ผลงานเรอื่ งที่ 1 การกำหนดรูปแบบรายละเอยี ดงานทำนบดินชว่ั คราวป้องกันบ่อกอ่ สร้าง และควบคมุ งานกอ่ สรา้ งเพอื่ ปอ้ งกนั และแก้ไขปญั หาระหว่างกอ่ สร้าง งานจ้างก่อสรา้ งประตรู ะบายน้ำหัวงานและอาคารประกอบ โครงการประตูระบายน้ำ บ้านห้วยทรายพร้อมระบบสง่ น้ำ จังหวัดบึงกาฬ (พ.ศ. 2562) โดย นายไพฑูรย์ กุลไทย ตำแหน่ง วิศวกรโยธาชำนาญการพเิ ศษ (ตำแหน่งเลขท่ี 5883) สำนักงานกอ่ สร้างชลประทานขนาดใหญ่ท่ี 4 สำนกั พัฒนาแหลง่ น้ำขนาดใหญ่ ผลงานนเี้ ปน็ เอกสารประกอบการประเมนิ ผลงาน เพอื่ แตง่ ต้ังให้ดำรงตำแหนง่ ผู้เช่ียวชาญดา้ นวิศวกรรมโยธา (ด้านควบคมุ การก่อสร้าง) วิศวกรโยธาเชย่ี วชาญ (ตำแหน่งเลขที่ 5883) สำนกั งานกอ่ สรา้ งชลประทานขนาดใหญ่ที่ 4 สำนกั พฒั นาแหลง่ นำ้ ขนาดใหญ่
ก คำนำ รายงานผลงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งการประเมินผลงานให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ เรื่อง “การกำหนดรูปแบบรายละเอียดงานทำนบดินชั่วคราวป้องกันบ่อก่อสร้าง และควบคุม งานก่อสร้างเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาระหว่างก่อสร้าง งานจ้างก่อสร้างประตูระบายน้ำหัวงานและอาคาร ประกอบ โครงการประตูระบายน้ำบ้านห้วยทรายพร้อมระบบส่งน้ำ จงั หวัดบงึ กาฬ” จัดทำขนึ้ เพื่อให้ผู้ควบคุมงาน คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือผู้สนใจทว่ั ไป ใชเ้ ป็นแนวทางในการเตรียมงานก่อสร้างและแก้ไขปัญหาการป้องกัน น้ำท่วมบอ่ ก่อสร้าง กรณบี ่อก่อสรา้ งต้ังอย่ใู กล้กับลำน้ำ โดยกำหนดรายละเอยี ดเป็นงานทำนบดินชั่วคราวป้องกัน บ่อกอ่ สร้าง ซึ่งไมไ่ ด้มีการกำหนดไว้ในแบบก่อสร้างแต่กระบวนการทำงานจำเป็นต้องดำเนินการเพ่ือให้งานก่อสร้าง แล้วเสรจ็ ตามวัตถุประสงค์ อีกทั้งยังสามารถใช้ในการวางแผนและควบคุมงานก่อสร้างได้ ทั้งนี้เนื้อหาภายในเลม่ ประกอบด้วย ข้อมูลตำแหน่งของผู้เขียนและผู้ร่วมดำเนินงาน ระยะเวลาการดำเนินการ ความรู้ ความชำนาญงาน หรือความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ท่ีนำใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าว ขั้นตอนการดำเนินการและเป้าหมาย ของผลงาน ผลสำเร็จของผลงานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การนำผลงานไปใช้ประโยชน์/ผลกระทบ ตลอดจนความยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินการ และปัญหาอุปสรรคพร้อมให้ข้อเสนอแนะเพ่ือชว่ ยเพ่ิมประสิทธิภาพ ของโครงการต่อไป ดังนน้ั หวงั วา่ รายงานฉบับน้ีจะเป็นเคร่ืองมือในการเพ่ิมศักยภาพการทำงานของวิศวกร นายช่าง หรือบคุ คลทวั่ ไปไดเ้ ปน็ อยา่ งดีไมม่ ากกน็ ้อย หากผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ ทน่ี ดี้ ้วย ไพฑรู ย์ กุลไทย ตลุ าคม 2565
สารบัญ ข คำนำ หน้า สารบญั ก สารบัญตาราง ข สารบญั รูป ค ส่วนที่ 1 ข้อมูลบุคคล/ตำแหนง่ ง ชื่อผ้ขู อประเมนิ /ตำแหนง่ ปจั จบุ ัน/หน้าที่ความรบั ผดิ ชอบของตำแหนง่ ปจั จุบัน ตำแหนง่ ท่จี ะแต่งต้ัง/หน้าทค่ี วามรบั ผิดชอบของตำแหนง่ ที่จะแต่งตั้ง 1 ส่วนที่ 2 ผลงานทเ่ี ป็นผลการปฏิบตั ิงานหรือผลสำเร็จของงาน 1. เร่ืองนำเสนอ 2 2. ระยะเวลาท่ดี ำเนนิ การ 2 3. ความรู้ ความชำนาญงาน หรือความเชี่ยวชาญและประสบการณท์ ี่ใช้ในการปฏบิ ัตงิ าน 2 4. สรปุ สาระสำคัญ ขั้นตอนการดำเนนิ การ และเป้าหมายของงาน 9 5. ผลสำเร็จของงาน (เชงิ ปริมาณ/คณุ ภาพ) 13 6. การนำไปใช้ประโยชน/์ ผลกระทบ 13 7. ความยงุ่ ยากและซบั ซ้อนในการดำเนินการ 14 8. ปญั หาและอุปสรรคในการดำเนนิ การ 14 9. ข้อเสนอแนะ 22 10.การเผยแพรผ่ ลงาน 22 11.ผ้มู สี ่วนรว่ มในผลงาน 22 เอกสารอา้ งอิง 25 ภาคผนวก 26
สารบัญตาราง ค ตารางท่ี หนา้ 6 1 Recommend slopes for small homogeneous earthfall dams 6 on stable foundations. 2 Recommend slopes for small zoned earthfall dams on stable foundations.
ง สารบญั รปู รูปที่ หน้า 1 ตวั อย่างโครงสร้างลาดคันดนิ (a) ทำนบดนิ เข่ือน 3 2 ตวั อยา่ งโครงสร้างลาดคนั ดิน (b) ถนน (c) คนั ทางว่งิ ของเครอ่ื งบิน 3 3 ตวั อยา่ งโครงสรา้ งลาดคนั ดิน (d) งานขดุ สระหรือคลอง (e) งานขุดเปิดหนา้ ดิน 3 เพอื่ การก่อสรา้ ง 4 4 ลักษณะการวิบัติของลาดดนิ ท่ัวไป 8 5 ผงั การควบคุมและบริหารงานสญั ญากอ่ สรา้ ง 9 6 แผนท่ีตำแหนง่ ที่ตั้งโครงการประตรู ะบายน้ำบา้ นหว้ ยทรายพรอ้ มระบบสง่ นำ้ 15 จงั หวดั บึงกาฬ 15 7 ขนาด มติ ิ และระดับงานทำนบดนิ ช่วั คราวป้องกันบ่อก่อสร้าง 16 8 นำเสนอรายการรายละเอียดงานทำนบดินชัว่ คราวป้องกันบ่อก่อสร้าง 16 9 หารือรว่ มกบั ผ้เู ก่ียวข้องในการวางแผนงานก่อสรา้ งทำนบดินช่ัวคราวปอ้ งกันบ่อสร้าง 10 ระดับนำ้ แมน่ ้ำสงครามเพมิ่ สงู ขึน้ มีผลกบั การพจิ ารณาวางแผนงานกอ่ สรา้ ง 17 17 ทำนบดินชั่วคราว 18 11 ทำนบดนิ ช่วั คราวปอ้ งกนั บ่อสร้าง 20 12 งานบดอัดแนน่ หลงั ทำนบดินช่ัวคราวปอ้ งกนั บ่อสร้าง 20 13 ลาดเอยี งดา้ นทา้ ยทำนบดินช่ัวคราวป้องกนั บ่อสร้าง ตดิ แม่น้ำสงคราม 21 14 งานก่อสร้างทำนบดินปดิ กนั้ ลำนำ้ เดิม 21 15 การบดอดั ดินทำนบดินปิดกน้ั ลำนำ้ เดิม 16 ทำนบดนิ ปิดกั้นลำน้ำเดิม 17 งานประตูระบายน้ำหัวงาน แลว้ เสรจ็
1 แบบการเสนอผลงาน สว่ นท่ี 1 ข้อมูลบคุ คล/ตำแหนง่ ชอ่ื ผู้ขอประเมิน นายไพฑรู ย์ กลุ ไทย ตำแหน่งปจั จบุ ัน วศิ วกรโยธาชำนาญการพิเศษ หน้าทค่ี วามรบั ผดิ ชอบของตำแหนง่ ปจั จุบนั 1. ศึกษา วิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ โครงการ อันเน่ืองมาจากพระราชดำริ และโครงการอนื่ ตามทก่ี รมมอบหมายของสำนกั งานกอ่ สร้างชลประทานขนาดใหญ่ ท่ี 1 - 13 รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการ เพื่อจัดทำแผนงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (Medium Terms Expenditure Framework : MTEF) เพื่อใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์ในงานด้านการพัฒนา แหล่งนำ้ ขนาดใหญ่ 2. ศึกษาและกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานการจัดทำรายการงบประมาณ รวมทั้งจัดทำคำขอ ตั้งงบประมาณของสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพ่ือให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 3. ศึกษา วิเคราะห์ ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบแผนงาน การดำเนินการให้เป็นไปตาม แผนงานและงบประมาณทไ่ี ดร้ บั อยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ 4. ให้คำปรึกษา แนะนำ ร่วมจัดทำร่างขอบเขตของงาน (TOR) และเอกสารประกวดราคา ของสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ท่ี 1 - 13 เพื่อสร้างความเป็นมาตรฐานและความสอดคล้องกับ รูปแบบการดำเนนิ งานก่อสรา้ งใหถ้ ูกต้องเปน็ ไปตามหลกั เกณฑ์ และระเบียบทเี่ กยี่ วข้อง 5. ศึกษา วิจัย พัฒนา ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพ่ือพัฒนาปรับปรุงงานทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์และกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมในหน้าที่ ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า และประโยชน์สูงสดุ 6. ให้คำปรึกษา แนะนำ การบริหารสัญญาของสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ ที่ 1 - 13 เพอ่ื ใหก้ ารดำเนนิ งานมีผลสมั ฤทธบ์ิ รรลุเป้าหมาย 7. ให้คำปรึกษา แนะนำเชิงวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าท่ี เพื่อแก้ไข ปัญหางานพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอื่นตามที่กรม มอบหมายของสำนกั งานกอ่ สรา้ งชลประทานขนาดใหญท่ ่ี 1 - 13 เพอื่ ใหง้ านบรรลตุ ามวัตถุประสงค์ 8. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอ่ืน ๆ ที่เก่ียวข้อง เพ่ือให้ ภารกจิ ของสำนกั หรือภารกิจอน่ื ท่ไี ด้รบั มอบหมายประสบผลสำเรจ็ ตามเปา้ หมาย ตำแหนง่ ท่ีจะแต่งต้งั ผเู้ ช่ียวชาญด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านควบคุมการก่อสรา้ ง) วิศวกรโยธาเช่ียวชาญ (ตำแหน่งเลขที่ 5883) สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 4 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน หน้าที่ความรบั ผดิ ชอบของตำแหน่งท่จี ะแต่งตง้ั 1. วางโครงการ ควบคุม กำกับดูแล และอำนวยการในการดำเนินงานโครงการก่อสร้างชลประทาน ขนาดใหญ่ ทม่ี ีความยงุ่ ยากและซับซ้อนมา 2. ศึกษา พัฒนา นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกี่ยวกับการควบคุมการก่อสร้างโครงการชลประทาน มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานควบคุมการก่อสร้างโครงการชลประทาน
2 3. ให้คำแนะนำ เก่ียวกับการอำนวยการ หรือควบคุมการดำเนินการก่อสร้างโครงการชลประทาน แก่หน่วยงานทเี่ กี่ยวข้อง 4. ปฏิบตั งิ านอืน่ ตามที่ได้รบั มอบหมาย สว่ นท่ี 2 ผลงานทเี่ ปน็ ผลการปฏบิ ัติงานหรือผลสำเรจ็ ของงาน 1. เรือ่ ง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดงานทำนบดินช่ัวคราวป้องกันบ่อก่อสร้าง และควบคุมงานก่อสร้าง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาระหว่างก่อสร้าง งานจ้างก่อสร้างประตูระบายน้ำหัวงานและอาคารประกอบ โครงการประตูระบายน้ำบา้ นห้วยทรายพร้อมระบบสง่ นำ้ จงั หวัดบงึ กาฬ (พ.ศ. 2562) 2. ระยะเวลาการดำเนนิ การ 3 ปี ต้ังแต่ เดอื นกมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2559 - เดือนเมษายน พ.ศ. 2562 3. ความรู้ ความชำนาญงาน หรือความเชย่ี วชาญและประสบการณ์ทใ่ี ช้ในการปฏบิ ตั งิ าน การกำหนดรูปแบบรายละเอียดงานทำนบดินชั่วคราวป้องกันบ่อก่อสร้าง โครงการประตู ระบายน้ำบ้านห้วยทรายพร้อมระบบส่งน้ำ จังหวัดบึงกาฬ จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ อุทกวิทยา และข้อมูลอ่ืน ๆ ท่ีเกี่ยวข้องในพื้นที่ ตลอดจนคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ในระหว่างการก่อสร้าง โดยจำเปน็ ต้องใช้ความรดู้ า้ นต่าง ๆ ดงั นี้ 3.1 ความรู้ด้านอุทกวิทยา กล่าวคอื ต้องศึกษาถึงปรมิ าณน้ำฝนและน้ำทา่ เฉลี่ยรายเดือนและ รายปี ว่ามีปริมาณมากน้อยเท่าใดเพื่อเป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวขนาดและระดับของทำนบดินช่ัวคราว พร้อมใช้ในการวางแผนงานก่อสร้าง เช่น งานขุดดิน งานถมดินบดอัดแน่น และงานลูกรังบดอัดแน่น เป็นต้น ทั้งน้ีต้องทราบถึงปริมาณน้ำท่ีจะมีการเพิ่มข้ึนหรือลดลง ทิศทางการไหลของน้ำ ซ่ึงต้องวางแผนงานให้สอดคล้องกับ งานก่อสรา้ งเพอื่ ปอ้ งกันความเสยี หายที่จะเกิดขึ้น 3.2 ความรู้ด้านการสำรวจปฐพีกลศาสตร์ กล่าวคือ การสำรวจปฐพีกลศาสตร์เป็นการสำรวจ เพ่ือให้ทราบถึงคุณลักษณะของดินทางวิศวกรรม เช่น ชนิดของดิน ความหนาและส่วนประกอบของดินแต่ละชั้น ความหนาของช้ันหินและส่วนประกอบของช้ันหิน โดยมุ่งเน้นถึงความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของดิน ฐานราก การรั่วซึมของน้ำผ่านดินชั้นฐานราก คุณสมบัติทางวิศวกรรมและทางเคมีในกรณีที่จำเป็น โดยการวางแผน ควบคุม การเจาะสำรวจ เกบ็ ตวั อย่างดนิ ด้วยวิธีการตา่ งๆ เพ่ือส่งทดสอบหาคุณสมบัติทางวิศวกรรม และข้อมูล เกี่ยวกับระดับน้ำใต้ดิน ทำให้ได้ข้อมูลในทางวิศวกรรมปฐพีที่จำเป็นต่อการออกแบบ การวิเคราะห์ตรวจสอบ และการก่อสร้าง การจำแนกกลุ่มดิน เป็นการศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นงานด้านวิศวกรรมท่ีเก่ียวข้องกั บ งานก่อสร้างที่มีดินเป็นส่วนประกอบ เช่น ทำนบดินชั่วคราว ซ่ึงต้องมีการคัดเลือกดินให้เหมาะสม ปัจจุบัน การจำแนกกลุ่มดินใช้หลักของระบบ Unified soil classification โดยพิจารณาจากองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ 1. คุณสมบัติทางกายภาพ โดยพิจารณาจากขนาดเม็ดดินท่ีเป็นองค์ประกอบจากใหญ่ไปเล็ก ได้แก่ กรวด ทราย ตะกอนทราย และดินเหนียวตามลำดับ โดยประมาณเม็ดดินเหล่านั้นผสมกันอยู่เป็นสัดส่วน ที่แตกต่างกันออกไปในธรรมชาติ การหาคุณสมบัตินี้จะใช้วิธีการทดลองการหาขนาดคละในห้องปฏิบัติการ (Sieve analysis) 2. คุณสมบัติทางเคมี เกิดจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างประจุไฟฟ้าในอนุภาคเม็ดดิน ทำให้ ดินมีลักษณะของความเป็นพลาสติกหรือเกิดลักษณะของความเหนียว ทำให้สามารถปั้นขึ้นเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ การหาคณุ สมบัติน้ใี ชว้ ธิ ีการทดลองขีดจำกัดสถานะภาพของดนิ (Atterberg’s limit)
3 ท้ังนี้ สัญลักษณ์ท่ีใช้แทนดินชนิดต่าง ๆ มีดังนี้ G หมายถึง พวกกรวด (Gravel), S หมายถึง พวกทราย (Sand), M หมายถึง พวกตะกอนทราย (Silt), C หมายถึง พวกดินเหนียว (Clay), O หมายถึง พวกสารอินทรีย์ (Organic), Pt หมายถึง พวกมีสารอินทรีย์สูง (Peat), W หมายถึง มีขนาด คละกันดี (Well graded), P หมายถึง มีขนาดคละกันไม่ดี (Poorly graded), L หมายถึง มีความเหนียวน้อย (คา่ Lipid limit นอ้ ยกวา่ รอ้ ยละ 50) และ H หมายถึง มีความเหนยี วมาก (คา่ Lipid limit มากกวา่ รอ้ ยละ 50) 3.3 ความรู้ด้านเสถียรภาพเชิงลาด กล่าวคือ โครงสร้างท่ีเกี่ยวข้องกับเสถียรภาพเชิงลาด ได้แก่ ทำนบดิน เขื่อน ตลิ่ง คลอง ถนน เป็นต้น โครงสร้างเหล่านี้จะสร้างขึ้นมาโดยการก่อสรา้ งเป็นลาดคันดิน เนื่องจากการก่อสร้างในลักษณะของลาดน้ันมีราคาถูกกว่าการก่อสร้างโครงสร้างกำแพง การออกแบบ และก่อสร้างลาดคันดินนั้นจะต้องทำด้วยความรอบคอบ เน่ืองจากหากเกิดการวิบัติมักจะก่อให้เกิดความเสียหาย ไมว่ ่าจะเปน็ ชีวิตหรือทรัพยส์ นิ ตวั อย่างโครงสร้างลาดคันดิน แสดงดงั รปู ที่ 1 - 3 รปู ที่ 1 ตัวอย่างโครงสรา้ งลาดคันดนิ (a) ทำนบดิน เขื่อน รปู ที่ 2 ตัวอยา่ งโครงสร้างลาดคันดิน (b) ถนน (c) คนั ทางวงิ่ ของเครอื่ งบิน รูปท่ี 3 ตวั อย่างโครงสร้างลาดคนั ดนิ (d) งานขดุ สระหรือคลอง (e) งานขุดเปิดหนา้ ดินเพอื่ การก่อสร้าง
4 การวิบัติเชิงลาดเกิดข้ึนได้จากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดดิน ลักษณะของช้ันดิน น้ำใต้ดิน ความลาดเอยี งและลักษณะทางเรขาคณิตของชนั้ ดนิ ลักษณะการวิบัติของลาดดินเป็นไป ดงั รปู ที่ 4 รปู ที่ 4 ลกั ษณะการวิบัติของลาดดินทว่ั ไป ในการวิเคราะห์เสถียรภาพของทำนบดิน (Stability analysis) โดยปกติใช้หลักการ สมดุลแรงของระบบมวลดิน (Limit equilibrium) อธิบายว่า มวลดินมีสมมุติฐานว่า ณ ช่วงเวลาที่เกิด การเคล่ือนพังพอดี ในขณะนั้นมวลดินอยู่ในสภาวะสมดุล การวิเคราะห์เร่ิมต้นด้วยการสมมุติรูปแบบลักษณะ ของผิวการเคล่ือนพังว่าเป็นรูปแบบใด เช่น วงกลม เส้นตรง หรือรูปหลายเหล่ียม ฯลฯ แล้วทำการคำนวณแรง ต้านทานท่ีเพียงพอ ทำให้เกิดความสมดุลของมวลดินที่วิบัติ หลังจากนั้นทำการเปรียบเทียบอัตราส่วนระหว่าง กำลังของดิน ต่อหน่วยแรงต้านทานขณะสมดุล ซึ่งเรียกว่า อัตราส่วนความปลอดภัย (Factor of Safety : F.S.) แล้วทำการทดลองสุ่มหาค่าของอัตราส่วนความปลอดภัย โดยการเปลี่ยนลักษณะหรอื ตำแหน่งของผวิ การเคล่ือนพัง ท่ีน่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นไปเร่ือย ๆ จนพบค่าอัตราส่วนปลอดภัยท่ีน้อยท่ีสุด อัตราส่วนความปลอดภัย (F.S.) เขียนในรปู สมการที่ 1 ไดด้ งั นี้ เมื่อ Shear Strength= กำลงั แรงเฉือนของดินทจ่ี ดุ พจิ ารณา Shear Stress = แรงเฉอื นทีเ่ กิดข้นึ ท่ีจดุ พิจารณา วิธีวิเคราะห์จะมีการเลือกใช้ท้ังระนาบพังทลายท่ีเป็นส่วนหน่ึงของวงกลม (Circular Slips) และแบบไม่เป็นส่วนของวงกลม (non-circular slips) การใช้ Circular Slips เป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องจากทำการคำนวณได้สะดวกและมีความผิดพลาดไม่มาก ยอมรับได้ ส่วน non-circular slips ควรจะกำหนด ให้ใช้ในกรณีท่ีสามารถเห็น หรือทราบลักษณะการวางตัวของลอยเลื่อนท่ีเกิด หรอื มีการพังทลายในระดับต้ืน ๆ ทั้งนี้ การเลือกใช้คุณสมบัติความแข็งแรงของชั้นดิน ในการวิเคราะห์ความมั่นคงเป็นสิ่งสับสนและมักก่อให้เกิด ความผิดพลาดในการวเิ คราะห์อยู่เสมอ เนือ่ งจากวสั ดุ (ดิน) มีหลักการระบุความแขง็ แรงและลักษณะการวิเคราะห์
5 ได้ 2 ลักษณะ คือ 1) วิเคราะห์ด้วยหน่วยแรงรวม (Total Stress Analysis) และ 2) วิเคราะห์ด้วยหน่วยแรง ประสิทธิผล (Effective Stress Analysis) ท้ังน้ี เน่ืองจากดินมักมีความชื้นหรือน้ำอยู่ภายในมวลดิน ดังน้ัน เมื่อเกิดการเปล่ียนแปลงของหน่วยแรงขึ้นในมวลดินก็อาจจะทำให้การเพิ่มหรือลดแรงดันน้ำในมวลดินเกิดข้ึนได้ ซ่ึงมีผลต่อกำลังของมวลดินตามหลักของ Mohr – Coulomb ด้วย การวิเคราะห์เสถียรภาพของทำนบดิน ชว่ั คราว สามารถวิเคราะห์ได้ ดังน้ี 1. พิจารณาตามรูปแบบจำลองของทำนบดินในลักษณะต่าง ๆ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จาก การทดสอบคุณสมบัติของดินในสภาวะความชน้ื ปกติและดินในสภาวะความช้ืนสูง และจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อ เสถียรภาพของลาดทำนบดินเปรียบเทียบความปลอดภัยของทำนบดินชัว่ คราว 2. พิจารณาจากเกณฑ์กำหนดเบื้องต้นของ DESIGN OF SMALL DAMS ซ่ึงได้กำหนด ชนิดของดินและลาดทำนบดินด้านหน้าและด้านท้าย รายละเอียดอา้ งอิงไว้ตามตารางที่ 1 Recommend slopes for small homogeneous earthfall dams on stable foundations. และตารางที่ 2 Recommend slopes for small zoned earthfall dams on stable foundations.
6 ตารางท่ี 1 Recommend slopes for small homogeneous earthfall dams on stable foundations. Case Type Purpose Subject to Soil Upstream Downstream Rapid classification slope slope drawdown GW, GP, SW, Pervious, unsuitable Homogeneous Detention No SP 2.5 : 1 2:1 A or Modified - or GC, GM, SC, 3:1 2.5 : 1 SM homogeneous Storage CL, ML CH, MH 3.5 : 1 2.5 : 1 GW, GP, SW, Pervious, unsuitable SP B Modified - Storage Yes GC, GM, SC, 3 : 1 2:1 homogeneous SM CL, ML 3.5 : 1 2.5 : 1 CH, MH 4 : 1 2.5 : 1 ตารางที่ 2 Recommend slopes for small zoned earthfall dams on stable foundations. Type Purpose Subject to Shell material Core Up Down Rapid classification material stream stream classification slope slope drawdown 2:1 Zoned Any Not critical Rockfill, GW, GP, GC, GM, SC, 2 : 1 2:1 2.25 : 1 with SW (gravelly) or SM, CL, ML, 2.5 : 1 3:1 minimum SP (gravelly) CH or HM 2:1 2.25 : 1 core A 2.5 : 1 3:1 Zoned Detention No Rockfill, GW, GP, GC, GM 2:1 with or SW (gravelly) or SC, SM 2.25 : 1 minimum storage CL, ML 2.5 : 1 core SP (gravelly) CH, HM 3:1 Zoned storage Yes Rockfill, GW, GP, GC, GM 2.5 : 1 with SW (gravelly) or SC, SM 2.5 : 1 minimum SP (gravelly) CL, ML 3:1 core CH, HM 3.5 : 1
7 3.4 ความรู้ด้านการบริหารงานก่อสร้าง กล่าวคือ ต้องศึกษาและมีความรู้ในเร่ืองการควบคุม และบริหารงานก่อสร้าง เพ่ือนำมาใช้ในการบริหารโครงการท้ังด้านการเงินงบประมาณ การก่อสร้าง การบริหาร งานบุคคล การบริหารงานพัสดุ ซง่ึ จะส่งผลให้การบริหารโครงการเป็นไปอย่างมีประสทิ ธิภาพ ทั้งนี้ ตอ้ งถูกตอ้ ง ตามระเบยี บและแบบแผนของทางราชการท่ีดี โดยที่การวางแผนงานกอ่ สร้าง จะตอ้ งวางแผน 3 แผน ไดแ้ ก่ 1. แผนการปฏิบัติการก่อสร้าง หมายถึง กิจกรรมงานก่อสร้างของโครงการก่อสร้าง ท่ดี ำเนินการในส่วนของงบลงทุน มีการกำหนดระยะเวลาเร่ิมต้น และสน้ิ สดุ ของแต่ละงานและกจิ กรรมอย่างชดั เจน โดยอยู่ในรูปแผนภูมิกำหนดเวลา ซ่ึงแสดงรายละเอียดของระยะเวลางานและงบประมาณของแต่ละกิจกรรม เพื่อให้เกิดความครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ท่ีกำหนดในแบบรูปรายละเอียด ซ่ึงช่วยให้ การดำเนินโครงการเป็นไปอยา่ งมรี ะเบียบ อีกทั้งช่วยให้การจัดทรัพยากร (คน เงนิ วัสดุ เครื่องจกั ร และ อ่ืน ๆ) มีประสิทธิภาพ สามารถรู้เหตุขัดข้องท่ีเกิดข้ึนและการแก้ไขปัญหา และมีมาตรฐานในการเปรียบเทียบ ความก้าวหนา้ ของโครงการ 2. แผนการใช้เคร่ืองจักร - เครื่องมือ หมายถึง การกำหนดการใช้งานของเครื่องจักรกล – เครอ่ื งมือสำหรับงานก่อสร้าง โดยต้องพิจารณาถึงลักษณะ ขนาด และประเภทของโครงการ ตลอดจนวิธกี ารก่อสร้าง กล่าวคอื 2.1 การวางแผนการใช้เคร่ืองจักรกลงานดิน ให้พิจารณาจากปริมาณงานดินทั้งหมด ขีดความสามารถของเครื่องจักรกลกับปริมาณงาน ลักษณะภูมิประเทศ ระยะทางว่ิงไป – กลับ (Round Trip) และอายุการใชง้ านเครื่องจักร 2.2 การวางแผนการใช้เครื่องจักรกลทำงานก่อสร้าง ให้พิจารณาจากขนาดของงาน วิธีการก่อสร้าง และสภาพความพรอ้ มของเครือ่ งจักรกล อะไหล่สำรอง (Spare Part) 2.3 การวางแผนการใช้เคร่ืองจักรกลสำหรับงานวิศวกรรมธรณี ให้พิจารณาจาก ปริมาณงาน และวิธีการปรบั ปรุงฐานราก หรือเจาะสำรวจ 3. แผนอัตรากำลัง หมายถึง การวางแผนอัตรากําลังคน (Manpower Planning) เป็นการกำหนดจำนวน ประเภทพนักงานท่ีมีความสามารถ เหมาะสมที่จะมาปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของโครงการ โดยอัตรากำลังแบ่งได้เป็น อัตรากำลังตามสายงานก่อสร้าง (Line) ควรกำหนดตามโครงสร้าง รายการงานของโครงการนั้นๆ ซึ่งอาจแบ่งตามเขตพื้นท่ีความรับผิดชอบ ประเภทของอาคารชลประทาน หรือประเภทของงานก่อสร้าง อัตรากำลังสายงานอำนวยการ (Staff) ประกอบด้วย งานธุรการ งานการเงิน และบัญชี งานพัสดุ งานเคร่ืองกล งานสำรวจ งานตรวจสอบและวิเคราะห์ งานวิศวกรรมบริหาร โดยกำหนด ตามอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ และอัตรากำลังแรงงานก่อสร้าง (Laborer) ประกอบด้วย หัวหน้าช่าง ช่าง และจำนวนคนงานก่อสร้าง โดยกำหนดจากการนำปริมาณงานของแต่ละกิจกรรม และข้อมูลสถิติปริมาณ งานก่อสร้าง เฉล่ยี ต่อวันมาพจิ ารณารว่ มกับแผนงานกอ่ สร้าง ในระหว่างการปฏิบัติงานก่อสร้าง จำเป็นต้องควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตาม การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซ้ือจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยผู้ท่ีรับผิดชอบต้องทำความเข้าใจ สัญญา เงื่อนไขของสัญญา หน้าท่ีของ คณะกรรมการฯ ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้าง และผู้ควบคุมงาน คอยติดตามและควบคุมให้ผู้รับจ้างปฏิบัติงานตามสญั ญา โดยเคร่งครัด พรอ้ มสำรวจและแกไ้ ขปัญหาทอี่ าจเปน็ อปุ สรรคต่อการปฏบิ ตั งิ านตามสัญญา ดงั รปู ที่ 5
8 รูปที่ 5 ผงั การควบคมุ และบริหารงานสัญญาก่อสรา้ ง
9 4. สรุปสาระสำคัญ ขนั้ ตอนการดำเนนิ การ และเป้าหมายของงาน 4.1 สาระสำคญั โครงการประตูระบายน้ำบ้านห้วยทรายพร้อมระบบส่งน้ำ จังหวัดบึงกาฬ เป็นโครงการ ขนาดกลาง ตามแผนงานโครงการพัฒนาลุ่มน้ำสงคราม ครอบคลุม 5 จังหวดั (จงั หวดั อุดรธานี จังหวดั หนองคาย จงั หวัดบึงกาฬ จังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนม) ต้งั อยู่ตอนเหนอื ของภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื ดงั รปู ท่ี 6 มีปริมาณฝนตกเฉลยี่ ทั้งปีสูงกว่าคา่ เฉล่ียของประเทศ สภาพดนิ ท่วั ไปไม่อุดมสมบรู ณ์ พ้ืนที่มลี ักษณะเป็นเนินเตี้ย ๆ ราษฎรสว่ นใหญ่ทีอ่ าศยั อยู่ในพื้นท่ลี มุ่ น้ำ ยึดอาชพี การเกษตรเป็นอาชพี หลกั อาศัยนำ้ ฝนธรรมชาติ ดังนน้ั ผลผลิต จงึ อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ผลผลิตไม่แน่นอน ข้ึนอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศของแต่ละปี ปัญหาท่ีราษฎรประสบบ่อยคร้ัง ได้แก่ ปัญหาอุทกภัย และปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเพาะปลูก กล่าวคือพ้ืนที่เพาะปลูกบริเวณที่ราบลุ่ม รมิ แม่น้ำสงครามตอนใกล้ปากแม่น้ำ และตอนกลางลุ่มน้ำถูกน้ำท่วมเป็นประจำ ราษฎรได้รับความเสียหายบ่อยคร้ัง บางพ้ืนที่ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มศักยภาพ ขณะเดียวกันหากปีใดฝนตกน้อยหรือมีระยะเวลาฝนทิ้งช่วงนาน การเพาะปลูกในบรเิ วณทเ่ี นินก็ได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะบริเวณทอ่ี ยตู่ อนตน้ ของล่มุ น้ำ ซึง่ พน้ื ท่ที ่ีถูกนำ้ ทว่ ม บ่อยคร้ังนั้นได้เคยมกี ารรายงานว่าคลมุ พ้นื ท่ีประมาณ 500,000 ไร่ ในจำนวนน้ีมีพ้นื ท่ีประมาณ 50,000 ไร่ ท่ีราษฎรยังคงใช้ปลูกข้าวโดยยอมเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ แต่พ้ืนที่ส่วนใหญ่ยังไม่อาจนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ยังมีสภาพเป็นป่าไผ่กระจายอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มโดยท่ัวไปบริเวณดังกล่าว จึงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และเพาะพนั ธป์ุ ลาชนิดตา่ ง ๆ มากมาย ราษฎรทอ่ี าศัยอยู่บริเวณรมิ นำ้ จึงยึดอาชีพจบั ปลาเป็นอาชพี รองจากการทำนา รูปที่ 6 แผนท่ีตำแหนง่ ที่ตั้งโครงการประตรู ะบายน้ำบา้ นห้วยทรายพร้อมระบบส่งนำ้ จงั หวดั บึงกาฬ สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน พิจารณาข้อมูลความเหมาะสมโครงการ และความจำเป็นในพ้ืนที่ตลอดจนความต่อเนื่องของการพัฒนาลุ่มน้ำในลุ่มน้ำสงคราม เนื่องจากพ้ืนที่ดังกล่าว ประสบปัญหาน้ำท่วมและพ้ืนท่ีภัยแล้งซ้ำซาก ซ่ึงมีผลกระทบที่รุนแรงต่อความเป็นอยู่และสภาพเศรษฐกิจ และสังคมของประชากรในลุ่มน้ำ โดยดำเนินการศึกษาวางโครงการแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2553 สำรวจออกแบบ
10 แล้วเสร็จปี พ.ศ. 2556 ลักษณะโครงการประตูระบายน้ำบ้านห้วยทรายพร้อมระบบส่งน้ำ เป็นงานพัฒนา แหลง่ นำ้ ทม่ี อี งคป์ ระกอบสำคัญ 2 งาน คอื 1. งานกอ่ สรา้ งประตูระบายน้ำหัวงานและอาคารประกอบ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ตดิ ตั้งบานระบายนำ้ ชนิดบานตรง จำนวน 8 ช่อง ขนาดกว้าง 8.00 เมตร สูง 7.00 เมตร อัตราการระบายน้ำ 920 ลูกบาศก์เมตร/วนิ าที - ระดบั ท้องนำ้ +142.00 เมตร (ระดบั นำ้ ทะเลปานกลาง) - ระดับหลงั ตอม่อ +156.00 เมตร (ระดับนำ้ ทะเลปานกลาง) - ระดบั เก็บกกั +150.00 เมตร (ระดับน้ำทะเลปานกลาง) - ระดับธรณี +144.00 เมตร (ระดบั น้ำทะเลปานกลาง) 2. งานระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ ครอบคลมุ พน้ื ทีช่ ลประทาน 44,211 ไร่ 4.2 วัตถปุ ระสงค์ เริ่มก่อสร้างงานประตูระบายน้ำหัวงานและอาคารประกอบ โครงการประตูระบายน้ำ บ้านห้วยทรายพร้อมระบบส่งน้ำ จังหวัดบึงกาฬ ในปี พ.ศ. 2559 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562 โดยมีวัตถุประสงค์ โครงการ ดังน้ี 1. เพ่ือบรรเทาอุทกภยั ในลุม่ นำ้ สงคราม 2. เพ่ือเป็นแหล่งเก็บกักน้ำในลำสงครามบริเวณบ้านห้วยทรายไว้ช่วยเหลือการอุปโภค บริโภคของประชาชนในเขตลุ่มน้ำ และการเพาะปลูกโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ให้แก่พ้ืนท่ีเพาะปลูกบางส่วน ของอำเภอโซ่พสิ ัย จงั หวัดบงึ กาฬ 3. เพ่ือเป็นแหล่งน้ำสำหรับการประมง เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และเพาะพันธ์ุปลา ชนดิ ต่าง ๆ 4. เพ่ือเป็นแหล่งท่องเท่ียวและพักผ่อนหย่อนใจของราษฎรบริเวณพ้ืนที่โครงการ และบริเวณใกล้เคียง 4.3 ข้นั ตอนการดำเนนิ การ งานก่อสร้างประตูระบายน้ำหัวงานและอาคารประกอบ โครงการประตูระบายน้ำ บ้านห้วยทรายพร้อมระบบส่งน้ำ จังหวัดบึงกาฬ ประกอบด้วย งานอาคารประตูระบายน้ำ งานอาคารควบคุม ประตูระบายน้ำ งานอาคารเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง งานอาคารโรงเก็บ Bulkhead Gate งานทำนบดิน งานถนนเข้าโครงการและภายในโครงการ งานขุดลอกลำน้ำเดิมด้านหน้าประตูระบายน้ำ งานก่อสร้างอาคาร สำนักงานและบ้านพักถาวร เป็นต้น ซ่ึงกำหนดไว้ในแบบรูปรายละเอียด นอกจากน้ียังมีรายการรายละเอียด งานที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแบบแต่มีความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้งานก่อสร้างเป็นไปตามเป้าหมาย โดยผู้ขอประเมินได้เสนอแบบรูปรายการเพิ่มเติมไว้ในใบแจ้งปริมาณงานและราคาพร้อมกำหนดรายละเอียด ดา้ นวศิ วกรรม (Specification) ทัง้ นไ้ี ด้มกี ารกำหนด วางแผน และควบคมุ การดำเนนิ งาน ดงั นี้ 1. ตรวจสอบความพรอ้ มของโครงการ พร้อมเสนองบประมาณ ผู้ขอประเมิน ได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาวางโครงการ ปี พ.ศ. 2553 และสำรวจ - ออกแบบ ปี พ.ศ. 2556 โครงการประตูระบายน้ำบ้านห้วยทรายพร้อมระบบส่งน้ำ จังหวัดบึงกาฬ ทำให้ทราบรายละเอียดงานที่ต้องดำเนินการเพ่ือให้บรรลุวัตถุประสงค์ ท้ังนี้ ก่อนการเสนอตั้งงบประมาณ รายจ่ายประจำปี เพ่ือเป็นค่าก่อสร้างงานภายใต้โครงการดังกล่าวก็จะต้องมีความพร้อมของโครงการ ในด้านวิศวกรรม ได้แก่ แบบก่อสร้าง รายละเอียดด้านวิศวกรรมต่าง ๆ เป็นต้น และความพร้อมด้านสังคม ได้แก่ การมสี ่วนร่วมของประชาชน พืน้ ทท่ี ีใ่ ชเ้ พื่อการก่อสรา้ ง เป็นตน้ จงึ ตอ้ งดำเนินการ ดงั นี้
11 1.1 ศึกษาข้อมูลรายละเอียดของสภาพภูมิประเทศ ลักษณะทางอุตุอุทกวิทยา และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากรายงานศึกษาวางโครงการประตูระบายน้ำบ้านห้วยทรายพร้อมระบบส่งน้ำ จังหวัดบึงกาฬ เพื่อพิจารณาการกำหนดกิจกรรมงานก่อสร้างนอกเหนือจากแบบก่อสร้างท่ีต้องดำเนินการ เพ่มิ เตมิ เพอ่ื ใหง้ านกอ่ สร้างบรรลวุ ัตถปุ ระสงค์ 1.2 ตรวจสอบและสำรวจสภาพพื้นที่ สภาพลำน้ำสงครามในบริเวณด้านเหนือและท้าย ทีต่ ้ังอาคารประตูระบายนำ้ โดยพจิ ารณากำหนดและวางองค์ประกอบงานทำนบดินชวั่ คราวป้องกันบ่อก่อสรา้ ง งานทำนบดนิ ชัว่ คราวปดิ กัน้ ลำนำ้ สงครามเพอ่ื ดำเนนิ งานขดุ ลอกลำนำ้ เดิมดา้ นหนา้ ประตูระบายนำ้ 1.3 เตรียมความพร้อมรายละเอียดแบบก่อสร้าง และรายการรายละเอียดทางด้าน วิศวกรรม (Specification) ใหส้ อดคลอ้ งกบั สภาพพ้ืนที่ ตำแหนง่ แนว อาคารชลประทานทีจ่ ะดำเนินการกอ่ สร้าง 1.4. จัดทำราคางานก่อสร้างให้เป็นไปตามมติ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพ่อื เสนอขอรบั การสนับสนนุ งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2. การเตรียมงานก่อนการก่อสร้าง 2.1 ดำเนินการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ โครงการ และประสานงานกับหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องและราษฎรในพ้ืนท่ีเพื่อให้ทราบถึงข้อมูลรายละเอียด และวตั ถปุ ระสงคใ์ นการดำเนนิ การ สามารถสร้างความเข้าใจและความรว่ มมือในการพัฒนาโครงการ 2.2 ตรวจสอบการใช้ท่ีดินของโครงการ การจัดหาท่ีดิน หนังสือยินยอมสละที่ดิน เพอื่ การพัฒนาแหลง่ นำ้ และการกำหนดแผนงานกอ่ สรา้ ง 2.3 การวางแผนงานก่อสร้าง ได้แก่ แผนปฏิบัติการก่อสร้าง แผนการใช้เคร่ืองจักร เคร่ืองมือ และแผนอัตรากำลัง ซง่ึ การตรวจสอบแบบก่อสร้างกับพื้นท่ีก่อสรา้ ง โดยดำเนินการเก็บข้อมูลสำรวจ ภมู ิประเทศ ค่าระดับดนิ และระดับน้ำในลำน้ำสงคราม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการ ก่อสรา้ ง ตอ้ งจดั ทำแผนรายการงานทต่ี อ้ งดำเนนิ การก่อสรา้ งใหเ้ ป็นข้นั ตอนและสอดคล้องกนั ทั้งโครงการ 2.4 การวางแผนการจัดหาวัสดุ และควบคุมคุณภาพ ซ่ึงวัสดุต้องมีคุณภาพถูกต้อง ตามขอ้ กำหนดในแบบกอ่ สรา้ ง สอดคล้องกับแผนงานกอ่ สรา้ ง ๓. การดำเนินการควบคุมงานกอ่ สรา้ ง งานจ้างก่อสร้างประตูระบายน้ำและอาคารประกอบ โครงการประตูระบายน้ำ บ้านห้วยทรายพรอ้ มระบบส่งน้ำ จงั หวัดบึงกาฬ เป็นงานจา้ งเหมาก่อสรา้ ง โดยมหี ้างหุ้นสว่ นจำกัด พนิ ิจอดุ รกอ่ สร้าง เป็นผู้รับจ้าง เน่ืองจากสภาพภูมิอากาศท่ัวไปในพ้ืนที่โครงการ อย่ใู นเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉยี งเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากสภาพอากาศของพื้นท่ีสามารถแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือฤดูฝนเริ่มตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนพฤศจิกายน ฤดูหนาวเร่ิมตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ และฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม จากข้อมูลการตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยา ของจังหวัดบึงกาฬ เฉล่ียรายปี 1,990 มิลลิเมตร ระยะเวลาที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานก่อสร้างอยู่ระหว่าง เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม ทำให้ระยะดำเนินการก่อสร้างมีอย่างจำกัด จึงต้องเตรียมความพร้อม เคร่ืองจักรเครื่องมือ บุคลากร เพื่อให้ดำเนินการได้โดยไม่หยุดชะงัก และจะต้องมีการกำหนดวางแผนงานก่อสร้าง ให้เหมาะสม ก่อนดำเนินงานจะต้องวางแนว ระดับ ขนาดของอาคาร ศึกษาข้อควรระวังและจุดอ่อนของงาน ซ่ึงจะทำให้งานล่าช้า เพื่อเตรียมดำเนินการเสียแต่เนิ่น ๆ หรือเตรียมการแก้ไขก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น และดำเนินการควบคุมดูแลคุณภาพงานในการก่อสร้าง เพ่ือให้งานก่อสร้างมีความมั่นคงแข็งแรง อยู่ในเกณฑ์ มาตรฐานที่กำหนด และใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์งานก่อสร้าง งานที่ต้องควบคุมและตรวจสอบงานระหว่าง การก่อสร้าง ได้แก่ 1) งานถากถาง 2) งานขุดเปิดหน้าดิน 3) งานอาคารประตูระบายน้ำและส่วนประกอบ 4) งานปลูกหญ้า 5) งานอาคารควบคุมประตูระบายน้ำ 6) งานอาคารเคร่ืองกำเนิดไฟฟ้าสำรอง 7) งานอาคาร
12 โรงเก็บ Bulkhead Gate 8) งานทำนบดิน 9) งานถนนเข้าโครงการและภายในบริเวณโครงการและอาคาร ประกอบ 10) งานขุดลอกลำน้ำเดิมด้านหน้าประตูระบายน้ำ 11) งานระบบไฟฟ้ากำลังและไฟฟ้าแสงสว่าง ภายในโครงการ 12) งานอาคารสำนกั งานและบา้ นพัก 4. การตรวจสอบและรายงานความก้าวหนา้ โครงการ โดยการตรวจสอบควบคุมดูแลและการรายงานผลการปฏิบัติงานงาน จ้างก่อสร้าง ประตูระบายน้ำและอาคารประกอบ โครงการประตูระบายน้ำบ้านห้วยทรายพร้อมระบบส่งน้ำ จังหวดั บึงกาฬ ในรูปแบบการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่โครงการได้รับงบประมาณ การรายงานก่อน การก่อสร้าง รายงานระหว่างการก่อสร้าง จนถึงก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จหรือปิดงานก่อสร้าง รายงานเหล่าน้ี จะเป็นหลักฐานบันทึกวิธีการทำงานและบันทึกผลงานโครงการ เพ่ือส่งให้หน่วยงานซึ่งมีหน้าท่ีติดตาม และประเมนิ ผลงานโครงการต่อไป 4.4 เปา้ หมายของงาน การก่อสร้างประตูระบายน้ำหัวงานและอาคารประกอบ โครงการประตูระบายน้ำ บา้ นห้วยทรายพรอ้ มระบบส่งน้ำ จงั หวัดบึงกาฬ ซง่ึ กอ่ สร้างแล้วเสรจ็ ในปี พ.ศ. 2562 สามารถช่วยบรรเทาปญั หา อุทกภัยและภัยแล้งให้กับราษฎรในเขตพ้ืนท่ีอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท้ังนี้ ยังเป็น แหล่งเกบ็ กักน้ำต้นทุนสำหรบั กระจายน้ำใหก้ บั พื้นท่ชี ลประทานท่จี ะเกดิ ขึน้ ในอนาคตประมาณ 44,211 ไร่ 4.5 ส่วนของงานท่ีผ้ขู อรับการประเมินเป็นผปู้ ฏบิ ตั ิ ผู้ขอประเมิน ได้กำหนดรูปแบบรายละเอียดงานทำนบดินชั่วคราวป้องกันบ่อก่อสร้าง และควบคุมงานก่อสร้าง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาระหว่างก่อสร้าง งานจ้างก่อสร้างประตูระบายน้ำ และอาคารประกอบ โครงการประตูระบายน้ำบา้ นหว้ ยทรายพรอ้ มระบบสง่ นำ้ จงั หวดั บงึ กาฬ ดังนี้ 1. บูรณาการและประสานงานกับสำนักบริหารโครงการ สำนักสำรวจด้านวิศวกรรม และธรณีวิทยา และสำนักออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม เพื่อพิจารณาการศึกษาวางโครงการ สำรวจ - ออกแบบ และการมีส่วนร่วมของประชาชน เพ่ือให้ได้ผลงานท่ีมีคุณภาพตามหลักวิศวกรรมก่อสร้างได้ สอดคลอ้ งกบั ความตอ้ งการของราษฎร 2. กำหนดรูปแบบให้ข้อเสนอในการวางองค์ประกอบโครงการ โดยกำหนดรายการ ปริมาณงานและราคาทีไ่ มม่ ใี นแบบก่อสร้างไว้ในราคาโครงการ ไดแ้ ก่ 2.1 งานทำนบดินช่ัวคราวป้องกันบ่อก่อสร้าง โดยกำหนดรูปแบบให้มีตำแหน่ง ขนาด มิติ และระดับ โดยพิจารณาจาก Recommend slopes for small homogeneous earthfall dams on stable foundations. ของ DESIGN OF SMALL DAMS เน่ืองจากเป็นงานทำนบดินช่ัวคราวซึ่งจะร้ือย้าย เมื่อกอ่ สร้างประตรู ะบายน้ำแลว้ เสรจ็ เพอ่ื ใหส้ ามารถกอ่ สรา้ งไดม้ ่ันคงแขง็ แรงเป็นไปตามเป้าหมายทีว่ างไว้ 2.2 งานทำนบดินช่ัวคราวปิดลำน้ำสงคราม เพ่ือปิดกันน้ำในช่วงดำเนินงานขุดลอก ลำน้ำเดิมด้านหน้าประตูระบายน้ำ โดยกำหนดรูปแบบให้มีตำแหน่ง ขนาด มิติ และระดับ โดยพิจารณาจาก Recommend slopes for small homogeneous earthfall dams on stable foundations. ของ DESIGN OF SMALL DAMS เนื่องจากเป็นงานทำนบดินช่ัวคราวซึ่งจะร้ือย้ายเม่ือก่อสร้างประตูระบายน้ำแล้วเสร็จ เพือ่ ใหส้ ามารถกอ่ สร้างไดม้ น่ั คงแข็งแรงเป็นไปตามเป้าหมายทว่ี างไว้ 3. จัดทำราคาค่าก่อสร้างโครงการและรายละเอียดด้านวิศวกรรม โดยการคิดคำนวณ ปริมาณงานและราคาให้สอดคล้องครบถ้วนกับแบบก่อสร้างหรือตามข้อมูลสภาพพ้ืนท่ี และตามหลักเกณฑ์ ระเบียบ การคำนวณราคาเพอ่ื สะทอ้ นคา่ ใช้จ่ายทีเ่ กดิ ข้ึนจรงิ พร้อมเสนอขอรบั การจัดสรรงบประมาณ 4. พิจารณาความเหมาะสมด้านสังคมและการใช้ที่ดิน จำเป็นต้องดำเนินการตรวจสอบ รายการงาน/โครงการ ข้อมูลที่เก่ียวข้องเก่ียวกับงานจ้างก่อสร้างประตูระบายน้ำและอาคารประกอบ โครงการ
13 ประตูระบายน้ำบ้านหว้ ยทรายพรอ้ มระบบส่งน้ำ จังหวัดบึงกาฬ ได้แก่ การใช้ท่ีดินเพ่ือการกอ่ สร้าง การจัดหาที่ดิน หนังสือยินยอมสละที่ดิน การจัดต้ังกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพ่ือความคล่องตัวในการประสานงานก่อสร้าง ประสาน รายละเอียดเกี่ยวกบั แบบก่อสร้างร่วมกบั สำนักออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม กรมชลประทาน ซ่ึงเป็นแบบ ที่กรมชลประทานออกแบบเอง เก่ียวกับความสอดคล้องกับสภาพการใช้พื้นที่ปัจจุบัน และบูรณาการความร่วมมือ ระหว่างหนว่ ยงานของรฐั กับราษฎรซึ่งเป็นการช่วยสนบั สนนุ ด้านงานก่อสร้าง 5. พิจารณาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม โดยดำเนินการตรวจสอบสถานท่ีก่อสร้าง ข้อมูลต่าง ๆ เพ่ือให้ทราบหรอื ตรวจสอบถึงสิ่งต่าง ๆ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ สภาพหรือชนิดของดิน และระดับน้ำ ในลำน้ำ ระดับดินต่าง ๆ รายการและปริมาณงานท่ีมีความจำเป็นต้องกำหนดเพ่ิมเติมในปริมาณงานและราคา หรือกำหนดในเง่ือนไขเฉพาะ งานก่อสร้าง สภาพต่าง ๆ ในท้องถ่ิน วัสดุก่อสร้างช่างฝีมือ แรงงาน ขนบธรรมเนียมประเพณี ทางลำเลียง ระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อนำมาประกอบ การวเิ คราะห์ กำหนดเง่อื นไขเฉพาะงานก่อสร้าง กำหนดวธิ กี ารก่อสร้าง กำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 6. วางแผนงานก่อสร้าง แผนการจดั หาพัสดุ และควบคุมงานก่อสรา้ ง เป็นการดำเนนิ งาน ที่ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความรู้ด้านอุทกวิทยา ความรู้ด้านสำรวจภาคพื้นดิน ความรู้ด้านปฐพีกลศาสตร์และธรณีวิทยา ความรู้ด้านวิศวกรรมชลศาสตร์ ความรู้ด้านออกแบบ ความรู้ด้าน การก่อสร้าง ความรู้ด้านการบริหารงาน ความรู้ด้านการบริหารความเส่ียง ความรู้ด้านกฎหมาย ความรู้ด้าน ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ความรู้ด้านจิตวิทยา ซ่ึงการวางแผนงานกอ่ สร้าง ประกอบด้วย แผนการปฏิบตั ิงาน กอ่ สรา้ ง แผนการใชเ้ ครื่องจักรเคร่ืองมือ และแผนบคุ ลากร 7. รายงานความก้าวหน้าโครงการ รวบรวมปัญหาอุปสรรคและหาแนวทางการแก้ไข ให้ถูกต้อง พร้อมสื่อสารข้อมูลผลการดำเนินโครงการกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพอ่ื สรา้ งความเข้าใจและการมสี ว่ นรว่ ม 5. ผลสำเรจ็ ของงาน (เชงิ ปรมิ าณ/คุณภาพ) 5.1 ผลสำเร็จของงานเชิงปริมาณ ดำเนินการก่อสรา้ งประตูระบายนำ้ หวั งานและอาคารประกอบ โครงการประตรู ะบายน้ำ บ้านห้วยทรายพร้อมระบบส่งน้ำ จงั หวัดบงึ กาฬ แล้วเสร็จ จำนวน 1 แห่ง 5.2 ผลสำเร็จของงานเชิงคุณภาพ 1. ในช่วงระหว่างการก่อสร้างประตูระบายน้ำหัวงานและอาคารประกอบ โครงการ ประตูระบายน้ำบ้านห้วยทรายพร้อมระบบส่งน้ำ จังหวัดบึงกาฬ สามารถปฏิบัติการก่อสร้างได้อย่างต่อเนื่อง เปน็ ไปตามแผน ไม่เกดิ ปัญหานำ้ ทว่ มบอ่ สรา้ ง 2. งานก่อสร้างประตูระบายน้ำหัวงานและอาคารประกอบ โครงการประตูระบายน้ำ บ้านห้วยทรายพร้อมระบบส่งน้ำ จังหวัดบึงกาฬ มีความม่ันคงแข็งแรง สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง และชว่ งระยะเวลาฝนทง้ิ ช่วงได้อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ 6. การนำไปใช้ประโยชน์/ผลกระทบ การกำหนดรูปแบบรายละเอียดงานทำนบดินช่วั คราวป้องกันบ่อก่อสร้าง และควบคุมงานก่อสร้าง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาระหว่างก่อสร้าง งานจ้างก่อสร้างประตูระบายน้ำและอาคารประกอบ โครงการ ประตูระบายน้ำบ้านห้วยทรายพรอ้ มระบบสง่ น้ำ จังหวัดบึงกาฬ สามารถนำไปใชเ้ ป็นแนวทางในการเตรยี มงาน กอ่ สร้างและแกไ้ ขปัญหาการปอ้ งกนั น้ำท่วมบ่อกอ่ สรา้ ง ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาไดร้ วดเร็ว จนไม่เป็นอุปสรรค ในการปฏิบัติการก่อสรา้ ง
14 7. ความยุ่งยากและซบั ซ้อนในการดำเนนิ การ การดำเนินงานก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านห้วยทรายและอาคารประกอบ อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ น้ัน ในการดำเนินงานโครงการได้มีการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาความเหมาะสมโครงการ ด้านการสำรวจ ออกแบบ พร้อมได้มีการทำการมีส่วนร่วมกับราษฎรและหน่วยงานในพื้นที่ ทำให้ราษฎร และหน่วยงานในพื้นที่เกิดความรู้ ความเข้าใจโดยให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และมีความต้องการให้กรมชลประทาน ดำเนินงานโครงการดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าโครงการสามารถจะช่วยแก้ไขและบรรเทาปัญหาเร่ืองการขาดแคลน นำ้ อุปโภคบริโภค อุทกภัยในพ้ืนท่ีและเร่ืองภัยแลง้ ท่ีเกิดข้ึนแทบทุกปี ดังนั้นจึงร้องขอให้เร่งรดั ดำเนินงานโครงการ ซ่ึงกรมชลประทานได้รับงบประมาณดำเนินงานโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน จึงได้เร่งดำเนินงานโครงการ เพ่ือให้งานก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จโดยเร็วและสามารถใช้ ประโยชนจ์ ากโครงการได้ จากการดำเนินงานโครงการน้นั ไดม้ ีความยุ่งยาก ปัญหา อุปสรรค ของโครงการ ดงั น้ี 7.1 เร่ืองการดำเนินงานเร่ืองการจัดหาที่ดินโครงการ เป็นปัญหาสำคัญในการก่อสร้าง จากการตรวจสอบที่ดินของบริเวณพื้นท่ีก่อสร้างพบว่าเป็นพ้ืนท่ีภายใต้พื้นท่ีในการบริหารจัดการของสำนักงาน ปฏิรูปที่ดินเพ่ือเกษตรกรรม ฉะนั้นต้องเร่งรัดขอใช้ท่ีดินของราษฎรในพ้ืนที่ก่อนรับอนุญาตให้ใช้ที่ดินก่อน แล้วจึงทำเร่ืองขออนุญาตใช้ท่ีดินสำนักงานปฏิรูปที่ดินในพื้น ท่ีจังหวัดตรวจสอบก่อนจึงสามารถส่งเร่ืองให้ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพ่ือการเกษตรกรรมส่วนกลาง พิจารณาอนุญาตให้ดำเนินการพ้ืนท่ีโครงการดังกล่าว ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานจากการประสานงานและความร่วมมือของราษฎรในพื้นที่ หน่วยงานสำนักงานปฏิรูป ที่ดินในพื้นที่ และสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพ่ือเกษตรกรรมส่วนกลาง ได้ช่วยเร่งรัดดำเนินงานเรื่องท่ีดิน จึงทำให้ ได้รับการอนญุ าตใหใ้ ชพ้ ืน้ ที่ไดเ้ ร็วขึ้นทำให้สามารถดำเนนิ งานก่อสร้างได้ 7.2 เรื่องการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบ่อก่อสร้าง พื้นที่ก่อสร้างโครงการ จะได้รับอิทธิพล และผลกระทบจากพายุและมรสุมที่มักผ่านประเทศเป็นจำนวนมากทำให้เกิดฝนตกหนักจนเกิดปัญหาอุทกภัย โดยเฉพาะบริเวณกอ่ สร้างและพื้นท่ีโดยรอบงานกอ่ สร้างโครงการในเขตจังหวัดบึงกาฬ เกิดปัญหาน้ำท่วมพ้ืนที่ ปริมาณน้ำฝนน้ำท่าที่ได้ไหลลงสู่แม่น้ำสงครามเป็นจำนวนมาก ระดับน้ำแม่น้ำสงครามในช่วงเวลาดังกล่าว มีระดับน้ำสูงข้ึนทุกวัน และกระแสน้ำไหลผ่านรุนแรงมากขึ้น สภาพทำนบดินช่ัวคราวท่ีสร้างโอบป้องกันบ่อก่อสร้าง ไว้ มีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถรับกับกระแสน้ำและระดับน้ำในแม่น้ำสงครามท่ีสูงขึ้นทุกวันได้ จึงจำเป็นต้อง พิจารณาให้มีการยกระดับทำนบดินช่ัวคราวที่สร้างโอบป้องกันบ่อก่อสร้างสามารถป้องกันน้ำท่วมบ่อก่อสร้างได้ สำเร็จ ทำให้งานก่อสร้างอาคารประตูระบายน้ำ สามารถดำเนินการได้ โดยไม่เกิดปัญหาเรื่องน้ำท่วมบ่อก่อสร้าง ฉะนั้นในการก่อสร้างจำเป็นต้องติดตามสภาวการณ์สภาพภูมิอากาศ สภาพอากาศ และสภาพแวดล้อม รอบพื้นที่ กอ่ สร้างในการตัดสินใจดำเนนิ การแก้ไขปัญหาดว้ ย 8. ปัญหาและอปุ สรรคในการดำเนนิ การ 8.1 การป้องกันแกไ้ ขปญั หานำ้ ทว่ มบอ่ ก่อสรา้ ง ในงานจ้างก่อสร้างประตูระบายน้ำและอาคารประกอบ โครงการประตูระบายน้ำ บ้านห้วยทรายพร้อมระบบส่งน้ำ จังหวัดบึงกาฬ เป็นงานก่อสร้างในพ้ืนท่ีบริเวณแม่น้ำสงคราม ซ่ึงมีปริมาณ น้ำมากพ้ืนท่ีรับน้ำมาก ซ่ึงครอบคลุมพ้ืนท่ี 5 จังหวัด มีปริมาณฝนตกเฉล่ียทั้งปีสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ มปี ริมาณฝนตกเฉลย่ี ในพื้นท่ีท้งั ปี 1,990 มิลลิเมตร ประกอบกับแผนงานดำเนินการก่อสร้างใช้ระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2562) บริเวณพ้ืนท่ีก่อสร้างเป็นพ้ืนท่ีลาดเอียงลงสู่แม่น้ำสงคราม เป็นพื้นท่ีลุ่มเป็นแอ่งต่ำ ช่วงฤดฝู นน้ำในแม่น้ำสงครามจะไหลเข้าท่วมพน้ื ทบี่ ริเวณก่อสรา้ งท้ังหมด และท่วมขังอยเู่ ป็นเวลา 2 - 3 เดือน (เดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคม) ของทุก ๆ ปี ฉะน้ันก่อนการก่อสร้างได้ลงพื้นที่ตรวจสอบสภาพพ้ืนท่ีและระดับน้ำ สูงสุดที่เกิดกับราษฎรในพื้นท่ี ข้อมูลปริมาณน้ำฝน และข้อมูลน้ำท่าจากรายงานการศึกษาความเหมาะสม
15 ของโครงการ พบว่าพ้ืนที่ก่อสร้างอยู่ติดกับลำน้ำสงคราม ในช่วงฤดูน้ำหลากจะมีมวลน้ำจากลำน้ำไหลล้นตลิ่ง ท่วมพื้นที่ก่อสร้างเป็นประจำทุกปี สูง 1 - 2 เมตร และหากปีใดได้รับอิทธิพลและผลกระทบจากพายุ และมรสุมที่ผ่านมากกวา่ ปกติ ปรมิ าณน้ำฝนทต่ี กสง่ ผลให้น้ำท่าไหลลงส่ลู ำนำ้ สงครามเป็นจำนวนมาก ระดบั น้ำ ในลำน้ำสงครามในช่วงเวลาดังกล่าวมีระดับน้ำสูงขึ้น จึงได้มีการกำหนดแบบรูปรายการงานทำนบดินช่ัวคราว ป้องกันบ่อก่อสร้าง ดังรูปท่ี 7 พร้อมมีการหารือวางแผนงานกับผู้เกี่ยวข้องก่อนเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ดังรูปที่ 8 – 10 ประกอบด้วย งานขุดเปิดหน้าดิน งานดินถมบดอัดแน่นไม่น้อยกว่า 85% Standard Proctor Compaction Test จากระดับดินเดิม (ระดับ +152.00 เมตร (ระดับน้ำทะเลปานกลาง)) ขึ้นมาท่ีระดับ +155.00 เมตร (ระดับน้ำทะเลปานกลาง) โดยมีขนาดความกว้างสันทำนบดิน 6.00 เมตร ลาดด้านหน้า 2.5 : 1 ลาดด้านท้าย 2 : 1 ความยาว 520 เมตร พร้อมผิวบนสันทำนบดินบดอัดแน่นด้วยดินลูกรังไว้ เพ่ือใช้เป็นทาง ลำเลียงโดยรอบด้วยมีพ้ืนท่ีก่อสร้างประมาณ 214 ไร่ ซง่ึ เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ จากนั้นพิจารณาให้เร่ิมขุดดินบ่อ ก่อสร้างเฉพาะในส่วนของงานก่อสร้างอาคารประตูระบายน้ำก่อน เพื่อจะสามารถเริ่มงานก่อสร้างประตูระบายน้ำ และทำให้การระบายน้ำเฉพาะพ้ืนที่ก่อสร้างอาคารประตูระบายน้ำ โดยไม่ต้องระบายน้ำจากพ้ืนที่ทั้งหมดทำให้ ลดค่าใช้จ่ายเร่ืองค่าสูบน้ำในระหว่างการก่อสร้างได้และในช่องระหว่างการดำเนินงานประตูระบายน้ำ สามารถ เร่ิมการขุดช่องลัดและทางระบายน้ำด้านท้ายประตูระบายน้ำควบคู่กันไป พร้อมกับการระบายน้ำจากพ้ืนท่ี ก่อสร้างลงสู่แม่น้ำสงครามได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำท่ีร่ัวรอบบ่อก่อสร้างไม่เป็นปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ดงั รูปที่ 11 – 13 รูปท่ี 7 ขนาด มิติ และระดบั งานทำนบดนิ ชว่ั คราวป้องกันบ่อก่อสรา้ ง รูปท่ี 8 นำเสนอรายการรายละเอยี ดงานทำนบดนิ ชว่ั คราวป้องกนั บ่อก่อสรา้ ง
16 รปู ท่ี 9 หารอื ร่วมกับผู้เกย่ี วข้องในการวางแผนงานก่อสรา้ งทำนบดินช่ัวคราวป้องกันบ่อสรา้ ง รปู ท่ี 10 ระดับนำ้ แม่น้ำสงครามเพมิ่ สูงขึน้ มีผลกบั การพิจารณาวางแผนงานกอ่ สรา้ งทำนบดินชว่ั คราว
17 รูปที่ 11 ทำนบดนิ ช่วั คราวปอ้ งกันบ่อสร้าง รปู ที่ 12 งานบดอดั แน่นหลังทำนบดินชวั่ คราวป้องกนั บ่อสร้าง
18 รูปที่ 13 ลาดเอียงดา้ นท้ายทำนบดนิ ชัว่ คราวป้องกันบ่อสร้าง ตดิ แม่น้ำสงคราม 8.2 การก่อสรา้ งทำนบดินปิดกั้นลำนำ้ เดิม ผู้ขอประเมิน ได้วางแผนงานก่อสร้างทำนบดินปิดก้ันลำน้ำเดิมในช่วงที่แม่น้ำสงคราม มีระดับน้ำต่ำสุด ปริมาณน้ำในพ้ืนที่ก่อสร้างทำนบดินปิดก้ันลำน้ำเดิมมีค่อนข้างน้อยหรือไม่มี เม่ือก่อสร้างอาคาร ประตูบายนำ้ ใกล้จะแล้วเสรจ็ และเขา้ สชู่ ่วงฤดูแลง้ ซง่ึ ทำนบดินปิดกั้นลำน้ำเดิมดังกล่าวจะถูกใชใ้ หม้ กี ารผันน้ำ แม่น้ำสงครามผ่านช่องลัดบริเวณประตูระบายน้ำแทนลำน้ำแนวเดิม ฉะน้ันในการก่อสร้างจะต้องดำเนินการ อย่างรอบคอบถูกต้องตามแบบรูป รายละเอียด ข้อกำหนดในการก่อสร้าง ทั้งนี้ต้องดำเนินการก่อสร้างทำนบดิน ชั่วคราวรอบบ่อก่อสร้างทำนบดินปิดกั้นลำน้ำเดิมทางด้านเหนือและด้านล่างของทำนบดินปิดกั้นลำน้ำเดิม แม่น้ำสงครามเสียกอ่ น เพื่อป้องกันน้ำจากแม่น้ำสงครามไหลเข้าบ่อก่อสร้างทำนบดินปิดกั้นลำน้ำเดิม และเมื่อ ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย จึงทำการสูบน้ำออกจากพื้นท่ีบ่อก่อสร้างให้แห้งไม่ให้เป็นอุปสรรคในการทำงาน จากนั้นทำผงั บริเวณก่อสร้างพร้อมทัง้ วางแนว ระดบั ให้เป็นไปตามแบบรปู และดำเนินการในการขดุ ลอกหนา้ ดิน ฐานรากออกจากพนื้ ที่จนถึงฐานรากทเ่ี ปน็ ช้ันหินทสี่ ามารถรับนำ้ หนักได้ ทำการขุดร่องแกนของทำนบดินปิดก้ัน ลำน้ำเดิมตามที่แบบรูปกำหนด พร้อมท้ังเก็บเศษดิน เศษหนิ ในบริเวณฐานรากให้สะอาด เพื่อดำเนินงานดินถม บดอัดแน่นทำนบต่อไป ผู้ขอประเมินพิจารณาแบบรูปงานก่อสร้างทำนบดินปิดก้ันลำน้ำเดิมพบว่ากำหนด การถมบดอัดแน่นดินเป็น Zone ในแต่ละ Zone กำหนดดินที่จะนำมาใช้ถมบดอัดแน่นต้องเป็นดินที่ได้รับ การคัดเลือก (Selected Material) แล้วจึงจำเป็นต้องตรวจสอบก่อนนำไปใช้งาน ต้องจัดหาดินที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมแต่ละ Zone มาทำการบดอัดแน่นตามที่กำหนดในแบบ รูปรายการ ดินที่ได้คัดเลือกแล้ว ตอ้ งทำการขุดขนย้ายแยกกองต่างหากจากวสั ดุอื่น พร้อมนำการขนย้ายไปใช้งานได้ ดินทน่ี ำมาใชถ้ มบดอัดแน่นนั้น ต้องมีความช้ืนถูกต้องตามข้อกำหนด การบดอัดต้องบดอัดอย่างสม่ำเสมอตลอดผิวหน้า เพื่อให้มีความแน่น เปน็ เนือ้ เดียวกันตลอด ดงั รปู ที่ 14 – 15 การถมดนิ บดอัดใหป้ ฏบิ ตั ิ ดงั นี้
19 1. ดินท่นี ำมาใช้บดอดั ต้องได้รับการผสมคลุกเคลา้ ให้เขา้ กันเป็นอยา่ งดีเพอ่ื ที่จะได้ดนิ ท่ี มีคุณภาพสงู 2. เศษหิน หรือก้อนดินแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 15 เซนติเมตร ต้องถูกเก็บท้ิงไปก่อน การบดอัด 3. การถม ให้ถมเกลี่ยเป็นชั้นๆ ในแนวราบ 4. การถมดินแต่ละชัน้ ก่อนบดอัดไมห่ นากวา่ 30 เซนตเิ มตร 5. ช้ันดนิ แตล่ ะช้นั เม่ือทำการบดอดั แลว้ หนาไมเ่ กิน 15 เซนติเมตร 6. ความช้ืนของการบดอัดดินแต่ละช้ันอนุโลมให้มีความคลาดเคลื่อนได้ไม่มากกว่า และไมน่ ้อยกว่า 2 เปอรเ์ ซน็ ต์ จากความช้ืนสงู สดุ ท่ีได้ความหนาแน่นมากที่สดุ (Optimum Moisture Content) 7. ในขณะทำการถมบดอัดดินแต่ละช้นั จะต้องควบคุมความช้ืนให้อยูใ่ นช่วงที่กำหนดให้ ถ้าหากความชื้นในดินต่ำกว่าที่กำหนด (Standard Optimum Moisture Content) ต้องทำการให้น้ำเพ่ิมเติม ถ้าหากความช้ืนในดินมีมากเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว จะต้องชะลอการบดอัดไว้จนกว่าความช้ืนจะลดลงมา อยู่ในเกณฑ์ทก่ี ำหนดให้ จึงจะทำการบดอัด วิธีการเรง่ ให้ดินแห้งเร็วขึ้นจนถึงระดับความชื้นท่ีต้องการอาจจะต้อง ทำการไถคราดผวิ หน้า หรือทำการขดุ ลอกผวิ หน้าทีเ่ ปียกมากเกนิ ไปออกเสีย ก่อนที่จะทำการบดอัดดนิ ชั้นต่อไป ถ้าหากพบว่าหน้าดินท่ีบดอดั เสร็จแล้วมีความแห้งมากเกินไปจะต้องทำการไถคราดผิวหน้าดินแล้วพรมน้ำให้เปียก เสียก่อน ในทุกกรณีก่อนที่จะถมบดอัดแต่ละชั้น ผิวหน้าดินช้ันล่างที่เป็นดินถมหรือเป็นดินตามธรรมชาติก็ดี จะต้องทำการคราดผวิ หน้าให้มีความขรุขระเสียก่อนทกุ คร้งั ท้ังน้เี พื่อให้เน้ือดินชั้นใหมแ่ ละชั้นเก่าจับตัวประสาน เปน็ เนือ้ เดียวกนั 8. ขนาดของพ้ืนที่ที่จะถมบดอัดแตล่ ะชน้ั ควรมีพนื้ ท่กี ว้างขวางมากทส่ี ุดเท่าที่จะสะดวก แก่การปฏิบัติงานและเพ่ือที่จะลดจำนวนรอยต่อให้น้อยที่สุด ระดับของพื้นผิวของแต่ละชั้นควรจะรักษาให้อยู่ ในแนวใกล้เคียงกับระดับราบ และมีความลาดชันประมาณ 2 - 4 เปอร์เซ็นต์ ไปในทิศทางที่สะดวกในการระบาย น้ำฝน 9. ในส่วนที่เป็นดินทึบน้ำ (Impervious Zone) ความลาดชันตรงจุดรอยต่อไม่ควรให้ เกินกว่า 3 ต่อ 1 (แนวราบต่อแนวตั้ง) นอกเสียจากจะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรอื ผูค้ วบคมุ งาน ผวิ สัมผัสของรอยต่อทุกแห่งจะตอ้ งขดุ ตัดออกให้เป็นรอยใหม่ ต้องเกบ็ กวาดสว่ นที่หลดุ หลวม ออกให้หมดและไถคราดทำผิวให้ขรุขระ การบดอัดจะต้องทำการบดอัดเลยลึกเข้าไปในเขตที่บดอัดแล้วตลอดแนว รอยต่อเป็นระยะไม่น้อยกว่า 1 เมตร การปฏิบัติเช่นนี้ให้นำไปใช้กับการบดอัดแกนเข่ือน (Impervious Core) ท่ีติดกับฐานรากทม่ี ีความลาดเอยี ง เชน่ ในรอ่ งแกนด้วย 10. เม่อื ดำเนินการก่อสรา้ งทำนบดินปิดก้ันลำนำ้ เดมิ เสรจ็ ตามแบบรูปแลว้ จึงดำเนินงาน ปอ้ งกนั วางกดั เซาะบริเวณด้านลาด Slope ท้งั 2 ด้าน ตามแบบรูปและรายละเอียดท่ีกำหนด ดงั รปู ที่ 16 - 17
20 รปู ที่ 14 งานก่อสร้างทำนบดนิ ปิดกัน้ ลำน้ำเดิม รูปท่ี 15 การบดอัดดนิ ทำนบดนิ ปิดกน้ั ลำน้ำเดิม
21 รปู ท่ี 16 ทำนบดินปดิ กนั้ ลำนำ้ เดิม รูปท่ี 17 งานประตูระบายน้ำหวั งาน แลว้ เสรจ็
22 9. ขอ้ เสนอแนะ เมอ่ื กอ่ สร้างประตูระบายน้ำหวั งาน โครงการประตูระบายน้ำบ้านห้วยทรายพร้อมระบบส่งน้ำ จังหวัดบึงกาฬ แล้วเสร็จ จะสามารถใช้เป็นอาคารบังคับน้ำและกักเก็บน้ำในลำน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง หรือช่วง ระยะเวลาฝนทิ้งช่วง เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ช่วยบรรเทาปัญหาเร่ืองของอุทกภัย และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในพ้ืนที่ได้เป็นอย่างดี ซ่ึงตามผลการศกึ ษาระบุว่าจะมีพ้ืนท่ีได้รับประโยชน์จากโครงการประมาณ 70,800 ไร่ โดยสามารถพัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานได้ 44,211 ไร่ ผู้ขอประเมินเห็นว่าควรให้สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งรัดดำเนินงานเตรียมความพร้อมด้านวิศวกรรม และด้านสังคมเพ่ือให้สามารถดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำของโครงการโดยเร็วเพ่ือใช้เป็นเคร่ืองมือ ในการบริหารจดั การน้ำชว่ ยเหลือพืน้ ท่กี ารเกษตรให้ราษฎรตอ่ ไป 10. การเผยแพร่ผลงาน ทางเว็บไซต์ http://kromchol.rid.go.th/lproject/lsp4 ของสำนักงานก่อสรา้ งชลประทาน ขนาดใหญท่ ่ี 4 สำนักพัฒนาแหล่งนำ้ ขนาดใหญ่ กรมชลประทาน 11. ผูม้ สี ่วนร่วมในผลงาน 1. นายสมพร อารยชาติสกุล ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านควบคุมการ ก่อสร้าง) วิศวกรโยธาเช่ียวชาญ ทำหน้าที่ ให้คำปรึกษา แนะนำ งานก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพ เสร็จตาม เปา้ หมาย และนโยบายท่ีกำหนดไว้ สัดสว่ นผลงานร้อยละ 5 2. นายเสถียร แพงมา ตำแหน่ง นายช่างโยธาอาวุโส ทำหน้าที่ ร่วมตรวจสอบ แก้ไขปัญหา และอุปสรรค เร่งรัดการปฏิบัติงานก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงาน เกิดประสิทธิภาพ เสร็จตามเป้าหมาย ทก่ี ำหนดไว้ สัดสว่ นผลงานร้อยละ 10 3. นายนพดล ทาสีแก้ว ตำแหน่ง วิศวกรโยธาปฏิบัติการ ทำหน้าที่ ร่วมตรวจสอบ แก้ไข ปญั หาและอุปสรรค เร่งรัดการปฏิบัติงานก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงาน เกิดประสิทธิภาพ เสร็จตามเป้าหมาย ท่กี ำหนดไว้ สดั ส่วนผลงานร้อยละ 10 4. นายไพฑูรย์ กุลไทย (ผู้ขอประเมิน) ตำแหน่ง วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ ทำหน้าที่ กำหนดรูปแบบรายละเอียด คำนวณปริมาณงานและราคา พร้อมวางแผนงานก่อสร้างตรวจสอบ และอำนวยการงานก่อสร้าง รวมท้ังแก้ไขปัญหาอุปสรรคงานก่อสร้างต่าง ๆ ให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรม งานก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบรูป และปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรม เพ่ือให้งานก่อสร้างแล้วเสร็จ ตามเป้าหมายท่กี ำหนดไว้ เกดิ ประสทิ ธิภาพและประสิทธผิ ลของโครงการ สัดสว่ นผลงานร้อยละ 75 ขอรบั รองว่าผลงานดังกล่าวข้างต้นเป็นความจรงิ ทุกประการ (ลงช่อื )................................................. (นายไพฑรู ย์ กุลไทย) ผู้ขอประเมนิ วันที.่ .....................................................
23 ขอรับรองวา่ สัดสว่ นหรอื ลักษณะงานในการดำเนินงานของผ้เู สนอขา้ งต้นถูกต้องตรงกับความ เปน็ จรงิ ทกุ ประการ (ลงช่อื ) ...........เกษียณอายรุ าชการ........................ (ลงช่ือ) .............เกษยี ณอายุราชการ...................... (นายสมพร อารยชาติสกลุ ) (นายเสถยี ร แพงมา) ผูร้ ว่ มดำเนินการ ผู้ร่วมดำเนนิ การ วันที่ ..................................................................... วันท่ี ................................................................... (ลงชื่อ) .................................................................. (นายนพดล ทาสแี ก้ว) ผู้รว่ มดำเนินการ วนั ท่ี .....................................................................
24 การรบั รองผลงาน ไดต้ รวจสอบแล้วขอรับรองว่าผลงานดงั กลา่ วขา้ งต้นถูกต้องตรงกับความเปน็ จรงิ ทุกประการ 1. คำรบั รองของผู้บังคบั บัญชา ไดต้ รวจสอบผลงานของ นายไพฑูรย์ กุลไทย ทีเ่ สนอให้ประเมนิ แล้ว เห็นวา่ ถกู ต้องตรงตามความเปน็ จริงทุกประการ ความเห็นอื่น ๆ (ถา้ ม)ี ................................................................................................................................ (ลงชื่อ) .................................................. (นายเสริมชัย เซยี วศริ ถิ าวร) (ตำแหนง่ ) ผอู้ ำนวยการสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 5 (วันท)ี่ ................................................. 2. คำรับรองของผู้บงั คบั บัญชาเหนอื ขน้ึ ไป ............................................................................................................................. ........................................ (ลงชอื่ ) ................................................ (นายประพิศ จนั ทรม์ า) (ตำแหน่ง) อธบิ ดกี รมชลประทาน 5 (วนั ที่) ................................................ 3. คำรับรองของปลดั กระทรวง (กรณีขอประเมินระดบั เช่ียวชาญข้นึ ไป) ............................................................................................................................. .............................................. (ลงช่อื ) .................................................. (นายประยรู อนิ สกุล) (ตำแหน่ง) ปลดั กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (วันท)่ี ...................................................
25 เอกสารอ้างอิง Water resources technical publication. ( 1987). Design of small dams. USA.: United states department of the interior สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน. (2553). การศึกษาโครงการประตูระบายน้ำ บา้ นหว้ ยทราย. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มงานวางโครงการ 2 สว่ นวางโครงการ สำนักสำรวจด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา กรมชลประทาน. (2555). รายงานผลการเจาะ สํารวจปฐพีกลศาสตร์โครงการประตูระบายน้ำบา้ นห้วยทราย. กรุงเทพมหานคร : ส่วนปฐพีกลศาสตร์ ไพฑูรย์ กุลไทย. (2565). เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรผู้ปฏิบัติงานด้านก่อสร้าง ระดับต้น รุ่นท่ี 7 หัวขอ้ การวางแผนงานก่อสร้าง. กรงุ เทพมหานคร : ส่วนพัฒนาทรัพยากรบุคล สำนักบรหิ าร ทรพั ยากรบุคล
26 ภาคผนวก
Search
Read the Text Version
- 1 - 50
Pages: