Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สงครามโลกครั้งที่ 2

สงครามโลกครั้งที่ 2

Published by Nahathai Petsala, 2022-10-22 13:24:09

Description: สงครามโลกครั้งที่ 2

Search

Read the Text Version

อ ภิ ม ห า ส ง ค ร า ม ส ง ค ร า ม โ ล ก ค รั้ ง ที่ 2 ที่ โ ล ก ( ไ ม่ ) ลื ม WORLD WAR II น า ง ส า ว ณ ห ทั ย เ พ ช ร ส ล ะ 6 3 1 0 3 1 4 0 5

สงครามโลกครั้งที่ 2 คืออะไร? สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ (ค.ศ.1939 - ค.ศ.1945) ประเทศ ส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่ สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดใน ประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มี ลักษณะเป็น \"สงครามเบ็ดเสร็จ\" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทาง เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้น แบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสีย ชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

การแบ่งกลุ่มประเทศคู่สงคราม ฝ่ายอักษะ ฝ่ายสัมพันธมิตร (Axis Powers) (The Allied Power or The Allies) อิตาลี อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น USA สหภาพโซเวียต

สาเหตุของสงคราม 1 ความไม่ยุติธรรมของสนธิสัญญา ข้อบกพร่องของสนธิสัญญาสันติภาพหลัง สงครามโลกครั้งที่ 1 มีสาเหตุมาจากประเทศชนะสงคราม และประเทศที่แพ้สงครามต่างก็ไม่ พอใจในข้อตกลง เพราะ สูญเสียผลประโยชน์ ไม่พอใจในผลประโยชน์ที่ได้รับโดยเฉพาะสนธิ สัญญาแวร์ซายส์ที่เยอรมันไม่พอใจในสภาพที่ตนต้องถูกผูกมัดด้วยสัญญาและต้องการได้ดิน แดน ผลประโยชน์และเกียรติภูมิที่สูญเสียไปกลับคืนมา (ความไม่พอใจของฝ่ายผู้แพ้ใน สงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อข้อตกลงสันติภาพ โดยเฉพาะสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์) สนธิสัญญาสันติภาพที่ไม่เป็นธรรม ระบุให้ประเทศที่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ชดใช้ค่าเสีย หาย ค่าปฏิกรรมสงครามและเสียดินแดน เช่นสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมนี ต้องเสีย อาณานิคมต้องคืนแคว้นอัลซาล -ลอเรนแก่ฝรั่งเศส โปเซนและปรัสเซียตะวันตกให้โปแลนด์ มอ รสเนท ยูเพนและมัลเมดีให้เบลเยี่ยม ชเลสวิคและโฮลสไตน์ให้เดนมาร์ก แคว้นซูเดเตนให้เชคโกสโล วาเกีย และ เมเมลให้ลิทัวเนีย จ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ปีละ 5 พันล้านดอลลาร์ ถูกจำกัดกำลัง ทหารมีทหารได้ไม่เกิน 100,000 คน ห้ามเกณฑ์ทหารเป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการ กระตุ้นให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ฮิตเลอร์และพรรคนาซีได้ปลุกระดมต่อต้านการเสียค่า ปฏิกรรมสงคราม และนำความอดยาก ยากจนมาให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Versailles Treaty) เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1919 ซึ่งนับเป็นวัน ยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 แด่สนธิสัญญาฉบับนี้ได้ระบุให้เยอรมนีต้องรับผิดชอบจ่ายค่า ปฏิกรรมสงครามจำนวนมาก ถูกลดกำลังทหารและอาวุธ ถูกยึดดินแดนอาณานิคม ทำให้ เศรษฐกิจเยอรมันตกต่ำ ประชาชนตกงานเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงทั่วประเทศ ชาวเยอรมัน โกรธแค้นมาก ฮิตเลอร์ (Adof Hitler) ได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจในช่วงนี้ สร้างกระแสชาตินิยม ฉีกสนธิ สัญญาแวร์ซายส์ และพัฒนาอุตสาหกรรมและการทหาร จนกลายเป็นจุดเริ่มตันของ สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II) ** เงื่อนไข ของ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ สนแธวิสรั์ญซาญยสา์ เยอรมนีต้องรับผลจากการสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างรุนแรง ดังต่อไปนี้ 1.เยอรมนีต้องสูญเสียดินแดนของตนคือ อัลซาสลอเรน(AIsace Larraine)ให้ แก่ฝรั่งเศสต้องยอมยกดินแดนภาคตะวันออกให้โปแลนด์ไปหลายแห่ง 2.ต้องยอมให้สำนนิบาตชาติเข้าดูแลแคว้นซาร์เป็นเวลา 10 ปี 3.เกิดฉนวนโปแลนด์ (Polish Corridor) ผ่านดินแดนภาคตะวันออกของ เยอรมนีเพื่อให้โปแลนด์มีทางออกไปสู่ทะเลบอลติกที่เมืองดานซิก ซึ่งเยอรมนี ถูกบังคับให้ยกดินแดนดังกล่าวให้โปแลนด์เพื่อใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ยัง ผลให้ปรัสเซียตะวันออกถูกแยกออกจากส่วนอื่นของเยอรมนี ซึ่งฮิตเลอร์ ถือว่าเป็นสิ่งที่เขาไม่อาจยอมรับได้ต่อไป 4.ต้องสูญเสียอาณานิคมทั้งหมดของตนให้แก่องค์การสันนิบาตชาติดูแลฐานะ ดินแดนในอาณัติ จนกว่าจะเป็นเอกราช 5.ต้องยอมจำกัดอาวุธ และทหารประจำการลงอย่างมาก 6.ต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนมหาศาลให้แก่ประเทศที่ชนะสงคราม

สาเหตุของสงคราม 2 มุโสลินี ,ฮิตเลอร์ ลัทธิชาตินิยมในประเทศเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น เนื่องจากความไม่ยุติธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เกิด ความรู้สึกอัปยศเสียศักดิ์ศรีของชาติ นำไปสู่การเกิดความ รู้สึกชาตินิยมรุนแรงให้แก่ชนชาติเยอรมนี ทำให้ผู้นำเยอรมนี หันไปใช้ลัทธินาซีเพื่อสร้างประเทศให้ยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกับ เบนิโต มุโสลินี ผู้นำอิตาลีหันไปใช้ลันทธิฟาสซิสต์ ซึ่งเน้น ความคิดชาตินิยมและขยายดินแดน รวมทั้งการนำสงคราม เข้าไปในยุโรปต่างๆ ทำให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ และนำไปสู่สงคราม 3 ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบ เผด็จการ ปัญหาทางการเมือง และเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้หลายประเทศหันไปใช้ ระบอบเผด็จการเพื่อแก้ปัญหาภายใน เช่น เยอรมนีและอิตาลี นำไปสู่การแบ่งกลุ่มประเทศ เพราะ ประเทศที่มีระบอบการปกครองเหมือนกันจะรวมกลุ่มกัน ความแตกต่างทางด้านการปกครอง กลุ่มประเทศฟาสซิสต์มีความเข้มแข็งมากขึ้น ได้รวมกัน เป็น มหาอำนาจอักษะ (Berlin-Rome- Tokyo Axis) จุดประสงค์แรก คือเพื่อต่อต้านรัสเซีย ซึ่งเป็น คอมมิวนิสต์ต่อมาได้ขยายไปสู่การต่อต้านชนชาติยิวและนำไปสู่ความขัดแย้งกับประเทศฝ่าย สัมพันธมิตร 4 ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ เนื่องจากไม่มีกลไกอำนาจหรือกองทัพขององค์การที่จะบังคับ ให้ประเทศใดปฏิบัติตามได้ ทำให้ขาดอำนาจในการปฏิบัติการ และขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากประเทสมหาอำนาจอย่าง สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียดไม่ได้ร่วมเป็นสมาชิกตั้งแต่เริ่ม ก่อตั้ง จึงทำให้องค์การสันนิบาตเป็นเครื่องมือของประเทศที่ ชนะใช้ลงโทษประเทศที่แพ้สงคราม องค์การสันนิบาตชาติ

สาเหตุของสงคราม 5 นโยบายต่างประเทศที่ไม่แน่นอนของอังกฤษ อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งเป็นมหาอำนาจเดิมใน ยุโรปและเป็นประเทศที่ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอ่อนแอลงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 1 เนื่องจากประสบกับความเสียหายในช่วงสงครามมาก ดังนั้นเมื่อมีประเทศที่เข้มแข็งทาง ทหารเกิดขึ้นรุกรานประเทศหรือดินแดนที่อ่อนแอกว่า อังกฤษและฝรั่งเศสจึงไม่พร้อมที่จะทำตน เป็นผู้ปกป้องได้ ดังนั้นจึงใช้นโยบายรอมชอม ผลก็คือประเทศที่มีกำลังทหารที่เข้มแข็งและมีนโย บายรุกรานจะทำอะไรได้ตามความพอใจของตนเอง 6 ลัทธินิยมทางทหาร การแข่งขันในการสะสมอาวุธเพื่อสร้างแสนยานุภาพและการสร้าง ความแข็งแกร่งของกองทัพ ทำให้ประเทศมหาอำนาจไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน 7 เจมส์ มอนโร บทบาทของสหรัฐอเมริกา สหรัฐปิดประเทศโดด ประธานาธิบดี เดี่ยว สมัยประธานาธิบดีมอนโร ตามแนวคิดในวาทะ คนที่ 5 ของ มอนโร(Monroe Doctrine) สหรัฐจะไม่แทรกแซง สหรัฐอเมริกา กิจการประเทศอื่นและไม่ยอมให้ประเทศอื่นมาแทรกแซง กิจการของตนเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจหลัง สงครามโลกครั้งที่ 1 และรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ประชาชนจึงเลือกพรรคเดมแครต(Democratic Party)เข้ามาเป็นรัฐบาลปกครองประเทศโดย ประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดีรุสเวลท์ ได้รับเลือกต่อกัน ถึงสี่สมัย (ค.ศ. 1933 - 1945)

ชนวนระเบิดของสงคราม ชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อเยอรมนีบุกโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน 1939อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งสนับสนุนโปแลนด์จึงประกาศสงครามต่อเยอรมนี (3ก.ย.) อีกหนึ่งเดือนต่อมาเยอรมนีก็บุกเดนมาร์กและนอร์เวย์ และสามารถยึดครอง ประเทศดังกล่าวรวมทั้งเบลเยียมได้ภายในเวลา 6 สัปดาห์สหภาพโซเวียตซึ่งเป็นพันธมิตร กับเยอรมนีในระยะแรกของสงครามจึงประกาศสงครามกับฟินแลนด์และประเทศแถบ บอลติกสงครามในยุโรปขยายตัวและนานาประเทศก็ถูกดึงเข้าร่วมในสงคราม ต่อมาใน 1941 ญี่ปุ่นซึ่งสนับสนุนเยอรมนีได้เข้าโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล หมู่เกาะ ฮาวาย การโจมตีดังกล่าวทำให้สงครามขยายตัวไปยังส่วนอื่นๆของโลกและเป็นการเริ่ม ต้นของสงครามทางด้านแปซิฟิกและตะวันออกไกลทั้งทำให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเข้าสู่ สงครามกับประเทศสัมพันธมิตร

การยุติลงของสงครามโลกครั้งที่ 2 สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่ ชายฝั่งแควันนอร์มังดี ในวันที่เรียกว่า \" วัน D-DAY \" ยกพลขึ้นชายฝั่งแคว้นนอร์มังดี สงครามโลกในยุโรปสิ้นสุดลงเมื่อกองทัพสัมพันธมิตรบุกเข้าเบอร์ลินในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1944 เมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและ เมืองนางาซากิในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 ใน ค.ศ.1943 สัมพันธมิตรได้ประชุมกันที่เมืองควิเบก ประเทศ แคนาดา ประเด็นสำคัญของการประชุมคือ กองกำลังของ สัมพันธมิตรจะบุกเข้าไปถึงใจกลางของเยอรมนีและทำลาย กองทัพเยอรมนีลงให้ได้ โดยมีนายพลไอเซนเฮา ว์(Eisenhower) เป็นผู้บัญชาการของสัมพันธมิตรในยุโรป ตะวันตก การปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (OperationOverlord) นับเป็นการบุกฝรั่งเศสครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ฝ่าย สัมพันธมิตรประกอบด้วยทหารสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แดนา ดา และฝรั่งเศส จำนวน 155,000 คน บุกขึ้นฝั่งนอร์มังตี ทาง เหนือของฝรั่งเศส ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 เรียกว่าวัน D - Day (DecisionDay)

ผลของสงคราม 1 มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ(UN : United Nations)เพื่อดำเนินงานแทนองค์การ สันนิบาตชาติ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลกและให้กลุ่มสมาชิกร่วมมือช่วยเหลือ กันและสนับสนุนสันติภาพของโลก รวมทั้งการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งนับว่ามีความเข้ม แข็งกว่าเดิมเพราะสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งและมีกองทหารของ สหประชาชาติ(UN) 2 ทำให้เกิดสงครามเย็น( Cold War) ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยที่ประเทศสหภาพโซ เวียด(บSSR) ในสมัยสตาร์ลินมีนโยบายขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ ยุโรปตะวันออก และเยอรมนี ตะวันออก ซึ่งมีทหารรัสเซียเข้าปลดปล่อยดินแดนเหล่านี้จากอำนาจฮิตเลอร์ในสงครามโลกครั้งที่ สองขณะที่สหรัฐอเมริกาต้องการสกัดกั้นการขยายตัวดังกล่าว และเผยแผ่การปกครองแบบเสรี ประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะดินแดนอาณานิคมที่ประกาศเอกราช เป็นประเทศใหม่ หลังสงครามโลกครั้งที่2 จนเกิดสภาวการณ์ที่เรียกว่า สงครามเย็น (Cold War) 3 มีการนำอาวุธที่ทันสมัยและระเบิดปรมาณูมาใช้ทำให้เกิดดวามเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน มากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 4 การเกิดประเทศเอกราชใหม่ๆ (ประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกต่างคุณ ส่งประกาศเอกราชของตนเอง ทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชีย และ แอฟริกา และบางประเทศถูกแบ่ง ออกเป็น 2ส่วน เช่น เยอรมนีเกาหลี เวียดนาม

ผลของสงคราม 5 สภาพเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก(Great Depression) 6 ความสูญสียทางด้านสังคมและทางจิตวิทยา อย่างกว้างขวาง 7 เกิดมหาอำนาจของโลกใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต(USSR)หลังจากสง ดรามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งยืดเยื้อยาวนานเกือบ 6 ปียุติลง ลัทธิเผด็จการฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีใน เยอรมัน และเผด็จการทหารในญี่ปุ่นก็ล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง ขณะเดียวกัน ตำแหน่งชาติผู้นำ มหาอำนาจของโลกก็มีการปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในโลกเสรีหรือโลกประชาธิปไตย นั้น สหรัฐอเมริกาได้ก้าวขึ้นสู่ดวามเป็นอภิมหาอำนาจเหนืออังกฤษและฝรั่งเศส มิใช่เพียงเพราะ สหรัฐอเมริกามียุทโธปกรณ์ที่ทรงอานุภาพเท่านั้น แต่เพราะอังกฤษและฝรั่งเศสได้รับความ บอบช้ำจากผลพวงของสงครามครั้งนี้อย่างมหาศาล จึงไม่อาจจรรโลงโครงสร้างความ สัมพันธ์เชิงอำนาจเดิมเอาไว้ได้อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาก็มิได้เป็นอภิมหาอำนาจเดี๋ยวโดยปราศจากคู่แข่ง เพราะอีกขั้วหนึ่ง คือ สหภาพโซเวียด(USSR) ก็ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งมหาอำนาจในค่ายคอมมิวนิสต์(โลก สังคมนิยม)ทั้งยังเป็นแกนนำในการเผยแพร่อุดมการณ์การเมืองแบบสังคมนิยมออกไปยังพื้นที่ ต่าง ๆ ทั่วโลก

ผลของสงคราม 8 เกิดการแบ่งขั้วอย่างชัดเจนของสองมหาอำนาจจนนำไปสู่เกิดภาวะสงครามเย็นและการ แบ่งกลุ่มประเทศระหว่างโลกเสรีประชาธิปไตยกับโลกคอมมิวนิสต์ สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายอุดมการณ์ฟาสซิสต์ทั้งในยุโรปและเอเซีย และได้เกิดอุดมการณ์ ใหม่ขึ้นเมื่อมีการเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพซเวียต โลกถูกแบ่งแยกออกเป็น สองค่าย กล่าวคือสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำค่ายประชาธิปไตย ส่วนสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำค่าย คอมมิวนิสต์ ต่างฝ่ายต่างพยายามนำเสนอระบบการเมืองที่ตนยึดมั่น เพื่อให้ประเทศอื่น ๆ รับไป ใช้เป็นแม่แบบการปกครอง และพยายามแข่งขันกันเผยแพร่อุดมการณ์ทางลัทธิการเมืองของตน ในกลุ่มประเทศที่เกิดใหม่หลังสงครามเงื่อนไขนี้เองจึงก่อให้เกิดการแข่ งขัน ขัดแย้งทาง อุดมการณ์การเมืองการปกครอง และค่อย ๆ ลุกลามรุนแรงจนอยู่ในสภาพที่เรียกว่า \"สงคราม เย็น\" (Cold War) 9 เกิดปัญหาเกี่ยวกับประเทศที่แพ้สงคราม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดปัญหาขึ้นใน กลุ่มประเทศที่แพ้สงคราม เช่นเยอรมนีถูกแบ่งแยกออกเป็น 1) เยอรมนีตะวันตก ให้อยู่ใน อารักขาของชาติสัมพันธมิตร ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ฝ่ายหนึ่ง 2) เยอรมนี ตะวันออกให้อยู่ในความอารักขาของสหภาพโซเวียต จนกระทั่ง ค.ศ. 1949 ฝ่ายสหรัฐอเมริกา ได้จัดให้มีการเลือกตั้งเสรีขึ้นในเยอรมนีตะวันตกและตั้งเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน(เรียก เยอรมันนีตะวันตก) ส่วนสหภาพโซเวียตก็ได้จัดตั้งรัฐสภาประชาชนขึ้นในเยอรมนีตะวันออก และปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ จัดตั้งเป็นสาธารณะรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน ทำให้ เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้ตกลงมารวมกันเป็นประเทศเยอรมนีนับแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา 10 สหรัฐฯได้เข้าปกครองญี่ปุ่นเป็นเวลานานถึง 6 ปีญี่ปุ่นที่ถูกยึดดรองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้มีอำนาจเต็มแด่เพียงผู้เดียวในการวางนโยบายครองญี่ปุ่น แต่ยังดงให้ ญี่ปุ่นมีรัฐบาลและมีจักรพรรดิเป็นประมุขของประเทศสหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการ เปลี่ยอุดมการณ์ของคนญี่ปุ่นให้หันมายอมรับฟังระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและ สันติภาพ ในช่วงที่เกิดสงครามเกาหลีสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยฟื้นฟูพัฒนาเศรษฐกิจญี่ปุ่น และช่วยเหลือให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนเป็นประเทศอุตสาหกรรม จนกลายเป้นมหาอำนาทางเศรษฐกิจ ของโลกในปัจจุบัน

ผลของสงคราม 11 ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมได้รับเอกราช บรรดาดินแดนที่เคยเป็นอาณานิคมของชาติ มหาอำนาจตะวันตกและญี่ปุ่นต่างก็ทยอยกันได้รับเอกราชและแสวงหาลัทธิการเมืองของตนเอง ทั้งในเอเชีย และ แอฟริกา เช่น ยุโรปตะวันออกอยู่ในค่ายดอมมิวนิสต์ ยุโรปตะวันตกเป็นกลุ่ม ประชาธิปไตยส่วนในเอเชียนั้นจีนและเวียดนามอยู่ในค่ายคอมมิวนิสต์ แต่การได้รับเอกราชของ ชาติต่าง ๆ ได้ก่อให้เกิดปัญหามากมาย เช่นเกาหลีภายหลังได้รับเอกราชภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ถูกแบ่งเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ และได้ทำสงครามระหว่างกัน ค.ศ. 1950 - 1953 (สงครามเกาหลี)โดยเกาหลีเหนือซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์ เป็นผู้รุกรานเกาหลีใต้ องค์การสหประชาชาติ(UN)ได้ส่งทหารสัมพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐอเมริกา เข้าปกป้องเกาหลีใด้ไว้ได้ จนต่อมาได้มีการลงนามในสัญญาสงบตึกที่หมู่บ้านป้นมุนจอมในเขต เกาหลีเหนือ ปัจจุบันเกาหลีเหนือและเกาหลีใด้ได้แยกออกเป็น 2ประเทศ โดยแบ่งกันที่เส้นขนานที่ 38 องศาเหนือเวียดนามต้องทำสงครามเพื่อกู้อิสระภาพของตนจากฝรั่งเศส และถึงแม้จะชนะ ฝรั่งเศสในการรบที่เดียนเบียนฟูใน ค.ศ. 1954 แต่เวียดนามก็ถูกแบ่งออกเป็นเวียดนามเหนือและ เวียดนามใต้ ทั้งสองประเทศได้ต่อสู้กันเพราะความขัดแย้งในอุดมการณ์ที่แตกต่างกันระหว่าง คอมมิวนิสต์กับเสรีประชาธิปไตยในที่สุดเมื่อสหรัฐอเมริกาผู้สนับสนุนเวียดนามใต้ยุติการให้ความ ช่วยเหลือและถอนทหารกลับประเทศเวียดนามก็รวมประเทศได้สำเร็จใน ค.ศ. 1975 ในเวลา เดียวกันลาวและกัมพู ชาซึ่งปกครองโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมือง ของเวียดนาม แต่สามารถจัดตั้งรัฐบาลของตนเองได้ในเวลาต่อมา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook