Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์

การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์

Published by naththidat7, 2022-09-27 19:10:25

Description: การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์

Search

Read the Text Version

หน้าที่ ๔๗ ตัวอย่าง เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙ จะจากบ้านเกิดเมืองนอนกมลระอุถอน ทุกข์อาวรณ์ มิสำราญ เพราะเคยอยู่กินถิ่นเดิมรมยมนบาน ไกลสถานปาน จะสิ้นชนม์ ละเพื่อนร่วมจิตคิดแทบมรณะเพราะละลน ใจก็กังวล มิลืมเลือน พิโธเอ๋ยเคยชิดสมิตสหเยือน จากจะเป็นเหมือน กะจากตาย. (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๗)

หน้าที่ ๔๘ ฉันท์ ๑๙ ๒. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ ๑. บาทหนึ่งมี ๑๘ คำ แบ่งออกเป็น ๓ วรรค วรรคที่ ๑ มี ๑๒ คำ วรรคที่ ๒ มี ๕ คำ วรรคที่ ๓ มี ๒ คำ รวมเป็น ๑๙ คำ จึงเรียกว่าฉันท์ ๑๙ วรรคทั้ง ๓ นั้นรวมกันเรียกว่า บาทหนึ่ง นับบาทหนึ่งเป็นหนึ่งบท ๒. ครุลหุและสัมผัส ให้ดูแผนและตัวอย่าง ๓. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาประดุจสิงโต คะนอง (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๘.)

หน้าที่ ๔๙ ตัวอย่าง สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ ๏ พร้อมเบญจางคประดิษฐ์สฤษฎิสดุดี ทวาร กายจิตวจีไตร มุน ปิฎก ๏ ไหว้คุณองค์พระสุคตอนาวรณญาณ ยอดศาสดาจารย์ ๏ อีกคุณสุนทรธรรมคัมภิรวิธี พุทธพจน์ประชุมตรี (สามัคคีเภทคําฉันท์ : ครูชิต บุรทัต)

หน้าที่ ๕๐ ฉันท์ ๒๐ ๑. อีทิสังฉันท์ ๒๐ ๑. บาทหนึ่งมี ๒๐ คำเเบ่งออกเป็น ๓ วรรค วรรคที่ ๑ มี ๙ คำ วรรคที่ ๒ มี ๘ คำ วรรคที่ ๓ มี ๓ คำ รวมเป็น ๒๐ คำ จึงเรียกว่าฉันท์ ๒๐ รวม ๓ วรรคเป็นบาทหนึ่ง นับบาทหนึ่งเป็นหนึ่งบท ๒. ใช้ครุสลับกับลหุเรื่อยไป ตั้งแต่ต้นจนจบบท เว้นไว้แต่ ๒ คำ สุดท้ายของบทซึ่งใช้ครุคู่กัน ส่วนสัมผัสให้ดูแผนและตัวอย่าง ๓. อีทิสังฉันท์ จะเรียงวรรคที่หนึ่งไว้บรรทัดที่ ๑ เรียงวรรคที่ ๒ และ ที่ ๓ ไว้ในบรรทัดที่ ๒ ก็ได้ และบางทีก็เรียกชื่อว่า อีทิสังฉันท์ ๔. ให้คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ถ้า จะแต่งบทต่อไปอีกต้องให้ คำสุดท้ายของบทต้นสัมผัสกับคำสุดท้ายของ วรรคที่ 1 ของบทต่อไป ๕. อีทิสฉันท์ หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลางดงามประดุจฉันที่ได้ พรรณนามาแล้วข้างต้น (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๙)

หน้าที่ ๕๑ ตัวอย่าง อีทิสังฉันท์ ๒๐ เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร ทุทาษสถุลฉนี้ไฉน ก็มาเปน ศึกบถึงและมึงก็ยังมิเห็น จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น ประการใด อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ ขยาดขยั้นมิทันอะไร ก็หมิ่นกู (สามัคคีเภทคําฉันท์ : ครูชิต บุรทัต)

หน้าที่ ๕๒ ฉันท์ ๒๑ ๑. สัทธราฉันท์ ๒๑ ๑. บาทหนึ่งมี ๒๑ คำ แบ่งออกเเป็น ๔ วรรค วรรคที่ ๑ และที่ ๒ มี วรรคละ ๗ คำ วรรคที่ ๓ มี ๔ คำ วรรคที่ ๔ มี ๓ คำ รวมเป็น ๒๑ คำ จึง เรียกว่าฉันท์ ๒๑ รวม ๔ วรรคเป็นหนึ่งบาท นับบาทหนึ่งเป็นหนึ่งบท. ๒. ครุลหุและสัมผัส ให้ดูแผนและตัวอย่าง ถ้าจะแต่งบทต่อไปอีก ต้อง ให้คำสุดท้ายของบทต้นสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่ ๑ ของบทต่อไป ๓. สัทธราฉันท์ หมายความว่าฉันท์ที่มีลีลาวิจิตรงดงามประดุจสตรี เพศ ผู้ประดับด้วยพวงมาลัย (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๗๐)

หน้าที่ ๕๓ ตัวอย่าง สัทธราฉันท์ ๒๑ ๏ ลําดับนั้นวัสสการพราหมณ์ ธก็ยุศิษยตาม แต่งอุบายงาม ฉงนงํา ริณวิรุธก็สํา ๏ ปวงโอรสลิจฉวีดํา ธ เสกสรร คัญประดุจคํา มิละ ปิยสหฉันท์ ก็อาดูร ๏ ไป่เหลือเลยสักพระองค์อัน ขาดสมัครพันธ์ (สามัคคีเภทคําฉันท์ : ครูชิต บุรทัต)

หน้าที่ ๕๔ อ้างอิง กำชัย ทองหล่อ. (๒๕๖๔). หลักภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ ๕๕). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์. บุปผา บุญทิพย์. (๒๕๕๘). ร้อยกรอง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคำแหง.

จัดทำโดย ๑. นางสาวณัฐธิดา ทานู รหัสฯ ๐๐๒ ๒. นายยุทธพงษ์ กลิ่นหอม รหัสฯ ๐๐๙ ๓. นางสาวธารารัตน์ โพธิ์กระสังข์ รหัสฯ ๐๑๒ ๔. นางสาวศศิกานต์ บัวจันทร์ รหัสฯ ๐๒๓ ๕. นางสาวอินทุอร บุญสวัสดิ์ รหัสฯ ๐๒๔ ๖. นางสาวศศิกานต์ หนูเกตุ รหัสฯ ๐๓๔ สาขาวิชาภาษาไทย วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook