๒๓ หลกั การทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั ๑. ศึกษาข้อมลู อย่างเป็นระบบ การที่จะพระราชทานโครงการใดโครงการหน่ึง จะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ ทัง้ ขอ้ มูลเบื้องตน้ จากเอกสาร แผนท่ี สอบถามจากเจ้าหน้าท่ี นักวิชาการ และราษฎรในพ้ืนที่ให้ได้รายละเอียด ท่ถี กู ตอ้ ง เพื่อทจี่ ะพระราชทานความชว่ ยเหลอื ไดอ้ ยา่ งถูกต้องและรวดเรว็ ตามความตอ้ งการของประชาชน ๒. ระเบดิ จากขา้ งใน พระองค์ทรงมุ่งเน้น เร่ืองการ พัฒนาคน ทรงตรัสว่า “ต้องระเบิดจากข้างใน” หมายความว่า ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมท่ีจะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึง ค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนําความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนหมู่บ้านที่ยัง ไม่ทันได้มโี อกาสเตรียมตวั หรอื ตั้งตัว ๓. แก้ปัญหาจากจุดเลก็ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทรงเปีย่ มไปด้วยพระอจั ฉริภาพในการแก้ไขปัญหา ทรงมองปัญหาในภาพรวม ก่อนเสมอ แตก่ ารแก้ปญั หาของพระองค์จะเร่ิมจากจุดเล็ก ๆ คอื การแกป้ ัญหาเฉพาะหน้าทีค่ นมกั จะมองขา้ ม ๔. ทาํ ตามลําดับขน้ั ในการทรงงานพระองค์จะทรงเร่ิมต้นจากสิ่งที่จําเป็นท่ีสุดของประชาชนก่อน ได้แก่ สาธารณสุข เม่ือมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็จะสามารถทําประโยชน์ด้านอื่น ๆ ต่อไปจึงเป็นเรื่องสาธารณูปโภค ข้ันพื้นฐาน และสิ่งจําเป็นสําหรับประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ํา เพ่ือการเกษตร การอุปโภคบริโภค ที่เอ้อื ประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทําลายทรพั ยากรธรรมชาติ รวมถึงการใหค้ วามร้ทู างวิชาการและเทคโนโลยี ท่เี รยี บง่ายเนน้ การปรบั ใช้ภมู ปิ ัญญาท้องถนิ่ ทีร่ าษฎรสามารถนาํ ไปปฏิบตั ิไดแ้ ละเกดิ ประโยชนส์ งู สุด ๕. ภมู ิสังคม การพัฒนาใดๆ ต้องคํานึงถึงภูมิประเทศของบริเวณน้ันว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับ ลักษณะนิสยั ใจคอของผู้คน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณใี นแต่ละทอ้ งถิ่นทม่ี คี วามแตกตา่ งกนั เรียนรู้หลกั การทรงงาน ๒๓ ข้อ ในพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั
๒๓ หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั ๖. องค์รวม ทรงมีวิธีคิดคิดอย่างองค์รวม หรือมองอย่างครบวงจร ในการท่ีจะพระราชทานพระราชดําริเก่ียวกับ โครงการหนึ่งนั้นจะมองเหตุการณ์ที่เกิดข้ึนและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง ดังเช่น กรณีของ “ทฤษฏีใหม่” ท่ีพระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทย เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพแนวทางหนึ่งที่พระองค์ทรงมองอย่าง องค์รวม ต้ังแต่การถือครองที่ดินโดยเฉล่ียของประชาชนคนไทย ประมาณ ๑๐ – ๑๕ ไร่ การบริหารจัดการ ทด่ี ินและแหล่งน้าํ อันเป็นปจั จยั พ้ืนฐานที่สาํ คัญในการประกอบอาชพี เม่อื มีนาํ้ ในการทําเกษตรแล้วจะส่งผลให้ ผลผลิตดีขึ้น และหากมีผลผลิตเพิ่มมากข้ึน เกษตรกร จะต้องรู้จักวิธีการจัดการและการตลาด รวมถึงการ รวมกลุ่ม รวมพลังชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อพร้อมท่ีจะออกสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอกได้อย่าง ครบวงจร นน่ั คอื ทฤษฏใี หม่ขนั้ ท่ี ๑, ๒ และ ๓ ๗. ไมต่ ิดตาํ รา การพัฒนาตามแนวพระราชดําริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลม และรอมชอมกับสภาพธรรมชาติส่ิงแวดล้อมและสภาพของสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชนคือ “ไม่ติดตํารา” ไมผ่ กู มดั กบั วชิ าการและเทคโนโลยีทีไ่ มเ่ หมาะสมกับสภาพชวี ติ ความเป็นอยูท่ ่ีแท้จริงของคนไทย ๘. ประหยัด เรยี บงา่ ย ไดป้ ระโยชนส์ ูงสุด ในเร่ืองของความประหยัดนี้ ประชาชนชาวไทยทราบกันดีว่าเร่ืองส่วนพระองค์ก็ทรงประหยัดมาก ดังที่เราเคยเห็นว่า หลอดยาสีพระทนต์น้ันทรงใช้อย่างคุ้มค่าอย่างไรหรือฉลองพระองค์แต่ละองค์ทรงใช้อยู่ เป็นเวลานาน ขณะเดียวกันการพัฒนาและช่วยเหลือราษฎรทรงใช้หลักในการแก้ไขปัญหาด้วยความเรียบง่าย และประหยัด ราษฎรสามารถทําได้เอง หาได้ในท้องถ่ินและประยุกต์ใช้ส่ิงที่มีอยู่ในภูมิภาคน้ัน ๆ มาแก้ไข ปญั หาโดยไม่ต้องลงทุนสงู หรือใชเ้ ทคโนโลยที ีไ่ ม่ยงุ่ ยากนกั ๙. ทําให้ง่าย ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทําให้การคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุงและแกไ้ ขงานการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดําริดําเนินไปไดโ้ ดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และที่สําคัญอย่างย่ิง คือสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และระบบนิเวศโดยส่วนรวม ตลอดจนสภาพทาง สงั คมของชมุ ชนน้ัน ๆ ทรงโปรดทจี่ ะทาํ ส่ิงทีย่ ากใหก้ ลายเป็นง่าย ทําสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย อันเป็นการ แกป้ ัญหาด้วยการใช้กฎแหง่ ธรรมชาติเป็นแนวทางน่ันเอง เรียนรู้หลกั การทรงงาน ๒๓ ข้อ ในพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั
๒๓ หลกั การทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั ๑๐. การมีสว่ นร่วม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักประชาธิปไตยจึงทรงนํา “ประชาพิจารณ์” มาใช้ในการ บริหาร เพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชนหรือเจ้าหน้าท่ีทุกระดับได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็น เก่ียวกับเรือ่ งทจ่ี ะตอ้ งคาํ นงึ ถึงความคิดเหน็ ของประชาชน หรือความต้องการของสาธารณชน ๑๑. ประโยชน์สว่ นรวม การปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และการพระราชทานพระราชดําริในการพัฒนาและช่วยเหลือพสกนิกร ในพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทรงระลึกถงึ ประโยชนข์ องส่วนรวมเป็นสาํ คัญ ๑๒. บรกิ ารรวมท่จี ุดเดยี ว การบริการรวมที่จุดเดียวเป็นรูปแบบการบริการแบบเบ็ดเสร็จ ที่เกิดขึ้นเป็นคร้ังแรกในระบบบริหาร ราชการแผ่นดินของประเทศไทย โดยทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเน่ืองมาจากพระราชดําริเป็นต้นแบบ ในการบริการรวมที่จุดเดียว เพ่ือประโยชน์ต่อประชาชนที่จะมาขอใช้บริการ จะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยจะมหี น่วยงานราชการตา่ ง ๆ มารว่ มดําเนินการและให้บรกิ ารประชาชน ณ ที่แห่งเดยี ว ๑๓. ใชธ้ รรมชาตชิ ว่ ยธรรมชาติ ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติและต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทรงมองอย่างละเอียด ถงึ ปญั หาธรรมชาติ หากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติ จะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ อาทิ การแก้ไขปัญหาป่า เสื่อมโทรม ได้พระราชทานพระราชดําริ การปลูกป่า โดยไม่ต้องปลูก ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยในการฟื้นฟู ธรรมชาติหรือแม้กระทั่ง การปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ได้แก่ ปลูกไม้เศรษฐกิจ ไม้ผล และไม้ฟืน นอกจากไดป้ ระโยชนต์ ามช่อื ของไม้แลว้ ยังช่วยรกั ษาความช่มุ ชนื้ ให้แกพ้ ืน้ ดินด้วย เห็นได้ว่าทรงเข้าใจธรรมชาติ และมนษุ ยอ์ ย่างเก้อื กูลกนั ทาํ ให้คนอย่รู ่วมกบั ป่าได้อยา่ งย่ังยนื ๑๔. ใช้อธรรมปราบอธรรม ทรงนําความจริง ในเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติ และกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการ แนวปฏิบัติที่สําคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาวะท่ีไม่ปกติ เข้าสู่ระบบที่เป็นปกติ เช่น การนํานํ้าดี ขับไล่น้ําเสีย หรือเจือจางนํ้าเสียให้กลับเป็นนํ้าดี ตามจังหวะการข้ึนลงตามธรรมชาติของน้ํา การบาํ บัดนา้ํ เน่าเสียโดยใชผ้ ักตบชวาซ่ึงมตี ามธรรมชาติ ให้ดดู ซึมสิ่งสกปรกปนเปอ้ื นในน้าํ เรียนรู้หลกั การทรงงาน ๒๓ ข้อ ในพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั
๒๓ หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว ๑๕. ปลูกป่าในใจคน เป็นการปลูกป่าลงบนแผ่นดินด้วยความต้องการอยู่รอดของมนุษย์ ทําให้ต้องมีการบริโภค และใชท้ รัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง เพื่อประโยชน์ของตนเอง และสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อม ปัญหาความไม่สมดุลจึงบังเกิดขึ้น ดังน้ันในการที่จะฟ้ืนฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนมา จะตอ้ งปลูกจติ สํานกึ ในการรักผนื ป่าให้แกค่ นเสียก่อน ๑๖. ขาดทนุ คือกําไร การเสียคือการได้ หลักการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ \"การให้\" และ \"การเสียสละ\" เป็นการ กระทําอันมีผลเปน็ กาํ ไร คือ ความอยดู่ ีมสี ขุ ของราษฎร ซง่ึ สามารถสะทอ้ นให้เหน็ เป็นรูปธรรมชัดเจนได้ ๑๗. การพ่งึ ตนเอง การพฒั นาตามแนวพระราชดําริ ในเบื้องต้นเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้ประชาชนมีความ แข็งแรงพอท่ีจะดํารงชีวิตต่อไปได้ แล้วข้ันต่อไปก็คือการพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตาม สภาพแวดล้อมและสามารถพ่งึ พาตนเองไดใ้ นที่สุด ๑๘. พออยู่พอกิน การพัฒนาเพ่ือใหพ้ สกนกิ รท้ังหลายประสบความสุขสมบูรณ์ในชวี ติ ไดเ้ ริ่มจากการเสด็จพระราชดําเนิน ไปทรงเย่ียมประชาชนทกุ หมู่เหลา่ ในทกุ ภูมิภาคของประเทศไทย ได้ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรด้วย พระองคเ์ อง จึงทรงสามารถเข้าพระราชหฤทัยในสภาพปัญหาได้อย่างลึกซ้ึงว่ามีเหตุผลมากมายท่ีทําให้ราษฎร ตกอยูใ่ นวงจรแหง่ ทกุ ข์เข็ญ จากน้ันก็ได้พระราชทานความช่วยเหลือให้พสกนิกร มีความกินดีอยู่ดี มีชีวิตอยู่ใน ขั้นพออยู่พอกินกอ่ น แล้วจงึ ขยับขยายใหม้ ขี ดี สมรรถนะท่ีกา้ วหนา้ ต่อไป เรียนรู้หลกั การทรงงาน ๒๓ ข้อ ในพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั
๒๓ หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว ๑๙. เศรษฐกจิ พอเพยี ง เป็นปรัชญาช้ีถึงแนวทางดํารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนา เศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวหน้าต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นท่ีจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวท่ีดีพอสมควร ต่อมามีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการ เปล่ียนแปลงทั้งภายในและภายนอก ท้ังน้ีจะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่าง ย่ิงในการนําวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดําเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้อง เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าท่ีของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มี สํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสมดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว และกวา้ งขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม ส่งิ แวดลอ้ ม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ๒๐. ความซอื่ สตั ย์ สุจรติ จรงิ ใจตอ่ กัน ผู้ท่ีมีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อย ก็ย่อมทําประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มี ความรูม้ าก แต่ไมม่ ีความสุจรติ ไม่มคี วามบริสุทธใ์ิ จ ๒๑. ทาํ งานอย่างมีความสุข ทํางานโดยคํานงึ ถึงความสุขทีเ่ กิดจากการไดท้ าํ ประโยชนใ์ ห้กบั ผอู้ ื่น ๒๒. ความเพียร จากตัวอย่างบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนก พระมหาชนกเพียรว่ายนํ้าอยู่ ๗ วัน ๗ คืน แม้จะมองไม่ เหน็ ฝง่ั แตย่ งั คงว่ายตอ่ ไป ไมจ่ มลง จนกลายเปน็ อาหารของปลา และไดร้ ับความชว่ ยเหลือจนถงึ ฝง่ั ไดใ้ นท่สี ุด ๒๓. รู้-รกั -สามคั คี รู้ : การทเ่ี ราจะลงมอื ทาํ ส่ิงใดนัน้ จะตอ้ งร้เู สยี ก่อน ร้ถู ึงปัจจยั ทัง้ หมด รถู้ ึงปญั หา และร้ถู งึ วธิ ีแกป้ ัญหา รัก : เม่ือเรารู้ครบด้วยกระบวนการแล้ว จะต้องเห็นคุณค่า เกิดศรัทธา เกิดความรักที่จะเข้าไปลงมือ ปฏิบตั ิแก้ปัญหาน้นั ๆ สามัคคี : เม่ือถึงข้ันลงมือปฏิบัติต้องคํานึงเสมอว่าเราทําคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจกัน สามัคคี กันเปน็ หมคู่ ณะ จงึ จะเกิดพลงั ในการแกป้ ญั หาใหล้ ลุ ่วงด้วย เรียนรู้หลกั การทรงงาน ๒๓ ข้อ ในพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั
Search
Read the Text Version
- 1 - 5
Pages: