ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย ก า ร เ ลื อ ก ใ ช้ แ ล ะ การใช้ ปลั๊กพ่วง ใ ช้ ถู ก ต้ อ ง ถู ก วิ ธี ป้ อ ง กั น ก า ร เ กิ ด อั น ต ร า ย จั ด ทำ โ ด ย ฝ่ า ย ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย อ า ชี ว อ น า มั ย แ ล ะ ส ภ า พ แ ว ด ล้ อ ม ใ น ก า ร ทำ ง า น
การเลือกใ้ช้ปลั๊กพ่วง 1.มองหาสัญลักษณ์ มอก.2432-2555 บนตัวปลั๊กพ่วงรวมถึงบรรจุภัณฑ์จะต้องมีสัญลักษณ์ มอก.2432-2555 ติดเอาไว้อย่างชัดเจน 2.ต้องผลิตจากวัสดุที่ไม่ลามไฟ ปลั๊กพ่วงหรือรางปลั๊ก ตามมาตรฐาน มอก.2432-2555 นั้น ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ติดไฟหรือลามไฟ ไม่ว่าจะเป็นฝาครอบหรือ กล่องปลั๊ก โดยต้องเป็นวัสดุ พลาสติกเอวีซี, พลาสติก ABS หรือโพลีคาร์บอเนตที่ผ่านมาตรฐาน UL94 ซึ่งในการเลือกเรา สามารถอ่านได้จากฉลากสินค้าว่าใช้วัสดุในการผลิตเป็นอะไร
3.เต้าเสียบต้องเป็นขากลม 3 ขาเท่านั้น หัวปลั๊กหรือเต้าเสียบตามมาตรฐาน มอก.2432-2555 นั้น ต้องเป็นแบบขากลม 3 ขา นอกจากนี้ยังต้องติดตั้งฉนวน กันไฟที่โคนขา 4.เต้ารับต้องมีช่อง L N G และม่านนิรภัย พร้อม สายดินจริง เต้ารับของปลั๊กพ่วงตาม มอก.2432-2555 ต้องต่อช่อง L N G (Line Neutral Ground) ให้ถูกต้องตาม มาตรฐาน และต้องมีม่านนิรภัยปิดเต้ารับเอาไว้สายดิน ต้องเป็นสายจริงห้ามทำสายดินหลอก
5.สวิตช์ต้องได้มาตรฐาน สำหรับปลั๊กพ่วงในรุ่นที่มีสวิตช์นั้น เราควรต้องดูรายละเอียด ของตัวสวิตช์ด้วยว่าผ่านมาตรฐาน มอก.824-2551 หรือไม่ โดยสามารถอ่านได้จากข้อมูลของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ตาม มาตรฐาน มอก.2432-2555 ไม่ได้บังคับว่าปลั๊กพ่วงทุกตัว ต้องใส่สวิตช์ 6.สายไฟต้องเป็นสายกลม ในส่วนของสายไฟของปลั๊กพ่วงตามมาตรฐาน มอก.2432- 2555 นั้น สังเกตง่ายๆ ว่าจะต้องเป็นสายกลมเท่านั้น นอกจากนี้เรายังสามารถดูในเรื่องของมาตรฐานของสายไฟ ว่าต้องผ่าน มอก.11-2553 หรือ มอก.955 รวมถึงต้องใช้ สายกลมที่แรงดันไฟฟ้าไม่ต่ำกว่าเต้าเสียบและเต้ารับด้วย
7.ปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับตั้งแต่ 3 เต้าขึ้นไป จะต้องมี ตัวตัดไฟ ปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับตั้งแต่ 3 เต้าขึ้นไป จะต้องมีตัวตัดไฟ หรือ เบรกเกอร์. ตัวตัดไฟที่อนุญาติคือแบบ Thermal Circuit Breaker หรือ RCBO ไม่อนุญาตให้ใช้ฟิวส์อีกต่อไป 8.สังเกตแรงดันไฟฟ้าและการรองรับกระแสไฟฟ้า สำหรับมาตรฐานมอกปลั๊กพ่วงนี้ ครอบคุม ปลั๊กที่มีการรับ ไฟ ตั้งแต่ 50V ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 440V และห้ามมีแอมแปร์ ห้ามมากกว่า 16A สำหรับการใช้งานภายในและภายนอก อาคาร ซึ่งในส่วนนี้สามารถดูได้จากกล่องหรือตัวสินค้าหาก เป็นปลั๊กที่อยู่นอกขอบข่ายนี้ ก็จะไม่เข้าข่ายต้องมี มอก.2432-2555
เช็ค 7 จุดปลั๊กพ่วงตาม มาตรฐาน เต้ารับตั้งแต่ 3 เต้าขึ้นไป ต้องมีอุปกรณืป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน ต้องเป็นเบรคเกอร์เท่านั้น เพราะฟิวล์ ไม่ถือเป็นอุปกรณ์ป2้องกันกระแสไฟเกิน 2 แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 440 V มาตรฐาน รองรับกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 16 A มอก.2432-2555 13 7 4 สวิตช์ตามมาตรฐาน สายไฟตามมาตรฐาน มอก.824-2551 มอก.11-PART-2553 (ในรุ่นที่มีสวิตช์) มอก.955 6 5 เต้ารับตามมาตรฐาน เต้าเสียบตามมาตรฐาน มอก.166-2549 และมอก.2162-25 มอก.166-2549 เต้ารับต้องมี L N G และม่านนิรภัย
ข้อห้ามสำหรับการใช้ปลั๊กพ่วง 1.ห้ามต่อพ่วงปลั๊กไฟ 2.ห้ามเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟฟ้า เกินมาตรฐานที่ปลั๊กไฟกำหนด
3.ไม่นำปลั๊กไฟที่ชำรุดมาใช้งาน เช่น สายไฟ ฉนวนขาด มีรอยไหม้ เป็นต้น 4.ไม่ควรเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้า พร้อมกันมากเกินไป
5.ห้ามใช้ปลั๊กพ่วงที่ไม่ผ่าน มอก. 2432-2555 6.ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้ตลอดเวลาถ้า ไม่มีการใช้งานแล้วให้ถอดปลั๊กออก
การใช้งานปลั๊กพ่วง อย่างถูกต้อง ถอดปลั๊กทุกครั้งหลังใช้ ควรปิดสวิตช์ไฟฟ้าก่อน งานเพื่อตัดกระแสและ เสียบปลั๊กพ่วง ป้องกันไฟฟ้ารัดวงจร หยุดใช้งานทันทีเมื่อพบ สิ่งผิดปกติ ไม่ใช้ปลั๊กพ่วงเกินวัตต์ที่ กำหนด
ด้วยความปรารถนาดีจาก หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพ แวดล้อมในการทำงาน บริษัท ซี.พี.สหอุตสาหกรรม จำกัด
Search
Read the Text Version
- 1 - 11
Pages: