ทัศนศึกษา เมืองอู่ทอง จัดทำโดย นางสาว กานต์สิรี ทรัพย์สายทอง ชั้นม.3/1 เลขที่ 21
คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นรายงานทางวิชาการเรื่อง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ราชภัฏเทพสตรี สาขาวัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร รายงานฉบับนี้เป็นรายงานทางวิชาการเรื่อง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เนื้อหาที่มุ่งเน้นในเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุและโบราณสถาน มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพราะมี รายละเอียดที่สมบูรณ์ สามารถรวบรวมเป็นข้อมูลประกอบการเรียนรู้ได้เป็นอย่างยิ่ง ขอขอบพระคุณ อาจารย์วาสิตรา หนองเพียน ที่ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ และสนับสนุนในการจัดทำจนรายงานเล่มนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ผู้เขียน ขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้ กานต์สิรี ทรัพย์สายทอง
ย้อนรอยเมืองอู่ทอง เมืองโบราณอู่ทองได้ชื่อว่าเป็น เมืองอรุ ณรุ่งแห่งวัฒนธรรมไทย ที่มาของรู ปภาพจากhttps://www.google.com/ เพราะเป็นเมืองศูนย์กลางทาง วัฒนธรรมในสมัยทวารวดียุคแรก เริ่ม ซึ่งหากย้อนอดีตอู่ทองไปเมื่อ 3,000 ปีก่อน ที่นี่เคยมีมนุษย์ อาศัยอยู่ เป็นสังคมเกษตรกรรม ยุคหินใหม่ต่อเนื่องถึงยุคโลหะ จาก การขุดค้นทางโบราณคดีพบ ขวาน หินขัด ลูกปัด ภาชนะดินเผา เหล็ก ปั่ นด้าย ฉมวก หอก อาวุธโบราณ และเครื่องใช้ไม้สอยโลหะอื่นๆ อีก มากมาย
ก่อนประวัติศาสตร์ หินเก่า หินใหม่ โลหะ หาของป่า ล่าสัตว์ เกษตรกรรม สังคมเมือง เร่ร่อน เพิงผา หมู่บ้าน
อาณาจักทวารวดี เป็นชื่ออาณาจักรหนึ่ งทางตอนกลางของประเทศไทย เดิมได้รู้จักชื่อจากจดหมายเหตุของพระภิกษุ จีนเหี้ยนจัง (พระถังซัมจั๋ง) และพระภิกษุจีนอี้จิง ซึ่งเดินทางไปสืบ ศาสนายังประเทศอินเดียในพุทธศตวรรษที่ 12 ว่ามี อาณาจักรหนึ่งชื่อ \"โถโลโปตี\" ตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักร ศรีเกษตร (พม่า) และอีศานปุระ (กัมพูชา) คำว่า \"โถโลโปตี\" นี้นักปราชญ์ฝรั่งเศสสันนิษฐานว่า คงตรง กับคำว่าทวารวดีในภาษาสันสกฤต ต่อมาได้พบเงิน เหรียญสองเหรียญที่จังหวัดนครปฐม มีจารึกเป็น ภาษาสันสกฤตว่า \"ศรีทวารวดีศวรปุณย\"
โบราณวัตถุ พระภิกษุ อุ้มบาตร ปูนปั้ นชาวต่างชาติและชิ้น ตุ๊กตาคนจูงลิง ศิวลึงค์ ส่วนเครื่องถ้วยเปอร์เซีย ตราประทับ ธรรมจักรพร้อมแท่นฐานและเสา ลูกปั ด
โบราณวัตถุ แผ่นภาพกุฑุ เหรียญเงินมีจารึก จุกภาชนะ พระพิมพ์ แผ่นภาพบุคคล พระพุทธรูปทองคำ แท่นหินบด
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ก ร ม ศิ ล ป า ก ร สถานที่ตั้ง ประวัติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ถนนมาลัยแมน ตำบลอู่ทอง - 2446 เริ่มมีการศึกษาเกี่ยวกับเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง - 2494 กรมศิลปากรตั้งหน่วยศิลปากรที่ 2 เพื่อดูแลเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี - 2502 กรมศิลปากร ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ขึ้นเป็นอาคารชั่วคราว - เพื่อจัดเก็บโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจ และขุดค้นที่เมืองโบราณ อู่ทอง - 2508 - 2509 กรมศิลปากร จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ขึ้นเป็นการถาวร
เรือนลาวโซ่ง จัดแสดงเรือนลาวโซ่ง หรือไทยทรงดำ กลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งเดิมมี ถิ่นที่อยู่ในประเทศเวียดนามและลาว มีภาษาพูด ภาษาเขียน การแต่งกาย ขนมธรรมเนียมและคติความเชื่อเป็นเอกลักษณ์ ของตนเอง ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ถูกกวาดต้อนให้มาตั้งบ้านเรือนครั้งแรกอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ต่อมาภายหลังเมื่อมีการผ่อนคลายด้านการ กำหนดพื้นที่อยู่ อาศัยของกลุ่มชน ชาวลาวโซ่งจึงได้เคลื่อนย้ายไปแพร่กระจาย ไปยังที่ต่าง ๆ กลุ่มหนึ่งได้ตั้งถิ่นฐานที่อำเภออู่ทอง และอำเภอ ต่าง ๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี เรือนลาวโซ่งสร้างจากวัสดุ ธรรมชาติ มีหลังคาทรงสูงครอบถึงผนังเรือนเป้นเอกลักษณ์ ประกอบด้วยเรือนนอนและยุ้งข้าว พร้อมด้วยคอกสัตว์ และจัด แสดงเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่มประเพณี วิถีชีวิตและ ความเชื่อ ด้วยวัตถุสิ่งของและหุ่นจำลอง
Search
Read the Text Version
- 1 - 10
Pages: