1 สัมมนา ศึกษามาตรฐานคุณภาพอากาศและปรมิ าณกา๊ ซไนโตรเจนไดออกไซด์ และก๊าซโอโซนทเี่ กดิ จากการจราจรรอบบงึ ศรีฐาน The purpose of this study was to find the weather quality standard and quantity of nitrogen dioxide and ozone caused by the traffic around Bueng Srithan จดั ทำโดย เดก็ ชาย สิรภพ ทองยนื ม.3/1 เลขท่ี 10 เดก็ หญงิ วนัชพร พรรคมาตย์ ม.3/1 เลขที่ 14 เดก็ หญงิ กชกรณ์ รปั ศิลป์ ม.3/1 เลขที่ 17 โรงเรยี นมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ ภาคเรยี นที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564
ก คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา โครงงานวิทยาศาสตร์ (ว 23291) จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษา เรอ่ื ง ศึกษามาตรฐานคณุ ภาพอากาศและปริมาณกา๊ ซไนโตรเจนไดออกไซด์และก๊าซโอโซนท่เี กิดจากการจราจร รอบบงึ ศรีฐานเพอ่ื ให้ได้ศึกษาอยา่ งเขา้ ใจและเปน็ ประโยชนก์ บั การศึกษา ขอขอบคุณท่านอาจารย์ที่ได้ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในเรื่องการจัดทำรายงานและ ขอขอบคุณ สมาชกิ ทุกคนทใ่ี หค้ วามร่วมมือในการจดั ทำรายงานฉบับนี้ จนสำเรจ็ ลลุ ว่ งด้วยดี หากมขี อ้ ผิดพลาดประการใดก็ ขออภยั ไว้ ณ ที่นด้ี ว้ ย คณะผจู้ ัดทำ
สารบญั ข คำนำ หน้า สารบัญ ก สารบัญตาราง ข สารบญั รูปภาพ ค ง บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของงานสัมมนา 1 ขอบเขตของงานสัมมนา 2 วตั ถุประสงค์ของงานสมั มนา 2 บทท่ี 2 เนอื้ หาคน้ ควา้ เพิ่มเติมท่เี ก่ียวข้อง 3 มลพษิ ทางอากาศ 3 กา๊ ซไนโตรเจนไดออกไซด์ 4 กา๊ ซโอโซน 5 การเปรยี บเทยี บมาตรฐานคณุ ภาพของอากาศ 6 บทท่ี 3 เน้อื หาหลกั 7 วธิ กี ารเก็บรวบรวมข้อมลู 8 เครือ่ งมอื ที่ใชใ้ นการศกึ ษา และการวิเคราะห์ข้อมูล อภปิ รายผลจากการศึกษา 10 บทท่ี 4 สรปุ ผลสัมมนา จ สรุปผล อา้ งอิง
ค สารบัญตาราง ตารางท่ี หน้า 2.1 เกณฑด์ ชั นีคณุ ภาพอากาศของประเทศไทย 5 3.1 ปริมาณของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์และก๊าซโอโซน 6 3.2 ปริมาณการจราจรรอบบึงศรีฐานในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ – มนี าคม 2563 6 3.3 ผลของโปรแกรม STATA แสดงความสมั พนั ธ์เชงิ เส้นระหวา่ งโอโซน กบั ปรมิ าณจราจรรอบ 7 บงึ ศรีฐานในเขตมหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ และไนโตรเจนไดออกไซด์ 8 3.4 เปรียบเทียบมาตรฐานของปรมิ าณกา๊ ซโอโซนและก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์
สารบญั รปู ภาพ ง ภาพที่ หนา้ 3.1 ปริมาณรถในแตล่ ะวัน 9
1 บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของงานสัมมนา ปญั หามลพิษทางอากาศในบรรยากาศเป็นปัจจยั เสีย่ งทางสุขภาพท่ีร้ายแรงทสี่ ุดซึ่งเป็นสาเหตุของการ เกิดภาวะเจ็บป่วยในโรคทางเดินหายใจโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจ รวมถึงโรคหอบหืด (ธนภูมิ ไลไธสง และ ศุภกร ตุลย์ไตรรัตน์, 2563) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการทำกิจกรรมของ มนุษย์ทั้งสิ้นแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่นละอองขนาดเล็กเกิดขึ้นได้ในจังหวัดทุกจังหวัดในประเทศไทยที่มี ประชากรจำนวนมากและมีการประกอบอาชีพเกษตรเช่นปลูกออ้ ยทำใหม้ กี ารเผาไหม้ในพื้นที่ (พรพรรณ สกุล คู และ ธนาธร โนรา, 2564) และการจราจร มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการจราจรเป็นสาเหตุหลักท่ีทำให้ คณุ ภาพของอากาศในเขตเมืองแยล่ งโดยเฉพาะบรเิ วณพ้นื ที่การจราจรหนาแน่น ปริมาณสารมลพิษทางอากาศ ที่ถูกปล่อยออกมา เช่น ฝุ่นละออง สารอินทรีย์ระเหยง่ายและไนโตรเจนไดออกไซด์ (รุ่งเรือง จันทา และคณะ, 2563) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับปริมาณการจราจร ไนโตรเจนไดออกไซด์ในพ้ืนที่เขตเมืองส่วนใหญ่จะถูก ปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ของยานพาหนะที่ใช้เช้ือเพลิงฟอสซิลและน้ำมันดีเซลในการขับเคลื่อน เช่น รถยนต์ รถบรรทุก รถจักรยานยนต์ เครื่องยนต์ของยานพาหนะเหล่านี้จะเกิดการเผาไหม้ภายในเครื่องยนต์ และปลดปล่อยมลพิษทางอากาศมาพร้อมกับไอเสียซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาระหว่างก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์และ ก๊าซออกซิเจนภายใต้อุณหภูมสิ ูงขณะการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และปลดปล่อยไนตริกออกไซด์ (NO) ออกมา จากน้นั ก๊าซดงั กลา่ วจะถกู เปลีย่ นเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์อยา่ งรวดเรว็ (ภัคพงศ์ พจนารถ, 2559) มลพิษทางอากาศก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสง่ิ ตา่ ง ๆ ได้มากมายซึ่งก่อให้เกิดอนั ตรายต่อสุขภาพอนามัย ของคนและสัตว์ ทำลายพืชทำให้วัสดุเสียหาย ทำให้เกิดผลเสียแก่สภาพภูมิอากาศ และเป็นอันตรายต่อ สง่ิ แวดลอ้ มและระบบนิเวศวทิ ยา จากไอเสยี ของรถยนต์ทีม่ ีแสงแดดเปน็ ตวั เร่ง ซ่ึงมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบ ทางเดินหายใจของคนสัตว์ และการเจริญเติบโตของพืช (ภัคพงศ์ พจนารถ, 2555) ด้วยเหตุนี้ทำให้มีการออก ประกาศจากคณะกรรมการสิง่ แวดล้อมแหง่ ชาติเรื่องมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไปโดยมีสาร มลพิษดงั น้ี กา๊ ซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2), ก๊าซโอโซน (O3), กา๊ ซซัลเฟอรไ์ ด- ออกไซด์ (SO2) และตะก่ัว (Pb) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (กรมควบคุมมลพิษ, ม.ป.ป.) ขอนแก่นเป็นหน่ึงในสี่จังหวัดใหญ่ของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยปัญหามลพิษอากาศหลักคือฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ซึ่งในปี 2563 ขอนแก่นอยู่ในอันดับท่ี 8 จากจังหวัดที่มีมลพิษมากที่สุดในประเทศไทย (Greenpeace, 2561) ซ่ึง สาเหตุหลักหนึ่งในการเกิดมลพิษมาจากยานพาหนะที่ใช้เช้ือเพลิงฟอสซิลและโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดีเซล โดยเฉพาะรถบรรทุกและรถยนต์เชื้อเพลิงฟอสซิลจะปล่อยมลพิษจำนวนมากสู่ชั้นบรรยากาศ (ศักดิ์สิทธิ์ ผล ภิญโญ และ พรพรรณ สกุลคู, 2564) สารมลพิษที่สำคัญคือไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2), สารอินทรีย์ระเหย ง่าย (VOCs), ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น แล้วสารเหล่านี้จะทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นโอโซน
2 โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา โดยปฏิกริ ิยาเกิดจะข้ึนเมื่อมีออกซิเจนของไนโตรเจน (NOx) และก๊าซโอโซน (O3) เป็นสารตั้งต้น และสารท้ังสองทำปฏิกิริยากันโดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาผลิตภัณฑ์ท่ีได้คือก๊าซ โอโซน (O3) ภาคพื้นดิน และสาร Peroxyacetyl nitrate (PAN) (พรพรรณ สกุลคู และ ธนาธร โนรา, 2564) ดังนั้นคณะผจู้ ดั ทำเห็นว่าปญั หามลพษิ ทางอากาศน้ีเราไม่ควรมองข้ามเพราะจะทำให้มันคลืบคลานจน เป็นปัญหาใหญ่ คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำรายงานเรื่อง ศึกษามาตรฐานคุณภาพอากาศและปริมาณก๊าซ ไนโตรเจนไดออกไซด์และโอโซนทีเ่ กิดจากการจราจรรอบบึงศรีฐาน เพื่อให้รู้เท่าทันอันตรายของปัญหามลพิษ ทางอากาศจาการจราจรทห่ี นาแนน่ 1.2 ขอบเขตของงานสมั มนา ปรมิ าณการเกดิ กา๊ ซไนโตรเจนไดออกไซดแ์ ละก๊าซโอโซนจากการจราจรรอบบึงศรฐี าน 1.3 วตั ถปุ ระสงค์ของงานสมั มนา 1.3.1 เพือ่ ศึกษาเปรียบเทียบมาตรฐานคณุ ภาพของอากาศบรเิ วณรอบบึงศรฐี านและความเข้มขน้ ของ กา๊ ซไนโตรเจนไดออกไซด์และก๊าซโอโซน 1.3.2 เพื่อศึกษาความสัมพันธก์ ารจราจรกบั การเกิดของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซดแ์ ละกา๊ ซโอโซน
3 บทท่ี 2 เนือ้ หาค้นควา้ เพ่ิมเตมิ ท่ีเกย่ี วข้อง 2.1 มลพษิ ทางอากาศ มลพิษทางอากาศเป็นสารที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ และอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ และคณุ ภาพสิ่งแวดลอ้ ม เมื่อมีปรมิ าณความเขม้ ขน้ และระยะเวลาท่ีนานพอ มลพิษทางอากาศที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมี 6 ชนดิ เรยี กมลพษิ ทางอากาศในกลุ่มนีว้ ่ามลพษิ ทางอากาศหลกั ซ่งึ ประกอบด้วยสารมลพิษทางอากาศดังน้ี 1. อนุภาคฝุน่ 2. กา๊ ซคาร์บอนมอนออกไซด์ 3. ก๊าซซลั เฟอร์ไดออกไซด์ 4. ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ 5. กา๊ ซโอโซน 6. สารตะกั่ว มลพิษอากาศทั้ง 6 ชนิดดังกล่าวจัดเปน็ สารมลพิษทางอากาศระดับพื้นที่ คือ มลพิษทางอากาศที่เม่ือ ปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดสู่อากาศแล้วมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนและสิ่งแวดล้อมในบริเวณแหล่งกำเนดิ น้ัน ๆ (ศิวพันธุ์ ชูอินทร,์ 2563) 2.2 กา๊ ซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogendioxide หรือ NO2) เป็นสารหนึ่งในสารตั้งต้นของ PM 2.5 โดย เป็นก๊าซที่มีสีน้ำตาลแดง ละลายน้ำได้ดี และอยู่ในอากาศได้เพียง 3 วัน ก่อนที่จะกลายเป็นสารอื่นต่อไปก๊าซ เหลา่ น้จี ะเกิดข้ึนเม่อื เช้ือเพลิงถูกเผาไหมม้ ีอุณหภูมิสูงก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนมี 7 รูปแบบ คือ ก๊าซไนตรัส- ออกไซด์ (N2O), ก๊าซไนตริกออกไซด์ (NO), ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2), ก๊าซไดไนโตรเจนเพนตอกไซด์ (N2O5), ก๊าซไดไนโตรเจนไตรออกไซด์ (N2O3), ก๊าซไดไนโตรเจนเตตระออกไซด์ (N2O4) และก๊าซไนโตรเจน- ไตรออกไซด์ (NO3) ออกไซด์ของไนโตรเจนทั้ง 7 รูปแบบที่กลา่ วมานีม้ เี พียงก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์และก๊าซ ไนตรกิ ออกไซดเ์ ทา่ น้นั ทเี่ ปน็ สารมลพิษทางอากาศ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ที่มีความเข้มข้นสงู จะทำอันตรายต่อปอดโดยตรง เช่น ทำให้เกิดการระคาย เคืองตอ่ ปอด ระคายเคืองถงุ ลมมีผลให้ภูมิตา้ นทานของร่างกายลดลง ทำใหป้ อดอักเสบ เกิดเน้อื งอกในปอด ทำ ให้หลอดลมตีบตนั และเปน็ ผลใหเ้ กิดการตดิ เชื้อในระบบทางเดนิ หายใจ กา๊ ซไนตริกออกไซดส์ ามารถรวมตัวกับ ฮีโมโกลบินได้เช่นเดียวกับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ทำให้ระดับของออกซิเจนในเลือดลดลง แต่เนื่องจากใน
4 บรรยากาศจะมคี วามเข้มข้นของก๊าซไนตริกออกไซด์น้อยกวา่ 1.22 มลิ ลิกรมั ต่อลูกบาศกเ์ มตร (1 ppm) ดังน้ัน จงึ ไม่เป็นอนั ตรายต่อสุขภาพของคน แต่หากได้รับก๊าซไนตริกออกไซดท์ ่ีความเข้มข้นระดบั 0.7 – 20 ppm ใน เวลา 10 นาที จะทำให้หายใจไม่ออกและทรี่ ะดับ 0.11 – 0.22 ppm จะเรมิ่ ได้กล่ิน กา๊ ซไนโตรเจนไดออกไซด์ มผี ลต่อสขุ ภาพของคนมากกว่ากา๊ ซไนตรกิ ออกไซด์ทมี่ คี วามเขม้ ขน้ เทา่ กนั (ศิวพนั ธ์ุ ชอู นิ ทร,์ 2563) ขอ้ เสียของกา๊ ซไนโตรเจนไดออกไซด์ (ธารา บัวคำศรี, 2562) 1.ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดนิ หายใจ 2.สรา้ งความเสยี หายต่อปอดหากไดร้ บั แบบเฉยี บพลัน 3. เพ่ิมความเส่ยี งของการเปน็ โรคเรอื้ รงั หากไดร้ ับเข้าไปในระยะยาว 2.3 ก๊าซโอโซน ก๊าซโอโซน (Ozone หรือ O3) เป็นก๊าซที่มีลักษณะไม่มีสีแต่มีกลิ่น เป็นสาร Photochemical Oxidation ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเคมี Photochemical Oxidation ระหว่างสารประกอบไฮโดรคาร์บอน และ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สาร Photochemical ตัวอื่น ๆ ได้แก่ สารประกอบพวกแอลดีไฮด์คีโตนและ Peroxyacetyl Nitrate (PAN) ก่อให้เกิดสภาพที่เรียกว่า “Photochemical Smog”ซึ่งมีลักษณะเหมือนหมอกสีขาวปกคลุมอยู่ทั่วไปในอากาศ โดยทั่วไปแล้ว ก๊าซ โอโซนจะกอ่ ใหเ้ กิดการระคายเคืองตา และระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ลดความสามารถในการทำงาน ของปอดลง (ศิวพนั ธ์ุ ชอู นิ ทร,์ 2563) ข้อดีของกา๊ ซโอโซน (PPTV Online, 2558) 1. ก๊าซโอโซนในช้ันสตราโตสเฟยี ร์ ทำหนา้ ทีป่ อ้ งกนั ไม่ใหร้ ังสอี ลั ตราไวโอเลตส่องลงมามาก 2. ช่วยให้อากาศบรสิ ทุ ธ์ิ สลายสารพษิ ตา่ ง ๆ ออกไปได้ดี 3. ช่วยในการฟอกสีและบำบัดน้ำเสยี ใหส้ ะอาดและใสขน้ึ ขอ้ เสยี ของกา๊ ซโอโซน (PPTV Online, 2558) 1. บรเิ วณพ้นื ทท่ี ีม่ กี ๊าซโอโซนสงู กวา่ ปกติจะเป็นผลเสียต่อสขุ ภาพมากกว่าผลดี 2. หากไดร้ ับกา๊ ซโอโซนเปน็ ประจำจะเปน็ อนั ตรายตอ่ ปอด 3. ทำใหเ้ กิดอาการระคายเคืองในระบบหายใจ
5 2.4 การเปรียบเทียบมาตรฐานคณุ ภาพของอากาศ ดชั นีคุณภาพอากาศ (Air quality index หรอื AQI) ดัชนีคุณภาพอากาศเป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของ ประชาชนทวั่ ไป เพือ่ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ใหส้ าธารณชนได้รบั ทราบถงึ สถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละ พื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ ซ่ึงดัชนีคุณภาพอากาศเป็นรูปแบบสากลที่ใช้กัน อยา่ งแพรห่ ลายในหลายประเทศ เชน่ สหรฐั อเมรกิ า ออสเตรเลยี สิงคโปร์ มาเลเซีย และประเทศไทย เป็นต้น (สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและส่งิ แวดล้อม, 2559) ดัชนีคุณภาพอากาศที่ใช้อยู่ในประเทศไทย คำนวณโดยเทียบจากมาตรฐานคุณภาพอากาศใน บรรยากาศโดยทั่วไปของสารมลพิษทางอากาศ 5 ประเภท ได้แก่ ก๊าซโอโซน (O3) เฉลี่ย 1 ชั่วโมง ก๊าซ ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เฉลี่ย 1 ชั่วโมง ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เฉลี่ย 8 ชั่วโมง ก๊าซซัลเฟอร์ได- ออกไซด์ (SO2) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง และฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM 10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ทั้งน้ี ดัชนีคุณภาพอากาศที่คำนวณได้ของสารมลพิษทางอากาศประเภทใดมีค่าสงู สุด จะใช้เป็นดชั นีคณุ ภาพอากาศ ของวันน้นั (กรมควบคุมมลพษิ , 2561) ตารางท่ี 2.1 เกณฑด์ ัชนคี ุณภาพอากาศของประเทศไทย AQI ความหมาย สีที่ใช้ ความหมาย ≤50 ดี ฟา้ ไม่มผี ลต่อสขุ ภาพ 51-100 เขียว ไม่มีผลต่อสุขภาพ 101-200 ปานกลาง เหลือง ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรเลี่ยงการออกนอก มีผลตอ่ สุขภาพ 201-300 อาคาร บคุ คลทว่ั ไปไมค่ วรอยนู่ อกอาคารเปน็ เวลานาน มผี ลตอ่ สขุ ภาพ ส้ม ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรเลี่ยงการออกนอก >300 มาก อาคาร บุคคลทว่ั ไปไมค่ วรอยู่นอกอาคารเป็นเวลานาน อันตราย แดง ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรเลี่ยงการออกนอก อาคาร บุคคลท่ัวไปไมค่ วรอยนู่ อกอาคารเปน็ เวลานาน ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง มากกว่า 300 ซึ่งแต่ละระดับ จะใช้สีเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย (ตารางที่ 2.1) โดยดัชนีคุณภาพ อากาศ 100 จะมีค่าเทยี บเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทัว่ ไป หากดัชนีคณุ ภาพอากาศมีค่าสูง เกินกว่า 100 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันน้ันจะ เรม่ิ มผี ลกระทบตอ่ สขุ ภาพอนามัยของประชาชน (กรมควบคมุ มลพิษ, 2561)
6 บทท่ี 3 เน้อื หาหลัก 3.1 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.1.1 ขอ้ มูลปริมาณของกา๊ ซไนโตรเจนไดออกไซดแ์ ละก๊าซโอโซน ข้อมลู ปริมาณของกา๊ ซไนโตรเจนไดออกไซดแ์ ละก๊าซโอโซนในทที่ ี่มรี ถสัญจรไปมาในรอบบริเวณบึงศรี- ฐาน ในชว่ งเวลา 7 วัน เฉล่ียวันละ 8 ชั่วโมง (ศกั ดสิ์ ิทธิ์ ผลภิญโญ และ พรพรรณ สกุลค,ู 2564) ตารางท่ี 3.1 ปริมาณของกา๊ ซไนโตรเจนไดออกไซดแ์ ละกา๊ ซโอโซน ชว่ งเวลา ปริมาณก๊าซโอโซน ปรมิ าณก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (ppb) (ppb) วันที่ 29 เดอื นกุมภาพนั ธ์ 68.2 6.9 วนั ที่ 1 เดอื นมีนาคม 91.8 11.6 วันท่ี 2 เดือนมีนาคม 96.4 15.9 วันท่ี 3 เดือนมีนาคม 84.8 17.3 วนั ที่ 4 เดือนมนี าคม 84.8 11.8 วันท่ี 5 เดือนมนี าคม ไมม่ ีขอ้ มลู ไม่มีขอ้ มลู วันท่ี 6 เดือนมีนาคม 30.6 10.2 3.1.2 ข้อมูลการจราจร การเก็บข้อมูลจากการนบั ปริมาณรถโดยใช้เครื่องนับปรมิ าณรถที่สัญจรไปมาในรอบบริเวณบึงศรีฐาน ในช่วงเวลา 7 วัน โดยแต่ละวันแบง่ ออกเป็น 4 ช่วง ช่วงละ 3 ชั่วโมง คือ 06.00–09.00 น., 09.00–12.00 น., 12.00–15.00 น. และ 15.00–18.00 น. ตารางที่ 3.2 ปริมาณการจราจรรอบบงึ ศรีฐานในชว่ งปลายเดอื นกุมภาพนั ธ์ – มนี าคม 2563 ช่วงเวลา ปรมิ าณการจราจรตั้งแต่ 06.00 – 18.00 น. (คัน) รวมระยะเวลา 8 ช่ัวโมง วันที่ 29 เดือนกุมภาพนั ธ์ 54,210 วนั ท่ี 1 เดอื นมนี าคม 54,446 วันท่ี 2 เดอื นมนี าคม 65,394 วันท่ี 3 เดอื นมนี าคม 65,526
7 ช่วงเวลา ปรมิ าณการจราจรต้งั แต่ 06.00 – 18.00 น. (คนั ) รวมระยะเวลา 8 ช่ัวโมง วันท่ี 4 เดือนมีนาคม 63,414 วนั ท่ี 5 เดือนมีนาคม 68,430 วนั ท่ี 6 เดือนมนี าคม 70,908 3.2 เครอื่ งมอื ทใี่ ช้ในการศกึ ษา และการวเิ คราะหข์ ้อมูล 3.2.1 โปรแกรมทางสถติ ิ โปรแกรมที่ใช้ คือ โปรแกรม STATA เวอร์ชั่น 15 ซึ่งโปรแกรม STATA เป็นโปรแกรมการวิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิติสำเร็จรูปที่ได้รบั ความนิยมและมีการใชง้ านอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีศักยภาพครอบคุลม ท้ัง ด้านการวเิ คราะหข์ อ้ มลู ดา้ นการจดั การขอ้ มลู ดา้ นการนำเสนอขอ้ มลู และดา้ นการจดั การผลลพั ธ์ ตารางที่ 3.3 ผลของโปรแกรม STATA แสดงความสมั พันธ์เชงิ เสน้ ระหวา่ งโอโซน กบั ปริมาณจราจรรอบบึงศรี- ฐานในเขตมหาวทิ ยาลัยขอนแก่น และไนโตรเจนไดออกไซด์ ตวั แปรตน้ ตวั แปรตาม ค่าความชนั จุดตัดแกน ช่วงความเช่ือมน่ั คา่ R2 ของเส้นตรง Y 95 % (95 % CI) ปรมิ าณจราจร -0.0027724 179.0404 -0.0057597- 0.8129 ก๊าซไนโตรเจน- โอโซน 5.617917 0.0002148 -0.0523095- ไดออกไซด์ 11.28814 จากตาราง 3.3 กำหนดให้ T แทน ปรมิ าณการจราจร O แทน ปรมิ าณโอโซน และค่าความชันของ เสน้ ตรงเท่ากับ -0.0027724 จะได้สมการถดถอย หรือ สมการเสน้ ตรงดงั ต่อไปนี้ O = -0.0027724 T+C (1) เมอ่ื C คือค่าคงท่ี กำหนดให้ N แทน ปริมาณของไนโตรเจนไดออกไซด์ O แทน ปริมาณโอโซน และค่าความชนั ของ เส้นตรงเท่ากับ 5.617917 จะไดส้ มการถดถอย หรือ สมการเส้นตรงดงั ต่อไปน้ี O = 5.617917 N+C (2) เมอ่ื C คือค่าคงที่
8 3.2.2 ดชั นีคุณภาพอากาศ การคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศรายวันของสารมลพิษทางอากาศแต่ละประเภท โดยคำนวณจากค่า ความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศจากข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศโดยแต่ละระดับของค่าความ เขม้ ข้นของสารมลพิษทางอากาศเทียบเทา่ กับค่าดัชนีคุณภาพอากาศทร่ี ะดบั ต่าง ๆ และมีสูตรการคำนวณดงั น้ี ������ = ������������ − ������������ (������ − ������������) + ������������ ������������ − ������������ I = ค่าดชั นยี ่อยคุณภาพอากาศ X = ความเขม้ ข้นของสารมลพิษทางอากาศจากการตรวจวัด ������������ , ������������ = ค่าตำ่ สดุ , คา่ สูงสดุ ของช่วงความเข้มข้นสารมลพษิ ทมี่ ีคา่ X ตามลำดับ ������������ , ������������ = ค่าตำ่ สดุ , ค่าสูงสุด ของช่วงดัชนคี ณุ ภาพอากาศแถวเดยี วกบั ชว่ งความเข้มข้น X ตามลำดบั 3.3 อภิปรายผลจากการศกึ ษา ขอ้ มลู ปริมาณของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์และก๊าซโอโซนในท่ีที่มรี ถสัญจรไปมาในรอบบรเิ วณบึงศรี- ฐาน ในช่วงเวลา 7 วนั เฉลี่ยวนั ละ 8 ช่ัวโมง โดยปรมิ าณก๊าซโอโซนในช่วงเวลา 8 ช่ัวโมง ไม่เกนิ 70 ppb และ ปรมิ าณกา๊ ซไนโตรเจนไดออกไซดใ์ นชว่ งเวลา 8 ชว่ั โมง ไม่เกนิ 170 ppb ตารางท่ี 3.4 เปรยี บเทยี บมาตรฐานของปริมาณก๊าซโอโซนและกา๊ ซไนโตรเจนไดออกไซด์ ช่วงเวลา ปริมาณก๊าซ เทยี บกบั ปรมิ าณกา๊ ซ เทยี บกบั โอโซน มาตรฐาน ไนโตรเจนไดออกไซด์ มาตรฐาน (ppb) (ppb) วนั ท่ี 29 เดือนกุมภาพนั ธ์ 68.2 ไมเ่ กิน 6.9 ไม่เกิน วนั ท่ี 1 เดือนมนี าคม 91.8 เกิน 11.6 ไมเ่ กิน วนั ท่ี 2 เดือนมีนาคม 96.4 เกิน 15.9 ไมเ่ กนิ วันที่ 3 เดอื นมนี าคม 84.8 เกนิ 17.3 ไม่เกนิ วันท่ี 4 เดือนมนี าคม 84.8 เกิน 11.8 ไม่เกนิ วนั ท่ี 5 เดอื นมนี าคม ไม่มีขอ้ มลู ไม่มีขอ้ มลู ไม่มีขอ้ มูล ไม่มีขอ้ มลู วนั ท่ี 6 เดือนมีนาคม 30.6 ไมเ่ กนิ 10.2 ไม่เกิน จากตาราง 3.4 พบว่าการศกึ ษาข้อมูลปรมิ าณโอโซนและไนโตรเจนไดออกไซด์จากกรมมลพิษเฉล่ียต่อ วันเป็นดงั นี้
9 วันที่ 29 เดือนกุมภาพันธ์ ปริมาณโอโซนเฉลี่ยเท่ากับ 68.2 ppb ไม่เกินมาตรฐาน และปริมาณ ไนโตรเจนไดออกไซดเ์ ฉลยี่ 6.9 ppb ไมเ่ กนิ มาตรฐาน วนั ที่ 1 เดือนมนี าคม ปรมิ าณโอโซนเฉลยี่ เท่ากับ 91.8 ppb เกนิ มาตรฐาน และปริมาณไนโตรเจนได- ออกไซด์เฉลี่ย 11.6 ppb ไม่เกินมาตรฐาน วนั ที่ 2 เดอื นมีนาคม ปรมิ าณโอโซนเฉลีย่ เท่ากับ 96.4 ppb เกินมาตรฐาน และปรมิ าณไนโตรเจนได- ออกไซด์เฉลย่ี 15.9 ppb ไมเ่ กินมาตรฐาน วนั ท่ี 3 เดอื นมีนาคม ปริมาณโอโซนเฉลยี่ เทา่ กับ 84.8 ppb เกนิ มาตรฐาน และปริมาณไนโตรเจนได- ออกไซด์เฉลี่ย 17.3 ppb ไมเ่ กินมาตรฐาน วนั ท่ี 4 เดอื นมนี าคม ปรมิ าณโอโซนเฉลย่ี เท่ากับ 84.8 ppb เกนิ มาตรฐาน และปรมิ าณไนโตรเจนได- ออกไซด์เฉลี่ย 11.8 ppb ไม่เกินมาตรฐาน วันที่ 5 เดือนมีนาคม ปริมาณโอโซนเฉลี่ยแล้วไม่มีข้อมูล และปริมาณไนโตรเจนไดออกไซด์เฉลี่ยแล้ว ไมม่ ขี อ้ มูล วันท่ี 6 เดือนมีนาคม ปรมิ าณโอโซนเฉลี่ยเท่ากบั 30.6 ppb ไมเ่ กินมาตรฐาน และปริมาณไนโตรเจน- ไดออกไซดเ์ ฉล่ีย 10.2 ppb ไม่เกินมาตรฐาน ปริมาณรถในแตล่ ะวัน 80,000 65,364 65,526 68,430 70,908 70,000 60,000 63,414 50,000 54,210 52,446 ป ิรมาณรถ ( ัคน) 40,000 30,000 20,000 10,000 0 29/2/2563 1/3/2563 2/3/2563 3/3/2563 4/3/2563 5/3/2563 6/3/2563 ภาพ 3.1 ปริมาณรถในแตล่ ะวัน จากภาพ 3.1 ปรมิ าณการจราจรตง้ั แตว่ นั ที่ 29 กุมภาพนั ธถ์ ึง 6 มีนาคม พบว่าในวนั ศกุ รท์ ี่ 6 มีนาคม มีปริมาณการจราจรมากท่ีสุดและวันอาทิตย์ที่ 1 มนี าคม มีปรมิ าณการจราจรน้อยทสี่ ดุ ตามตาราง ซึง่ โดยเฉล่ีย วันทำการจะมีปริมาณการจราจรมากกว่าวันหยุดราชการที่มีน้อยกว่าตามตาราง ซึ่งสอดคล้องกับวิถี ชีวติ ประจำวนั ของผคู้ นส่วนใหญท่ ที่ ำงานในวนั ทำการจึงมีการจราจรหนาแนน่ กวา่ วนั หยุดราชการ
10 บทท่ี4 สรปุ ผลสมั มนา 4.1 สรปุ ผล จากตารางการศกึ ษาข้อมูลปริมาณก๊าซโอโซนและกา๊ ซไนโตรเจนไดออกไซดจ์ ากกรมมลพิษเฉลี่ยต่อวัน พบว่าวันที่ปริมาณโอโซนไม่เกินมาตรฐานได้แก่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ และ 6 มีนาคม วันที่ปริมาณโอโซนเกิน มาตรฐานได้แก่วันที่ 1 มนี าคม, 2 มีนาคม, 3 มีนาคม และ4 มนี าคม วนั ทป่ี รมิ าณไนโตรเจนไดออกไซด์ไม่เกิน มาตรฐานได้แกว่ นั ที่ 29 กมุ ภาพันธ์, 1 มนี าคม, 2 มนี าคม, 3 มีนาคม, 4 มีนาคม และ 6 มีนาคม จากตารางปรมิ าณการจราจร พบว่าในวันทำการจะมีปริมาณการจราจรหนาแน่นกว่าวันหยุดราชการ ตามวิถีชีวิตคนส่วนใหญ่ซึ่งในวันที่มีการจราจรหนาแน่นมากที่สุดคือวันที่ 6 มีนาคม และวันที่มีการจราจร หนาแน่นน้อยที่สุดคือวันที่ 1 มีนาคม ก๊าซโอโซนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ เนื่องจากว่า ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์เป็นสารมลพิษอากาศปฐมภูมิที่ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันกับ ยานพาหนะท่เี กิดการเผาไหม้ในเวลาเดยี วกนั สว่ นปริมาณของก๊าซโอโซนในบรรยากาศขนึ้ อยู่กับการแผ่รังสีดวง อาทติ ย,์ อุณหภมู ิ, กา๊ ซมเี ทน, กา๊ ซไฮโดรคารบ์ อน, ฝุ่นละอองขนาดเล็กทมี่ ีขนาดไมเ่ กนิ 16 ไมครอน, ความดัน และปริมาณน้ำฝน การศกึ ษาข้อมลู เพิ่มเติมยังพบว่าในวันทที่ ำการทจ่ี ะมีค่าความเข้มขน้ ของสารท้ังสองชนิดท่ีมากกว่าใน วันหยุด แสดงให้เห็นว่าแหล่งกำเนิดหลักของสารทั้งสองชนิดมาจากการปล่อยไอเสียของรถยนต์เนื่องจาก ปฏิกิริยานั้นมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งเป็นสารมลพิษอากาศทุติยภูมิโดย ก๊าซโอโซนจะส่งผลกระทบต่อ ระบบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เช่น ไม่สบาย หายใจไม่สะดวก เคืองตา ระคายคอและจมูก ปวดศีรษะเปน็ ไข้ ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจส่วนก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์มีฤทธ์ิกดั กร่อนก่อให้เกดิ ฝนกรดหากสูดเข้าไป ในระบบทางเดินหายใจจะเกิดการทำลายเนื้อเยื่อปอด ประชาชนกลุ่มที่อ่อนไหวต่อมลพิษทางอากาศ ได้แก่ ผูส้ งู อายุ สตรมี ีครรภ์ ผู้ปว่ ยด้วยโรคทางเดินหายใจและเด็กจดั วา่ เปน็ กลมุ่ ทม่ี ีโอกาสได้รับผลกระทบจากมลพิษ ทางอากาศ จากการศึกษาความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งปริมาณของการจราจรและปริมาณของโอโซนในสมการ (1) จะได้ ว่า เม่ือปรมิ าณการจราจรเพ่ิมมากข้นึ ทำใหป้ ริมาณโอโซนลดลง (������α 1 ) ในทางคลา้ ยกนั ถา้ ปริมาณการจรา- ������ จรลดลงแลว้ ปรมิ าณโอโซนจะเพม่ิ ข้นึ จาการศึกษาความสัมพนั ธร์ ะหว่างปรมิ าณของไนโตรเจนไดออกไซดแ์ ละปริมาณของโอโซนในสมการ (2) จะได้ว่า เม่ือปรมิ าณไนโตรเจนไดออกไซดเ์ พม่ิ มากขน้ึ ทำให้ปริมาณโอโซนเพ่ิมขนึ้ ตามไปดว้ ย (������������������) ใน ทางกลับกัน ถ้าปรมิ าณไนโตรเจนไดออกไซดล์ ดลงแลว้ ปรมิ าณโอโซนกจ็ ะลดลงตามไปด้วย
จง อ้างอิง กรมควบคุมมลพษิ . (ม.ป.ป). มาตรฐานคุณภาพอากาศและเสียง. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ. (2561). ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ. (2562). ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กนั ยายน 2564. จาก http://air4thai.pcd.go.th/webV2/aqi_info.php ธนภูมิ ไลไธสง และ ศุภกร ตุลย์ไตรรัตน์. (2563). ผลกระทบระยะเฉียบพลันของ PM 2.5 จากการเผาไหม้ชวี มวลต่อจํานวนการเขา้ รบั บรกิ ารในโรงพยาบาลด้วยโรคหดื ท่ีโรงพยาบาลแม่สอด จังหวดั ตาก. สถาบัน อาชีวเวชศาสตรแ์ ละเวชศาสตร์ส่ิงแวดลอ้ ม โรงพยาบาลนพรัตน์ ธารา บวั คำศรี. (2562). จบั ตาแหลง่ กำเนิดไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) คู่หู PM 2.5 ในประเทศไทย. สบื ค้น เมอื่ 19 กันยายน 2564. จาก https://www.greenpeace.org/thailand/story/9281/no2- couple-pm25/ พรพรรณ สาคู และคณะ. (2562). ฝนุ่ จิ๋ว PM 2.5 ทางออกและแนวทางการจัดการ แนวทางป้องกนั และฝุ่นจิ๋ว ในสถานการณ์ปจั จุบัน. วารสารวิจยั สาธารณสขุ ศาสตร์ปีท1ี่ 3 มหาวิทยาลยั ขอนแก่น พรพรรณ สกุลคู และ ธนาวุธ โนรา. (2564). คุณภาพอากาศของจังหวัดขอนแก่นระหว่างปี 2561-2562 และ ขอ้ เสนอแนะในการเฝา้ ระวงั . วารสารวิจยั สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน่ ภัคพงศ์ พจนารถ. (2557). มลพิษทางอากาศในระดบั ภมู ิภาคและการแพร่กระจายในระยะทางไกล: (1) ภูมภิ าคเอเชยี ตะวันออก. คณะบรหิ ารการพฒั นาส่งิ แวดล้อม สถาบันบณั ฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ภัคพงศ์ พจนารถ. (2559). สถานการณ์ของปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดในเมืองใหญ่ของประเทศไทย: กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และระยอง. คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบัน บัณฑิตพัฒนบรหิ ารศาสตร์ ร่งุ เรือง จันทา และคณะ. (2563). การตรวจวดั ความเข้มขน้ ไนโตรเจนไดออกไซด์ในพ้นื ทก่ี ารจราจรของจังหวัด นครศรีธรรมราชและการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ. วารสารวิชาการพระจอมเกลา้ พระนครเหนอื ปีท่ี 30 มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนอื ศักดิ์สิทธิ์ ผลภิญโญ และ พรพรรณ สกุลคู. (2564). ปริมาณโอโซนและไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่ สัมพันธ์กับการจราจรรอบบึงสีฐานในเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่น. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน่ ศวิ พนั ธ์ุ ชูอนิ ทร์. (2563). การการพฒั นาวิธีการตรวจวัดปริมาณสารมลพิษทางอากาศดว้ ยวธิ ีการแบบพาสสีพ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสวนสุนันทา
จฉ ศุษิระ บุตรดี และคณะ. (2562). การผันแปรเชิงพื้นที่และฤดูกาลของความเข้มข้นของก๊าซไนโตรเจนได- ออกไซด์ในบรรยากาศเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการพระจอมเกลา้ พระนครเหนือปีที่ 29 มหาวิทยาลยั พระจอมเกล้าพระนครเหนอื สราวุธ มนั ตาพนั ธ์ และ กาญจนา นาถะพนิ ธุ. (2564). ขนาดการกระจายตัวของฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นท่ีที่ มีแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศของจังหวีดขอนแก่น. สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุข ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน่ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2559). คู่มือการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหา หมอกควันสำหรับบคุ ลากรสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสขุ Greenpeace. (2561). การจัดลำดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศ ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2564. จาก https://www.greenpeace.org/thailand/publication/3139/city-ranking-2561/ PPTV Online. (2558). หยุดเลย! หากคิดจะรีเฟรซร่างกายด้วยการไป “สูดโอโซน”. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2564. จาก https://www.pptvhd36.com/news/
Search
Read the Text Version
- 1 - 17
Pages: