Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วย ADDIE Model

การออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วย ADDIE Model

Published by monnaphaskn, 2022-08-30 16:47:08

Description: การออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วย ADDIE Model เพื่อหารูปแบบการจัดการรู้ด้วยเทคนิค/วิธีที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหน้าพระธาตุ(ผุยบุญฉายราษฎร์บำรุง)

Keywords: ADDIE,ADDIE Model,Instruction design

Search

Read the Text Version

Instruction Desi gn การออกแบบการจัดการเร ียนรู้ด้วย ADDIE Model

หลักการออกแบบ กระบวนการเรียนรู้ และพัฒนา ADDIE Model

A การวิเคราะห์ (Analysis Phase) วิเคราะห์ปัญหา จากผลการทดสอบการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้ คำศัพท์พื้นฐาน นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 ในรายวิชาภาษาต่างประเทศ (ต 13101) พบว่า ผู้เรียนขาดทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ เนื่องจากอัตราร้อยละของจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ วิเคราะห์กลุ่มผู้เรียนเป้าหมาย นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนวัดหน้าพระธาตุ(ผุยบุญฉายราษฎร์บำรุง) ปีการศึกษา 2565 อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำนวน 16 คน ช่วงอายุ 7 - 12 ปี วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ - เนื้อหาในการจัดการเรียนการสอนคลอบคลุมคำศัพท์พื้นฐาน ในรายวิชาภาษาอังกฤษ - นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงคำศัพท์พื้นฐานภาษาอังกฤษได้ - นักเรียนได้รับการพัฒนาการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน - นักเรียนได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิค/นวัตกรรม

D การออกแบบ (Design Phase) กำหนดเป้าหมาย - นักเรียนอัตราร้อยละ 70 สามารถอ่านออกเสียงคำศัพท์พื้นฐานภาษาอังกฤษได้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด - นักเรียนอัตราร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน - นักเรียนอัตราร้อยละ 100 ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิค/นวัตกรรม ออกแบบการจัดการเรียนการสอน กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ BBL (Brain- Base Learning) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมอง แต่ละช่วงวัย การออกแบบและใช้เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ต่างๆ โดยเน้นว่าต้องทำให้ผู้เรียนสนใจ เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจ และการจดจำตามมา และนำไปสู่ความสามารถในการใช้เหตุผล เชื่อมโยงสัมพันธ์ในทุกมิติของชีวิต ซึ่งเด็กวัย 7 - 12 ปีเป็นวัย แห่งการเรียนรู้ผ่านการเล่น การลงมือปฏิบัติจริง การแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ BBL (Brain- Base Learning) มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. Brain Gym /Brain Break 2. Presentation 3. Learn-Practice 4. Summary และ 5. Apply

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ BBL ( Brain - Base Learning ) Brain Gym /Brain Break 1 อุ่นเครื่อง (Warm Up) เคลื่อนไหวร่างกาย กิจกรรมกระตุ้นสมอง ให้ผ่อนคลายและตื่นตัว Presentation 2 ขั้นนำเสนอข้อมูลความรู้ Learn-Practice 3 ขั้นลงมือเรียนรู้ ฝึกทำ ฝึกฝน ขั้นลงมือเรียนรู้ ฝึกทำ ฝึกฝน Summary 4 ขั้นสรุปความรู้ Apply 5 ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้

D การออกแบบ (Design Phase) การคัดเลือกสื่อการสอน แบบฝึกหัด เนื้อหา ทำการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อม ๆ ไปกับการสร้าง / พัฒนาและการใช้สื่อการเรียนรู้ ซึ่งแนวทาง ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ มีดังต่อไปนี้ 1. วิเคราะห์วัตถุประสงค์ เนื้อหา 2. วิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เนื้อหา 3. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 4. วิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ ว่าจะต้องใช้สื่อการเรียนรู้ประเภทใด 5. จัดเตรียม สื่อการเรียนรู้ อาจจะผลิตขึ้นมาใหม่ หรือปรับปรุงจากของเดิม 6. นำไปใช้ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 7. ประเมินผลสื่อ

D การออกแบบ (Design Phase) การคัดเลือกสื่อการสอน แบบฝึกหัด เนื้อหา ออกแบบ / จัดหา / พัฒนา สื่อการสอนที่ใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ - แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - สื่อทำมือ Phonics Fun - บัตรคำ My First Phonics - ABC Phonics Chart - สื่อ Audio การออกเสียง Phonics - สื่อ Video English Phonics Story | A to Z for Children

D การออกแบบ (Design Phase) แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียง สื่อทำมือ Phonics Fun บัตรคำ My First Phonics คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

D การออกแบบ (Design Phase) ABC Phonics Chart สื่อ Audio สื่อ Video การออกเสียง Phonics English Phonics Story | A to Z for Children

D การพัฒนา (Development Phase) การสร้าง/พัฒนา สื่อการเรียนการสอนที่ได้ออกแบบไว้ สร้างและพัฒนาสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ - สร้างแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - สร้างสื่อทำมือ Phonics Fun - สร้างบัตรคำ My First Phonics - พัฒนา ABC Phonics Chart การทดสอบสื่อการเรียนการสอนกับกลุ่มเป้าหมาย นำสื่อ / นวัตกรรม หรือ ชุดการสอน ที่ได้สร้าง/ พัฒนา ไปทดสอบด้วยกระบวนการสองขั้นตอน คือ การทดสอบ ประสิทธิภาพใช้เบื้องต้น (Try Out) และทดสอบประสิทธิภาพสอนจริง (Trial Run) เพื่อหาคุณภาพของสื่อตามขั้นตอนที่ กำหนดใน 3 ประเด็น คือ การทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น การช่วยให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนและทำแบบประเมิน สุดท้ายได้ดี และการทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจ นำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาสื่อ / นวัตกรรม ให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพเพื่อใช้สำหรับพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียน

D การพัฒนา (Development Phase) การปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน หลังจากทดสอบคุณภาพของสื่อ หรือนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ผลิต/พัฒนาขึ้น โดยนำสื่อต้นแบบแบบไปทดลองใช้กับ กลุ่มบุคคลที่เป็นตัวแทนของผู้เรียนที่จะต้องใช้สื่อนั้น ใช้สื่อต้นแบบนี้จัดการเรียนการสอนจริง ๆ เพื่อศึกษาข้อบกพร่อง ต่าง ๆ สําหรับนํามาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงสื่อให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น เมื่อปรับปรุงสื่อการเรียนรู้ตามข้อมูลที่ได้ศึกษาไว้ จา กนั้นนําสื่อที่ปรับปรุงแก้ไขสมบูรณ์แล้วไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลำดับถัดไป

I การนำไปใช้ (Implement Phase) การเผยแพร่สื่อ / นวัตกรรมที่สร้าง / พัฒนาขึ้น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในองค์กรเครือข่ายวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เผยแพร่สื่อ / นวัตกรรม ผ่านชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือ แนวความคิดใหม่ ๆ ในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู อาจารย์หรือ เพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับ ครูได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้ หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อ นำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป การจัดอบรมให้ครูรู้วิธีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น มีการจัดอบรมครู แลกเปลี่ยนเรียนรู้สื่อ / นวัตกรรมที่หลากหลาย ทั้งแบบ Online live training via ZOOM และ On Site บรรยายเกี่ยวกับหลักการสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน วิธีการใช้สื่อการสอนโดยละเอียด อีกทั้งยังเป็นการต่อยอดทักษะในการผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีและเทคนิคต่างๆ ให้กับผู้เข้าร่วมอบรม โดยการจัดกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วย การให้ความช่วยเหลือสนับสนุนให้ครูยอมรับสื่อการเรียนการสอนที่ผลิตขึ้นและนำไปใช้ มีการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน หากเกิดความไม่เข้าใจ หรือเกิดปัญหาในการใช้การจัดการเรียนสอน ชี้แนะ แนวทางการใช้สื่อเพื่อการจัดการเรียนรู้และส่งเสริมวิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ครูท่านอื่นได้นำไอเดีย นำไปปรับปรุง ประยุกต์ใช้ในการสร้างสื่อการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาอื่น ๆ

E การประเมินผล (Evaluation Phase) สร้างเครื่องมือเพื่อประเมินสื่อ ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ประเมินการวางแผนการใช้สื่อ เพื่อดูว่าสิ่งต่างๆ ที่วางไว้สามารถดำเนินไป ตามแผนหรือไม่ เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ เพื่อการแก้ไขปรับปรุงในครั้งต่อไป ความสอดคล้องและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการใช้สื่อการสอน การทดสอบสื่อและเครื่องมือวัดผลกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อวินิจฉัยผลการเรียนรู้ที่เกิดจากผู้เรียน เป็นผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยตรงว่า เมื่อเรียนแล้วผู้เรียนสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่ และผลที่ได้นั้นเป็นไปตามเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์ การประเมินภายหลังการนำสื่อไปใช้กับกลุ่มผู้เรียน เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับใช้ในกระบวนการ จัดการเรียนการสอนครั้งถัดไป หลังจากการนำสื่อการสอนไปใช้สอนควรมีการวิเคราะห์เช่นกันว่ามีการใช้สื่อการสอนอย่างเหมาะสมและเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เกิดปัญหา / อุปสรรค ข้อบกพร่องด้านใด ดูว่าการใช้สื่อในแต่ละขั้นตอนประสบปัญหาหรือ อุปสรรคอย่างไรบ้าง มีสาเหตุมาจากอะไรและมีการเตรียมการป้องกันไว้หรือไม่


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook