Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือการทำนา ฐานการเรียนรู้ ทุ่งรวงทองของพ่อ

คู่มือการทำนา ฐานการเรียนรู้ ทุ่งรวงทองของพ่อ

Published by Suwannan Manop, 2021-08-15 15:28:51

Description: คู่มือการทำนา ฐานการเรียนรู้ ทุ่งรวงทองของพ่อ

Search

Read the Text Version

คำนำ คู่มือ “การทํานา” จัดทําขึ้นตามกิจกรรมโครงการพัฒนาสถารศึกษาพอเพียง เพื่อการพัฒนาสู่ศูนย์ การเรยี นรู้ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอพยี ง ด้านการศึกษา กจิ กรรมฐานการเรียนรู้ “ทุ่งรวงทองของพ่อ” กิจกรรมการปลูกข้าวในนา โรงเรียนราชวินิต นนทบุรี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการทํานาให้กับ นักเรยี น และเกษตรกร และเปน็ การเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกบั เร่อื งของ “ขา้ ว” ใหก้ ับนกั เรยี น ในโรงเรียน และนักเรยี นในโรงเรียนเครือข่าย และประชาชนในพื้นท่ี อำเภอบางใหญ่ จงั หวัดนนทบุรี และใกล้เคยี ง โดยมี เนื้อหาเกี่ยวกับ แหล่งกําเนิดข้าวไทย ลักษณะ ที่สําคัญของข้าว ชนิดของขา้ ว ประโยชนข์ องข้าว ระยะพักตวั ของเมลด็ การปลูกขา้ ว ในภาคตา่ งๆ ของประเทศไทย พนั ธ์ขุ ้าวท่ีใช้ปลูกในภาคกลาง การปลกู ข้าว การใช้ปุ๋ย ในนาข้าว แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว วัชพืชในนาข้าว การเก็บเกี่ยวข้าว การนวดข้าว การทําความสะอาดเมล็ด ขา้ ว การตากข้าว การเก็บรกั ษาข้าว ขอขอบคุณ คณะผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศกึ ษา คณะครูอาจารย์ นักเรียนแกนนำโรงเรียนราช วินิต นนทบุรี เกษตรกรอำเภอบางใหญ่จังหวดั นนทบุรี ทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุน ให้การจัดทาํ องค์ความรู้และการดําเนินงานตามโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวในนาโรงเรียนราชวินิต นนทบุรี สําเร็จลงได้ ด้วยดี โรงเรียนราชวนิ ติ นนทบรุ ี หวงั เป็นอย่างย่ิงว่าการจดั ทําคู่มือเลม่ นจ้ี ะทาํ ใหเ้ กิด ประโยชนแ์ ก่ เกษตรกร ชาวนา และผู้สนใจท่ัวไป สามารถนําไปใช้บูรณาการกบั การทาํ เกษตรอย่างยั่งยนื ต่อไป กิจกรรมฐานการเรยี นรู้ “ทงุ่ รวงทองของพ่อ” โรงเรียนราชวนิ ิต นนทบุรี

สารบญั คำนำ 1 1 แหล่งกาํ เนดิ ขา้ วไทย ลักษณะทสี่ ําคญั ของข้าว 2 ชนดิ ของขา้ ว 3 ประโยชน์ของขา้ ว 3 ระยะพักตวั ของเมลด็ 3 ความไวต่อช่วงแสง 4 การปลูกข้าวในภาคต่างๆ ของประเทศไทย 8 การปลกู ขา้ ว 11 การใช้ปยุ๋ ในนาขา้ ว 12 แมลงและสัตว์ศัตรขู า้ ว 17 วชั พืชในนาขา้ ว 18 การเกบ็ เกีย่ วข้าว 19 การนวดข้าว 19 การทําความสะอาดเมล็ดข้าว 20 การตากข้าว 20 การเกบ็ รกั ษาข้าว 21 ภาคผนวก 24 อ้างอิง

1 แหล่งกำเนดิ ขา้ วไทย ขา้ ว ของไทยเป็นพืชอาหารประจาํ ชาตทิ ม่ี ตี ํานานประวตั ิศาสตร์มายาวนานปรากฏ เป็นร่องรอยพร้อมกับอารยธรรมไทยมาไม่นอ้ ยกวา่ 5,500 ปซี ึง่ มหี ลกั ฐานจากแกลบข้าวที่ เปน็ สว่ นผสมของดนิ ใชเ้ ครือ่ งปัน้ ดินเผาท่ีบา้ นเชยี ง อําเภอโนนนกทาตาํ บลบ้านโคก อาํ เภอ ภูเวยี ง อันสันนิษฐานไดว้ า่ เป็ นเมล็ดขา้ ว ที่ เกา่ แก่ ทสี่ ุ ดของไทยรวม ทั้ งยั งพบ หลั ก ฐานเมล็ ดข้ าวที่ ขุ ดพบท่ี ถำ้ ปุ งฮุ งจงั หวัดแม่ฮ่องสอนโดยแกลบข้าวท่พี บนมี้ ีลักษณะของขา้ วเหนียว เมล็ดใหญ่ ที่เจริญงอกงามในทีส่ ูง นอกจากนี้ยงั มีการ คันพบ เมล็ดข้าว เถ้าถ่านในดนิ และรอยแกลบข้าวบน เครื่องปั้นดินเผาที่โคกพนมดี อําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีแสดงให้เห็นถึงชุมชนปลูกข้าวสมัยก่อน ประวัติศาสตรใ์ นแถบชายฝัง่ ทะเล ในช่วงเวลานั้นเริ่มมีการเพาะปลูกข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียวขึ้นแล้ว สันนิษฐานว่านํามาจากอาณาจักร ขอม ซึง่ ในยุคนนั้ ถอื วา่ เป็นชนชั้นปกครอง การหงุ ตม้ ขา้ วเมล็ดยาวน้ีแตกตา่ งจากขา้ วของชาวพื้นเมือง จึงเชอื่ วา่ เป็นสาเหตใุ ห้ข้าวชนดิ นี้ถูกเรียกว่า “ข้าวเจ้า” และเรยี กข้าวเหนียววา่ “ขา้ วไพร”่ บ้างก็เรยี กว่า “ข้าวบ่าว” หรือ “ขา้ วนึ่ง” ซ่ึงขา้ วในสมยั นัน้ เรียกกนั เปน็ สิ่งบง่ บอกชนชน้ั ได้อีกดว้ ย ปัจจุบันการปลูกข้าวในประเทศไทย คงมีเพียงข้าวเมล็ดป้อมที่พบมากในภาคเหนือ และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะทีข่ า้ วเมลด็ ยาว พบมากในภาคกลางและภาคใต้ท่มี ีความอุดมสมบรู ณ์มากท่ีสุดภาค ตะวันออกเฉยี งเหนือมพี ื้นทีป่ ลกู ข้าว คิดเป็น 45 % ของพื้นทเ่ี พาะปลกู ทัง้ ประเทศส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ซึ่งเปน็ ข้าวคุณภาพดีที่สดุ ของโลก ข้าวทป่ี ลูกในพ้นื ท่ีแถบนี้จงึ มกั ปลกู ไว้เพอื่ ขาย รองลงมาคือ ภาคกลาง และภาคเหนือ ที่พื้นที่เพาะปลูกเทา่ กันประมาณ 25% ทุกวันนี้ไทยเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ผลิตออกสู่ตลาดโลก มากที่สดุ ลกั ษณะทีส่ ำคญั ของข้าว ตน้ ขา้ ว ลักษณะของตน้ ขา้ ว เมือ่ เอาเมล็ดข้าวไปเพาะให้งอก โดยแช่น้ำนานประมาณ 1-2 ช่ัวโมง แลว้ เอาเมล็ดข้ึนมาเกบ็ ไว้ ในจานแกว้ ที่มีความชน้ื สูง ในห้องท่มี ีอุณหภมู ิประมาณ 25 องศา เซลเซียส เมลด็ จะงอก ภายใน 48 ชัว่ โมง โดยมีปยุ สขี าวเกิดขึ้น ทีป่ ลายด้านหนึง่ ของเมล็ดข้าว ซึ่งเปน็ ปลายด้านทต่ี ดิ กับก้านดอก และสว่ นท่ีงอกน้ันก็คอื embryo หรอื คัพภะ ตอ่ ไปกจ็ ะมีรากและยอด โผลต่ ามออกมา เมอ่ื เอาเมล็ดทีเ่ ริ่มงอกเหลา่ น้ีไปปลูกในดนิ ที่เปียก สว่ นท่เี ปน็ รากก็จะเจรญิ เตบิ โตลกึ ลงไปในดิน ส่วนที่เป็นยอดกจ็ ะสูงข้ึนเหนอื ผิวดนิ แล้วเปลี่ยนเปน็ ใบ ตน้ ข้าวเล็กๆ น้ี เรยี กว่า ตน้ กลา้ หลงั จากตน้ กลา้ มอายปุ ระมาณ 40 วนั ก็จะมหี น่อใหมเ่ กดิ ขึน้ โดยเจริญเติบโต ออกมาจากตาซง่ึ อยทู่ ี่โคนตน้ ตน้ กล้าแตล่ ะต้นสามารถแตกกอได้หนอ่ ใหม่ประมาณ 5-15 หน่อ ท้ังนี้ข้ึนอยู่กับ พันธ์ขุ า้ ว ระยะปลกู และความอดุ มสมบูรณ์ของดนิ แตล่ ะหน่อให้รวงข้าวหนึง่ รวง แต่ละรวงจะมีเมล็ดประมาณ 100-200 เมล็ด ปกติต้นข้าวที่โตเต็มที่แล้วจะมีความสูงจากพื้นดินถึงปลายรวงที่สูงที่สุดประมาณ 100-200 เซนติเมตร ซึ่งแตกต่างไปตามชนิดของพันธุ์ข้าวตลอดถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและความลึกของน้ำ พันธ์ุ ขา้ วบางพนั ธม์ุ ตี ้นสูงและบางพันธ์ุ

2 ก็มตี ้นเตยี้ ภายในของตน้ ขา้ วมลี ักษณะเปน็ โพรงและแบง่ ออกเป็นปล้องๆ ฉะน้นั ขา้ วตน้ สูงจงล้มงา่ ย กวา่ ข้าวตน้ เต้ยี ชนิดของข้าว ข้าวที่ปลูกเพื่อบริโภค สามารถแบ่งออกได้เปน็ ชนิดต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ใช้เป็นมาตรการสําหรบั การแบ่งแยกข้าว แบ่งตามสภาพพื้นที่ปลูกเป็นข้าวไร่ ข้าวนาสวน และข้าวนาเมืองหรือข้าวขึ้นน้ำ ข้าวไร่ หมายถึง ข้าวที่ ปลูกบนที่ดอน ไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ข้าวนาสวน หมายถึงข้าวที่ปลูกแบบปักดำหรือหว่าน และระดับน้ำ ในนาลึก ไม่เกิน 80 เซนติเมตร ข้าวนาเมืองหรอื ขา้ วขึน้ น้ำหมายถงึ ข้าวที่ปลูกแบบหวา่ น และ ระดับน้ำในนาลึกมากกว่า 80 เซนติเมตรขึ้นไปแบ่งตามชนิดของแป้งในเมล็ดที่บริโภคเป็นข้าวเจ้า และข้าว เหนียว ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวมีต้นและลักษณะ อย่างอื่นเหมือนกันทุกอย่าง แต่ต่างกันที่เมล็ดข้าวเจ้า ประกอบดว้ ยแป้งอะมิโลส(amylose) ประมาณ 15-30 เปอรเ์ ซน็ ต์ สว่ นเมลด็ ข้าวเหนียวประกอบดว้ ยแป้ง อะ มิโลเพกทิน(amylopectin) เป็นส่วนใหญ่ และมีอะมิโลสเป็นส่วนน้อย เมล็ดข้าวเหนียวมีแป้งอะมิโลส ประมาณ 5-7 เปอรเ์ ซน็ ต์ แป้งอะมิโลเพกทินทําใหเ้ มลด็ ขา้ วมคี วามเหนยี ว เมอ่ื หุงต้มสกุ แล้วในภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย ยกเว้นในท้องที่อําเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชาชนนิยม บรโิ ภคข้าวเหนียวมากกว่า ข้าวเจา้ ซ่งึ ตรงกนั ข้ามกบั ประชาชนในภาคกลาง (ยก เว้นในอาํ เภอ บ้านไร่ จังหวัด อุทัยธานี ที่นิยมบริโภค ข้าวเหนียว) และภาคใต้ซึ่งชอบบริโภคข้าวเจ้ามากกว่า ข้าวเหนียว โดยเหตุนี้ ใน ภาคเหนอื และภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือจงึ มกี ารปลกู ข้าวเหนยี วมากกว่าภาคกลาง และภาคใต้

3 ประโยชน์ของขา้ ว ข้าวซึ่งแบ่งออกเป็นข้าวเหนียวและข้าวเจ้านั้น นอกจากจะใช้บริโภคเป็นอาหารหลักประจําวันของ ประชาชนแล้ว ยังใช้ทําเป็นของหวานชนิดต่างๆ ทําเป็นแป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้าและทําเส้นก๋วยเตี๋ยวอีก ด้วย โดยเฉพาะขา้ วเหนียว ใช้ทําเปน็ ของหวานมากกว่าขา้ วเจา้ ในโรงงานอุตสาหกรรมท่ีผลิตแอลกอฮอล์ ก็ได้ เอาข้าวเหนียวไปหุง แล้วผสมกับน้ำตาล และเชื้อยีสต์ เพื่อทําให้เกิดการหมัก (fermentation)โดยมี จุดประสงค์ให้ยีสต์เปลี่ยนแป้งเป็นแอลกอฮอล์ สําหรับใช้ผลิตวิสกี้ และอื่นๆ นี่คือประโยชน์ของข้าวที่ใช้ใน ประเทศไทย และส่งเป็นสินค้าขาออกไปขายตา่ งประเทศ ระยะพกั ตวั ของเมล็ด เมล็ดที่เก็บเกีย่ วมาจากต้นใหม่ ๆ เม่ือเอาไปเพาะมกั จะไม่งอกทันทมี นั จะตอ้ งใช้เวลาสําหรับพกั ตวั อยู่ ระยะหนง่ึ ประมาณ 15-30 วัน จงึ จะมคี วามงอกถงึ 80 หรือ 100 เปอรเ์ ซ็นตร์ ะยะเวลาหลังจากเก็บเกี่ยวท่ี เมล็ดไม่งอกนเี้ รยี กว่า ระยะพกั ตัวของเมล็ด ความไวตอ่ ช่วงแสง ระยะความยาวของกลางวันมีอิทธพิ ลตอ่ การออกดอกของต้นข้าว ดงั นนั้ พันธุ์ข้าวจึงแบง่ ออก ไดเ้ ปน็ 2 ชนิด โดยถือเอาความไวต่อช่วงแสงหรือระยะความยาวของกลางวันเป็นหลัก คอื ข้าวที่ไวตอ่ ช่วงแสง และข้าวทไี่ มไ่ วตอ่ ช่วงแสง ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง ข้าวพวกนี้ออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันสั้น ปกติเราถือว่า กลางวนั มีความยาว 12 ชว่ั โมง และกลางคืน มคี วามยาว 12 ชั่วโมง ฉะน้ันกลางวนั ทม่ี ี ความยาวนอ้ ยกว่า 12 ชั่วโมง กถ็ อื วา่ เป็นวันสัน้ และกลางวนั ทีม่ ีความยาวมากกวา่ 12 ชวั่ โมง กถ็ ือว่า เป็นวันยาวและพบวา่ ข้าวที่ไว ต่อชว่ งแสงในประเทศไทยมักจะเริ่มสร้างช่อดอกและออกดอก ในเดอื นทม่ี คี วามยาวของกลางวันประมาณ 11 ชั่วโมง 40 นาที หรือสั้นกว่านี้ ดังนั้นข้าวที่ออกดอกได้ ในเดือนที่มีความยาวของกลางวัน 11 ชั่วโมง 40-50 นาทีจึงได้ชื่อว่าเป็นข้าวที่มีความไวน้อยต่อ ช่วงแสง และพันธุ์ที่ออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของ กลางวันประมาณ 11 ช่ัวโมง 10-20 นาที ก็ได้ชอ่ื ว่าเปน็ พนั ธทุ์ ี่มคี วามไวมากตอ่ ชว่ งแสง ดังนน้ั นักวทิ ยาศาสตร์ จงึ เรียกขา้ วว่า พชื วันสั้น (short-day plant) พันธ์ขุ า้ วในประเทศไทยท่เี ป็นพนั ธ์พุ ้ืนเมอื ง สว่ นใหญ่เป็นพันธ์ุท่ี มคี วามไว ต่อชว่ งแสง โดยเฉพาะขา้ วทีป่ ลกู เป็นข้าวนาเมืองหรือขา้ วขนึ้ น้ำ

4 ระยะการเจรญิ เติบโตของต้นข้าว ข้าวทีไ่ ม่ไวต่อแสง การออกดอกของขา้ วพวกนไี้ มข่ ้นึ อย่กู บั ความยาวของกลางวนั เมอ่ื ตน้ ขา้ วไดม้ ี ระยะเวลาการเจรญิ เติบโตครบตามกําหนด ตน้ ข้าวก็จะออกดอกทนั ทีไม่ว่าเดือนนั้น จะมีกลางวันสน้ั หรอื ยาว พันธุ์ขา้ ว กข.1 เป็นพันธทุ์ ไ่ี มไ่ วต่อชว่ งแสง เมื่อมอี ายเุ จริญเตบิ โตนับจากวนั ตกกลา้ ครบ 90-100 วัน ตน้ ขา้ วก็ จะออกดอก ฉะน้นั พนั ธ์ุข้าวทไ่ี ม่ไวต่อช่วงแสง จึงใชป้ ลูกได้ผลดี ทง้ั ในฤดนู าปรังและนาปี อยา่ งไรกต็ าม พวก ไม่ไวต่อช่วงแสงมกั จะใหผ้ ลิตผลสงู เมอ่ื ปลกู ในฤดูนาปรงั ปกตริ ะยะการเจริญเตบิ โตของต้นข้าวทง้ั ไวและไม่ไว ตอ่ ชว่ งแสง การปลกู ขา้ วในภาคตา่ งๆ ของประเทศไทย ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกสิกร ทําการเพาะปลูกพืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ทําการปลูกไม้ผล เช่น ทุเรียน ส้ม มะม่วง มังคุด ลางสาด นอกจากนี้ ใน ทอ้ งที่ต่างๆ ของภาคใต้ และจังหวดั ระยอง จันทบรุ ี ตราด ได้ทําการปลกู ยางพาราอีกดว้ ย ในจํานวนพืชทกี่ สิกร ปลูกดงั กล่าวนี้ ขา้ วมพี ้ืนท่ปี ลูกมากกวา่ พืชชนิดอืน่ ๆ คิดเปน็ พนื้ ที่ประมาณ 11.3 %ของพื้นท่ีท่ัวประเทศ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ทํานามากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ภาคเหนือ และภาคใต้ ตามลําดับ เนื่องจากประชาชนในประเทศไทยบริโภคข้าว เป็นอาหารหลัก และจํานวนประชากรก็เพิ่มมากขึ้น ทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ ชาวนาจึงจําเป็นต้องพยายามปลูกข้าวให้ได้ผลิตผลมากยิ่งขึ้น เพื่อให้พอเพียงกับ ความ ต้องการของประชากร วิธีหนึ่งที่ชาวนาได้พยายาม เพื่อเพิ่มผลิตผล ได้แก่ การขยาย พื้นที่ทํานา โดยเปิดป่า ใหม่ ทาํ นาปลกู ข้าว จากตารางท่ี 3 จะเหน็ ได้ว่า ผลติ ผลได้เพมิ่ ข้นึ ตามพืน้ ท่ีนาท่เี พ่มิ มากขึน้ ทกุ ๆ ปี ส่วนวธิ กี าร เพิ่มผลิตผลโดยวิธีอื่นนัน้ ชาวนาไม่สามารถทําได้ เช่น การคัดเลือกหาพันธุใ์ หม่ที่ให้ผลิตผลสูง พันธุ์ต้านทาน โรคและแมลง ข้าวพันธุ์ที่ตอบสนองต่อปุ๋ย วิธีการป้องกันกําจัดโรค แมลง และวัชพืชในนาข้าว ซึ่งรัฐบาล จะต้องเป็นผู้ดําเนินการช่วยเหลือชาวนา หน่วยงานที่เกี่ยว ข้องเรื่องนี้โดยตรง ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาคเหนือ ทาํ การปลูกข้าวนาสวนในท่ีราบระหวา่ งภูเขากนั เปน็ สว่ นใหญ่ เพราะมรี ะดบั น้ำในนาต้นื กว่า 80 เซนตเิ มตร และทํา การปลูกข้าวไร่ในทีด่ อนและทสี่ ูงบนภเู ขาเพราะไม่มนี ้ำขงั ใน

5 พ้ืนท่ีปลูก ส่วนมากชนดิ ของข้าวที่ปลกู เป็นทั้งข้าวเหนยี วและขา้ วเจา้ และในบางทอ้ งท่มี กี ารปลูกขา้ วนาปรัง ด้วย แมลงศตั รูข้าวทีส่ ําคัญ ไดแ้ ก่ แมลงบัว่ หนอนกอ เพลย้ี จักจัน่ สีเขยี ว และสีน้ำตาล และโรคข้าวท่สี ําคญั ได้แก่ โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบสีแสด และโรคถอดฝกั ดาบ ภาคน้ีมีความอุดมสมบรู ณข์ องดินนา ดกี วา่ ภาคอนื่ ๆ ขา้ วนาปที ําการเก็บเกยี่ วในระหวา่ งเดือนพฤศจกิ ายนและธนั วาคม ภาคตะวันออกเฉียงเหนอื สภาพของพืน้ นาในภาคนีเ้ ปน็ ท่ีราบ และมักจะแห้ง แล้งในฤดปู ลกู ข้าวเสมอ ๆ ชาวนาทําการปลกู ข้าวนาสวน ทางตอนเหนือของภาคปลกู ข้าวเหนยี วอายเุ บา ส่วนทาง ตอนใตป้ ลูกข้าวเจา้ อายุหนัก แถบริมฝั่งแมน่ ้ำโขง โดยเฉพาะในเขตจงั หวดั อบุ ลราชธานี นครพนม และ สกลนคร ได้มีแมลงบว่ั ทําลายตน้ ขา้ วนาปจี นเสียหายเสมอ นอกจากนี้ ไดม้ ีแมลงเพลยี้ กระโดดสนี ้ำตาลระบาด ด้วย โรคข้าวที่สําคัญได้แก่ โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และโรคใบจุดสนี ้ำตาล ความอดุ มสมบูรณ์ของดินในภาคน้ี เลวมาก บางแห่งก็เป็นดินเกลือ และมกั จะมคี วามแหง้ แล้งกวา่ ภาคอ่นื ๆ ด้วยเหตุน้ี จึงมีการทํานาปรังนอ้ ยมาก ข้าวนาปจี ะทําการเกบ็ เก่ียวในระหว่างเดอื นตุลาคม และธันวาคม ภาคกลาง พ้ืนท่ีทํานาในภาคนีเ้ ป็นทร่ี าบลมุ่ ทําการปลกู ข้าวเจ้ากันเปน็ สว่ นใหญ่ ในเขตจังหวัด ปทมุ ธานี อยุธยา อา่ งทอง สงิ ห์บรุ ี อุทัยธานี นครสวรรค์พจิ ิตร พษิ ณโุ ลก สพุ รรณบรุ ี และปราจนี บรุ ี ระดับน้ำในนา ระหว่างเดือนกันยายนและพฤศจิกายน จะลึกประมาณ 1-3 เมตร ดว้ ยเหตุนี้ ชาวนา ในจงั หวัดดงั กล่าวจงึ ต้อง ปลกู ขา้ วนาเมืองหรือขา้ วขึน้ น้ำ นอกนน้ั ปลูกข้าวนา สวนและบางท้องที่ ซึ่งอยู่ในเขตชลประทาน เช่น จังหวัดนนทบุรี นครปฐม เพชรบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี ชัยนาท และฉะเชิงเทรา ได้มีการทํานาปรังด้วย โรคข้าวที่สําคัญ ได้แก่ โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม โรคจู๋ และแมลงศตั รขู ้าวท่ีสําคญั ไดแ้ ก่ แมลงเพลยี้ กระโดดสนี ้ำตาล แมลงเพลย้ี จักจนั่ สีเขียว แมลงหนอนกอ ความอดุ มสมบรู ณ์ของดินดีปานกลาง และบางทอ้ งทเ่ี ขตจังหวัดปทุมธานี นครนายก และปราจนี บุรี ดินท่ีปลูก ขา้ วมีฤทธเิ์ ป็นกรด หรือเปน็ ดนิ เหนียว มากกว่าในทอ้ งทน่ี าอน่ื ๆ ขา้ วนาปที ่ปี ลูกเป็นข้าวนาสวน จะเก็บเก่ียวใน ระหวา่ งเดือนตุลาคม และธันวาคม ส่วน ข้าวนาปที ่ปี ลูกเป็นข้าวนาเมอื ง เกบ็ เกยี่ วระหว่างเดือนธนั วาคม และมกราคม

6 ภาคใต้ สภาพพื้นท่ีทปี่ ลูกข้าวในภาคใตเ้ ปน็ ท่รี าบริมทะเล และเปน็ ทร่ี าบระหวา่ งภเู ขา สว่ นใหญใ่ ช้นา้ํ ฝนในการทาํ นา และ ฝน จะมาล่าช้ากวา่ ภาคอืน่ ๆ ดว้ ยเหตนุ ีก้ ารทํานาในภาคใต้จึง ลา่ ชา้ กว่าภาคอน่ื ชาวนาในภาคนปี้ ลกู ข้าวเจา้ ในฤดูนาปกี นั เปน็ ส่ ว น ใ ห ญ่ ส่ ว น น้ อ ย ใ น เ ข ต ช ล ป ร ะ ท า น ข อ ง จั ง ห วั ดนครศรธี รรมราช พัทลุง และสงขลา มกี ารปลูกขา้ วนาปรงั และปลูกแบบนาสวน บริเวณพ้นื ทีด่ อน และท่ีสงู บนภูเขา ชาวนา ปลูกข้าวไร่ เชน่ การปลกู ขา้ วไรเ่ ปน็ พชื แซมยางพารา แมลงศัตรู ข้าวทสี่ าํ คญั ไดแ้ ก่ หนอนกอ เพลีย้ จักจัน่ สเี ขยี ว และเพลย้ี กระโดดสีน้ำสีน้ำตาล นอกจากนี้ ดนิ นาก็มี ปัญหาเก่ยี วกับดนิ เคม็ และดินเปรยี้ วดว้ ย วธิ กี ารเกี่ยวข้าวในภาคใต้ แตกตา่ งไปจากภาคอืน่ เพราะชาวนา ใช้แกระเกย่ี วข้าว โดยเกบ็ ทลี ะรวงแล้วมดั เปน็ กาํ ๆ ปกติทําการเกบ็ เกยี่ วในระหว่างเดือนพฤศจกิ ายน และกมุ ภาพนั ธ์ พนั ธ์ุขา้ วท่ีใชป้ ลกู ในภาคกลาง พันธุ์ข้าวยอดนิยมภาคกลาง เป็นข้าวที่ประชากรในพื้นทีจ่ ังหวดั ภาคกลางนิยมบริโภค เกษตรกรจึงมี การปลูกกันอยา่ งกว้างขวางและมีผลให้เกิดการซื้อขายในตลาดท้องถิ่นตลอดจน เป็นพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกบั สภาพพน้ื ที่ ภูมิอากาศ และสภาพของดนิ ในเขตจังหวัดภาคกลาง ในแง่ของงานวจิ ยั ข้าวอาจรวมความถงึ พันธุ์ ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง ต้านทานตอ่ โรคและแมลง มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นท่ีปลกู และมีคุณภาพเมล็ดดีตรง กับรสนยิ มของผู้บรโิ ภค ซึง่ พนั ธ์ขุ ้าวยอดนิยมดงั กลา่ วอาจเปน็ พันธสุ์ ่งเสริมซึง่ ไดร้ ับการศึกษาวิจัยและแนะนําให้ เกษตรกรปลูกอย่างกวา้ งขวางแล้ว หรือพันธุ์ข้าวพืน้ เมืองท่ียงั ไม่ได้รบั การศึกษาวิจัยและส่งเสรมิ ให้เกษตรกร ปลกู มากอ่ น พันธ์ุขา้ วที่ปลกู ในพน้ื ท่ีฐานการเรียนรูท้ ุ่งรวงทองของพ่อ โรงเรยี นราชวินติ นนทบุรี มี 2 พันธุ์ ไดแ้ ก่ 1. ชอื่ พันธุ์ กข41 (RD41) ชนิด ขา้ วเจ้า ค่ผู สม ลูกผสมชัว่ ท่ี 1 ของ CNT85059-27-1-3-2 และสุพรรณบุรี 60 นาํ ไปผสมพนั ธก์ุ ับ RP217-635-8 ลกั ษณะประจาํ พนั ธุ์ • เปน็ ข้าวเจ้าไม่ไวต่อชว่ งแสง ความสงู ประมาณ 104 เซนตเิ มตร • อายุเก็บเก่ยี ว 105 วัน • กอตง้ั ต้นแข็ง ใบและกาบใบสเี ขียว ใบธงตง้ั ตรง คอรวงโผล่พ้นจากกาบใบธงเล็กนอ้ ยยอดเกสรตวั เมียสีขาว • เมล็ดขา้ วเปลือกสีฟาง เปลือกเมล็ดมีขนสนั้ รปู ร่างเรียว • เมล็ดขา้ วเปลอื ก ยาว x กวา้ ง x หนา =10.40 x 2.5 x 2.0 มิลลิเมตร • เมล็ดขา้ วกลอ้ ง ยาว x กวา้ ง x หนา = 7.7x 2.2 x 1.8 มิลลิเมตร • ปริมาณอมโิ ลสสูง (27.15%) • คณุ ภาพการสีดไี ด้ข้าวเต็มเมล็ด

7 • ระยะพักตัวของเมลด็ พันธป์ุ ระมาณ 9-10 สปั ดาห์ ผลผลิต • ประมาณ 722 กโิ ลกรมั ต่อไร่ ลกั ษณะเด่น • ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี ใหผ้ ลผลิตเฉลี่ย 722 กก./ไร่ สงู กวา่ สุพรรณบรุ ี 1 (645 กก./ไร)่ และ ชัยนาท 1 (640 กก./ไร่) คิดเป็นรอ้ ยละ 12 และ 13 ตามลําดับ แต่ไม่แตกตา่ งจากพษิ ณุโลก 2 (719 กก./ไร่) • คอ่ นขา้ งตา้ นทานเพลี้ยกระโดดสีนาํ้ ตาล และโรคไหม้ • คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดเี ปน็ ข้าวเจ้าเมลด็ ยาวเรียว ทอ้ งไขน่ ้อย คณุ ภาพการสีดสี ามารถสีเปน็ ขา้ วสาร 100 เปอรเ์ ซน็ ตไ์ ด้ ขอ้ ควรระวัง • อ่อนแอตอ่ โรคขอบใบแห้ง ไม่ควรใส่ปุ๋ ยไนโตรเจนในระดบั สูงเกนิ ไปจะทําใหเ้ กิดโรครนุ แรง ออ่ นแอ ตอ่ เพลย้ี กระโดดสีนํา้ ตาล ในเขตจังหวัดนครปฐมและปทมุ ธานกี ารปลกู ในชว่ งกลางเดอื นกันยายน – พฤศจกิ ายน จะกระทบอากาศเย็นทาํ ให้ผลผลิตตํา่ กวา่ ปกติ พ้ืนทแ่ี นะนาํ • เหมาะสําหรบั ปลูกในพน้ื ทนี่ าชลประทาน ภาคเหนือตอนลา่ ง สาํ หรบั เป็นทางเลอื กของเกษตรกร ในการป้องกนั การแพรร่ ะบาดของเพล้ียกระโดดสีนํ้าตาล 2. ข้าวไรซเ์ บอรี่ (ภาษาอังกฤษ: Rice Berry) เป็นผลงานการปรับปรุงสายพันธุ์ของ รศ.ดร.อภิชาติ และทีมนักวิจัยจาก ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และความรว่ มมอื จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเป็นการผสมข้ามสาย พันธุ์ ระหว่าง ข้าวเจ้าหอมนิล ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อ + ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นสายพันธุ์แม่ ทำให้ได้ ลักษณะที่ดีและคุณประโยชน์เด่นๆ ออกมา ซึ่งพันธุ์ข้าวนี้ได้รับการจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ ห้ามมีการ นำไปขยายพันธใุ์ นเชงิ การค้าต่อโดยไม่ได้รับอนญุ าตจาก วช. และมหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ ลกั ษณะประจำพนั ธุ์ ขา้ วไรซ์เบอรี่ Riceberry ความสงู 105-110 ซม. อายเุ กบ็ เกีย่ ว 130 วัน ผลผลิต 300-500 กก. / ไร่ % ขา้ วกล้อง (Brown rice) 76 % % ตน้ ข้าวหรือขา้ วเต็มเมลด็ (head rice) 50 % ความยาวของเมล็ด ขา้ วเปลอื ก 11 ม.ม. ขา้ วกล้อง 7.5 ม.ม. ข้าวขัด 7.0 ม.ม ข้าวไรซ์เบอร่มี ลี ักษณะเรียวยาว ผวิ มนั วาว เปน็ ขา้ วจา้ วสีมว่ งเข้มคล้ายกับลูกเบอร์ร่ีท่ีมีสีม่วงเข้มเมื่อ สกุ หากเป็นขา้ วกลอ้ งจะมีกล่นิ หอมท่ีเปน็ เอกลักษณเ์ ฉพาะตวั อีกทัง้ ยังมรี สชาติหอมมัน เน้ือสัมผัสเหนียวนุ่ม เนื่องจากผ่านการขัดสีเพียงแคบ่ างส่วนเท่านนั้ จึงยงั ทำให้คงคณุ ค่าทางโภชนาการไวไ้ ด้อย่างครบถ้วน ข้าวสาย

8 พันธุ์พิเศษสีม่วงนี้สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี มีอายุเก็บเกี่ยว 130 วัน ให้ผลผลิตปานกลาง มีความสามารถ ต้านทานตอ่ โรคไหม้ แตไ่ ม่ตา้ นทานโรคหลาว จงึ แนะนำใหเ้ ปลีย่ นเมลด็ พนั ธท์ุ ุกรอบของการปลกู คุณค่าทางโภชนาการ ข้าวไรซ์เบอร่ี อุดมไปด้วยคณุ ค่าทางอาหารสงู โดยคณุ ประโยชนท์ เี่ ด่นชัดทีส่ ุดจะพบได้ในน้ำมันรำข้าว และรำข้าว มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระได้ดี อุดมไปด้วยโฟเลจในปริมาณสูง นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วย สารอาหารอื่นๆ ทม่ี ีประโยชน์ตอ่ ร่างกายมากมายหลายชนดิ ไดแ้ ก่ เบต้าแคโรทีน, แกมมาโอไรซานอล, วิตามิน อี, วิตามินบี 1, ลูทีน, แทนนิน, สังกะสี, โอเมก้า 3, ธาตุเหล็ก, โพลีฟีนอล และเส้นใย เป็นต้น ซึ่งสารอาหาร เหลา่ น้มี สี ่วนช่วยในการ บำรงุ รา่ งกาย บำรุงสายตา บำรุงระบบประสาท ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ช่วย ป้องกันโรคต่างๆ ได้อย่างมากมาย อาทิ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหลอดเหลือด โรคหัวใจ โรคความดัน โลหิตสูง โรคสมองเสื่อม และโรคโลหิตจาง มีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจน ช่วยชะลอความแก่ ลดระดับ ไขมัน และคอเรสเตอรอลได้ การปลกู ขา้ ว การทำนา หมายถึง การปลูกข้าว การปลูกข้าวในประเทศไทยแบ่งออกได้เปน็ 3 วิธี ดว้ ยกันดงั น้ี 1. การปลูกข้าวไร่ หมายถงึ การปลูกข้าวบนท่ดี อนและไม่มีน้ำขังใน พื้นทปี่ ลูก ชนิดของข้าวที่ปลูก เรียกว่า ข้าวไร่ พ้นื ท่ีดอน สว่ นมาก เชน่ เชงิ ภเู ขามักจะ ไมม่ ีระดบั คือ สูงๆ ต่ำๆ จงึ ไม่สามารถไถเตรยี มดินและ ปรับระดับได้งา่ ยๆ เหมือนกบั พืน้ ที่ราบ เพราะฉะน้ัน ชาวนามักจะปลกู แบบหยอด 2. การปลูกขา้ วนาดำ การปลูกข้าวในนาดํา เรียกวา่ การปักดำ ซึ่งวิธีการปลกู แบ่งออกได้เป็น 2 ตอน ได้แก่ การตกกล้าใน แปลงขนาดเลก็ และการถอนตน้ กล้าเอาไปปักดาํ ในนาผืนใหญ่ดังน้นั ซ่ึงมีขัน้ ตอนดงั น้ี 1) การเตรียมดิน ต้องทําการเตรียมดินให้ดีกว่าการปลูกขา้ วไร่ โดยมีการไถดะ การไถแปร และการ คราด ปกตกิ ารไถและคราดในนาดาํ มกั จะใช้แรงววั ควาย หรือแทรกเตอรข์ นาดเล็ก ท่เี รยี กว่า ควายเหล็กหรือ ไถยนต์เดนิ ตาม ทงั้ น้ีเป็นเพราะพ้นื ท่ีนาดํานน้ั ไดม้ ีคันนาแบ่งก้นั ออกเป็นแปลงเล็ก ๆ ขนาด 1-2 ไร่ คันนามีไว้ สาํ หรบั กักเก็บน้ำหรือปล่อยน้ำทงิ้ จากแปลงนา นาดาํ จงึ มีการบังคบั ระดับน้ำในนาได้บ้างพอสมควร ก่อนที่จะ ทําการไถ ต้องรอให้ดินมีความชื้นพอที่จะไถได้เสียก่อน ปกติจะต้องรอให้ฝนตกจนมีน้ำขังในผืนนาหรือไขน้ำ เข้าไปในนาเพอื่ ทําใหด้ นิ เปยี ก ประเภทของการไถ 1 .การไถดะ หมายถึง การไถคร้งั แรกเพ่อื ทาํ ลายวัชพืชในนา และพลิกกลับ หน้าดนิ แล้ว ปลอ่ ยทงิ้ ไวป้ ระมาณ 1 สปั ดาห์ จงึ ทําการไถแปร 2. การไถแปร หมายถึง การไถเพือ่ ตัดกับรอยไถดะ ทาํ ให้รอยไถดะแตกออกเปน็ กอ้ นเล็ก ๆ

9 จนวัชพืชหลดุ ออกจากดนิ การไถแปรอาจไถมากกว่าหน่งึ ครัง้ ทง้ั นี้ข้นึ อย่กู ับระดบั น้ำในนา ตลอดถงึ ชนดิ และปริมาณของวชั พชื เม่อื ไถแปรแลว้ ก็ทําการคราดไดท้ ันที 3. การคราด หมายถึง การคราดเอาวัชพชื ออกจากผืนนา และปรับพน้ื ท่ีนาให้ได้ระดบั เปน็ ท่ี ราบเสมอกนั ด้วย นาท่มี ีระดับเป็นท่ีราบตน้ ขา้ วจะไดร้ ับน้ำเท่าๆ กนั และสะดวกแก่การไขน้ำ เขา้ ออก 2) การตกกลา้ หมายถงึ การเอาเมลด็ ไปหว่านให้งอกและเจรญิ เตบิ โตขน้ึ มาเป็นตน้ กลา้ เพื่อเอาไป ปกั ดาํ การตกกล้าสามารถทาํ ได้หลายวิธดี ว้ ยกัน เช่น การตกกลา้ ในดนิ เปียกการตกกล้าในดินแหง้ และการตกกล้าแบบดาปก การตกกลา้ ในดินเปียก จะต้องเลือกหาพน้ื ทีท่ ม่ี ีความอุดมสมบูรณข์ องดนิ ดีเปน็ พิเศษ สามารถปอ้ งกนั นกและหนูท่ีจะเข้าทําลายต้นกล้าได้เป็นอย่างดแี ละมนี ้ำพอเพียง กบั ความตอ้ งการการเตรียม ดนิ ก็มกี ารไถดะ ไถแปรและคราดดงั ไดก้ ลา่ วมาแล้วแต่ต้องยกเปน็ แปลงสูงจากระดับน้ำในผืนนาน้นั ประมาณ 3 เซนตเิ มตร ทัง้ นี้ เพ่อื ไม่ใหเ้ มล็ด ท่หี ว่านลงไปจมน้ำและดินจนเปียกชุ่มอยู่เสมอ ถา้ จะให้ดยี ง่ิ ขึ้นควรแบ่งแปลง นี้ ออกเป็นแปลงย่อยขนาดกว้าง 50 เซนติเมตร และมีความยาวขนานไปกับทิศทางลม ระหว่างแปลงเว้น ช่องว่างไว้สําหรับเดินประมาณ 30 เซนติเมตร ทั้งนี้เพื่อลดแรงระบาดของโรคที่จะเข้าไปทําลายต้นข้าว เช่น โรคไหม้ เมล็ดพันธ์ุทีเ่ อามาตกกลา้ จะต้องเป็นเมลด็ ทส่ี มบรู ณป์ ราศจากเชือ้ โรคต่างๆ ด้วยเหตนุ ้จี ะตอ้ งทํา ความสะอาดเมล็ดพนั ธ์เุ สยี ก่อน โดยแยกเอามาเฉพาะเมลด็ ที่สมบรู ณแ์ ละเอาเมล็ดท่ี ไม่สมบรู ณซ์ ่ึงมี นำ้ หนกั เบากว่าปกตทิ งิ้ ไป เอาเมลด็ ที่ตอ้ งการตกกลา้ ใส่ถุงผ้าไปแช่น้ำนาน 12-24 ชั่วโมง แลว้ เอาข้นึ มาวางไวบ้ นแผน่ กระดาน ในท่ีท่มี ี ลมถ่ายเทได้สะดวก และเอาผา้ หรอื กระสอบเปียกน้ำคลุมไว้ นาน 36-48 ชวั่ โมง ซึง่ เรยี กวา่ การห้มุ หลังจากทีไ่ ดห้ มุ้ เมล็ด ไวค้ รบ 36-48 ช่วั โมง แลว้ เมลด็ ขา้ วกจ็ ะงอก จงึ เอาไปหว่าน ลงบนแปลงกล้าที่ได้เตรียมไว้ก่อนที่จะหว่านเมล็ดลงบนแปลงกล้าควรใส่ปุ๋ยพวกที่ให้ธาตุไนไตรเจน และ ฟอสฟอรัสเสียก่อน และใช้ไม้กระดานลูบแปลงเพื่อกลบปุ๋ยลงไปในดินปกติใช้เมล็ดพันธ์ุ จํานวน 50-80 กโิ ลกรมั /เน้ือท่ีแปลงกล้า 1 ไร่ เมือ่ ต้นกลา้ มอี ายุครบ 25-30 วัน นบั จากวนั หว่านเมล็ดต้นกล้าก็จะมีขนาดโต พอทจี่ ะถอนเอาไปปักดาํ ได้ การตกกลา้ แบบนเ้ี ปน็ ท่นี ิยมกนั อยา่ ง แพรห่ ลายในการทํานาดาํ ในประเทศไทย 3) การปักดำ เมอ่ื ตน้ กล้ามอี ายุประมาณ 25-30 วัน จากการตกกล้าในดนิ เปียกหรือการตกกลา้ ในดินแห้ง กจ็ ะโต พอที่จะถอนเอาไปปกั ดาํ ได้ ข้นั แรกให้ถอนต้นกล้าขึน้ มาจาก แปลง แล้วมดั รวมกนั เปน็ มัดๆ ตัดปลายใบท้ิง ถา้ ต้นกลา้ เลก็ มากไมต่ ้องตดั ปลายใบทง้ิ สําหรับตน้ กลา้ ท่ีได้มาจากการตกกล้า ในดนิ เปียก จะตอ้ งล้างเอาดนิ ที่รากออกเสยี ดว้ ยแล้วเอาไปปัก ดาํ ในพนื้ ทีน่ าได้เตรียมไวพ้ นื้ ท่นี าท่ีใชป้ กั ดําควรมีน้ำขงั อยปู่ ระมาณ 5-10 เซนติเมตร เพราะต้นข้าว อาจจะถูกลมพัดจนพับลงไดใ้ นเมอื่ นาน้ันไม่มนี ้ำอยูเ่ ลย ถ้าระดับน้ำในนาน้ันลึกมาก ตน้ ขา้ วท่ีปักดาํ อาจจมน้ำในระยะแรก และ ทําให้ต้นข้าวตอ้ งยืดต้นมากกว่าปกติจนมผี ลให้แตกกอน้อยการปกั ดาํ ท่ี

10 จะใหไ้ ดผ้ ลิตผลสูง จะตอ้ ง ปกั ดําให้เป็นแถวเปน็ แนว และมรี ะยะหา่ งระหว่างกอมากพอสมควร การปกั ดาํ โดยทัว่ ไปมกั ใช้ตน้ กล้าจํานวน 3-5 ตน้ ตอ่ กอ ระยะปลูกหรอื ปักดําจะต้องมีระยะห่าง ระหว่างกอและระหว่างแถวประมาณ 25 เซนติเมตร 3. การปลูกข้าวนาหวา่ น เป็นการปลกู ขา้ วโดยเอาเมล็ดพนั ธหุ์ ว่านลงไปในพน้ื ที่ นาที่ไดไ้ ถเตรียมดนิ ไวก้ ารเตรยี มดินกม็ ีการไถดะ และไถแปร ปกติชาวนาจะเรมิ่ ไถนาเพอื่ ปลูกขา้ วนาหวา่ นตง้ั แตเ่ ดอื น เมษายน เนอ่ื งจากพื้นทนี่ าสาํ หรับปลกู ข้าวนาหว่านไม่มคี นั นา กน้ั แบ่งออกเปน็ ผนื เล็กๆ จงึ สะดวกแกก่ ารไถดว้ ยรถแทรกเตอร์ ขนาดใหญ่อยา่ งไรกต็ าม ยังมีชาวนาอีกจํานวนมากท่ีใช้แรงวัว และควายไถนา การปลกู ข้าวนาหวา่ นมีหลายวธิ ีด้วยกนั เชน่ การหว่านสาํ รวย การหวา่ นคราดกลบ หรือไถกลบ การหว่านหลงั ขีไ้ ถ และการหว่านน้ำตม การหว่านสำรวย การหว่านวิธนี ี้ชาวนาจะตอ้ งเริ่มไถนาเตรียมดินตั้งแต่เดือนเมษายนซึ่งมีการไถดะ และไถแปร แล้วเอาเมลด็ พนั ธทุ์ ี่ไมไ่ ด้เพาะให้งอกหว่านลงไปโดยตรง ปกตใิ ช้เมล็ดพันธ์ุ 1-2 ถงั /ไร่ เมลด็ พนั ธุท์ ่ี หว่านลงไปบางส่วนจะตกลงไปอยู่ตามซอก ระหว่างก้อนดินและรอยไถเมื่อฝนตกลงมา ทําให้ดินเปียกและ เมลด็ ที่ได้รับความชื้น ก็จะงอกขนึ้ มาเป็นต้นกลา้ การหว่านวิธีนใ้ี ชเ้ ฉพาะในทอ้ งทีท่ ีฝ่ นตกตามฤดกู าล การหวา่ นคราดกลบหรอื ไถกลบ ในกรณีทดี่ นิ มี ความชื้นอยบู่ า้ งแลว้ และเป็นเวลาท่ฝี น จะเริม่ ตกตาม ฤดกู าล ชาวนาจะปลกู ข้าวแบบหว่านคราดกลบหรือไถกลบ โดยชาวนาจะทาํ การไถดะและไถแปร แล้วเอาเมล็ดพันธ์ทุ ยี่ งั ไม่ได้ เพาะให้งอกจํานวน 1-2 ถงั /ไร่ หวา่ นลงไปทันทแี ลว้ คราดหรือไถ เพอื่ กลบเมล็ดที่หวา่ นลงไปอีกครง้ั หน่ึง เนื่องจาก ดินมีความชื้นอย่แู ลว้ เมลด็ ก็จะเรม่ิ งอกทันทหี ลังจากหว่านลงไปในดนิ วิธีน้ีดเู หมอื นว่าจะดีกว่าวิธี แรก เพราะเมลด็ จะงอกทันทหี ลงั จากท่ีได้หวา่ นลงไป นอกจากนกี้ ารต้ังตัวของต้นกล้าก็ดีกว่าวธิ ีแรก ด้วย เพราะเมล็ดท่ีหวา่ นลงไปถกู ดินกลบฝังลึกลงไปในดิน การหวา่ นน้ำตม การหวา่ นแบบนี้นยิ มใช้ในพ้ืนทีท่ ่ี มกี ารชลประทานอย่างสมบูรณแ์ บบ และพื้นทน่ี าเปน็ ผนื ใหญ่ มีคันนาก้นั การเตรยี มดนิ ก็เหมือนกบั การเตรียมดนิ สําหรับนาดํา ซึ่งมกี ารไถดะไถแปรและคราด เพอ่ื จะได้เก็บ วชั พชื ออกไปจากนาและปรับระดับพ้นื ทนี่ า แลว้ ทิ้งใหด้ นิ ตกตะกอนจนเห็นว่าน้ำใส และน้ำในนา ไม่ควรลึกกวา่ 2 เซนติเมตร จงึ เอาเมล็ดพนั ธ์จุ าํ นวน 1-2 ถัง/ไร่ ที่ได้เพราะใหง้ อกแลว้ หวา่ นลงไป เมล็ดก็จะ เจริญเติบโตเป็นต้นขา้ วและโผล่ขึน้ มาเหนือน้ำ มกี ารเจรญิ เตบิ โตอยา่ งข้าวอืน่ ๆ ตามปกติการหวาน แบบนี้นยิ มทํากันมากในทอ้ งทจี่ ังหวัดฉะเชงิ เทรา ทท่ี าํ การปลกู ข้าวนาปรัง

11 การใช้ปยุ๋ ในนาขา้ ว เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ปุ๋ย คือ อาหารของพืช เช่น ข้าว พื้นที่นาที่ใช้ปลูกข้าวติดต่อกันมาเป็น เวลานาน จนแรธ่ าตุต่างๆ ที่เปน็ อาหารของต้นข้าวถูกดึงดูดเอาไปสร้างเปน็ ต้นและเมล็ดข้าวหมดลง ทําให้แร่ ธาตุเหลา่ นขี้ าดแคลนไปจากพ้ืนนา ขา้ วทีป่ ลูกในระยะหลงั จึงใหผ้ ลติ ผลต่ำ ดงั นัน้ ชาวนาจําเปน็ ตอ้ งใช้ปุ๋ยใส่ลง ไปในนาขา้ วในปจั จบุ ัน เพ่ือจะได้ผลิตผลสงู และมีรายได้มากย่งิ ขนึ้ จนพอกับความต้องการของครอบครัว 1. ดินนาขาดแคลนธาตอุ าหารทตี่ น้ ข้าวตอ้ งการ ดนิ นาส่วนใหญ่ของประเทศไทยขาดแร่ธาตุอาหารพวกไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมซึ่งเป็น แร่ธาตุทตี่ ้นข้าวต้องการเปน็ จํานวนมากสําหรับการเจริญ เติบโต และจากรายงานผลการวเิ คราะห์ทางเคมีของ ดนิ นา ของกรมวิชาการเกษตร 2. โดยธรรมชาตดิ นิ นามีแร่ธาตุอาหารพืชต่ำ เมอ่ื เปรียบเทียบกับดินสําหรับปลกู พชื ชนิดอืน่ ทว่ั ไป ดินนามปี รมิ าณแร่ธาตอุ าหารต่ำทส่ี ดุ และเมอื่ ได้ มีการปลูกข้าวติดต่อกันเป็นเวลาหลายร้อยปี ก็ยิ่งทําให้ปริมาณแร่ธาตุอาหารพืชในดินนาเกิดขาดแคลนมาก ยงิ่ ขน้ึ ต้นขา้ วไดด้ ูดเอาแร่ธาตจุ ากดินนาขน้ึ ไปสร้างเมล็ดข้าวจรงิ และจะทําให้ดินน้ันเสอื่ ม ปลูกข้าวได้ผลิตผล ต่ำ ถา้ ดินนานน้ั ไมไ่ ดร้ ับปยุ๋ เพมิ่ เตมิ ดว้ ยเหตนุ ้ชี าวนาจึงจาํ เปน็ ต้องใสป่ ยุ๋ ทุกครง้ั ทปี่ ลูกข้าว เพื่อให้ได้ผลิตผลสูง แต่การใสป่ ยุ๋ เพือ่ ให้ได้ ผลติ ผลสงู ชาวนาจะต้องเลือกใช้พันธุข์ า้ วปลกู ท่ีถกู ต้องด้วย เพราะข้าวบางพันธ์ุท่ีมีต้น สูง เมอ่ื ไดร้ บั ปุย๋ มาก ต้นของมันจะล้ม และไม่ให้ผลติ ผลสูง จึงทาํ ให้ชาวนาขาดทุนจากการใส่ปุ๋ย และข้าวบาง พนั ธ์ทุ ม่ี ตี ้นเต้ีย เมอื่ ได้รบั ปยุ๋ มากข้นึ กจ็ ะมีการเจริญเติบโต และให้ผลติ ผลสงู มากย่ิงข้นึ ตามจาํ นวนปยุ๋ ท่ีใส่ การ ทีต่ น้ ข้าวใหผ้ ลติ ผลเพมิ่ ขน้ึ เมื่อใส่ปุย๋ เรยี กว่า การตอบสนองของพันธุ์ข้าวต่อป๋ยุ พันธุ์ข้าวท่ตี อบสนองต่อปุ๋ยสูง จะมตี ้นสงู ประมาณ 100-110 เซนตเิ มตร ใบสเี ขยี วแก่และตรง ไม่โค้งงอ ขนาดของใบกไ็ มก่ ว้างและยาวเกินไป แตกกอมาก สําหรบั การใช้ปยุ๋ นัน้ จะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินนาของแต่ละภาค ดนิ ท่ีขาดแร่ธาตุอาหาร มาก กจ็ ะต้องใสป่ ยุ๋ มากกวา่ ดนิ ทีไ่ มข่ าดแรธ่ าตุอาหารน้ัน

12 แมลงและสัตวศ์ ัตรขู า้ ว แมลงศัตรขู ้าวมหี ลายชนิด แต่ชนิดทีส่ ําคญั และระบาดเสมอๆ ไดแ้ ก่ เพลย้ี ไฟ หนอนกระทู้ กล้า เพลีย้ กระโดดสีนาํ้ ตาล เพลยี้ จักจ่นั สเี ขียว แมลงบ่วั หนอนกอ หนอนมว้ นใบ แมลงสิง และ หนอนกระทูค้ อรวง 1. เพลีย้ ไฟ (rice thrips) มชี ่ือวทิ ยาศาสตร์ว่า ทรพิ ส์ ออไรซี (Thrips oryzae)เป็น แมลงทีม่ ีปากแทง ดูดและชอบดดู กนิ น้ำเล้ียงจากต้นกล้าข้าว โดยเฉพาะ ตรงส่วนท่ีเป็นสีเขยี ว เพราะมีคลอโรฟีลล์ ระบาดรนุ แรงมากเมื่อมอี ากาศแหง้ แล้ง ฝนตกน้อย ข้าวท่ีถูกเพล้ีย ไฟ ทําลายจะมใี บเหลืองเจริญเตบิ โตช้า ตน้ ข้าวแคระ แกร็น แล้วแผน่ ใบค่อยๆ ม้วนตามความยาวเข้าหาส่วน กลางของใบ ต่อจากน้นั ปลายใบกจ็ ะแหง้ ซ่ึงในระยะนี้ ตวั เพล้ยี ไฟจะอาศยั อย่ใู นรอยม้วน ของใบ ต้นกลา้ ทถ่ี กู ทําลายมากๆ จะตายในทีส่ ุด สว่ นต้นขา้ วท่โี ต แลว้ หรือ หลังปกั ดําจะไมไ่ ดร้ บั ความเสยี หายจากเพล้ียไฟ ยก เว้นบางกรณใี นระยะออกดอก เพลย้ี ไฟ อาจเข้าไปดูด กนิ น้ำเล้ียงในดอก จนทําให้เมลด็ ลีบเปน็ จาํ นวนมาก การปอ้ งกันและกำจดั 1. สุมไฟด้วยฟางข้าวไว้ด้านเหนอื ของแปลงกล้า แล้วโรยผงกํามะถนั ลงบนกองไฟนนั้ อากาศ ท่เี กิดจาก กองไฟจะเป็นพษิ ทําลายเพลยี้ ไฟ 2. ใช้ยาฆา่ แมลงผสมน้ำพ่นลงบนต้นกลา้ ยาท่ี ใช้ไดผ้ ล เช่น มาลาไทออน(malathion) 57% 2. หนอนกระท้กู ล้า (rice seeding armyworm) มีช่ือวิทยาศาสตรว์ า่ สะโปดอพเทอรา มอริเทยี (Spodoptera mauritia)เป็นแมลงท่ใี ชป้ าก กดั และทาํ ลาย ต้นขา้ วในระยะที่เป็นตัวหนอนเท่านัน้ ตัวแกข่ องมนั มี ลักษณะคลา้ ยผเี สื้อตัวหนอนจะ เขา้ ทาํ ลายตน้ กลา้ โดย ใชป้ ากกดั กินใบในระยะท่ตี น้ กลา้ มีอายปุ ระมาณ 25- 30 วัน ปกติตวั หนอนจะ ออกมากดั กนิ ใบตน้ กล้าข้าว ในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันมนั จะหลบซ่อนอย่ตู าม คนั นาหรอื โคนต้น กลา้ ข้าว ตน้ กลา้ ข้าวทีถ่ ูกทาํ ลายจะ ไม่มแี ผน่ ใบเหลืออยเู่ ลย ลกั ษณะคล้ายๆ ถกู ควายหรอื วัวกิน ตน้ ข้าวหลังจากปักดาํ แลว้ จะไมไ่ ดร้ ับความ เสียหายจากหนอนกระทกู้ ลา้ การป้องกันและกำจดั 1. ระบายน้ำเข้าแปลงกล้าจนท่วมยอดของตน้ กล้า แลว้ เก็บเอาตวั หนอนไปทาํ ลาย 2. เอาตน้ หญ้าหรอื ฟางขา้ วมากองไว้บนคนั นา เพ่อื ล่อให้ตัวหนอนเข้าไปอาศยั ในเวลากลางวัน ในเวลา บ่ายเก็บเอาตัวหนอนออกมาทาํ ลาย 3. ใชเ้ หย่ือพษิ ที่มีสว่ นผสมของสารหนเู ขียวครึ่ง ลติ ร ราํ ขา้ ว 100 ลติ ร น้ำตาลทรายแดงหรอื นำ้ ตาล ปีบและน้ำผสมกันพอชน้ื ๆ แลว้ หว่านลงบนคนั นา เมอ่ื หนอนกนิ เข้าไปแล้วเกิดเปน็ พิษตาย 4. ใช้สารเคมีผสมน้าํ พน่ ลงบนแปลงกลา้ เช่น เซวีน 85% หรือมาลาไทออน 57% ใชน้ ้ำยาพน่ ประมาณ 40-50 ลติ ร/ไร่

13 3. เพลยี้ กระโดดสนี ้ำตาล (brown plant hopper) มีชอ่ื วิทยาศาสตรว์ ่า นิลาพารว์ าทาลูเยนส์ เปน็ แมลงท่ี ใชป้ ากแทงดูด ชอบดดู กนิ น้ำเลี้ยงจากกาบใบ ของต้นข้าว ตัวสีน้ำตาล และสามารถทําลายต้นข้าวในทุกระยะของการเจริญเติบโตใหเ้ สียหายเช่น ระยะต้น กล้า ระยะแตกกอ ระยะออกรวง และแมลงเพล้ยี กระโดด ต้งั แตต่ วั ออ่ นจนถึงตัวแก่ สามารถทําลายต้นข้าวได้ อยา่ งรุนแรง ต้นข้าวทถ่ี ูกแมลงน้ที ําลายจะมีอาการ เห่ียวแล้วแหง้ เป็นสีน้ำตาลแก่ ซึ่งอาจมีคราบของเชื้อรา สี ดาํ เกาะตดิ อย่กู บั ต้นขา้ วดว้ ย ตน้ ขา้ วทีก่ ําลงั แตกกอ ท่ีถูกทาํ ลายจะแห้งตาย ต้นขา้ วทีอ่ อกรวงแลว้ จะมีเมล็ดไม่ สมบูรณ์และมีน้ำหนักเบา ล้มง่าย ลักษณะกลุ่มของต้นข้าวที่ถูกแมลงเพลี้ยกระโดดสีนำตาลทําลายเรียกว่า ฮอพเพอรเ์ บิร์น(hopper burn) แมลงชนิดนี้ชอบดดู กนิ น้ำเลี้ยงและอาศัยอยู่บนต้นข้าวทีแ่ ตกกอมาก ต้นไม่ ค่อย สูง เช่น พันธุ์ กข.1 และจะระบาดรุนแรงมากในระหว่าง เดือนที่มีอากาศร้อนและความชื้นค่อนข้างสงู เชน่ เดอื น พฤษภาคมมิถนุ ายน และกรกฎาคม การปอ้ งกนั และกำจัด 1. จุดตะเกยี งลอ่ ให้ตวั แกม่ าเล่นไฟ แลว้ จับทําลาย 2. ใช้สารเคมพี วกคารบ์ าเมต (carbamate) พน่ ลงบนต้นข้าวท่ถี กู แมลงนท้ี ําลายเพื่อให้ แมลงตาย ยา ท่ใี ชไ้ ด้ผล เช่น มิพซิน 50% ฟูราดาน (furadan) 3% 3. ปลูกด้วยพันธุ์ขา้ วทตี่ า้ นทานแมลงเพลยี้ กระโดดสีนํา้ ตาล เชน่ กข.9 กข.21 กข.23 4. เพล้ยี จกั จ่ันสีเขียว (green leaf hopper) มีหลายชนิด เชน่ เนโฟเทตทกิ ซ์ อิมพกิ ทิเซพส์ และ เนโฟเทตทิกซ์ อะพิคาลสิ เปน็ แมลงที่มีปากแทง ดูด ทําลายข้าวทุกระยะของการเจริญเติบโต ดูดอาหาร ตามใบและกาบใบข้าว ทําให้ปลายใบแห้งเหี่ยว มีสี เหลอื ง ในทีส่ ุดตน้ ข้าวกไ็ มเ่ จรญิ เตบิ โตอีกต่อไป หาก ถกู ทาํ ลายมากๆ ตน้ ข้าวจะตายในท่ีสดุ การป้องกนั และกำจัด 1. ใชต้ ะเกยี งจุดลอ่ ให้ตวั แกบ่ นิ มาเลน่ ไป เพื่อให้ตกลงในอา่ งใสน่ ้ำปนน้ำมันกา๊ ด ทไี่ ดเ้ ตรยี มไว้ แลว้ ตวั แกน่ ้นั ก็จะตายไปในท่ีสุด 2. ใชย้ าฟูราดาน 3% หว่านลงในนา 3. ใช้ยาเซวีน 85% ผสมนาํ้ พ่นบนต้นข้าว 4. ปลกู ด้วยพนั ธุต์ า้ นทาน เชน่ กข.1 กข.9 5. แมลงบ่ัว (rice gallmidge) 5. แมลงบ่ัว (rice gallmidge) มชี อื่ วิทยาศาสตร์ วา่ ออซโิ อเลีย ออไรซี (Orseolia oryzae)เป็นแมลงศตั รขู ้าวทีส่ ําคญั ท่ีสดุ ในฤดนู าปีในภาค ตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ภาคเหนอื และจงั หวดั ตราด ในภาค กลาง แมลงบ่ัวซ่งึ ตวั แก่มีลักษณะคล้ายยงุ แตล่ ําตัวเปน็ สีชมพู จะออกมาวางไข่บนตน้ ข้าว ซึง่ อยใู่ นระยะต้นกล้า หรอื ระยะ แตกกอ หลังจากไข่ได้ฟักออกเปน็ ตัวหนอน ตัวหนอนจะเข้า ไปใน ลําต้นของข้าว แลว้ ทําใหใ้ บเปลี่ยนเปน็ หลอดคล้ายธูป และลําต้นนั้นจะไม่ออกรวง ตน้ ข้าวทถี่ กู แมลงบั่วทาํ ลายมากๆ จะแคระแกร็น แตกกอมาก มรี วงนอ้ ย

14 การปอ้ งกันและกำจดั 1. ปลูกดว้ ยพันธขุ์ า้ วทต่ี า้ นทานแมลงบ่วั เช่น พนั ธุ์เหมยนอง 62 2. ใชส้ ารเคมีชนิดดูดซมึ เข้าไปในต้นขา้ ว หว่าน ลงไปในนา เช่น ฟูราดาน 3% จี 6. หนอนกอ (rice stem borers) มีหลายชนดิ เช่น หนอนกอสคี รีม มีชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ ว่า ทรพิ ออไรซา อนิ เซอร์ทูลัส (Tryporyza incertulus) และ หนอนกอสชี มพู มีชือ่ วทิ ยาศาสตร์ว่า เซสซาเมีย อินเฟอเรนซ์ (Sesamia inferens) หนอนกอสองชนิดนีพ้ บมากกว่าชนิด อืน่ ๆ ปกติจะพบว่า ต้นขา้ วถกู หนอนกอทาํ ลายในทุกแหง่ ของ ประเทศไทย แตไ่ ม่มีความรุนแรงมากนกั จนทาํ ให้เกดิ เสยี หาย ทง้ั นเ้ี ปน็ เพราะได้มีศตั รธู รรมชาตขิ องหนอนกอเปน็ จํานวน มาก ซึง่ คอยทําลายหนอนกอ ไมใ่ หเ้ กดิ มขี ้นึ เปน็ จํานวนมากๆ หนอนกอเขา้ ทําลายต้นขา้ วในระยะทเี่ ปน็ ตวั หนอน ตวั แกข่ อง มันมลี ักษณะเหมือนผเี สอื้ วางไข่ลงบนใบข้าว เมอ่ื ไขฟ่ ักเป็นตวั หนอน จะเจาะเข้าไปทําลายต้นขา้ ว ทกี่ ําลังแตกกอ ตวั หนอน ก็จะกดั กนิ ใบอ่อนจนทําใหใ้ บอ่อนแห้งตาย เรียกว่า เดดฮารต์ (dead heart) และต้นทอี่ อกรวงจะทําใหค้ อรวงขาดจากสว่ นอื่นของตน้ แห้งเหี่ยวตายไปเรียกวา่ ไวตเ์ ฮด (whitehead) ฉะนนั้ หนอนกอก็เปน็ แมลงศัตรูข้าวชนดิ หน่ึงท่ีทําให้ผลิตผลข้าวลดตา่ํ ลง การปอ้ งกนั และกำจัด 1. ทาํ ลายตวั หนอนทีอ่ ยู่ในตอซังหลังจากการ เกี่ยวแล้ว โดยเผาตอซัง 2. จดุ ตะเกยี งลอ่ ให้ตัวแก่มาเล่นไฟ แล้วจับทํา ลาย 3. ใชส้ ารเคมพี ่นลงบนต้นข้าว หรอื หวา่ นลงไป ในนาข้าว เช่น อะโซดรนิ (azodrin) 56% และฟูราดาน 3% จี 4. ปลูกดว้ ยพันธ์ุต้านทานหนอนกอ เช่น กข.9 7. หนอนม้วนใบ (rice leaf folders) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เซฟาโลครอซิส เมดินาลิส (Cnaphalocrosis medinalis) เป็นตัวหนอนที่ชอบ อาศัยอยู่ที่ใบข้าว โดยมันทําให้ใบม้วนเขา้ หากัน เพื่อจะได้หอ่ หุ้มตัวมันเอง ไว้ พบมากในระยะท่ีต้นข้าวกําลงั แตกกอ นอกจากน้ี ตัวหนอนยงั ชอบกัดกินใบทีเ่ ปน็ สีเขียวเปน็ อาหารดว้ ย โดยรอยกัดจะเป็นทางยาวขนานกับ เส้นใบ ฉะนน้ั หนอนม้วนใบจงึ เป็นตัวทาํ ให้ใบเสยี หาย และมีประสทิ ธิภาพในการสังเคราะหแ์ สงน้อยลง การป้องกันและกำจดั 1. ทาํ ความสะอาดพนื้ ที่นา ไมใ่ ห้หนอนพวกนี้ อาศัยอยู่ได้ 2. ทําลายตัวหนอนโดยเอาใบท่ีมีตวั หนอนม้วน ใบอยู่ภายในไปทาํ ลาย 3. จดุ ไฟลอ่ ตัวแกใ่ หม้ าเลน่ ไฟ แล้วจบั ทําลาย 4. ใชส้ ารเคมีพน่ ลงบนตัวขา้ ว เพื่อทําลายตวั หนอน เช่น มาลาไทออน ซมู ิไทออน(sumithion)

15 8. แมลงสิง (rice bug) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เลพโทคอริซา โอราโทเรีย (Leptocorisa oratoria) ทําลายต้นข้าว โดยดูดกิน นำ้ นมจากเมล็ดข้าว หลงั จากวันออกดอกประมาณ 1-2 สัปดาห์ ทาํ ให้เมลด็ นั้นลีบ นอกจากนี้แมลงสิงยังชอบ ดูดกนิ น้ำเล้ียงจากคอรวง และยอดต้นออ่ น ของขา้ วด้วย ดังนั้น แมลงน้ีจะระบาด ในระยะที่ขา้ วออกรวง และ อยูใ่ นบริเวณท่ใี กล้ป่า ตัวแก่ของแมลงสงิ ขณะดดู กนิ เมล็ดข้าวในระยะเป็นน้ำนม การป้องกันและกำจัด 1. ใชส้ ารเคมพี ่นใหถ้ กู ตวั แมลง เช่น มาลา ไทออน 57% อะโซดริน 56% 2. ทําความสะอาดพ้นื ที่นา 9. หนอนกระทคู้ อรวง (rice neck armyworm) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซีดาเลเทีย ยูนิพังทา (Pseudaletia unipuncta) ตัวแก่มีลักษณะเหมือนผีเสื้อ ซ่งึ ไมท่ าํ ลายต้นข้าว แต่ตัวออ่ นซ่ึงเป็นตัวหนอนจะทําลายตน้ ขา้ วในระยะออกรวงโดยกัดคอรวงขาด แล้วร่วง หล่น ลงดิน เก็บเกี่ยวไม่ได้ หนอนพวกนี้จะออกมากัดคอรวงข้าวในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันมันจะซ่อนตวั อยู่ใกล้ พื้นดิน การป้องกนั และกำจัด 1. ทาํ ความสะอาดพน้ื ทีน่ า 2. จดุ ไฟลอ่ ตวั แก่ใหม้ าเล่นไฟ แลว้ จบั ทําลาย 3. ใชเ้ หยือ่ พษิ ทําไดเ้ ชน่ เดยี วกับทีใ่ ชใ้ นหนอน กระทู้กลา้ ขา้ ว 4. ใช้สารเคมพี น่ ลงบนต้นขา้ ว เพือ่ ให้ถกู ตัวหนอน ตาย เชน่ ซมู ิไทออน 50% มาลาไทออน 57% 10. หนู หนูเป็นศัตรูท่สี ําคญั ชนดิ หนงึ่ ของขา้ ว เพราะหนูไดก้ ัดกนิ ต้นข้าวในระยะแตกกอ ระยะตัง้ ท้อง และ ระยะที่เมล็ดแกเ่ กบ็ เกี่ยวได้ นอกจากนี้ หนยู ังได้กนิ เมลด็ ขา้ วท่ีเก็บไว้ในยงุ้ ฉางอีกด้วยหนทู ่ีเป็นศัตรทู ําลายขา้ ว ไดแ้ ก่ หนูพุกเลก็ หนูนา หนสู วน หนจู ิด๊ หนูขยะ และหนหู รงิ่ หนูเหล่าน้มี ขี นาดตัว และสขี องขนแตกตา่ งกัน

16 สภาพความเสยี หายของขา้ วในระยะแตกกอ ซงึ่ เกดิ จากหนู การปอ้ งกันและกำจัด 1. ใชก้ บั ดกั 2. ใชย้ ารมในรูทีห่ นูอาศยั อยู่ 3. ใชเ้ หยอื่ พษิ ทเ่ี ปน็ สว่ นผสมของซิงคฟ์ อสไฟด์(zine phosphide) หรือ วาร์ฟารนิ (warfarin) 11. ปนู า ปนู าเป็นศตั รูของขา้ ว เพราะปไู ดก้ ดั กนิ ตน้ ขา้ วทีป่ ักดาํ ใหมๆ่ ทําให้ชาวนาตอ้ งปกั ดําซ้ำหลายครั้ง นอกจากน้ี ปูยงั ทําใหค้ นั นาเป็นรอู กี ด้วย ปูนา การป้องกนั และกำจัด 1. ปรบั ทีน่ าใหเ้ รยี บเสมอ เพอื่ จะได้ไขนา้ํ ออก ใหแ้ หง้ เปน็ เวลา 10-15 วัน หลงั จาก การปักดํา 2. ใช้ตน้ กล้าทีแ่ ขง็ แรงปักดํา และปกั ดาํ กอละ 3-5 ตน้ 3. เอาเหยอื่ ที่มีกลิ่นแรงจดั เช่น ปลารา้ ใส่ลงใน ปีบ แลว้ เอาปีบนไ้ี ปฝงั ไว้ในนา โดยใหป้ ากปีบ เสมอกับ พน้ื นา ปูก็จะลงไปกนิ เหยื่อแต่ขึ้นมาไมไ่ ด้ แลว้ จับปูทํา ลาย 12. นก นกทําลายขา้ วโดยกินเมลด็ ขา้ วในระยะท่ขี ้าวออกรวง นกจะกินเมลด็ ขา้ วท้งั ในระยะทเ่ี ป็นน้ำนม และเปน็ เมล็ดแก่ นอกจากนี้ นกยังกนิ เมล็ดขา้ วที่เกบ็ ไวใ้ นยุง้ ฉางอกี ด้วย นกทเี่ ปน็ ศัตรขู ้าว ทส่ี ําคัญ ไดแ้ ก่ นกกระติ๊ด นกกระจาบ และนกกระจอก การปอ้ งกนั และกำจัด 1. ใชค้ นไล่ 2. ใชต้ าขา่ ยดกั

17 วชั พชื ในนาขา้ ว หมายถึง พืชอื่นทกุ ชนิดที่เกิดขึ้นในนาที่ได้ปลกู ขา้ วไว้ มีวัชพืชหลายชนิดในนาทีป่ ลูกข้าวในประเทศ ไทย นาบางแห่งมีวัชพืชมาก นาบางแห่งมีวัชพืชน้อย และนาแต่ละแห่งก็มีวัชพืชชนิดตา่ งกันด้วย เพราะการ เกดิ ของวชั พืชในนาขา้ วน้นั แตกต่างกันไปตามทอ้ งที่ และวิธกี ารทํานาปลูกขา้ วปกตินาหวา่ นมีวชั พืชมากกว่านา ดํา เพราะนาดาํ มกี ารเตรียมดนิ ดกี ว่า และมีการเก็บวชั พืชออกไปจากแปลงนาก่อนการปักดําดว้ ย วัชพชื ในนาข้าว วัชพืชท่เี กิดมขี ึ้นในนาขา้ วในบา้ นเราแบ่งออกได้เปน็ 3 ประเภท ดังน้ี 1. วชั พชื ในนาท่เี ปน็ ที่ดอน วชั พชื ทพี่ บมาก ได้แก่ หญ้าแดง หญา้ นกสีชมพู หญ้าชันอากาศ 2. วัชพชื ในนาท่ีเป็นทลี่ มุ่ ปานกลาง วชั พืชท่พี บ มาก ได้แก่ ขาเขียด แหว้ ทรงกระเทียม หญา้ หนวด ปลาดกุ แห้วทรงกระเทยี ม โป่ง กกสามเหลีย่ ม แพงพวย เทียนนา 3. วัชพชื ในนาท่ีเป็นทล่ี ุ่มมาก วัชพชื ท่พี บมาก ไดแ้ ก่ สาหร่ายพงุ ชะโด สนั ตะวาใบข้าว สาหร่ายหาง กระรอก สนั ตะวาใบ พาย ผกั ตบชวา สาหร่ายขา้ ว เหนียว สาหร่ายไฟ กกขนาก หญา้ ตะกรบั แหนแดง การปอ้ งกนั และกำจัดพืช เนื่องจากวัชพืชใน นาข้าวอาจเกิดมีขึ้นในระยะเวลาต่าง ๆ กัน เช่น ก่อนที่ เมล็ดข้าวจะงอกโผล่มา จากพ้ืนดนิ นาหว่าน หลังปกั ดาํ ก่อนทีร่ ะดบั น้ำในนาเมืองจะสงู ขึ้น ฉะนั้น การปอ้ งกนั และกาํ จดั อาจทําได้ดงั น้ี 1. กอ่ นทเ่ี มลด็ ขา้ วจะงอกโผลเ่ หนือพื้นดนิ ในนาหว่าน ในระยะนี้อาจป้องกันและกําจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมีพ่นลงไปในดิน ก่อนที่เมล็ดข้าว จะงอกข้นึ มา 2. หลงั จากเมล็ดข้าวได้งอกโผล่จากพ้นื ดนิ ในนาหวา่ น ในระยะนท้ี ําการป้องกนั กําจดั วัชพืชไดห้ ลายวธิ ีด้วยกนั ซ่งึ จะใช้สารเคมีพ่นทําลายวัชพืช หรือการใช้ แรงคนถอนวัชพืชขึ้นมาแล้วทําลายเสียก็ได้สําหรับ การใช้สารเคมีนั้น จะต้องเป็นสารเคมีชนิดที่ไม่เป็น อนั ตรายแก่ตน้ ขา้ ว 3. หลงั จากปักดำ

18 ในเวลาหลังจากการปักดําและ ก่อนที่ข้าวจะออกรวงนั้น เป็นเวลายาวนานพอสมควรเพราะฉะน้ัน การป้องกันกําจัดวัชพชื อาจจะตอ้ งทาํ มากกว่าหน่ึงคร้ัง ซง่ึ อาจทําได้โดยพ่นสารเคมที ่ไี มเ่ ปน็ อันตรายแก่ต้นข้าว หรือจะใช้แรงคนถอนขึ้นมาทําลาย ในระยะนี้จะต้องกําจัดวัชพืชก่อนที่มันจะสร้างดอกและ เมล็ดอีกด้วย เพราะถา้ ปลอ่ ยให้วัชพืชมเี มล็ด เมลด็ จะเปน็ สิ่งแพรก่ ระจายในฤดูตอ่ ไปอีก อย่างไรก็ตาม การเตรียมดินดี โดย การเก็บวัชพืช ออกไปจากแปลงนา กอ่ นท่ีจะทําการปลูก เป็นวิธหี นึ่ง ท่ีสามารถลดจํานวนวัชพชื ที่จะเกิดข้ึน ภายหลงั ไดม้ าก การเกบ็ เก่ยี วข้าว เมอื่ ดอกขา้ วได้บานและมกี ารผสมเกสรแล้วหนึ่ง สัปดาห์ ภายในท่ีหอ่ หุ้มดว้ ย lemma และ palea ก็จะเร่ิมเป็น แป้งเหลวสขี าว ในสปั ดาห์ท่สี องแปง้ เหลวน้ันก็จะแห้ง กลายเปน็ แป้งค่อนข้างแข็ง และในสัปดาหท์ ีส่ ามแปง้ ก็จะ แขง็ ตวั มากย่ิงข้ึนเป็นรูปร่างของเมลด็ ข้าวกล้อง แตม่ ันจะแก่ เกบ็ เกีย่ วไดใ้ นสัปดาหท์ ่สี ีน่ บั จากวนั ทผ่ี สมเกสร จึงเปน็ ท่ี เช่ือถอื ไดว้ ่า เมลด็ ข้าวจะแก่พร้อมเก็บเกี่ยวได้หลังจากออก ดอกแล้ว ประมาณ 28-30 วัน ชาวนาในภาคเหนอื ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ใช้เคียวสำหรับเกี่ยวข้าวที่ละหลายๆ รวง ส่วนชาวนาในภาคใต้ใช้ แกระสำหรับเกี่ยวข้าวทีละรวง เคียวที่ใชเ้ กีย่ วข้าวมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ เคียวนาสวนและเคียวนาเมือง เคียวนา สวนเปน็ เคียววงกว้าง ใชส้ ําหรับเกี่ยวข้าวนาสวน ซึ่งไดป้ ลูกไว้แบบปักดำแต่ถ้าผู้ใช้มีความชํานาญก็อาจเอาไป ใชเ้ กีย่ วข้าวนาเมืองกไ็ ด้สวนเคียวนาเมืองเป็นเคียววงแคบและมดี ้ามยาวกว่าเคียวนาสวนเคยี วนาเมืองใช้เกี่ยว ขา้ วนาเมอื ง ซงึ่ ไดป้ ลูกไว้แบบหว่าน ข้าวทเ่ี ก่ยี วด้วยเคียวไม่จําเป็นต้องมีคอรวงยาว เพราะข้าวท่ีเกี่ยวมาจะถูก รวบมัดเป็นกำๆ ส่วนข้าวที่เกี่ยวดว้ ยแกระจําเป็นต้องมีคอรวงยาว เพราะชาวนาต้องเกีย่ วเฉพาะรวงทีละรวง แล้วมดั เป็นกำๆ ข้าวท่ีเก่ียวดว้ ยแกระชาวนาจะเกบ็ ไว้ในยุ้งฉาง ซ่งึ โปรง่ มีอากาศ ถ่ายเทไดส้ ะดวก และจะทำการนวด เม่ือต้องการขาย หรอื ตอ้ งการสเี ป็นข้าวสาร ขา้ วท่ีเก่ียว ด้วยเคียวซึง่ ปลูกไวแบบปักดำ ชาวนาจะท้ิงไวในนา จนหมดซงั เพอื่ ตากแดดให้แหง้ เป็นเวลา 3-5 วนั สำหรับ ขา้ วที่ปลกู แบบหว่าน พน้ื ท่ีนาจะแหง้ ในระยะเก็บเกยี่ ว ขา้ วจงึ แห้งก่อนเก็บเก่ยี ว ข้าวที่เกยี่ วแล้วจะกองท้งิ ไว้ บนพื้นที่นาเป็นรูปต่างๆ กันเปน็ เวลา 5-7 วัน เช่น รูปสามเหลี่ยม แล้วจึงขนมาที่ลานสำหรับนวดข้าวที่นวด แล้วจะถูกขนย้ายไปเกบ็ ไวใ้ นยงุ้ ฉาง หรือสง่ ไปขายทโ่ี รงสีทันทีกไ็ ด้

19 การนวดขา้ ว การนวดขา้ ว หมายถงึ การเอาเมลด็ ขา้ วออกจากรวง แล้วทําความสะอาด เพื่อแยกเมล็ดข้าวลบี และเศษฟางขา้ ว ออกไป เหลอื ไวเ้ ฉพาะเมลด็ ข้าวเปลือกทีต่ ้องการเทา่ น้นั ขน้ั แรก จะต้องขนขา้ วทเ่ี กี่ยวจากนาไปกองไวบน ลานสำหรับนวด การกองข้าวสำหรบั นวดก็มหี ลายวิธแี ต่หลักสำคญั มอี ยวู่ ่าการ กองจะตอ้ งเป็นระเบียบ ถา้ กองไมเ่ ป็นระเบียบมัดขา้ วจะอยูส่ ูงๆ ตำ่ ๆ ทําใหเ้ มล็ดข้าวไดร้ ับความเสยี หายและคณุ ภาพต่ำ ปกติจะกองไว้เป็นรูปวงกลม ชาวนามักจะนวดข้าวหลังจากที่ได้ตากข้าวให้แห้งเป็นเวลา 5-7 วันซึ่งเมล็ด ข้าวเปลือกมีความชื้นประมาณ 13-15% เมล็ดที่ได้เกี่ยวมาใหม่ๆ จะมีความชื้นประมาณ 20-25% การนวด ข้าวก็ใช้แรงสัตว์เช่น วัว ควาย ขึ้น ไปเหยียบย่ำเพ่ือขยี้ให้เมล็ดหลุดออกจากรวงข้าว รวงข้าวที่เอาเมลด็ ออก หมดแล้ว เรียกว่า ฟางข้าว ที่กล่าวนี้เป็นวิธีหนึ่งของการนวดข้าว ซึ่งที่จริงแล้วการนวดข้าวมีหลายวิธีเช่น การนวดแบบฟาดกาํ ข้าว การนวดแบบใช้ คําย่ำ การนวดแบบใช้ควายย่ำ การนวดโดยใชเ้ ครือ่ งทุ่นแรงย่ำ การนวดแบบฟาดกำข้าว ชาวนาในภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉยี งเหนือนิยมทาํ กนั มาก โดยฟาด กํา ข้าวซึ่งได้เกี่ยวติดเอาส่วนของต้นข้าวมาด้วย ฟาดลง บนแผ่นไม้ที่วางไว้บนภาชนะสําหรับรองรับเมล็ด ขา้ วเปลือกทห่ี ลดุ ออกมา การนวดแบบใช้เครื่องทุ่นแรง เครื่องทุ่นแรง สําหรับนวดข้าวมีหลายชนิด เช่น เคร่ืองนวดแบบใช้ แรงคน และเครือ่ งนวดท่ีใชเ้ ครอ่ื งยนตข์ นาดเลก็ ซงึ่ สามารถนวดขา้ วไดเ้ ร็วกวา่ การใช้สัตวห์ รือคนเหยียบย่ำ การนวดแบบใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ เครื่องจักร ขนาดใหญ่สําหรับนวดข้าว เช่น เครื่องคอมไบน์ (combine)มีใช้น้อยมากในประเทศไทยเพราะราคาแพง และไม่เหมาะสมกับสภาพดินนาของประเทศไทย เคร่อื งคอมไบน์นอกจากจะทาํ การนวดแลว้ ยังทาํ ความสะอาดเมล็ดข้าวเปลือกดว้ ย การทำความสะอาดเมล็ดขา้ ว เมล็ดข้าวที่ได้มาจากการนวด จะมีสิ่งเจือปน หลายอย่าง เช่น ดิน กรวด ทราย เมล็ดลีบฟางข้าว ทาํ ให้ขายได้ราคาต่ำ ฉะนั้น ชาวนาจะต้องทาํ ความ สะอาดเมล็ดกอ่ นท่ีจะเอาข้าวเปลือกเก็บไว้ในยุ้งฉาง หรือ ขายให้กับพ่อค้า การทําความสะอาดเมล็ดข้าว หมายถึง การเอาข้าวเปลือกออกจากสิ่งเจือปนอ่ืนๆ ซึ่งทําได้ โดยวิธตี ่างๆ ดงั น้ี 1. การสาดขา้ ว ใช้พล่ัวสาดเมล็ดข้าวข้นึ ไปในอากาศ เพอ่ื ให้ลมท่ีได้จากการกระพือพัดเอาสิ่งเจือปน ออกไป ส่วนเมลด็ ข้าวเปลือกทีด่ กี จ็ ะตกมา รวมกันเป็นกองที่พ้นื 2. การใช้กระด้งฝัด โดยใช้กระดง้ แยกเมล็ดข้าวดีและสิ่งเจือปนให้อยู่คนละด้าน ของกระด้งแล้วฝดั เอาสิ่งเจอื ปนท้ิง วิธนี ี้ใช้กับขา้ วที่มปี รมิ าณน้อยๆ 3. การใช้เครื่องสีฝัด เป็นเครือ่ งมอื ทุ่นแรงท่ีใชห้ ลักการให้ลมพดั เอาสิ่งเจือปนออกไป โดยใช้แรงคน หมนุ พดั ลมในเคร่อื งสีฝดั นนั้ พัดลมนอ้ี าจใชเ้ ครอ่ื งยนต์เล็กๆ หมุนก็ได้วิธีน้ีเปน็ วธิ ีทําความสะอาดเมล็ดได้อย่าง มีประสทิ ธิภาพสูง

20 การตากข้าว เพ่อื รกั ษาคณุ ภาพเมลด็ ข้าวใหไ้ ด้มาตรฐานอยู่ เปน็ เวลานานๆ หลังจากนวดและทําความสะอาดเมลด็ แล้ว จงึ จาํ เปน็ ต้องเอาข้าวเปลือกไปตากอกี ครง้ั หนง่ึ กอ่ นที่จะ เอาไปเกบ็ ไวใ้ นยุ้งฉาง ทงั้ นเี้ พอ่ื ให้ได้เมล็ดข้าวเปลือกท่ีแหง้ และมคี วามช้ืนของเมลด็ ประมาณ 13-15% เมลด็ ขา้ วในยงุ้ ฉางทีม่ คี วามชน้ื สูงกว่านจี้ ะทาํ ให้เกดิ ความรอ้ นสูงจน คุณภาพข้าวเสื่อม นอกจากนี้จะทําให้เชื้อราต่างๆ ที่ติดมากับเมล็ดขยายพันธุ์ได้ดีจนสามารถทําลายเมล็ด ข้าวเปลือกได้เป็นจํานวนมาก การตากข้าวในระยะน้ีควรตากบนลานที่สามารถแผ่กระจายเมล็ดข้าวให้ได้รับ แสงแดดโดยทั่วถึงกัน และควรตากไว้นานประมาณ 3-4 แดด ในต่างประเทศเขาใช้เครื่องอบข้าว เพื่อลด ความชื้นในเมลด็ ซง่ึ เรยี กวา drier โดยใหเ้ มลด็ ข้าวผา่ นอากาศร้อนประมาณ 100-130 องศาฟาเรนไฮต์จํานวน 3-4 ครั้ง แตล่ ะครงั้ ควรหา่ งกันประมาณ 20-24 ชั่วโมง การเกบ็ รกั ษาขา้ ว หลงั จากตากเมล็ดข้าวจนแห้ง และมีความชืน้ ในเมล็ดประมาณ 13-15% แล้วนั้น ชาวนาก็จะเก็บข้าว ไวใ้ นยุ้งฉาง เพ่ือไวบ้ รโิ ภค และแบง่ ขาย เม่อื ขา้ วมีราคาสูง และอกี ส่วนหนึง่ ชาวนาจะแบง่ ไว้ทําพันธุ์ฉะน้ันข้าว พวกนจ้ี ะตอ้ งเก็บไวเ้ ปน็ อย่างดโี ดยรกั ษาให้ข้าวนนั้ มคี ณุ ภาพได้มาตรฐานอย่ตู ลอดเวลาและไมส่ ูญเสยี ความงอก ข้าวพวกนี้ควรเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ดซี ่ึงทําดว้ ยไม้ยกพื้นสูงอย่างน้อย 1 เมตร อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อจะได้ ระบายความชื้นและความร้อนออกไปจากยงุ้ ฉาง นอกจากน้หี ลังคาของฉางจะต้องไม่ร่วั และสามารถกันน้ำฝน ไม่ให้หยดลงไปในฉางได้ก่อนเอาข้าวขนไปเก็บไวในยุ้งฉาง จําเป็นต้องทําความสะอาดฉางเสียก่อน โดยปัด กวาดแลว้ พน้ ดว้ ยยาฆ่าแมลง

21 ภาคผนวก

22

23

24 อ้างองิ สารานกุ รมไทยสําหรบั เยาวชน เลม่ ท่ี 3 เรอ่ื งที่ 1 ข้าว (สาํ หรับเด็กระดับโตและบคุ คลท่ัวไป โครงการ สารานกุ รมไทยสําหรับเยาวชน โดยพระราชระสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สนามเสือป่า ถ.ศรีอยุธยา เขตดสุ ิต กรุงเทพฯ หนังสอื “ความรเู้ รอ่ื งข้าว” โดย ดร.ประพาส วรี ะแพทย์ สาขาคดั พนั ธต์ุ ้านทานศัตรูขา้ ว กองการข้าว กรมวชิ าการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศนู ยว์ ิจัยข้าวปัตตานี อ.โคกโพธ์ิ จังหวัดปัตตานี ศูนยว์ ิจัยข้าวพทั ลงุ เรอื่ ง “ข้าวพน้ื เมอื งภาคใต้” สาํ นักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook