อย่าง และรอ้ ยมาลยั ไดอ้ ยา่ งสวยงามอย่างนอ้ ย ๑ แบบ ๑.๖ ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนระดบั ชาติ (O-NET) ของโรงเรยี นสงู กวา่ คา่ เฉล่ีย ของต้นสังกดั อย่างตอ่ เนอื่ งทกุ กลุ่มสาระการเรยี นรู้ โดยเฉพาะกลุ่มสาระการเรียน ร้ภู าษาไทยของโรงเรียนมีค่าเฉล่ยี ไม่ตา่ กว่า รอ้ ยละ ๘๕ ๑.๗ นักเรียนร้อยละ ๘๐ มีผลงานที่แสดงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และสรา้ งสรรค์ตามเกณฑ์ การประเมินโครงงาน 42 การก�ำ หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา
๑.๘ นักเรียนทุกคนมีความพร้อมและมีเป้าหมายชัดเจนในการศึกษาต่อ เพ่ือประกอบอาชพี ๑.๙ นักเรียนทุกคนมีความประพฤติดี พูดจาไพเราะ กิริยามารยาทงาม สง่า เป็นกลั ยาณมิตรกบั ทุกคนสมศักดศ์ิ รกี ลุ สตรไี ทย มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจดั การ ๒.๑ โรงเรียนมีระบบการบริหารและการจัดการท่ีมุ่งเน้นการกระจาย อ�ำนาจและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยยึดหลักธรรมาภิบาล ความโปรง่ ใส และมรี ะบบตรวจสอบการดำ� เนินงานทม่ี คี ณุ ภาพ ๒.๒ โรงเรียนจัดหลักสูตรที่เนน้ วชิ าการสมู่ าตรฐานสากล โดยมีแผนการเรียน ท่ีเน้นด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาเพ่ือธุรกิจ และจัดกิจกรรมเสริม หลักสูตรท่ีเน้นการสืบสานงานฝีมือ งานอาชีพ ผนวกกับหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพยี ง ๒.๓ โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่ทันสมัย เพียงพอต่อ การจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการ มีระบบไวไฟที่เสถียรต่อการแสวงหา ความรู้ทกุ เวลาและสถานที่ ๒.๔ โรงเรียนมีเครือข่ายท่ีเข้มแข็งในการสนับสนุนการพัฒนาการศึกษา ของโรงเรียน ไม่นอ้ ยกว่า ๕ องคก์ ร มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนทเ่ี นน้ ผ้เู รยี นเป็นส�ำคัญ ๓.๑ ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน (Project based learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์การอภิปรายแบบวิพากษ์ และสร้างผลงานเชงิ สรา้ งสรรค์ โดยบรู ณาการกับหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง ๓.๒ ครูใหน้ กั เรยี นทกุ คนไดส้ าธิตและฝกึ ปฏิบตั จิ ริง (Learning by Doing) ทั้งด้านวิชาการและกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยเฉพาะงานฝีมือและการอนุรักษ์ ศลิ ปะไทย 43 การกำ�หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
๓.๓ ครูทุกคนพัฒนาตนเองให้สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีและสารสนเทศ ได้อย่างคล่องแคล่ว และจัดหาแหล่งสืบค้นท่ีหลากหลาย เพื่อให้นักเรียนได้ ความรู้ทันสมัย ๓.๔ ครูทุกคนประเมินและประมวลผลการเรียนรู้จากข้อมูลหลายแหล่ง เช่น การทดสอบ การเขียนรายงาน การประเมินโครงงาน การอภิปรายกลุ่ม การพูดบนเวที ผลงาน การพัฒนาตนเอง เป็นต้น และให้ข้อมูลย้อนกลับทันที เพ่อื การพัฒนาตนเองของนักเรียน ๓.๕ ครูทุกคนเป็นแบบอย่างท่ีดีแก่นักเรียนในด้านพูดจาไพเราะ กิริยา มารยาทงามสงา่ เป็นกลั ยาณมิตรกบั ทกุ คน สมศกั ดิ์ศรกี ลุ สตรีไทย ........................................................................................... 44 การก�ำ หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา
๓. โรงเรียนรักชาตอิ ุปถมั ภ์ สภาพบริบทโรงเรยี น โรงเรียนรักชาตอิ ปุ ถัมภ์ ตั้งอยทู่ ีเ่ ลขที่ ๗๘๙ หมทู่ ี่ ๔ ตำ� บลในเมือง อ�ำเภอ เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขน้ั พ้นื ฐาน เปดิ สอนระดับชัน้ อนบุ าล ๒ ถึงระดบั ชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ ๖ โรงเรียน มีเนื้อที่ ๔ ไร่ มีนักเรียน ๑๐๗ คน ครู ๖ คน และมีห้องเรียนละ ๑ ชั้น รวม ๘ ห้องเรียน โรงเรียนต้ังอยู่ชายเขตแดนของจังหวัด เป็นเขตชนบท มีเขตบริการ ๒ หม่บู า้ น นักเรยี นร้อยละ ๙๐ เป็นกลุม่ ชนเผา่ โส้ ประชากรในเขตพ้ืนท่บี ริการ ของโรงเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกสับปะรด ปลูกยาง ผู้ปกครองร้อยละ ๙๐ นบั ถือศาสนาพุทธ อีกรอ้ ยละ ๑๐ นับถือศาสนาอน่ื ๆ ปรัชญาของโรงเรียน ปญญฺ า นรานํ รตนํ : ปัญญาเป็นรตั นะของนรชน ค�ำขวญั ของโรงเรยี น ศกึ ษาดี กฬี าเดน่ เน้นวินัย เอกลกั ษณข์ องโรงเรียน เรยี นรแู้ บบโครงงาน สืบสานโส้ทั่งบัง้ อตั ลกั ษณ์ของนกั เรยี น มีวนิ ยั วิสัยทศั น์ โรงเรียนรักชาติอุปถัมภ์เน้นการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงานให้ผู้เรียน มีคุณภาพรอบด้าน โดยครูมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ บริหารการศึกษาโดย ยึดหลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และส่งเสริมการอนุรักษ์ วฒั นธรรมท้องถ่ิน 45 การกำ�หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
พันธกิจ ๑. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและมีคุณลักษณะ ทพี่ ึงประสงคต์ ามหลกั สูตร ๒. ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ จัดการเรียนรู้ท่ีเน้น ผ้เู รียนเปน็ ส�ำคญั และให้ผเู้ รียนท�ำโครงงานและกิจกรรมกลุ่ม ๓. ส่งเสรมิ ศลิ ปวัฒนธรรมเผ่าโส้ ๔. สร้างความตระหนักให้ชุมชนเห็นความส�ำคัญ และมีส่วนร่วมใน การพัฒนาการศกึ ษา เปา้ ประสงค์ ๑. นักเรียนมีความรคู้ วามสามารถ มที ักษะการใช้ภาษาไทย ทกั ษะการคิด และทกั ษะชวี ิต รวมทง้ั เปน็ ผู้ท่ีมีความรบั ผดิ ชอบ มวี นิ ยั ในตนเอง ตงั้ ใจเรยี นจนจบ หลักสูตร ๒. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพ จัดกิจกรรมการเรียนรูท้ ่ีมีคณุ ภาพเน้นผู้เรียนเป็นสำ� คญั โดยใชก้ ิจกรรมโครงงาน ๓. สถานศึกษาได้รับการยอมรับด้านอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรม ท้องถ่ิน โดยฉพาะการร�ำโสท้ ั่งบง้ั ๔. สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการศึกษาท่ีมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตามหลกั ธรรมาภิบาล ๕. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มสี ่วนร่วมในการพัฒนาและจดั การศึกษา 46 การก�ำ หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
กลยุทธ์ กลยุทธ์ท่ี ๑ พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพบนพื้นฐานของความเป็นไทยและ ด�ำเนนิ ชีวิตตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง กลยุทธท์ ่ี ๒ ส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพ ตามมาตรฐานวชิ าชพี กลยุทธท์ ี่ ๓ บริหารและจัดการการศึกษาด้วยระบบคุณภาพตาม หลกั ธรรมาภิบาล 47 การก�ำ หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
ตวั อยา่ งมาตรฐานการศกึ ษาของโรงเรียนรักชาติอุปถมั ภ์ ประกาศโรงเรียนรกั ชาติอปุ ถัมภ์ เรื่อง มาตรฐานการศกึ ษาและเป้าหมายความสำ� เร็จตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศกึ ษา ระดบั ปฐมวยั และระดบั ประถมศกึ ษา ---------------------------------------------------------- ตามท่ีกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๖๑ ข้อ ๓ ระบุให้สถานศึกษาแต่ละแห่ง จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในของ สถานศึกษา โดยการกําหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตาม มาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการประกาศไว้ ท้ังน้ี เพ่ือสร้างความม่ันใจและความพึงพอใจใน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาน้ัน โรงเรียน รักชาติอุปถัมภ์จึงประกาศเรื่อง มาตรฐานการศึกษาและเป้าหมายความส�ำเร็จตามมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา ระดับปฐมวยั และระดบั การศึกษาข้นั พื้นฐาน ดังนี้ ระดบั ปฐมวยั คุณภาพโดยรวมของสถานศึกษาอยูใ่ นระดบั ดี เด็กทุกคนมีความร่าเริง แจ่มใส เล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้อย่าง มีความสุข ร่างกายแข็งแรง ทรงตัวและเคล่ือนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว เก็บของใช้ของตนเองและรักษาสมบัติของตนเองได้ สามารถรอคอยและอดทน ท�ำกิจกรรมจนส�ำเร็จ รู้จักแบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน รู้จักท่าร�ำพ้ืนฐานของร�ำโส้ท่ังบ้ัง และสามารถอธบิ ายความคิดของตนเองใหผ้ ูอ้ นื่ เขา้ ใจได้ 48 การก�ำ หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา
ครูปฐมวัยทุกคนมีแผนการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการ ครบทุกด้านเป็นรายบุคคล โดยมีครอบครัวของเด็กร่วมเอาใจใส่ดูแลและปรับ พฤติกรรมของเด็ก ใช้สื่อธรรมชาติผสมกับสื่อเทคโนโลยีในการพัฒนาการเรียนรู้ ของเด็ก ให้โอกาสเด็กทุกคนได้ท�ำกิจกรรมอิสระท่ีเน้นการทดลอง ประเมิน พฒั นาการของเด็กจากผลงานและความประพฤติอยา่ งต่อเน่ือง ใชผ้ ลงานของเดก็ จดั ห้องเรียนให้มบี รรยาการศท่กี ระตนุ้ การใฝ่เรียนร้ขู องเด็ก ระดับการศึกษาขนั้ พ้นื ฐาน (ประถมศึกษา) คุณภาพโดยรวมของสถาน ศกึ ษาอย่ใู นระดบั ดี นักเรียนทุกคนจบการศึกษาภายในระยะเวลาที่ก�ำหนด มีความสามารถ ในการใช้ภาษาไทยอยู่ในระดบั ดี มที กั ษะการคดิ วิเคราะห์ มีทกั ษะชีวิต* มที กั ษะ งานอาชีพอย่างน้อย ๑ อย่าง มีความสามารถในการร�ำโส้ท่ังบ้ังได้อย่างสวยงาม รักและส่ือสารวัฒนธรรมโส้ให้เป็นท่ีรู้จัก สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สะท้อน วัฒนธรรมโส้โดยใช้เทคโนโลยีได้ เล่นกีฬาเป็นอย่างน้อย ๑ อย่าง เป็นผู้มีวินัย อ่อนนอ้ มถ่อมตน และมจี ติ อาสาชว่ ยเหลอื กิจกรรมของทอ้ งถ่ินด้วยความเต็มใจ * ทกั ษะชีวติ ในทน่ี ้ี หมายถงึ นกั เรียนมีความตั้งมัน่ ในเปา้ หมาย มีอารมณ์ ม่นั คง ตง้ั ใจแนว่ แนใ่ นการท�ำงาน ควบคุมตนเองได้ และมองโลกในแง่ดี ครูมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ การประเมินผล และการฝึก ทักษะการคดิ ทกั ษะการจดั การและกระบวนการทำ� งาน โดยใหน้ กั เรียนรวมกลุม่ ท�ำโครงงานท่ีสอดคล้องกับวิถีชีวิตในท้องถิ่น ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจนส�ำเร็จ ครูทุกคนมีข้อมูลของนักเรียนที่ตนรับผิดชอบในเชิงลึกจากการเย่ียมบ้านและ ผลการเรียน สำ� หรับใหค้ �ำปรกึ ษา ชว่ ยเหลือนกั เรยี นได้พัฒนาเต็มตามศกั ยภาพ 49 การก�ำ หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศึกษา
โรงเรียนบริหารและจัดการศึกษาทั้งระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา ท่ีมุ่งเน้นให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายเป็นรายบุคคล โดยให้ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนา ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นควบคู่กับ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ พัฒนาให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ วัฒนธรรมโส้ ใช้แผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนเป็นกลไกการขับเคล่ือน คณุ ภาพการศกึ ษา การด�ำเนนิ งานเน้นความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ในคราวประชมุ เม่อื วันที่ ๑๐ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกาศ ณ วนั ท่ี ๑๕ เดือนมนี าคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นางมุ่งมน่ั พัฒนาชาติ ผูอ้ �ำนวยการโรงเรียนรักชาติอุปถัมภ์ 50 การก�ำ หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
บรรณานกุ รม กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๕๓). กฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และ วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓,ประกาศ ณ วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓. ม.ป.ป. (เอกสารอดั ส�ำเนา) _______. (๒๕๖๑). กฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑. (เอกสารอัดส�ำเนา) _______. (๒๕๖๑). มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษา ข้ันพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ฉบับลงวนั ท่ี ๖ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๕๖๑. พงศ์ศรันย์ พลศรีเลิศ. การก�ำหนดเป้าหมายขององค์กร. สืบค้น.เม่ือวันที่ ๑๖ ธนั วาคม ๒๕๖๒,จาก https://phongzahrun.wordpress.com. พระราชบญั ญตั ิการศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒. (๒๕๔๒). ราชกิจจานุเบกษา. เลม่ ๑๑๖ ตอนท่ี ๗๔ ก (๑๙ สงิ หาคม ๒๕๔๒). _______. (๒๕๔๕). ราชกิจจานุเบกษา. เลม่ ๑๑๙ ตอนที่ ๑๒๓ ก (๑๙ ธนั วาคม ๒๕๔๕). ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน. (๒๕๕๔). การก�ำหนดมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓. พิมพ์คร้ังท่ี ๑. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แหง่ ประเทศไทย จ�ำกัด. 51 การก�ำ หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศึกษา
ส�ำนักทดสอบทางการศึกษา. (๒๕๕๔). แนวทางการพัฒนาระบบการประกัน คุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓. กรงุ เทพฯ :โรงพิมพช์ ุมนุมสหกรณก์ ารเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำ� กัด. _______. (๒๕๕๔). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ข้ันพื้นฐาน เพ่ือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ :กระทรวงฯ. _______. (๒๕๕๔). การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกัน คณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนมุ สหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จ�ำกัด. _______. (๒๕๖๑). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน และระดับการศึกษา ขั้นพน้ื ฐานศูนยก์ ารศึกษาพเิ ศษ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพช์ มุ นุมสหกรณ์ การเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำ� กดั . University College London (UCL). ทักษะชวี ิต. สบื คน้ . เม่ือวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒, จาก https://phongzahrun.wordpress.com. 52 การกำ�หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ภาคผนวก
กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอ�ำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหน่ึง แห่งพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษา แหง่ ชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และมาตรา ๔๗ วรรคสอง แห่งพระราชบญั ญตั ิ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออก กฎกระทรวงไว้ ดังตอ่ ไปน้ ี ขอ้ ๑ ให้ยกเลกิ กฎกระทรวงว่าดว้ ยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกัน คณุ ภาพการศึกษาพ.ศ. ๒๕๕๓ ขอ้ ๒ ในกฎกระทรวงนี้ “การประกันคุณภาพการศึกษา” หมายความว่า การประเมินผลและ การติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละระดับ และประเภทการศึกษา โดยมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบระบบการบริหาร คุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาจัดขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้าง ความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเก่ียวข้องและสาธารณชนว่าสถานศึกษาน้ันสามารถ จัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และบรรลุเป้าประสงค์ ของหน่วยงานต้นสังกดั หรอื หนว่ ยงานทกี่ ำ� กบั ดูแล 55 การกำ�หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
“ส�ำนักงาน” หมายความว่า ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คณุ ภาพการศกึ ษา (องคก์ ารมหาชน) ข้อ ๓ ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในสถานศึกษาโดยการก�ำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาท่ีรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศก�ำหนด พร้อมทั้งจัดท�ำแผนพัฒนา การจัดการศึกษาของสถานศึกษาท่ีมุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและด�ำเนินการ ตามแผนท่ีก�ำหนดไว้จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศกึ ษา ติดตามผลการดำ� เนนิ การเพอ่ื พฒั นาสถานศกึ ษาใหม้ ีคณุ ภาพ ตามาตรฐานการศึกษา และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงาน ตน้ สงั กัดหรอื หน่วยงานที่ก�ำกับดูแลสถานศึกษาเป็นประจ�ำทกุ ปี เพื่อให้การด�ำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามวรรคหนึ่งเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพให้หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่ก�ำกับดูแล สถานศึกษามีหน้าท่ีในการให้ค�ำปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะน�ำสถานศึกษา เพอ่ื ให้การประกันคุณภาพการศกึ ษาของสถานศึกษาพฒั นาอย่างต่อเนื่อง ข้อ ๔ เมื่อได้รับรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาตามข้อ ๓ แล้วให้หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่ก�ำกับดูแลสถานศึกษาจัดส่งรายงาน ดังกล่าวพร้อมกับประเด็นต่าง ๆ ท่ีต้องการให้มีการประเมินผลและการติดตาม ตรวจสอบซึ่งรวบรวมได้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ สถานศึกษาแห่งน้ันให้แก่ส�ำนักงานเพ่ือใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการประเมิน คณุ ภาพภายนอก ให้ส�ำนักงานด�ำเนินการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และจัดส่งรายงานผลการประเมินและ การติดตามตรวจสอบดังกล่าว พร้อมข้อเสนอแนะให้แก่สถานศึกษาและหน่วยงาน ต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่ก�ำกับดูแลสถานศึกษานั้นๆ เพื่อให้สถานศึกษาใช้เป็น แนวทางในการปรบั ปรงุ และพฒั นาคุณภาพการศึกษาต่อไป 56 การก�ำ หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา
ในการด�ำเนินการตามวรรคสอง ส�ำนักงานอาจจัดให้บุคคลหรือหน่วยงาน ที่ได้รับรองจากส�ำนักงานด�ำเนินการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศึกษาได้ ให้หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานท่ีก�ำกับดูแลสถานศึกษานั้นติดตาม ผลการด�ำเนินการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตาม วรรคสอง เพ่ือนำ� ไปส่กู ารพฒั นาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา ข้อ ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอำ� นาจตคี วามและวินจิ ฉยั ปัญหาอันเกี่ยวกับการปฏิบตั ติ ามกฎกระทรวงนี้ ให้ไว้ ณ วนั ท่ี ๒๐ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ ธรี ะเกยี รติ เจริญเศรษฐศลิ ป์ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ 57 การกำ�หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
หมายเหตุ :– เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับน้ี คือ โดยที่แนวทาง ในการด�ำเนินการตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกัน คุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ ไม่สอดคล้องกับหลักการประกันคุณภาพ การศึกษาท่ีแท้จริง จึงส่งผลให้การด�ำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายใน และภายนอกไม่สัมพันธ์กัน เกิดความซ�้ำซ้อนและคลาดเคลื่อนจากการปฏิบัติ ท�ำให้ไม่สะท้อนความเป็นจริงและเป็นการสร้างภาระแก้สถานศึกษาและ บุคลากรในสถานศึกษา ตลอดจนหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่ก�ำกับดูแล และหน่วยงานภายนอกเกินความจ�ำเป็น สมควรปรับปรุงระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อให้มีกลไกการปฏิบัติที่เอื้อต่อการ ดำ� เนนิ การตามมาตรฐานการศกึ ษาของแต่ละระดบั และเกิดประสิทธิภาพในการ พัฒนาคุณภาพการศกึ ษา จึงจ�ำเป็นตอ้ งออกกฎกระทรวงน้ี 58 การก�ำ หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
ประกาศกระทรวงศกึ ษาธกิ าร เรื่อง ใหใ้ ชม้ าตรฐานการศกึ ษา ระดับปฐมวยั ระดบั การศึกษาขัน้ พ้ืนฐาน และระดับการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐานศนู ยก์ ารศึกษาพิเศษ โดยท่ีมีประกาศใช้กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ นโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองที่ก�ำหนดเป้าหมาย และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพคนไทยและการศึกษาไทยในอนาคต ประกอบกับมีนโยบายให้ปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพ ท้ังภายในและภายนอกของทุกระดับก่อนจะมีการประเมินคุณภาพในรอบต่อไป จ�ำเป็นต้องปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สอดคล้องกัน จึงให้ยกเลิก ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ือง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย เพ่ือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ลงวันท่ี ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ข้ันพื้นฐาน เพ่ือประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ลงวันท่ี ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เพ่ือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ลงวันท่ี ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๙ (๓) ได้ก�ำหนดการจัดระบบ โครงสร้าง 59 การกำ�หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักท่ีส�ำคัญข้อหน่ึง คือ มีการก�ำหนด มาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและ ประเภทการศึกษาโดยมาตรา ๓๑ ให้กระทรวงมีอ�ำนาจหน้าที่ก�ำกับดูแล การศกึ ษาทุกระดับและทกุ ประเภท กำ� หนดนโยบาย แผนและมาตรฐานการศกึ ษา และมาตรา ๔๘ ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา และใหถ้ อื วา่ การประกนั คุณภาพภายในเป็นส่วนหน่ึง ของการบริหารการศึกษาที่ต้องด�ำเนินการอย่างต่อเน่ือง โดยมีการจัดท�ำรายงาน ประจ�ำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดหน่วยงานที่เก่ียวข้อง และเปิดเผย ต่อสาธารณชน เพ่ือน�ำไปสู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรับรอง การประกนั คุณภาพภายนอก ฉะนั้น อาศัยอ�ำนาจตามความในมาตรา ๙ (๓) มาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญตั กิ ารศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๕ มาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพ่ิมเติมโดย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกอบกับมติ คณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพื้นฐานในการประชมุ คร้งั ที่ ๕/๒๕๖๑ เมื่อวันศกุ ร์ที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ รัฐมนตรวี า่ การกระทรวงศกึ ษาธิการ จงึ ประกาศให้ ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานและระดับ การศึกษาขั้นพ้ืนฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ เพ่ือเป็นหลักในการเทียบเคียงส�ำหรับ สถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด และส�ำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาทั้งประถม ศกึ ษา และมัธยมศึกษา ในการพัฒนาสง่ เสริม สนับสนนุ กำ� กบั ดูแล และติดตาม ตรวจสอบคณุ ภาพการศึกษา ตามเอกสารแนบท้ายประกาศฉบับน้ี 60 การก�ำ หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา
ทั้งนี้ให้ใช้กับสถานศึกษาท่ีเปิดสอนระดับปฐมวัย ระดับการศึกษา ข้นั พ้นื ฐาน และระดับการศึกษาข้ันพนื้ ฐานศนู ยก์ ารศกึ ษาพเิ ศษ ประกาศ ณ วนั ท่ี ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศลิ ป์ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศกึ ษาธกิ าร 61 การก�ำ หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
มาตรฐานการศกึ ษา ระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ือง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ระดบั ปฐมวยั ระดับการศกึ ษาขั้นพืน้ ฐาน และระดับการศึกษาขน้ั พ้ืนฐานศนู ย์การศกึ ษาพเิ ศษ ฉบบั ลงวันท่ี ๖ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๖๑ มีจ�ำนวน ๓ มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานท่ี ๑ คุณภาพของผ้เู รียน ๑.๑ ผลสัมฤทธิท์ างวิชาการของผเู้ รยี น ๑.๒ คุณลกั ษณะทีพ่ งึ ประสงคข์ องผู้เรียน มาตรฐานท่ี ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มาตรฐานท่ี ๓ กระบวนการจดั การเรียนการสอนท่ีเน้นผ้เู รยี นเป็นสำ� คญั แตล่ ะมาตรฐานมีรายละเอยี ดดังนี้ มาตรฐานท่ี ๑ คุณภาพของผเู้ รยี น ๑.๑ ผลสมั ฤทธ์ทิ างวิชาการของผู้เรียน ๑) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การส่ือสาร และการ คิดค�ำนวณ ๒) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหา ๓) มีความสามารถในการสร้างนวตั กรรม ๔) มคี วามสามารถในการใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสื่อสาร ๕) มผี ลสัมฤทธทิ์ างการเรยี นตามหลักสูตรสถานศกึ ษา ๖) มีความรู้ ทักษะพน้ื ฐาน และเจตคตทิ ่ดี ตี ่องานอาชีพ 62 การกำ�หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
๑.๒ คุณลักษณะทพี่ งึ ประสงคข์ องผูเ้ รียน ๑) การมคี ุณลกั ษณะและคา่ นยิ มท่ีดีตามทสี่ ถานศึกษาก�ำหนด ๒) ความภมู ใิ จในทอ้ งถ่นิ และความเป็นไทย ๓) การยอมรบั ทีจ่ ะอยู่ร่วมกนั บนความแตกต่างและหลากหลาย ๔) สุขภาวะทางรา่ งกาย และจติ สงั คม มาตรฐานท่ี ๒ กระบวนการบรหิ ารและการจัดการ ๒.๑ มีเป้าหมายวิสัยทัศนแ์ ละพนั ธกิจท่สี ถานศกึ ษาก�ำหนดชัดเจน ๒.๒ มีระบบบรหิ ารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ๒.๓ ด�ำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตาม หลักสูตรสถานศกึ ษา และทกุ กลุ่มเป้าหมาย ๒.๔ พฒั นาครูและบุคลากรให้มคี วามเช่ยี วชาญทางวิชาชีพ ๒.๕ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมท่ีเอ้ือต่อการจัดการเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพ ๒.๖ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานท่ี ๓ กระบวนการจดั การเรียนการสอนท่ีเน้นผเู้ รยี นเป็นส�ำคัญ ๓.๑ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถ นำ� ไปประยุกต์ใชใ้ นชวี ิตได้ ๓.๒ ใช้สอ่ื เทคโนโลยสี ารสนเทศ และแหลง่ เรยี นรู้ที่เออื้ ต่อการเรยี นรู้ ๓.๓ มีการบริหารจัดการช้ันเรียนเชิงบวก ๓.๔ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และน�ำผล มาพัฒนาผู้เรยี น ๓.๕ มีการแลกเปล่ียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและ ปรับปรุงการจัดการเรยี นรู้ 63 การกำ�หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย แนบทา้ ยประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร เรอื่ ง ใหใ้ ช้มาตรฐานการศึกษา ระดบั ปฐมวยั ระดับการศกึ ษาข้นั พนื้ ฐาน และระดบั การศึกษาขนั้ พนื้ ฐานศนู ยก์ ารศึกษาพิเศษ ฉบับลงวันท่ี ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรฐานการศึกษา ระดบั ปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๑ มีจำ� นวน ๓ มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานที่ ๑ คณุ ภาพของเดก็ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบรหิ ารและการจดั การ มาตรฐานท่ี ๓ การจัดการประสบการณ์ท่ีเน้นเด็กเป็นส�ำคัญแต่ละมาตรฐาน มรี ายละเอียดดังนี้ มาตรฐานท่ี ๑ คุณภาพเด็ก ๑.๑ มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแล ความปลอดภยั ของตนเองได้ ๑.๒ มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทาง อารมณไ์ ด้ ๑.๓ มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกท่ีดี ของสังคม ๑.๔ มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพ้ืนฐาน และแสวงหาความรู้ได้ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจดั การ ๒.๑ มหี ลักสตู รครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคลอ้ งกับบริบท ของท้องถิน่ ๒.๒ จัดครใู ห้เพียงพอกับชน้ั เรียน ๒.๓ สง่ เสริมให้ครูมีความเชย่ี วชาญดา้ นการจดั ประสบการณ์ 64 การกำ�หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา
๒.๔ จัดสภาพแวดล้อมและส่ือเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และ เพียงพอ ๒.๕ ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพ่ือ สนับสนนุ การจัดประสบการณ์ ๒.๖ มีระบบบริหารคณุ ภาพท่ีเปิดโอกาสให้ผู้เก่ียวขอ้ งทกุ ฝ่ายมสี ่วนร่วม มาตรฐานท่ี ๓ การจัดประสบการณ์ท่เี น้นเดก็ เปน็ ส�ำคญั ๓.๑ จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล เตม็ ศกั ยภาพ ๓.๒ สร้างโอกาสใหเ้ ดก็ ได้รบั ประสบการณต์ รง เล่นและปฏิบัตอิ ย่างมี ความสขุ ๓.๓ จัดบรรยากาศท่ีเอื้อต่อการเรียนรู้ใช้ส่ือและเทคโนโลยีที่เหมาะ สมกับวัย ๓.๔ ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและน�ำผลการประเมิน พัฒนาการเด็กไปปรบั ปรุงการจัดประสบการณ์และพฒั นาการเดก็ 65 การกำ�หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา
มาตรฐานการศกึ ษา ระดบั การศกึ ษาข้นั พนื้ ฐาน ศูนย์การศึกษาพิเศษ แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรอื่ ง ใหใ้ ช้มาตรฐานการศกึ ษา ระดบั ปฐมวยั ระดับการศกึ ษาข้นั พื้นฐาน และระดับการศึกษาขนั้ พ้ืนฐานศนู ยก์ ารศึกษาพเิ ศษ ฉบบั ลงวันท่ี ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาข้ันพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ พ.ศ. ๒๕๖๑ มีจำ� นวน ๓ มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานท่ี ๑ คุณภาพของผเู้ รยี น ๑.๑ ผลการพฒั นาผูเ้ รยี น ๑.๒ คุณลกั ษณะท่ีพงึ ประสงค์ของผ้เู รยี น มาตรฐานท่ี ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มาตรฐานท่ี ๓ กระบวนการจดั การเรียนการสอนที่เน้นผ้เู รยี นเปน็ ส�ำคญั แตล่ ะมาตรฐานมรี ายละเอียดดงั นี้ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพผู้เรียน ๑.๑ ผลการพัฒนาผู้เรยี น ๑) มีพัฒนาการตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ท่ีแสดงออกถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะตามที่ระบุไว้ในแผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคล หรือ แผนการให้บริการช่วยเหลือ เฉพาะครอบครวั ๒) มีความพร้อมสามารถเข้าสู่บริการช่วงเชื่อมต่อหรือการส่งต่อ เข้าสู่การศึกษาในระดับท่ีสูงข้ึน หรือการอาชีพหรือ การดำ� เนินชีวติ ในสังคมไดต้ ามศกั ยภาพของแต่ละบคุ คล ๑.๒ คุณลกั ษณะทีพ่ ึงประสงคข์ องผู้เรยี น ๑) มีคุณลกั ษณะอนั พงึ ประสงคต์ ามทสี่ ถานศึกษาก�ำหนด ๒) มคี วามภูมใิ จในทอ้ งถิ่น และความเปน็ ไทย ตามศกั ยภาพของ ผูเ้ รยี นแตล่ ะบุคคล 66 การก�ำ หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ๒.๑ มีเปา้ หมายวสิ ัยทัศน์และพันธกจิ ท่ีสถานศกึ ษาก�ำหนดชัดเจน ๒.๒ มรี ะบบบรหิ ารจดั การคุณภาพของสถานศกึ ษา ๒.๓ ด�ำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตาม หลักสูตรสถานศกึ ษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย ๒.๔ พัฒนาครูและบคุ ลากรให้มคี วามเชยี่ วชาญทางวิชาชีพ ๒.๕ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมท่ีเอื้อต่อการจัดการ เรียนรูอ้ ยา่ งมีคุณภาพ ๒.๖ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรยี นรู้ มาตรฐานท่ี ๓ กระบวนการจัดการเรยี นการสอนทีเ่ นน้ ผ้เู รยี นเป็นส�ำคญั ๓.๑ การจัดเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถ นำ� ไปประยุกตใ์ นชีวิตได้ ๓.๒ ใชส้ อ่ื เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรยี นรู้ทีเ่ อ้ือตอ่ การเรียนรู้ ๓.๓ มีการบรหิ ารจดั การช้นั เรยี นเชิงบวก ๓.๔ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และน�ำผลมา พฒั นาผู้เรยี น ๓.๕ มีการแลกเปล่ียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและ ปรับปรงุ การจดั การเรยี นรู้ 67 การก�ำ หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ประกาศส�ำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน เรอ่ื ง แนวปฏิบัติการดำ� เนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดบั การศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน พ.ศ.๒๕๖๑ โดยท่ีมีประกาศใช้กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ไดก้ ำ� หนดระบบ หลักเกณฑ์ และวิธกี ารประกนั คุณภาพการศึกษาอันส่งผลให้การด�ำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งหนว่ ยงานตน้ สังกดั หรือหน่วยงานกำ� กับดูแล และหนว่ ยงานภายนอกทส่ี ะท้อน สภาพการด�ำเนินงานท่ีแท้จริงและเกิดประสิทธิภาพ และก�ำหนดแนวทางในการ ขับเคลื่อนการประกันคุณภาพการศึกษาสอดคล้องกับหลักการประคุณภาพ การศึกษา และมีกลไกปฏิบัติที่เอื้อต่อการด�ำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษา แตล่ ะระดบั ใหเ้ กดิ ประสิทธภิ าพในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน จึงได้จัดท�ำแนวปฏิบัติการ ดำ� เนนิ งานการประกนั คุณภาพการศึกษาขึ้นเพอ่ื ให้หน่วยงานตน้ สังกัด ส�ำนกั งาน บริหารการศึกษาพิเศษ ส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาท้ังประถมศึกษาและ มัธยมศึกษา ใช้เป็นแนวปฏิบัติในการด�ำเนินการเพื่อการพัฒนาส่งเสริม ก�ำกับ ดูแล และติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพต่อการพัฒนา คณุ ภาพการศึกษา โดยมีรายละเอยี ด ดังนี้ 68 การกำ�หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศึกษา
ระดับสถานศกึ ษา ใหส้ ถานศึกษาระดับการศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐานด�ำเนนิ การดังต่อไปนี้ ๑. ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนา และเพ่ือเป็นกลไกในการควบคุม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเช่ือม่ัน ใหก้ บั สงั คม ชมุ ชน และผูม้ สี ่วนเกีย่ วข้อง ๒. จัดใหม้ ีระบบการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาภายในสถานศึกษา ดังนี้ ๒.๑ ก�ำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตาม มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยและหรือระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่กระทรวงประกาศใช้ และให้สถานศึกษาก�ำหนดเป้าหมายความส�ำเร็จ ตามมาตรฐานของสถานศึกษาตามบริบท ทั้งน้ี สามารถเพิ่มเติมมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา นอกเหนือจากท่ีกระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ได้ โดยให้สถานศกึ ษาและผู้เกีย่ วขอ้ ง ดำ� เนนิ การและรบั ผิดชอบร่วมกนั ๒.๒ จัดท�ำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ท่ีสอดคล้อง กับสภาพปัญหาและความต้องการจ�ำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยสะทอ้ นคณุ ภาพความสำ� เรจ็ อย่างชดั เจนตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา ๒.๓ ดำ� เนนิ การตามแผนพฒั นาการจัดการศึกษาของสถานศกึ ษา ๒.๔ ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยกำ� หนดผรู้ ับผดิ ชอบ และวิธกี ารท่เี หมาะสม ๒.๕ ติดตามผลการด�ำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานของสถานศึกษา และน�ำผลการติดตามไปใช้ประโยชน์ในการ ปรับปรุงพฒั นา ๒.๖ จดั ทำ� รายงานผลการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) ตามมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา น�ำเสนอรายงานผลการประเมนิ ตนเองตอ่ คณะกรรมการสถานศกึ ษาขั้นพ้ืนฐานใหค้ วามเห็นชอบ และจดั ส่งรายงาน ดงั กล่าวต่อส�ำนกั งานเขตพนื้ ท่ีการศกึ ษาเปน็ ประจ�ำทุกป ี 69 การกำ�หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
๒.๗ พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพโดยพิจารณาจากรายงานผล การประเมนิ ตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) และตามค�ำแนะน�ำของ ส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาหรือส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนา อย่างตอ่ เนือ่ ง ๓. สถานศึกษาแต่ละแห่งให้ความร่วมมือกับส�ำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในการประเมินคุณภาพภายนอกของ สถานศึกษา เพ่ือปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามข้อเสนอแนะของ สำ� นักงานรบั รองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และหน่วยงาน ตน้ สงั กัดหรือหนว่ ยงานทีก่ �ำกบั ดแู ล เพ่ือน�ำไปสูก่ ารพฒั นาคุณภาพและมาตรฐาน ของสถานศกึ ษา ระดบั สำ� นกั งานเขตพืน้ ที่การศกึ ษา/สำ� นกั บรหิ ารงานการศึกษาพิเศษ ส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา/ส�ำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในฐานะ หนว่ ยงานต้นสังกดั หรือหน่วยงานที่กำ� กับดแู ล ด�ำเนนิ การดงั ต่อไปนี้ ๑. ศึกษา วิเคราะห์ รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ตลอดจนให้ค�ำปรึกษา ช่วยเหลือและแนะน�ำสถานศึกษา เพื่อการพัฒนาระบบ ประกันคณุ ภาพการศกึ ษาของสถานศึกษาแตล่ ะแห่งอย่างต่อเน่ือง ๒. รวบรวม และสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศกึ ษา (Self-Assessment Report : SAR) พร้อมกับประเด็นต่างๆ ที่ต้องการให้มี การประเมินผลและการติดตาม ตรวจสอบซ่ึงรวบรวมได้จากหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง หรือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานศึกษาแห่งน้ัน และจัดส่งไปยังส�ำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพื่อใช้เป็นข้อมูลและ แนวทางในการประเมินคณุ ภาพภายนอก 70 การกำ�หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
๓. ติดตามผลการด�ำเนินงาน ปรบั ปรุง และพฒั นาคุณภาพการศกึ ษาของ สถานศึกษาตามข้อเสนอแนะของส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพื่อการน�ำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศกึ ษาของสถานศกึ ษา ๔. ให้ความร่วมมือกับส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (สมศ.) ในการประเมนิ คณุ ภาพภายนอก ๕. อาจมอบหมายบุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้ประเมินเข้าร่วมสังเกตการณ์ และ ใหข้ อ้ มลู เพิ่มเติมในกระบวนการประเมนิ คุณภาพภายนอก ระดบั ส�ำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน ๑. ส่งเสริม สนับสนุน ให้ค�ำปรึกษา ช่วยเหลือ ต่อส�ำนักงานเขตพ้ืนที่ การศึกษา เพ่อื การพัฒนาระบบการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา ๒. ศกึ ษา วเิ คราะห์ สรุปผลรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) และรวบรวมประเด็นที่ต้องการให้มี การประเมินผลและติดตามตรวจสอบซึ่งรวบรวมได้จากหน่วยงาน ท่ีเก่ียวข้องหรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานศึกษา ไปยังส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพ่ือใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการประเมินคุณภาพ ภายนอก ๓. ติดตามผลการด�ำเนินงาน ปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาตามข้อเสนอแนะของส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศกึ ษาของสถานศึกษา ๔. ประสานความร่วมมือกับส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในการจัดบุคคลร่วมเป็นผู้ประเมินคุณภาพภายนอก กบั สำ� นกั งานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศกึ ษา (สมศ.) 71 การกำ�หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา
๕. อาจมอบหมายบคุ คลท่ีไม่ไดเ้ ป็นผปู้ ระเมนิ เข้าร่วมสงั เกตการณ์ และให้ ข้อมูลเพิ่มเติมในกระบวนการประเมินคุณภาพภายนอก ประกาศ ณ วนั ท่ี ๑๖ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ นายบญุ รักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน 72 การก�ำ หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา
คณะทำ�งาน ท่ปี รึกษา ดร.อำ� นาจ วชิ ยานุวตั ิ เลขาธกิ ารคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน ดร.วฒั นาพร ระงบั ทุกข์ รองเลขาธกิ ารคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พื้นฐาน ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบตั ิ ผอู้ �ำนวยการสำ� นักทดสอบทางการศึกษา ส�ำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พ้ืนฐาน ผูร้ บั ผิดชอบโครงการ ผูอ้ ำ� นวยการกล่มุ พฒั นาระบบการประกนั คุณภาพ ดร.มธุรส ประภาจนั ทร์ การศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน ส�ำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. นกั วชิ าการศกึ ษาช�ำนาญการพิเศษ นางสอุ ารยี ์ ชื่นเจรญิ สำ� นักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. นกั วิชาการศึกษาช�ำนาญการ ดร.ฉัตรชยั หวงั มีจงม ี สำ� นกั ทดสอบทางการศึกษา สพฐ. นกั วชิ าการศึกษาชำ� นาญการ นายประสิทธ์ิ ทำ� กันหา สำ� นักทดสอบทางการศกึ ษา สพฐ. นกั วิชาการศึกษาปฏบิ ัตกิ าร นางสาวอนงนาฏ อนิ กองงาม ส�ำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. พนักงานจ้างเหมาบริการ นางสาวยลดา โพธสิ ิงห ์ ส�ำนักทดสอบทางการศกึ ษา สพฐ. 73 การกำ�หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
นายสท้าน พวกดอนเคง็ พนกั งานจา้ งเหมาบริการ ส�ำนกั ทดสอบทางการศึกษา สพฐ. นางสาวปทิตตา ฉายแสง พนักงานจา้ งเหมาบริการ ส�ำนกั ทดสอบทางการศึกษา สพฐ. ผูท้ รงคณุ วฒุ พิ ิจารณาเน้อื หา ขา้ ราชการบ�ำนาญ ดร.ไพรวัลย์ พิทกั ษส์ าลี สำ� นักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน คณะยกรา่ งและเขียนเอกสาร ดร.มธรุ ส ประภาจันทร์ ผ้อู �ำนวยการกลุ่มพฒั นาระบบการประกันคณุ ภาพ การศึกษาขั้นพื้นฐาน สำ� นกั ทดสอบทางการศึกษา สพฐ. นางสอุ ารีย์ ช่ืนเจริญ นักวิชาการศึกษาชำ� นาญการพเิ ศษ ส�ำนกั ทดสอบทางการศึกษา สพฐ. ดร.ฉตั รชัย หวงั มจี งม ี นักวชิ าการศึกษาช�ำนาญการ ส�ำนกั ทดสอบทางการศกึ ษา สพฐ. นางสาวอนงนาฏ อนิ กองงาม นักวชิ าการศกึ ษาปฏิบัตกิ าร สำ� นกั ทดสอบทางการศกึ ษา สพฐ. นางวราพร ขนุ แท้ ขา้ ราชการบำ� นาญ นางพติ รชาภรณ์ ชุ่มกมลธนัตย์ ขา้ ราชการบำ� นาญ ผศ.ดร.สทิ ธกิ ร สุมาล ี ผชู้ ว่ ยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ 74 การกำ�หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ผศ.ดร.คันธทรัพย์ ชมพพู าทย ์ ผู้ชว่ ยคณบดีคณะครุศาสตร์ ฝ่ายวชิ าการ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏรอ้ ยเอ็ด นางสาวอภิณญาณ บญุ ไร ศกึ ษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ส�ำนักงานเขตพ้ืนทก่ี ารศกึ ษามัธยมศึกษา เขต ๓๒ (บรุ รี ัมย)์ นางสาวพยิ ะดา มว่ งอิม่ ผอู้ ำ� นวยการกลมุ่ สง่ เสริมการศึกษาเอกชน ส�ำนักงานศึกษาธิการจงั หวดั ราชบรุ ี นางสรุ ัชนี อยสู่ บาย ศึกษานเิ ทศกช์ �ำนาญการพิเศษ สำ� นักงานเขตพน้ื ที่การศกึ ษามัธยมศึกษา เขต ๑๒ (นครศรธี รรมราช) นายสบุ รรณ์ เกราะแกว้ ศกึ ษานเิ ทศกช์ �ำนาญการพเิ ศษ ส�ำนักงานเขตพื้นท่กี ารศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๒ (นครศรธี รรมราช) นางสธุ นิ ันท ์ พลู สมบตั ิ นักวชิ าการศกึ ษาชำ� นาญการ สำ� นักงานศกึ ษาธกิ ารจงั หวัดกาญจนบรุ ี ดร.พนั ธวชิ ญ์ เลี้ยงชีพชอบ ผอู้ �ำนวยการโรงเรียนวดั หนองปลาดุก จงั หวดั ลพบรุ ี ส�ำนกั งานเขตพน้ื ท่กี ารศึกษาประถมศึกษา ลพบุรี เขต ๑ นางมลวิ ัลย์ ตูมส ี ผู้อ�ำนวยการโรงเรยี นบ้านนอ้ ยทวย จังหวดั นครพนม ส�ำนกั งานเขตพนื้ ทก่ี ารศกึ ษาประถมศึกษา นครพนม เขต ๒ 75 การก�ำ หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
คณะบรรณาธิการกิจ ผอู้ �ำนวยการกลมุ่ พฒั นาระบบการประกนั คณุ ภาพ ดร.มธรุ ส ประภาจนั ทร์ การศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน สำ� นกั ทดสอบทางการศึกษา สพฐ. นักวชิ าการศึกษาชำ� นาญการพเิ ศษ นางสอุ ารยี ์ ชื่นเจริญ สำ� นกั ทดสอบทางการศึกษา สพฐ. นักวิชาการศกึ ษาช�ำนาญการ ดร.ฉัตรชัย หวงั มีจงม ี สำ� นกั ทดสอบทางการศึกษา สพฐ. นักวชิ าการศึกษาช�ำนาญการ นายประสิทธ์ิ ท�ำกันหา สำ� นกั ทดสอบทางการศึกษา สพฐ. นกั วชิ าการศึกษาปฏบิ ตั กิ าร นางสาวอนงนาฏ อนิ กองงาม ส�ำนกั ทดสอบทางการศึกษา สพฐ. ข้าราชการบ�ำนาญ ดร.ไพรวัลย์ พทิ ักษ์สาลี สำ� นักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน ข้าราชการบ�ำนาญ นางพงษจ์ ันทร ์ อยู่เปน็ สขุ ผ้ชู ว่ ยคณบดีฝ่ายวชิ าการ คณะศึกษาศาสตร์ ผศ.ดร.สิทธกิ ร สมุ าลี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผอู้ ำ� นวยการโรงเรยี นบ้านน้อยทวย จังหวดั นครพนม นางมลิวัลย์ ตูมส ี ส�ำนักงานเขตพน้ื ที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต ๒ ออกแบบปก นกั ประชาสัมพันธ์ช�ำนาญการ นางสาวศริ ินทิพย์ ล้�ำเลิศ ส�ำนกั งานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศกึ ษา อุบลราชธานี เขต 4 76 การก�ำ หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
สาำ นักทดสอบทางการศึกษา ส�ำ นักง�นคณะกรรมก�รก�รศึกษ�ขั้นพนื้ ฐ�น กระทรวงศึกษ�ธิก�ร 78 http://bet.obec.go.th ๐ ๒๒๘๘ ๕๗๕๗ - ๘ ๐ ๒๖๒๘ ๕๘๖๒ การก�ำ หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
Search