โรงเรียนราสมาคธิตำแมหหงาวิทยาลัย
คำนำ ตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2550 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2545) ได้ให้ ค ว า ม สำ คั ญ ข อ ง ก า ร จั ด ก า ร ศึ ก ษ า ว่ า ก า ร จั ด ก า ร ศึ ก ษ า ใ ห้ คำ นึ ง ถึ ง ค ว า ม แตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิด จัดกิจกรรมให้ผู้ เรียนได้ \"สูทกรรม\"วิชาที่ว่าการทำอาหารชาวค่ายลูกเสือ ม.1- 3 กลุ่ม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน วิชาลูกเลือ-เนตนารี สามัญรุ่นใหญ่ ระดับชั้น มัธยม มัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเรื่อง สูทกรรม มีเนื้อหาทั้งหมด 5 เรื่อง เกี่ยวกับเรื่อง ความเป็นมาของ วิชาสูทกรรม เรื่อง ความเป็นมาของวิฃาสูทกรรม เรื่อง ทักษะการ เตรียม การประกอบอาหารด้วยความปลอดภัย เรื่อง การเลือกซื้อ อาหาร การถนอมอาหาร และการเก็บรักษาอาหารขณะอยู่ในค่าย เรื่อง การจัดรายการอาหารและความรู้เกี่ยวกับการปรุง สำหรับการ อยู่ค่ายพักแรม เรื่อง การประกอบอาหาร เรื่อง เมนูอาหารชาวค่าย กิจกรรมการเรียนรู้ วิชาสูทกรรม เพื่อฝึกทักษะการประกอบ อาหารยังชีพในป่า เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับลูกเสือ เนตรนารี สามัญรุ่นใหญ่ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเรียนรู้และสร้าง ทักษะในการประกอบอาหาร เพื่อจะได้นำไปใช้ในการเข้าค่ายพัก แรม เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ เพื่อนำไปใช้ในการเข้าค่ายพัก แรมหรือบูรณาการ ในการออกค่าย ให้เข้ากับสถานที่แต่ละแห่งและ สามารถนำทักษะที่ได้ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผู้จัดทำหวังเป็น อย่างยิ่ งว่าคู่มือกิจกรรมการเรียนรู้นี้ จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียน รู้และอำนวยประโยชน์ให้แก่การศึกษาต่อไป
วิชานักสูทกรรม เป็นส่วนหนึ่ งของวิชาพิเศษ ระบบหมู่(The Patrol (or Team) System) เป็นรากฐานอันแท้จริง ของลูกเสือ เป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกัน การยอมรับซึ่งกันและกัน การแบ่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการเรียนรู้การใช้ ประชาธิปไตยเบื้องต้น ระบบหมู่ลูกเสือ คือระบบการทำงาน การปฏิบัติภารกิจของสมาชิกในหมู่-กอง-กลุ่ม เพื่อความก้าวหน้าของส่วนรวม ด้วยความเต็มใจและพอใจของสมาชิก ทุกคนทางลูกเสือนั้น สมาชิกหลายคนรวมกันเป็นหมู่ หลายหมู่รวมกัน เป็นกอง หลายกองรวมกันเป็นกลุ่ม ผู้กำกับกลุ่มจะรับผิดชอบดูแลลูก เสือทุกกอง ทุกกลุ่ม ทุกคน ผู้กำกับก็จะดูแลเพียงทุกหมู่ในกอง และลูก เสือทุกคนในกอง รวมทั้งนายหมู่ทุกคนด้วย ส่วนนายหมู่จะดูแลเพียง สมาชิกภายในหมู่ของตนเอง เป็นการกระจายอำนาจ และแบ่งหน้าที่กัน รับผิดชอบ ตามระบอบประชาธิปไตย ระบบหมู่ลูกเสือนั้นช่วยให้แต่ละคนได้รู้บทบาทในการทำงาน ภายในหมู่ ใช้ระบบหมู่ ฝึกผู้นำ-ผู้ตาม รับฟังความคิดเห็นและการ ยอมรับซึ่งกันและกัน ถ้ากองลูกเสือฝึกอบรมตามปกติเราสามารถ เทียงเคียงจัดบทบาทภายในหมู่ลูกเสือได้ เพื่อให้ระบบหมู่ระบบกลุ่มลูก เสือประสบผลสำเร็จ มีการเปลี่ยนตำแหน่งในหมู่ลูกเสือเพื่อให้ลูกเสือ ได้ฝึกตนเองในแต่ละบทบาทในการอยู่ค่ายพักแรม
สารบัญ เรื่อง หน้า ความเป็นมาของวิชาสูทกรรม . 1 - การบรรจุสิ่งของลงในถุงเครื่องหลังหรือกระเป๋า 2 - ในการบรรจุเครื่องหลัง ควรปฏิบัติ 3 4 ทักษะการ เตรียม การประกอบอาหารด้วยความ ปลอดภัย 9 การเลือกซื้ออาหาร การถนอมอาหาร และการเก็บ รักษาอาหารขณะอยู่ในค่าย 22 การจัดรายการอาหารและความรู้เกี่ยวกับการปรุง สำหรับการอยู่ค่ายพักแรม 24 การประกอบอาหาร 25 เมนูอาหารชาวค่าย 29 - กิจกรรมเมนูอาหารชาวค่าย มื้อแรก 30 - กิจกรรมเมนูอาหารชาวค่าย มื้อที่สอง 41 - กิจกรรมเมนูอาหารชาวค่าย มื้อที่สาม 43 - กิจกรรมเมนูอาหารชาวค่าย มื้อที่สี่ 45
เรื่อง ความเป็นมาของวิชาสูทกรรม สูทกรรม คือ วิชาที่ว่าด้วยการทำอาหารชาวค่าย ในหลักสูตร การศึกษากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน วิชาลูกเสือ-เนตรนารี เป็นอีกวิชา หนึ่งทีนักเรียนจะต้องเรียน ในการเรียนรู้สูทกรรมเวลาเข้าค่ายพัก แรม หรือเวลาการออกค่ายแต่ละแห่ง จึงมีการบูรณาการให้เข้ากับ สถานที่แต่ละแห่ง ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็แล้วแต่ทุกคนต้องทำกับข้าว ทำอาหาร หาวัสดุ การเตรียมรายการอาหารเป็น ลูกเสือ-เนตรนารีสามัญแต่ละเหมู่จำเป็นต้องเตรียมรายการอ หารล่วงหน้า โดยต้องวางแผนว่าจะอยู่ค่ายพักแรมกี่วัน ในแต่ละวัน จะต้องรับประทานทั้งมื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็นเป็นจำนวนกี่มื้อ ตลอดการอยู่ค่ายพักแรม ในแต่ละมื้อนั้นจะปรุงอาหารอะไรบ้าง จาก นั้นให้ลูกเสือ-เนตรนารีแจกแจงรายละเอียดของรายการอาหาร เลือกซื้อให้ครบถ้วน เพื่อสะดวกต่อการปรุงอาหาร อาหารที่จะปรุง ควรเป็นอาหารที่ปรุงง่ายๆ และต้องถูกหลักโภชนาการ อาหารที่จะ นำไปควรเลือกที่มีน้ำหนักเบา ประหยัดเนื้อที่ในการขนย้าย
- การบรรจุสิ่งของลงในถุงเครื่องหลังหรือกระเป๋า เครื่องหลัง คือ ย่ามหรือถุงหรือกระเป๋าสำหรับใส่สิ่งของต่างๆ ใช้สะพายหลังได้สะดวก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเดินทางไกล สำหรับใช้บรรจุเครื่องใช้ประจำตัว เครื่องใช้ประจำหมู่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ไปใช้ในการเดินทางไกล และอยู่ค่ายพักแรม
- ในการบรรจุเครื่องหลัง ควรปฏิบัติดังนี้ 1. เลือกเครื่องหลังที่มีขนาดพอเหมาะแก่การบรรจุสิ่งของ และกำลัง ในการขนย้าย 2. บรรจุสิ่งของที่มีน้ำหนักมากหรือสิ่งของที่ใช้ภายหลังไว้ข้างล่าง 3. บรรจุสิ่งของที่ใช้ก่อน ใช้บ่อยๆ หรือใช้ปัจจุบันทันที เช่น ไฟฉาย เสื้อกันฝน ไม้ขีดไฟ เป็นต้น ให้ไว้ข้างบนสุดของเครื่องหลังเพื่อจะ ได้นำออกมาใช้ได้สะดวก 4. บรรจุสิ่งของที่อ่อนนุ่ม เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม เสื้อผ้า ควรใส่ด้านที่ สัมผัสกับหลังของลูกเสือ จะได้ไม่เจ็บหลังเมื่อสะพายขณะเดินทาง 5. ตรวจสอบก่อนบรรจุ ควรจะนำสิ่งของเครื่องใช้มาจัดวางเรียงแยก ประเภทไว้ให้ครบตามต้องการก่อน แล้วจึงบรรจุลงเครื่องหลังจะได้ มีของครอบถ้วนเพื่อการใช้ นับเป็นกิจกรรมหนึ่งของลูกเสือ ซึ่งลูกเสือจะต้องมีการ เตรียมการเรื่องเครื่องหลังให้พร้อม เหมาะสมกับเดินทางไกลไปแรม คืน ซึ่งอุปกรณ์ที่จะจัดเตรียมจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. อุปกรณ์เฉพาะบุคคล หรือ อุปกรณ์ประจำตัว 2. อุปกรณ์ส่วนรวม หรืออุปกรณ์สำหรับหมู่หรือกองอุปกรณ์ เฉพาะบุคคล
- ลูกเสือ - เนตรนารี ต้องเตรียมพร้อมก่อนกำหนดเดินทาง ควรมีน้ำหนักไม่มากนักและมีความจำเป็น ดังนี้คือ 1. กระติกน้ำ ใส่น้ำสะอาดให้เต็ม 2. เครื่องใช้ประจำตัว เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าขาวม้า ผ้าถุง สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟันรองเท้าแตะ ไฟฉาย ช้อนส้อม จานข้าว ยาทากันยุง เป็นต้น 3. เครื่องแบบและเครื่องประกอบเครื่องแบบ ได้แก่ เสื้อ กางเกง ผ้าพันคอ หมวก เข็มขัด รองเท้า ถุงเท้า 4. ยาประจำตัวและอุปกรณ์ปฐมพยาบาล 5. เข็มทิศ แผนที่ สมุดจดบันทึกการเดินทาง ดินสอ ปากกา 6. ในกรณีที่เป็นฤดูฝน ต้องเตรียมชุดกันฝน ฤดูหนาว ให้เตรียมเสื้อกันหนาว 7. เครื่องนอน เช่น เสื่อ ผ้าห่ม เต็นท์ ถุงนอน เป็นต้น 8. ถุงพลาสติก เพื่อใช้สำหรับใส่เสื้อผ้าที่ใช้แล้ว 9. เชือกหรือยางเพื่อใช้ผูกรัดอุปกรณ์สิ่งของเล็ก ๆ 10. ไม้ง่าม
- อุปกรณ์สำหรับหมู่หรือกอง อุปกรณ์สวนรวม คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับทุกคนในหมู่หรือ กองที่ลูกเสือควรเตรียมเพื่อนำไปใช้ในการอยู่ค่ายพักแรมร่วมกัน ซึ่งต้องแบ่งหน้าที่กันนำสิ่งของไป เช่น นาย หมู่ เอาตะเกียง มีดพร้า และแผนที่ รองนาย หมู่ นำ พลั่วสนาม เต็นท์ กระเป๋าร่วมยา หัวหน้าคนครัว ต้องเตรียมกระทะ หม้อ ทัพพี รองหัวหน้าคนครัว ต้องนำ กลับข้าว เครื่องปรุงไป เป็นต้น 1. ตะเกียง 2. เครื่องครัวที่จำเป็น เช่น หม้อ กระทะ มีดทำครัว 3. อาหารสด อาหารแห้ง และอาหารกระป๋อง 4. กระดาษชำระ 5. กระเป๋ายาและอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาล 6. ถังน้ำ กะละมัง ผ้าเช็ดจาน 7. ไม้ขีดไฟ เชื้อไฟ 8. ยาขัดรองเท้า ยาขัดโลหะ 9. ขวาน มีดพร้า พลั่วสนาม 10. เต็นท์สำหรับ 2 คน พร้อมอุปกรณ์
สิ่งที่ไม่ควรบรรจุเครื่องหลัง - สิ่งของมีค่า หรือราคาแพง ต่างๆ เช่น สร้อยคอทองคำ แหวนทองคำ สร้อยข้อมือ - อุปกรณ์การพนันทุกชนิด - สุรา ยาเสพติด ทุกชนิด เทคนิคและหลักการบรรจุของลงเป้ 1. ใส่ของที่ใช้ทีหลังก่อน 2. ของแข็งควรบรรจุไว้ด้านนอก 3. ของเบา ของนิ่ม ให้บรรจุติดกับหลัง 4. ใส่ของที่ต้องใช้ก่อน เป็นลำดับสุดท้าย
เรื่อง ทักษะการเตรียมชีวิตชาวค่าย กับการประกอบอาหารด้วยความปลอดภัย สูทกรรม คือ วิชาที่ว่าด้วยการทำอาหารชาวค่าย ในหลักสูตร การศึกษากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน วิชาลูกเสือ-เนตรนารี เป็นอีกวิชา หนึ่งทีนักเรียนจะต้องเรียน ในการเรียนรู้สูทกรรมเวลาเข้าค่ายพัก แรม หรือเวลาการออกค่ายแต่ละแห่ง จึงมีการบูรณาการให้เข้ากับ สถานที่แต่ละแห่ง ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็แล้วแต่ทุกคนต้องทำกับข้าว ทำอาหาร หาวัสดุ การเตรียมรายการอาหารเป็น ลูกเสือ-เนตรนารีสามัญแต่ละเหมู่จำเป็นต้องเตรียมรายการอ หารล่วงหน้า โดยต้องวางแผนว่าจะอยู่ค่ายพักแรมกี่วัน ในแต่ละวัน จะต้องรับประทานทั้งมื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็นเป็นจำนวนกี่มื้อ ตลอดการอยู่ค่ายพักแรม ในแต่ละมื้อนั้นจะปรุงอาหารอะไรบ้าง จาก นั้นให้ลูกเสือ-เนตรนารีแจกแจงรายละเอียดของรายการอาหาร เลือกซื้อให้ครบถ้วน เพื่อสะดวกต่อการปรุงอาหาร อาหารที่จะปรุง ควรเป็นอาหารที่ปรุงง่ายๆ และต้องถูกหลักโภชนาการ อาหารที่จะ นำไปควรเลือกที่มีน้ำหนักเบา ประหยัดเนื้อที่ในการขนย้าย
เรื่อง ทักษะการเตรียม ชีวิตชาวค่าย ชีวิตชาวค่าย เป็นกิจกรรมสร้า งนิสัย การบำเพ็ญประโยชน์ รู้จัก การปรับตัวเข้าหากัน และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยการฝึกปฏิบัติตนด้วยการทำงานร่วมกันเป็นหมู่รู้จักยอมรับใน บทบาทหน้าที่ซึ่งกันและกัน ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม ฝึกให้รู้จักช่วย เหลือตนเองเมื่อมีเหตุการณ์คับขัน รู้จักการดำรงชีพกลางแจ้งโดยไม่ นิ่งเฉย เชื่อฟังกฎกติกาอยู่ในระเบียบอย่างเคร่งครัด สร้างเสริม คุณธรรม สร้างความมีวินัย ชีวิตชาวค่าย ประกอบด้วย 1. เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่จำเป็น 2. การสร้างครัวชาวค่าย 3. การสร้างเตาประเภทต่าง ๆ 4. การประกอบอาหารแบบชาวค่าย
เรื่อง ทักษะการเตรียม ชีวิตชาวค่าย 1.เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่จำเป็น สำห รับชีวิตชาวค่าย เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการอยู่ค่ายพักแรม มีหลากหลาย ประเภทแยกตามลักษณะของการใช้งาน แบ่งออกเป็น ของมีคม ได้แก่ มีด ขวาน เลื่อย เครื่องมือที่ใช้สำหรับขุดได้แก่ จอบ เสียม พลั่ว พลั่ว สนาม และเครื่องมือที่ใช้สำหรับตอก ได้แก่ ค้อน โดยแยกเก็บตาม ประเภท และลักษณะการใช้งาน เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้งาน และความเป็นระเบียบเรียบร้อย
เครื่องใช้ต่าง ๆ หม้อ กระทะ แก้วน้ำ มีด เขียง ฯลฯ ที่เก็บมีด ที่เก็บกระบอกน้ำ เก็บจาน ที่เก็บถังน้ำ ที่เก็บอาหาร จะต้อง จัดทำขึ้นที่หุงต้มควรมีหลังคามุงกันแดดกันฝน อาจใช้โต๊ะอาหาร และม้านั่งควรจัดทำขึ้นตามแบบง่าย ๆ
2. การสร้างครัวชาวค่าย การสร้างครัว เป็นการกำหนดพื้นที่สำหรับ ใช้ในการประกอบอาหารตลอดระยะเวลา ในการอยู่ค่ายพักแรม มีองค์ประกอบ ในการสร้างครัว ดังนี้ ที่ทำครัว ควรมีเขตทำครัวโดยเฉพาะ โดย เลือกพื้นที่ ถ้ามีหญ้าขึ้นอยู่ ต้องแซะหญ้าออก (ให้ติดดินประมาณ 10 ซม.) แล้วค่อยตั้งเตาไฟ ส่วนหญ้าที่แซะออกนั้นจะต้องหมั่นรดน้ำไว้ เมื่อการอยู่ค่ายพักแรมได้สิ้นสุดลงแล้วก็ให้ปลูกหญ้าไว้ ที่เดิม แล้วรดน้ำเพื่อให้คืนสู่สภาพเดิมในการจัดทำเครื่องใช้นั้น อะไรควรจัดทำก่อน อะไรควรจัดทำภายหลังถือหลักว่าอันไหนสำคัญ ที่สุดก็ให้จัดทำก่อน จัดทำสิ่งที่มีความสำคัญรองลงมาตามลำดับต่อ ไปนี้ คือ คำแนะนำในการสร้างเครื่องใช้ต่าง ๆ เตาไฟ มีหลายแบบ เช่น แบบขุดเป็นราง แบบใช้อิฐ หรือก้อนหินวางเป็นสามเส้า แบบเตาลอยเป็นแบบสะดวก เตา กระป๋อง ในการทำครัว ก่อนตั้งเตาไฟควรทำความสะอาดบริเวณนั้น อย่าให้มีเชื้อไฟหรือสิ่งที่ติดไฟง่ายอยู่ใกล้ ๆ กองฟืน ลักษณะของฟืนที่นำมาใช้ควรเป็นไม้แห้ง เพื่อง่ายต่อ การก่อไฟ ควรกองให้เป็นระเบียบ อยู่ไม่ห่างจากเตาไฟ ถ้าฝนตกจะ ต้องมีหลังคาคลุมดิน สำหรับเตายืนอาจเอาฟืนไว้ใต้เตาก็ได้
3. การสร้างเตาประเภทต่าง ๆ เตาไฟ แบบขุดเป็นราง เตารางไม้ เตาแขวน นำไม้ที่มีง่ามสองท่อนมาปักลงดินตรงข้าม กัน แล้วนำไม้ท่อนตรงวางพาดเป็นคานไว้แขวนภาชนะ (ไม้ที่ควรใช้พาดควรเป็นไม้ดิบ ซึ่งจะไม่ทำให้ไหม้ได้ง่าย)
เตาไฟ แบบใช้อิฐ เตาอิฐ ขนาดเล็กสำหรับที่อยู่อาศัยในช่วงฤดูร้อนอาจมีรูปร่างที่ค่อนข้าง แตกต่างกัน ดังนั้นให้ดูภาพถ่ายล่วงหน้าและเลือกตัวเลือกที่คุณต้องการ แถวเริ่มต้นของอิฐไม่ควรล้นออกมาด้วยเหตุนี้รอยต่อระหว่างพื้นและอิฐ จะถูกปิดผนึกด้วยปูนดินเหนียวและปูด้วยฐานเพื่อเสริมความแข็งแรง ของตะเข็บและทำให้โครงสร้างมีความสวยงามโดยทั่วไป ในแถวที่ห้าอิฐวางแบนในแถวที่หก - มีขอบและวางอิฐก้อนสุดท้ายของ แต่การวางผนังด้านหลังของเตาขนาดเล็กนั้นทำได้โดยใช้อิฐที่ขอบ เท่านั้น
เตาไฟ ก้อนหินวางเป็นสามเส้า เตาสามเส้า ก้อนหินวางเป็นสามเส้า เป็นการนำก้อนหินสามก้อนมาวาง บนพื้น จัดระยะห่างให้พอดีกับก้อนหม้อเป็นสามมุมดูให้อากาศถ่ายเทได้ สะดวก เตาแขวน หรือเตาราว ใช้ไม้ที่มีง่ามมาปักลงดิน เป็นระยะห่าง ให้พอดี แล้วหาไม้ยาวเป็นคานมาพาดง่ามไว้สำหรับ แขวนภาชนะ
เตาไฟ แบบเตาลอย เตาลอย ในค่ายพักแรม ควรมีเตาลอยที่ใช้ประกอบอาหารและ มีที่เก็บ รวมฟืนไว้สำหรับประกอบอาหาร ให้ขุดหลุมสี่มุม แล้ว นำท่อนไม้แข็ง แรงสี่ต้นทำเป็นเสาสี่มุม นำไม้มาวางพาดผูกเป็นสี่เหลี่ยมและวางคาน ให้เต็มพื้นที่ ใช้ใบไม้ปูให้ราบ เอาดินปูพื้นให้หนาพอสมควร อีกชั้น แล้วใช้ก้อนหินทำเป็นเตาสามเส้า หรือเตารางแล้วแต่สะดวก ( หากเป็น หน้าฤดูฝน สามารถสร้างหลังคาต่อเติมได้ )
เตาไฟ แบบเตากระป๋อง เตากระป๋อง นำกระป๋องหรือถังขนาดเล็ก ที่พอดีกับหม้อหรือภาชนะ มาผ่า ข้างออก เป็นประตูลมแล้วเจาะรูส่วนบนเพื่อให้อากาศถ่ายเทสี่รู การประกอบอาหาร เราอาจใช้เตากระป๋อง เมื่อเดินทางตาม ธรรมชาติ เดินป่า หากนักเรียนไม่มีเตาแก๊สไปด้วย การจุดไฟทำอาหารถือ เป็นเรื่องยาก หากช่วงนั้นฝนตกจะหาเศษไม้มาก่อกองไฟก็คงจะจุดติดได้ ยาก แต่ถ้านักเรียนใช้วิธีที่นำมาฝากในวันนี้ รับรองว่า ไม่ว่าฝนตกแดดออก นักเรียนก็จะมีเตาฉุกเฉินขนาดจิ๋วไว้ใช้ทำอาหารหรือให้แสงสว่างอย่าง แน่นอน วิธีทำนั้นก็ง่ายแสนง่าย เพียงแค่นักเรียนมีอาหารกระป๋อง หรือ กระป๋อง น้ำอัดลม 2 กระป๋อง แอลกอฮอล์แนะนำ 91% ขึ้นไป เพื่อให้ติดไฟง่าย และอุปกรณ์อีกนิดหน่อย ก็สามารถสร้างเตาไฟ ฉุกเฉินได้แล้ว ถือเป็นเตาที่ใช้ยามฉุกเฉินได้ดีเลยทีเดียว มีวิธีทำอย่างไร
วีธีการสร้างเตากระป๋องน้ำอัดลม อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม 1. กระป๋องน้ำอัดลม 2 กระป๋อง 2. เข็มหมุดตะปู 1 ตัว 3. กรรไกรหรือคัตเตอร์ 4. กระดาษทราย 5. แอลกอฮอล์ แบบความเข้มข้นสูง 91% ขึ้นไป 6. เหรียญ 7. สำลี วิธีทำ 1. ตัดกระป๋องน้ำอัดลมที่เตรียมไว้ ความสูง 1ส่วน 4 ของกระป๋อง 2. โดยใช้มีดสำหรับตัดกระป๋อง หรือกรรไกร ปลายกระป๋องที่เราตัด จะมีส่วนที่คม ๆ และใช้กระดาษทรายขัดให้เรียบร้อย 3. เมื่อตัดกระป๋องได้ครบทั้ง 2 อันแล้ว นำมาเจาะรู 1 อัน อีก 1 อันไม่ ต้องเจาะ เอาไว้ใช้ประกบให้เป็นกระป๋องดังเดิม การเจาะรู ให้ใช้ มาร์คเกอร์ตรงที่จะเจาะ แล้วใช้ตะปูเริ่มเจาะจากตรงกลางก่อน 4. จากนั้นใส่สำลีลงไปในกระป๋องที่ไม่ได้เจาะรู แล้วนำกระป๋องชิ้นที่ เจาะรูมาประกบให้เข้ากัน แล้วก็เจาะรูตรงขอบด้านบนของกระป๋อง แล้วนำกระป๋องชิ้นที่เจาะรูมาประกบให้เข้ากัน แล้วก็เจาะรูตรงขอบด้าน บนของกระป๋อง เสร็จแล้วเทแอลกอฮอล์ลงไป ทีนี้ก็พร้อมใช้แล้ว เริ่มใช้ไฟลนตรงก้นกระป๋องให้แอลกอฮอล์ระเหยก่อน แล้วไปจุดไฟ ตรงรูด้านบน จากนั้นจึงใส่เหรียญปิดปาดรูตรงกลาง เพื่อเผาไหม้ช้าๆ
วีธีการสร้างเตากระป๋องอลูมิเนียม ไอเดียดีๆ ที่นำมาฝากกันใน วันนี้นะคะ วันนี้เราจะหยิบเอา กระป๋องเปล่าอลูมิเนียมมาดัดแปลง ทำเตาปิคนิคขนาดเล็กชนิดพกพา กันค่ะ เรามาดูภาพชิ้นงานสำเร็จ และวิธีทำกันได้เลยนะคะ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ก็ได้แก่ กระป๋องเปล่าอลูมิเนียมขนาด ใหญ่ 1 ใบ ขนาดกลาง 1 ใบ และ ขนาดเล็ก 1 ใบ ปูนสำเร็จ ก้อนหินหริออิฐตัดเป็นก้อนเล็ก 3 ก้อน ฆ้อน คีม ที่เปิดกระป๋อง ปากกาเมจิก กระดาษขาว สก๊อทเทป กรรไกร 1.นำกระป๋องใบเล็กมาทาบก้นกระป๋องลงบนกระดาษ จากนั้นใช้ ปากกาเมจิกขีดเส้นรอบวงก้นกระป๋อง ตัดกระดาษต้นแบบออกมาจะ ได้กระดาษทรงกลม ทาบกระดาษที่ได้ลงบนด้านข้างของกระป๋องใบ ใหญ่และกระป๋องใบกลางติดสก๊อตเทปยึดไว้ ใช้ที่เปิกระป๋อง,ค้อน,คีม ช่วยในการเจาะรูให้ได้ขนาดเท่ากับแบบก้นกระป๋องใบเล็ก 2.เปิดฝากระป๋องใบเล็กทั้งปากกระป๋องและก้นกระป๋อง จากนั้นนำ กระป๋องใบกลางไปสวมไว้ตรงกลางกระป๋องใบใหญ่ นำกระป๋องใบเล็กที่ เปิดฝาและก้นกระป๋องสวมลงไปในรูของกระป๋องใบใหญ่และใบกลางที่ เจาะไว้ให้ตรงกันจนทะลุเข้าไปยังส่วนด้านในสุดราว 1 นิ้ว 3.ผสมปูนสำเร็จ จากนั้นเทลงในช่องระหว่างกระป๋องใบกลางและใบ ใหญ่จนเกือบถึงขอบด้านบน นำเอาก้อนหินหรืออิฐมาใส่ด้านบนของ ช่องปูน 3 ด้าน เทปูนลงไปจนเต็ม 4.ทิ้งไว้ให้ปูนแห้ง จากนั้นจึงนำไปใช้งานเป็นเตาปิคนิคขนาดเล็กชนิดใช้ ถ่านหรือกิ่งไม้แห้งได้เลย https://ideadeedee.blogspot.com/2014/08/diy_25.html
เตาไฟ แบบเตาหลุม เตาหลุม ขุดหลุมให้มีขนาดกว้างพอเท่ากับหม้อ ลึกพอประมาณ แล้วเจาะรู เพื่อใส่ฟืน ด้านหน้า แล้วรูระบายอากาศ ด้านข้างเพื่อให้ควันออก วิธีการ ขุดหลุมกว้าง ๑.๐๐ ม. ลึก ๑.๕๐ ม. เป็นช่องใส่ไม้ที่จะเผาถ่าน ทะลวงไม้ไผ่ ฝังดินถึงก้นหลุม ทำเป็นท่อควันไฟ ถ้าจะดักจับน้ำส้มควัน ไม้ก็ต่อได้ เมื่อจะเผา ให้ตัดไม้ที่จะเผายาวเท่ากับความลึกของหลุม เรียงในแนว ยืนจนเต็ม จุดไฟเผาไม้ที่จะเผาถ่านที่ปากหลุม ให้ไฟติดไม้ฟืน
เตาหลุดแบบต่าง ๆ
หลุมเปียก ขุดหลุมขนาดใหญ่ให้ลึกพอสมควร ที่ปาก หลุมใช้กิ่งไม้ ใบไม้สานเป็นแผงปิดแล้วเอาหญ้าโรยข้างบน หลุมน้ำสำหรับเทน้ำต่าง ๆที่ไม่ใช้แล้ว เช่น น้ำปนไขมัน ซึ่งสิ่ง เหล่านี้เมื่อเทลงไปไขมันและสิ่งต่าง ๆ จะติดอยู่ที่หญ้า มีแต่น้ำ แท้ ๆ ไหลลงไปในหลุม แผงที่ปากหลุมจะต้องนำไปเผา และ เปลี่ยนใหม่วันละครั้งเป็นอย่างน้อย หลุมแห้ง ขุดเป็นอีกหลุมหนึ่ง เมื่อทิ้งเศษอาหารแล้ว จะต้องเอาดินกลบ ถ้าเป็นกระป๋อง ก่อนทิ้งต้องทุบให้แบนและ เผาไฟ ในกรณีที่ค่ายนั้นมีถังสำหรับเผาขยะหรือเศษอาหารโดย เฉพาะอยู่แล้ว ก็ให้นำขยะและเศษอาหารไปเผา ณ ที่กำหนดไว้
หลุมเปียกและหลุมแห้งแบบต่าง ๆ
4. การประกอบอาหารแบบชาวค่าย การปรุงอาหารในขณะอยู่ค่ายพักแรกหรือเดินป่า เป็นการ ปรุงอาหารแบบชาวค่าย ไม่สามารถเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ในการ หุงต้มได้ครบถ้วน เช่น ใช้เตาถ่าน เตาหลุม เตาสามเส้า เตาราง ไม้ เตาแขวน หรือหม้อสนาม ใช้มะพร้าวอ่อนแทนหม้อ กระบอก ไม้ไผ่ ใช้ดินพอกเผาแทนการต้ม การทอด การปิ้ ง การย่าง เป็นต้น การปฏิบัติหรือประกอบอาหารบางอย่างที่จำเป็นในขณะที่อยุ่ ค่ายพักแรม ควรเลือกประกอบอาหารอย่างง่าย และรวดเร็ว คง คุณค่าทางอาหาร ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ การหุงข้าวด้วยวิธีต่าง ๆ 1.การหุงข้าวด้วยหม้อหู สามารถหุงข้าวได้ 2 แบบ คือ แบบไม่เช็ด น้ำ และแบบเช็คน้ำ การหุงข้าวไม่เช็นน้ำ 1 ส่วน ต่อน้ำ 2-2.5 ส่วน วิธีหุง 1. ซาวข้าวให้หมดสิ่งสกปรก รินน้ำทิ้ง 2. ตวงน้ำใส่น้ำในหม้อ ปิดฝาให้สนิท ตั้งบนเตา ใส่ไฟแรงจัด 3. เมื่อน้ำเดือดใช้พายกวน 1 ครั้ง พอน้ำจวนแห้งปิดฝาหม้อให้ สนิทเอาถ่านหรือฟืนออกเหลือเกลี่ยไว้ให้ไฟน้อยที่สุด (การกวน คนข้าวนี้ เพื่อให้ได้รับความร้อนทั่วถึงกัน) 4. เอียงข้าง ๆ หม้อให้รอบ ๆ ตั้งต่อไปจนน้ำแห้งให้ข้าวสุดและ ระอุดี ใช้เวลาประมาณ 20-25 นาที
การหุงข้าวไม่เช็นน้ำ 1 ส่วน ต่อน้ำ 3 ส่วน วิธีหุง 1. ซาวข้าวให้หมดสิ่งสกปรก รินน้ำทิ้ง 2. ตวงน้ำใส่หม้อ ปิดฝาให้สนิท ตั้งบนไฟแรงจนกระทั่งข้าวเดือด 3. เมื่อน้ำเดือดใช้พายกวน 1 ครั้ง หรือมากกว่า เพื่อให้ได้รับความร้อน ทั่วถึง 4. สังเกตดูพอเม็ดขาวบาน รินน้ำข้าวทิ้ง เอาขึ้นดงบนเตา ใช้ไฟอ่อน เอียงข้าง ๆ หม้อให้รอบ ๆ ตั้งต่อไปจนน้ำแห้งให้ข้าวสุดและระอุดี ใช้เวลาประมาณ 20-25 นาที
การหุงข้าวแบบเตาถ่าน (สำหรับมือใหม่) 1. การหุงข้าวด้วยหม้อหู สามารถหุงข้าวได้ 2 แบบ คือ แบบไม่ เช็ดน้ำ และเช็ดน้ำ การหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ ข้าว 1 ส่วน ต่อ น้ำ 3 ส่วน วิธีหุง 1) ซาวข้าวพอหมดสิ่งสกปรก รินน้ำทิ้ง 2) ตวงน้ำใส่หม้อ ปิดฝาให้สนิท ตั้งบนไฟใช้ไฟแรงจนกระทั่งข้าว เดือด 3) เมื่อน้ำเดือดใช้พายกวนข้าว 1 ครั้ง หรือมากกว่า เพื่อให้ได้รับ ความร้อนทั่วถึง 4) สังเกตดูพอเม็ดข้าวบานรินน้ำข้าวทิ้งเอาขึ้นดงบนเตา ใช้ไฟ อ่อนๆ ตะแคงหม้อ หมุนให้ได้ความร้อนทั่วจนน้ำแห้ง จากนั้นให้ยก ลงจากเตา ประโยชน์ต่างๆของน้ำข้าว จากการหุงข้าวด้วยวิธีเช็ดน้ำแบบโบราณ
การหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำ ข้าว 1 ส่วน ต่อน้ำ 2- 2.5 ส่วน วิธีหุง 1) ซาวข้าวให้หมดสิ่งสกปรก รินน้ำทิ้ง 2) ตวงน้ำใส่หม้อ ปิดฝาให้สนิท ตั้งบนเตา ใส่ไฟแรงจัด 3) เมื่อน้ำเดือดใช้พายกวน 1 ครั้ง พอน้ำจวนแห้งปิดฝาหม้อให้สนิท เอาถ่านหรือฟืนออกเหลือเกลี่ยไว้ให้ไฟน้อยที่สุด (การกวนคนข้าวนี้ เพื่อให้ได้รับความร้อนทั่วถึงกัน) 4) เอียงข้างๆ หม้อให้รอบๆ ตั้งต่อไปจนน้ำแห้งให้ข้าวสุกและ ระอุดี ใช้เวลาประมาณ 20-25 นาที
2. วิธีการแก้ข้าว - วิธีการแก้ข้าวแฉะ ข้าวแฉะเกิดจากปล่อยทิ้งไว้จนเม็ดข้าวบานมาก หรือใส่น้ำน้อยจนน้ำ ข้าว ข้นมากก่อนจะเช็ดน้ำข้าวให้ใส่น้ำเปล่าลงไปให้น้ำไม่ข้น คนให้ทั่ว หม้อ แล้วเช็ดน้ำให้แห้งปิดฝาหม้อให้สนิท แล้วหมุนหม้อไปมา และ นำหม้อข้าวไปตั้งที่เตาไฟ โดยใช้ไฟอ่อน ๆ 1. หากหุงข้าวแล้วยังมีน้ำเหลือในหม้อ ให้เปิดฝาหม้อปล่อยให้น้ำ ระเหยออกไปก่อน การเปิดฝาหม้อจะช่วยไล่ไอน้ำ จากนั้นหุงข้าว ต่ออีกประมาณ 5 นาที 2. อีกวิธีหนึ่งคือให้กรองน้ำส่วนเกินออกจากข้าว แล้วทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที จากนั้นเช็กดูว่าข้าวที่เรากรองน้ำออกแล้วใช้ได้ไหม
- วิธีแก้ข้าวดิบ ให้ใช้น้ำพรมข้าวพอประมาณ คุ้ยพรมให้ทั่วหม้อแล้วจึงนำ หม้อข้าวขึ้นดงใหม่หมุนให้ทั่ว ดงให้นานกว่าดงข้าวธรรมดา เมื่อยก ลงห้ามเปิดฝาหม้อ ควรปิดให้สนิท เพื่อข้าวจะได้สุกระอุดี - วิธีแก้ข้าวไหม้ หากได้กลินข้าวไหม้ รีบเปิดฝาหม้อ เพื่อให้ไอน้ำออก และ ความร้อนในหม้อจะได้ลดลงขณะเดียวกันกลิ่นไหม้จะได้ออกไปด้วย คุ้ยข้าวตอนบนที่ไม่ไหม้ให้สุก แล้วเปิดฝาทิ้งไว้
การประกอบอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ การต้ม ทำได้ 2 วิธี คือ 1.โดยการใส่ของที่จะทำให้สุกลงไปพร้อมกับน้ำแล้วนำไปตั้งไฟ เช่น การต้มไข่ ถ้าใส่ในน้ำเดือนไข่จะแตกเสียก่อน ต้มจืด ต้มยำ เป็นต้น 2.โดยการใส่ของที่จะทำให้สุก เมื่อน้ำนั้นเดือดแล้ว เช่น การต้มปลา กันเหม็นคาว วิธีต้มไข่ให้อร่อยตามใจสั่ง 1.ล้างไข่ไก่ให้สะอาด วางลงในหม้อที่จะใช้ต้ม เทน้ำเปล่าใส่ลงไป ให้ท่วมไข่พอประมาณ ใส่เกลือ และ/หรือ น้ำส้มสายชูลงไป 2.เปิดไฟ และตั้งเวลา เพื่อให้ได้ไข่ต้มในระดับความสุกที่ต้องการ ต้มไข่ 2 นาที : ไข่ขาวทั้งใบยังไม่สุกดี หรือเรียกกันว่า “ไข่ลวก” ต้มไข่ 4 นาที : ไข่ขาวเริ่มสุกแล้ว กับไข่แดงยางมะตูม ต้มไข่ 6 นาที : ไข่ต้มเริ่มสุก ไข่แดงเป็นสีส้มๆ เกือบสุกแล้ว ต้มไข่ 8 นาที : ไข่ต้มสุกทั้งใบ แต่ไข่แดงยังมีสีส้มๆ อยู่บ้าง ต้มไข่ 10 นาที : ไข่ต้มสุกทั้งใบ ต้มไข่ 15 นาที : ไข่ต้มสุกมากๆ ทั้งใบ ไข่แดงเป็นสีเหลืองอ่อน
3.ระหว่างที่ ต้มไข่ ให้หมั่นคน ไข่ให้ไปทางเดียวกัน วิธีนี้ จะทำให้ได้ ไข่แดงอยู่ตรงกลาง ไม่ค่อนเอียง หรือ ติดเปลือกตอนแกะ หากนักเรียนไม่สามารถแกะเปลือกไข่ครึ่งบนออกได้ ให้แก้ปัญหา โดยใช้ของแข็ง เช่น หลังช้อนกะเทาะรอบเปลือกไข่กระทั่งเกิดเป็นรอย ร้าวจนทั่วหลังจากต้มไข่ เสร็จแล้วก็นำไปแช่น้ำเย็นต่ออีก 30 นาที จึง ค่อยนำมาปอกเปลือก แล้วเปลือกไข่ก็จะหลุดออกมาอย่างง่ายเหลือเชื่อ ปอกเปลือกไข่เมื่อจะกิน. วางไข่ลงบนพื้นผิวที่เรียบและสะอาด จาก นั้นใช้มือกดไข่ คลึงไปมาเพื่อให้เปลือกไข่แตก เริ่มปอกเปลือกจาก ด้านที่อ้วนกว่าของไข่ก่อน เพราะตรงนั้นจะมีช่องว่างเล็ก ๆ ภายใต้ เปลือก ทำให้ปอกได้ง่าย เปิดน้ำเย็นล้างไข่ขณะที่ปอกไปด้วย เปลือกไข่และเยื่อหุ้มไข่จะได้ไม่ติดอยู่ที่ไข่คำแนะนำในการปอก เปลือกอย่างรวดเร็ว: วางไข่ทั้งหมดใส่ในหม้อที่ใช้ต้มไข่ ปิดฝาหม้อ แล้วเขย่าหม้อไปมาเพื่อกะเทาะเปลือกไข่ทุกใบพร้อมกัน
การประกอบอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ ไข่ต้มปรุงรสแบบญี่ปุ่น มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Nitamago หนึ่งใน ท็อปปิ้ งราเมนที่ดูเหมือนทำยาก แต่จริง ๆ แล้วมันก็เหมือน ไข่แช่ซีอิ๊วหรือไข่พะโล้ดี ๆ เป็นของกินเล่นของคนญี่ปุ่น นิยม ใส่ในราเมนหรือกล่องเบนโตะ มันก็คือการทำให้ไข่แดงตรงกลาง เยิ้ม ๆ และไข่ขาวนุ่มกำลังดี ไม่แน่นหนึบเหมือนไข่พะโล้แบบไทย บ้านเราที่เอาไปเคี่ยวกับน้ำตาล ซึ่งระดับความเยิ้มของไข่แดงก็อยู่ ที่ระยะเวลาการต้มไข่นั่นเอง มีตั้งแต่ไข่แดงเหลว จนเป็นคัสตาร์ด วิธีไข่ต้มปรุงรสแบบญี่ปุ่น INGREDIENTS ไข่ไก่ (ฟองละ 65-70 กรัม) 4 ฟอง เหล็กปลายแหลมเจาะไข่ไก่ METHOD 1. เตรียมไข่ไก่โดยเจาะด้านป้านของไข่ไก่ด้วยเหล็กปลายแหลม ทำจนครบทุกฟอง เตรียมไว้ สตาร์ด 2. ต้มน้ำให้เดือด ใส่ไข่ไก่ลงต้มประมาณ 6 นาที ตักขึ้นแช่น้ำเย็น ปอกเปลือกไข่ต้ม 3. เตรียมน้ำปรุงรสสำหรับแช่ไข่โดยใส่สาเก มิริน ซีอิ๊วญี่ปุ่น น้ำ และผงดาชิ ตั้งไฟให้เดือดประมาณ 1 นาทีให้ แอลกอฮอล์ระเหย และผงดาชิละลายดี ปิดไฟ ทิ้งไว้ให้เย็น 4. ใส่ไข่ต้มปอกเปลือกลงแช่ทิ้งไว้ในน้ำปรุงรส 24 ชั่วโมง ตักไข่ต้ม ออก รับประทานได้ทันที
การประกอบอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ ต้มจืดหรือแกงจืดซดร้อน ๆ อร่อยคล่องคอ ต้มจืด หรือสูตรแกงจืด คือเมนูอาหารไทยที่คุ้นเคยตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะแกงจืดผักกาดขาว แกงจืดวุ้นเส้น แกงจืดปลาหมึกยัดไส้ และแกงจืดเต้าหู้หมูสับ ถ้าใครอยากทำเมนูแกงจืด กระปุกดอทคอม ขอนำเสนอ 9 สูตรแกงจืด เช่น แกงจืดเต้าหู้สอดไส้เนื้อปลา แกงจืด ฟักมะนาวดอง แกงจืดมะระยัดไส้หมูสับ แกงจืดแตงกวายัดไส้ แกงจืดไข่ม้วนหมูสับวุ้นเส้น 1.แกงจืดมะระยัดไส้หมูสับ ส่วนผสม แกงจืดมะระยัดไส้หมูสับ • มะระ 1 ลูก • กระเทียม 5 กลีบ • พริกไทย 1/4 ช้อนโต๊ะ • เนื้อหมูสับ 200 กรัม • น้ำปลา • ซุปก้อน 1 ก้อน • รากผักชี 1 ราก • พริกไทยเม็ด • ซีอิ๊วขาว • แครอท (หั่นเป็นชิ้น หรือกดเป็นดอก) • เกลือป่น 1 ช้อนชา • พริกไทยป่น และใบขึ้นฉ่าย (สำหรับโรยหน้า)
ส่วนผสมสำหรับทำหมักหมูบด - กระเทียม 5-6 กลีบ - พริกไทย 1 ช้อนชา -รากผักชี 1 ราก - ซอสปรุงรส 2 ช้อนโต๊ะ - ซอสหอยนางรม 2 ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ต้มมะระยัดไส้พร้อมวิธีต้มยังไงไม่ให้ขม 1. เริ่มต้นล้างทำความสะอาดมะระ ให้เรียบร้อย วันนี้เราซื้อหมูบดที่บด เรียบร้อยแล้วมาจากตลาด 2. ทำการหมักหมูบด กระเทียม พริกไทย รากผักชี ที่เราโขลกรวมกัน ปรุงรสชาติด้วย ซอสปรุงรส 3. มะระวันนี้เราเตรียมไว้ 1 ลูก ซอสหอยนางรมคนให้ส่วนผสมเข้ากัน หั่นเป็นท่อนประมาณ 4 ชิ้น นวดประมาณ 2 นาที นำไปพักไว้ก่อน เสร็จแล้วใช้ปลายช้อนขูดเอาไส้ และใยของมะระออกให้หมด หลังจากนั้นนำเกลือป่นไปทูที่ผิว ของมะระทั้งด้านในและด้าน นอกจะช่วยลดความขมของ มะระ เสร็จแล้วนำไปล้างผ่านน้ำ จากนำหมูที่หมักไว้ยัดไส้ที่ตัว การนำเกลือป่นไปขัดผิวของ มะระได้เลย มะระจะช่วยให้ผิวของมะระลด ความขมลง บางบ้านอาจจะ บอกว่าชอบทานแบบขม
4. ตั้งน้ำให้เดือด พอน้ำเริ่มเดือดแล้วใส่เกลือป่นลงไป ตามด้วยเห็ด หอมแห้งที่เราแช่น้ำไว้ กระเทียมจีนบุบ รากผักชี พริกไทยดำ ผงปรุง รส รอให้น้ำเดือดจัดปรุงรสชาติกันเลยค่ะ ซอสปรุงรส ซอสหอย นางรม น้ำตาลทราย รสชาติต้มมะระยัดไส้จะออกรสชาติขมเล็กน้อย รสชาติกลมกล่อม ไม่เค็มจนเกินไป หมั่นช้อนฟองเรื่อยๆ 5. ได้รสชาติตามที่ต้องการแล้ว ใส่มะระยัดไส้ลงไปแล้วต้มให้มะระ และหมูบดสุกก็เป็นอันใช้ได้ โรยหน้าด้วยผักชี พริกไทยป่นเพิ่ม ความหอม แต่ถ้าใครไม่ชอบทานหมูบด อยากจะใส่กระดูกหมูอ่อนก็ได้ อร่อยไม่ แพ้กัน แต่เราต้องต้มกระดูกหมูอ่อนก่อนนะค่ะ น้ำต้มมะระจะได้มีความใสไม่ขุ่นจะได้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น การ ทำอาหารไม่มีสูตรตายตัวเราสามารถดัดแปลงวัตถุดิบหรือรสชาติได้ตามที่ เราชอบได้เลย ขอให้ทานแล้วมีความสุขอร่อยก็พอใจแล้วค่ะนอกจะช่วยลด ความขมของมะระ เสร็จแล้วนำไปล้างผ่านน้ำ อาจทำการนำหมูสับ+วุ้นเส้น+แครอทสับหมักไว้ และยัดไส้ที่ตัวมะระได้เลย
แกงจืดแตงกวายัดไส้ สูตรแกงจืดแตงกวายัดไส้ เป็นแกงจืดก็ได้น้ำซุปรสหวาน โดยไม่ ต้องใส่น้ำตาลอะไรทั้งสิ้น สูตรนี้ยัดไส้ด้วยเนื้ออกไก่ เพิ่มสีสันแกงจืด อีกนิดด้วยแครอท เพื่อสุขภาพ ชามนี้กับข้าวสวยร้อน ๆ ส่วนผสม แกงจืดแตงกวายัดไส้ - รากผักชี - กระเทียม - พริกไทยดำเม็ด - เนื้ออกไก่สับ - น้ำมันงา - ซีอิ๊วขาว (โซเดียมต่ำ) - แตงกวาหั่นท่อน (คว้านไส้ออก) - น้ำซุป - แครอท (หั่นแว่น) - ผักชี (สำหรับโรย) วิธีทำแกงจืดแตงกวายัดไส้ 1. โขลกรากผักชี กระเทียม และพริกไทยดำ นำไปหมักกับอกไก่คลุก เคล้าให้เข้ากัน ใส่น้ำมันงาและซีอิ๊วขาวลงไป แช่เย็นไว้ 1 คืน 2. ปอกแตงกวาโดยคว้านเอาไส้ออก จากนั้น หั่นเป็นท่อนแล้ว ยัดไส้เนื้ออกไก่ ให้เต็มและ กดให้แน่ ๆ จากคุณ iamrabbiy
3. ปอกแครอทและหั่นเป็นแว่น ๆ หรือกดแม่พิมพ์เพื่อความสวยงาม 4. ผสมเนื้อไก่สับ แครอท และเห็ดหอม เข้าด้วยกัน ปรุงรสด้วย ซีอิ๊วขาว 1/2 ช้อนชา แล้วนำไปยัดไส้ในแตงกวาจนเต็ม 5. ตั้งน้ำซุปให้เดือด แล้วใส่แตงกวายัดใส่ลงต้ม อย่าเพิ่งคน ต้มให้เดือดอีกครั้งก่อน จากนั้นใส่ผักซีและเห็ดลงไป ปรุงรสด้วย ซีอิ๊วขาว 1/2 ช้อนชา ปิดไฟ โรยพริกไทยเล็กน้อยก่อนเสิร์ฟ จากคุณ iamrabbiy
แกงจืดต้าหู้ไข่ใส่หมูสับ แกงจืดเต้าหู้ไข่ใส่หมูสับ ถ้าหากมีหม้อไฟฟ้าก็ทำได้สบาย ๆ ส่วนผสม แกงจืดเต้าหู้ไข่ใส่หมูสับ - น้ำเปล่า 2 ถ้วย - ซุปหมูก้อน 1 ก้อน - หมูสับปรุงรส 100 กรัม - แครอท (หั่นแว่น) 100 กรัม - เต้าหู้ไข่ 1 หลอด - ขึ้นฉ่าย 1 ต้น - ผักกาดขาว (หั่นเป็นชิ้น) 200 กรัม - ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ - น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ - กระเทียม (สับละเอียด) 1 ช้อนโต๊ะ วิธีทำแกงจืดเต้าหู้ไข่ใส่หมูสับ 1. ใส่น้ำเปล่าและซุปหมูก้อนลงในชามกระเบื้อง คนผสมจนละลายเข้า กัน นำเข้าเตาไมโครเวฟ ใช้ไฟแรงอุ่นจนน้ำซุปเดือด ประมาณ 2-3 นาที นำออกมา 2. ใส่หมูสับและแครอทลงในชาม นำกลับเข้าเตาไมโครเวฟ ใช้ไฟปาน กลางประมาณ 3 นาที หรือจนหมูสุก นำออกมา 3. ใส่เต้าหู้ไข่ ผักกาดขาว และขึ้นฉ่าย ลงในชาม ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวคน ผสมให้เข้ากัน นำกลับเข้าเตาไมโครเวฟ ใช้ไฟปานกลาง อุ่นจนเต้าหู้ และผักสุกนิ่ม ตักใส่ชาม เตรียมไว้ 4. ใส่น้ำมันพืชลงในถ้วยกระเบื้อง นำเข้าเตาไมโครเวฟ ใช้ไฟแรงรอจน น้ำมันเดือดประมาณ 1 นาที นำออกจากเตา ใส่กระเทียมลงเจียวในขณะ ที่น้ำมันร้อน ๆ รอจนหอมและกรอบ ตักขึ้นโรยบนแกงจืด พร้อมเสิร์ฟ
แกงจืดฟักทองหมูสับ ฟักทองดีต่อสุขภาพ [ ฟักทอง อาหารลดความอ้วน ช่วยผิวเด้ง เต็มไปด้วยประโยชน์] เอาไปทำอาหารคาวก็อร่อย โดยเฉพาะผัดฟักทอง ใส่ไข่ มาทำเป็นแกงจืดฟักทองหมูสับ สูตรจับหมูสับใส่ฟักทองปั้ นก้อน เพิ่มกุ้งลงไปอีกนิด ใส่ผักลงไปอีกหน่อย ชามนี้อิ่มแล้วแถมสีสวยอีกด้วย ส่วนผสม แกงจืดฟักทองหมูสับ • หมูสับ 1/2 ถ้วยตวง • พริกไทยป่น • ซีอิ๊วขาว 1/2 ช้อนโต๊ะ (สำหรับหมัก) • ฟักทอง (หั่นเต๋าเล็ก) 1+1/2 ช้อนโต๊ะ • น้ำซุป 1+1/2 ถ้วยตวง • กุ้งสด (ปอกเปลือกผ่าหลัง) 3 ตัว • บรอกโคลี (หั่นช่อเล็กลวกสุก) 8-10 ช่อ • แครอท (หั่นเต๋าใหญ่) 1 ช้อนโต๊ะ • ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ (สำหรับปรุงรส) • ต้นหอมหั่นท่อน • ผักชี (สำหรับตกแต่ง) วิธีทำแกงจืดฟักทองหมูสับ 1. ผสมหมูสับกับพริกไทยป่นและซีอิ๊วขาวนวดให้เหนียว ใส่ฟักทองลงไป ผสมให้เข้ากัน ปั้ นเป็นก้อนเล็ก ๆ ขนาด 1 เซนติเมตร 2. ตั้งน้ำซุปพอเดือด ใส่หมูปั้ นก้อน ตามด้วยกุ้ง ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว พอสุกใส่บรอกโคลีและแครอทลงไป ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยต้นหอม ผักชี และพริกไทยป่น จัดเสิร์ฟ จากคุณ iamrabbiy
แกงจืดตำลึ แกงจืด โดยเฉพาะต้มจืดตำลึงมีสรรพคุณบำรุงสายตา เพิ่มความ อร่อยจากเต้าหู้ไข่กับหมูสับ กลิ่นหอมจากกระเทียมเจียว ส่วนผสม แกงจืดตำลึง • เต้าหู้ไข่ 1 หลอด • ตำลึง (เด็ดใบ) ตามชอบ • หมูสับปรุงรส 100 กรัม • น้ำซุป 4 ถ้วย • เกลือป่น • กระเทียมเจียว 1 ช้อนโต๊ะ • พริกไทยป่น 1/2 ช้อนชา วิธีทำแกงจืดตำลึง 1. ใส่น้ำซุปลงในหม้อ เปิดไฟกลาง รอจนน้ำซุปเดือด ใส่น้ำซุป 4 ถ้วย ใส่หมูสับ ปรุงรสด้วยเกลือป่น 2. ใส่เต้าหู้ไข่ 1 หลอดและทำการเด็ดใบตำลึงลงไป กดให้ตำลึงจมน้ำ ปิดฝา รอน้ำเดือดปิดไฟ 3. ตักใส่ภาชนะ โรยพริกไทยป่นกับกระเทียมเจียวลงไป จากเฟซบุ๊ก Homemade Clean Food
แกงจืดใบกะหล่ำปลีห่อไส้ไก่ แกงจืดกะหล่ำปลีห่อหมู หรือเป็นแกงจืดใบกะหล่ำปลีห่อไส้ไก่ สูตรจับไส้ไก่ปรุงรสห่อด้วยใบกะหล่ำปลี เพิ่มความเผ็ดและหอมจาก พริกไทยลงไปหน่อย เสิร์ฟกับข้าวกล้องนุ่ม ๆ สักจาน ส่วนผสม แกงจืดฟักทองหมูสับ • เนื้อไก่สับ • แครอทหั่นเต๋าเล็ก • เห็ดหอมหั่นเต๋าเล็ก • ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา • ใบกะหล่ำปลี • น้ำซุป • พริกไทยป่น วิธีทำแกงจืดใบกะหล่ำปลีห่อไส้ไก่ 1. ผสมเนื้อไก่สับ แครอท และเห็ดหอม เข้าด้วยกัน ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว 1/2 ช้อนชา คลุกเคล้าให้เข้ากัน 2. นำส่วนผสมเนื้อไก่วางลงตรงกลางของใบกะหล่ำปลี จัดการห่อให้ สวยงาม 3. ตั้งน้ำซุปให้เดือด ใส่กะหล่ำปลีห่อไส้ไก่ลงไป ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว 1/2 ช้อนชา รอจนส่วนผสมสุก ก่อนเสิร์ฟโรยพริกไทย จากเฟซบุ๊ก Homemade Clean Food
แกงจืดผักกาดขาวกับปลาหมึกยัดไส้อกไก่ แกงจืดปลาหมึกยัดไส้ เพิ่มผักกาดขาวเพื่อทำให้น้ำซุปหวานขึ้น กับปลาหมึกยัดไส้อกไก่ ปรุงรส ส่วนผสม แกงจืดผักกาดขาวกับปลาหมึกยัดไส้อกไก่ • เนื้อไก่สับ • แครอท (หั่นเต๋าเล็ก) • เห็ดหอม (หั่นเต๋าเล็ก) • ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา • ปลาหมึก • น้ำซุป • ผักกาดขาว • พริกไทยป่น วิธีทำแกงจืดผักกาดขาวปลาหมึกยัดไส้ 1. ผสมเนื้อไก่สับ แครอท และเห็ดหอม เข้าด้วยกัน ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว 1/2 ช้อนชา แล้วนำไปยัดไส้ในตัวปลาหมึกจนเต็ม 2. ตั้งน้ำซุปให้เดือด ใส่ปลาหมึกลงต้ม อย่าเพิ่งคน ต้มให้เดือดอีกครั้ง ก่อน จากนั้นใส่ผักกาดขาวลงไป ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว 1/2 ช้อนชา ปิดไฟ ก่อนเสิร์ฟโรยพริกไทย จากเฟซบุ๊ก Homemade Clean Food
แกงจืดไข่ม้วนหมูสับวุ้นเส้น แกงจืดไข่น้ำใส่หมูสับ แกงจืดไข่ม้วนหมูสับวุ้นเส้น สูตรจับเอาไข่ เจียวยัดไส้หมูสับ เพิ่มออปชั่นเสริมใส่วุ้นเส้นลงไปด้วย หน้าตาดีรสเด็ด แน่นอนเลยค่ะ ส่วนผสม แกงจืดไข่ม้วนหมูสับวุ้นเส้น - หมูสับ 150 กรัม - วุ้นเส้น (แช่น้ำตัดเป็นท่อนสั้น) 1/3 ถ้วยตวง - ซีอิ๊วถั่วเหลือง 1 ช้อนชา - ไข่ไก่ 3 ฟอง - น้ำมันพืช - ก้านขึ้นฉ่ายลวก (สำหรับมัดไข่ม้วน) - น้ำเปล่า 2 ถ้วยตวง - ผงซุปรสหมู 1 ช้อนชา - แครอท (กดเป็นดอก) 5 ดอก - ขึ้นฉ่าย (หั่นท่อน) 1/4 ถ้วยตวง - ต้นหอม (หั่นท่อน) 1 ต้น วิธีทำแกงจืดไข่ม้วนหมูสับวุ้นเส้น 1. ผสมหมูสับกับวุ้นเส้น ปรุงรสด้วยซีอิ๊วถั่วเหลืองนวดพอเหนียว แช่เย็น เตรียมไว้ 2. ตอกไข่ไก่ตี กรองด้วยกระชอน จากนั้นตั้งกระทะทาน้ำมันพืชให้ทั่ว พอร้อนก็นำไข่ไก่ลงกลอกให้เป็นแผ่นกลมบาง พอสุกตักขึ้น พักไว้ 3. วางไข่ไก่ที่ทอดเสร็จไว้บนเขียง ตักส่วนผสมหมูสับใส่ลงบนไข่ ห่อให้ เป็นเป็นแท่งกลมแล้วมัดด้วยก้านขึ้นฉ่ายลวกให้แน่น หั่นไข่ม้วน 4. ต้มน้ำพอเดือด ใส่ผงซุปรสหมูพอละลาย ใส่ไข่ที่ห่อไว้ลงต้มประมาณ 10 นาที ใส่แครอต ขึ้นฉ่าย และต้นหอม ลงไปคนให้เข้ากัน ตักเสิร์ฟ จากเฟซบุ๊ก Homemade Clean Food
การประกอบอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ การผัด หมายถึง การทำวัตถุสิ่งเดียวหรือหลายสิ่ง ซึ่งต้องการให้สุก สำเร็จเป็นอาหารสิ่งเดียว วิธีการผัด โดยการใช้น้ำมันหรือกะทิ ใส่ในภาชนะที่จะใช้ผัด แล้วนำของที่ จะผัดรวมลงไปคนให้สุกทั่วกันและปรุงรสตามชอบ เช่น ผัดผักรวม ผัดวุ้นเส้นกะล่ำปลีหูมสับ ผัดกระเพาหมูสับ ผัดผักบุ้งหมูกรอบ ผัดบวบใส่ไข่ ข้าวผัดต่าง ๆ การทอด หมายถึง การใส่น้ำมันลงในภาชนะที่จะใช้ในการทอด โดย ประมาณให้ท่วมของที่จะทอดตั้งไฟให้น้ำมันร้อนจัด จึงใส่ของลงไป ทอด การสังเกตของที่ทอดว่าสุกหรือยังให้สังเกตตามขอบของสิ่งที่ ทอด การถนอมอาหาร การตากแห้ง เป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดมากที่สุด ใช้ได้กับอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้เป็นวิธีทำให้อาหารหมดความชื้นหรือ มีความชื้นอยู่เพียงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์สามารถเกาะอาศัย และเจริญเติบโต ทำให้อาหารไม่เกิดการบูดเน่า โดยการนำน้ำหรือ ความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุด เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาหมึก แห้ง กล้วยตาก เป็นต้น การรวน เป็นวิธีการที่คล้ายกับการคั่ว แต่ต้องใส่น้ำมัน นิยมใช้ ประกอบอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และปรุงรสให้เค็มมากขึ้น เพื่อให้ สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน เช่น หมูรวน ไก่รวน เป็ดรวนและ ปลาหมึกรวน เป็น จากบทที่ 8 ความปลอดภัยและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
รายการอาหารชาวค่าย มื้อแรก เมนูอาหารวันที่ 1 เย็น : ไข่ต้ม กระเพาหมูสับ ต้มจืดวุ้นเส้นหมูสับ อาหารและเครื่องปรุงต่าง ๆ ได้แก่ (ผู้รับผิดชอบ......................) ข้าวสาร จำานวน........... อาหาร จำนวน............. มือ/.........คน อาหารกระป๋อง จำานวน........... เนื้อสตัว์ จำานวน........... เครื่องปรุง เช่น น้ำมันพืช น้ำปลา น้ำตาล เกลือ ซอลปรุงรส ต่างๆ ผัก เช่น กระเทียม ตันหอม ผักชี พริก กระเพา ภาชนะประกอบอาหาร ขนาดของภาชนะประกอบอาหารให้พอ เพียง ตามจำานวน สมาชิก (ผู้รับผิดชอบ......................) หม้อ กระทะ ตะหลิว มีด เขียง หรือถาดรองอาหารและอื่น ๆ ถ้วย-ชาม-จานพลาสติก และแก้วน้ำพลาสติก ไม้ขีดไฟ้ ,น้ำยาล้างจาน ** กาวชีทสำหรับปูนั้งทานอาหาร 1 ผืน
รายการอาหารชาวค่าย มื้อที่สอง และมื้อที่สาม เมนูอาหารวันที่ 2 เช้า : ไข่เจียว ยำปลากระป๋อง ผัดผักรวม ผัดผักบุ้ง (ข้าวต้ม) เย็น : ผัดวุ้นเส้น ต้มยำไก่ ต้มจืดตำลึงเตาหู (ข้าวสวย) อาหารและเครื่องปรุงต่าง ๆ ได้แก่ (ผู้รับผิดชอบ......................) ข้าวสาร จำานวน........... อาหาร จำนวน............. มือ/.........คน อาหารกระป๋อง จำานวน........... เนื้อสตัว์ จำานวน........... เครื่องปรุง เช่น น้ำมันพืช น้ำปลา น้ำตาล เกลือ ซอลปรุงรส ต่างๆ ผัก เช่น กระเทียม ตันหอม ผักชี พริก กระเพา ภาชนะประกอบอาหาร ขนาดของภาชนะประกอบอาหารให้พอ เพียง ตามจำานวน สมาชิก (ผู้รับผิดชอบ......................) หม้อ กระทะ ตะหลิว มีด เขียง หรือถาดรองอาหารและอื่น ๆ ถ้วย-ชาม-จานพลาสติก และแก้วน้ำพลาสติก ไม้ขีดไฟ้ ,น้ำยาล้างจาน ** กาวชีทสำหรับปูนั้งทานอาหาร 1 ผืน
รายการอาหารชาวค่าย มื้อที่สี่ เมนูอาหารวันที่ 3 เช้า : ไข่เจียว ไข่น้ำ ผัดไข่ใส่บวก ผัดเตาหู้ทรงเครื่อง ต้มยำน่องไก่ (ข้าวสวย) อาหารและเครื่องปรุงต่าง ๆ ได้แก่ (ผู้รับผิดชอบ......................) ข้าวสาร จำานวน........... อาหาร จำนวน............. มือ/.........คน อาหารกระป๋อง จำานวน........... เนื้อสตัว์ จำานวน........... เครื่องปรุง เช่น น้ำมันพืช น้ำปลา น้ำตาล เกลือ ซอลปรุงรส ต่างๆ ผัก เช่น กระเทียม ตันหอม ผักชี พริก กระเพา ภาชนะประกอบอาหาร ขนาดของภาชนะประกอบอาหารให้พอ เพียง ตามจำานวน สมาชิก (ผู้รับผิดชอบ......................) หม้อ กระทะ ตะหลิว มีด เขียง หรือถาดรองอาหารและอื่น ๆ ถ้วย-ชาม-จานพลาสติก และแก้วน้ำพลาสติก ไม้ขีดไฟ้ ,น้ำยาล้างจาน ** กาวชีทสำหรับปูนั้งทานอาหาร 1 ผืน
Search