Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วรรณคดียุคฟื้นฟู

วรรณคดียุคฟื้นฟู

Published by phuwadchloylom, 2022-03-18 13:10:49

Description: วรรณคดียุคฟื้นฟู

Search

Read the Text Version

E book วรรณคดียุคฟื้นฟู จั ด ทำ โ ด ย นายปัญญา วังภูงา

ลักษณะและภูมิหลังของวรรณคดีในยุคฟื้นฟู (สมัยธนบุรี - สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9)วรรณคดีเปรียบได้กับกระจกสะท้อนภาพ สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละยุคสมัย วรรณคดีในแต่ละยุคสมัยจะมีลักษณะอย่างไร ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในยุคสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นสภาพ เหตุการณ์บ้านเมือง เศรษฐกิจ ความเชื่อทางศาสนา และสังคมล้วนเป็นปัจจัยสำคัญใน การสร้างสรรค์วรรณคดี การทำความเข้าใจลักษณะและภูมิหลังทางสังคมและ วัฒนธรรมในยุคฟื้นฟูบ้านเมืองสมัยธนบุรีและรัชกาลที่ 9 แห่งรัตนโกสินทร์ ย่อมถือ เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำความเข้าใจวรรณคดี ซึ่งเป็นผลผลิตทางสังคมและ วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์วรรณคดีอย่างมาก รวมถึงแสดงลักษณะ เฉพาะของวรรณคดีสมัยธนบุรีและรัชกาลที่ ๑ แห่งรัตนโกสินทร์ได้เด่นชัดยิ่งขึ้น ลักษณะและภูมิหลังของวรรณคดีในยุคฟื้นฟู (สมัยธนบุรี-สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑)มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ๑.๑ อิทธิพลทางสังคมที่มีผลต่อวรรณคดีในยุคฟื้นฟู (สมัยธนบุรี - สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑) หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก เมื่อวันที่ ๗ เมษายนพ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากนั้นเพียง ๗ เดือน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงนำกองทัพจากเมืองจันทบุรียกมาตีกรุงศรีอยุธยา คืนได้แล้ว ทรงย้ายราชธานีมาตั้งอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาถูกทำลาย เสียหายเกินกว่าจะสามารถ บูรณะฟื้นฟูได้ นักประวัติศาสตร์ไทยกำหนดยุคนี้ว่า สมัยธนบุรี ซึ่งมีช่วงเวลาสั้นๆ เพียง ๑๕ ปีเท่านั้น (พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๒๕) สมัยธนบุรี เป็นยุคพื้นฟูวรรณคดีของชาติขึ้นมาใหม่ เนื่องจากวรรณคดีไทยได้ถูก ทำลายและกระจัดกระจายไปตามหัวเมืองต่างๆ ในสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ อย่างไรก็ดีวรรณคดีเหล่านี้มักจะมีต้นฉบับหลงเหลืออยู่ตามหัวเมือง สำคัญๆ เช่น นครศรีธรรมราชนครราชสีมา หรือพิษณุโลก เป็นต้น เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมดินแดนต่างๆ ให้กลับเข้ามารวมกันได้อีกครั้ง หนึ่งแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมวรรณคดีต่างๆ (รวมทั้งพระไตรปิฎก) จากหัวเมือง สำคัญ อาทิเมืองนครศรีธรรมราช มาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากนครศรีธรรมราชใน เวลานั้นได้รักษาแบบแผนต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ เช่น ละคร ของเจ้าพระยานครศรีธรรมราชจนเป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระ ราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติสำหรับแสดงละครใน ถือเป็นแนวทางการฟื้นฟู วรรณกรรมคดีที่สำคัญอย่างหนึ่งในสมัยนี้

๑.๒ ลักษณะของวรรณคดีในยุคฟื้นฟู (สมัยธนบุรี - สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑) วรรณคดีในยุคฟื้นฟู (สมัยธนบุรี - สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑) สภาพสังคมและ วัฒนธรรม ในสมัยนี้มีผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อการสร้างสรรค์วรรณคดี เนื่องจาก สถานการณ์ทางการเมือง ยังมีลักษณะการฟื้นฟูบ้านเมืองเป็นหลัก ศิลปะและวัฒนธรรมในยุคสมัยนี้ส่วนใหญ่จึง มีลักษณะ ของการฟื้นฟูและอนุรักษ์เช่นเดียวกับวรรณคดีในสมัยอยุธยา ลักษณะร่วมด้านองค์ ประกอบทาง วรรณศิลป์ของวรรณคดีใน ในสมัยนี้ สามารถแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ด้านเนื้อหา ภาษา และรูปแบบ ดังรายละเอียด ต่อไปนี้ ๑ เนื้อหาวรรณคดีไทยที่แต่งขึ้นในสมัยธนบุรีถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช มีหลากหลายประเภท เนื่องจากเป็นวรรณคดีในยุคฟื้นฟู ด้วยเหตุนี้จึงเป็นวรรณคดีที่ แต่งขึ้นเพื่อทดแทนวรรณคดีในสมัยอยุธยาที่สูญเสียไปคราวนั้น เช่น ในด้านบทละคร สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ขณะเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องราม เกียรติด้วย ซึ่งถือว่าเป็นฉบับที่มีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดเพื่อรักษาเนื้อเรื่องไว้ วรรณคดีศาสนาในรัชกาลที่ 9ได้มีการแปลวรรณคดีพระพุทธศาสนาขึ้นใหม่จำนวน มาก เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ มหาวงศ์ รัตนพิมพวงศ์ เป็นต้นหรือบางเรื่องก็เป็นการ เรียบเรียงใหม่ เช่น ไตรโลกวินิจฉัยกถาสำนวนที่ ๑ และ ๒ เป็นต้น ส่วนวรรณคดีนิราศก็ ปรากฎวรรณคดีที่มีเนื้อหาในลักษณะของนิราศจำนวนหลายเรื่อง เช่น นิราศกวางตุ้ง ของพระยามหานุภาพเพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อการอ่านและเพื่อนำมาใช้ประกอบการแสดงอื่นๆ เช่น ลิลิตศรีวิชัยชาดก สมบัติอมรินทร์คำกลอน กากีคำกลอน เป็นต้น รวมทั้งมีการ แปลวรรณคดีของประเทศอื่นๆ มาเป็นภาษาไทยด้วย เช่น เรื่องราชาธิราช สามก๊ก และ นิทานอิหร่านราชธรรม (นิทานสิบสองเหลี่ยม) เป็นต้น

๒ ภาษา ๒.๑ภาษาที่นำมาใช้แต่งวรรณคดีสมัยธนบุรีและสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช มี ๒ ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาบาลี มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ภาษาไทย ใช้ในการแต่งวรรณคดีทั่วไป เช่น วรรณคดีบทละครเรื่อง อิเหนา วรรณคดี นิราศเรื่อง นิราศกวางตุ้ง เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง เพลงยาวรบพม่าที่ นครศรีธรรมราช เพลงยาวเรื่องดีเมืองพม่า เป็นต้น ๒.๒ ภาษาบาลี มีการนำมาใช้แต่งวรรณคดีที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น เรื่องสังคีติ ยวงศ์ เรื่องมหายุทธกาลวงศ์และจุลยุทธกาลวงศ์ ผลงานของสมเด็จพระพนรัตน์ วัด พระเชตุพนฯ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส เป็นต้น ๓ รูปแบบ รูปแบบคำประพันธ์ที่ใช้ในการแต่งวรรณคดีสมัยธนบุรีถึงสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก-มหาราชสามารถจัดแบ่งได้ ๒ รูปแบบ คือ ๓.๑ ร้อยแก้ว ใช้ในการแต่งวรรณคดีที่แปลจากภาษาต่างประเทศ เช่น การแปล วรรณคดีพระพุทธศาสนาพงศาวดารมอญ พงศาวดารจีน และเรื่องราวทางพระพุทธ ศาสนาที่มีการเรียบเรียงขึ้นใหม่ รวมทั้งนิทานต่างๆเช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ มหาวงศ์ ราชาธิราช สามก๊ก ไซ่ฮั่น และนิทานอิหร่านราชธรรม เป็นต้น ๓.๒ ร้อยกรอง ใช้ในการแต่งวรรณคดีที่เป็นบทกวีที่มีความไพเราะงดงาม รูปแบบคำ ประพันธ์ที่ใช้มีหลายประเภท อาทิ กลอนอ่าน เช่น กากีคำกลอน สมบัติอมรินทร์คำ กลอน กลอนเพลงยาว ได้แก่ เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง พระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้น กลอนบทละคร เช่นบทละครเรื่องอุณ รุท บทละครเรื่องรามเกียรติ์ บทละครเรื่องดาหลัง บทละครเรื่องอิเหนา เป็นต้น บท ประพันธ์ที่มีลักษณะคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ได้แก่ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์สำนวน พระยาราชสุภาวดี นอกจากนี้ คำประพันธ์ประเภทลิลิต ซึ่งใช้ลักษณะคำประพันธ์ ประเภทโคลงประกอบกับร่าย เช่น ลิลิตเพชรมงกุฏ ลิลิตศรีวิชัยชาดก โคลงยอพระ เกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นต้นจากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ลักษณะสำคัญ ประการหนึ่งที่ถือเป็นลักษณะร่วมของวรรณคดีในยุคฟื้นฟูการอนุรักษ์และสืบทอด วรรณคดีในสมัยอยุธยา

๒. วรรณคดีสำคัญในยุคฟื้นฟู (สมัยธนบุรี - สมัยรัตนโกสินทร์ เหตุการณ์บ้านเมืองในสมัยธนบุรียังอยู่ในลักษณะที่เริ่มฟื้นตัวหลังจากเสียกรุง ศรีอยุธยาสถานการณ์ทางการเมืองจึงอยู่ในลักษณะของการฟื้นฟูบ้านเมืองเป็นหลัก ทั้งการเมือง การปกครองเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงศิลปะและวัฒนธรรมจึงได้รับ อิทธิพลสืบต่อจากสมัยอยุธยา วรรณคดีในยุคสมัยนี้ส่วนใหญ่มีลักษณะของการฟื้นฟู และอนุรักษ์ เพื่อสืบทอดและสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นสมบัติของชาติ ลักษณะเนื้อหามี ความเด่นชัดด้านการสะท้อนให้เห็นความจงรักภักดีต่อองค์ประมุขเป็นสำคัญ โดย เฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แม้จะมีสงครามกับต่างประเทศบ้างแต่ สภาพบ้านเมืองโดยรวมมีความสงบเรียบร้อยเศรษฐกิจของประเทศเริ่มมีความมั่นคง และเจริญก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ พระมหากษัตริย์จึงทรงทำนุบำรุงประเทศ และวาง รากฐานด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ส่งผลต่อการสร้างสรรค์วรรณคดีที่มีความ หลากหลายมากยิ่งขึ้นวรรณคดีสำคัญในยุคฟื้นฟู (สมัยธนบุรี - สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑) มีรายละเอียด ดังนี้

รามเกียรติ์ พระเจ้าตากสิน ๒.๑ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าตากสิน บทละครเรื่องรามเกียรติ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถือเป็นบท ละครที่มีความโดดเด่นทางด้านเนื้อหา ในการแต่งบทละครนั้นมีการคัดเลือกเนื้อหา ของวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เฉพาะบางตอน นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงพระราชบุคลิก ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถือเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการศึกษาทาง ประวัติศาสตร์ในสมัยธนบุรีได้ ๑ ผู้แต่งและสมัยที่แต่ง พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระราช นิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๓ ดังความในบานแพนก ดังต่อไปนี้ “วันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช ๑๑๓๒ (พ.ศ. ๒๓๑๓) ปีขาล โทศก พระราช นิพนธ์ทรงแต่ง ชั้นต้นเป็นปฐม ยังทราม ยังพอดีอยู่” ๒ จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อใช้เป็นบทละครสำหรับการแสดงละครใน หรือละครที่ แสดงโดยผู้หญิง ๓ รูปแบบคำประพันธ์ แต่งเป็นกลอนบทละคร ๔ เนื้อหาโดยสังเขป เนื้อหาของบทละครเรื่องรามเกียรติ พระราชนิพนธ์สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชมี ๔ เล่มสมุดไทย เรียงลำดับตามเวลาที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือ เล่ม ตอนพระมงกุฎเล่ม ๒ ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานรินจนท้าวมาลีวราชว่าความเล่ม ๓ ตอนที่ ๓ ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษาความจนทศกัณฐ์เข้าเมือง เล่ม ๔ ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรดลักษมณ์ต้องหอกกบิลพัท จนผูกผมทศกัณฐ์กับ นางมณโฑ หากจัดแบ่งตามลำดับเนื้อเรื่องสามารถแบ่งออกเป็น ๕ ตอน คือ ตอนที่ ๑ตอนหนุมานเข้าห้องนางวานริน ตอนที่ ๒ ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ ตอนที่ ๓ ทศกัณฐ์ตั้งพิธีเผารูปเทวดา ตอนที่ ๔ ตอนพระลักษมณ์ถูกหอกกบิลพัท ตอนที่ ๕ ตอนปล่อยม้าอุปการ

ลิลิตเพชรมงกุฎ ๒.๒ ลิลิตเพชรมงกุฎ วรรณคดีเรื่องลิลิตเพชรมงกุฎนี้ เป็นวรรณคดีที่นำเข้าเรื่องมาจากนิทานในเรื่องเวตาลปกรณ์ มีความโดดเด่นด้านข้อคิดและคติสอนใจเป็นสำคั ๑ผู้แต่งและสมัยที่แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งวรรณคดีเรื่องลิลิตเพชรมงกุฎเมื่อครั้ง ดำรงตำแหน่งหลวงสรวิชิต (หน) ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยนำนิทานใน เรื่องเวตาลปกรณัมมาเป็นโครงเรื่องตอนเวตาลเล่านิทานปริศนาเรื่องเจ้าฟ้าเพชรมงกุฏ ซึ่ง เป็นนิทานซ้อนนิทานเรื่องหนึ่งในนิทานเรื่องเวต ๒ จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อถวายพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเพื่อ แสดงความสามารถของกวี จัดเป็นวรรณคดีเพื่อการอ่ ๓ รูปแบบคำประพันธ์ แต่งเป็นกลอนบทละคร ๔ เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงท้าววิกรมาทิตย์เสด็จประพาสป่า จับได้เวตาลมาเป็นพาหนะ เวตาลทูลขอเล่านิทานถวาย ถ้าทรงตอบปัญหาได้จะขอยอมเป็นข้าตลอดชีวิตแต่ถ้าตอบไม่ได้ จะขอพระเศียรเวตาลจึงเริ่มนำนิทานเรื่องเพชรมงกุฎมาเล่า เพชรมงกุฏเป็นโอรสกษัตริย์ได้ เสด็จออกประพาสป่ากับพี่เลี้ยงชื่อพุฒศรี พระเพชรมงกุฏกับพุฒศรีหลงทางไปจนถึงเมือง กรรณบุรี ได้พบนางประทุมดี นางประทุมดีทำปริศนาแสดงว่าพอพระทัยพระเพชรมงกุฎพุฒ ศรีแก้ปริศนาให้ เพชรมงกุฏจึงลอบเข้าไปหาและได้นางเป็นชายา ต่อมาพุฒศรีจึงออกอุบาย ว่านางประทุมดีเป็นยักษ์ พระเจ้ากรุงกรรณหลงเชื่อจึงขับไล่นางออกจากเมือง เพชรมงกุฎ และพุฒศรีจึงพานางกลับเมือง เมื่อพระเจ้ากรุงกรรณทราบความจริงก็เสียพระทัยจน สวรรคต เมื่อเล่าจบเวตาลจึงถามท้าววิกรมาทิตย์ พระองค์จึงตอบได้ว่าบุคคลที่ต้องรับบาป คือพระเจ้ากรุงกรรณ เวตาลจึงยอมเป็นข้ารับใช้ต่อไ ๕ คุณค่า ลิลิตเพชรมงกุฏมีคุณค่า ดังต่อไปนี้ ๑. ด้านวรรณศิลป์ เรื่องลิลิตเพชรมงกุฏนี้เป็นวรรณคดีที่มีคุณค่าในด้านความงามความ ไพเราะ ใช้ถ้อยคำสละสลวย มีลีลาการแต่งคล้ายกับวรรณคดีเรื่อง ลิลิตพระลอ แต่ไม่ได้รับ ความนิยมแพร่หลายเทียบเท่าวรรณคดีเรื่อง ลิลิตพร ๒. ด้านวรรณคดี เรื่องลิลิตเพชรมงกุฎนี้เป็นคำประพันธ์ลักษณะร้อยกรองผสม ประกอบ ด้วยร่ายกั โคลงแต่งร้อยสัมผัสกันไป และบัญญัติบทนิพนธ์นี้ว่า ลิลิต ขึ้นเป็นครั้งแรกดังความตอนหนึ่ง ในร่ายนำเรื่องที่ว่ “ข้อยจะนิพนธ์ลิลิต โดยตำนานนิตยบุรำในปกรณ์เวตาล และนิทานเป็นประถม” และเรียกใน กาพย์ต่ โคลงท้ายเรื่องว่ © นิพันธ์สรรณลิลิต โดยในมิตรจิตทูลถว ไว้กระวีประชาชาย หลายเล่ห์ที่ชาญกลอ ๓. ด้านศีลธรรม คุณค่าด้านเนื้อหาประการสำคัญของวรรณคดีเรื่องนี้ คือ เป็นวรรณคดีเรื่อง แรกที่ เนื้อความและคติของเรื่องผิดแผกไปจากวรรณคดีไทยส่วนใหญ่ที่ได้อิทธิพลจากอินเดีย ซึ่ง ส่วนมากได้เค้าโครงเรื่องมาจากชาดกทางพระพุทธศาสนาวรรณคดีสันสกฤตเรื่องมหา กาพย์รามายณะและมหาภารตะ ส่วนลิลิตเพชรมงกุฎมีนายาอาบะลอปครานาลญ

อิเหนาคำฉันท์ ๒.๒ อิเหนาคำฉันท์ วรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาจากเรื่องดาหลังและอิเหนาในสมัยอยุธยา โดยตัดตอนเนื้อหา ตั้งแต่ตอนอิเหนาเผาเมืองดาหา อิเหนาในสำนวนนี้ยังแสดงถึงความนิยมและความ แพร่หลายของเรื่องอิเหนาในสมัยธนบุรี รวมถึงความหลากหลายของสำนวนการแต่งที่ เกิดจากการตีความเรื่องราวจากเค้าเรื่อง ของบทประพันธ์ที่มีความแพร่หลายในสังคม มีจุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่ออนุรักษ์ เนื้อหาของเรื่องไว้ไม่ให้สูญ แสดงถึงความสำคัญของวรรณคดีในฐานะมรดกทาง วัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ๑ ผู้แต่งและสมัยที่แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งวรรณคดีเรื่องอิเหนาคำฉันท์แต่ครั้งดำรงตำแหน่งหลวง สรวิชิต (หน) เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีกุน จุลศักราช ๑๑๔๑ พุทธศักราช ๒๓๒๒ เป็น ปีที่ ๑๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยนำเรื่องอิเหนาซึ่งเป็นนิทานของ ชวามาเป็นเค้าเรื่อง ๒ จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อรักษาเรื่องราวไว้ไม่ให้สูญหายและเพื่อแสดงความ สามารถในการแต่งฉันที ๓ รูปแบบคำประพันธ์ แต่งด้วยฉันท์และกาพย์ประเภทต่างๆ เช่น อินทรวิเชียรฉันท์ ๔ เนื้อหาโดยสังเขป เริ่มเรื่องตั้งแต่อิเหนาเผากรุงดาหาแล้วลักนางบุษบาไปซ่อนในถ้ำ จนอิเหนาได้นางบุษบา ฝ่ายเมืองตาหาเมื่อไฟดับแล้ว ท้าวดาหาทราบว่านางบุษบาหาย ไปก็คาดว่าอิเหนาเป็นตัวการ ส่วนจรกาเมื่อทราบว่านางบุษบาหายไปก็เตรียมยกทัพ ออกติดตามแต่ท้าวล่าสำห้ามไว้ จรกายังฝืนยกทัพออกไป จรกาได้พบสังคามาระตาจึง ถามข่าวอิเหนา สังคามาระตาจึงตอบว่าไปล่าเนื้อ จรกาจึงเล่าถึงเหตุร้ายที่เกิดขึ้น สังค ามาระตาจึงให้พี่เลี้ยงไปตามอิเหนา อิเหนาทราบเรื่องจึงลานางบุษบาเข้าไปแก้ข้อสงสัย ในเมือง เมื่ออิเหนาได้ยินเรื่องราว ที่จรกาเล่าให้ฟังก็กันแสงถึงนางบุษบา เรื่องราวในอิเหนาคำฉันท์จบเพียงเท่านี้ ๕ คุณค่า อิเหนาคำฉันท์มีคุณค่า ดังต่อไปนี้ ๑. ด้านวรรณคดี การสืบสานเรื่องอิเหนาไม่ให้สูญหาย เนื่องจากเดิมเจ้าฟ้ามงกุฎกับเจ้า ฟ้ากุณฑลได้ทรงแต่งไว้เป็นบทละครเรื่องดาหลังและอิเหนาในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรม โกศ แต่สูญหายไปหลังเสียกรุงศรีอยุธยา ๒. ด้านวรรณศิลป์ วรรณคดีเรื่องนี้มีคุณค่าในด้านความงามความไพเราะด้านสัมผัส อักษร โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการใช้โวหารในการพรรณนาความ

โคลงพระยอพระเกียรติ ๒๔.โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อสรรเสริญพระ เกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๔ วรรณคดีเรื่องนี้เป็นการบันทึกเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์สมัยธนบุรีที่น่าสนใจ ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญของวรรณคดีเรื่องนี้ ๑ ผู้แต่งและสมัยที่แต่ง นายสวน มหาดเล็ก แต่งเมื่อวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๓ นายสวนมหาดเล็กเจ้า จอมกษัตริย์ ๒ จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเพื่อแสดง ความจงรักภักดี ๓ รูปแบบคำประพันธ์ แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ ๔ เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงพระราชกรณียกิจสำคัญของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เช่น ยกทัพจาก เมืองจันทบุรีมาตีกรุงศรีอยุธยา เรื่องการย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี การปราบ เมืองนครศรีธรรมราช ปราบเมืองสวางคบุรี เมืองนครราชสีมา เป็นต้น และความงาม ของกรุงธนบุรี อาทิ การกล่าวถึงพระราชวัง ฉนวนน้ำโรงท้องพระลาน โรงสรรพายุทธ์ โรงช้าง โรงม้า โรงพระโอสถ ฯลฯ ๕ คุณค่า โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ เพราะเป็นเอกสารที่แต่งขึ้นในสมัยธนบุรี และมีเรื่องราวที่ไม่ปรากฏในเอกสารอื่น ๆ

กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ๒.๕ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ สำนวนธนบุรี กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ สำนวนธนบุรี เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาและจุดมุ่งหมายเพื่อ การสอนเป็นสำคัญ แม้วรรณคดีเรื่องนี้จะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนักเมื่อเทียบกับ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส แต่วรรณคดีเรื่องนี้ในสำนวนธนบุรีก็มีคุณค่าควรแก่การยกย่อง เนื่องจาก เป็นการรักษาวรรณคดีมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยามิให้เสื่อมสูญ รวมถึงแสดง โลกทัศน์ทางสังคมของกวี ๑ ผู้แต่งและสมัยที่แต่ง พระยาราชสุภาวดี และภิกษุอินท์ ร่วมกันแต่งขึ้นในระหว่าง พ.ศ. ๒๓๑๒ – ๒๓๑ ซึ่งเป็นเวลาที่พระยาราชสุภาวดีรับราชการอยู่ที่เมือง นครศรีธรรมราช ๒ จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อเป็นสุภาษิตสอนสตรี ๓ รูปแบบคำประพันธ์ แต่งด้วยฉันท์และกาพย์ประเภทต่าง ๆ ๔ เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงท้าวพรหมทัตแห่งเมืองพาราณสีมีพระธิดาสององค์ คือ นางกฤษณา และนางจิรประภา นางกฤษณามีภัสดา ๕ องค์ แต่สามารถปฏิบัติรับใช้ ภัสดาได้ดีมีความสุขส่วนนางจิรประภามีภัสดาเพียงองค์เดียวแต่บกพร่องในหน้าที่ของ ภรรยาจึงไม่สามารถอยู่กับภัสดาอย่างมีความสุข ๕ คุณค่า กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ สำนวนธนบุรีมีคุณค่า ดังต่อไปนี้ ๑. ด้านปัญญา วรรณคดีเรื่องนี้มีคุณค่าในด้านคำสอน เนื่องจากเนื้อหาของวรรณคดี กล่าวถึงคุณลักษณะของสตรีและภรรยาที่ดี ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตได้ ๒. ด้านสังคมและวัฒนธรรม วรรณคดีเรื่อง กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ สำนวนธนบุรี เป็นวรรณคดีที่มีจุดมุ่งหมายสำหรับการสอนเช่นเดียวกับสุภาษิต สอนความประพฤติ ของสตรีและการปฏิบัติหน้าที่ของภรรยาที่ดี ด้วยเหตุที่กวีประพันธ์วรรณคดีเรื่องนี้ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายในการสอน วรรณคดีเรื่องนี้จึงมีอิทธิพลทางความคิดต่อความ ประพฤติของคนไทยเป็นอย่างมาก ๓. ด้านวรรณคดี วรรณคดีเรื่องนี้ในสำนวนธนบุรีก็มีคุณค่าควรแก่การยกย่อง เนื่องจากเป็นการประพันธ์วรรณคดีที่มีเค้าเรื่องจากวรรณคดีในสมัยอยุธยา เพื่อรักษา เนื้อหาของวรรณคดีซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยามิให้เสื่อมสูญ ๔. ด้านอิทธิพลต่อกวีรุ่นหลัง วรรณคดีเรื่องนี้ในสำนวนธนบุรีแม้จะมีชื่อเสียงไม่เทียบ เท่าวรรณคดีที่มีเค้าเรื่องเดียวกันกับวรรณคดีบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในสมัยหลัง แต่เนื้อหาหลักก็ยังคงมีความคล้ายกันกับ วรรณคดีเรื่อง กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ สำรวยธนบุรีกกกกก

นิราศกวางตุ้ง ๒.๖ นิราศกวางตุ้ง นิราศกวางตุ้งเป็นวรรณคดีบันทึกเรื่องความสัมพันธ์ทางพระราชไมตรีระหว่างไทย กับจีน และธรรมเนียมการทูตไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังบรรยายถึงสภาพบ้านเมือง ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีน และประเพณีปฏิบัติของชาวเรือ รวมถึงยังมีคุณค่าทาง วรรณศิลป์โดยแสดงถึงพัฒนาการของขนบวรรณคดีนิราศที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่าง จากวรรณคดีนิราศเรื่องอื่นๆ ๑ ผู้แต่งและสมัยที่แต่ง พระยามหานุภาพ แต่งในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งเดินทางไป พร้อมกับคณะราชทูตไปประเทศจีนเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับพระจักรพรรดิเบี้ยนหลง เฉียนหลง) ณ กรุงปักกิ่งเมื่อ จ.ศ. ๑๑๔๓ หรือ พ.ศ. ๒๓๒๔ ๒ จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อเล่าเหตุการณ์ที่ได้พบเห็นระหว่างการเดินทาง ๓ รูปแบบคำประพันธ์ แต่งด้วยกลอนสุภาพ ๔ เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงตั้งแต่วันเวลาที่เดินทาง กระบวนเรือ เหตุการณ์และสิ่งที่ได้ พบเห็น เช่น พายการเซ่นไหว้เทพอารักษ์ เมืองกวางตุ้ง หญิงที่เมืองกวางตุ้ง ตลอดจน ประเพณีการห่อเท้าของหญิงชาวจีน และการเดินทางกลับ ๕ คุณค่า เรื่องนิราศกวางตุ้งมีคุณค่า ดังต่อไปนี้ ๑. ด้านประวัติศาสตร์ วรรณคดีเรื่องนี้ให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะใน เรื่องการเจริ สัมพันธไมตรีกับประเทศจีนสมัยธนบุรี รวมทั้งยังให้ความรู้เกี่ยวกับเส้นทางการเดินเรือ ตลอดจนกล่าวถึงวิถีชีวิ ๒. ด้านวรรณศิลป์ วรรณคดีนิราศเรื่องนี้ใช้ถ้อยคำสำนวนและลีลาของกลอนเรียบ ๆ เข้าใจง่าย กระบวนพรรณนาละเอียดลออ รวมถึงยังเป็นนิราศเรื่องแรกของไทยที่ใช้ ฉากต่างประเทศบรรยายการเดินทางทางทะเลจากประสบการณ์ของกวีเองและไม่เน้น การคร่ำครวญถึงหญิงคนรักตามธรรมเนียมนิราศที่มีมาในสมัยก่อน นอกจากนี้ วรรณคดีเรื่องดังกล่าวยังใช้ขนบการคร่ำครวญแบบวรรณคดีนิราศ โดยกล่าว สรรเสริญพระเกียรติของพระเจ้ากรุงธนบุรีในขณะเดินทาง วรรณคดีเรื่องนี้จึงมี ลักษณะเด่นที่เป็นการสรรเสริญพระบารมีของพระมหากษัตริย์ และบันทึกเรื่องราวการ เดินทางทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้เป็นอย่างดี

ปาจิตตกกุมารกลอนอ่าน ๒.๗ ปาจิตตกุมารกลอนอ่าน วรรณคดีเรื่อง ปาจิตตกุมารกลอนอ่านนอกจากจะมีความสำคัญด้านภาษาในฐานะที่ เป็นวรรณคดีกลอนอ่าน รวมถึงเป็นวรรณคดีศาสนาที่มีความนิยมแพร่หลายจนกลาย เป็นนิทานประจำถิ่นในบางท้องถิ่นแล้ว ยังแสดงถึงความแพร่หลายและความสัมพันธ์ ระหว่างคติทางพระพุทธศาสนากับตำนานพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี ๑ ผู้แต่งและสมัยที่แต่ง เป็นวรรณคดีศาสนาเรื่องหนึ่งที่ปรากฏว่าได้แต่งขึ้นในสมัย ธนบุรีและในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้นำเค้าโครงเรื่องมา จากปัญญาสชาดก ได้มีการนำมาผูกเรื่องเข้ากับตำนานเมืองพิมาย ทำให้เรื่องนี้น่า สนใจ นอกจากนี้ ยังปรากฏว่าได้มีการนำตำนานพื้นบ้านมาแทรกเอาไว้ด้วย แต่จาก สำนวนของหนังสือเรื่องนี้ถือได้ว่าเป็นสำนวนที่แต่งโดยผู้มีความรู้ ๒ จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อใช้สำหรับอ่านหรือสวด ๓ รูปแบบคำประพันธ์ แต่งด้วยกลอนอ่าน ๔ เนื้อหาโดยสังเขป นิทานเรื่องท้าวปาจิตต์เป็นนิทานที่มีเค้าเรื่องในคัมภีร์ปัญญาส ชาดกและเป็นที่นิยมของชาวเมืองพิมาย เมื่อมีการนำเอานิทานเรื่องนี้ไปเป็นเรื่องที่ แสดงประวัติความเป็นมาของคำว่า พิมาย ทำให้นิทานเรื่องนี้กลายเป็นนิทานประจำ ท้องถิ่น เนื้อหากล่าวถึงท้าวปาจิตต์เป็นโอรสกษัตริย์เมืองอินทรปัตถ์ได้เดินทางไปหาเนื้อคู่ของ ตน จนได้พบหญิงท้องคนหนึ่งตรงตามที่โหรทายไว้จึงขออาศัยและช่วยทำงาน จน หญิงนั้นคลอดบุตรสาวชื่อนางอรพิมพ์ ปาจิตต์ได้ช่วยดูแลและขอหมั้นไว้ ครั้นเมื่อนาง อรพิมพ์โตเป็นสาว ปาจิตต์ได้กลับไปเมืองเพื่อนำขันหมากมาสู่ขอ แต่ปรากฏว่าเมื่อมา ถึงนางอรพิมพ์กลับถูกท้าวพรหมทัตนำตัวไป ปาจิตต์จึงไปหานางที่เมือง นางอรพิมพ์ เห็นปาจิตต์กุมารจึงร้องว่า “พี่มา” (คำนี้ได้เพี้ยนเสียงกลางเป็นที่มาของชื่อ “พิมาย) ท้าวพรหมทัตหลงเชื่อจึงถูกปาจิตต์สังหาร ปาจิตต์ได้พานางอรพิมพ์หนี ต่อมาได้ พลัดพรากกัน แต่ภายหลังด้วยบุญเก่าจึงทำให้ได้กลับมาพบกันอีก ๕ คุณค่า ปาจิตตกุมารกลอนอ่าน มีคุณค่า ดังต่อไปนี้ ๑. ด้านภาษา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมกลอนอ่านเรื่องแรกที่ปรากฏหลักฐานใน ปัจจุบัน ๒. ด้านศาสนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นวรรณคดีที่สอดแทรกคำสอนทางศาสนาไว้มาก โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับคติความเชื่อเรื่องบุญกรรมทางพระพุทธศาสนา

อุณรุฑ ๒.๘ บทละครเรื่องอุณรุท พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บทละครเรื่อง อุณรุท พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็น วรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทย และเป็นที่รู้จักกันดีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ในชื่อ ว่าอนิรุทธคำฉันท์ วรรณคดีเรื่องนี้ได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์หริวงศ์ซึ่งเป็นวรรณคดี สันสกฤต ด้วยคุณค่าด้านวรรณศิลป์ที่มีความไพเราะสละสลวยเพียบพร้อมด้วยกลวิธี ทางวรรณศิลป์เป็นแบบฉบับให้แก่วรรณคดีรุ่นหลัง รวมถึงสะท้อนพิธีกรรมและคติความ เชื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูของไทย วรรณคดีเรื่องนี้ จึงนับว่าเป็นวรรณคดี ที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อสังคมและวัฒนธรรมไทยจนมีการแต่งให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นใน อีกสำนวนหนึ่งในยุคต่อมา ๑ ผู้แต่งและสมัยที่แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระราช นิพนธ์ร่วมกับกวีอื่นๆ เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย ขึ้น 5 ค่ำ จ.ศ. ๑๑๔๔ หรือ พ.ศ. ๒๓๓๐ ๒ จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อใช้เป็นบทละครสำหรับเล่นละครใน และเพื่อรวบรวมเรื่องอุณ รุทไว้ให้เป็นฉบับที่สมบูรณ์สำหรับพระนคร ๓ รูปแบบคำประพันธ์ แต่งด้วยกลอนบทละคร ๔ เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงพระเจ้ากรุงพานครองเมืองรัตนาได้ทำอุบายลอบเข้าชมนาง สุจิตรามเหสีของพระอินทร์พระอิศวรจึงทูลเชิญพระนารายณ์ให้อวตารเป็นพระบรมจักรก ฤษณ์ ครองเมืองณรงกา พระบรมจักรกฤษณ์มีโอรสชื่อพระไกรสุท ต่อมาพระไกรสุทมี โอรสชื่อ พระอุณรุท พระอิศวรโปรดให้นางสุจิตราไปเกิดในดอกบัวฤาษีสุธาวาสเก็บไป เลี้ยงไว้ตั้งชื่อว่า นางอุษา ต่อมาพระอุณรุทออกประพาสป่าแล้วได้บวงสรวงพระไทรพระ ไทรจึงอุ้มสมพระอุณรุทให้ได้กับนางอุษา ครั้นนางอุษาตื่นขึ้นได้คร่ำครวญหาพระอุณรุท นางศุภลักษณ์พี่เลี้ยงจึงวาดภาพเทพบุตรและพระโอรสเมืองต่าง ๆ ให้นางอุษาดู ครั้น ทราบว่าเป็นพระอุณรุท พระเจ้ากรุงพานแล้วรับพระอุณรุทกับอุษาไปอยู่ด้วยกันต่อมาพระ อุณรุทได้เสด็จออกคล้องช้างเผือกได้นางกินรีแล้วจึงเดินทางกลับพระนคร ๕ คุณค่า บทละครเรื่อง อุณรุท พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช มีคุณค่าดังต่อไปนี้ ๑. ด้านวรรณคดี วรรณคดีเรื่องนี้มีคุณค่าในด้านเนื้อหา เนื่องจากเป็นอุณรุทฉบับที่มีการ รวบรวมเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบได้อย่างสมบูรณ์ ๒. ด้านศิลปะการแสดง วรรณคดีเรื่องนี้เป็นบทละครที่ใช้ในการแสดงในพิธีต่างๆ โดย เฉพาะอย่างยิ่งการเล่นในพิธีสมโภชน์พระนคร ๓.ด้านความเชื่อ แสดงความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพระกฤษณะผู้เป็นพระนารายณ์อวตาร ซึ่ง แสดงให้เห็น ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในสังคมและวัฒนธรรมไทย

รามเกียรติ์ พระพุทธยอดฟ้า ๒.๙ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชบทละครเรื่องรามเกียรติ์นี้ พระราชนิพนธ์พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต ช่วยกันแต่งขึ้น และพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมีจุดมุ่งหมายในการรวบรวมเนื้อหา เรื่องรามเกียรติ์ให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ๑ ผู้แต่งและสมัยที่แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราช นิพนธ์ร่วมกับ กวีอื่น ๆ เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้ายขึ้น 5 ค่ำ จ.ศ. ๑๑๕๙ หรือ พ.ศ. ๒๓๔๐ ๒ จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อใช้เป็นบทละครสำหรับเล่นละครใน และเพื่อรวบรวมเรื่อง รามเกียรติ์ไว้ให้เป็นฉบับที่สมบูรณ์สำหรับพระนคร ๓ รูปแบบคำประพันธ์ แต่งด้วยกลอนบทละคร ตอนต้นเป็นร่ายดั้น ๑ บท ๔ เนื้อหาโดยสังเขป เนื้อเรื่องยาว ๑๑๗ เล่มสมุดไทย เริ่มตั้งแต่หิรันตยักษ์ม้วนแผ่นดิน พระนารายณ์อวตารเป็นหมูป่ามาปราบยุคเข็ญ จากนั้นจึงกล่าวถึงวงศ์ตระกูลของ พระราม วงศ์อสูรของทศกัณฐ์ กำเนิดทหารพระรามสงครามระหว่างพระรามกับทศ กัณฐ์ ไปจนถึงพระรามอภิเษกครองกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ๕ คุณค่า บทละครเรื่องรามเกียรติ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๖ มีคุณค่า ดังต่อไปนี้ ๑. ด้านวรรณคดี วรรณคดีเรื่องนี้มีคุณค่าในด้านเนื้อเรื่อง เพราะเป็นรามเกียรติ์ฉบับที่ รวบรวมเรื่องราวทั้งเนยต้นจนจบสมบูรณ์กว่าเรื่องรามเกียรติสำนวนอื่น ๒. ด้านวรรณศิลป์ บทประพันธ์มีความไพเราะทุกตอน แม้บทละครเรื่องนี้จะมีกวีร่วม กันแต่งหลายคน แต่ลีลาภาษามีความสอดคล้องกลมกลืนกัน มีการพรรณนาเนื้อความให้เกิดจินตภาพ ชัตเซน โดยเฉพาะอย่างบทสระสรงทรงเครื่อง และบทที่แสดงภาพการรบ บางตอนมี การเล่นสัมผัสอักษรเหมือนกลอนกลบท จึงถือว่าเป็นบทละครที่มีกลวิธีการประพันธ์ดี เยี่ยม ๓. ด้านสังคม มีการพรรณนาสอดแทรกวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์เช่น การแสดงมหรสพในงานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ เป็นต้น ๔. ด้านคติธรรมและคุณธรรม เนื้อหาของวรรณคดีมีการสอดแทรกข้อคิดที่แสดง คติธรรมและคุณธรรมให้กับผู้อ่าน เช่น หลักในการครองเรือนโดยกล่าวถึงชีวิตใน ครอบครัว หน้าที่ระหว่างพี่กับน้อง สามีกับภรรยา พ่อกับลูก ความซื่อสัตย์ต่อพระราช สวามีของนางสีดา ความกล้าหาญและความซื่อสัตย์ของหนุมาน ความอกตัญญูต่อ บิดาของทรพี ความไม่มีศีลธรรมของทศกัณฐ์ เป็นต้น

๕. ด้านความเชื่อ แสดงถึงอิทธิพลความเชื่อดั้งเดิมของอินเดียโบราณที่ส่งอิทธิพลต่อ สังคมและวัฒนธรรมไทย เกี่ยวกับชนชั้นวรรณะทั้งชนชั้นกษัตริย์นักรบที่มีบุญญาธิ การสืบเชื้อสายหรือเป็นองค์อวตารของเทพเจ้า หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าเทพเจ้าแบ่ง ภาคมาเกิด ดังนั้น จึงมีบุญญาธิการและความสามารถเหนือกว่าคนธรรมดาเช่น หนุมานเป็นโอรสของพระพายมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ รวมถึงอำนาจบารมีของพระราม ซึ่งเป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ คติความเชื่อดังกล่าวยังมี ความสำคัญในการสนับสนุนแนวคิดทางการเมืองในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ได้อีกด้วย ๖. ด้านการเมืองการปกครอง เนื้อหานอกจากจะให้ความเพลิดเพลินแล้ว ตัวละครใน เรื่องยังได้แสดงถึงคุณธรรมที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อคิดเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศ โดยสามารถกล่าวถึงข้อคิด ด้านการเมืองการปกครองโดยมีรายละเอียดในลำดับถัดไปพระรามถือเป็นตัวละครใน อุดมคติ เนื่องจากชีวิตของพระรามมีลักษณะเป็นปุถุชนที่เพียบพร้อมด้วยคุณงาม ความดี ได้ทำหน้าที่ครบถ้วนทั้งในฐานะเป็นบุตร โดยเชื่อฟังบิดาและยอมออกจากเมือง ในฐานะเป็นสามีทรงคุ้มครองภรรยาและต่อสู้เพื่ออิสรภาพของภรรยา ในฐานะเป็นพี่ ชายทรงมีคุณธรรมและประพฤติดีต่อน้องคือ พระลักษมณ์ ในฐานะผู้เป็นนายหรือผู้ บังคับบัญชากองทัพทรงเป็นผู้บังคับบัญชาในอุดมคติที่ตัดสินใจอย่างรอบคอบถี่ถ้วน รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างรอบด้าน

ดาหลัง ๒.๑๐ บทละครเรื่องดาหลัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องดาหลัง หรืออิเหนาใหญ่ขึ้น เดิมเป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้ากุณฑล พระธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่ฉบับเดิมสูญหายไปในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ จึงไม่มีต้นฉบับเหลืออยู่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงอาศัยเค้าเรื่องเดิมและทรงพระ ราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด เป็นการรักษาต้นฉบับของเดิมจากสมัยอยุธยาไว้ไม่ให้สูญหาย ๑ ผู้แต่งและสมัยที่แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราช นิพนธ์ ๒ จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อใช้เป็นบทละครสำหรับเล่นละครใน และเพื่อรักษาเรื่อง ดาหลังไว้ไม่ให้สูญหาย ๓ รูปแบบคำประพันธ์ แต่งด้วยกลอนบทละคร ๔ เนื้อหาโดยสังเขป เนื้อเรื่องกล่าวถึงวงศ์อสัญแดหวาทั้ง ๔ ครองเมือง กุเรปัน ดารา กาหลัง และสิงห์ดส่าหรี ท้าวกุเรปันมีพระโอรสนามว่า อิเหนา ได้ตุนาหงัน (หมั้น) กับบุษบา กาโละซีดาของท้าวดาหา ต่อมอิเหนาประพาสป่าพบกับนางเป็นบุษบาส่าหรีบุตรีชาวไร่ และได้นางเป็นชายา อิเหนาจึงปฏิเสธที่จะแต่งงานกับบุษบากาโละ ทวกุเรปันจึงให้คนมา ลอบฆ่านางเป็นบุษบาส่าหรี อิเหนาน้อยใจจึงปลอมตัวเป็นมิสากคนปันหยีเดินทางปราบ ปรามหัวเมืองต่างๆ ต่อมาปันหยีปลอมเป็นตาหลังหรือคนพากย์หนัง ไปแสดงที่เมือตาม หา จนได้พบกับนางบุษบาก้าโละ ปันหยีหลงรักนางทันที ต่อมาท้าวดาหาได้ยกนางบุษบา กาโละให้ระประตาหน แต่ปันหยีลอบฆ่าระตูตาย บุษบาถ้าโละต้องเข้าพิธีแปหลาเพื่อตาย ตามระตูประตาหน องค์จึงเนรมิตดอกบัวมารับนางไว้แล้วเนรมิตให้นางเป็นชายออก ติดตามปันหยี ในภายหลังนางบุษบาก้าโละหนีไปบวชเป็นซี ปันหย์จึงตามไปสึกชีและรับ นางกลับมาครองเมือ ๕ มีคุณค่าดังต่อไปนี้ ๑. ด้านวรรณคดี วรรณคดีเรื่องนี้มีคุณค่าในด้านเนื้อเรื่อง เพราะเป็นดาหลังฉบับที่ รวบรวมเรื่องราวตั้ง ต้นไว้ไม่ให้สูญหา ๒. ด้านความเชื่อ ปรากฏคติความเชื่อของคนเกี่ยวกับลางสังหรณ์ ตัวอย่างบทประพันธ์ เช่น เห็นลวิปริตผิดประหลาด ให้หวั่นหวาดพระทัยตะลึงหลง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังให้ ความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมเกี่ยวกับพิธีสระสนานหลังชนะศึก เช่น บทประพันธ์ความว่า มีสระ ใหญ่อยู่นอกนัครา สำหรับปราบดาภิเษกสรง เป็นต้ ๓. ด้านคติธรรมและคุณธรรม มีข้อความแสดงข้อคิดที่แสดงให้เห็นสัจธรรมของชีวิต ให้ผู้ อ่านเรียนรู้ในการลดละตัวตน รู้จักปล่อยวาง และตั้งตนไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต ซึ่ง สอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนานางยแต่ง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook