Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore pdf_20220724_150844_0000

pdf_20220724_150844_0000

Published by meiry2612, 2022-07-24 15:40:40

Description: pdf_20220724_150844_0000

Search

Read the Text Version

มาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานความรู้ ประสบการณ์ และข้อบังคับคุรุสภามี อะไรบ้าง?

จัดทำโดย 1 พระศราวุธ กตธฺมโม 6516502509 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย 2 นายปุญญพัฒน์ เกรกกระโทก 6516502501 สาขาสังคมศึกษา 3 นางสาวอลิศรา ทองแดง 6516502001 สาขาษาวิชาการสอนภาไทย 4 นางสาวอสมา กลึงเอี่ยม 6516504005 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย 5 นางสาวอนุทิดา ทับปัน 6516502010 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

คำนำ รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา ความเป็นครูวิชาชีพ เพื่อให้นักศึกษาหาความรู้ในมาตรฐาน ความรู้ การปฏิบัติงาน ประสบการณ์ และข้อบังคับคุรุสภา โดยได้หาแหล่งความรู้ต่างๆใน วารสาร ห้องสมุด และเว็บไซต์แหล่งความรู้ต่างๆ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการทำรายงานเล่มนี้จะเป็นข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจค้นคว้า ข้อบังคับคุรุสภาเป็นอย่างดี

สารบัญ หน้า ๔-๑๓ ข้อบังคับคุรุสภา หน้า ๑๔-๒๒ มาตรฐานความรู้และประสบการ์วิชาชีพ หน้า ๓๔-๔๑ แบบทดสอบ ๑๐ ข้อ

ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐาน วิชาชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อ บังคับคุรุสภา ในส่วนของวิชาชีพครู เพื่อสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และทิศทางการศึกษาของชาติ คุรุสภาโดยได้รับความเห็นชอบจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย มาตรฐานวิชาชีพดังต่อไปนี้ กลับไปหน้าวาระ

ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในหมวด ๑ ผู้ประกอบวิชาชีพครู ของ ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ กลับไปหน้าวาระ

ข้อ ๓ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (ก) มาตรฐานความรู้ 1. การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๑.๑ สาระความรู้ (๑) การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลกและสังคม (2) แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๑.๒ สมรรถนะ (๑) รอบรู้บริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งภายใน และ ภายนอกประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษา(๒) ประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดการ เรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้

๒.จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์ ๒.๑ สาระความรู้จิตวิทยาเพื่อการวิเคราะห์ และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพครอบคลุม (๑)จิตวิทยาพัฒนาการ (๒)จิตวิทยาการศึกษา (๓)จิตวิทยาให้คำปรึกษา ๒.๒ สมรรถนะ (๑)เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน (๒)ช่วยเหลือและสนับสนุนผู้เรียให้เต็มศักยภาพได้ (๓)ให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้มีชีวิตคุณภาพที่ดีขึ้นได้

๓. เนื้อหาวิชาที่สอน หลักสูตร ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้ ๓.๑สาระความรู้ (๑) เนื้อหาวิชาเอก (๒)หลักสูตร (๓)ศาสตร์การสอน (๔) เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ ๓.๒สมรรถนะ (๑)รอบรู้ในเนื้อหาของสาขาวิชาเอกที่สอน และบูรณาการองค์ความรู้ในวิชาเอกสำหรับการเรียนการสอนได้ (๒)วิเคราะห์ จัดทำ ใช้ประเมินและพัฒนาสูตรของสถานศึกษาได้ (๓)จัดทำแผนการเรียนรู้และน้ำแผนการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลจริงสำหรับผู้เรียน (๔)บริหารจัดการชั้นเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ (๕)ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารได้ (๖)แสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้แก่ผู้เรียนได้

(๗)ประยุกต์ใช้พัฒนาสื่อและนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ ๔.การวัดประเมินผลการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ๔.๑สาระความรู้ (๑)การวัดและประเมินการเรียนรู้ (๒)การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ๔.๒สมรรถนะ (๑)วัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนและนำผลประเมินไปใช้พัฒนาผู้เรียนได้ (๒)เลือกใช้ผลวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ (๓)ทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาผู้เรียนได้ ๕.การใช้ภาษาไทยภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ๕.๑สาระความรู้ (๑)การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (๒)การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (๓)การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา

๕.๒สมรรถนะ ใช้ทักษะการฟังการพูดการอ่านและการเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้องใน การเรียนการสอนหรือเกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ๖.การออกแบบและการดำเนินการเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา ๖.๑สาระความรู้ - การประกันคุณภาพการศึกษา ๖.๒ สมรถนะ - จัดการคุณภาพ พัฒนาและประเมินคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้

(ข)มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านการ เกณฑ์ประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ (๑)การฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียน (๒)การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาวิชาเฉพาะ ๑.การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพครู ๑.๑สาระการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา (๑)การปฏิบัติหน้าที่ครู (๒)การจัดการเรียนรู้ (๓)ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ๑.๒ สมรรถนะ ๑.๒.๑การปฏิบัติหน้าที่ครู (๑)การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมหลักสูตรสถานศึกษา

๑.๒.๓ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน (๑)ร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (๒)สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนเพื่อสนับสนุนการเรียน (๓)ศึกษาเข้าถึงบริบทของชุมชนและสามารถอยู่ร่วมบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒนธรรม (๔)ส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ๒.การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู ๒.๑สาระการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา - จรรยาบรรณของวิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา ๒.๒ สมรรถนะ - ประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ณัฏฐพบ ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประธานกรรมการคุรุสภา

มาตรฐานความรู้ และ ประสบการณ์ วิชาชีพ

สาระสำคัญของข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ นิยามของ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน . มาตรฐานความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพ หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ในการ จัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมทั้งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษา ต้องมีเพียงพอที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพได้ ๓. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ หรือการแสดงพฤติกรรมการปฏิบัติ งานและการพัฒนางาน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมทั้งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา รวมทั้งต้อง ฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีทักษะ หรือความชำนาญสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายความว่า จรรยาบรรณของวิชาชีพที่กำหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤติ ปฏิบัติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมทั้งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องยึดถือ ปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ให้เป็นที่เชื่อ ถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม อันจะนำมาซึ่งเกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ”

รายละเอียดมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน ๑. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการ ศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไป นี้ (ก) มาตรฐานความรู้ ต้องมีความรอบรู้และเข้าใจในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑)การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (๒) จิตวิทยา พัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยา ให้คำปรึกษา ในการวิเคราะห์และพัฒนาผู้เรียนตาม ศักยภาพ (๓) เนื้อหาวิชาที่สอน หลักสูตร ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ (๔) การวัด ประเมินผลการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน (๕) การใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (๖) การออกแบบและการดำเนินการเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา

(ข) มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่นอยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะ กรรมการคุรุสภากำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน (๒) การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ ทั้งนี้ รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติงาน ดังนี้ (ก) การปฏิบัติหน้าที่ครู (๑) มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู (๒) ประพฤตตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (๓) ส่งเสริมการเรียนรู้ เอาใจใส่ และยอมรับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคล (๔) สร้างแรงบันดาลใจผู้เรียนให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ และผู้สร้างนวัตกรรม (๕) พัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ทันสมัย และทันต่อการเปลี่ยนแปลง

ข) การจัดการเรียนรู้ (๑) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (๒) บูรณาการความรู้ และศาสตร์การสอน ในการวางแผนและจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีปัญญา รู้คิด และมีความเป็นนวัตกร (๓) ดูแล ช่วยเหลือ และพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามศักยภาพ สามารถรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้ เรียนได้อย่างเป็นระบบ (๔) จัดกิจกรรมและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน โดยตระหนักถึงสุขภาวะของผู้ เรียน (๕) วิจัย สร้างนวัตกรรม และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน (๖) ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพ

ค) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน (๑) ร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (๒) สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียน (๓) ศึกษา เข้าถึงบริบทของชุมชน และสามารถอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒนธรรม (๔) ส่งเสริม อนุรักษ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน (คงเดิม) ได้แก่ (๑) จรรยาบรรณต่อตนเอง -ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ (๒) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ -ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต และรับผิดชอบต่อวิชาชีพ เป็นสมาชิกที่ดีของ องค์กรวิชาชีพ

๓) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ – ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับ บริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า – ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแกศิษย์และ ผู้รับบริการ ตามหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ – ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจาและจิตใจ – ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญ ทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ – ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผล ประโยชน์จากการใช้ ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

๔) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ -ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ (๕) จรรยาบรรณต่อสังคม -ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อมรักษาผลประโยชน์ ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

มาตรฐานการ ปฏิบัติงาน

ความหมายมาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติงานถือเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่องค์การจะนำมาใช้ในการบริหารงาน บุคคล เพราะ ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต่างจะได้รับประโยชน์จากการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานขึ้นมา ใช้ร่วมกัน ผู้ บริหารจะมีเครื่องมือช่วยควบคุมให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้ำหมายที่กำหนดไว้ การมอบหมาย หน้าที่และ การสั่งการสามารถสำได้โดยสะดวกและรวดเร็ว การประเมินผลการปฏิบัติงานมีความยุติธรรมและ น่าเชื่อถือ เนื่องจากมีทั้งหลักฐานและหลักเกณฑ์ที่ผู้บริหารสามารถชี้แจงให้ผู้ปฏิบัติงานยอมรับผลการประเมิน ได้โดยงาน ในส่วนของผู้ปฏิบัติงาน มาตรฐานที่กำหนดไว้ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายที่ทำให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึง เป้ำหมาย การปฏิบัติงานมีความถูกต้องมากขึ้น เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานมีกรอบหรือแนวทางในการปรับปรุงงาน และกา รพัฒนำศักยภาพ เพื่อนำไปสู่มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารองค์การได้รวมกัน กำหนด ไว้เพื่อคุณภาพของการปฏิบัติงานและความเจริญก้าวหน้าขององค์การ

มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standard) การบริหารงานบุคคลนับเป็นภารกิจที่ สำคัญ ยิ่งประการหนึ่งของการบริหารองค์การ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้การพัฒนาองค์การบรรลุตาม วัตถุประสงค์และเป้ำหมายที่วางไว้ การบริหารบุคคลเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องตัวกับตัวบุคคลในองค์การ นับ ตั้งแต่การสรรหาบุคคลมาปฏิบัติงาน การบรรจุแต่งตั้ง การพัฒนา การประเมินผลการปฏิบัติงาน ไปจนถึง การให้บุคคลพ้นจากงาน ทั้งนี้เพื่อให้องค์การได้คนดีมีความรู้ความสามารถและความประพฤติดีมาปฏิบัติงาน ซึ่งการที่องค์การจะได้บุคคลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมาปฏิบัติงานนั้น จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือสำคัญคือการ ประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Standard) ขึ้นมาใช้ในการวัดและประเมินคุณสมบัติของบุคคล ซึ่งผลที่ได้จากการประเมินผลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อมูลที่องค์การนำไปใช้ในการพิจารณาการเลื่อนขั้นเลื่อน ตำแหน่ง กรพัฒนำประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน การโอนย้าย การให้พักงาน และการให้พ้นจากงานโดยทั่วไป แล้ว การที่จะทำให้การประเมินผลการปฏิบัติงาน ดำเนินไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและเชื่อถือได้นั้น

องค์การ มักจะสร้างเครื่องมือประกอบอีกส่วนหนึ่งขึ้นมาใช้ในการพิจารณาประเมินผล ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่ ต้องใช้ก็คือ มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standard) ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ ผลงานระหว่าง บุคคลที่ปฏิบัติงานอย่างเดียวกัน โดยองค์การต้องทำการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานไว้เป็น หลักเกณฑ์ที่ ชัดเจนก่อนแล้ว เมื่อดำเนินการประเมินผลการ ปฏิบัติงานของบุคคลจึงเปรียบเทียบกับมาตรฐาน ที่องค์กำรได้ กำหนดไว้

มาตรฐานการปฏิบัติงาน สำหรับคำว่ามาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standard) สำนักงานคณะ กรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ให้ความหมายว่าเป็นผลการปฏิบัติงานในระดับใดระดับหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็น เกณฑ์ที่น่าพอใจหรืออยู่ในระดับที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ทำได้ การกำหนดมาตรฐาน การปฏิบัติงาน จะเป็นลักษณะข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาในงานที่ต้องปฏิบัติ โดยจะมีกรอบใน การพิจารณากำหนดมาตรฐานหลาย ๆ ด้าน ด้วยกัน อาทิ ด้านปริมาณ คุณภาพ ระยะเวลา ค่าใช้จ่ายหรือ พฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจากมาตรฐานของงานบางประเภทจะออกมาในรูปแบบของ ปริมาณ ในขณะที่ บางประเภทอาจออกมาในรูปของคุณภาพองค์การ จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานการ ปฏิบัติงานให้เหมาะสม และสอดคล้องกับลักษณะของงานประเภท นั้น ๆ

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้ส่วนราชการมีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ชัดเจน อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรที่แสดง ถึงรายละเอียดขั้น ตอนการปฏิบัติงานของกิจกรรม/กระบวนการต่าง ๆ ของหน่วยงาน ๒. เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการองค์การ/การจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานถือเป็น เครื่องมืออย่างหนึ่ง ในการสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ตาม PM 5) ที่มุ่งไปสู่การบริหารคุณภาพทั่วไปทั้ง องค์การ อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อให้การทำงานของส่วนราชการได้มาตรฐานเป็นไปตามเป้าหมาย ได้ผลิตผลหรือการ บริการที่มีคุณภาพ เสร็จรวดเร็วทันตามกำหนดเวลานัดหมาย มีการทำงานปลอดภัยเพื่อการบรรลุข้อกำหนด ที่สำคัญของ กระบวนการ

ประโยชน์ของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หากจะพิจารณาถึงประโยชน์ที่องค์การและบุคคลในองค์การจะได้รับจากการกำหนดมาตรฐาน การปฏิบัติงาน ขึ้นใช้ก็พบว่ามีด้วยกันหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน การสร้าง แรงจูงใจ การ ปรับปรุงงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ดังนี้ ๑. ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติงานจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถ ปฏิบัติงานได้ อย่างถูกต้อง การเปรียบเทียบผลงานที่ทำได้กับที่ควรจะเป็นมีความชัดเจน มองเห็นแนวทางใน การพัฒนาการ ปฏิบัติงานให้เกิดผลได้มากขึ้น และช่วยให้มีการฝึกฝนตนเองให้เข้าสู่มาตรฐานได้ ๒. ด้านการสร้างแรงจูงใจ มาตรฐานการปฏิบัติงานเป็นสิ่งทำให้เราเกิดความมุ่งมั่นไปสู่มาตรฐาน ผู้ปฏิบัติงาน ที่มีความสามารถจะเกิดความรู้สึกท้าทายผู้ปฏิบัติงานที่มุ่งความสำเร็จจะเกิด ความมานะพยายาม ผู้ปฏิบัติงาน จะเกิดความภาคภูมิใจและสนุกกับงาน

๓.ด้านการปรับปรุงงานมาตรฐานการปฏิบัติงานจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบว่าผลงานที่มี คุณภาพจะต้อง ปฏิบัติอย่างไร ช่วยให้ไม่ต้องกำหนดรายละเอียดของงานทุกครั้ง ทำให้มองเห็นแนวทางในการ ปรับปรุงงาน และพัฒนาความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน และช่วยให้สามารถพิจารณาถึงความคุ้มค่าและเป็น ประโยชน์ต่อการ เพิ่มผลผลิต ๔. ด้านการควบคุมงานมาตรฐานการปฏิบัติงานเป็นเครื่องที่ผู้บังคับบัญชาใช้ควบคุม การ ปฏิบัติงานผู้บังคับ บัญชาสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่และส่งผ่านคำสั่งได้ง่ายขึ้น ช่วยให้สามารถดำเนินงาน ตามแผนง่ายขึ้น และควบคุมงานได้ดีขึ้น ๕.ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติงานช่วยให้การประเมินผลการ ปฏิบัติงานเป็นไป อย่างมีหลักเกณฑ์ ป้องกันไม่ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยความรู้สึกการเปรียบเทียบ ผลการปฏิบัติ งานที่ทำได้กับมาตรฐานการปฏิบัติงานมีความชัดเจน และช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานยอรับผลการ ประเมินได้ดีขึ้น

ลักษณะการแสดงออกขณะปฏิบัติงาน ซึ่งกล่าวได้โดยละเอียด ดังนี้ ๑. ปริมาณงานและระยะเวลาที่ปฏิบัติเป็นการกำหนดว่างานต้องมีปริมาณเท่าไร และควรจะ ใช้เวลาปฏิบัติมาก น้อยเพียงใดงานจึงจะเสร็จ ดังนั้นงานลักษณะเช่นนี้จะไม่สามารถกำหนดมาตรฐานด้วย ปริมาณหรือระยะเวลาที่ ปฏิบัติได้ ๒. คุณภาพของงาน เป็นการกำหนดว่าผลงานที่ปฏิบัติได้นั้นควรมีคุณภาพดีมากน้อยเพียงใด โดยส่วนใหญ่ มัก กำหนดว่าคุณภาพของงานจะต้องมีความครบถ้วน ประณีต ถูกต้องเชื่อถือได้ ประหยัดทั้งเวลำ และทรัพยากร ๓. ลักษณะการแสดงออกขณะปฏิบัติงาน งานบางตำแหน่งไม่สามารถกำหนดมาตรฐานด้วย คุณภาพหรือ ปริมาณ แต่เป็นงานที่ต้องปฏิบัติโดยการใช้บุคลิกหรือลักษณะเฉพาะบางอย่างประกอบ ดังนั้น การกำหนดลักษณะพฤติกรรมที่ต้องแสดงออกไว้ในมาตรฐานการปฏิบัติงานจะช่วยให้ ผู้ปฏิบัติงานทราบ ว่าต้องปฏิบัติอย่างไร เนื่องจากการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ ขององค์การและ ขวัญกำลังใจของเพื่อนร่วมงาน

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน สำหรับตำแหน่งงานต่าง ๆ ในองค์การมีความเหมาะ สมและเป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงาน ผู้ทำหน้าที่กำหนด มาตรฐานการปฏิบัติงานจะต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญบาง ประการนั่นก็คือ ต้องเป็นมำตรฐานที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย สามารถยอมรับได้ โดยทั้งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับ บัญชาเห็นพ้องต้องกันว่ามาตรฐานมีความเป็นธรรม ผู้ปฏิบัติงานทุกคนสามารถปฏิบัติได้ตามที่กำหนดไว้ ลักษณะงานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานต้องสามารถวัดได้เป็น จำนวนเปอร์เซ็นต์หรือหน่วยอื่น ๆ ที่สามารถวัดได้มี การบันทึกไว้ให้เป็นลายลักษณ์อักษรและเผยแพร่ให้เป็นที่ รับรู้และเข้ำใจตรงกัน และสุดท้ายมาตรฐานการ ปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทั้งนี้ต้องไม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงเพราะผู้ปฏิบัติงานไม่ สามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐาน การเปลี่ยนแปลงควรมีสาเหตุ เนื่องมาจากการที่หน่วยงานมีวิธีปฏิบัติงานใหม่ หรือนำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้มาใช้ปฏิบัติงาน

แบบทดสอบ 1.ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ แก้ไขฉบับที่ 2 เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ใด ก. พ.ศ. 2546 ข. พ.ศ.2547 ค. พ.ศ.2548 ง. พ.ศ.2549

2.ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยการพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ ฉบับที่ 2 มีผลบังคับใช้ในวันใด ก. ทันทีภายในวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข. วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ค. พ้นกำหนดหนึ่งเจ็ดวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ง. พ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

3.ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ใช้บังคับตั้งแต่วันเท่าไร ก. 26 พฤษภาคม 2549 ข. 27 พฤษภาคม 2549 ค. 28 พฤษภาคม 2549 ง. 29 พฤษภาคม 2549

3.ใครมีอำนาจในการพิจารณา ออก พักใช้ เพิกถอน ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ก. คุรุสภา. ข. คณะกรรมการการมาตรฐานวิชาชีพ ค. คณะกรรมการคุรุสภา ง. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4.ผู้ประสงค์ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ต้องยื่นต่อผู้ใด ก. เลขาธิการคุรุสภา ข. คณะกรรมการคุรุสภา ค. ผู้อำนวยการสถานศึกษา ง. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา

5.กำหนดให้ใบอนุญาตมีอายุการใช้งานกี่ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ก. 3 ปี ข. 4 ปี ค. 5 ปี ง. 6ปี 6.กรณีใดที่ไม่สามา รถใช้งานใบอนุญาตได้ ก. ใบอนุญาตใช้งานมาแล้วห้าปี ข. ใบอนุญาตถูกสั่งเพิกถอน ค. ใบอนุญาตถูกสั่งพัก ง. ถูกทุกข้อ

7.สถาบันที่ยังปรับปรุงหลักสูตรไม่แล้วเสร็จตามข้อบังคับ ให้ใช้หลักสูตรใดไปพลางก่อน ก.หลักสูตรตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ ข.หลักสูตรตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ค.หลักสูตรตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพ ง.หลักสูตรตามข้อบังคับคุรุสภา

8.ให้สถาบันที่ยังปรับปรุงหลักสูตรไม่แล้วเสร็จตามขอบังคับ ยังคงใช้หลักสูตรตามข้อบังคับคุรุ สภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ ต้องไม่เกินกี่ปี ก.ไม่เกินหนึ่ งปี หลังจากวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ข.ไม่เกินสองปี หลังจากวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ค.ไม่เกินสามปี หลังจากวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ง.ไม่เกินสี่ปี หลังจากวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ

9.ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ใบอนุญาตหมดอายุแล้วต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตภายในหนึ่งร้อยแปด สิบวันนับจากวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ก. 60 วัน ข. 90 วัน ค. 120 วัน ง. 180 วัน 10.ข้อใดคือความหมายของคำว่า จรรยาบรรณวิชาชีพครู ก. แบบแผนที่ข้าราชการควรประพฤติปฏิบัติ ข. แบบแผนที่ข้าราชการต้องประพฤติปฏิบัติ ค. แบบแผนที่ข้าราชการยึดประพฤติปฏิบัติ ง. ถูกทุกข้อ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook