Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร

พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร

Published by Guset User, 2022-08-16 16:09:59

Description: พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร

Search

Read the Text Version

พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร





หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย วรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลาง ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

คำนำ หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย วรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นสำหรับนักเรียนใช้ใในการเรียนรู้ และครูผู้สอนใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ใน รายวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ภายในเล่มมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ความเป็นมา ประวัติ ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ ลักษณะตัวละคร เนื้อเรื่อง บทอาขยาน บทวิเคราะห์ และคำศัพท์ ของเรื่องพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร ผู้จัดทำหวังว่า หนังสือเรียนเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อนักเรียนหรือผู้ที่สนใจศึกษา รวมไปถึงการจัดการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ (นางสาวสุธิมา โฮกสูงเนิน ) ผู้จัดทำ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๕

คำแนะนำการใช้หนังสือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณหนีนางผีเสื้อสมุทรเล่มนี้ ภายในมีเนื้อหา เกี่ยวกับ ความเป็นมา ประวัติผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ ลักษณะตัวละคร เนื้อเรื่อง บทอาขยาน บทวิเคราะห์ และ คำศัพท์ ซึ่งในส่วนของเนื้อหารูปแบบบทประพันธ์ฉบับ เต็ม เนื้อเรื่องแอนนิเมชั่น และบทอาขยาน สามารถอ่าน และรับชมได้ โดยการสแกน QR Code ด้วยอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเรียนรู้ศึกษาเพิ่มเติมตามความสนใจ นอกจากนี้ยังมีกิจกกรรมท้ายบทที่สามารถเลือกทำได้ทั้ง ในหนังสือหรือผ่านการสแกน QR Code เพื่อเข้าไปเล่น เกม ซึ่งกิจกรรมท้ายบทหรือแบบทดสอบเป็นเนื้อเรื่อง เดียวกัน



สารบัญ หน้า เรื่อง ๑ ๓ ความเป็นมา ๕ ประวัติผู้แต่ง ๖ ลักษณะคำประพันธ์ ๑๓ ๑๙ ลักษณะตัวละคร ๒๓ เนื้อเรื่อง ๔๓ บทอาขยาน ๔๗ บทวิเคราะห์ คำศัพท์ อ้างอิง



ความเป็นมา ๑ นิทานคำกลอนพระอภัยมณี เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นเรื่อง ที่ดี มีการสอนคติธรรมในการดำเนินชีวิต มีการ คงรูปแบบตามขนบในการแต่งวรรณกรรมจักร ๆ วงศ์ ๆ เป็นจินตนิยายที่มีความคิดแปลกใหม่ทั้ง ตัวละคร ฉาก และสถานที่

๒ ความเป็นมา (ต่อ) ที่มาและจุดมุ่งหมาย เป็นเรื่องที่สุนทรภู่ใช้จินตนาการผูก เรื่องขึ้นเองตั้งแต่ติดคุกในสมัยรัชกาลที่ ๒ เป็นการแต่งขายเพื่อใช้เลี้ยงชีวิตในระหว่าง ติดคุก (เนื่องจากเมาสุรา) แต่ก็แต่งได้ไม่กี่ ตอนก็หยุด แล้วไม่ได้แต่งต่ออีกจนสิ้นรัชกาล ที่ ๒ ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ สุนทรภู่ได้มีโอกาส แต่งต่อจนจบเรื่อง ดังนั้นเนื้อหาในพระอภัย มณีจึงเป็นการผสมผสานระหว่างจินตนาการ และประสบการณ์ในชีวิตจริงของสุนทรภู่ ได้ อย่างสนุกสนานให้ข้อคิดคติเตือนใจแก่ผู้อ่าน จนถึงปัจจุบัน

๓ ประวัติผู้แต่ง พระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๙ บิดาชื่อพลับ เป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอ แกลง จังหวัดระยอง ส่วนมารดาชื่อช้อย เป็นชาว เมืองฉะเชิงเทรา มีภรรยา ๒ คน ชื่อจันและนิ่ม มีบุตร ๒ คน ชื่อหนูพัดเป็นบุตรที่เกิดกับภรรยา คนแรกคือแม่จัน และหนูดาบเป็นบุตรที่เกิดกับ ภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม ๑

๔ ประวัติผู้แต่ง(ต่อ) สมัยรัชกาลที่ ๑ สมัยรัชกาลที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๒๙-๒๓๕๒) (พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๓๖๗) เข้ารับราชการ พ.ศ. ๒๓๔๙-๒๓๔๙ เข้ารับราชการ พ.ศ. ๒๓๔๗-๒๓๔๙ รับราชการเป็นมหาดเล็กในพระองค์ ในกรมพระอาลักษณ์ เจ้าปฐมวงศ์ สมัยรัชกาลที่ ๔ สมัยรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑) (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๘) เข้ารับราชการ พ.ศ. ๒๓๘๕-๒๓๘๘ ออกบวช พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๘๕ เป็นพระสุนทรโวหาร เสียชีวิต พ.ศ. ๒๓๙๘

ลักษณะ ๕ คำประพันธ์ เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณี หนีนางผีเสื้อสมุทร แต่งด้วยกลอนสุภาพ (กลอนแปด) ในลักษณะกลอนนิทาน กลอนสุภาพ ๑ บทมี ๔ วรรค หรือ ๒ บาท แผนผัง

๖ ลักษณะตัวละคร

๗ พระอภัยมณี พระอภัยมณีเป็นโอรสท้าวสุทัศน์และนางปทุมเกสรแห่งเมืองรัตนา อุปนิสัย : เป็นคนจิตใจดี พูดจาอ่อนหวานเสมอ ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างสุภาพ รักในดนตรี ไม่แสดงตน ว่าเป็นกษัตริย์อยู่เหนือผู้ใด เจ้าชู้มีภรรยาหลายคน ความหมายของชื่อ : ให้อภัยคนอื่นเสมอ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ทางคือ \"เพลงปี่\"

๘ นางผีเสื้อสมุทร ผีเสื้อสมุทรเป็นยักษ์ อาศัยอยู่ในถ้ำซึ่งอยู่กลางทะเล อุปนิสัย : มีนิสัยโหดร้ายทั้งเกรี้ยวกราด โมโห และ โหดเหี้ยม มีความรักที่รุนแรง ขี้หึง อาฆาตแค้นแต่มี ความชัดเจนในความรู้สึก และมั่นคงในความรักที่มี ต่อพระอภัยมณี ความสามารถ สามารถแปลงร่างเป็น หญิงสาวสวยได้

๙ นางเงือก นางเงือกมีร่างครึ่งคนครึ่งปลา คือกายท่อนบนเป็น หญิงสาวสวย แต่ท่อนล่างตั้งแต่เอวลงไปเป็นมีหาง เป็นปลา อาศัยอยู่ในทะเล อุปนิสัย : มีเมตตา มั่นคง ในความรัก และเสียสละ

๑๐ สินสมุทร สินสมุทรเป็นบุตรของ พระอภัยมณี กับนางผีเสื้อ สมุทร มีรูปร่างหน้าตางดงามคล้ายพระอภัยมณี แต่ มีเขี้ยว ผมหยิก ตาแดง มีกำลังมาก พออายุได้ ๘ ขวบ พ่อก็ชวนให้หนีไปอาศัยอยู่กับ โยคี ที่เกาะ แก้วพิสดาร อุปนิสัย : ติดพ่อ รักพ่อมาก และ ชอบการพจญภัย

๑๑ พระฤๅษี พระฤๅษีเป็นนักบวชชรา ถือลัทธิบูชาไฟ มีอายุ ได้พันปีเศษ บำเพ็ญศีลอยู่ที่เกาะแก้วพิสดารมา เป็นเวลานาน มีมนต์วิเศษหลายอย่าง สามารถ ปราบภูตผีปีศาจได้ อุปนิสัย : ให้การอบรบข้อธรรมะ เหมือนกันหมด ไม่เลือกฝ่ายผิด ฝ่ายถูก ใช้หลักธรรมเป็นพื้นฐาน ของสันติภาพ

๑๒ พ่อแม่นางเงือก ร่างครึ่งคนครึ่งปลา คือกายท่อนบนเป็นมนุษย์ แต่ ท่อนล่างตั้งแต่เอวลงไปเป็นมีหางเป็นปลา อาศัย อยู่ในทะเล อุปนิสัย : รู้จักตอบแทนบุญคุณและเสียสละ

๑๓ เนื้อเรื่อง

๑๔ เนเื้นอื้เอรืเ่อรื่งอแงรบูปบแบบทบปแรอะนพันนิเธ์มแชัล่นะ เนื้อเรื่องแบบบทประพันธ์ รูปแบบแอนนิเมชั่น

๑๕ เนื้อเรื่อง ณ เมืองรัตนาท้าวสุทัศน์และนางปทุม มีโอรส ๒ พระองค์ ชื่อพระอภัยมณีและศรี สุวรรณ ท้าวสุทัศน์ก็ให้ไปศึกษาวิชาสำหรับ กษัตริย์ แต่ทั้ง ๒ พระองค์กลับไปเรียนวิชาปี่ และกระบี่กระบอง ท้าวสุทัศน์จึงไล่พระโอรส ทั้ง ๒ ออกจากเมือง จนมาวันหนึ่งได้พบกับพราหมณ์หนุ่ม ๓ คน คือ โมรา สานน และวิเชียร พราหมณ์ทั้ง ๓ ไม่เชื่อว่าเพลงปี่ของพระอภัยมณีจะใช้ไม่ ได้จริง ไม่มีประโยชน์ พระอภัยมณีจิงพิสูจน์

๑๖ เนื้อเรื่อง (ต่อ) โดยการเป่าปี่ให้ฟังจนศรีสุวรรณและพราหมณ์ ทั้ง ๓ เคลิ้มหลับไป นางผีเสื้อสมุทร ซึ่งเป็นใหญ่ในท้องทะเล ได้ยินเสียงปี่จึงตามเสียงมาจนได้พบพระอภัย มณี จึงเกิดหลงรักและได้เอาตัวพระอภัยมณีไป ไว้ในถ้ำ พระอภัยมณีจำใจอยู่กับนางจนมีโอรส ๑ คน ชื่อสินสมุทร สินสมุทร อายุ ๘ ปี ได้ออกไปวิ่งเล่นไป เจอหินที่ปิดปากถ้ำจึงเปิดออก และไปจับเงือก ชรามาอวดพ่อ พระอภัยมณีจึงเล่าความจริงให้

๑๗ เนื้อเรื่อง (ต่อ) ฟังว่าแม่เป็นนางยักษ์ที่แปลงกายมา เงือกชราอาสาจะช่วยให้สองพ่อลูกหนีจาก ผีเสื้อสมุทรพระอภัยมณีทำอุบายให้ผีเสื้อสมุทร ไปจำศีลในที่ไกล ๆ เป็นเวลา ๓ วัน เงือกชรา สองสามีภรรยาและลูกสาวจึงช่วยเหลือด้วยการ ให้พระอภัยมณีและสินสมุทรขี่หลังว่ายไปยัง เกาะแก้วพิสดาร

๑๘ เนื้อเรื่อง(ต่อ) เมื่อครบ ๓ วัน นางยักษ์กลับมาที่ถ้ำไม่เห็น ๒ พ่อลูกก็ออกตามหาและได้ฆ่านางเงือกชรา ทั้ง ๒ แต่พระอภัยมณีกับสินสมุทร และนาง เงือก รอดพ้นจากเงื้อมมือผีเสื้อสมุทรเพราะ ว่ายไปถึงเกาะแก้วพิศดารได้ทัน และได้พระ ฤๅษีที่อาศัยอยู่ที่เกาะแก้วพิศดารที่มีอิทธิฤทธิ์ ออกมาช่วยเหลือได้ทัน ผีเสื้อสมุทรทำอะไร ไม่ได้จึงถอยกลับไป

๑๙ บทอาขยาน

๒๐ หบากทตอ้อางขกยาารนฟัสงแกการนอ่เาลนย

๒๑ บทอาขยาน พระโฉมยงองค์อภัยมณีนาถ เพลินประพาสพิศดูหมู่มัจฉา เหล่าฉลามล้วนฉลามตามกันมา ค่อยเคลื่อนคลาคล้ายคล้ายในสายชล ฉนากอยู่คู่ฉนากไม่จากคู่ ขึ้นฟ่องฟูพ่นฟองละอองฝน ฝูงพิมพาพาฝูงเข้าแฝงวน บ้างผุดพ่นฟองน้ำบ้างดำจร กระโห้เรียงเคียงกระโห้ขึ้นโบกหาง ลอยสล้างกลางกระแสแลสลอน มังกรเกี่ยวเลี้ยวลอดกอดมังกร ประชุมซ่อนแฝงชลขึ้นวนเวียน

๒๒ บทอาขยาน(ต่อ) ฝูงม้าน้ำทำท่าเหมือนม้าเผ่น ขึ้นลอยเล่นเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน ตะเพียนทองท่องน้ำนำตะเพียน ดาษเดียรดูเพลินจนเกินมา เห็นละเมาะเกาะเขาเขียวชอุ่ม โขดตะคุ่มเคียงเคียงเรียงรุกขา จะเหลียวซ้ายสายสมุทรสุดสายตา จะแลขวาควันคลุ้มกลุ้มโพยม จะเหลียวดูสุริย์แสงเข้าแฝงเมฆ ให้วิเวกหวาดองค์พระทรงโฉม ฟังสำเนียงเสียงคลื่นดังครื้นโครม ยิ่งทุกข์โทมนัสในฤทัยทวี

๒๓ บทวิเคราะห์ แก่นเรื่อง แก่นเรื่องหลักคือ ชายหญิงที่เป็นสามีภรรยากัน หากไม่เหมาะสมกัน ไม่มีความรักซึ่งกันและกัน ย่อมไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ ดังจะเห็นได้จากชีวิตคู่ ของพระอภัยมณีที่กับนางผีเสื้อสมุทร ที่นางผีเสื้อ สมุทรรักพระอภัยมณีเพียงข้างเดียว โดยพระอภัย มณีไม่ได้รักตอบ

๒๔ บทวิเคราะห์(ต่อ) คุณค่าด้านเนื้อหา คุณค่าด้านสังคม คุณค่าด้านวรรณศิลป์ รสวรรณคดี

๒๕ บทวิเคราะห์(ต่อ) คุณค่าด้านเนื้อหา ๑. การหลงใหลในรูปกายภายนอกไม่ใช่เรื่องดี เพราะเมื่อ เวลาผ่านไปร่างกายย่อมเปลี่ยนตาม ไม่เที่ยงแท้ การที่นาง ยักษ์หลงในรูปโฉมพระอภัยไม่ใช่เรื่องที่ดี หากนิสัยแท้จริง ไม่ดีดั่งรูปภายนอกก็จะผิดหวังเกิดความทุกข์ ดังนั้นการเลือก คบคนไม่ควรดูแค่ภายนอก ๒. การพึ่งพาช่วยเหลือกันเป็นสิ่งที่ดี เช่น การที่เงือกพ่อแม่ ลูกช่วยเหลือพระอภัยมณีกับสินสมุทร

๒๖ บทวิเคราะห์(ต่อ) คุณค่าด้านเนื้อหา ๓. ความรักเหมือนดาบสองคมที่อาจจะทำลายล้างหรือทำให้มี ความสุขก็ได้ เช่นความรักของนางยักษ์ที่เกิดจากความหลง เป็นรักที่ต้องการครอบครองไม่ใช่การเสียสละ และแสดงให้ เห็นว่าหากรักไม่เป็นไปตามต้องกาารก็อาจแปรเแลี่ยนเป็น ความแค้นได้

๒๗ บทวิเคราะห์(ต่อ) คุณค่าด้านสังคม ๑. แนวคิดความรัก อันเป็นสิ่งที่งดงาม หากความรักมิได้เกิด จากความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย ก็ยากที่จะครองคู่ร่วมกันได้ อย่างปกติสุขหรือยืนยาวนาน ดังเช่น ชีวิตคู่ของพระอภัยมณีกับนางผีเสื้อสมุทร แม้จะมีความรักอันลึกซึ้งระหว่างชายหญิงก็มิอาจอยู่ร่วมกัน ได้ เพราะต่างเผ่าพันธุ์กัน ดังตอนที่กล่าวแสดงความรักว่า แม้สิ้สูญบุญนางในปางนี้ ไม่มีที่พึ่งพาจะอาศัย จะกอดศพซบหน้าโศกาลัย ระกำใจกว่าจะม้วยไปด้วยกัน

๒๘ บทวิเคราะห์(ต่อ) คุณค่าด้านสังคม ๒. คติธรรมในเรื่องความเสียสละ จะเห็นได้ว่าตัวละครในเรื่อง ได้แสดงน้ำใจต่อกันได้อย่างน่าประทับใจตอนที่พระอภัยมณี ยอมเสียสละชีวิตตน เพื่อให้เงือกและสินสมุทรหนีรอดไปได้ จะไปไหนไม่พ้นผีเสื้อน้ำ วิบากกรรมจะสู้อยู่เป็นผี ท่านส่งเราเข้าที่เกาะละเมาะนี้ แล้วรีบหนีไปในน้ำแต่ ลำพัง แล้วว่าแก่สินสมุทรสุดที่รัก แม้นนางยักษ์จะมารับจง กลับหลังอันตัวพ่อขอตายวายชีวัง กรรแสงสั่งลูกยาด้วยอาลัย

๒๙ บทวิเคราะห์(ต่อ) คุณค่าด้านสังคม ๓. สะท้อนให้เห็นความสำคัญของสติปัญญา จะเห็นได้ จากพฤติกรรมของตัวละครในเรื่อง ต่างคิดไตร่ตร่องอย่าง รอบคอบอย่างมีเหตุผล ทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงการกระทำ ของตัวละครอย่างดี และการดำเนินเรื่องอย่างราบรื่นน่า ประทับใจ เช่น ตอนที่พระอภัยมณีเสนอแนะให้นางผีเสื้อไปทำพิธี สะเดาะเคราะห์ว่า พระฟังคำสำราญสำเร็จคิด จึงว่าผิดสายสมรหาสอนไม่ ตำรานั้นแต่ครั้งตั้งเมรุไกร ว่าง้าใครฝันร้ายจะวายปราณ ให้ไปอยู่ผู้เดียวที่ตีนเขา แล้วอดข้าวอดปลากระยาอาหาร ง้วนสามคืนสามวันจะบันดาล ให้สำราญรอดตายสบายใจ

๓๐ บทวิเคราะห์(ต่อ) คุณค่าด้านสังคม ๔. แสดงให้เห็นคุณธรรมความเมตตา เช่น ตอนที่ พระฤาษีแห่งเกาะแก้วพิสดารให้ความช่วยเหลือ ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากลำบาก พระโยคีมีจิตคิดสงสาร จึงว่าท่านหนีตายหมายมาหา เราลงมาคอยช่วยด้วยเมตตา แต่กิจจาไม่กระจ่างยังคลางแคลง

๓๑ บทวิเคราะห์(ต่อ) คุณค่าด้านสังคม ๕. ความเชื่อเรื่องความฝัน/เคราะห์กรรม แสดงไว้ตอนนางผีเสื้อฝัน ดังนี้ ฝ่ายผีเสื้อเมื่อจะพรากลูกผัว แต่พลิกตัวกลิ้งกลับไม่หลับใหล ให้หมกมุ่นขุ่นคล้ำในน้ำใจ จนเสียงไก่แก้วขันสนั่นเนิน พอม่อยหลับกลับจิตนิมิตฝัน ว่าเทวัญอยู่ที่เกาะนั ้นเหาะเหิน มาสังหารผลาญงำระยำเยิน แกว่งพะเนินทุบนางแทบวางวาย แล้วอารักษ์ควักล้วงเอาดวงเนตร สำแดงเดชเหาะกลับไปลับหาย ทั้งกายสั่นพรั่นตัวด้วยกลัวตาย พอฟื้นกายก็พอแจ้งแสงตะวัน ความหมายของคำศัพท์ ๑) พะเนิน หมายงึง ค้อนขนาดใหญ่สำหรับตี เหล็กหรือทุบหิน ๒) อารักษ์ หมายงึง เทวดาผู้พิทักษ์รักษาป่า ๓) บาทบงสุ์ หมายงึง ละอองเท้า

๓๒ บทวิเคราะห์(ต่อ) คุณค่าด้านสังคม ๖. ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม แสดงไว้ตอนพระฤาษีสอนนาง ผีเสื้อ ดังนี้ ฝ่ายโยคีมียศพจนารง ให้โอวาทนางยักษ์ไม่หักหาญ จงตัดบ่วงห่วงใยอาลัยลาน อย่าปองผลาญลูกผัวของตัวเลย ทั้งนี้เพราะเคราะห์กรรมทำให้วุ่น จึงสิ้นบุญวาสนาสีกาเอ๋ย เห็นมิได้ไปอยู่เป็นคู่เชย ด้วยสองเคยปลูกเลี้ยงกันเพียงนั้น อย่าครวญคิดติดตามด้วยความโกรธ จะเป็นโทษกับสีกาเมื่ออาสัญ จังยับยั้งฟังคำรูปรำพัน ไปสวรรค์นฤพานสำราญใจ

๓๓ บทวิเคราะห์(ต่อ) คุณค่าด้านสังคม ๗. ความกตัญญูกตเวที จะเห็นได้จากตอนที่พ่อเงือกกล่าวสeนึกคุณที่พระอภัยมณีสั่ง ให้สินสมุทรปล่อยพ่อเงือก โดยไม่ให้ต้องทรมานที่ถูกสินสมุทร จับตัวลากเล่น ฝ่ายเงือกน้ำนอนกลิ้งนิ่งสดับ กิตติศัพท์สองแจ้งแงลงไข รู้ภาษามนุษย์แน่ในใจ จะกราบไหว้วอนว่าให้ปรานี ค่อยเขยื้อนเลื่อนลุกขึ้นทั้งเจ็บ ยังมึนเหน็บน้อมประณตบทศรี พระผ่านเกล้าเจ้าฟ้าในธาตรี ข้าขอชีวิตไว้อย่าให้ตาย

๓๔ บทวิเคราะห์(ต่อ) คุณค่าด้านสังคม ๘. สะท้อนวิถีชีวิตของคนไทยในการดำเนินชีวิต และสภาพ ของสังคมไทย เช่น การให้ความเคารพผูใหญ่ การให้ความ ช่วยเหลือกัน เรื่องเวทมนต์คาถา เป็นต้น รวมไปถึงการ ดำเนินชีวิต ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของคนไทย ในการเลี้ยงดูเด็ก

๓๕ บทวิเคราะห์(ต่อ) คุณค่าด้านวรรณศิลป์ โวหารภาพพจน์ ๑. การใช้อุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง ตัวอย่างบทประพันธ์ ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช แต่ดวงเนตรแดงดูดังสุรีย์ฉา ทรงกำลังดังพระยาคชาพลาย มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดาย ๒. การใช้อุปลักษณ์ การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ตัวอย่างบทประพันธ์ อันเทวัญนั้นคือมัจจุราช จะหมายมาดเอาชีวิตริษยา ๓. การใช้คำเชิงถาม ตัวอย่างบทประพันธ์ ศิลานี้ที่มนุษย์จะเปิดนั้น สักหนึ่งพันก็ไม่อาจจะหวาดไหว ยักขินีผีสางหรืออย่างไร มาพาไปไม่เกรงข่มเหงกู

๓๖ บทวิเคราะห์(ต่อ) คุณค่าด้านวรรณศิลป์ โวหารภาพพจน์ ๔. ปฏิพากย์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันแต่มีการกล่าวมาอย่างกลมกลืนกัน ตัวอย่างบทประพันธ์ หนักหรือเบาเยาว์อยู่ไม่รู้จัก เข้าลองผลักด้วยกำลังก็พังผาง เห็นหาดทรายพรายงามพรายงามเป็น เงินราง ทะเฃกว้างข้างขงาล้วนป่าดง ๔. อติพจน์ คือ การกล่าวเกินจริง ในเชิงมากเกินจริงและ น้อยเกินจริง ตัวอย่างบทประพันธ์ ถึงประตูคูหาเห็นเปิดอยู่ เอ๊ะอกกูเกิดเข็ญเป็นไฉน เข้าในห้องมองเขม้นไม่เห็นใคร ยิ่งตกใจเพียงจะดิ้นสิ้นชีวี

๓๗ บทวิเคราะห์(ต่อ) คุณค่าด้านวรรณศิลป์ โวหารภาพพจน์ ๕. บุคคลาธิษฐาน คือ การสมมุติให้สิ่งไม่มีชีวิต ให้มีชีวิต มีความคิดเหมือนมนุษย์ ตัวอย่างบทประพันธ์ จะเหลียวดูสุริย์แสงเข้าแฝงเมฆ ให้วิเวกหวาดองค์พระทรงโฉม ฟังสำเนียงเสียงคลื่นดังครื้นโครม ยิ่งทุกข์โทมนัสในฤทัยทวี ๖. นามนัย คือ การใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งบอกลักษณะหรือ คุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง ตัวอย่างบทประพันธ์ แต่โยคีมีมนต์อยู่ตนหนึ่ง อายุพันเศษถือเพทไสย อยู่เกาะแก้วพิศดารสำราญใจ กินลูกไม้เผือกมันพรรณผลา

๓๘ บทวิเคราะห์(ต่อ) คุณค่าด้านวรรณศิลป์ โวหารภาพพจน์ ๗. สัทพจน์ คือ การเลียนเสียงธรรมชาติ ตัวอย่างบทประพันธ์ ลงกลิ้งเกลือเสือกกายร้องไห้ไร่ เสียงโฮโฮดังก้องห้องคูหา พระรูปหล่อพ่อคุณของเมียอา ควรหรือมาทิ้งขว้างหมองหมางเมีย ข้อคิดที่ได้รับจากวรรณคดี ๑. ความรักที่ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจย่อมไม่ยืนยาว ๒. การพลัดพรากจากสิ่งที่ัรัก ย่อมทำให้เกิดทุกข์ ๓. ควรมีเมตตา ช่วยเหลือผู้อื่นที่กำลังได้รับความเดือดร้อน

๓๙ บทวิเคราะห์(ต่อ) รสวรรณคดี ๑. เสาวรสจนีย์ คือ การชมความงานของตัวละคร บทพรรณนา ความงามของสถานที่ธรรมชาติ ตัวอย่างบทประพันธ์ บทชมโฉมนางเงือก ซึ่งติดตามพ่อแม่มาเพื่อพาพระอภัยมณี หนีนางผีเสื้อสมุทร พงศ์กษัตริย์ทัศนานางเงือกน้อย ดูแช่มช้อยโฉมเฉลาทั้งเผ้าผม ประไพพักตร์ลักษณ์ล้ำล้วนขำคม ทั้งเนื้อนมนวลเปล่งออกเต่งทรวง ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด ดังสุรางค์นางนาฏในวังหลวง พระเพลินพิศคิดหมายเสียดายดวง แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป

๔๐ บทวิเคราะห์(ต่อ) รสวรรณคดี ๒. พิโรธวาทัง คือ บทโกรธ บทตัดพ้อต่อว่าไม่พอใจ ประชด ประชัน ตัวอย่างบทประพันธ์ นางผีเสื้อเหลือโกรธพิโรธร้อง มาตั่งซ่องศีลาจะมีอยู่ที่ไหน ช่างเฉโกโยคีหนีเขาใช้ ไม่อยู่ในศีลสัตย์มาตัดรอน เขาว่ากันผัวเมียกับแม่ลูก ยื่นจมูกเข้ามาบ้างช่วยสั่งสอน แม้นคบคู่กูไว้มิให้นอน จะรานรอญรบเร้าเฝ้าตอแย แล้วชี้หน้าด่าอึงหึงนางเงือก ทำซบสอพลออีตอแหล เห็นผัวรักยักคอทำท้อแท้ พ่อกับเข้าไปอยู่ในท้อง ทำปั้นเจ๋อเย่อหยิ่งมาชิงผัว ระวังตัวให้ดีอีจองหอง พลางเข่นเขี้ยวเคี้ยวกรามคำรามร้อง เสียงกึกก้องโกลาลูกตาโพลง

๔๑ บทวิเคราะห์(ต่อ) รสวรรณคดี ถอดบทประพันธ์ นางผีเสื้อโกรธมาก เลยด่าโยคีกลับไป ประมาณว่า เรื่องผัว เมียอย่ามายุ่ง แล้วก็หึงเลยพาลด่านางเงือก บอกว่ากินพ่อ แม่นางเงือกเข้าไปแล้ว ให้ระวังตัวไว้ให้ดี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook