สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี มหานครเวชพฤกษา อาหารเป็นยาเมืองคนดี see more
อาหารเป็นยา สมุนไพรเมืองคนดี ขมิ้นชัน เห็ดแครง มะพร้าว
ขมิ้นชัน (TURMERIC) ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L. ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ขมิ้นชันเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 30-95 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่ อ้วนสั้น มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออก ด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้าม เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้มหรือ สีเหลืองจำปาปนสีแสด มีกลิ่นฉุน ใบเดี่ยว กลางใบสีแดง คล้ำ แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อแทงออกจาก เหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู จุดเด่นขมิ้นชัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ส่ง ตัวอย่างขมิ้นชันของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อตรวจวิเคราะห์ ปริมาณสารสำคัญ ประกอบด้วย สารเคอร์คูมินอยด์ (Cucurminoid) และน้ำมันหอมระเหย (Volantile Oil) พบว่า ขมิ้นชันของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีปริมาณสารเคอร์ คูมินอยด์ (Cucurminoid) สูงสุด 11.7 % w/w และพบ น้ำมันหอมระเหย (Volantile Oil) สูงสุด 9.4 % v/w ซึ่งหากเปรียบเทียบกับขมิ้นชันโดยทั่วไปจะมีปริมาณสาร ดังกล่าวไม่น้อยกว่า 5% w/w และน้ำมันหอมระเหย (Volantile Oil) ไม่น้อยกว่า 6% v/w แต่ขมิ้นชันที่ปลูก ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีสารสำคัญเคอร์คูมินอยด์ (Cucurminoid) ที่สูงเป็นพิเศษ เมื่อนำมาแปรรูปหรือ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทำให้มีประสิทธิภาพสูง ถือ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับขมิ้นชันของจังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ปลูกขมิ้นชัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ปลูกขมิ้นชันจำนวน 180 ไร่ ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) จำนวน 10 ไร่ และได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 170 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยว ผลผลิตเฉลี่ยครั้งละจำนวน 3 ตัน/ไร่ และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในชุมชน เฉลี่ย 100,000 บาท/ไร่
เห็ดแครง (SPLITGILL MUSHROOM) ชื่อวิทยาศาสตร์ Schizophyllum commune Fr. ชื่อวงศ์ SCHIZOPHYLLACEAE ความเป็นมา เห็ดแครง หรือเห็ดตีนตุ๊กแก เป็นเห็ดที่ขึ้นได้ทั่วไป และงอกได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในฤดูฝนจะพบเห็ดแครง งอกตามวัสดุหลายชนิด เช่น ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ใบหญ้า หรือ แม้แต่กระดาษ และพบได้มากที่สุดในภาคใต้ ของประเทศไทย เห็ดแครงที่พบในภาคใต้ ส่วนใหญ่จะพบขึ้นอยู่บนท่อนไม้ยางพาราที่ตัดโค่น เมื่อท่อนไม้ตาย เห็ดแครงประกอบไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมากกว่า เห็ดชนิดอื่นๆ เช่น โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ เหมาะต่อการพัฒนาในรูปแบบเชิงพาณิชย์เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เนื่องจากเพาะปลูกง่ายและมีราคา ค่อนข้างสูง จังหวัดสุราษฎร์ธานีภายใต้โครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรสุราษฎร์ธานีจึงได้สนับสนุนให้เห็ดแครง เป็น Product Champion ของจังหวัด ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พื้นที่ปลูกเห็ดแครง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดอกรูปพัด มีขนสีขาวหรือขาวปนเทาปกคลุม จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ปลูกเห็ดแครง ปลายงุ้มลงเป็นลอน แตกแขนงเป็นแฉกเล็ก ๆ จำนวน 22.7 ไร่ ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน คล้ายนิ้วเท้าตุ๊กแก แยกเป็นแฉกตามยาว และม้วน เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) ทั้งหมด งอลงขนาด 1-3 เซนติเมตร สูง 1-4 เซนติเมตร สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ยครั้งละ จำนวน ครีบเรียงเป็นรัศมีออกไปจากฐานดอกสีครีม 10 ตัน/ปี และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ก้านอยู่ด้านข้างหรือเกือบไม่มีก้าน ในชุมชน เฉลี่ย 300,000 บาท/ไร่
มะพร้าว (COCONUT) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cocos nucifera L. ชื่อวงศ์ ARECACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะพร้าวมีลำต้นเดียว ไม่แตกแขนง สูงได้ถึง 25 เมตร มีรอยแผลจากการหลุดร่วงของใบตลอดลำต้น สามารถ คำนวณอายุของต้นมะพร้าวได้จากรอยแผลนี้ เป็นใบประกอบ ออกอยู่ตามส่วนของลำต้น ประกอบด้วยก้านทาง (rechis) มีขนาดใหญ่และยาว และมีใบย่อย (leaflet) บนก้านทาง ประมาณ 200 – 250 ใบ ดอกออกเป็นช่อชนิดพานิเคิล มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย อยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมีกลีบดอก 6 กลีบ สีครีมหรือสีเหลืองนวล จุดเด่นมะพร้าว จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวจำนวนมาก และอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะมะพร้าวใน ลุ่มน้ำตาปีได้ชื่อว่าเป็นมะพร้าวพันธุ์ดีที่สุด โดยมีความมัน ของมะพร้าว และกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ เนื่องจากเป็น พื้นที่ 2 น้ำ คือ น้ำเค็มกับน้ำจืด ซึ่งเป็นบริเวณที่อุดม สมบูรณ์อันเป็นแหล่งวัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันมะพร้าวสุราษฎร์ธานีได้รับมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) และได้พัฒนาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อเพิ่มมูลค่า และส่งเสริมสุขภาพ การนวดเพื่อสุขภาพ บำรุงผิวและดื่มกิน โดยปราศจากสารเจือปน คือ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นช่วย บำรุงรักษาสุขภาพใหแข็งแรง รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อ สุขภาพร่างกายทางด้านการอุปโภค-บริโภค พื้นที่ปลูกมะพร้าว จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวจำนวน 735 ไร่ ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) จำนวน 725 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต เฉลี่ยครั้งละจำนวน 100,000 ลูก/ เดือน และสร้าง รายได้ให้กับเกษตรกรในชุมชน เฉลี่ย 2,600 บาท/ไร่
มหกรรม มหานครเวชพฤกษา อาหารเป็นยาเมืองคนดี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 077-272784 ต่อ 414
Search
Read the Text Version
- 1 - 6
Pages: