Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา

Published by zaitlordtio1, 2022-05-30 08:05:47

Description: วันวิสาขบูชา

Search

Read the Text Version

วันวิสาขบูชาวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา กรมการศาสนา

วันสําคญั ทางพระพุทธศาสนา วันวสิ าขบชู า ผูจัดพิมพ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ปทพี่ ิมพ พ.ศ. ๒๕๖๔ จํานวนพมิ พ ๑,๐๐๐ เลม ท่ปี รึกษา นายเกรียงศักดิ์ บญุ ประสิทธ์ิ อธิบดกี รมการศาสนา ประธานที่ปรกึ ษา นายมานสั ทารัตนใ จ ท่ีปรึกษา นายชวลติ ศริ ภิ ริ มย ทป่ี รกึ ษา ประธานคณะทาํ งาน คณะทํางาน คณะทาํ งาน นายสาํ รวย นักการเรยี น รองอธิบดีกรมการศาสนา คณะทาํ งาน นางสาวฐติ มิ า สุภภคั ผูอาํ นวยการสํานักพัฒนา คณะทํางาน คณุ ธรรมจรยิ ธรรม คณะทาํ งาน นายพจนาถ ปญญาศลิ ป รกั ษาราชการแทน คณะทํางาน ผูอ าํ นวยการกองศาสนูปถัมภ คณะทาํ งาน นางสรุ ีย เกาศล เลขานุการกรม คณะทาํ งาน นายประภาส แกว สวรรค และเลขานกุ าร รอยตรี วทิ ยาพล รัตนกลุ เสรเี รงิ ฤทธิ์ คณะทาํ งาน นางสาวนันทยิ า อายุวัฒนะ และผูชวยเลขานกุ าร นางสาวอนงคล กั ษณ คะเนแนน คณะทํางาน และผูชว ยเลขานุการ นายภรู สี ชิ ฌ บัวศริ ิธนารชั ต นางสาวจีรวรรณ สวางเกตุ ออกแบบปก นายวทิ ยา กอกศุ ล พมิ พที่ หางหนุ สว นจํากดั โรงพิมพอักษรไทย (น.ส.พ. ฟา เมอื งไทย) เลขท่ี ๘๕, ๘๗, ๘๙, ๙๑ ซอยจรญั สนิทวงศ ๔๐ ถนนจรญั สนทิ วงศ แขวงบางยขี่ นั เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐ โทร. ๐-๒๔๒๔-๔๕๕๗, ๐-๒๔๒๔-๐๖๙๔ โทรสาร ๐-๒๔๓๓-๒๘๕๘ นายไพสฐิ ปวิณวิวฒั น ผูพ ิมพผโู ฆษณา

คาํ นํา ประเทศไทยเปนประเทศท่ีประชากรสวนใหญยอมรับนับถือ พระพทุ ธศาสนา นกิ ายเถรวาท มาอยา งยาวนานสบื เนอ่ื งกนั มา หลกั ธรรม คําสอนทางพระพุทธศาสนาไดมีสวนกลอมเกลาวิถีชีวิตของคนไทยใหมี ความเปน อยทู เ่ี รยี บงา ย โอบออ มอารี เออ้ื อาทรตอ กนั รวมทง้ั มพี ฤตกิ รรม อยใู นทํานองคลองธรรม รวมท้ังจารตี ประเพณอี ันดีงาม และเม่ือยอมรับ นบั ถอื แลว ยอ มตองประพฤติปฏิบตั ติ ามหลกั การทีพ่ ระพุทธองคไดท รง สั่งสอนไวดวย ในเรื่องวันสําคัญทางพระพุทธศาสนาก็เปนเรื่องสําคัญ ลําดับตนท่ีพุทธศาสนิกชนไดยึดถือปฏิบัติสืบมา ในรอบปหน่ึงนั้น มวี นั สาํ คญั ทางพระพทุ ธศาสนาคอื วนั มาฆบชู าวนั วสิ าขบชู าวนั อฏั ฐมบี ชู า วันอาสาฬหบูชา วันเขาพรรษา วันออกพรรษา และวันธรรมสวนะ เมื่อถึงวันสําคัญเหลานี้ พุทธศาสนิกชนตางพากันเขาวัด บําเพ็ญบุญ บาํ เพ็ญกศุ ล ตามวาระโอกาสทเ่ี หมาะสมกับตนเองและครอบครัว กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะท่ีเปนหนวยงาน ท่มี ภี ารกิจเกี่ยวกับการดําเนินงานของรัฐดา นศาสนา โดยการทาํ นบุ ํารงุ สงเสริมและใหความอุปถัมภคุมครองกิจการดานพระพุทธศาสนา และศาสนาอ่ืนๆ ท่ีทางราชการรับรอง ตลอดจนสงเสริมพัฒนาความรู คคู ุณธรรม สง เสริมความเขา ใจอันดี และสรางความสมานฉันทร ะหวา ง ศาสนิกชนของทกุ ศาสนา รวมทั้งดําเนนิ การเพ่อื ใหค นไทยนาํ หลักธรรม ทางศาสนามาใชในการพัฒนาคุณภาพชีวิตใหเปนคนดีมีคุณธรรม

ไดพิจารณาเห็นวา ประวัติความเปนมารวมถึงแนวทางในการประพฤติ ปฏิบัติในวันสําคัญดังกลาวเปนเร่ืองที่พุทธศาสนิกชนควรทราบและ ทาํ ความเขา ใจใหถ องแท เพ่ือทราบถงึ ความเปน มาและปฏบิ ตั ไิ ดถูกตอง ชัดเจน จึงไดรวบรวมในเร่ืองที่เกี่ยวกับวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา จัดพิมพเผยแพร ซึ่งจะเปนประโยชนในการเผยแผพระพุทธศาสนา ใหแ พรหลายสบื ไป หวงั เปน อยา งยงิ่ วา หนงั สอื ชดุ วนั สาํ คญั ทางพระพทุ ธศาสนา คอื วนั มาฆบชู า วันวสิ าขบชู า วนั อัฏฐมีบชู า วันอาสาฬหบชู า วนั เขาพรรษา วันออกพรรษา และวันธรรมสวนะ ที่ไดจัดพิมพเผยแพรในคร้ังน้ี จักอํานวยประโยชน สรา งความรูความเขา ใจในเร่อื งพระพุทธศาสนาได เปน อยางดี พระสัทธรรมคาํ สอนของพระพุทธองคด ํารงมัน่ สถิตสถาพร บนผืนแผนดินไทยสืบไป (นายเกรียงศักดิ์ บุญประสทิ ธิ)์ อธบิ ดกี รมการศาสนา

สารบญั หนา ความหมาย ๑ ประวัตแิ ละความเปน มา ๒ ความสําคัญ ๖ องคก ารสหประชาชาติกําหนดใหเปนวันสาํ คญั สากลของโลก ๑๓ แนวทางท่พี ึงปฏบิ ตั ิ ๑๘ ประโยชนท่ีพงึ ไดรับ ๓๑ คาํ บชู าวนั วิสาขบูชา ๓๓ หนงั สืออา งองิ ๕๘



วันวิสาขบูชา 1 วันวสิ าขบชู า ความหมาย คําวา วิสาขบูชา เปนรูปภาษาบาลี ยอมาจากคําวา วิสาขปุณณมีบูชา บางทีก็เขียนเปน วิศาขบูชา ซึ่งเปนรูปภาษา สนั สกฤต แปลวา การบูชาในวันเพญ็ เดอื น ๖ ซึ่งมีเหตุการณท ี่สาํ คญั เก่ยี วกับพระพทุ ธองค ๓ ประการ ไดแ ก วนั ประสตู ิ วนั ตรัสรู และ วนั ปรนิ ิพพาน คําวา วิสาขะ หรือ วิศาขะ เปนช่ือของดาวฤกษกลุมหนึ่ง ซ่ึงเปนกลุมท่ี ๑๖ ในบรรดาดาวฤกษทั้งหลายในทองฟา ดาวฤกษ กลมุ นม้ี ี ๕ ดวง ไทยเรยี กวา ดาวคนั ฉตั ร เมอ่ื ดวงจนั ทรเ สวยวสิ าขฤกษ นัน้ เปน ระยะเวลาที่ตรงกับเดือนที่ ๖ ของไทย ฉะนัน้ คาํ วา วิสาขะ จงึ เปนชอ่ื ของเดอื นท่ี ๖ หรือเดือน ๖ (ตามจันทรคต)ิ

2 วันวิสาขบูชา ประวตั แิ ละความเปน มา สว นในประเทศไทย ประชาชนจะประกอบพธิ บี ชู าในวนั เชน น้ี มาแตเดิมหรือไม ไมปรากฏชัดในที่ใด จนถึงสมัยกรุงสุโขทัย เปนราชธานี จึงไดค วามตามหนังสือที่นางนพมาศแตงไวว า “คร้นั ถงึ วนั วสิ าขบชู าพทุ ธศาสน สมเดจ็ พระเจา แผน ดนิ และพระราชวงั ขา งหนา ขางใน จวนตําแหนงทาวพระยา พระ หลวง เศรษฐี ชี พราหมณ บา นเรอื น โรงรา นพว งแพชน ประชาชายหญงิ ลว นแตแ ขวนโคมประทปี ชวาลาสวา งไสวหอ ยพวงบปุ ผชาตปิ ระพรมเครื่องสุคนธรส อทุ ิศบชู า พระรตั นตรยั สน้ิ สามทวิ าราตรี มหาชนชวนกนั รกั ษาอโุ บสถศลี สดบั ฟง พระสทั ธรรมเทศนา บชู าธรรม บา งกถ็ วายสลากภตั ตาหารสังฆทาน ขา วบณิ ฑ บา งกย็ กขนึ้ ซง่ึ ธงผา บชู าพระสถปู เจดยี  บา งกบ็ รจิ าคทรพั ย จาํ แนกแจกทานแกย าจกทลทิ ก คนกาํ พรา อนาถาชราพกิ าร บา งกซ็ อื้ ถา ยชวี ติ สตั ว จัตุบาทชาติมัจฉาตา งๆ ปลดปลอยใหไ ดค วามสขุ สบาย อันวาสมเด็จพระเจาแผนดินและราชตระกูล ก็ทรงศีลบําเพ็ญ การพระราชกุศลตางๆ ในวันวิสาขบูชาพุทธศาสนเปนอันมาก เพลาตะวันชายแสง ก็เสด็จพระราชดําเนินพรอมดวยราชสุริยวงศ นางในออกวัด หนาพระธาตุ ราชอารามหลวงวันหน่ึง ออกวัดราช บุรณะพระพิหารหลวงวันหน่ึง ออกวัดโลกยสุธาราชาวาสวันหนึ่ง ตางนมัสการ พระรัตนัตยาธิคุณ โปรยปรายผกาเกสรสุคันธรส สักการบูชา ถวายประทีปธูปเทียนเวียนแวน รอบรัตนบัลลังก ประโคมดุริยางคดนตรีดีดสีตีเปาสมโภช พระชินศรี พระชินราช พระโลกนาถสัตถารศ โดยมีกมลโสมนสั ศรทั ธาทุกตวั คน”

วันวิสาขบูชา 3 และมคี าํ สรรเสรญิ วา “อนั พระมหานครสโุ ขทยั ราชธานถี งึ วนั วสิ าขนักขัตฤกษครัง้ ใด กส็ วางไปดวยแสงประทปี เทยี น ดอกไมเพลงิ แลสลา งสลอน ธงชายธงปฏาก ไสวไปดว ยพพู วงดอกไมก รองรอ ยหอ ย แขวน หอมตลบไปดว ยกลน่ิ สคุ นธรสรวยรน่ื เสนาะสาํ เนยี งพณิ พาทย ฆองกลองทั้งทิวาราตรี มหาชนชายหญิงพากันกระทํากองการกุศล เสมือนจะเผยซึง่ ทวารพมิ านฟาทกุ ชอ ข้นึ ” (http: mcufundmcuacth site articlecontent_ descphp?article_id=530&articlegroup_id=123) สมัยกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี ไมพบหลักฐานวาทํากัน อยางไร แตเช่ือไดวาคงทําเปนประจําทุกป เพราะในระยะน้ี พระพุทธศาสนารุงเรื่องมาก อาจเปนเพราะผูบันทึกพงศาวดาร เห็นเปนเรื่องสามัญ เพราะทําเปนประจําทุกป จึงมิไดจดลงไว ในพงศาวดาร

4 วันวิสาขบูชา สมัยกรุงรัตนโกสินทร ในรัชกาลท่ี ๑ มีทําพิธีวิสาขบูชา แตไมปรากฏวาทําแบบแผนอยางไร มาถึงรัชกาลท่ี ๒ จึงไดมีพิธี วิสาขบูชาเปนแบบแผนขึ้น เม่ือ พ.ศ. ๒๓๖๐ โดยพระบาทสมเด็จ พระพทุ ธเลศิ หลา นภาลยั ไดท รงพระราชดาํ รกิ บั สมเดจ็ พระสงั ฆราช (ม)ี วดั มหาธาตุ ไดทรงรอื้ ฟน พิธีวสิ าขบูชาใหเปนแบบแผนขนึ้ มีพระราช กําหนดเรียกวา “พระราชกําหนดพิธีวิสาขบูชา” เม่ือปฉลู นพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ (พ.ศ. ๒๓๖๐) กําหนดพิธีการตางๆ ขึ้น ใหเปน แบบแผนปฏบิ ตั ติ อ ไป ไดท รงเกณฑข า ราชการใหร อ ยดอกไมม าแขวน ไวในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วนั ละ ๑๐๐ พวงเศษ ทง้ั ไดประกาศ เชิญชวนใหประชาชนรักษาศีลโดยท่ัวกัน ใหไปฟงเทศน และใหจุด ประทปี โคมไฟทง้ั ในอารามและตามบา นเรอื นทวั่ ไป ในสมยั รชั กาลที่ ๓ พระองคไดทรงจัดใหมีเทศนปฐมสมโพธิวาดวยเร่ืองราวของ พระพทุ ธเจา ตงั้ แตป ระสตู ิตรสั รูและปรนิ พิ พานรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลท่ี ๔ ทรงกําหนดใหเจานายกับ ขา ราชการตงั้ โตะ บชู าตามเฉลยี งพระอโุ บสถวดั พระศรรี ตั นศาสดาราม ตอมา ทรงกําหนดใหขาราชการทําโคมตราตําแหนงมาแขวนตาม ศาลารายและพระระเบยี งโดยรอบ ครั้นถึงสมยั รัชกาลท่ี ๕ พระองค ไดโปรดใหพระบรมวงศานุวงศ และขาราชการฝายในเดินเทียนและ สวดมนตท ่ีพระพุทธรัตนสถานอกี แหง หนง่ึ วธิ ีปฏบิ ตั นิ เี้ ปน แบบอยาง ในรัชกาลตอ มาจนถงึ ปจ จุบนั

วันวิสาขบูชา 5 รัฐบาลไดใหความสําคัญตอวันวิสาขบูชา โดยกําหนด ใหเปนวันหยุดราชการประจําป และในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๒ คณะรฐั มนตรไี ดก าํ หนดใหว นั วสิ าขบชู าเปน วนั ตน ไมป ระจาํ ปข องชาติ

6 วันวิสาขบูชา ความสาํ คัญ วันเพ็ญ เดือน ๖ นี้ เปนวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนท้ังหลายถือวา เปนวันสําคัญวันหนึ่งในรอบป เพราะเปน วนั ทีพ่ ระพุทธเจาประสตู ิ ตรัสรู และปรินพิ พาน มเี รื่องยอ เก่ียวกบั เหตกุ ารณท ง้ั สามน้นั ดังตอไปนี้

วันวิสาขบูชา 7 ประสตู ิ เมอื่ ๘๐ ป กอ นพทุ ธศกั ราช ณ ลมุ พนิ วี นั อนั เปน สวนทรี่ ม รน่ื ตง้ั อยทู พ่ี รมแดนระหวา งกรงุ กบลิ พสั ดกุ บั กรงุ เทวทหะตอ กนั ปจ จบุ นั น้ี เรยี กวา ตาํ บลรมุ มนิ เด ตง้ั อยทู อ่ี าํ เภอไภรวา แควน อธู ประเทศเนปาล พระพุทธเจา ประสูตทิ ีใ่ ตต น รงั เมอ่ื วันขึ้น ๑๕ คา่ํ เดือน ๖ สาเหตุท่ีพระพุทธเจาประสูติท่ีลุมพินีวันน้ี เน่ืองจาก พระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา เปนเจาหญิงโกลิยวงศ แหงเทวทหนคร เมื่อทรงอภิเษกสมรสกับพระเจาสุทโธทนะและมา ประทับอยูที่กรุงกบิลพัสดุ คร้ังทรงพระครรภถวนทศมาส มีพระทัย ปรารถนาจะเสด็จไปเทวหนครอันเปนมาตุภูมิของพระองค เพ่ือประสูติพระราชโอรสท่ีน่ันตามธรรมเนียมพราหมณ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ เวลาเชา พระนางทรงวอทองเสด็จจากรุงกบิลพัสดุ เวลาใกลเท่ียงเสด็จถึงลุมพินีวัน จึงพักขบวนเสด็จ พระนางเสด็จลง จากวอทองไปประทับท่ีใตตนสาละ หรือตนรังตนหนึ่ง ไดประชวร พระครรภ และประสตู พิ ระราชโอรสทใี่ ตต น สาละในลมุ พนิ วี นั ในวนั นน้ั

8 วันวิสาขบูชา ตรัสรู จากวนั ประสตู นิ น้ั มา ๓๕ ปบ รบิ รู ณ คอื ๔๕ ปก อ นพทุ ธศกั ราช ณ โคนตน อัสสัตถะ หรือตนโพธิ์ ใกลฝงตะวันตกแหง แมน ํ้าเนรญั ชรา ตําบลอุรุเวลาเสนานิคม แควนมคธ ปจจุบันน้ี เรียกวา พุทธคยา จงั หวดั คยา แควน พหิ าร พระพทุ ธเจา ตรสั รทู ใ่ี ตต น โพธน์ิ ้ี เมอ่ื ขนึ้ ๑๕ คาํ่ เดอื น ๖

วันวิสาขบูชา 9 ปรินพิ พาน เม่ือพระองคไดตรัสรูพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เปนพระสัมมาสัมพุทธเจาเอกอัครบุคคลในโลกแลว พระองคเสด็จ ไปตามสถานท่ีตางๆ เพื่อทรงประกาศพระศาสนา ส่ังสอนศีลธรรม แกป ระชาชนทุกหมูเ หลา โดยไมเลอื กชนั้ วรรณะ ทรงสอนประชาชน ดว ยวิธีการ ๓ อยา ง และดว ยประโยชน ๓ ช้ัน วธิ ีการ ๓ อยาง คือ ๑. ทรงสอนใหผ ฟู ง รูยิง่ เหน็ จรงิ ในสง่ิ ทีค่ วรรคู วรเห็น ๒. ทรงสอนมเี หตทุ ผี่ ฟู ง อาจตรองตามเหน็ จริงได ๓. ทรงสอนมีผลคือผูปฏิบัติยอมไดรับผลตามสมควรแก ความปฏบิ ัติ

10 วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา 11 ประโยชน ๓ ชั้น คือ ๑. ทฏิ ฐธมั มกิ ตั ถประโยชน คอื ประโยชนป จ จบุ นั หมายความวา สอนใหต ง้ั ตัวไดท ันที นเ่ี ปนประโยชนชน้ั ตน ๒. สมั ปรายกตั ถประโยชนคอื ประโยชนภ ายหนา หมายความวา สอนใหมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ข้ึนไป ในกาลขางหนา น่ีเปน ประโยชนชนั้ กลาง ๓. ปรมัตถประโยชน คือประโยชนช้ันสูง หมายความวา สอนใหหมดกิเลส สําเร็จอรหัตผลเปนพระอรหันต ซึ่งเปนจุดหมาย สงู สุดของพระพทุ ธศาสนา พระองคท รงส่ังสอนเวไนยสตั วอยู ๔๕ ป เม่อื มีพระชนมายุ ๘๐ พระพรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ระหวางตนสาละคู ในสาลวโนทยาน เมืองกุสนิ ารา เมอื่ วันขน้ึ ๑๕ คํ่า เดือน ๖ ดวยเหตุที่พระพุทธเจาประสูติ ตรัสรู และปรินิพพาน ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ดังกลาวมานี้ ดังน้ัน วันเพ็ญ เดือน ๖ จึงเปน วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา เปนวันท่ีพุทธศาสนิกชนจัดทําพิธี สกั การบชู าเปนพิเศษทเ่ี รียกวา วิสาขบูชา

12 วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา 13 องคก ารสหประชาชาตกิ าํ หนดใหเ ปน วนั สาํ คญั สากลของโลก เมอื่ วนั ที่ ๑๕ ธนั วาคม ๒๕๔๒ ทปี่ ระชมุ สมชั ชาสหประชาชาติ สมยั สามญั ครง้ั ท่ี ๕๔ ไดพ จิ ารณาระเบยี บวาระที่ ๑๗๔ International Recognition of the Day of Vesak ในการพจิ ารณา ประธานสมชั ชาฯ ไดเ ชญิ ผูแทนศรลี งั กาขน้ึ กลา วนําเสนอรา งขอ มติ และเชญิ ผแู ทนไทย สิงคโปร บงั คลาเทศ ภฏู าน สเปน พมา เนปาล ปากสี ถาน อนิ เดีย ขึ้นกลาวถอยแถลง สรุปความวา วันวิสาขบูชาเปนวันสําคัญของ พุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเปนวันท่ีพระพุทธเจาประสูติ ตรัสรู เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธเจาทรงส่ังสอนใหมวลมนุษย มีเมตตาธรรมและขันติธรรม ตอเพ่ือนมนุษยดวยกัน เพ่ือใหเกิด สนั ตสิ ขุ ในสงั คม อนั เปน แนวทางของสหประชาชาติ จงึ ขอใหท ป่ี ระชมุ รับรองขอมตนิ ี้ ซงึ่ เทากับเปนการรับรองความสาํ คญั ของพทุ ธศาสนา ในองคการสหประชาชาติ โดยถือวาวันดังกลาวเปนท่ีสํานักงานใหญ องคการสหประชาชาติและที่ทําการสมัชชาจะจัดใหมีการระลึกถึง ตามความเหมาะสม

14 วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา 15 ท่ีประชุมฯ ไดรับรองรางขอมติโดยฉันทามติ เนื่องจาก คณะกรรมมาธิการองคการสหประชาชาติ ไดรวมพิจารณาและมี มติเห็นพองตองกันประกาศใหวันวิสาขบูชาถือเปนวันสําคัญวันหน่ึง ของโลก ทั้งน้ี ดวยสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระสัมมา สัมพุทธเจาวา ทรงเปนมหาบุรุษผูใหความเมตตาตอหมูมวลมนุษย ทง้ั หลายในโลก จะเหน็ ไดจ ากการยกเลกิ แบง ชนชน้ั วรรณะ ซง่ึ เทา กบั เปนการเลิกทาสโดยไมมีการเสียเลือดเสียเนื้อ นอกจากน้ี พระองค ยงั ทรงเปนนกั อนรุ ักษส ัตวปา อกี ดว ย กลาวคอื ทรงสอนใหไมฆาสัตว ใหรูจักชวยเหลือสัตว เหตุผลสําคัญ อีกประการหนึ่ง คือ พระองค ทรงเปดโอกาสใหทุกศาสนาสามารถเขามาศึกษาพระพุทธศาสนา เพ่ือพิสูจนหาขอเท็จจริงได โดยไมจําเปนตองเปลี่ยนมานับถือ ศาสนาพุทธและทรงสั่งสอนทุกคนโดยใชปญญาธิคุณสอนโดยไมคิด คาตอบแทน

16 วันวิสาขบูชา นอกจากนั้น วันวิสาขบูชายังเปนวันสําคัญในสถานะตางๆ ดังน้ี ๑. เปน วนั ประกาศความยง่ิ ใหญข องมนษุ ย ดว ยพระพทุ ธองค ทรงแสดงถึงความย่ิงใหญของมนุษย ดวยการเปลงอาสภิวาจา หรือ วาจาท่แี สดงความองอาจวา “เราเปนผูเลิศสดุ แหงโลก เราเปนผูใ หญ สดุ แหงโลก เราเปน ผูประเสริฐสดุ แหงโลก การเกดิ ครง้ั น้ีเปนการเกดิ คร้งั สุดทาย บัดน้ีจะไมมกี ารเกดิ ใหมอ กี ” โลกในที่น้ี คือ โลกมนษุ ย เทวโลก มารโลก พรหมโลก

วันวิสาขบูชา 17 ๒. เปนวันประกาศความสําเร็จอันยิ่งใหญของมนุษย การท่ี พระพุทธองคไดแสวงหาความหลุดพนจากเกิด แก เจ็บ ตาย และ ไดตรัสรูความจริงท่ีเรียกวา อริยสัจ ๔ นี้ ถือวาเปนความสําเร็จ อนั ยงิ่ ใหญข องมนษุ ย เพราะอรยิ สจั นเ้ี ปน ความจรงิ ทใี่ ครรมู ากอ นและ เปน ความจริงทร่ี ูแ ลวทาํ ใหพ นทกุ ข ละกเิ ลสอนั เปน เหตุใหพ น ทกุ ขไ ด ๓. เปนวันสูญเสียคร้ังย่ิงใหญของโลก การเสด็จ ดับขันธปรินิพพานของพระพุทธองค เปนการขาดผูเปนที่พ่ึงของ พุทธศาสนิกชนอยางท่ีไมมีวันหวนกลับมา ซึ่งคงเหลือแตพระธรรม วินัยที่ถือเปนตัวแทนของพระองคใหพุทธศาสนิกชนยึดถือปฏิบัติ สบื ไป

18 วันวิสาขบูชา แนวทางทพ่ี ึงปฏิบตั ิ วันวิสาขบูชา เปนวันสําคัญอีกวันหน่ึงที่พุทธศาสนิกชน ตองใหความสําคัญและพรอมใจกันเขารวมปฏิบัติกิจกรรมตางๆ ตามสมควรแกฐานะของตนเองอยางสมํ่าเสมอ เพื่อทําความเขาใจ ใหถูกตอง ฝกฝนตนเองและนําไปปฏิบัติในชีวิตประจําวัน อันจะกอ ใหเกิดประโยชนแกตนเอง ครอบครัว สังคม แนวทางที่พึงปฏิบัติ สําหรบั พุทธศาสนิกชนท่ีเกยี่ วเนื่องกบั วันวสิ าขบูชา มดี ังตอไปนี้

วันวิสาขบูชา 19 พุทธศาสนกิ ชน (อบุ าสก อบุ าสิกา) ใหทาน ถวายภัตตาหารแดพระภิกษุสามเณรในภาคเชา หรือเพล บริจาคทรัพยชวยเหลือเก้ือกูลผูยากไร หรือบําเพ็ญ สาธารณประโยชน รักษาศีล สํารวมระวังกายและวาจา ดวยการรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ หรอื ศลี อุโบสถ เจรญิ ภาวนา ฝก สมาธิ ทาํ จติ ใจใหส งบ รวมทง้ั พัฒนาปญ ญา ดว ยการเจรญิ วปิ ส สนาใหเ กดิ ปญ ญาเหน็ สภาพความเปน จรงิ ของชวี ติ และโลก เวียนเทียน การเดินประทักษิณเปนการบูชาพระรัตนตรัย ดว ยอามสิ บูชาและปฏบิ ตั บิ ชู า

20 วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา 21 สถาบันตางๆ ในสงั คม ครอบครัว (๑) ศึกษาเอกสาร หรือสนทนาเกี่ยวกับความสําคัญของ วันวิสาขบูชา รวมทง้ั หลักธรรมท่ีเอ้อื ตอ การปฏบิ ตั ิของครอบครวั (๒) ปรึกษาหารือหาแนวทางในการปองกันการแกปญหา ในครอบครัว โดยใชหลักธรรม และสงเสริมใหเกิดการลด ละ เลิก อบายมขุ (๓) นําสมาชิกในครอบครัวไปบําเพ็ญกุศลท่ีวัด ทําบุญ ตกั บาตร บรจิ าคทาน (๔) พรอมกันไปปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ หรือศีลอุโบสถ ไหวพ ระ สวดมนต ฟงธรรม เวยี นเทียน

22 วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา 23 สถานศกึ ษา (๑) ครูและนักเรียนรวมกันศึกษาถึงความสําคัญของ วันวิสาขบูชา รวมทั้งหลักธรรมท่ีมีสวนสําคัญตอการศึกษาเลาเรียน เชน อริยสัจ ๔ อปั ปมาทธรรม (๒) ประกวดการอาน การเลา ในเรื่องที่เก่ียวของกับ วันวิสาขบชู า (๓) ครูใหนักเรียนจัดทําปายนิเทศ หรือจัดนิทรรศการ ประกวดเรยี งความ ทาํ สมดุ ภาพ ตอบปญ หาธรรมะ บรรยายธรรมะ อภิปรายธรรมะ (๔) ประกาศเกยี รติคณุ นักเรียนทปี่ ระพฤติตนเปนแบบอยาง ทีด่ ี (๕) ครพู านกั เรยี นไปรว มกจิ กรรมกบั ชมุ ชนทว่ี ดั บาํ เพญ็ กศุ ล ทําบุญตักบาตร บริจาคทาน รักษาศีล ฟงธรรม สนทนาธรรม เจริญจิตภาวนา

24 วันวิสาขบูชา สถานท่ที ํางาน (๑) ประชาสัมพันธเกี่ยวกับความสําคัญของวันวิสาขบูชา รวมทง้ั หลกั ธรรมเพ่ือการครองตน ครองคน และครองงาน (๒) จดั ปา ยนเิ ทศเกยี่ วกบั หลกั ธรรมเพอื่ การปฏบิ ตั ใิ หป ระสบ ผลสําเรจ็ และมีประสทิ ธิภาพ (๓) จดั ใหม ีการบรรยายธรรมและสนทนาธรรม (๔) รว มกนั บาํ เพญ็ สาธารณประโยชน เชน ปลกู ตน ไม บรจิ าค โลหิต (๕) หัวหนาหนวยงานใหโอกาสผูรวมงานไปบําเพ็ญกุศล ตามประเพณนี ิยม

วันวิสาขบูชา 25

26 วันวิสาขบูชา หนว ยงานอน่ื ในสงั คม (องคก ร สมาคม มลู นธิ ิ สอ่ื มวลชน ฯลฯ) (๑) ประชาสมั พนั ธเ รอ่ื งวนั วสิ าขบชู า โดยใชส อ่ื ตามศกั ยภาพ ที่มอี ยู (๒) จัดพิมพเอกสารเกี่ยวกับความสําคัญของวันวิสาขบูชา รวมทง้ั หลกั ธรรมทส่ี ง เสรมิ การครองเรอื นอยา งมคี วามสขุ และแนวทาง การปฏบิ ตั ิธรรม เพ่ือเผยแพรแ กส าธารณชน (๓) เชิญชวนใหประชาชนทั่วไปเขารวมกิจกรรมปฏิบัติธรรม และพิธีกรรมทางศาสนา เชน ทําบุญตักบาตร ฟงธรรม รักษาศีล ไหวพ ระ สวดมนต สนทนาธรรม เจริญภาวนา (๔) รณรงคทางส่อื มวลชนทกุ แขนง ใหลด ละ เลกิ อบายมขุ งดจําหนายสรุ าและสิ่งเสพติดทุกชนดิ (๕) ประกาศเกยี รตคิ ณุ สถาบนั หรอื บคุ คลผทู าํ คณุ ประโยชน ตอสงั คม (๖) รณรงคใหรักษาสภาพแวดลอมในวัดหรือในท่ีสาธารณะ ปลูกตน ไม ทําความสะอาดท่สี าธารณะ

วันวิสาขบูชา 27

28 วันวิสาขบูชา สาํ หรบั วัด กอ นถึงวนั วิสาขบชู า เจาอาวาสแจงแกภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ใหทราบวาวันใดเปนวันวิสาขบูชา โดยใชปายแจงเตือนหรือแจง ทางการกระจายเสียงภายในวดั กไ็ ด ในวันวสิ าขบูชา (๑) ภิกษุ สามเณร ศิษยวัด คนวัด ชวยกันทําความสะอาด บริเวณวัด ปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่องสักการะ ต้ังน้ําใชนํ้าฉัน และ ประดับธงธรรมจักร (ถาสามารถดาํ เนนิ การได) (๒) เวลาเชา มีการตักบาตรทําบุญ ทําวัตรเชา ฟงธรรม เวลาบาย มีการฟงธรรม สนทนาธรรม เวลาเย็น อุบาสก อุบาสิกา ทถ่ี ือศลี อุโบสถ ทําวตั รสวดมนต

วันวิสาขบูชา 29 (๓) เวลาคา่ํ พระภกิ ษสุ ามเณร อบุ าสก อุบาสกิ า นําธูปเทียน ดอกไมไปประชุมพรอมกันท่ีอุโบสถ สถูป หรือเจดียแหงใดแหงหนึ่ง ทจี่ ดั เตรยี มไว เมอ่ื พระสงฆพ รอ มกนั แลว ใหย นื หนั หนา เขา หาสง่ิ เคารพ คือ พระประธานหรือสถูปเจดียอยางใดอยางหนึ่ง คฤหัสถยืนถือธูป เทียน ดอกไม ประนมมืออยูถัดจากพระสงฆออกไป เมื่อพระเถระ กลาวนําคาํ บชู า ทั้งหมดวาตามพรอมกัน เมื่อกลา วคาํ บชู าเสรจ็ แลว พระสงฆเดินนําหนาเวียนขวารอบอุโบสถ หรือสถูปเจดีย ๓ รอบ ซงึ่ เรยี กวา เวียนเทียน คฤหัสถเดนิ ตามอยางสงบ ขณะเวยี นรอบแรก ใหระลึกถึงพระพุทธคุณ รอบที่ ๒ ระลึกถึงพระธรรมคุณ รอบที่ ๓ ระลึกถึงพระสงั ฆคณุ เมือ่ เวียนเทยี นครบ ๓ รอบแลว จึงนาํ ดอกไม ธูปเทียนไปวางไวในสถานที่ที่กาํ หนด จากน้ัน สามารถปฏิบัติตามอัธยาศัย สมควรแกอัตภาพ ของตนเอง

30 วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา 31 ประโยชนทพี่ งึ ไดรบั ประโยชนทเ่ี กดิ ข้นึ แกพ ุทธศาสนกิ ชน ๑. มคี วามรคู วามเขา ใจเกย่ี วกบั ความสาํ คญั ของวนั วสิ าขบชู า รวมทง้ั วธิ ปี ฏบิ ตั ติ นเพอื่ ใหไ ดป ญ ญาขน้ั โพธิ (ปญ ญาทเี่ ปน เหตใุ หบ รรลุ นพิ พาน) ๒. เกิดความศรัทธาซาบซ้ึงและตระหนักในความสําคัญ ของพระพุทธศาสนา ๓. เห็นคุณคาของการดาํ เนินชีวิตเพ่อื การบรรลธุ รรม ๔. รูจกั ปฏิบัติตนตามหนาท่ีของชาวพทุ ธไดอยา งถกู ตอง ประโยชนทีเ่ กิดข้ึนแกสังคมโลก ทําใหเห็นวา มนุษยมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองใหบรรลุ เปา หมายสูงสุด และอุทศิ ตนเพอื่ ประโยชนแ กชาวโลกได

32 วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา 33 คําบชู าวนั วสิ าขบูชา ยะมมั หะ โข มะยงั ภะคะวนั ตงั สะระณงั คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อะโหสิ โข โส ภะคะวา มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปนโน ขัตตโิ ย ชาตยิ า โคตะโม โคตเตนะ สักยะปุตโต สกั ยะกลุ า ปพพะชิโต สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพัรหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนสุ สายะ อะนตุ ตะรงั สมั มาสมั โพธงิ อะภสิ มั พทุ โธ นิสสังสะยงั โข โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพทุ โธ วชิ ชา จะระณะสัมปน โน สคุ ะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปรุ สิ ะทมั มะสาระถิ สตั ถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา สวากขาโต โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลโิ ก เอหปิ ส สิโก โอปะนะยโิ ก ปจจัตตัง เวทติ ัพโพ วญิ หู ิ สุปะฏิปนโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปนโน ภะคะวะโต สาวะกะสงั โฆ ญายะปะฏปิ น โน ภะคะวะโต สาวะกะสงั โฆ สามจี ปิ ะฏปิ น โน ภะคะวะโต สาวะกะสงั โฆ ยะททิ งั จตั ตาริ ปรุ สิ ะยคุ านิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทกั ขิเณยโย อัญชะลกี ะระณโี ย อะนตุ ตะรงั ปญุ ญกั เขตตงั โลกัสสะ

34 วันวิสาขบูชา อะยงั โข ปะนะ ปะฏมิ า ตัง ภะคะวันตงั อทุ ทสิ สะ กะตา ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ ตงั ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา ปะสาเทนะ สังเวคะปะฏิลาภายะ มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง วิสาขะปุณณะมีกาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ชาติสัมโพธินิพพานะกาละสัมมะตัง ปตวา อิมัง ฐานัง สัมปต ตา อเิ ม ทัณฑะทปี ะธูปาทสิ กั กาเร คะเหตวา อตั ตะโน กายงั สักการุปะธานัง กะริตวา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนสุ สะรนั ตา อมิ ัง ปะฏิมัง ตกิ ขกั ตงุ ปะทักขณิ งั กะริสสามะ อิมัง ยะถา คะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรมุ านา สาธุ โน ภนั เต ภะคะวา สจุ ริ ะปะรนิ พิ พโุ ตป ญาตพั เพหิ คเุ ณหิ อะตีตารมั มะณะตายะ ปญญายะมาโน อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อมั หากัง ทีฆะรัตตงั หติ ายะ สขุ ายะ

วันวิสาขบูชา 35 คําแปล เราทั้งหลายถึงซ่ึงพระผูมีพระภาคพระองคใดวาเปนท่ีพึ่ง พระผมู พี ระภาคพระองคใ ดเปน ศาสดาของเราทง้ั หลาย และเราทง้ั หลาย ชอบซ่ึงธรรมของพระผูมีพระภาคพระองคใด พระผูมีพระภาค พระองคน้ันแล ไดอุบัติข้ึนแลวในหมูมนุษยชาวอริยกะ ในมัชฌิม ชนบท พระองคท รงเปน กษตั รยิ โ ดยพระชาติ เปน โคดม (เหลา กอแหง พระอาทติ ย) โดยพระโคตร เปนบุตรแหงศากยะ เสดจ็ ออกบรรพชา แลวแตศากยสกุล เปนผูตรัสรูพรอมเฉพาะแลวซ่ึงพระอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ ในโลกกับทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมูสัตว พรอมทั้งสมณพราหมณ พรอมท้งั เทวดาและมนุษย พระผูมีพระภาคเจาพระองคนั้นทรงเปนพระอรหันต เปน ผูตรัสรูชอบไดโดยพระองคเอง เปนผูถึงพรอมดวยวิชชาและจรณะ (ความรูและความประพฤติ) เปนผูเสด็จไปดีแลว เปนผูรูโลก อยางแจมแจง เปนผูสามารถฝกบุรุษที่สมควรฝกไดอยางไมมีใคร ย่ิงไปกวา เปนศาสดาของเทวดาและมนุษยทั้งหลาย เปนผูตื่นแลว เปน ผเู บกิ บานแลว เปน ผมู คี วามเจรญิ จาํ แนกธรรมสงั่ สอนเวไนยสตั ว โดยไมต อ งสงสยั แล

36 วันวิสาขบูชา อนึ่ง พระธรรมเปนธรรมอันพระผูมีพระภาคพระองคนั้น ตรสั ไวดีแลว อันผบู รรลจุ ะพงึ เห็นไดด วยตนเอง เปน ธรรมทีป่ ฏิบัติได และใหผลไดอยางไมจํากัดกาลเวลา เปนธรรมที่ควรกลาวกับผูอื่นวา ทานจงมาดูเถิด เปนธรรมที่ควรนอมเขามาใสตัว เปนธรรมที่ผูรูพึงรู ไดเฉพาะตน และพระสงฆสาวกของพระผูมีพระภาคพระองคนั้น เปนผูปฏิบัติดีแลวแล เปนผูปฏิบัติตรงแลว เปนผูปฏิบัติเพ่ือรูธรรม เปน เครอ่ื งออกจากทกุ ขแ ลว เปน ผปู ฏบิ ตั สิ มควรแลว นคี้ อื คแู หง บรุ ษุ ๔ คู นับเรียงตัวบุรุษได ๔ บุรุษ นั่นแหละคือพระสงฆสาวกของ พระผูมีพระภาค เปนสงฆควรแกสักการะที่เขานํามาบูชา เปนสงฆ ควรแกส ักการะทีเ่ ขาจดั ไวต อนรับ เปน ผคู วรรบั ทักษิณาทาน เปน ผทู ่ี บคุ คลทว่ั ไปควรทาํ อญั ชลี เปน เนอื้ นาบญุ ของโลก ไมม นี าบญุ อน่ื ยงิ่ กวา พระปฏิมานี้แล นักปราชญไดอุทิศเฉพาะตอพระผูมี พระภาคเจาพระองคน้ัน สรางไวแลวเพียงเพื่อเปนเคร่ืองใหระลึกถึง พระผมู ีพระภาคพระองคน นั้ ดว ยการเห็นแลว ไดความเลือ่ มใส และ ความระลกึ ถึง

วันวิสาขบูชา 37 บัดนี้ เราท้ังหลายมาถึงวันวิสาขบูชา อันเปนที่รูกันท่ัวไปวา เปนวันที่ประสูติ วันตรัสรู และวันปรินิพพานของพระผูมีพระภาค พระองคน น้ั จงึ มาประชุมกันแลว ในท่นี ้ี ถือเคร่ืองสักการะมีธูปเทียน เปน ตน เหลา นี้ ทาํ กายของตนเองใหเ ปน ดงั ภาชนะรองรบั เครอ่ื งสกั การะ ระลกึ ถงึ พระคณุ ทงั้ หลายของพระผมู พี ระภาคพระองคน นั้ ตามความ เปนจรงิ บูชาดว ยเครอื่ งสกั การะตามทไ่ี ดถ อื ไวแลว จกั ทาํ ประทกั ษิณ ซ่ึงประปฏมิ าน้สี ้นิ วาระ ๓ รอบ ขาแตพระองคผูเจริญ ขออัญเชิญพระผูมีพระภาคแมเสด็จ ดับขันธปรินิพพานไปนานแลว ยังทรงปรากฏอยูดวยพระคุณสมบัติ อันขาพระพุทธเจาทั้งหลาย จะพึงรูโดยความเปนอตีตารมณ ขอจงทรงรบั ซง่ึ เครอ่ื งสกั การะอนั ขา พระพทุ ธเจา ทงั้ หลายถอื ไวแ ลว นี้ เพื่อประโยชนและเพื่อความสุข แกขาพระพุทธเจาท้ังหลาย ตลอดกาลนาน เทอญฯ

38 วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา 39

40 วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา 41

42 วันวิสาขบูชา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook